การจัดการขยะ ประเทศเยอรมัน

เยอรมัน เจ้าแห่งการรีไซเคิล

4 มิ.ย. 2020

เยอรมัน เจ้าแห่งการรีไซเคิล /โดย ลงทุนแมน

นอกจากจะเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่อง วิศวกรรมยานยนต์แล้ว
เยอรมนี ยังมีชื่อในการเป็นผู้นำทางด้านรีไซเคิลอีกด้วย

รู้ไหมว่ากว่า 67% ของขยะในประเทศนี้จะถูกนำไปรีไซเคิล
ซึ่งถือเป็นอัตราที่สูงที่สุดในโลก

การที่ทำให้อัตราการรีไซเคิลสูงได้ขนาดนี้ นอกจากเรื่องเทคโนโลยีการรีไซเคิลของเยอรมนีนั้นจะไม่แพ้ชาติใดในโลก

การให้ความร่วมมือของประชาชน
และมาตรการต่างๆ ของรัฐบาล
ก็มีส่วนสำคัญที่ช่วยให้ทุกคนตระหนักในเรื่องการรีไซเคิลมากขึ้น
╔═══════════╗
Blockdit แหล่งรวมบทความวิเคราะห์ เจาะลึกแบบ deep content ล่าสุดมีฟีเจอร์พอดแคสต์แล้ว
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
เริ่มจากภาครัฐกันก่อน
เยอรมนีมีทั้งหมด 16 รัฐ
แต่ว่ารัฐบาลมอบหมายให้แต่ละรัฐนั้นมีมาตรการจัดการขยะของตนเอง
ซึ่งเรื่องนี้จะเป็นหน้าที่ของเทศบาลในแต่ละเมือง
โดยจะดูแลตั้งแต่การเก็บ การลำเลียงไปกำจัด หรือรีไซเคิล

ส่วนด้านผู้ผลิตสินค้า ทางรัฐบาลก็มอบหมายให้แต่ละบริษัทเป็นคนรับผิดชอบขยะที่เกิดมาจากสินค้าของตัวเองด้วย

และเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ทั่วไป
การแยกขยะในครัวเรือน ก็จะมีการแบ่งแยกตามสีของถังขยะ
ตามหมวดหมู่แบ่งแยกกันไป

แต่ทางเทศบาลในเยอรมนีจะค่อนข้างเข้มงวดกับการจัดการขยะ
โดยหากไม่ทำตามกฎอาจจะมีค่าปรับสูงสุด อยู่ที่ประมาณ 87,000 บาท

มาดูที่ภาคประชาชน
ก็พบว่า ประชาชนส่วนมากให้ความร่วมมือในการรีไซเคิลเป็นอย่างมาก
โดยอ้างอิงจาก Statista ประชากรกว่า 80% นั้นให้ความสำคัญเกี่ยวกับวัสดุที่ใช้ในการผลิตสินค้ามาก ว่าต้องสามารถนำไปรีไซเคิลได้

สุดท้าย
พอทุกภาคส่วนให้ความสำคัญกับเรื่องนี้
ก็ทำให้อุตสาหกรรม การจัดการขยะและรีไซเคิลนั้น กลายเป็นอีกอุตสาหกรรมที่สำคัญของเศรษฐกิจเยอรมันไปด้วย

โดยในเวลานี้ มีจำนวนบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดขยะสูงถึง 11,000 บริษัท
มีพนักงานรวม 270,000 คน
สร้างรายได้รวม 2.4 ล้านล้านบาทต่อปี
และมีโรงงานเกี่ยวกับการจัดการขยะรวม 15,500 แห่งทั่วประเทศ

ก็ทำให้เห็นได้ว่า
ในระบบเศรษฐกิจ นอกจากจะมีฝ่ายที่ผลิตเป็นจำนวนมากแล้ว
ฝ่ายที่ต้องกำจัดก็ต้องมีมากไม่แพ้กัน
เพื่อที่จะสามารถจัดการกับขยะมหาศาลในประเทศได้

อย่างไรก็ตาม ถึงจะเป็นประเทศเจ้าแห่งการรีไซเคิล และเจ้าแห่งการกำจัดขยะ แต่เยอรมนีเองก็ยังเจอปัญหา เช่นเดียวกับหลายๆ ประเทศ

นั่นคือ ขยะส่วนมากกลับถูกนำไปรีไซเคิลในรูปแบบของเชื้อเพลิงพลังงาน เช่น การเผาในโรงไฟฟ้า มากกว่านำกลับมาผลิตเป็นสินค้าใหม่จริงๆ ซึ่งเรื่องนี้ก็อาจถือได้ว่ายังไม่เป็นการรีไซเคิลแบบสมบูรณ์เท่าไรนัก

นอกจากนี้ เยอรมนีเองก็ยังยอมรับว่าประเทศตัวเองนั้นยังมีปริมาณขยะมากเกินไป และอยากจะลดปริมาณขยะลงอยู่ดี

จะเห็นได้ว่า ถึงแม้จะเป็นผู้นำ ก็ยังต้องมีเรื่องให้ปรับปรุงแก้ไขอยู่เสมอ

ชมคลิป แยกขยะแบบเยอรมนี “หนึ่งของโลกด้านรีไซเคิล”

เผยแพร่: 27 มิ.ย. 2564 01:05   ปรับปรุง: 27 มิ.ย. 2564 01:05   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


เยอรมนี ยังเป็นประเทศผู้นำทางด้านรีไซเคิล กว่า 67% ของขยะถูกนำไปรีไซเคิล และเป็นอัตราสูงที่สุดในโลก จากผลสำเร็จที่เกิดขึ้นได้ ไม่ใช่ว่าเพราะความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีการรีไซเคิลเท่านั้น ส่วนสำคัญที่สุดที่นำเยอรมนีไปสู่ความสำเร็จ เกิดขึ้นจากความร่วมมือของทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ เอกชน และชาวเยอรมัน

รัฐบาลเยอรมนี มีกฎหมายและมาตรการจัดการขยะที่เข้มแข็ง รัฐทั้ง 16 รัฐนั้นมอบหมายให้มีมาตรการจัดการขยะของตนเอง จึงเป็นหน้าที่ของเทศบาลของแต่ละเมืองที่เข้ามาดูแล ตั้งแต่การเก็บ การลำเลียงไปกำจัด หรือรีไซเคิล

ด้านธุรกิจเอกชน ผู้ผลิตสินค้า แต่ละบริษัทต้องเป็นคนรับผิดชอบขยะที่เกิดมาจากสินค้าของตัวเองด้วย ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติเช่นเดียวกับหลายประเทศในยุโรป ส่วนการแยกขยะในครัวเรือน ก็จะมีการแบ่งแยกตามสีของถังขยะ ทั้งนี้ทางเทศบาลของเขาค่อนข้างเข้มงวดกับการจัดการขยะมาก หากใครไม่ทำตามกฎอาจจะโดนค่าปรับสูงสุด อยู่ที่ประมาณ 87,000 บาท

ขณะที่ชาวเยอรมันเอง ทุกวันนี้เขาให้ความร่วมมือในการรีไซเคิลเป็นอย่างมาก อ้างอิงจาก Statista ประชากรกว่า 80% นั้นให้ความสำคัญเกี่ยวกับวัสดุที่ใช้ในการผลิตสินค้ามาก ว่าต้องสามารถนำไปรีไซเคิลได้

นั่นจึงทำให้อุตสาหกรรม การจัดการขยะและรีไซเคิลของเยอรมนีกลายเป็นอีกอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศไปด้วย โดยมีจำนวนบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดขยะมากถึง 11,000 บริษัท มีพนักงานรวมกว่า 270,000 คน สร้างรายได้รวมสูงถึง 2.4 ล้านล้านบาทต่อปี และมีโรงงานเกี่ยวกับการจัดการขยะรวม 15,500 แห่งทั่วประเทศ

เรื่องเล่าในคลิปนี้ โดยคุณ pattamai เธอพาไปชมของจริงว่าที่นั่นเขามีระบบจัดการขยะที่ดีอย่างไรถึงทำให้พวกเขากลายเป็นประเทศที่รีไซเคิลได้มากมาย ที่จริงปริมาณของขยะก็อาจจะไม่ได้ต่างจากบ้านเราสักเท่าไหร่ เพียงแต่ว่าเขามีระบบการจัดการที่แตกต่างจากเราอยู่หลายขุมเท่านั้นเอง

pattamai เธอบรรยายใต้คลิปนี้ไว้ว่า “ขอสารภาพว่าตอนมาถึงแรกๆ นี่งงตาแตกกับหลักการแยกขยะที่ยิบย่อยและยุ่งยากมากๆ ของเยอรมัน (ผ่านมาปีกว่าแล้วก็ยังแอบงงๆ อยู่) คนที่นี่ให้ความสำคัญกับการจัดการขยะมากๆ มันได้เป็นแค่กฎเกณฑ์ แต่เป็นนิสัยและความเคยชินไปแล้วว่าเขาต้องแยกขยะและรีไซเคิลให้มากที่สุด อย่างโฮสต์เราถึงจะมีฐานะค่อนข้างดีแต่ก็จะเอาถุงซิปล็อกที่ใช้แล้วมาล้างแล้วล้างอีกจนมันขาดเป็นรูนั่นแหละ...555 ถึงจะเลิกใช้ ยอมใจมากๆ กับนิสัยการใส่ใจสิ่งแวดล้อมขนาดนี้”

อย่างขวดพลาสติก ขวดแก้ว กระป๋องที่ใช้แล้ว เขายังไม่ทิ้งเป็นขยะที่ไร้ประโยชน์ เยอรมนีมีระบบ Pfand คือระบบมัดจำ คนที่นั่นเขาจะเอาขวดไปคืนที่ตู้ตามซูเปอร์มาร์เก็ตแล้วได้บิลมาแลกเงินมัดจำคืน หรือจะเก็บไว้เป็นส่วนลดเวลาซื้อของก็ได้.

อีกอย่างที่น่าสนใจคือ Mülltrennung หรือระบบการแยกขยะแบบเข้มงวดมาก ถ้าใครเพิ่งเดินทางไปเยอรมนีครั้งแรก อาจนึกว่าเราจะแยกให้ถูกได้ไง เรื่องนี้ทางการของเขารวดเร็ว เราย้ายมาอยู่เยอรมัน ทันทีที่ถึง เมืองที่อยู่ เขาก็จะส่งจดหมายส่งมาบอกว่าต้องแยกขยะอะไรบ้าง ขยะประเภทใดต้องทิ้งลงในถังสีอะไร รวมถึงให้ข้อมูลอีกว่าจะเข้ามาเก็บขยะวันไหน (มีวันเก็บขยะแต่ละประเภท เช่น ขยะที่นำไปเผา กระดาษ หรือขยะชิ้นใหญ่พวกเฟอร์นิเจอร์ก็มีวันเก็บ) มาตรการที่เข้มงวด และเด็ดขาดมากก็คือถ้าเกิดเราเอาขยะไปวางผิดประเภท เขาก็จะไม่เก็บให้ แถมส่งใบเตือนมาฝากด้วย

Sperrmüll หรือวันทิ้งขยะชิ้นใหญ่ เฟอร์นิเจอร์ก็มีความสนุกสนาน Sperrmüll เป็นระบบที่ดีที่สนับสนุนให้คนใช้ของมือสอง เพราะคนจะเอาของที่ไม่ใช้แล้วมาวางไว้หน้าบ้าน แล้วคนอื่นก็มาหยิบไปใช้ต่อได้เลย ลองมองหาดีๆ อาจจะได้ของที่ยังดูใหม่เอี่ยมมาใช้ด้วยละ

การมีระบบการจัดการดีๆ ช่วยให้ขยะได้ไปอยู่ในที่ที่ถูกต้อง ได้รับการจัดการหลังใช้งานถูกวิธี แทนที่จะไปรวมกันเป็นกองขยะมหาศาล บางอย่างก็ได้ใช้ประโยชน์ต่ออย่างขยะชิ้นใหญ่ในวัน Sperrmüll

ขอบคุณคลิปจากคุณ pattamai (https://www.youtube.com/channel/UCvqzUHs9MCOVW6OJVo6BR1w)
ข้อมูลอ้างอิง CHULA Zero Waste, pattamai