เล่นโทรศัพท์ในที่มืดเป็นเวลานาน

        ร้อยทั้งร้อยต้องเคยเล่นมือถือตอนปิดไฟแล้วกำลังจะเข้านอน ก่อนจะเอนตัวขอหยิบมาดูอะไรอีกนิดนึงแล้วกัน พอมีมือถืออยู่ในมือเท่านั้นแหละ ไม่เคยนิดอย่างที่ตั้งใจไว้สักที

ที่สำคัญก็คือทุกคนรู้ว่าการเล่นโทรศัพท์มือถือในที่มืดนั้น อันตรายมากแค่ไหน ทั้งแสงสีฟ้า แสงยูวี ที่ทำร้ายจอประสาทตาได้อย่างร้ายกาจ แต่พอความกลัวหรือจะสู้ความอยาก รู้ตัวอีกทีก็เล่นมือถือไปเป็นชั่วโมงเรียบร้อยแล้ว 

แสงสีฟ้า คือแสงที่เรามองเห็นอยู่ทุกวัน เป็นคลื่นแสงที่มีพลังงานสูง จริง ๆ แล้วแสงสีฟ้าไม่ได้มาจากหน้าจอโทรศัพท์มือถือเท่านั้น แต่ยังมาจากรังสียูวีจากแสงแดด และอุปกรณ์จำพวกหลอด LED, อุปกรณ์ดิจิทัลต่าง ๆ , โทรทัศน์, คอมพิวเตอร์ รวมไปถึงโทรศัพท์มือถืออย่างที่ทุกคนรู้ดี ทุกอย่างที่พูดมาทั้งหมดนี้ปล่อยแสงสีฟ้าออกมาทั้งนั้น ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นกลางแจ้งหรือในร่ม เราก็หนีแสงสีฟ้าไม่พ้นอยู่ดี

เล่นโทรศัพท์ในที่มืดเป็นเวลานาน

ความน่ากลัวที่แท้จริงของแสงสีฟ้า

อย่างที่บอกว่าทุกคนรู้ว่าแสงสีฟ้ามันน่ากลัว แต่มันน่ากลัวยังไงล่ะ ทำให้ตาบอด ? จอประสาทตาเสื่อม ? แล้วยังไงล่ะ เราคงไม่แจ็กพอตขนาดนั้นหรอก

เอาเป็นว่าเจ้าแสงสีฟ้าที่บางทีเราก็ลืม ๆ กันไปตอนปิดไฟเล่นมือถือนั้น มันอันตรายกว่าที่คิด อย่างน้อยที่สุดก็คือสายตาสั้น ตาล้า ตาพร่า ไปจนถึงจอประสาทตาเสื่อม และสูญเสียการมองเห็น ซึ่งถ้าใช้สายตาในลักษณะนี้ หรือเล่นมือถือในที่มืดเป็นประจำ โอกาสที่จะเกิดอาการเหล่านี้ก็มีมากขึ้นตามไปด้วย

  • ตาอ่อนล้า เป็นอาการเบื้องต้นที่เกิดขึ้นได้จากการใช้สายตาเป็นเวลานาน แต่ถ้าใช้สายตามองจอมือถือในที่มืด อาการก็จะมีมากขึ้น เช่น แสบตา ระคายเคือง หรือตาพร่า เพราะดวงตาต้องทำงานหนักจากการเพ่งมองภาพจากมือถือ ส่งผลให้ระบบสายตาทำงานลำบาก ทำให้ตาพร่า แสบตาได้ นอกจากนี้อาจตามมาด้วยอาการปวดไหล่ ปวดหัว ระคายเคืองที่ตา เจ็บตา หรือเห็นภาพซ้อน ตาอ่อนไหวต่อแสงแดด น้ำตาไหล ตาแห้ง และมองภาพไม่ชัดเจนได้ด้วย
  • สายตาสั้นได้ง่าย สังเกตว่าเวลานอนเล่นมือถือ หน้าจอกับหน้าเรามักจะอยู่ห่างกันไม่มากเท่ากับการเล่นมือถือในเวลาปกติ ทำให้มีโอกาสสายตาสั้นมากขึ้น โดยเฉพาะคนที่สายตาสั้นอยู่ก่อนแล้วก็จะสั้นมากขึ้นไปอีก
  • จอประสาทตาเสื่อม ในระยะยาวถ้ายังคงเล่นมือถือในที่มืดไปเรื่อย ๆ ดวงตาก็จะได้รับแสงสีฟ้าในปริมาณที่มากเกินไปจนนำไปสู่การเสื่อมของศูนย์กลางเรตินาได้ ทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงให้จอประสาทตาเสื่อมเมื่อมีอายุมากขึ้น ที่สำคัญอาจอันตรายถึงขั้นตา
  • โอกาสเกิดมะเร็งบางชนิด นักวิจัยที่ Harvard เคยกล่าวไว้ว่า การได้รับแสงสีฟ้าในเวลากลางคืน อาจจะเกี่ยวข้องกับโอกาสเกิดมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก หรือโรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคอ้วน ซึ่งคาดว่ามีสาเหตุมากจากระดับสูง ๆ ต่ำ ๆ ของเมลาโทนิน (Melatonin-ฮอร์โมนที่สมองสร้างขึ้นเพื่อทำหน้าที่ควบคุมการนอนหลับ)
  • ผลกระทบต่อการนอนและการตื่นนอน แสงสีฟ้าในตอนกลางวันจะทำให้รู้สึกกระตือรือร้น ช่วยในเรียนรู้ การจดจำ และอารมณ์ดีขึ้น แต่การได้รับแสงสีฟ้าตอนกลางคืน โดยเฉพาะคนที่ปิดไฟเล่นโทรศัพท์มือถือเป็นชั่วโมงก่อนนอน จะส่งผลกระทบต่อการตื่นและการนอนทำให้ต้องเผชิญภาวะนอนไม่หลับ และเกิดอาการเหนื่อยล้าในเช้าวันถัดไปได้มากกว่า มีการศึกษาพบว่าหากดวงตาได้รับแสงสีฟ้าในเวลากลางคืนเป็นประจำ จะยับยั้งการหลั่งของฮอร์โมนเมลาโทนินที่ควบคุมการนอนหลับ และทำให้ระดับฮอร์โมนสูง ๆ ต่ำ ๆ อีกด้วย

เล่นโทรศัพท์ในที่มืดเป็นเวลานาน

หยุดพฤติกรรมกลัวแต่ก็ยังทำกันเถอะ

มาถึงตรงนี้น่าจะเห็นความน่ากลัวของแสงสีฟ้าในเวลากลางคืนหรือที่มืดกันชัดเจนแล้ว แต่จะไม่มีประโยชน์อะไรเลยถ้าเราแค่กลัว แต่ก็ยังใช้ชีวิตแบบเดิม ๆ โดยไม่แยแสสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพราะจริง ๆ แล้วยังไงการป้องกันก็ง่ายกว่าการรักษา ค่อย ๆ ปรับพฤติกรรมไปทีละเล็ก ทีละน้อย ต่อไปก็จะเคยชินไปเอง

  • ป้องกันให้ตรงจุด เมื่อรู้แล้วว่าการเล่นในที่มืดอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตาตามมาเป็นขบวน วิธีป้องกันที่ดีที่สุดก็คือการหยุดเล่นโทรศัพท์ในที่มืดสักที แค่นี้ก็ช่วยลดความเสี่ยงของผลกระทบทั้งหมดได้แล้ว
  • ถ้าหยุดไม่จริง ๆ ก็เปิดไฟให้สว่าง เพราะหากการปิดไฟแล้วนอนไม่ได้เกิดขึ้นจริง ก็ไม่จำเป็นต้องปิดอีกต่อไป คุยกับตัวเองตรง ๆ ไปเลยว่าถ้ายังไม่อยากนอน ก็เปิดไฟเล่นมือถือเป็นเรื่องเป็นราวไปเลย ยังไงการใช้สายตาในที่ ๆ มีแสงสว่างเพียงพอ ก็ลดความเสี่ยงที่ดวงตาจะเกิดปัญหาได้ลดน้อยลงอยู่ดี
  • นอกจากเปิดไฟเล่นมือถืออย่างจริงจังแล้ว ยังจำเป็นต้องปรับความสว่างของหน้าจอในระดับสบายตาด้วย เพื่อให้แสงไฟโดยรอบอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมและพอดีกัน ไม่สว่างจ้าจนตัดกันเกินไป
  • เลือกเลนส์แว่นตาที่ป้องกันการสะท้อนแสง (แว่นตากันแสงสีฟ้า) ปัจจุบันมีแว่นที่มีเลนส์ตัดแสงสีฟ้า หรือ เลนส์ป้องกันแสงสีฟ้าให้เลือกมากมาย ถ้าจำเป็นและหยุดไม่ได้จริง ๆ การใช้ตัวช่วยก็เป็นตัวเลือกที่ดีไม่น้อย ที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงการนั่งบริเวณที่หน้าจอเกิดแสงสะท้อนก็จะช่วยให้สบายตายิ่งขึ้น
  • ยกเลิกการนอนเล่นมือถืออย่างเด็ดขาด แม้ท่านี้จะเป็นท่าพร้อมนอน แต่อย่างที่รู้กันว่าไม่เคยได้นอนจริง ๆ สักที ดังนั้นนั่งเล่นให้เป็นจริงเป็นจังไปเลยง่ายกว่า เพราะท่านอนทำให้ดวงตาใกล้กับมือถือในระยะที่มากเกินไป อีกทั้งยังเกิดการเกร็งกล้ามเนื้อหัวไหล่ ทำให้นอกจากได้รับแสงสีฟ้าแล้ว เผลอ ๆ ยังมีอาการไหล่ติดแถมมาด้วย
  • พักสายตาเถอะนะคนดี มาถึงตรงนี้การให้ดวงตาได้พักผ่อนบ้างเป็นเรื่องที่ทุกคนควรต้องให้ความสำคัญมากที่สุด ในระหว่างที่เล่นมือถือเป็นชั่วโมง ๆ อย่าลืมว่ากล้ามเนื้อดวงตาจะถูกใช้งานอย่างหนัก ดังนั้นการให้ดวงตาได้พัก หรือได้ผ่อนคลายเป็นระยะ ๆ ก็ช่วยได้ไม่น้อย เช่น การกระพริบตาถี่ ๆ หรือการมองออกไกล ๆ บ้างก็ช่วยได้เหมือนกัน

ถ้าการเล่นมือถือตอนปิดไฟคือพฤติกรรมที่ทำตลอด มาถึงตอนนี้น่าจะพอเห็นภาพของอันตรายที่มันร้ายแรงกว่าที่คิดไว้พอสมควร เพราะฉะนั้นเลิกทำร้ายตัวเอง แล้วเอาสิ่งที่รู้อยู่แล้วพวกนี้ ไปใช้จริงซะที ไม่มีประโยชน์อะไรเลยถ้าอ่านบทความเพื่อให้สุขภาพดีขึ้นตั้งมากมาย แต่ไม่เคยลงมือทำจริงสักที…

เล่นโทรศัพท์ในที่มืดเป็นอะไรไหม

อีกทั้งเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ยังผลิตแสงสีฟ้าที่ส่งผลเสียต่อดวงตา จึงทำให้เกิดความไม่สบายตา ก่อให้เกิดอาการตาล้าหรือตาแห้งมากขึ้น เมื่อเล่นโทรศัพท์ในที่มืดเป็นประจำ อาจส่งผลเสียทางด้านสายตาตามมาในระยะยาวได้

เล่นโทรศัพท์ในที่มืดทำให้สายตาสั้นไหม

เอาเป็นว่าเจ้าแสงสีฟ้าที่บางทีเราก็ลืม ๆ กันไปตอนปิดไฟเล่นมือถือนั้น มันอันตรายกว่าที่คิด อย่างน้อยที่สุดก็คือสายตาสั้น ตาล้า ตาพร่า ไปจนถึงจอประสาทตาเสื่อม และสูญเสียการมองเห็น ซึ่งถ้าใช้สายตาในลักษณะนี้ หรือเล่นมือถือในที่มืดเป็นประจำ โอกาสที่จะเกิดอาการเหล่านี้ก็มีมากขึ้นตามไปด้วย

เล่นโทรศัพท์มากเป็นไรไหม

มีอาการข้างเคียงของระบบประสาท เช่น แขนขาชา ตาพร่ามัว ปวดไมเกรน ชาบริเวณมือและแขน หากมีการกดทับที่เส้นประสาทนานเกินไปอาจมีอาการอ่อนแรงจากส่วนต่างๆของร่างกายร่วมด้วย อาการด้านตา เช่น ปวดตา เมื่อยล้าตา มีอาการแสบตา ระคายเคือง ตราพร่ามัว สู้แสงไม่ได้ น้ำตาไหล

การใช้สมาร์ทโฟน หรือ คอมพิวเตอร์ในห้องที่ปิดไฟมืดจะมีผลอย่างไรต่อดวงตามากที่สุด

โดยสรุปคือการใช้งานคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนในที่มืดไม่ได้ทำให้ตาบอด แต่จะทำให้เกิดความไม่สบายตามากกว่าการเล่นขณะเปิดไฟ เพราะจะต้องเพ่งมากกว่าปกติ และมีแสงสะท้อนเข้าตามากกว่าปกติ ทำให้เกิดความไม่สบายตา ตาล้ามากขึ้น โดยอาการเหล่านี้จะเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อพักและหยุดใช้งานไปก็จะกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิมได้