กิจกรรมวันเข้าพรรษา มีอะไรบ้าง

          ตามชนบทนั้น การหล่อเทียนเข้าพรรษาทำกันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานมาก เมื่อหล่อเสร็จแล้ว ก็จะมีการแห่แหนรอบพระอุโบสถ 3 รอบ แล้วนำไปบูชาพระตลอดระยะเวลา 3 เดือน บางแห่งก็มีการประกวดการตกแต่ง มีการแห่แหนรอบเมืองด้วยริ้วขบวนที่สวยงาม โดยถือว่าเป็นงานประจำปีเลยทีเดียว

วันเข้าพรรษาตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ซึ่งปีนี้จะตรงกับวันอาทิตย์ ที่ 25 กรกฎาคม 2564 โดยวันเข้าพรรษา แปลว่า “พักฝน” ถือเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา เป็นวันที่พระภิกษุเริ่มการอธิษฐานอยู่ประจำในวัดหรือเสนาสนะที่คุ้มแดดคุ้มฝนได้แห่งหนึ่งโดยไม่ไปค้างแรมที่อื่นเป็นเวลา 3 เดือนในฤดูฝน เพื่อไม่ให้พระสงฆ์จาริกไปเหยียบย่ำข้าวกล้าในนาข้าวของชาวบ้านเสียหาย ตามที่บัญญัติไว้ในพระธรรมวินัย

กิจกรรมวันเข้าพรรษา มีอะไรบ้าง
ของทำบุญเข้าพรรษา

กิจวัตรของพระภิกษุในฤดูเข้าพรรษา

ช่วงเข้าพรรษา ถือเป็นฤดูกาลติวเข้มพระธรรมวินัยของพระภิกษุ โดยพระภิกษุสงฆ์ที่มีพรรษามากกว่า จะทำหน้าที่เป็นครูบาอาจารย์ แก่พระภิกษุสงฆ์ที่พรรษาน้อยกว่า ทำให้พระภิกษุสงฆ์มีโอกาสได้ศึกษาพระไตรปิฏกมากยิ่งขึ้น

ประเพณีที่นิยมในวันเข้าพรรษา

ในวันเข้าพรรษา ประเพณีที่ถือปฎิบัติสืบต่อกันมาแต่ครั้งโบราณกาลคือหล่อเทียนพรรษาโดยพุทธศาสนิกชนจะพร้อมใจกันหล่อเทียนพรรษาเพื่อถวายให้ภิกษุสงฆ์ได้ทำกิจของสงฆ์ตลอดพรรษา 3 เดือน นอกจากนี้พุทธศาสนิกชนจะร่วมกันทำบุญตักบาตร, ฟังธรรมเทศนา, รักษาศีล ร่วมกันถวายผ้าอาบน้ำฝนและจตุปัจจัยแก่ภิกษุสามเณร

[advanced_iframe iframe_hide_elements=”header,footer,#filterWrapper,.bread”  src=”https://www.shopat24.com/supermarket/merit-and-gift-set/ceremonial/monk-basket/?utm_source=blog&utm_medium=iframe” change_iframe_links=”a” change_iframe_links_target=”_blank”]

ข้อปฏิบัติทั่วไปสำหรับพุทธศาสนิกชนในวันเข้าพรรษา

1. ทำบุญตักบาตรในตอนเช้า
2. ฟังธรรมเทศนา
3. ถวายผ้าอาบน้ำฝน ร่วมหล่อเทียนพรรษา และถวายจตุปัจจัยไทยธรรม
4. ถือศีล ปฎิบัติธรรม ละเว้นอบายมุข

ของทำบุญเข้าพรรษามีอะไรบ้าง ?

การทำบุญเข้าพรรษาควรจะเน้นไปทำบุญตามวัดต่างจังหวัดเพราะพระสงฆ์ตามต่างจังหวัดนั้นจะขาดแคลนของอุปโภค บริโภคมากกว่าพระที่จำวัดในเมือง โดยผู้ที่ต้องการทำบุญควรจะนำของใช้จำเป็น 4 อย่างไปถวายท่าน ประกอบไปด้วย

1. เทียนบูชาพระ
เทียนขนาด 8 นิ้ว พร้อมไม้ขีด หรือไฟแช็ค ถวายเพื่อให้พระภิกษุไว้ใช้สวดมนต์ทำวัดตลอดระยะเวลา 3 เดือน
2. ผ้าอาบน้ำฝน
ผ้าฝ้ายขนาดใหญ่เอาไว้ให้พระภิกษุสงฆ์น้ำ แม้สมัยนี้หลายวัดจะนิยมให้ผ้าขนหนู แต่ในความเป็นจริงแล้วถือว่าผิดพระวินัยของสงฆ์
3. อาหารแห้ง
อาหารสำเร็จรูปถือว่าสะดวกเมื่อยามฝนตกออกบิณฑบาตรไม่ได้ ท่านก็จะได้ให้ลูกศิษย์นำมาปรุงให้ฉันท์ได้
4. ไฟฉายหรือตะเกียงอย่างดี
ไฟฉายพร้อมถ่านถือเป็นของใช้จำเป็นยามจำวัดตลอดเข้าพรรษา โดยเฉพาะช่วงฤดูฝน มีพายุ ไฟฟ้าที่วัดอาจชำรุดเสียหาย รวมถึงวัดตามต่างจังหวัดที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ในยามค่ำคืนพระภิกษุ สามเณร จะได้มีไว้ใช้งาน
5. ยา
ในช่วงเข้าพรรษา เป็นช่วงเวลาที่พระอาพาธได้ง่าย ดังนั้นจำเป็นต้องมียารักษาโรคขั้นพื้นฐานสำรองไว้

ซื้อของทำบุญเข้าพรรษาราคาพิเศษที่ ShopAt24

กิจกรรมวันเข้าพรรษา มีอะไรบ้าง
ซื้อของทำบุญเข้าพรรษาราคาพิเศษที่ ShopAt24

ช้อปแอททเวนตี้โฟร์ ร้านค้าออนไลน์ วางจำหน่ายสินค้าสังฆภัณฑ์ของใช้จำเป็นช่วงเข้าพรรษาสำหรับพระภิกษุสามเณร อาทิ อักษะ, สบง, ผ้าอาบน้ำฝน, จีวร, ผ้าไตร, ชุดสังฆทาน ราคาไม่แพงลดราคากว่า 30% สินค้าของแท้ คุณภาพดีเหมาะสำหรับถวายให้พระสงฆ์

วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญวันหนึ่งในพระพุทธศานาที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งตลอดฤดูฝนเป็นระยะเวลา 3 เดือนตามที่พระธรรมวินัยได้บัญญัติไว้โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรืออาจพูดเป็นภาษาทั่วไปว่า จำพรรษา (พรรษา แปลว่า ฤดูฝน , จำ แปลว่า พักอยู่) พิธีเข้าพรรษานี้ถือว่าเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยตรง ไม่สามารถละเว้นได้ทุกกรณี ซึ่งการเข้าพรรษาตามปกติจะเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี (หรือเดือน 8 หลัง ถ้ามีเดือน 8 สองหน) และจะสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา

กิจกรรมวันเข้าพรรษา มีอะไรบ้าง

ความเป็นมาของวันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8) หรือเทศกาลเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) ถือว่าเป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธที่สำคัญวันหนึ่งของประเทศไทย โดยมีกำหนดระยะเวลา 3 เดือนในช่วงฤดูฝน ซึ่งวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องมาจากวันอาสาฬหบูชา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) พุทธศาสนิกชนชาวไทย รวมถึงพระมหากษัตริย์และบุคคลทั่วไปได้สืบทอดประเพณีการปฏิบัติและการทำบุญในวันเข้าพรรษามาช้านานตั้งแต่สมัยสุโขทัย

สาเหตุที่พระพุทธเจ้าได้ทรงอนุญาตให้จำพรรษาอยู่ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งตลอดระยะเวลา 3 เดือนแก่พระสงฆ์นั้น ก็เพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักจากการจาริกเผยแผ่ศาสนายังสถานที่ต่างๆ ที่จะเป็นไปด้วยความยากลำบากในช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลาจำพรรษตลอด 3 เดือนนั้น เป็นช่วงเวลาและโอกาสสำคัญในรอบปีที่พระสงฆ์จะได้มาอยู่จำพรรษารวมกันภายในอาวาส หรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่งเพื่อศึกษาพระธรรมวินัยจากพระสงฆ์ที่ทรงความรู้ นับว่าเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ด้วยเอง อีกทั้งในวันเข้าพรรษาและช่วงฤดูพรรษากาลตลอด 3 เดือนนั้น พุทธศาสนิกชนชาวไทยถือว่าเป็นโอกาสอันดีที่จะได้บำเพ็ญกุศลด้วยการเข้าวัดทำบุญตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา และนับเป็นโอกาสพิเศษที่มากกว่าวันสำคัญอื่นๆ โดยในวันเริ่มต้นพรรษานี้ จะมีการถวายหลอดไฟ หรือเทียนเข้าพรรษา และผ้าอาบน้ำฝน (ผ้าวัสสิกสาฏก) แก่พระสงฆ์ เพื่อไว้สำหรับให้พระสงฆ์ได้ใช้ตลอดการอยู่จำพรรษา ซึ่งในอดีต ชายไทยที่เป็นพุทธศาสนิกชนและมีอายุครบบวช (20 ปี) จะนิยมถือบรรพชาอุปสมบทเป็นพระสงฆ์เพื่ออยู่จำพรรษาตลอดทั้ง 3 เดือน โดยพุทธศาสนิกชนชาวไทยจะเรียกการบรรพชาอุปสมบทเพื่อจำพรรษาตลอดพรรษากาลว่า บวชเอาพรรษา

นอกจากนี้เมื่อปี พ.ศ. 2551 รัฐบาลได้ประกาศให้วันเข้าพรรษาเป็น วันงดดื่มสุราแห่งชาติ ซึ่งในปีถัดมายังได้ประกาศให้วันเข้าพรรษาเป็นวันที่ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั่วราชอาณาจักร ทั้งนี้ เพื่อเป็นการรณรงค์ให้ชาวไทยตั้งสัจจะอธิษฐานงดการดื่มสุราในวันเข้าพรรษาและในช่วง 3 เดือนระหว่างฤดูเข้าพรรษา หวังเพื่อเป็นการส่งเสริมค่านิยมที่ดีให้แก่สังคมไทย

กิจกรรมวันเข้าพรรษา มีอะไรบ้าง

ความสำคัญของวันเข้าพรรษา

  1. ช่วงวันเข้าพรรษา เป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านจะประกอบอาชีพทำไร่ทำนา ดังนั้นการกำหนดให้ภิกษุสงฆ์หยุดการเดินทางจาริกไปในสถานที่ต่างๆ จะช่วยให้ต้นกล้าของพันธุ์พืช ตลอดจนสัตว์เล็กสัตว์น้อยไม่ได้รับความเสียหายจากการเดินธุดงค์
  2. หลังจากเดินทางจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนามาเป็นเวลา 8 – 9 เดือน ช่วงเข้าพรรษาจะเป็นช่วงที่ให้พระสงฆ์ได้หยุดพักผ่อน
  3. วันเข้าพรรษา เป็นช่วงเวลาที่พระภิกษุสงฆ์จะได้ประพฤติปฏิบัติธรรมสำหรับตนเอง อีกทั้งยังได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย ตลอดจนเตรียมการสั่งสอนให้กับประชาชนเมื่อถึงวันออกพรรษา
  4. เพื่อจะได้มีโอกาสอบรมสั่งสอนและบวชให้กับกุลบุตรผู้มีอายุครบบวช อันจะเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป
  5. เพื่อเป็นการให้พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลเป็นการพิเศษ อาทิ ทำบุญตักบาตร หล่อเทียนพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน รักษาศีล เจริญภาวนา ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม งดเว้นอบายมุข และมีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนาตลอดช่วงเวลาเข้าพรรษาอีกด้วย

ข้อยกเว้นการจำพรรษาของพระสงฆ์

ถึงแม้ว่าการเข้าพรรษาจะถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระภิกษุโดยตรงที่ไม่สามารถละเว้นได้ไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตาม แต่ในการจำพรรษาของพระสงฆ์ในระหว่างพรรษานั้นอาจมีกรณีจำเป็นบางอย่างที่ทำให้พระภิกษุผู้จำพรรษาต้องออกจากสถานที่จำพรรษาเพื่อไปค้างแรมที่อื่น พระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาตให้ทำได้โดยไม่ถือว่าเป็นการขาดพรรษาโดยมีเหตุจำเป็นเฉพาะกรณีๆ ไป ซึ่งได้มีระบุไว้ในพระไตรปิฎก ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการพระศาสนา หรือการอุปัฏฐานบิดามารดา ทั้งนี้ ก็จะต้องกลับมาภายในระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน การออกนอกที่จำพรรษาล่วงวันเช่นนี้เรียกว่า สัตตาหกรณีย พระพุทธเจ้าได้ทรงระบุเหตุต่างๆ เอาไว้ในกรณีจะออกจากที่จำพรรษาไปชั่วคราวได้ ดังนี้

  1. การไปรักษาพยาบาล หาอาหารให้ภิกษุ หรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย กรณีนี้ทำได้กับสหธรรมิก 5 และบิดามารดา
  2. การไประงับภิกษุสามเณรที่อยากจะสึกมิให้สึกได้ กรณีนี้ทำได้กับสหธรรมิก 5
  3. การไปเพื่อกิจธุระของคณะสงฆ์ เช่น การไปหาอุปกรณ์มาซ่อมกุฏิที่ชำรุด หรือการไปทำสังฆกรรม อาทิ สวดญัตติจตุตถกรรมวาจาให้พระผู้ต้องการอยู่ปริวาส เป็นต้น
  4. หากทายกนิมนต์ไปทำบุญ ก็ให้ไปทายกได้โดยให้ทาน รับศีล ฟังเทศนาธรรมได้ ในกรณีนี้หากโยมไม่มานิมนต์ก็จะไปค้างไม่ได้

หากพระสงฆ์ออกจากอาวาสแม้โดยสัตตาหกรณียะล่วงกำหนด 7 วันตามพระวินัยก็ถือว่าขาดพรรษา และเป็นอาบัติทุกกฎเพราะรับคำ (รับคำอธิษฐานเข้าพรรษาแต่ทำไม่ได้) แต่ในกรณีที่พระสงฆ์สัตตาหกรณียะและกลับมาตามกำหนดแล้ว ไม่ถือว่าเป็นอาบัติ และสามารถกลับมาจำพรรษาต่อเนื่องได้ แต่หากมีเหตุจำเป็นที่จะต้องออกจากที่จำพรรษาไปได้ตามวินัยอีก ก็สามารถทำได้โดยสัตตาหกรณียะและต้องกลับมาภายใน 7 วันเพื่อไม่ให้ขาดและไม่เป็นอาบัติทุกกฎดังกล่าว

กิจกรรมใดจะกระทำก่อนเข้าพรรษา

การเข้าจำพรรษาคือการตั้งใจเพื่ออยู่จำ ณ อาวาสใดอาวาสหนึ่งหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่งเป็นประจำตลอดพรรษา 3 เดือน ดังนั้นก่อนเข้าจำพรรษาพระสงฆ์ในวัดจะเตรียมตัว โดยการซ่อมแซมเสนาสนะปัดกวาดเช็ดถูให้เรียบร้อยก่อนถึงวันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น

ในอดีตสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าไม่ได้กำหนดการจำพรรษาในวันเข้าพรรษาไว้ พระสงฆ์ผู้ที่เดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ได้เหยียบย่ำพืชผลชาวบ้านที่ปลูกไว้ในฤดูฝน สัตว์น้อยใหญ่ที่ออกหากินบนผิวดินถูกเหยียบย่ำ ชาวบ้านได้รับความเสียหาย เมื่อเรื่องนี้ทราบถึงพระพุทธเจ้าจึงเกิดการบัญญัติเรื่องวันเข้าพรรษาไว้ให้ภิกษุจำพรรษาอยู่ที่ใดที่หนึ่ง ...

เข้าพรรษา ห้ามทำอะไรบ้าง

วันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษาที่ ถือเป็นวันส าคัญทางพระพุทธศาสนา กรมควบคุมโรค กระทรวง สาธารณสุข ขอเชิญชวนประชาชนงดดื่มเหล้าในช่วงวันดังกล่าว และขอความร่วมมือร้านค้า ร้านอาหาร และสถาน บริการทุกประเภทห้ามขายสุรา หากฝ่าฝืนจะมีโทษทั้งจ าทั้งปรับ ตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ผู้ที่ฝ่าฝืนจะมีโทษจ าคุก ...

กิจกรรมวันแห่เทียนมีอะไรบ้าง

ร่วมกิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษาและถวายเทียนพรรษา ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัยแก่ภิกษุสามเณร ร่วทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล อธิษฐาน งดเว้นอบายมุขต่างๆ