ความก้าวหน้า ทาง วิทยาการ ข้อ ใด ที่ จีน สามารถ คิดค้น ได้เป็นชาติ แรก

อารยธรรมจีน (Chinese Civilization)

         ประเทศจีนประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอารยธรรมยาวนานที่สุดประเทศหนึ่ง โดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่สามารถค้นคว้าได้บ่งชี้ว่าอารยธรรมจีนมีอายุถึง 5,000 ปี รากฐานที่สำคัญของอารยธรรมจีนคือ การสร้างระบบภาษาเขียน และการพัฒนาแนวคิดลัทธิขงจื๊อ เมื่อประมาณศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ. ประวัติศาสตร์จีนมีทั้งช่วงที่เป็นปึกแผ่นและแตกเป็นหลายอาณาจักรสลับกันไป ในบางครั้งก็ถูกปกครองโดยชนชาติอื่น วัฒนธรรมของจีนมีอิทธิพลอย่างสูงต่อชาติอื่นๆ ในทวีปเอเชีย ซึ่งถ่ายทอดไปทั้งการอพยพ การค้า และการยึดครอง

อารยธรรมจีนสมัยก่อนประวัติศาสตร์

มีแหล่งอารยธรรมที่สำคัญ 2 แหล่ง คือ

1. ลุ่มแม่น้ำฮวงโห

            พบความเจริญที่เรียกว่า วัฒนธรรมหยางเชา พบหลักฐานที่เป็นเครื่องปั้นดินเผามีลักษณะสำคัญคือ เครื่องปั้นดินเผาเป็นลายเขียนสี มักเป็นลายเรขาคณิต พืช นก สัตว์ต่างๆ และพบใบหน้ามนุษย์ สีที่ใช้เป็นสีดำหรือสีม่วงเข้ม นอกจากนี้ยังมีการพิมพ์ลายหรือขูดสลักลายเป็นรูปลายจักสาน ลายเชือกทาบ

เครื่องปั้นดินเผาหยางเชา

2. ลุ่มน้ำแยงซี

           บริเวณมณฑลชานตุงพบ วัฒนธรรมหลงซาน พบหลักฐานที่เป็นเครื่องปั้นดินเผามีลักษณะสำคัญคือ เครื่องปั้นดินเผามีเนื้อละเอียดสีดำขัดมันเงา คุณภาพดีเนื้อบางและแกร่งเป็นภาชนะ3ขา

 

ความก้าวหน้า ทาง วิทยาการ ข้อ ใด ที่ จีน สามารถ คิดค้น ได้เป็นชาติ แรก

 เครื่องปั้นดินเผาหลงซาน

อารยธรรมจีนสมัยประวัติศาสตร์ แบ่งได้ 4 ยุค

1. ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ เริ่มตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชาง สิ้นสุดสมัยราชวงศ์โจว

2. ประวัติศาสตร์สมัยจักรวรรดิ เริ่มตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิ๋น จนถึงปลายราชวงศ์ชิงหรือเช็ง

3. ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มปลายราชวงศ์เช็งจนถึงการปฏิวัติเข้าสู่ระบอบสังคมนิยม

4. ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย เริ่มตั้งแต่จีนปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์จนถึงปัจจุบัน

อารยธรรมจีนในสมัยราชวงศ์ต่างๆ มีดังนี้

แบ่งเป็น 10 ราชวงศ์ ดังนี้

1. ราชวงศ์ชาง

           เป็นราชวงศ์แรกของจีน ประมาณ 1,500 ปีก่อนค.ศ. ที่เมืองอันยาง มณฑลโฮนาน เริ่มมีการตั้งชุมชน และการปกครองแบบนครรัฐ ลักษณะเป็นสังคมเกษตรกรรม มีการประดิษฐ์อักษรภาพ 5,000 ตัวเขียนบนกระดองเต่า มีเทพเจ้าที่สำคัญคือเทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ มีการประกอบพิธีบูชาบรรพบุรุษ เซ่นไหว้เทพเจ้า

อักษรจีนจารึกบนกระดองเต่า

2. ราชวงศ์โจว

           กำเนิดเมื่อ 1,000-221 ปี ก่อน ค.ศ. ถือว่าเป็นจุดกำเนิดของสมัยศักดินา (ระบบเฟิงเจี้ยน)และถือว่าเป็นยุคคลาสิกของจีน

  • มีการมอบกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้ที่สนับสนุนราชวงศ์ กำหนดสิทธิหน้าที่ตามลำดับชั้นฐานันดรศักดิ์
  • มีการแต่งตั้งผู้แทนกษัตริย์เป็นข้าหลวงประจำหัวเมือง
  • มีการกำหนดหลักเกณฑ์ “เทียนมิ่ง” (อาณัติสวรรค์) มอบอำนาจให้กษัตริย์ราชวงศ์โจวปกครอง กษัตริย์มีฐานะเป็นโอรสสวรรค์ ถ้าปกครองด้วยความยุติธรรม หากปกครองโดยไร้คุณธรรมกษัตริย์จะถูกเพิกถอนจากผู้ทรงคุณธรรม ถือเป็นแนวคิดที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของจีนตลอด 2000 ปี
  • เกิดนักปรัชญาเมธีที่ส่งผลให้ราชวงศ์โจวเป็นยุคทองของภูมิปัญญาที่ส่งผล ต่อความเชื่อ ค่านิยม ปรัชญาของสังคมจีนในสมัยนี้ ระบบราชการจะยึดแนวอุดมการณ์ของขงจื๊อ  คือผู้ปกครองเป็นตัวแทนของกษัตริย์ต้องปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ ประชาชน  แนวคิดของขงจื๊อและเล่าจื๊อ มุ่งแสวงหาหลักของศีลธรรมจรรยาและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม เน้นการทำหน้าที่ของตน ระบบครอบครัวของจีนยึดความกตัญญูและนับถือผู้อาวุโสตามหลักคำสอนของขงจื๊อ

3. ราชวงศ์จิ๋นหรือฉิน

           กำเนิดเมื่อ 221-207 ปี ก่อนค.ศ. จีนเริ่มเป็นจักรวรรดิ์ พระเจ้าชิวั่งตี่ หรือจิ๋นซีฮ่องเต้ ยึดหลักปกครองที่  เข้มงวดตามหลักนิติธรรม(ฟาเจีย)ของ ซุนจื๊อ ที่เห็นว่ามนุษย์ชั่วร้ายมี กิเลส ตัณหาต้องใช้อำนาจและกฏหมายเป็นเครื่องควบคุม ยกเลิกระบบศักดินา แบ่งเขตการปกครองเป็น 36 มณฑล แต่งตั้งข้าราชการไปปกครอง  จัดระเบียบการเขียนหนังสือ   ทำลายขนบธรรมเนียมประเพณีเดิมและคำสอนของขงจื๊อเผาตำราต่างๆ   มีการสร้างกำแพงเมืองจีน ค้นพบดินปืนเป็นชาติแรก มีการใช้เหรียญกษาปณ์ มาตราชั่ง ตวง วัด

 4. ราชวงศ์ฮั่น

           กำเนิดเมื่อ202 ปีก่อน ค.ศ. – ค.ศ.221 มีการฟื้นฟูปรัชญาและวรรณกรรมที่มีการเผาในสมัยราชวงศ์ ฉินหรือ จิ๋น นำหลักการของขงจื๊อมาใช้ในการปกครองประเทศ มีการสอบเข้ารับราชการหรือ ระบบจอหงวน  มีการทำกระดาษจากเปลือกไม้ คิดค้นการทำหมึกจากเขม่าต้นรัก ใช้พู่กันเขียนลงบนกระดาษ  การคำนวณหาอัตราส่วนเส้นผ่าศูนย์กลางกับเส้นรอบวง ประดิษฐ์ลูกคิด เครื่องตรวจแผ่นดินไหว  ในสมัยนี้มีการใช้เส้นทางแพรไหม (Silk Route) ในการติดต่อค้าขายกับทางตะวันตก เป็นยุคทองด้านการค้าของจีน เมื่อสิ้นราชวงศ์ฮั่นเกิดการรบแย่งชิงอำนาจนาน 50 ปี เรียกสมัยสามก๊กจีนแบ่งแยกเป็นแค้วนๆ ค.ศ. 220-265 และ สมัย หกราชวงศ์ ค.ศ.420-589 ราชวงศ์ ซุย ค.ศ.589-618 

5. ราชวงศ์สุย

  • เป็นยุคแตกแยกแบ่งเป็นสามก๊ก
  • มีการขุดคลองเชื่อมแม่น้ำฮวงโหกับแม่น้ำแยงซี เพื่อประโยชน์ในด้านการคมนาคม

6.ราชวงศ์ถัง

           ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของอารยธรรมจีน นครฉางอานเป็นศูนย์กลางของซีกโลกตะวันออกในสมัยนั้น พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรือง พระภิกษุ (พระถังซำจั๋งหรือพระเสวียนจาง) เดินทางไปศึกษาพระไตรปิฎกในชมพูทวีป เป็นยุคทองของกวีนิพนธ์จีน กวีคนสำคัญ เช่น หวางเหว่ย หลี่ไป๋ ตู้ฝู้ ศิลปะแขนงต่างๆมีความรุ่งเรือง หรือแม้แต่การสวดมนต์ในพระพุทธศาสนาก็เป็นต้นกำเนิดของเครื่องดนตรีจีน เช่น ขิมและขลุ่ย และก่อตั้งราชบัณฑิตยสถาน ชื่อ ฮันหลิน หยวน เพื่อเป็นศูนย์รวมเหล่านักปราชญ์ราชบัณฑิต นักดนตรี และจิตรกร

7. ราชวงศ์ซ้อง

          มีความก้าวหน้าด้านการเดินเรือสำเภาเนื่องจากการค้ามีความรุ่งเรืองแต่ราช สำนักไม่แข็งแรง มีการใช้เข็มทิศ ลูกคิด ประดิษฐ์แท่นพิมพ์หนังสือ และรักษาโรคด้วยการฝังเข็ม มีการฟื้นฟูลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋า เกิดประเพณีรัดเท้าสตรี และต่อมาถูกเผ่ามองโกลรุกราน

ความก้าวหน้า ทาง วิทยาการ ข้อ ใด ที่ จีน สามารถ คิดค้น ได้เป็นชาติ แรก

8. ราชวงศ์หยวน

  • เป็นราชวงศ์ชาวมองโกลที่เข้ามาปกครองจีน ฮ่องเต้องค์แรกคือ กุบไลข่าน หรือ หงวนสีโจ๊วฮ่องเต้
  • ชาวตะวันตกเข้ามาติดต่อค้าขายมาก เช่น มาร์โคโปโล พ่อค้าชาวเมืองเวนีส อิตาลี

ความก้าวหน้า ทาง วิทยาการ ข้อ ใด ที่ จีน สามารถ คิดค้น ได้เป็นชาติ แรก

กุบไลข่าน

ความก้าวหน้า ทาง วิทยาการ ข้อ ใด ที่ จีน สามารถ คิดค้น ได้เป็นชาติ แรก

มาโคโปโล

9. ราชวงศ์หมิงหรือเหม็ง

  • วรรณกรรม นิยมการเขียนนวนิยายที่ใช้ภาษาพูดมากกว่าการใช้ภาษาเขียน มีนวนิยายที่สำคัญ ได้แก่ สามก๊ก ไซอิ๋ว
  • ส่งเสริมการสำรวจเส้นทางเดินเรือทางทะเล
  • สร้างพระราชวังหลวงปักกิ่ง (วังต้องห้าม)

 

ความก้าวหน้า ทาง วิทยาการ ข้อ ใด ที่ จีน สามารถ คิดค้น ได้เป็นชาติ แรก

พระราชวังต้องห้าม

10. ราชวงศ์ชิงหรือเช็งหรือแมนจู

  • เป็นราชวงศ์เผ่าแมนจู เป็นยุคที่จีนเสื่อมถอยความเจริญทุกด้าน
  • เริ่มถูกรุกรานจากชาติตะวันตก เช่น สงครามฝิ่น ซึ่งจีนรบแพ้อังกฤษ ทำให้ต้องลงนามในสนธิสัญญานานกิง
  • ปลายยุคราชวงศ์ชิง พระนางซูสีไทเฮาเข้ามามีอิทธิพลในการบริหารประเทศมาก

จีนยุคสาธารณรัฐและยุคคอมมิวนิสต์

          ปลายยุคราชวงศ์ชิง ดร.ซุนยัตเซ็น จัดตั้งสมาคมสันนิบาต เพื่อล้มล้างราชวงศ์ชิง โดยประกาศ ลัทธิไตรราษฎร์ ประกอบด้วย 1.หลักเอกราช 2.หลักแห่งอำนาจอธิปไตยของประชาชน 3.หลัก ความยุติธรรมในการครองชีพ ส่วนนโยบายปฏิวัติ คือ โค่นล้มราชวงศ์แมนจู และจัดตั้งรัฐบาลประชาชน จัดตั้งรัฐบาลตามระบอบสาธารณรัฐ จัดสรรที่ดินให้แก่ประชาชน และก่อตั้งพรรคชาตินิยม หรือ พรรคก๊กมินตั๋ง ขึ้นในที่สุด

          ต่อ มา ซุนยัตเซ็นได้ร่วมมือกับ ยวน ซีไข ทำการปฏิวัติล้มราชวงศ์ชิงได้สำเร็จเปลี่ยนการปกครองเข้าสู่ระบอบสาธารณรัฐ (จักรพรรดิปูยี เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของจีน) มีการแย่งชิงอำนาจของผู้นำทางทหารเรียกว่า ยุคขุนศึกซุนยัตเซ็นได้เสนอให้ ยวน ซีไข เป็นประธานาธิบดีของสาธารณรัฐจีนยวน ซีไข คิดสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิและรื้อฟื้นระบบศักดินาดร.ซุนยัตเซ็น ตั้งพรรคก๊กมินตั๋งเมื่อ ยวน ซีไข เสียชีวิตลง ดร.ซุนยัตเซ็นเป็นประธานาธิบดี แต่เป็นได้ไม่นานก็เสียชีวิต 

          หลัง จาก ดร. ซุนยัตเซ็น เสียชีวิต เจียงไคเช็ค ขึ้นเป็นผู้นำพรรคก๊กมินตั๋งและผู้นำจีนแต่รัฐบาลเจียงไคเช็ค ประสบปัญหาฉ้อราษฎร์บังหลวง กดขี่ราษฎรจีนเกิดการปฏิวัติอีกครั้ง โดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน ภายใต้การนำของ เหมา เจ๋อตุง รัฐบาลเจียงไคเช็ค ต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แต่แพ้เหมา เจ๋อตุง สถาปนา “สาธารณรัฐประชาชนจีน” ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ มีการจัดระเบียบสังคมใหม่ เรียกว่า การปฏิวัติทางวัฒนธรรม เพื่อต่อต้านจารีตศักดินาแบ่งชนชั้ หลัง จาก เหมา เจ๋อตุง เสียชีวิต เติ้งเสี่ยวผิงขึ้นเป็นผู้นำจีนแทน ประกาศ   พัฒนาประเทศด้วย นโยบายสี่ทันสมัย คือด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การทหาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยอนุญาตให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน   ภายในประเทศ รวมทั้งผ่อนปรนวิถีการ  ดำเนินชีวิตของประชาชนให้คลายความอนุสรณ์สถานประธานเหมา เจ๋อตุงเข้มงวดลง          

 

ความก้าวหน้า ทาง วิทยาการ ข้อ ใด ที่ จีน สามารถ คิดค้น ได้เป็นชาติ แรก

           เหมา เจ๋อตุง          

ความก้าวหน้า ทาง วิทยาการ ข้อ ใด ที่ จีน สามารถ คิดค้น ได้เป็นชาติ แรก

อนุสาวรีย์วีรชนปฏิวัติจีน

สังคมและวัฒนธรรมของจีน

ด้านสังคม

  • ชนชั้นขุนนาง ปัญญาชน เป็นกลุ่มผู้มาจากการสอบผ่านเข้ารับราชการเพื่อให้ได้ผู้มีความรู้และมีคุณธรรมเมื่อผู้ใดได้เป็นขุนนาง จะได้รับสิทธิยกเว้นการเกณฑ์แรงงาน ยกเว้นภาษี มีชีวิตสะดวกสบาย
  • ชนชั้นชาวนา มีจำนวนมากกว่าชนชั้นอื่นสังคมจีนเป็นสังคมเกษตรกรรม สมัยราชวงศ์โจว ชนชั้นชาวนาได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ผลิต แต่กลับถูกเรียกเก็บภาษี ถูกเกณฑ์แรงงานและเกณฑ์ทหาร
  • ชนชั้นพ่อค้าและทหารตามความคิดของขงจื๊อชนชั้นนี้ไม่น่ายกย่องเพราะมิใช่เป็นผู้ผลิต แต่พ่อค้า เป็นกลุ่มที่ร่ำรวย และการทำสงครามระหว่างเจ้าผู้ครองนคร ในสมัยราชวงศ์โจวทำให้ทหารมีความสำคัญในการป้องกันสังคมให้ปลอดภัย

ด้านวัฒนธรรม   

1. ลัทธิขงจื้อ (Confucianism)

                    หลักคำสอนของขงจื๊อ  ถือว่ามนุษย์ที่สมบูรณ์เพียบพร้อมที่สุดคือเพียบพร้อมด้วยคุณธรรม แนวคำสอนที่เป็นพื้นฐานของภูมิปัญญาจีนที่เชื่อว่าปัญหาต่างๆในสังคมเกิดจากคนแต่ละคน การแก้ปัญหาทางหนึ่งคือการฝึกฝนตนเองการอบรมตนเอง  และสามารถปกครองครอบครัวได้เมื่อปกครองครอบครัวได้ก็สามารถปกครองแค้วนได้ คุณธรรมประกอบด้วยหลัก 5 ประการ  ความสุภาพ  มีใจโอบอ้อมอารี  จริงใจ  ตั้งใจ  เมตตากรุณา   คุณธรรมที่สำคัญที่เป็นหัวใจของปรัชญาขงจื๊อคือ เหริน เพราะคำนี้ประกอบด้วย อักขระสองตัวคือ “คน” กับ “สอง” หมายถึงมนุษยสัมพันธ์เป็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์  เหรินคือความรัก ความเมตตา ความเห็นอกเห็นใจ เริ่มจากความรักในบิดา มารดา ความรักในความเป็นพี่น้อง

    ผลงานของขงจื๊อรวบรวมไว้เรียก คัมภีร์ 5 เล่ม ของขงจื๊อประกอบด้วย

    • อี้จิง ตำราว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง
    • ชูจิง ตำราว่าด้วยประวัติศาสตร์
    • ซือจิง ตำราว่าด้วยกาพย์กลอน
    • หลี่จิ้ง ตำราว่าด้วยพิธีการ
    • ชุนชิว พงศาวดารฤดูใบไม้ผลิและใบไม้ร่วง

     

    ความก้าวหน้า ทาง วิทยาการ ข้อ ใด ที่ จีน สามารถ คิดค้น ได้เป็นชาติ แรก

    2. ลัทธิเต๋า (Taoism)

                   เป็นลัทธิที่เกี่ยวข้องกับการมีชีวิตอยู่กับธรรมชาติโดยคำว่า เต๋า แปลว่า "หนทาง“  ไม่สามารถที่จะรู้จากอักษรและชื่อ ถ่ายทอดไม่ได้

                   เล่าจื้อเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งที่ได้เขียนข้อความสื่อถึงเต๋าในชื่อหนังสือว่า เต๋าเต็กเก็ง

                   มีสัญลักษณ์คือ หยินหยาง ยังมีชื่อเรียกอีกว่า คติทวินิยม, พุท, อัว หมายถึง ธรรมชาติที่เป็นของคู่ตรงกันข้าม สิ่งที่เป็นของคู่ ของคู่อันพึ่งทำลาย ของคู่อันทำให้สมดุลฯ

    • หยาง คือพลังบวกมีลักษณะสีแดง เป็นพลังเพศชาย พบในทุกสิ่งทุกอย่างที่ให้ความอบอุ่น สว่างไสว มั่นคง สดใส
    • หยิน คือพลังลบ มีลักษณะสีดำ เป็นพลังเพศหญิง พบในทุกสิ่งทุกอย่างที่ให้ความหนาวเย็น ความมืด อ่อนนุ่ม ชื้นแฉะ ลึกลับ และเปลี่ยนแปลง

                   ลัทธิเต๋ามีอิทธิพลต่อจีนทางด้านศิลปกรรม และมีการผสมกลมกลืนกันระหว่างลัทธิขงจื๊อและพุทธศาสนานิกายมหายาน

    ความก้าวหน้า ทาง วิทยาการ ข้อ ใด ที่ จีน สามารถ คิดค้น ได้เป็นชาติ แรก

    ขงจื๊อ

    ความก้าวหน้า ทาง วิทยาการ ข้อ ใด ที่ จีน สามารถ คิดค้น ได้เป็นชาติ แรก

    เล่าจื๊อ

    3. ลัทธินิติธรรมหรือฟาเฉีย  (Legalism)

                   เกิดขึ้นในสมัยปลายราชวงศ์โจว ผู้นิยมในลัทธินี้มีความเชื่อว่าโดยธรรมชาติมนุษย์เกิดมาเป็นคนเลว มีกิเลสตัณหา จึงต้องควบคุมโดยวิธีการลงโทษผู้กระทำผิด และให้รางวัลแก่ผู้กระทำความดี ลัทธินี้ได้พัฒนาเป็นกฎหมายของจีนในเวลาต่อมา

    4. พระพุทธศาสนา

                   พุทธศาสนานิกายมหายานได้เข้าในสมัยราชวงศ์ฮั่น และได้มีการดัดแปลงให้เข้ากับวิถีชีวิตของคนจีน ทำให้เกิดนิกายมหายานใหม่ขึ้นหลายนิกาย เช่น สุขาวดี ฌานหรือเซน และนิกายเทียนไท้

    ศิลปกรรมจีน

    1. เครื่องปั้นดินเผาและเครื่องเคลือบ

                     ศิลปะที่มีอายุยืนนานที่สุดเริ่มต้นตั้งแต่ปลายยุคหินใหม่ คือ เครื่องปั้นดินเผาลายเขียนสีในวัฒนธรรมหยางเชา และเครื่องปั้นดินเผาสีดำขัดมันเงาในวัฒนธรรมหลงชาน ซึ่งทำขึ้นสำหรับพิธีฝังศพและเพื่อประโยชน์ใช้สอยทั่วๆไป

                     กรรมวิธีในการเผา เคลือบ การใช้สี และการวาดลวดลายเครื่องปั้นดินเผา มีพัฒนาการเรื่อยมาและรุ่งเรืองที่สุดในสมัยราชวงศ์ซ่ง มีการผลิตภาชนะดินเผาแบบพิเศษสำหรับชนชั้นสูงและแบบธรรมดาสำหรับสามัญชนทั่วไปเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งส่งเป็นสินค้าออกต่างประเทศและได้กลายเป็นต้นแบบของเครื่องเคลือบที่เรียกว่า ลายคราม ในสมัยราชวงศ์หยวนและพัฒนาไปถึงขั้นสูงสุดเป็นเครื่องเบญจรงค์ถ้วยชามในสมัยราชวงศ์หมิง กล่าวคือ เป็นลายครามเคลือบสีทั้งห้า สีหลักคือ สีดำ ขาว เหลือง แดง และเขียวหรือคราม และอาจใช้สีอื่นประกอบได้อีก เช่น สีม่วง ชมพู แสด น้ำตาล  

      2. เครื่องสำริด

                       ทำขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ บรรพบุรุษ และใช้ในพิธีต่างๆตลอดจนใช้สอยในชีวิตประจำวัน ภาชนะสำริดที่เก่าแก่ที่สุด พบในสมัยราชวงศ์ชาง มีลักษณะพิเศษที่ลายประดิษฐ์และลอกเลียนแบบธรรมชาติ ตอนปลายของราชวงศ์ชาง ถือว่าเป็นยุคทองของเครื่องสำริด

                       เครื่องสำริดค่อยๆหมดความสำคัญลงในสมันราชวงศ์ฮั่นเนื่องจากมีวัสดุอุปกรณ์อื่นเข้ามาแทน เช่น เหล็ก ทองคำ เงิน เครื่องปั้นดินเผา แต่อย่างไรก็ตามเครื่องสำริดก็ยังใช้ทางด้านพิธีกรรมอยู่ 

        3. เครื่องหยก

                         เครื่องหยกจัดเป็นศิลปะแขนงสำคัญของจีนตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์มีการพบหยกสีน้ำตาลทำเป็นรูปขวานและแหวนในหลุมศพปลายสมัยหินใหม่ ชาวจีนยกย่องว่าหยกเป็นสัญลักษณ์แห่งคุณธรรม 5 ประการ คือ ใจบุญ สมถะ กล้าหาญ ยุติธรรม และมีสติปัญญา ชาวจีนมีความผูกพันกับหยกตั้งแต่เกิดจนตายก็ว่าได้ เพราะชาวจีนเชื่อว่าหยกเป็นอัญมณีศักดิ์สิทธิ์ที่นำมาซึ่งสิริมงคล ความเจริญรุ่งเรือง ความร่ำรวย ความมีโชคแก่ผู้ครอบครองและทำให้อายุยืนด้วยดังนั้น

                         ชาวจีนในสมัยก่อนไม่ว่าจะเป็นชนชั้นใดจึงนิยมใช้หยกเป็นเครื่องประดับและเครื่องใช้ต่าง เช่น พระจักรพรรดิใช้หยกเป็นตราพระราชลัญจกร พระธำมรงค์ พระคทา หรือพระที่นั่ง ชาวจีนทั่วไปมักจะให้ลูกหลานของตนพกหยกติดตัวไว้เสมอ ถ้าเป็นเด็กหญิงจะสวมกำไลหยก แต่ถ้าเป็นเด็กชายก็จะพกเครื่องใช้ที่ทำด้วยหยกหรือจี้พระหยก เมื่อเสียชีวิตหยกก็จะถูกฝังลงไปพร้อมกับศพ

                         การที่ชาวจีนฝังหยกลงไปด้วยกันกับศพนี้ เนื่องจากเชื่อกันว่าหยกสามารถรักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อยได้ ดังที่มีการขุดพบฉลองพระองค์หยกของพระจักรพรรดิในราชวงศ์ฮั่นตะวันตกเมื่อ 2,000 ปีก่อน ซึ่งเป็นหลักฐานยืนยันความเชื่อนี้ ส่วนประเพณีทำศพนั้น ชาวจีนมักจะนำหยกที่แกะสลักเป็นรูปกลมแบนมีรูตรงกลางซึ่งแทนสัญลักษณ์ของสวรรค์ที่เรียกว่า "ปิ" (Pi) มาวางไว้ด้านหลังศพ ส่วนบนท้องศพจะวางหยกรูปสี่เหลี่ยมซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของโลก เรียกว่า "จุง" (Tsung) เพื่อให้สวรรค์หนุนหลัง

           

          ความก้าวหน้า ทาง วิทยาการ ข้อ ใด ที่ จีน สามารถ คิดค้น ได้เป็นชาติ แรก

          กำไลหยก  

          4. ประติมากรรม

                           ส่วนใหญ่เป็นเครื่องปั้นดินเผามีอายุเก่าแก่ตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ ทำจากดินสีแดง มีลวดลาย แดง ดำ และขาวเป็นลวดลายเรขาคณิต สมัยราชวงศ์ฉินมีการสร้างสุสานของจักรพรรดิจิ๋นซี ทางด้านตะวันออกองเมืองซีอาน ภายในมีการขุดพบประติมากรรมดินเผารูปทหารเท่าคนจริงจำนวนหลายพันรูป และขบวนม้าศึก จัดตามตำราพิชัยสงคราม

             

            ความก้าวหน้า ทาง วิทยาการ ข้อ ใด ที่ จีน สามารถ คิดค้น ได้เป็นชาติ แรก

                           งานประติมากรรมดินเผาเริ่มเสื่อมลงในราชวงศ์ฮั่นเนื่องจากมีการนำหินมาสลักแทนและ มีการแกะสลักงาช้าง หินอ่อน และหยกตามความเชื่อและความนิยมของชาวจีน ที่เชื่อว่า หยก ทำให้เกิดความเป็นสิริมงคลในสมัยราชวงศ์ชางสมัยราชวงศ์ถัง ทั้งงานหล่อสำริดและแกะสลักจากหิน ซึ่งมีสัดส่วนงดงาม เป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะอินเดียและจีนที่มีลักษณะเป็นมนุษย์มากกว่าเทพเจ้า นอกจากนี้มีพุทธปฏิมาที่นิยมสร้าง คือ พระศรีศากยมุนี พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระศรีอริยเมตไตรย พระอมิตาภะ                 

            5. สถาปัตยกรรม

              ความก้าวหน้า ทาง วิทยาการ ข้อ ใด ที่ จีน สามารถ คิดค้น ได้เป็นชาติ แรก

              กำแพงเมืองจีน สร้างในสมัยราชวงศ์จิ๋น เพื่อป้องกันการรุกรานของมองโกล

              ความก้าวหน้า ทาง วิทยาการ ข้อ ใด ที่ จีน สามารถ คิดค้น ได้เป็นชาติ แรก

              เมืองปักกิ่ง สร้างในสมัยราชวงศ์หงวน โดยกุบไลข่าน ซึ่งได้รับการยกย่องทางด้านการวางผังเมือง ส่วนพระราชวังปักกิ่งสร้างในสมัยราชวงศ์เหม็ง

               

              ความก้าวหน้า ทาง วิทยาการ ข้อ ใด ที่ จีน สามารถ คิดค้น ได้เป็นชาติ แรก

              พระราชวังฤดูร้อน สร้างในสมัยราชวงศ์เช็ง โดยพระนางซูสีไทเฮา ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างยุโรปและจีนโบราณ

                             กำแพงเมืองซีอาน  

              6. จิตรกรรม

                • มีวิวัฒนาการมาจากการเขียนตัวอักษรจีนจารึกบนกระดูกเสี่ยงทายเพราะตัวอักษรจีนมีลักษณะเหมือนรูปภาพ
                • งานจิตรกรรมจีนรุ่งเรืองมากในสมัยราชวงศ์ฮั่น มีการเขียนภาพและแกะสลักบนแผ่นหิน ที่นิยมมากคือ การเขียนภาพบนผ้าไหม ภาพวาดเป็นเรื่องเล่าในตำราขงจื๊อพระพุทธศาสนาและภาพธรรมชาติ
                • สมัยราชวงศ์ถัง มีการพัฒนาการใช้พู่กันสีและกระดาษภาพส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาและลัทธิเต๋า
                • สมัยราชวงศ์ซ้อง จิตรกรรมจัดว่าเด่นมาก ภาพวาดมักเป็นภาพมนุษย์กับธรรมชาติ ทิวทัศน์ ดอกไม้

                จิตรกรที่มีชื่อเสียง

                • กู่ไค่จิ้น (Ku Kai Chin) บิดาแห่งจิตรกรรมจีน
                • เซียะโห (Hsieh Ho) จิตรกรคนสำคัญที่มีอยู่ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5
                • อู่เต้าจื่อ (Wu Tao-Tzu) ผู้นำในการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังที่แสดงเรื่องราวทางพระพุทธศาสนา
                • หวางเว่ย ผู้วางรากฐานการวาดภาพทิวทัศน์ที่เชื่อมโยงเข้ากับลีลาของบทกวีนิพนธ์
                • หมี่ฟุ นำตัวอักษรมาผสมกับการวาดภาพ

                7. วรรณกรรม

                •  วรรณกรรมที่สำคัญ ได้แก่ คัมภีร์ทั้ง ของขงจื๊อ วรรณกรรมที่สำคัญอีกเล่มคือ สื่อจี้ (บันทึกประวัติศาสตร์) บันทึกโดยซือหม่าเฉียน ในสมัยราชวงศ์ฮั่น
                • วรรณกรรมสามก๊ก สันนิษฐานว่าเขียนในคริสต์ศตวรรษที่ 14 เป็นเรื่องราวของ ความแตกแยกในจีนตั้งแต่ปลายสมัยราชวงศจิ๋นจนถึงราชวงศ์ฮั่น
                • ซ้องกั๋ง เป็นเรื่องประท้วงสังคม เรื่องรวความทุกข์ของผู้คนในมือชนชั้น ผู้ปกครอง สะท้อนความทุกข์ของชาวจีนภายใต้การปกครองของพวกมองโกล
                • ไซอิ๋ว เป็นเรื่องราวการเดินทางไปนำพระสูตรจากสวรรค์ทางตะวันตกมายังประเทศจีน
                • จินผิงเหมย หรือดอกบัวทอง แต่งขึ้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 เป็นนิยายเกี่ยวกับสังคมและชีวิตครอบครัว เป็นเรื่องของชีวิตที่ร่ำรวย มีอำนาจขึ้นมาด้วยเล่ห์เหลี่ยม แต่ด้วยการทำชั่วและผิดศีลธรรมในที่สุดต้องรับกรรม
                • หงโหลวเมิ่ง หรือ ความฝันในหอแดง เด่นที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 18 เรื่องราวเต็มไปด้วยการแก่งแย่งชิงดี อิจฉาริษยากัน ผู้อ่านจะรู้สึกเศร้าสลดต่อชะตาชีวิตของพระเอกนางเอกเนื้อเรื่องสะท้อนให้เห็นสังคมศักดินาของจีนที่กำลังเสื่อมโทรมก่อนการเปลี่ยนแปลงสังคมเข้าสู่ยุคใหม่ บันทึกประวัติศาสตร์ ของ สื่อหม่าเฉีย 

                ความก้าวหน้าทางวิทยาการของจีน

                1. อักษรจีน

                               การปรากฎของอักษรจีนที่เก่าแก่ที่สุดนั้น ค้นพบที่เมืองซีอาน มณฑลส่านซี ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน เมื่อประมาณ 5,000 ปี มาแล้ว โดยอยู่ในรูปของอักษรภาพที่แกะสลักเป็นวงกลม พระจันทร์เสี้ยว และ ภูเขาห้ายอด บนเครื่องปั้นดินเผา จวบจนเมื่อ 3,000 ปี ก็ได้เปลี่ยนรูปแบบเป็น อักษรที่จารึกบนกระดูกสัตว์นั่นเอง ซึ่งเป็นยุคต้นศิลปะการเขียนของจีน  หากเรียงลำดับวิวัฒนาการจะได้ดังนี้

                • อักษรจารึกบนกระดูกสัตว์เจี๋ยกู่เหวิน เป็นอักษรโบราณที่เก่าแก่ที่สุดในจีน ตั้งแต่มีการค้นพบมา โดยอยู่ในรูปแบบ ของการทำนาย ที่ใช้มีดแกะสลักลงบนกระดูกของเต่า
                • อักษรโลหะ หรือ จินเหวิน เป็นอักษรที่เกิดในราชวงศ์ชาง-ราชวงศ์โจว มีลักษณะพิเศษคือ ลายเส้นจะมีความหนาและชัดเจนมากเพราะได้จากากรหลอมของโลหะ ไม่ใช่การแกะสลัก
                • อักษรจ้วนเล็ก จากสมัยชุนชินจั้นกว๋อ จนถึงราชวงศ์ฉินอักษรจีนได้คงรูปแบบเดิมไว้อยู่จากราชวงศ์โจวตะวันตก ภายหลังหลังจากจิ๋นซีฮ่องเต้รวบรวมแผ่นดินจีนเข้าด้วยกัน ในปี ค.ศ.221 แล้วก็ได้เกิดการปฎิรูปตัวอักษรจีนครั้งใหญ่ อักษรที่ผ่านการปฎิรูปนี้ ได้ใช้กันทั่วประเทศจีนเป็นครั้งแรกเรียกว่า อักษร จ้วนเล็ก
                • อักษรลี่ซู ขณะที่ราชวงศ์ฉินมีการประกาศใช้อักษร จ้วนเล็กแล้ว ก็ได้มีการให้ใช้อักษรลี่ซูควบคู่กันไป โดยอักษรลี่ซู พัฒนามาจาก อักษรจ้วนเล็กอย่างง่าย อักษรลี่ซูทำให้อักษรจีน ก้าวเข้าสู่อักษรสัญลักษณ์ อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งไม่ใช่อักษรภาพเหมือนยุคแรก
                • อักษรข่ายซู เป็นอักษรที่ใช้กันแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน เป็นเส้นลักษณะที่เกิดขึ้นภายใต้กรอบสี่เหลี่ยม หลุดพ้นจากอักษรภาพ ยุคโบราณอย่างสิ้นเชิง
                • อักษรเฉ่าซู เกิดจากการที่นำลายเส้นที่มีอยู่แต่เดิม มาย่อเหลือเพีงขีดเดียว โดยฉีกรูปแบบที่จำเจของอักษรภายใต้กรอบสี่เหลี่ยมที่มีแต่เดิมออกไป 
                • อักษรสิงซู รูปแบบระหว่าง ข่ายซู กับ เฉ่าซู ผสมกัน หรือ อาจกล่าวได้ว่าเป็นอักษรที่เขียนตวัด อย่างบรรจง กำหนดขึ้นใน ปลายราชวงศ์ฮั่น ทางตะวันออก

                2.       กระดาษและการพิมพ์

                  2.1   กระดาษ

                                 วัฒนธรรมและงานของมนุษย์มีผลมาจากการที่การพิมพ์ก้าวหน้า และการพิมพ์ก็ต้องใช้กระดาษในการพิมพ์ ชาวจีนนั้นภูมิใจมาก ที่ได้เป็นผู้คิดค้นกระดาษขึ้นมา แต่เดิมนั้นชาวจีนเขียนหนังสือลงบนไม้ไผ่ และต่อมาในราชวงศ์ฉิน และ ฮั่น ผู้คนต่างลงความเห็นว่า การเขียนลงบนไม้ไผ่นั้นไม่สะดวก จึงเปลี่ยนมาเขียนลงบน ผ้าไหมแทน แต่ว่าผ้าไหมนั้นมีราคาแพงมาก ในราชวงศ์ฮั่น มีบุคคลชื่อว่าไช่หลุน ได้ค้นพบวิธี นำเปลือกไม้ และ เศษผ้ามาทำเป็นกระดาษ ซึ่งจักรพรรดิฮั่นเหอตี้ทรงโปรดมากเพราะผู้คนทั่วโลกได้ใช้กระดาษของเขา เขาจึงเรียกชื่อกระดาษนี้ว่า กระดาษไช่หลุน

                  2.2   การพิมพ์

                                 เทคนิคการพิมพ์ถือเป็น1ใน4สุดยอดสิ่งประดิษฐ์ของจีน ซึ่งมีต้นกำเนิดในสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ ราว ค.ศ1041-1048 เช่นเดียวกัน เดิมตำราของจีนต้องคัดลอกด้วยลายมือ ต่อมามหาอุปราชเฝิงเต้าสั่งให้ราชวิทยาลัย กว่อจื่อเจี้ยนจัดพิมพ์คัมภีร์ 9 เล่ม เป็นการเรียงพิมพ์ ทำให้สามารถผลิตหนังสือได้เร็วและมากกว่าเดิมหลายเท่า เครื่องพิมพ์แบบเรียงพิมพ์ที่ปี้เซิงประดิษฐ์ขึ้น ใช้แผ่นดินเหนียวเผาแกะเป็นตัวพิมพ์ ต่างจากปัจจุบันตรงที่ปัจจุบันเป็นตะกั่ว

                  ความก้าวหน้า ทาง วิทยาการ ข้อ ใด ที่ จีน สามารถ คิดค้น ได้เป็นชาติ แรก

                  3. การแพทย์

                                 ในราชวงศ์ฮั่นนั้นถือว่าได้มีการบันทึกประวัติศาสตร์ทางการแพทย์ยาวนานที่สุด และมีประสบการณ์ และ ทฤษฎีมากที่สุด การแพทย์โบราณของจีนนั้นถือกำเนิดมาจากบริเวณลุ่มแม่น้ำเหลืองของจีน ได้กำเนิดแพทย์ชื่อดังจำนวนมาก และตำราแพทยศาสตร์ที่สำคัญมากมาย ได้มีการบันทึกการรักษาพยาบาล และโรคมากมายลงบนกระดูก กระดองเต่า จนมาถึงราชวงศ์โจว เริ่มมีการ ตรวววจวินิจฉัย 4 อย่าง คือ มอง ฟัง ถาม และ แมะ ตลอดจน วินิจฉัยโรคต่างๆ และมีการจ่ายยา และการฝังเข็ม เป็นต้น

                                 ในสมัยราชวงศ์ฉินและฮั่น นั้นได้มีบทประพันธ์ที่มีระบบชื่อว่า” หวาง ตี้ เน่ย จิง” ถือเป็นตำราทางการแพทย์ที่เก่าแก่ที่สุด

                                 เมื่อถึงราชวงศ์ฮั่น แพทย์ศัลยกรรมเริ่มมีชื่อเสียงมากอยู่แล้ว และได้เริ่มมีการใช้ยา “ หมา เฟ่ย ส่าน ”เพื่อใช้เป็นยาสลบ เพื่อลดความเจ็บปวดในการผ่าตัด และ ในราชวงศ์ซ่งนั้น การฝังเข็มได้มีการปฎิรูป ครั้งสำคัญ

                                 ตั้งแต่ราชวงศ์หมิงเป็นต้นมาแพทย์ศาสตร์ ของตะวันตกได้เข้าไปยังประเทศจีน นับเป็นจุดเริ่มต้น ของการนำแพทย์ศาสตร์ตะวันตกกับจีนเข้าด้วยกัน

                  ความก้าวหน้า ทาง วิทยาการ ข้อ ใด ที่ จีน สามารถ คิดค้น ได้เป็นชาติ แรก

                  4. ความรู้ทางวิศวกรรมโลหะ

                                 สมัยราชวงศ์ชางเมื่อ3,000 ปีมาแล้ว ประชาชนจีนได้รู้จักการถลุงสำริด และยังรู้จักใช้เหล็ก ในสมัยชุนชิวได้ปรากฎเทคนิคการถลุงเหล็กกล้า ควบคู่ไปกับการเกษตรกรรม จึงทำให้เกิดชลประทานตูเจียงแย่น ที่มีชื่อเสียงมาจนถึงปัจจุบัน

                                 สมัยราชวงศ์ช้องได้มีการพัฒนาด้านถ่านหิน และ การหลอมเหล็กกล้ามาก จีนได้สร้างอาวุธมากมาย สมัยราชวงศ์ถังสามารถหล่อเสาเหล็กขนาดใหญ่ที่สูงถึง 30 เมตร แสดงถึงวิทยาการทางวิศวกรรมโลหะของจีนมีความก้าวหน้ามาก

                  5. การต่อเรือ

                                 วิทยาการที่ก้าวหน้าอีกประการหนึ่ง คือ ความสามารถในการต่อเรือเดินทะเลขนาดใหญ่สมัยราชวงศ์ถัง แล้วมีการพัฒนาขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ่ง และในสมัยราชวงศ์หมิง กองเรือขนาดใหญ่จำนวนนับสิบลำของจีนสมามารถเรือจากทะเลจีนใต้ไปจนถึงชายฝั่งทะเลตะวันออกของแอฟริกา

                  6. ดินปืน

                                 ดินปืนเป็นหนึ่งในสิ่งประดิษฐ์อันยิ่งใหญ่ของจีนอีกเช่นกัน หลักฐานของจีนมีอยู่ว่า การประดิษฐ์ดินปืนนั้นสืบเนื่องมาจาก ในป่าลึกทางตะวันตกของจีนมีผีป่าน่ากลัว ชื่อซันเซา ผู้ใดพบก็จะมีอาการจับไข้ หากนำไม้ใผ่มาตัดเป็นข้อปล้องโยนเข้าไปในกองไฟ จะเกิดเสียงดังเปรี้ยงปร้าง ซันเซาก็จะตกใจหนีไป คืนส่งท้ายปีเก่าของจีนจึงนิยมจุดประทัดเพื่อขับไล่ผีซันเซานี่เอง ภายหลังมีการนำเอาดินประสิวและกำมะถันมาห่อรวมกันในกระดาษทำให้เป็นประทัด นั่นคือการเริ่มต้นใช้ดินปืน ส่วนประกอบสำคัญของดินปืน คือ ดินประสิว กำมะถัน และผงถ่าน

                                 สมัยซ้องมีการนำดินปืนมาประดิษฐ์อาวุธยุทโธปกรณ์ โดยเฉพาะสมัยซ้องใต้มีการนำมาใช้มากขึ้นไปอีก เกี่ยวกับการประดิษฐ์ดินปืน และทำกระดาษนี้ มีตำราเล่มหนึ่งบันทึกเรื่องเหล่านี้เอาไว้ เช่น ปลายสมัยราชวงศ์หมิง ซ่งอิ้งซิง ได้เขียนตำรา เทียนกงไคอู้ บรรยายการวิเคราะห์อุตสาหกรรมเคมีสมัยจีนโบราณทั้งมีภาพประกอบ นับว่าเป็นหนังสือที่มีคุณค่ามาก

                  7. ดาราศาสตร์และปฏิทิน

                                 ประเทศจีนนับเป็นประเทศแรกของโลกที่มีการคำนวณหาระยะพิกัดดวงดาวจากเส้นศูนย์สูตร เนื่องจากแนวคิดทางดาราศาสตร์ของจีนนับแต่โบราณกาล มีพื้นฐานมาจากการศึกษาการเคลื่อนตำแหน่งของดวงดาว อาทิตย์และจันทร์ ในขณะที่ประเทศทางแถบตะวันตกในสมัยโบราณจะใช้ระบบวงโคจรของจักรราศีของ 12 ราศี ซึ่งจากการศึกษาทางดาราศาสตร์ในปัจจุบันพิสูจน์ว่า ระบบทั้งสองมีความแตกต่างกัน โดยระบบแรกให้ผลดีกว่าระบบหลัง ปัจจุบันวงการดาราศาสตร์หันมาใช้ระบบการหาพิกัดจากเส้นศูนย์สูตร

                                 คนจีนสมัยก่อน มีการบันทึกเรื่องราวบนฟ้ามากมาย เช่น การเกิดสุริยุปราคา จันทรุปราคา มนุษย์นอกโลก แผนที่ดาว หรือแม้กระทั่งมีการบันทึกดาวหางแบบต่างๆ

                  8. คณิตศาสตร์และการคำนวณ

                                 จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของจีน ได้มีการขุดพบ อักษรจารึกบนกระดูกสัตว์ในสมัยชาง และได้มีการจารึกตัวเลข 1-10 จนถึง ร้อย พัน  หมื่น สูงสุดกว่า 20,000 หลังจากนั้นมาวิธีการนับตัวเลขก็มีความก้วนหน้าตามลำดับ โดยการใช้เบี้ย และ ลูกคิดในการคำนวณ

                  9. แผนที่

                                 ชาวจีนมีความรู้ในการทำแผนที่ สามารถหาพิกัดและอัตราส่วนแผนที่ ส่วนใหญ่ทำขึ้นเพื่อใช้ทางการทหาร ในสมัยหลังนำมาใช้ประโยชน์ในการเดินเรือ

                  10. เข็มทิศ

                                 การประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ที่มีคุณค่าที่สุดและเก่าแก่ที่สุดสิ่งหนึ่งของจีน คือ เข็มแม่เหล็ก สมัยแรกคนจีนใช้เข็มแม่เหล็กไปติดไว้บนรถ สร้างรถชี้ทิศ เพื่อใช้ในการสงครามหรือใช้เป็นเครื่องมือหาทิศทางเวลาอยู่ในป่าลึกหรือภูเขา จากหลักฐานที่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ชาวจีนรู้จักใช้เข็มทิศหน้าปัดกลมเพื่อเดินเรือเมื่อศตวรรษที่ 12 ชาวอิตาเลียนใช้เข็มทิศในศตวรรษที่ 14 จีนจึงใช้เข็มทิศเร็วกว่าอิตาลีอย่างน้อยสองศตวรรษ และหากอ้างอิงถึง ทรรศะของนักประวัติศาสตร์ ชาวตะวันตกได้นำเข็มทิศหน้าปัดกลมไปจากจีนนั่นเอง
                   

                  อารยธรรมอินเดีย  (Indus Civilization)

                                 อารยธรรมอินเดียได้ก่อกำเนิดขึ้นในบริเวณลุ่มน้ำสินธุ ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดียโบราณ ปัจจุบันอาณาบริเวณส่วนใหญ่อยู่ในประเทศปากีสถาน สินธุ (Sindhu) เป็นคำในภาษาสันสกฤตและเป็นที่มาของคำว่า อินเดีย เพราะชาวเปอร์เซียเรียกชือดินแดนแถบนี้ว่า Hindu และต่อมาพวกกรีกแปลงเป็น Indus และ India

                   

                  ความก้าวหน้า ทาง วิทยาการ ข้อ ใด ที่ จีน สามารถ คิดค้น ได้เป็นชาติ แรก

                  อารยธรรมอินเดียสมัยก่อนประวัติศาสตร์

                  มีแหล่งอารยธรรมที่สำคัญ 2 แหล่ง คือ

                  1. อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ (C. 2550 - 1550 B.C.)

                                อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ เป็นอารยธรรมในยุคสำริด ถือกำเนิดขึ้นบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุในประเทศอินเดียและปากีสถานในปัจจุบัน ถือเป็นอารยธรรมยุคแรกๆของโลก ซึ่งนักโบราณคดีเรียกว่า ยุคฮารัปปัน

                  1. เมืองอัมรี (Amri) บริเวณปากแม่น้ำสินธุ อายุ 4,000 B.C. พบเครื่องปั้นดินเผาระบายสี คล้ายของเมโสโปเตเมีย
                  2. เมืองฮารับปา และโมเหนโจ – ดาโร อายุ 2,600 – 1,900 B.C.
                  3. เมืองชุคาร์ และจันหุดาโร อายุ 1,000 – 500 B.C.

                                เมืองต่าง ๆ เหล่านี้มีรูปแบบทางวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกันมาก แม้แต่อิฐดินเผาที่ใช้ในการก่อสร้างโดยปกติแล้วจะมีขนาดและรูปร่างเหมือนกัน

                                สันนิษฐานกันว่า อารยธรรมนี้มีอายุมาตั้งแต่ประมาณ 2500 B.C. และสิ้นสุดลงเมื่อประมาณ 1550 B.C. โดยผู้สร้างสรรค์อารยธรรมนี้ก็คือ คนพื้นเมืองดั้งเดิมของอนุทวีปอินเดียที่เรียกว่าชาวดราวิเดียน (Dravidian) และผู้มีส่วนสำคัญที่ทำให้อารยธรรมนี้สลายตัวไปก็คือชาวอารยัน

                   

                  ความก้าวหน้า ทาง วิทยาการ ข้อ ใด ที่ จีน สามารถ คิดค้น ได้เป็นชาติ แรก

                  เมืองฮารัปปา

                  สังคม - การปกครอง

                                จากการขุดค้นทางโบราณคดีทำให้เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าสังคมของอารยธรรมนี้เป็น "สังคมเมือง" (Urban Society) หรือบางแห่งอาจเรียกว่า "สังคมนาครธรรม" เหตุที่ยอมรับกันก็เนื่องจากการขุดค้นทางโบราณคดีที่ฮารัปปาและโมเหนโจ ดาโร นั้น นักโบราณคดีได้ค้นพบเมือง (City)

                                เมืองที่ขุดค้นพบนี้เป็นเมืองขนาดใหญ่ ประกอบด้วยบ้านเรือนสำหรับอยู่อาศัยสร้างด้วยอิฐ มีบ่อน้ำใช้ในบ้าน มีห้องน้ำ ระบบระบายน้ำ และยังมีอาคารสาธารณะขนาดใหญ่ สระน้ำขนาดใหญ่ (TheGreat Bath) ซึ่งมีขนาด 55 เมตร x 33 เมตร (Majumdar, 1976 : 17) นอกจากนี้ยังพบว่าเมืองเหล่านี้มีแบบแปลนคล้าย ๆ กัน ขนาดของบ้านเรือนมีขนาดเท่า ๆ กัน มีการวางผังเมืองอย่างเป็นระเบียบ ถนนตัดตรง กว้าง มีท่อระบายน้ำ

                                โดยภาพรวมแล้วจากซากปรักหักพังที่ขุดค้นพบ ทำให้เราสรุปได้ว่า เคยมีเมืองขนาดใหญ่ซึ่งมีประชากรหนาแน่น มีชีวิตความเป็นอยู่ที่สุขสบาย หรูหรา รุ่งเรือง รวมไปถึงมีระบบสาธารณสุขที่ดี และอาจกล่าวได้ว่างานสถาปัตยกรรมได้บรรลุถึงความสำเร็จในระดับหนึ่งแล้ว (Majumdar, 1976 : 18)

                                จากภาพสังคมเมืองทำให้สันนิษฐานได้ต่อไปว่า สังคมนี้จะต้องมีการจัดระเบียบของสังคม โดยแบ่งคนออกเป็นชนชั้นต่าง ๆ อย่างเช่น ผู้ปกครอง ชนชั้นกลาง ทาส อย่างไรก็ตามประเด็นนี้เป็นเพียงข้อสังเกตที่อาศัยการเปรียบเทียบกับสังคมในยุคต่อ ๆ มาเท่านั้น มิได้มีหลักฐานยืนยันแน่นอน แต่จากลักษณะสังคมเมืองทำให้น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้

                                สังคมเมืองซึ่งมีความหลากหลายในชนชั้น ความซับซ้อนในความสัมพันธ์ของสมาชิกสังคม ทำให้สังคมจะต้องแสวงหากฎเกณฑ์ในการกำหนดความสัมพันธ์ของสมาชิกในสังคม กล่าวอย่างง่าย ๆ ก็คือ สังคมนี้น่าจะมีกฎหมาย แต่เราไม่รู้ชัดว่าเป็นอย่างไร โดยสรุปอาจกล่าวได้ว่าสังคมนี้ความสัมพันธ์ทางสายโลหิตอาจด้อยกว่าความสัมพันธ์ที่ถูกกำหนดโดยกฎหมาย หรือกฎระเบียบอื่น ๆ ของสังคม

                                มีผู้ให้ข้อสังเกตว่าจากขนาดบ้านเรือนที่มีขนาดเท่า ๆ กันนั้น สะท้อนให้เห็นถึงสถานะทางสังคมของสมาชิกในสังคมว่ามีสถานะใกล้เคียงกัน ซึ่งในที่นี้น่าจะเป็นชนชั้นกลางของสังคม ซึ่งน่าจะมีจำนวนมาก และเป็นกลุ่มคนที่สร้างและรักษาอารยธรรมนี้เอาไว้ นั่นก็คือเป็นสังคมที่ดำรงอยู่ได้ด้วยชนชั้นกลาง

                                สังคมลักษณะดังกล่าวข้างต้นย่อมจะมีความจำเป็นในการที่จะต้องมีผู้ปกครอง อย่างน้อยก็มีไว้เพื่อควบคุมดูแลสมาชิกของสังคมให้ปฏิบัติตามกฎหมาย จากหลักฐานที่ขุดพบทำให้เชื่อได้ว่าสังคมนี้มีกษัตริย์ปกครอง ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้นำทางศาสนาไปพร้อม ๆ กันด้วย หลักฐานชิ้นสำคัญนี้คืองานประติมากรรมรูปชายไว้เครา ห่มผ้าลดไหล่ด้านขวา ลวดลายที่ปรากฏบนผืนผ้ามีลักษณะคล้ายกับลวดลายที่ปรากฏในเมโสโปเตเมีย ซึ่งเกี่ยวข้องกับศาสนา งานชิ้นนี้ทำให้สันนิษฐานว่า ผู้ปกครองของสังคมนี้เป็นกษัตริย์นักบวช (Priest-King) ผู้ซึ่งมีอำนาจสูงสุดในสังคม และมีอำนาจมากพอที่จะควบคุมให้สมาชิกของสังคมปฏิบัติตามกฎหมายโดยเคร่งครัด ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือการกำหนดผังเมืองอย่างมีระเบียบ ซึ่งเปรียบได้เหมือนกับกฎหมายควบคุมการก่อสร้างของปัจจุบัน

                                นอกเหนือจากอำนาจภายในเมืองแล้ว หลักฐานอีกอย่างหนึ่งคือ ยุ้งฉาง ที่พบภายในเมืองก็ยังสะท้อนให้เห็นถึงอำนาจของผู้ปกครองที่มีเหนือสังคมเกษตรกรรมนอกเมือง ยุ้งฉางดังกล่าวใหญ่โตกว่าที่จะครอบครองโดยคนธรรมดา น่าจะเป็นฉางหลวงสำหรับเก็บผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งได้จากการเก็บภาษีเป็นผลผลิตจากเกษตรกรที่อยู่นอกเมือง การเรียกเก็บภาษีจากนอกเมืองย่อมสะท้อนให้เห็นถึงอำนาจของผู้ปกครองที่มีต่อประชาชนไม่ใช่เฉพาะภายในเมืองเท่านั้น

                   

                  ความก้าวหน้า ทาง วิทยาการ ข้อ ใด ที่ จีน สามารถ คิดค้น ได้เป็นชาติ แรก

                   The Great Bath

                                  สังคมนี้มีกษัตริย์ปกครอง ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้นำทางศาสนาไปพร้อม ๆ กันด้วย หลักฐานชิ้นสำคัญนี้คืองานประติมากรรมรูปชายไว้เครา ห่มผ้าลดไหล่ด้านขวา ลวดลายที่ปรากฏบนผืนผ้ามีลักษณะคล้ายกับลวดลายที่ปรากฏในเมโสโปเตเมีย ซึ่งเกี่ยวข้องกับศาสนา งานชิ้นนี้ทำให้สันนิษฐานว่า ผู้ปกครองของสังคมนี้เป็นกษัตริย์นักบวช (Priest-King) ผู้ซึ่งมีอำนาจสูงสุดในสังคม และมีอำนาจมากพอที่จะควบคุมให้สมาชิกของสังคมปฏิบัติตามกฎหมายโดยเคร่งครัด ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือการกำหนดผังเมืองอย่างมีระเบียบ ซึ่งเปรียบได้เหมือนกับกฎหมายควบคุมการก่อสร้างของปัจจุบัน

                                  นอกเหนือจากอำนาจภายในเมืองแล้ว หลักฐานอีกอย่างหนึ่งคือ ยุ้งฉาง ที่พบภายในเมืองก็ยังสะท้อนให้เห็นถึงอำนาจของผู้ปกครองที่มีเหนือสังคมเกษตรกรรมนอกเมือง ยุ้งฉางดังกล่าวใหญ่โตกว่าที่จะครอบครองโดยคนธรรมดา น่าจะเป็นฉางหลวงสำหรับเก็บผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งได้จากการเก็บภาษีเป็นผลผลิตจากเกษตรกรที่อยู่นอกเมือง การเรียกเก็บภาษีจากนอกเมืองย่อมสะท้อนให้เห็นถึงอำนาจของผู้ปกครองที่มีต่อประชาชนไม่ใช่เฉพาะภายในเมืองเท่านั้น

                  เศรษฐกิจ

                                 ดินแดนแถบชายฝั่งของอนุทวีปอินเดียและดินแดนเมโสโปเตเมีย มีการติดต่อค้าขายกับดินแดนในลุ่มแม่น้ำสินธุ สินค้าที่ซื้อขายแลกเปลี่ยนกันก็ได้แก่ ฝ้ายจากอินเดีย โลหะจากเมโสโปเตเมีย

                                  กิจกรรมทางเศรษฐกิจด้านเกษตรกรรมนั้น เชื่อว่ามีการเพาะปลูกข้าวโพด ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ถั่ว งา ฝ้าย นอกจากนั้นก็ยังมีการเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย แพะ แกะ หมู

                  2. อารยธรรมอินโด-อารยัน (1500 B.C. - 600 B.C.)

                    อารยันและพัฒนาการของอารยันในอินเดีย

                                    เมื่อประมาณ 1500 ปีก่อนคริสตกาล ชนชาติหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเชียกลาง ได้อพยพเข้ามาสู่อนุทวีปอินเดีย โดยเข้ามาทางตะวันตกเฉียงเหนือ ผ่านช่องเขาอันทุระกันดารเข้าสู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุอันอุดมสมบูรณ์ ชนชาตินั้นก็คือ ชาวอารยัน (Aryan) หรือที่นักมานุษยวิทยาเรียกว่า เชื้อชาติอินโด-ยุโรป (Indo-European) ชนชาตินี้มีลักษณะทางสรีระ วิถีชีวิต กิจกรรมทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ แตกต่างไปจากเจ้าของดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำสินธุโดยสิ้นเชิง การอพยพเข้ามาของชาวอารยันนั้นเข้ามาเป็นระลอก ๆ ชาวอารยันหลายเผ่าอพยพเข้ามาในเวลาที่แตกต่างกัน เมื่อเข้ามาแล้วก็รบพุ่ง ทำสงครามกับชนพื้นเมืองบ้าง รบพุ่งกันเองบ้าง ในบรรดาอารยันเผ่าต่าง ๆ นั้น จะปรากฏชื่อเผ่า ภารตะ (Bharatas) ซึ่งดูเหมือนจะเป็นเผ่าที่มีความสำคัญที่สุด อันอาจเป็นเหตุให้เราเรียกอินเดียว่าดินแดนภารตะหรือชาวอินเดียว่าชาวภารตะ

                                    มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่าชาวอารยันเป็นผู้ทำลายอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุลง โดยทำให้สลายตัวลงไปอย่างฉับพลัน มีผลให้อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุหายไปจากประวัติศาสตร์นับพัน ๆ ปี จนกระทั่งมีการขุดค้นพบในศตวรรษที่ 20 นี้เอง อย่างไรก็ตามแม้ว่าอารยันจะเป็นผู้ชนะในสงครามระหว่างตนกับชาวพื้นเมืองของอินเดีย (ชาวดราวิเดียน) แต่ก็มิได้หมายความว่า อารยันจะเป็นผู้ชนะในทุกด้าน ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นว่าอารยันแตกต่างจากคนพื้นเมืองของลุ่มแม่น้ำสินธุ ความแตกต่างนี้อาจกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คืออารยันมีความด้อยกว่าทางวัฒนธรรม (ดังจะกล่าวต่อไปข้างหน้า) ดังนั้น แม้จะเป็นผู้ชนะในการรบ แต่ในแง่ของวัฒนธรรมเชื่อได้ว่า อารยันกลับเป็นผู้พ่ายแพ้ ต้องยอมรับเอาวัฒนธรรมของคนพื้นเมืองเข้าไปผสมปนเปกับของตนหรืออาจกล่าวได้ว่า พัฒนาการของอารยันบางด้านโดยเฉพาะด้านศาสนานั้นลักษณะเด่นที่ปรากฏในพัฒนาการนั้นเป็นอิทธิพลของผู้แพ้เมื่ออารยันเข้ามาสู่อนุทวีปอินเดียนั้นอารยันได้นำเอาวัฒนธรรมเดิมของตนเองเข้ามาด้วย และเมื่อมาตั้งถิ่นฐานในอนุทวีปนานเข้าก็มีพัฒนาการของตนเองขึ้นมา จนทำให้อารยันในอินเดียแตกต่างไปจากอารยันในที่อื่น ๆ เช่น ในอาณาจักรเปอร์เซีย และจากการที่อารยันได้นำเอาวัฒนธรรมของคนพื้นเมือง

                                   เข้าไปผสมผสานนี้เองจึงทำให้เกิดอารยธรรมที่เรียกว่า อารยธรรมอินโด-อารยัน (Indo-Aryan Civilization) ต่อจากนี้จะกล่าวถึงวัฒนธรรมของอารยันและพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของอารยัน โดยในที่นี้จะขอบรรยายให้เห็นพัฒนาการตั้งแต่แรกที่อารยันเข้ามา โดยใช้พัฒนาการทางศาสนาเป็นหลัก แต่ในขณะเดียวกันก็จะบ่งชี้ให้เห็นถึง พัฒนาการทางสังคม การปกครอง เศรษฐกิจ ควบคู่ไปด้วย โดยจะไม่แยกหัวข้อด้านต่าง ๆ ออกมา เพื่อจะให้มองเห็นภาพโดยรวมในห้วงเวลานั้น ๆ ในคราวเดียวกัน โดยแบ่งออกเป็นยุคต่าง ๆ ดังนี้

                    1. ยุคพระเวท (The period of Vedas)

                    2. ยุคพราหมณะ (The period of Brahmanas)

                    3. ยุคอุปนิษัท (The period of Upanisads)

                                   ห้วงเวลาของทั้ง 3 ยุคนี้ (ประมาณ 1500 B.C. - 600 B.C.) ถือได้ว่าเป็นห้วงเวลาที่ชนชาติอารยันได้เข้ามาตั้งหลักแหล่งในอินเดีย โดยเริ่มที่ลุ่มแม่น้ำสินธุแล้วค่อย ๆ อพยพไปสู่ทางตะวันออกเข้าสู่ลุ่มแม่น้ำคงคา เป็นห้วงเวลาของการพัฒนาจากสังคมเดิมของตนเองไปสู่การสร้างสรรค์อารยธรรมอินเดียที่แท้จริง และเป็นช่วงของการเปลี่ยนแปลงจากยุคก่อนประวัติศาสตร์ เข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ เพราะถือว่าได้มีการจดบันทึกเรื่องราวของยุคต่าง ๆ ข้างต้นเอาไว้ แม้ว่าการจดบันทึกนั้นจะเกิดขึ้นภายหลังก็ตาม (เชื่อกันว่ามีการจดบันทึกเมื่อประมาณ 800 B.C.)

                    ความก้าวหน้า ทาง วิทยาการ ข้อ ใด ที่ จีน สามารถ คิดค้น ได้เป็นชาติ แรก

                    สวัสดิกะ เครื่องหมายแห่งการหล่อเลี้ยงสรรพชีวิต

                    ยุคพระเวท (1500 B.C. - 900 B.C.)

                                    เหตุที่เรียกยุคนี้ว่ายุคพระเวทก็ด้วยเหตุผลที่ว่าเรื่องราวทั้งหลายที่เราได้รับรู้ล้วนแล้วแต่มาจากคัมภีร์พระเวท โดยเฉพาะคัมภีร์ฤคเวท (Rig Veda) ซึ่งเป็นที่เชื่อกันว่าเป็นคัมภีร์ที่เก่าแก่ที่สุดและศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในบรรดาคัมภีร์ทั้งหลายของศาสนาฮินดู

                     

                    ความก้าวหน้า ทาง วิทยาการ ข้อ ใด ที่ จีน สามารถ คิดค้น ได้เป็นชาติ แรก

                    การปกครอง

                                    มีความเป็นอยู่แบบสังคมชนเผ่า ในแต่ละเผ่าจะมีหัวหน้าเผ่าเรียกว่า ราชา (Raja) ซึ่งจะต้องเป็นชาย มีความกล้าหาญมีความสามารถในการรบ

                                    ระบบการเมืองของเผ่าอารยันยังมีองค์กรทางการเมืองอยู่อีก 2 องค์กร นั่นก็คือ สมิติ (Samiti) และสภา (Sabha)

                                สมิติ คือ ที่ประชุมของเผ่า ชนชั้นปกครอง ประชาชนธรรมดาก็มีสิทธิมีเสียงในที่ประชุมนี้ได้ และเป็นที่ซึ่งกำหนดนโยบายหรือมติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการต่างๆ ของเผ่า

                                สภา คือ ที่ประชุมของผู้อาวุโส จากฤคเวทระบุว่าผู้หญิงไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมประชุมในสภา และสภาทำหน้าที่เป็นศาลสถิตยุติธรรมด้วย

                    ด้านสังคม

                                    สังคมชนเผ่าเช่นนี้มีครอบครัวเป็นหน่วยพื้นฐานทาง ภายในครอบครัวบิดาจะเป็นผู้มีอำนาจสูงสุด ลูกชายจะเป็นที่ต้องการ สิทธิสตรีก็ได้รับการยอมรับมากกว่าในยุคหลัง แต่ก็ยังคงมีสถานะทางสังคมด้อยกว่าชาย

                                     ชาวอารยันมีนิสัยสนุกสนาน มีงานเลี้ยง งานรื่นเริงอยู่เสมอ ๆ แม้ว่าจะต้องระแวงภัยสงครามอยู่ก็ตาม นอกจากนี้ยังนิยมดื่มสุรา (Sura) และ โสมะ (Soma) โสมะจะดื่มเฉพาะในพิธีกรรมทางศาสนาเท่านั้น นอกจากนี้ชาวอารยันยังนิยมการเล่นการพนัน เช่น การแข่งรถศึก การเล่นสกา

                    การเล่นสกา

                    เศรษฐกิจ

                                    ในระยะแรกนี้ จะขึ้นอยู่กับอาชีพปศุสัตว์ เนื่องจากชาวอารยันเป็นชนเผ่าเร่ร่อนต้องอพยพโยกย้ายถิ่นที่อยู่อยู่บ่อยๆ เพื่อแสวงหาทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ สัตว์เลี้ยงที่สำคัญคือ วัว

                                    ชาวอารยันจัดได้ว่าเป็นช่างที่มีฝีมือโดยเฉพาะช่างไม้และช่างโลหะ ช่างไม้ได้รับการยกย่องในสังคมเนื่องจากเป็นผู้ผลิตรถรบ เกวียน เรือ แม้กระทั่งบ้าน ช่างโลหะผลิตอาวุธ รวมทั้งผลิตเครื่องประดับจากโลหะมีค่า เชื่อกันว่าชาวอารยันรู้จักใช้สำริดแล้ว และน่าจะเป็นงานโลหะที่ทำให้อารยันผลิตอาวุธที่มีคุณภาพดีกว่าคนพื้นเมืองอินเดีย ซึ่งใช้ทองแดง

                    ความเชื่อและศาสนา

                                    ชาวอารยันมีการนับถือพระเจ้าหลายองค์ ซึ่งอาจจะเป็นพระเจ้าของแต่ละเผ่า นอกจากนี้ก็ยังมีกิจกรรมทางศาสนาที่สำคัญอีกอย่างคือ พิธีกรรมสังเวยเทพยดา

                                   ข้อน่าสังเกตในพิธีกรรมนี้ก็คือ สะท้อนให้เห็นว่า ศาสนาซึ่งรวมถึงพิธีกรรมนี้มิใช่เป็นกิจกรรมของปัจเจกบุคคล หากแต่เสมือนเป็นของชุมชน เป็นการยากหรืออาจเป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลในฐานะปัจเจกบุคคลจะประกอบพิธีกรรมนี้ จึงอาจกล่าวสรุปได้ว่า สิทธิหรือเสรีภาพของมนุษย์ที่จะเลือกนับถือตามความเชื่อของตนเองนั้นคงยังไม่เกิดขึ้นเหมือนในสมัยต่อ ๆ มา

                                   นอกจากนี้ยังพบว่า จากการร้องขอของผู้เข้าร่วมประกอบพิธีกรรมนั้นสะท้อนให้เห็นว่าในยุคนี้กฎเกณฑ์ทางศีลธรรมยังมิเข้ามาเกี่ยวข้อง ผู้ร่วมพิธีสามารถร้องขอในสิ่งที่ขัดต่อกฎเกณฑ์ทางศีลธรรมหรือขัดต่อคุณธรรม (ตามแนวคิดสมัยใหม่) ได้ ความคิดเรื่องศีลธรรมและคุณธรรมนี้จะพัฒนาขึ้นภายหลัง(เรื่องของคุณธรรมนั้นย่อมแตกต่างไปตามยุคสมัย)

                                   ภาพรวมของอารยันในระยะแรกตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จะดำเนินอยู่จนกระทั่งถึงประมาณ1,000 ปี ก่อนคริสตกาล โดยจะจำกัดตัวอยู่บริเวณแถบลุ่มแม่น้ำสินธุ หลังจากนั้นอารยันจึงค่อย ๆ อพยพไปสู่ทิศตะวันออกของอินเดียเข้าสู่ลุ่มแม่น้ำคงคา และต่อมาก็มุ่งลงสู่ตอนใต้ของอินเดียด้วย พร้อมกับการอพยพนี้ การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างทางสังคม การปกครองเศรษฐกิจ และระบบความเชื่อก็เกิดขึ้น อันจะมีผลให้อารยันในยุคต่อมาจะผิดแผกแตกต่างไปจากอารยันเมื่อแรกเข้ามาในอนุทวีปอินเดียใน หลาย ๆ ด้าน

                    ยุคพราหมณะ (900 B.C. - 700 B.C.)

                     

                    ความก้าวหน้า ทาง วิทยาการ ข้อ ใด ที่ จีน สามารถ คิดค้น ได้เป็นชาติ แรก

                                    การอพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานในเขตตอนบนของลุ่มแม่น้ำคงคาของชนชาวอารยันได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ คือ จากชนเผ่าเร่ร่อนมีความชำนาญด้านปศุสัตว์ ชาวอารยันเริ่มให้ความสนใจการกสิกรรม เพราะความอุดมสมบูรณ์ของผืนดินในบริเวณนั้น ทำให้อารยันมีการตั้งถิ่นฐานที่แน่นอน แต่อย่างไรก็ยังคงเป็นสังคมชนบท หมู่บ้านยังเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

                    การปกครอง

                                    รูปแบบองค์กรทางการเมืองเรียกว่า อาณาจักรเผ่า (Rashtra) คือ เป็นรัฐเล็ก ๆ ประกอบด้วยหลายเผ่า อยู่ภายใต้การปกครองของราชาคนเดียวเชื่อกันว่าภายใต้พัฒนาการนี้ สถานะของราชาเริ่มเปลี่ยนไปโดยที่ราชาจะมีอำนาจมากขึ้นเรื่อย ๆ สภาและสมิติจะลดบทบาทลงไป และนำไปสู่ระบอบราชาธิปไตยในที่สุด    

                                    สมาชิกของสังคมเริ่มมีความหลากหลาย ในขณะเดียวกันชาวอารยันเองก็ยังต้องเผชิญหน้ากับชาวพื้นเมืองของอินเดียอีกด้วย มีความเป็นไปได้ว่าการสร้างกฎเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกันน่าจะเกิดขึ้นแล้ว ระบบวรรณะคงจะเป็นรูปเป็นร่างขึ้น

                    ด้านสังคม

                                    ในยุคนี้เราจะพบว่า มีคนสองกลุ่มที่มีสถานะทางสังคมสูงส่ง คือ พราหมณ์และชนชั้นปกครองซึ่งอาจจะเรียกง่าย ๆ ว่า กษัตริย์ ทั้ง 2 ชนชั้นต่างร่วมมือกัน เพื่อจรรโลงให้สถานะของแต่ละฝ่ายเป็นที่ยอมรับของสังคม พราหมณ์เป็นผู้ผูกขาดการประกอบพิธีกรรมให้กษัตริย์เป็นเสมือนเทวะและกษัตริย์เองก็ยอมรับอำนาจอันลี้ลับของพราหมณ์ ดังนั้นแม้ว่า 2 ชนชั้นนี้จะแข่งขันกันดำรงสถานะสูงสุดของสังคมแต่ก็ไม่พบความขัดแย้งที่รุนแรง

                    ความเชื่อและศาสนา

                                    ในส่วนของพัฒนาการด้านศาสนาเมื่อถึงยุคนี้ เราพอจะมองเห็นแนวคิดเอกนิยม(Monism) เริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้น ความเชื่อได้พัฒนาขึ้นเป็นแนวคิดที่ซับซ้อนกว่าเดิม เริ่มมีการตั้งคำถามถึงที่มาของชีวิตและชีวิตหลังความตาย แต่ก็ยังไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจน ดังปรากฏในคัมภีร์พระเวทตอนปลายว่า เมื่อคนตายแล้วอาจจะไปอยู่ในต้นไม้ หรืออยู่ในน้ำก็ได้ ส่วนในคัมภีร์พราหมณะได้กล่าวถึงสวรรค์ว่ามีการตายคำอธิบายที่ชัดเจนจะปรากฏในพัฒนาการอีกระดับหนึ่งในยุคอุปนิษัท

                    ยุคอุปนิษัท (700 B.C. - 600 B.C.)

                    ความก้าวหน้า ทาง วิทยาการ ข้อ ใด ที่ จีน สามารถ คิดค้น ได้เป็นชาติ แรก

                                   ในการกำหนดช่วงเวลาของยุคอุปนิษัทนี้ กำหนดจากช่วงเวลาที่อินเดียได้พัฒนาแนวคิดทางศาสนารูปแบบใหม่ และมีอิทธิพลอย่างสูงในช่วงเวลาต่อมา จนทำให้เกิดรูปแบบทางอารยธรรมที่เรียกว่า Indo-Aryan Civilization อย่างไรก็ตามพึงเข้าใจไว้ด้วยว่า แนวคิด ปรัชญา ที่ปรากฏในยุคนี้ยังคงมีอิทธิพลต่อศาสนาหลัก ๆ ของอินเดียมาจนถึงปัจจุบันนี้ และหากมีผู้กล่าวว่ายุคอุปนิษัทยังคงมีมาถึงปัจจุบันก็น่าจะเป็นคำอ้างที่เป็นไปได้ในช่วงเวลานี้ชาวอารยันที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในแถบลุ่มแม่น้ำคงคาได้ตั้งถิ่นฐานลงอย่างมั่นคง เกิดรูปแบบการปกครองแบบราชาธิปไตย และสาธารณรัฐ เกิดแว่นแคว้นต่าง ๆ ด้านเศรษฐกิจ

                                   ในช่วงเวลานี้เชื่อว่าทั้งเกษตรกรรมและพาณิชยกรรมได้เจริญรุ่งเรืองขึ้น ภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางสังคมจากสังคมหมู่บ้านเป็นสังคมเมือง และท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงนี้ ปรัชญาทางศาสนาก็เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง จนทำให้ถือกันว่ายุคอุปนิษัทเป็นยุคของการคิดค้นปรัชญาทางศาสนาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกยุคหนึ่ง ด้วยเหตุที่ว่าสิ่งที่คิดค้นอธิบาย ฯลฯ เอาไว้ในยุคนี้ทำให้เกิดศาสนาที่ยิ่งใหญ่ของโลก อย่างเช่น ศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู ศาสนาเชน ศาสนาต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้ล้วนแล้วแต่ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของยุคอุปนิษัทนี้ทั้งสิ้นและที่สำคัญก็คือยังคงปรากฏอิทธิพลของปรัชญานั้น ๆ มาถึงปัจจุบันนี้

                    ความเชื่อและศาสนา

                                    ยุคอุปนิษัทนี้ปรากฏแนวคิดทางศาสนา ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ  

                        1. ความเชื่อหลัก 3 ประการ : ชีวิตหลังความตาย หรือชีวิตหน้า

                                 1) สัมสาระ (Samsara) : การเวียนว่ายตายเกิด

                                 2) กรรม (Karma) การกระทำ และผลของการกระทำ        

                                 3) โมกษะ (Moksha) การหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด

                           2.  อภิปรัชญา

                      อารยธรรมอินเดียสมัยประวัติศาสตร์

                      สมัยมหากาพย์ (1,000 B.C. – 500 B.C.) 

                                  สมัยมหากาพย์(1,000 – 500 B.C.) เกิดอาณาจักรใหม่บริเวณลุ่มน้ำคงคามีลักษณะเป็นนครรัฐอิสระ “ ราชา” เป็นผู้ปกครอง แบบราชาธิปไตย (monarchy) มีฐานะเป็นสมมุติเทพ  เช่น อาณาจักรมคธ  วัชชี  อวันตี วิเทหะ ฯลฯ มีการแบ่งวรรณะชัดเจน 4 วรรณะ พราหมณ์  กษัตริย์(นักรบ)  แพศย์  ศูทร(ทาส)  มีการติดต่อค้าขายทางเรือ กับอาณาจักรเมโสโปเตเมีย อียิปต์ อารเบีย สมัยนี้จะมีวรรณกรรมที่สำคัญ คือ มหากาพย์มหาภารตยุทธ เป็นสงครามกลางเมืองที่ทุ่งกุรุเกษตรระหว่างตระกูล ปาณฑพและเการพต้นตระกูลเป็นเชื้อสาย อินโด-อารยัน  มีการสอดแทรกบทบาทหน้าที่ของคนที่อยู่ในสังคม ดังปรากฎใน “ภควัทตีคา” สอนในคนทำหน้าที่ของตนในสังคมให้ครบถ้วย และมหากาพย์    รามายณะ ที่สะท้อนให้เห็นถึงการแบ่งชั้นวรรณะ การขยายอาณาเขตของอารยันไปทางตอนใต้ทำสงคราม ปราบชาวดราวิเดียน

                      ความก้าวหน้า ทาง วิทยาการ ข้อ ใด ที่ จีน สามารถ คิดค้น ได้เป็นชาติ แรก

                      มหากาพย์มหาภารตยุทธ

                                                                           

                      ความก้าวหน้า ทาง วิทยาการ ข้อ ใด ที่ จีน สามารถ คิดค้น ได้เป็นชาติ แรก

                                                                          มหากาพย์รามายณะ

                       สมัยจักรวรรดิ ( 321 B.C. – 220 A.D.)

                       

                      ความก้าวหน้า ทาง วิทยาการ ข้อ ใด ที่ จีน สามารถ คิดค้น ได้เป็นชาติ แรก

                                  การเมืองการปกครองของอินเดียก้าวมาสู่ยุคจักรวรรดิเป็นสมัยที่มีความสำคัญต่อการวางพื้นฐานของแบบแผนทางสังคม ศิลปะ วัฒนธรรมอินเดียที่ยังคงสืบเนื่องต่อมาถึงปัจจุบัน  สมัยจักรวรรดิแบ่งเป็น 5 สมัย

                      1. จักรวรรดิมคธ

                       

                      ความก้าวหน้า ทาง วิทยาการ ข้อ ใด ที่ จีน สามารถ คิดค้น ได้เป็นชาติ แรก

                                      จักรวรรดิมคธ ตั้งอยู่บริเวณภาคตะวันออกของลุ่มแม่น้ำคงคา เป็นแค้นที่มีอนุภาพมากที่สุดในศตวรรษที่6 ก่อนคริสต์ศักราช กษัตริย์ที่มีชื่อเสียงของมคธ 2 พระองค์ คือ พระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าอชาตศัตรู ได้ขยายอำนาจของมคธออกไปอย่างกว้างขวาง จนกระทั่งแคว้นมคธเป็นจักรวรรดิขนาดใหญ่ที่ปรากฏขึ้นครั้งแรกในอินเดีย

                                      ระบอบการปกครอง กษัตริย์มีอำนาจสูงสุด มีขุนนาง 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ และฝ่ายการทหาร รวมเรียกว่า มหามาตระ

                                      สิ่งที่แสดงถึงอารยธรรมอันรุ่งเรืองของจักรวรรดิมคธ คือ พระพุทธศาสนา จักรวรรดิมคธกลายเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนา ส่งผลให้พระพุทธศาสนาเผยแผ่ไปได้กว้างไกล ขณะเดียวกันศาสนาพราหมณ์ก็กำลังเสื่อมลง

                       

                      ความก้าวหน้า ทาง วิทยาการ ข้อ ใด ที่ จีน สามารถ คิดค้น ได้เป็นชาติ แรก

                      2. จักรวรรดิเมารยะ

                                      ราชวงศ์โมริยะก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 221 (322 ปีก่อนคริสต์ศักราช) โดยเจ้าชายจันทรคุปต์เมารยะ ผู้โค่นล้มราชวงศ์นันทะ และทรงขยายอำนาจอย่างรวดเร็วไปทางตอนกลางและตะวันตกของอินเดีย

                                      การปกครอง รวมอำนาจไว้ที่พระมหากษัตริย์และเมืองหลวง จักรพรรดิทรงอำนาจสูงสุดในการบริหาร การตรากฎหมาย การศาล และการทหาร มีสภาเสนาบดีที่เป็นข้าราชการชั้นสูง และสภาแห่งรัฐเป็นสภาที่ปรึกษา

                                      มีการสร้างถนนขนาดใหญ่ มีการสำรวจสำมะโนครัวประชากร มีระบบชลประทาน หน่วยงานสืบราชการลับ การใช้ใบผ่านทางสำหรับคนต่างชาติ และมีการสร้างมหาวิทยาลัยแห่งแรกขึ้น

                       

                                      กษัตริย์ที่มีชื่อเสียงแห่งราชวงศ์เมารยะ คือ พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และส่งเสริมให้เผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังดินแดนต่างๆ ทรงได้ปลดข้อห้ามต่างๆ ในศาสนาพราหมณ์บ

                       

                      ความก้าวหน้า ทาง วิทยาการ ข้อ ใด ที่ จีน สามารถ คิดค้น ได้เป็นชาติ แรก

                      การเผยแผ่ศาสนาไปยังดินแดนต่างๆ

                      3. สมัยแบ่งแยกและการรุกรานจากภายนอก

                                      ความเสื่อมอำนาจของราชวงศ์เมารยะมีผลกระทบต่ออินเดีย 2 ประการ

                      1. อาณาจักรใหญ่น้อยแบ่งแยกออกเป็นอิสระ
                      2. เกิดการรุกรานจาก กรีก อิหร่าน เปอร์เชีย ศกะ กุษาณะ

                                      ยุคนี้เป็นยุคสมัยแห่งการค้าและความหลายหลายทางวัฒนธรรม ได้แก่ กรีกและเปอร์เชียได้ถ่ายทอดวัฒนธรรม โดยผ่านทางด้านปรัชญา วิทยาการ ศิลปกรรม

                      4. จักรวรรดิคุปตะ

                       

                      ความก้าวหน้า ทาง วิทยาการ ข้อ ใด ที่ จีน สามารถ คิดค้น ได้เป็นชาติ แรก

                                  ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชและพระเจ้ากนิษกะแห่งราชวงศ์กุษาณะได้ทรงนับถือพุทธศาสนานิยายหินยาน และมหายาน และได้ทรงเผยแพร่พุทธศาสนาออกไป ในระยะที่พุทธศาสนารุ่งเรือง ลัทธิฮินดูหมดความสำคัญลงชั่วระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นมีการฟื้นฟูลัทธิฮินดูขึ้นมาใหม่ ระยะที่มีการฟื้นฟูลัทธิฮินดู เรียกว่า สมัยฮินดูใหม่ เป็นสมัยที่ราชวงศ์คุปตะได้ปกครองส่วนใหญ่ของอินเดีย

                                  ราชวงศ์คุปตะ (Gupta ค.ศ. 320-535) ได้ปกครองอินเดียและสถาปนาอาณาจักรของราชวงศ์คุปตะขึ้นภายหลังที่ราชวงศ์กุษาณะเสื่อมลงในระยะ ค.ศ. 220 เริ่มด้วย พระเจ้าจัทรคุปต์ที่1(ค.ศ.320-330) ได้สถาปนาพระองค์เองเป็นผู้ครองบริเวณลุ่มแม่น้ำคงคา ในพิธีบรมราชาภิเษกได้โปรดให้ออกเหรียญที่ระลึกประทับตราราชวงศ์เรียกว่า คุปตะ

                       

                      ความก้าวหน้า ทาง วิทยาการ ข้อ ใด ที่ จีน สามารถ คิดค้น ได้เป็นชาติ แรก

                      เหรียญตราคุปตะ

                       

                      ความก้าวหน้า ทาง วิทยาการ ข้อ ใด ที่ จีน สามารถ คิดค้น ได้เป็นชาติ แรก

                      ในสมัยนี้วรรณคดีและศิลปกรรมเฟื่องฟูมาก ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของวรรณคดีสันสกฤต กวีที่มีชื่อ กาลิทาส แต่งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอนและบทละครที่มีชื่อเสียงที่สุดของกาลิทาส คือ เรื่องศกุนตลา

                       

                      ความก้าวหน้า ทาง วิทยาการ ข้อ ใด ที่ จีน สามารถ คิดค้น ได้เป็นชาติ แรก

                      จิตรกรรมที่ขึ้นชื่อ คือ ภาพเขียนที่ถ้ำอชันตา

                                      ศูนย์กลางการศึกษาวิทยาการอยู่มหาวิยาลัยนาลันทา ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งแรกของโลก การประดิษฐ์คิดค้นหลายอย่างของนักวิทยาศาสตร์ชาวอินเดียในยุคนี้ เช่น การทำสบู่และซีเมนต์ แพทย์ในสมัยราชวงศ์คุปตะได้รับการยกย่องว่ามีวิธีการและเทคนิคสูงในการรักษาโดยเฉพาะในการผ่าตัด

                       

                      ความก้าวหน้า ทาง วิทยาการ ข้อ ใด ที่ จีน สามารถ คิดค้น ได้เป็นชาติ แรก

                       มหาวิยาลัยนาลันทา

                      5. อินเดียหลังสมัยจักรวรรดิคุปตะ

                                  ราชวงศ์คุปตะเริ่มเสื่อมอำนาจลงชนต่างชาติได้รุกรานอินเดีย ภาคเหนือแบ่งแยกเป็นแคว้นเล็กๆ มีราชวงศ์ต่างๆเข้ามายึดครอง หลังการสิ้นสุดจักรวรรดิคุปตะ ชนชาติที่มากรุกรานนับถือพราหมณ์ จึงได้กวาดล้างชาวพุทธให้สิ้นซาก และวัดแต่พระพุทธศาสนาในอินเดียยังคงรุ่งเรืองอยู่

                      6. จักรวรรดิโมกุล

                      • พระเจ้าบาบูร์ ผู้ก่อตั้งราชวงศ์โมกุล นับถือศาสนาอิสลาม
                      • เป็นราชวงศ์สุดท้ายของอินเดีย
                      • พระเจ้าอักบาร์มหาราช ทรงทะนุบำรุงอินเดียให้มีความเจริญรุ่งเรืองทุกด้าน และทรงให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา สร้างสามัคคีให้เกิดขึ้นในชาติ
                      • พระเจ้าซาร์ เจฮัน ทรงเป็นมุสลิมที่เคร่งครัดและศรัทธาในศาสนาอิสลาม เป็นผู้สร้าง ทัชมาฮาล ที่มีความงดงามยิ่ง

                      ทัชมาฮาล

                      7. สมัยอาณานิคมอังกฤษ

                      • ปลายสมัยอาณาจักรโมกุล กษัตริย์ทรงใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ต้องเพิ่มภาษีและเพิ่มการเกณฑ์แรงงานทำให้ราษฎรอดอยาก และยังกดขี่ทำลายล้างศาสนาฮินดูและชาวฮินดูอย่างรุนแรง
                      • เกิดความแตกแยกภายในชาติ เป็นเหตุให้อังกฤษค่อยๆเข้าแทรกแซงและครอบครองอินเดียทีละเล็กละน้อย
                      • ในที่สุดอังกฤษล้มราชวงศ์โมกุลและครอบครองอินเดียในฐานะอาณานิคมอังกฤษ
                      • สิ่งที่อังกฤษวางไว้ให้กับอินเดียคือ

                                   - รากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย แบบรัฐสภา

                                   - การศาล การศึกษา

                                   - ยกเลิกประเพณีบางอย่าง เช่น พิธีสตี (การเผาตัวตายของหญิงฮินดูที่สามีตาย)

                      8. สมัยเอกราช

                      • หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ขบวนการชาตินิยมอินเดียนำโดย มหาตมะ คานธี และ    เยาวราลห์ เนห์รู เป็นผู้นำเรียกร้องเอกราช
                      • มหาตมะ คานธี ใช้หลักอหิงสา (ความไม่เบียดเบียน ความสงบ) ในการเรียกร้องเอกราชจนประสบความสำเร็จ
                      • หลังจากได้รับเอกราชอินเดียปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย
                      • แต่จากความแตกแยกทางเชื้อชาติและศาสนาทำให้อินเดียต้องแตกแยกเป็นอีก 2 ประเทศคือ ปากีสถาน(เดิมคือปากีสถานตะวันตก)และบังคลาเทศ (ปากีสถานตะวันออก)

                       

                      ความก้าวหน้า ทาง วิทยาการ ข้อ ใด ที่ จีน สามารถ คิดค้น ได้เป็นชาติ แรก

                      สังคมและวัฒนธรรมของอินเดีย

                      ระบบวรรณะ

                                      วรรณะใหญ่ ๆ ในศาสนาพราหมณ์มีอยู่ 4 วรรณะ โดยถือว่าวรรณะทั้ง 4 เกิดมาจากอวัยวะของพระพรหมที่ต่างกัน ได้แก่

                                      1. วรรณะพราหมณ์ เกิดจากโอษฐ์ของพระพรหม มีหน้าที่กล่าวมนต์ ให้คำปรึกษากับพระเจ้าแผ่นดิน ตลอดจนสอนไตรเภทและประกอบพิธีทางศาสนา

                                      2. วรรณะกษัตริย์ เกิดจากพระอุระของพระพรหม และถือว่าสืบเชื้อสายมาจากพระอาทิตย์ ทำหน้าที่รบเพื่อป้องกัน ขยายอาณาจักร รวมทั้งเป็นนักปกครอง เป็นพระเจ้าแผ่นดิน

                                      3. วรรณะแพศย์ เกิดจากพระเพลา (ตัก) ของพระพรหม ได้แก่ พวกพ่อค้า คหบดี เศรษฐี และเกษตรกร

                                      4. วรรณะศูทร เกิดจากพระบาท(เท้า) ของพระพรหม มีหน้าที่เป็นกรรมกร ลูกจ้าง

                                      อีกวรรณะหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นพวกต่ำสุด คือ จัณฑาล ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ต่างวรรณะกัน ซึ่งจะถูกรังเกียจและเหยียดหยามในสังคม

                      ปรัชญาและลัทธิศาสนาของสังคมอินเดีย

                      ปรัชญาและลัทธิศาสนา อินเดียเป็นแหล่งกำเนิดสานาพราหมณ์-ฮินดู      ศานาพุทธ และศาสนาเชน

                      หลักธรรมศาสนาพุทธและศาสนาเชน ได้แก่ อริยสัจ 4 และไตรลักษณ์ ส่วนของศาสนาพราหมณ์เป็นความเชื่อเรื่องเทพเจ้า

                      เทพเจ้าของอินเดีย

                                      เทพเจ้า มีความเชื่อในเรื่องเทพเจ้า ว่าเป็นผู้สร้าง และผู้ทำลายสรรพสิ่งบนโลก เช่น พระศิวะ พระพรหม พระวิษณุ พวกพราหมณ์จะทำหน้าที่ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและติดต่อกับเทพเจ้า

                       

                      ความก้าวหน้า ทาง วิทยาการ ข้อ ใด ที่ จีน สามารถ คิดค้น ได้เป็นชาติ แรก

                      พระศิวะ

                       

                      ความก้าวหน้า ทาง วิทยาการ ข้อ ใด ที่ จีน สามารถ คิดค้น ได้เป็นชาติ แรก

                      พระพรหม

                       

                      ความก้าวหน้า ทาง วิทยาการ ข้อ ใด ที่ จีน สามารถ คิดค้น ได้เป็นชาติ แรก

                      พระวิษณุ

                      ศิลปกรรมอินเดีย

                      ด้านประติมากรรม

                      ความก้าวหน้า ทาง วิทยาการ ข้อ ใด ที่ จีน สามารถ คิดค้น ได้เป็นชาติ แรก

                      พระพุทธรูปแบบคันธาระ

                      ด้านสถาปัตยกรรม

                      • ซากเมืองฮารับปาและโมเฮนโจดาโร ทำให้เห็นว่า มีการวางผังเมืองอย่างดี มีสาธารณูปโภคอำนวยความสะดวกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ถนน บ่อน้ำ การประปา ที่เน้นประโยชน์ใช้สอยมากกว่าความสวยงาม
                      • ซากพระราชวังที่เมืองปาฏลีบุตรและตักศิลา
                      • สถูปและเสาแปดเหลี่ยม ที่สำคัญคือ สถูปที่เมืองสาญจี (สมัยราชวงศ์โมริยะ)

                      แต่งานที่เด่นที่สุด คือ ทัชมาฮาล ประดับด้วยหินมีค่า บนยอดเป็นหินสีขาว เส้นทุกเส้นเข้ากันได้อย่างงดงามกับสวน และน้ำพุ นับได้ว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

                       

                      ความก้าวหน้า ทาง วิทยาการ ข้อ ใด ที่ จีน สามารถ คิดค้น ได้เป็นชาติ แรก

                      สถูปที่เมืองสาญจี

                      ด้านจิตรกรรม

                                      สมัยคุปตะ และหลังสมัยคุปตะ เป็นสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของอินเดียพบงานจิตรกรรมที่ ผนังถ้ำอชันตะ เป็นภาพเขียนในพระพุทธศาสนาแสดงถึงชาดกต่างๆ ที่งดงามมาก ความสามารถในการวาดเส้นและการอาศัยเงามืดบริเวณขอบภาพ ทำให้ภาพแลดูเคลื่อนไหว ให้ความรู้สึกสมจริง

                      ด้านนาฏศิลป์และสังคีตศิลป์

                      • ภารตนาฏยัม เป็นการฟ้อนตามกฎเกณฑ์แต่โบราณของภาคใต้ แสดงโดยนักฟ้อนรำประจำวัดวาอารามต่าง ๆ ในการประกอบพิธีบวงสรวง ตามแบบอย่างที่ได้ปฏิบัติติดต่อกันมาหลายศตวรรษ
                      • กถึกกาลิ เป็นแบบฟ้อนรำที่เกิดจากเดราลา แสดงให้ผู้ชมได้เห็นโลกของเทพเจ้า และภูติผีปีศาจ ผู้แสดงแต่งตนสีฉูดฉาด และแสดงบทบาทด้วยท่วงท่าเข้มแข็งคึกคัก
                      • มณีปุริ เป็นแบบฟ้อนรำของภาคเหนือ มีลีลาการแสดงที่ประกอบด้วย อาการเคลื่อนไหวอย่างนุ่มนวลละมุนละไม และ
                      • กถึก เป็นแบบฟ้อนรำซึ่งวิวัฒนาการภายใต้การสนับสนุนส่งเสริมของราชวงศ์โมกุล การฟ้อนรำแบบนี้อาศัยจังหวะเป็นสำคัญ

                      ดนตรีในราชสำนักและดนตรีท้องถิ่นเครื่องดนตรีสำคัญ คือ วีณา หรือพิณ ใช้สำหรับดีด เวณุ หรือขลุ่ย และกลอง

                      ด้านวรรณกรรม

                                      วรรณกรรม อินเดียที่มีอิทธิพล ได้แก่ รามายณะ มหาภารตะ คัมภีร์ปุราณะ วรรณคดีพระเวทและเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวกับธรรมเนียมกษัตริย์ การสืบราชวงศ์ตามแบบธรรมเนียมโบราณของราชวงศ์ในลุ่มแม่น้ำคงคา

                                      วรรณกรรมอินเดียมีอิทธิพลต่อชีวิตชาวบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย โดยการเล่า การอ่านนิทานแสดงเกี่ยวกับเนื้อเรื่องในวรรณกรรม การแสดงหุ่นกระบอก หนัง ละครที่มีเนื้อหาของวรรณกรรม รามายณะ มหากาพย์ และชาดก

                                      วรรณคดีพระเวท คัมภีร์ทางศาสนาของอินเดียที่ประกอบกันขึ้นเป็นวรรณคดีพระเวทนั้น ประกอบด้วยงานเขียน 4 ประเภท คือ

                                      1. มันตระ (ภาษิต, บทเพลง, มนตร์)

                                      2. อารัณยกะ

                                      3. พราหมณะ

                                      4. อุปนิษัท

                      ความก้าวหน้าทางวิทยาการของอินเดีย

                      ภาษาศาสตร์

                                      ได้นำเอาภาษาสันสกฤต ภาษาอารบิก และภาษาเปอร์เชีย มาผสมกันเป็นภาษาใหม่ เรียกว่า ภาษาอูรดู ซึ่งเป็นภาษาที่มุสลิมในอินเดียใช้พูดกันในปัจจุบัน

                      แพทยศาสตร์

                                      มีตำราเกี่ยวกับการแพทย์มากมาย เช่น อรรถศาสตร์ ระบุถึงการใช้ยาพิษต่างๆ

                      ธรรมศาสตร์และนิติศาสตร์

                      • หนังสือเล่มแรกที่รวบรวมกฎและหน้าที่เกี่ยวกับฆราวาส คือ มานวธรรมศาสตร์ หรือ มนูสมฤติ
                      • อรรถศาสตร์ ของเกาลิยะ เป็นงานเขียนที่เกี่ยวกับการเมืองการปกครองที่สำคัญ

                      ชโยศิษ

                      • เป็นศาสตร์ที่ใช้ประกอบพิธีกรรม คือ ดาราศาสตร์และโหราศาสตร์ผนวกเข้ากัน
                      • ชาวอินเดียเป็นชนชาติแรกที่ประดิษฐ์เลขศูนย์ ทำให้เกิดหลักหน่วย สิบ ร้อย พัน ใช้ในการคำนวณ