คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง นางขุชชุตตรา

ใบความรู้

จุดประสงค์ของการศึกษาพุทธประวัติ   ประวัติพระสาวก พระสาวิกา และชาวพุทธตัวอย่าง

๑.เพื่อเป็นการเผยแผ่และจรรโลงพระพุทธศาสนาไว้

๒.เพื่อให้ทราบถึงความเป็นมาของพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้สืบทอดพระพุทธศาสนา

๓.เพื่อยึดถือเอาจริยาความประพฤติของท่านมาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติ

การผจญมาร

มาร คือ สิ่งที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากคุณความดี มารมี ๕ ประเภทคือ  ๑.กิเลสมาร มารคือกิเลส  ๒.ขันธมาร มารคือขันธ์ ๕  ๓.อภิสังขารมาร  มารคืออภิสังขาร (กรรม)  ๔.เทวปุตตมาร มารคือเทพบุตร  (บุคคล)  ๕.มัจจุมาร  มารคือความตาย   กิเลสมารคือมารที่คอยขัดขวางการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าในคืนวันตรัสรู้

เหตุการณ์การผจญมารของพระพุทธเจ้า  ทำให้ผู้ศึกษาได้ข้อคิดด้าน การใช้ความเพียรวิริยะอุตสาหะ เหมือนดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า "บุคคลจะพ้นทุกข์ได้ เพราะความเพียร"

การตรัสรู้

การตรัสรู้  หมายถึงการรู้ความจริงที่ทำความบริสุทธิ์ให้แก่ตนเอง  

ผลที่เกิดจากการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า

                                                ๑.เป็นจุดเริ่มต้นของการก่อตั้งพระพุทธศาสนา

                                                ๒.เป็นจุดกำเนิดของหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

                                                ๓.เป็นการประกาศสัจธรรมทางพระพุทธศาสนา

การสั่งสอนธรรม

เหตุผลที่พระพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมแก่เบญจวัคคีย์

                                                ๑.เพราะต้องการให้ปัญจวัคคีย์เป็นสักขีพยานแห่งการตรัสรู้

                                                ๒.เพราะนึกถึงอุปการคุณที่ปัญจวัคคีย์เคยรับใช้มาก่อน

                                                ๓.เพราะต้องการเปลี้องความเห็นผิดของปัญจวัคคีย์

พระสารีบุตรเถระ

ชาติภูมิ                                  เกิดในตระกูลพราหมณ์ ตำบลนาลันทา  กรุงราชคฤห์  เป็นบุตรของวังคันตพราหมณ์  และนางสารีพราหมณี

อาจารย์                                 สัญชัยเวลัฏฐบุตร

ออกบวช                               ด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา ณ พระเวฬัวันมหาวิหาร  กรุงราชคฤห์

การบรรลุธรรม               บรรลุโสดาปัตติผล  เพราะฟังธรรมจากพระอัสสชิเถระ  บรรลุพระอรหันตผล เพราะฟังเวทนาปริคคหสูตรจากพระพุทธเจ้า ซึ่งเปรียบเสมือนการบริโภคอาหารที่เขาจัดเตรียมไว้เพื่อผู้อื่น  ในวันขึ้น ๑๕ เดือน ๓

บทบาทสำคัญ                ๑. เสนอความคิดให้พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัย  เพื่อความมั่นคงแห่งพระสัทธรรม

                                                ๒. นำคำสอนของพระพุทธองค์จัดเป็นหมวดหมู่

                                                ๓. แสดงสังคีติสูตร  และทสุตตรสูตรท่ามกลางภิกษุสงฆ์

                                                ๔. เป็นพระเถระรูปแรกที่คิดทำสังคายนา           

                                                ๕. เป็นพระธรรมเสนาบดี (แม่ทัพธรรม)

                                                ๖. เป็นพระอัครสาวกเบื้องขวา

                                                ๗. เป็นพระอุปัชฌาย์ของสามเณรรูปแรก (สามเณรราหุล)

คุณธรรม                               ๑. เป็นผู้มีปัญญาหลักแหลม

ที่ควรถือ                                ๒. มีความกตัญญูกตเวทิตาธรรมเป็นเลิศ

เป็นแบบอย่าง                ๓. เป็นผู้มั่นคงและปรารถนาดีต่อพระพุทธศาสนา

เอตทัคคะ                             ด้านผู้มีปัญญามาก

นิพพาน                                 ณ บ้านเกิดของท่าน  ในตำบลนาลันทา กรุงราชคฤห์

พระโมคคัลลานเถระ

ชาติภูมิ                          เกิดในตระกูลพราหมณ์  ตำบลโกลิตคาม  กรุงราชคฤห์  บิดาเป็นนายบ้านโกลิตคาม  มารดาชื่อโมคคัลลีพราหมณ์

ออกบวช                               ด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา ณ พระเวฬัวันมหาวิหาร  กรุงราชคฤห์

การบรรลุธรรม                    บรรลุโสดาปัตติผล  เพราะฟังธรรมจากอุปติสสะ  บรรลุพระอรหันตผลด้วยการเจริญอุบายแก้ง่วง  และบำเพ็ญสมณธรรม

บทบาทสำคัญ                      ๑.เป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้าย

                                                ๒. เป็นนวกัมมัฏฐายี (ผู้ดูแลการก่อสร้าง)

                                    ๓. มีฤทธิ์เป็นเครื่องมือชักจูงทำให้ผู้นับถือลัทธิอื่นมานับถือพระพุทธศาสนา

                                                ๔. ท่านเปรียบเหมือนพี่เลี้ยงทารกให้เติบใหญ่ (พระสารีบุตรเหมือนมารดาให้ผู้กำเนิดทารก)

คุณธรรม                               ๑. เป็นผู้มีความอดทนยิ่ง     

ที่ควรถือ                                ๒. เป็นผู้ถ่อมตนยิ่ง

เป็นแบบอย่าง                ๓. มีความใฝ่รู้อย่างยิ่ง

เอตทัคคะ                      ด้านมีฤทธิ์มาก

นิพพาน                                 ถูกโจรฆ่าที่ตำบลกาฬศิลา   แค้วนมคธ

นางขุชชุตตรา

ชาติภูมิ                                  เป็นธิดาของนางนม (สาวใช้) ในบ้านของโฆสกเศรษฐี  เมืองโกสัมพี  ได้ชื่อ “ขุชชุตตรา”  เพราะหลังค่อม

การบรรลุธรรม                    ได้บรรลุโสดาปัตติผล   (พระโสดาบัน)

เอตทัคคะ                             เป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลาย  ในทางเป็นธรรมกถึก (แสดงธรรม, กล่าวธรรม)

คุณธรรม                               ๑. เป็นผู้ฝึกฝนตนเองอยู่เสมอ

ที่ควรถือ                                ๒. เอาใจใส่ในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

เป็นแบบอย่าง                ๓. มีความซื่อสัตย์  (ปรับปรุงตนเองหลังจากได้บรรลุธรรม)

พระเจ้าพิมพิสาร

ชาติภูมิ                                  เป็นพระมหากษัตริย์กรุงราชคฤห์   แคว้นมคธ

การบรรลุธรรม                    ได้บรรลุโสดาปัตติผล   (พระโสดาบัน)

คุณธรรม                               ๑. เป็นพ่อที่ดี  (ของพระเจ้าอชาตศัตรู)

ที่ควรถือ                                ๒. ทรงมั่นคงในพระรัตนตรัย

เป็นแบบอย่าง                ๓. ทรงเป็นผู้นำที่ดี

นางขุชชุตตรามีหน้าที่ทำอะไร

วันหนึ่งโฆษกเศรษฐีกับเพื่อน ๆ ได้กราบทูลอาราธนานิมนต์พระพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระสาวกเสด็จมาฉันภัตตาหารและถวายวัดที่ได้สร้างขึ้น นางขุชชุตตราได้รับมอบหมายให้ดูแลเรื่องดอกไม้เช่นเคย ด้วยภาระหน้าที่ที่ต้องอยู่บริเวณใกล้เคียงที่ประทับของพระพุทธเจ้าทำให้นางมีโอกาสได้ฟังธรรมของพระพุทธองค์ เมื่อจบพระธรรมเทศนานางได้ดวงตาเห็นธรรม ...

นางขุชชุตตราเดิมมีชื่อว่าอะไร *

ขุชชุตตรา
คำนำหน้าชื่อ
อัครอุปัฏฺฐิกาอุบาสิกา
ส่วนบุคคล
เกิด
ไม่ทราบ
ศาสนา
ศาสนาพุทธ
ขุชชุตตรา - วิกิพีเดียth.wikipedia.org › wiki › ขุชชุตตราnull

นักเรียนสามารถนำแบบอย่างของนางขุชชุตตรามาปรับใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร

1. มีความเพียรช่วยเหลือตนเอง แม้ร่างกายจะพิการ คือ หลังค่อม แต่ก็ไม่ยอมแพ้ต่อชีวิต ประกอบการงานหาเลี้ยงชีพด้วยตนเอง 2. เป็นฝึกฝนตนเอง ถึงแม้ว่านางขุชชุตตราจะยักยอกค่าดอกไม้เป็นประจำทุกวันก็ตาม แต่เมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าแล้ว กลับมีความสำนึกผิด ละเว้นในสิ่งไม่ดีที่ได้กระทำและตั้งมั่นอยู่ในความดีได้ในที่สุด

ขุชชุตตรา แปลว่าอะไร

นางขุชชุตตรา เป็นหญิงรับใช้ในพระนางสามาวดี พระมเหสีพระเจ้าอุเทน เจ้าเมืองโกสัมพี เดิมนางมีชื่อว่า อุตตราแต่เพราะนางเป็นหญิงพิการ มีร่างกายค่อม ดังนั้นประชาชนจึงเรียกนางว่า "ขุชชุตตรา" แปลว่า "หญิงค่อม" ในสมัยนั้นเมืองโกสัมพีมีเศรษฐีอยู่ 3 ท่านซึ่งเป็นเพื่อนสนิทกันในทางการค้าขาย โฆสกเศรษฐี กุกกุฏเศรษฐี และปวารเศรษฐี ...