การใช้ออสซิลโลสโคป วัดความถี่

การใช้ออสซิลโลสโคป วัดความถี่

ออสซิลโลสโคป คือ เครื่องที่ใช้วัดสัญญาณไฟฟ้า  คลื่นไฟฟ้า วัดค่าแรงดันของไฟฟ้า การใช้วัดความถี่ วัดเฟสของสัญญาณ และใช้สำหรับการวัดคาบเวลา ซึ่งออสซิลโลสโคปจะแสดงผลออกมาเป็นกราฟ ซึ่งจะแสดงผลผ่านหลอดภาพที่ฉาบด้วยฟอสเฟอร์


การใช้ออสซิลโลสโคป วัดความถี่

หลักการทำงานของเครื่องออสซิลโลสโคป  oscilloscope

ออสซิลโลสโคปใช้หลักการในการเบี่ยงเบนไฟฟ้าซึ่งประกอบด้วยแคโทด ที่ปลายข้างหนึ่ง เพื่อยิง อิเล็กตรอน ที่ยังปลายอีกข้าง เมื่อ เครื่องออสซิลโลสโคปรับสัญญาณ ก็จะเร่งการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนเพื่อแสดงผลของสัญญาณที่ได้รับแล้วเครื่องจะแสดงผลที่หน้าจอได้อย่างไร แบ่งหลักการทำงานออกเป็น 2 ภาค คือ

1. การบ่ายเบนสัญญาณทางแนวตั้ง (Vertical deflection) เมื่อป้อนข้อมูลสัญญาณไฟฟ้า ข้อมูลจะถูกส่งไปยังวงจรลดทอนสัญญาณ ทำให้มีสัญญาณเล็กลง จากนั้นจึงส่งไปยังวงจรขยาย ผ่านไปยังแผ่นเพลต บ่ายเบนทางแนวตั้งเพื่อสร้างการเบี่ยงเบนอิเล็กตรอนในแนวตั้ง

2. การบ่ายเบนสัญญาณทางแนวนอน (Horizontal deflection) Time base generator จะผลิตสัญญาณรูปฟันเลื่อย สัญญาณจะถูกป้อนไปยังแผ่นเบี่ยงเบนแนวนอน ทำให้เกิดการเบี่ยงเบนของอิเล็กตรอนในแนวนอน

การใช้งานออสซิลโลสโคป กับงานต่างๆ

เครื่องออสซิลโลสโคป สามารถนำมาใช้ในการ วัดสัญญาณต่างๆได้มากมาย โดยใช้ในการวัดไฟฟ้ากระแสตรง และ กระแสสลับ วัดความถี่ของสัญญาณ หรือ ใช้ในการอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ว่าเสียหรือไม่ สามารถตรวจสอบได้ที่หน้าจอแสดงผลสัญญาณ และออสซิลโลสโคป  มักจะถูกใช้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ งานวิจัยและพัฒนา รวมไปถึงงานตรวจสอบคุณภาพ QA,QC

การใช้ออสซิลโลสโคป วัดความถี่
การใช้ออสซิลโลสโคป วัดความถี่


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม:

● เลือกซื้อออสซิลโลสโคป คลิ๊ก

● สามารถเยี่ยมชม บทความจาก LEGA CORPARATION ได้ที่นี้

● โทร. 02-746-9933

● LINE: @lega

| หน้าแรก | สารบัญ | โครงงาน | การประกอบ | การบัดกรี | เรียนอิเล็กทรอนิกส์ | อุปกรณ์ | 555 | สัญลักษณ์ | ถามบ่อยๆ | ลิ้งค์ที่น่าสนใจ | กลับไอซีอี |
การใช้ออสซิลโลสโคป วัดความถี่
หากจะมีส่วนให้ความรู้ให้ประโยชน์ต่อท่านบ้าง ติชม เสนอแนะ ถามปัญหา ได้ที่ บอร์ดอิเล็คทรอนิคส์เบื้องต้น กรุณาลงทะเบียนสมาชิกด้วยจะขอบคุณยิ่ง

ออสซิลโลสโคป(Oscilloscopes)

การปรับแต่ง | การต่อ |การวัด | ฐานเวลา(Timebase) | Y-แอมปลิไฟเออร์ | สวิทช์AC/GND/DC

หน้าต่อไป: แหล่งจ่ายไฟ
ควรดู: เอซี.ดีซี และสัญญาณไฟฟ้า ดัวย

ออสซิลโลสโคปเป็นเครื่องมือวัดซึ่งจะทำให้เราเห็นรูปร่างของสัญญาณไฟฟ้าโดยแสดงเป็นกราฟของแรงดันบนแกนเวลาที่จอภาพ

เหมือนกับเป็นโวลท์มิเตอร์ที่มีฟังชั่นพิเศษแสดงค่าแรงดันที่เปลี่ยนไปตามเวลา และด้วยช่องตารางขนาด 1 ซม.ทำเราให้สามารถวัด ค่าแรงดันกับเวลาจากจอได้  รูปกราฟนี้ปกติเราเรียกว่ารอยเส้น(trace)ถูกเขียนโดยลำอิเล็กตรอนที่ยิงมากระทบหน้าจอซึ่งฉาบด้วยฟอสเฟอร์
ทำให้เกิดการเปล่งแสง ปกติจะเป็นสีเขียวหรือน้ำเงิน ทำนองเดียวกันกับการเกิดภาพของจอโทรทัศน์

ออสซิลโลสโคปที่ใช้หลอดสูญญากาศ(CRO)จะมีปืนอิเล็กตรอน(electron gun)ซึ่งประกอบด้วย แคโทด (ขั้วลบ) ที่ปลายข้างหนึ่ง เพื่อยิง อิเล็กตรอนและ แอโนด (ขั้วบวก)ที่ปลายอีกข้าง เพื่อเร่งการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนให้รวดเร็วไปยังจอ   นอกจากนี้หลอดยังมีขั้วสำหรับ ทำหน้าที่เบี่ยงเบนลำอิเล็กตรอน ให้ไปทางซ้าย-ขวา บน-ล่าง ด้วยเหตุที่แคโทดเป็นตัวยิงอิเล็กตรอนเราจึงเรียกอิเล็กตรอนนี้ว่ารังสีแคโทด
(cathode ray)และออสซลโลสโคปที่ใช้หลอดชนิดนี้จึงเรียกว่ารังสีแคโทดออสซิลโลสโคป(Cathode Ray Oscilloscope)หรือ CRO

ปัจจุบัน CRO ไม่นิยมใช้กันแล้ว  และหลอด CRT ก็เลิกผลิต จอ LCD กลับมาแทนที่สำหรับดิจิตอลออสซิลโลสโคปรุ่นใหม่ๆ 

การใช้ออสซิลโลสโคป วัดความถี่
 

ดิจิตอลออสซิลโลสโคป

ออสซิลโลสโคปแบบรอยเส้นคู่(dual trace)หรือ2ช่องสามารถแสดงกราฟสัญญาณสองรอย
บนจอ ทำให้สะดวกในการใช้งาน เช่น การวัดเปรียบเทียบสัญญาณเข้าและออกของเครื่อง ขยายได้ง่ายเป็นต้น แต่ราคาเครื่องก็แพงตามไปด้วย  อย่างไรก็ตามปัจจุบันดิจิตอลออสซิล
โลสโคป มีให้เลือกมากกว่า 2 ช่อง สามารถแสดงกราฟได้หลากสี มีฟังชั่นการใช้งานมากมาย
ขนาดก็บาง น้ำหนักเบา กินไฟน้อย แต่ราคายังคงแพงอยู่

ข้อควรระวัง

  • การเคลื่อนย้ายหรือถือหิ้วออสซิลโลสโคป(CRO)ต้องทำอย่างระมัดระวังอย่าให้กระทบกระแทกหลอดจอที่เปราะบาง(ราคาแพงด้วย) 
  • ออสซิลโลสโคปใช้แรงดันสูงเพื่อสร้างลำอีเล็กตรอนและอาจยังคงมีค้างอยู่หลังจากปิดสวิทช์ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยจึงไม่ควรเปิดฝาเครื่องดูภายในโดยไม่จำเป็น

การปรับแต่ง ออสซิโลสโคป

ออสซิลโลสโคปเป็นเครื่องมือที่ค่อนข้างซับซ้อนใช้ยากมีปุ่มปรับมากและต้องมีการปรับตั้งก่อนใช้งาน รอยเส้นจะหายไปจากจอง่ายหากปรับไม่ถูกต้อง ปุ่มปรับต่างๆของออสซิลโลสโคปตลอด
จนชื่อเรียกจะคล้ายกันทุกยี่ห้อ  คำแนะนำการใช้ต่อไปนี้อาจต้องปรับเปลี่ยนบ้างเพื่อให้เหมาะ้ที่จะใช้กับออสซิลโลสโคปที่ท่านมีใช้อยู่

    การใช้ออสซิลโลสโคป วัดความถี่
    นี่คือสิ่งที่เราจะเห็นหลังจากปรับตั้งแล้ว
    โดยยังไม่ต่อสัญญาณเข้า 
  1. เปิดสวิทช์ออสซิลโลสโคปเพื่ออุ่นเครื่อง (ใช้เวลา 1-2 นาที)
  2. ยังไม่ต้องต่อสายสัญญาณเข้าตอนนี้
  3. ตั้ง AC/GND/DC สวิทช์ (ที่ Y อินพุท) ไปที่ตำแหน่ง DC
  4. ตั้ง SWP/X-Y สวิทช์ไปที่ SWP (กวาด)
  5. ตั้ง Trigger Level ไปที่ AUTO
  6. ตั้ง Trigger Source ไปที่ INT (ภายใน, อินพุท Y)
  7. ตั้ง Y AMPLIFIER ไปที่ 5V/cm (ค่าปานกลาง)
  8. ตั้ง TIMEBASE ไปที่ 10ms/cm (เวลาปานกลาง)
  9. ปรับหมุนปุ่ม VARIABLE ควบคุมฐานเวลาไปที่ 1 หรือ CAL.
  10. ปรับ Y SHIFT (ขึ้น/ลง) และ X SHIFT (ซ้าย/ขวา)ให้ปรากฎรอยเส้นที่กลางจอเหมือนรูปขวามือ 
  11. ปรัย INTENSITY (ความสว่าง) และ FOCUS ให้เส้นสว่างและคม
  12. ตอนนี้ออสซิลโลสโคปพร้อมที่จะใช้งาน!
    การต่อสายสัญญาณเข้าจะอธิบายถึงในตอนต่อไป
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปุ่มควบคุม: ฐานเวลา(Timebase) | Y แอมปลิไฟเออร์ | AC/GND/DC สวิทช์

การต่อออสซิลโลสโคป

สายต่อสัญญาณเข้าอินพุท Y ของออสซิลโลสโคปจะต้องเป็นสายโค-แอกเซี่ยล ดังรูปแสดงโครงสร้างของสาย  สายเส้นกลางเป็นตัวนำสัญญาณ และสกรีนต่อลงดิน (0V) เพื่อชีลด์สัญญาณจากสิ่งรบกวนทางไฟฟ้า (ที่เรียกว่านอยส์)

ขั้วต่ออินพุท Y ของออสซิลโลสโคปโดยทั่วไปเป็นซ็อคเกทแบบ BNC สามารถต่อสายเข้าโดยการเสียบแล้วก็หมุน ตอนถอดออกก็หมุนกลับแล้วก็ดึง ออสซิลโลสโคปตามโรงเรียนมักใช้สายต่ออินพุทเป็นสายดำ-แดง ใช้กับซ็อคเกท 4mm ธรรมดา ไม่มีสกรีน  ซึ่งสายปลั๊ก4mm ธรรมดาก็สามารถใช้ได้ หากจำเป็น

แต่สำหรับมืออาชีพจะใช้สายและโปรบคิทที่ออกแบบมาพิเศษเฉพาะซึ่งเป็นผลดีเมื่อวัดสัญญาณความถี่สูงและทดสอบกับวงจรที่มีความต้านทานสูง แต่ก็ไม่จำเป็นสำหรับงานธรรมดาในย่านความถี่เสียง(สูงถึง 20kHz).

การต่อออสซิลโลสโคปก็เหมือนกับการต่อ  โวลท์มิเตอร์ แต่ต้องพึงระวังว่าสายสกรีน (สีดำ) ของสายอินพุทได้ถูกต่อกับสายดินหลักที่ตัว ออสซิลโลสโคป นั่นหมายถึงว่าสายนี้จะต้องต่อลงดินหรือ 0V บนวงจรที่ทดสอบด้วย

การใช้ออสซิลโลสโคป วัดความถี่
รูปคลื่นของสัญญาณเอซี เมื่อ 
ปรับตั้งปุ่มควบคุมต่างๆถูกต้อง

การทำให้ได้รอยเส้น(trace)ที่สะอาดและเสถียร

เมื่อต่อออสซิลโลสโคปกับวงจรเพื่อทดสอบวัดเราจำเป็นที่จะต้องปรับปุ่มควบคุมต่างๆเพื่อให้ได้รอยเส้นที่สะอาดและเสถียรบนจอ ดังนี้
  • ปรับปุ่ม Y แอมปลิไฟเออร์ (VOLTS/CM) กำหนดความสูงของรอยเส้น เลือกตั้งให้รอยเส้นมีความสูงอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของจอ แต่ต้องไม่เลย หรือหายไปจากจอ
  • ปรับปุ่มฐานเวลา (TIME/CM) กำหนดอัตราการกวาดของจุดบนจอ  เลือกตั้งให้รอยเส้นแสดงอย่างน้อย 1 รอบของสัญญาณบนจอ
    โปรดสังเกตว่า อินพุท DC คงที่จะได้รอยเส้นทางแนวนอนซึ่งการปรับตั้งฐานเวลาไม่มีความสำคัญ
  • ปุ่มควบคุมทริกเกอร์ (TRIGGER) ปกติให้ตั้งไว้ที่ตำแหน่ง AUTO
หากใช้ออสซิลโลสโคปเป็นครั้งแรก จะเป็นการดีที่สุดที่เริ่มต้นกับการวัดสัญญาณง่ายๆเช่นไฟเอซีจากเพาเวอร์แพคตั้งไว้สักประมาณ 4V

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปุ่มควบคุม: ฐานเวลา(Timebase) | Y แอมปลิไฟเออร์ | AC/GND/DC สวิทช์


การวัดแรงดันและคาบเวลา

การใช้ออสซิลโลสโคป วัดความถี่
รอยเส้นบนจอออสซิลโลสโคปคือกราฟของแรงดันตามเวลา  รูปร่างของกราฟเป็นไปตามลักษณะของสัญญาณที่อินพุท

นอกจากนี้คุณสมบัติที่แสดงบนกราฟจะมีความถี่ ซึ่งคือจำนวนรอบต่อวินาที

แผนภาพแสดงคลื่นซายน์ซึ่งคุณสมบัติเหล่าินี้นำไปใช้กับสัญญาณอื่นๆที่มีรูปร่างคงที่

  • ขนาด(Amplitude) คือแรงดันสูงสุดของสัญญาณมีหน่วยวัดเป็น โวลท์(volts, V)
  • แรงดันยอด(Peak voltage) คืออีกชื่อหนึ่งของขนาด
  • แรงดันยอดถึงยอด(Peak-peak voltage) คือสองเท่าของแรงดันยอด(ขนาด) เวลาอ่านรอยเส้นบนออสซิลโลสโคปวัดค่าเป็นแรงดันยอดถึงยอด 
  • คาบเวลา(Time period) คือเวลาที่สัญญาณครบหนึ่งรอบสมบูรณ์
    มีหน่วยวัดเป็นวินาที(s), แต่ช่วงเวลาค่อนข้างจะสั้น จึงมักใช้เป็น มิลลิเซคันด์ (ms) และไมโครเซคันด์ (�s)  1ms = 0.001s และ 1�s = 0.000001s.
  • ความถี่(Frequency) คือจำนวนรอบต่อวินาที
    มีหน่วยวัดเป็นเฮิร์ท(Hz), แต่ความถี่ค่อนข้างจะสูง จึงมักใช้เป็น กิโลเฮิร์ท (kHz) และ เมกะเฮิร์ท (MHz)  1kHz = 1000Hz และ 1MHz = 1000000Hz.
    ความถี่  =           1             และ     คาบเวลา  =           1        
    คาบเวลา ความถี่

 
การใช้ออสซิลโลสโคป วัดความถี่
รูปคลื่นสัญญาณเอซี
Y แอมปลิไฟเออร์: 2V/cm
ฐานเวลา: 5ms/cm
ตัวอย่างการวัด:

แรงดันยอดถึงยอด = 8.4V
ขนาดแรงดัน = 4.2V

คาบเวลา = 20ms
ความถี่ = 50Hz

แรงดัน

แรงดันแสดงทางแนวตั้ง แกน-y และมาตราส่วนถูกกำหนดโดยปุ่มควบคุม Y แอมปลิไฟเออร์ (VOLTS/CM) ปกติวัดเป็นแรงดันยอดถึงยอดเพราะว่าสามารถ
อ่านได้ถูกต้องแม้ว่าไม่ทราบตำแหน่งของ 0V  ส่วนขนาด(amplitude) ของแรงดันเท่ากับครึ่งหนึ่งของแรงดันยอดถึงยอด

หากต้องการอ่านขนาดแรงดันโดยตรงเราจะต้องตรวจสอบหาตำแหน่ง 0V (ปกติจะอยู่ที่ครึ่งบนจอ): เลื่อนสวิทช์ AC/GND/DC ไปที่ตำแหน่ง GND (0V) และปรับปุ่ม Y-SHIFT (ขึ้น/ลง)เลื่อนตำแหน่ง
รอยเส้นหากจำเป็น , จากนั้นปรับสวิทช์กลับไปที่ DC จะมองเห็นสัญญาณอีกครั้ง

แรงดัน = ระยะทางเป็น cm � แรงดัน/cm
ตัวอย่าง: แรงดันยอดถึงยอด = 4.2cm � 2V/cm = 8.4V
ขนาด (แรงดันยอด) = � � แรงดันยอดถึงยอด = 4.2V

คาบเวลา

เวลาแสดงทาง แนวนอน แกน-x และมาตราส่วนถูกกำหนดโดยปุ่มควบคุมฐานเวลา (TIME/CM) คาบเวลา (หรือเรียกทับศัพท์ว่าพีเรียด)คือเวลา ในหนึ่งรอบของสัญญาณ  ส่วนความถี่คือจำนวนรอบต่อหนึ่งวินาที  ความถี่ = 1/ช่วงเวลา

ต้องแน่ใจว่าปรับปุ่มฐานเวลาไปที่ 1 หรือ CAL (แคลลิเบรท) ก่อนที่จะอ่านค่าเวลา

เวลา = ระยะทางเป็น cm � เวลา/cm
ตัวอย่าง: ช่วงเวลา = 4.0cm � 5ms/cm = 20ms
    และ   ความถี่ = 1/ช่วงเวลา = 1/20ms = 50Hz


ฐานเวลา (เวลา/cm) และปุ่มควบคุมทริกเกอร์

ลำอิเล็กตรอนของออสซิลโลสโคปจะกวาดหน้าจอจากซ้ายไปขวาด้วยความเร็วที่ถูกตั้งโดยปุ่มฐานเวลา(TIMEBASE) การปรับแต่ละครั้งตามป้ายที่แสดงด้วย
เวลา  จุดจะเลื่อนไป 1 ซม. มีผลต่อมาตราส่วนตามแกน-x ปุ่มควบคุมฐานเวลามักติดป้ายกำกับว่า TIME/CM

หากตั้งฐานเวลาช้า (เช่น 50ms/cm) เราจะมองเห็นจุดเคลื่อนที่ข้ามจอ  แต่ถ้าตั้งฐานเวลาเร็ว (เช่น 1ms/cm) จุดจะเคลื่อนที่เร็วจึงปรากฎเห็นเป็นเส้น

ปุ่มปรับฐานเวลา VARIABLE สำหรับปรับความเร็วละเอียด  แต่จะต้องตั้งไว้ที่ตำแหน่ง 1 หรือ CAL (แคลลิเบรท) หากเราต้องการอ่านค่าเวลาจากรอยเส้น บนจอที่ถูกต้อง

ปุ่มควบคุมทริกเกอร์(TRIGGER)ปรับช่วยรักษาความแน่นอนของรอยเส้นบนจอ หากปรับไม่ถูกจะเห็นรอยเส้นขยับเลื่อนไปด้านข้าง เกิดรอยเส้นลวกๆสบสนบนจอ
หรือไม่ก็หายไปเลย  ทริกเกอร์คงรักษาความแน่นอนของรอยเส้น ตั้งแต่จุดเริ่มกวาดข้ามจอจนสัญญาณอินพุทกลับมาถึงจุดเดิมทุกรอบเวลา

สำหรับการใช้งานอย่างตรงไปตรงมา ดีที่สุดคือตั้งระดับทริกเกอร์ไว้ที่ AUTO แต่หากเห็นว่ารอยเส้นไม่ค่อยจะนิ่ง  ขยับด้านข้างอยู่เรื่อยก็ค่อยๆปรับปุ่มทริกเกอร์ ช่วยได้


ปุ่มควบคุม Y แอมปลิไฟเออร์ (โวลท์/cm)

การใช้ออสซิลโลสโคป วัดความถี่
DCเปลี่ยนแปลง (ทางบวก)
 
รอยเส้นจะเคลื่อนที่สูงและต่ำตามแรงดันที่ Y อินพุทและการปรับตั้งปุ่มควบคุม Y แอมปลิไฟเออร์   ปุ่มควบคุมนี้ตั้งค่าแรงดันแทนโดยแต่ละเซนติเมตรบนจอ การตั้งมีผลต่อมาตราส่วนบนแกน-y   แรงดันบวกทำให้รอยเส้นเลื่อนขึ้นส่วนแรงดันลบทำให้มันเลื่อนลง

ปุ่มควบคุมY แอมปลิไฟเออร์จะมีป้ายกำกับว่า Y-GAIN หรือ VOLTS/CM.

แรงดันอินพุทเลื่อนจุดขึ้นและลง ในขณะเดียวกันก็กวาดข้ามจอ นั่นหมายถึงรอยเส้นบนจอคือกราฟของแรงดัน (แกน-y) ตาม เวลา (แกน-x)ของสัญญาณอินพุท


สวิทช์ AC/GND/DC

การใช้ออสซิลโลสโคป วัดความถี่
สวิทช์ไปที่ GND ทำให้สามารถตรวจ
สอบตำแหน่ง 0Vได้รวดเร็ว 
(ปกติจะอยู่ที่ครึ่งทางขึ้น)
การปรับตั้งปรกติของสวิทช์นี้อยู่ที่ตำแหน่ง DC สำหรับทุกสัญญาณรวมทั้งสัญญาณ AC

สวิทช์ตำแหน่ง GND (ดิน) เท่ากับต่ออินพุท Y เข้ากับ 0V และทำให้เราตรวจสอบตำแหน่ง 0V บนจอได้รวดเร็ว(ปกติจะอยู่ที่ครึ่งทางขึ้น) ในกรณีนี้ไม่จำเป็นต้อง ถอดสายสัญญาณอินพุทออก เพราะว่ามัันมีการตัดต่อภายในแล้ว

สวิทช์ไปที่ตำแหน่ง AC จะมีการต่อตัวเก็บประจุอนุกรมกับอินพุทเพื่อบล็อคสัญญาณ DC ใดๆไม่ให้ผ่านเข้ายกเว้นสัญญาณ AC  การใช้วิธีนี้เพื่อดูสัญญาณค่าคงที่ ที่มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย เช่นพริ้ว(ripple)ที่เอาท์พุทของแหล่งจ่ายไฟดีซี  การปรับลด VOLTS/CM เพื่อดูรายละเอียดของพริ้ว  ปกติจะทำให้ รอยเส้นหายไป จากจอ  การตั้งที่ AC จะเคลื่อนส่วนสัญญาณคงที่ (DC)ออกไป ทำให้เราสามารถมองเห็นส่วนที่เปลี่ยนแปลง (AC)ได้ และ ตอนนี้เราก็สามารถ ลดVOLTS/CM. เพื่อให้เห็น ชัดยิ่งขึ้น ดังแสดงในแผนภาพด้านล่าง:



หน้าต่อไป: แหล่งจ่ายไฟ | เรียนอิเล็กทรอนิกส์
  • หน้าแรกอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น
    การใช้ออสซิลโลสโคป วัดความถี่
  • สารบัญ
  • ตัวอย่างโครงงาน
  • การสร้าง-ประกอบโครงงาน
  • วิธีการบัดกรี
  • เรียนอิเล็กทรอนิกส์
  • อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์
  • ไอซีวงจรเวลา 555
  • สัญลักษณ์ที่ใช้ในวงจร
  • คำถามที่ถามบ่อยๆ
  • ลิ้งค์อิเล็กทรอนิกส์ที่น่าสนใจ

ไอซีอีแปลและเรียบเรียง เพื่อเผยแพร่สำหรับคนไทย ผู้ที่มีอิเล็กทรอนิกส์ในหัวใจ ขอขอบคุณ Mr. James Hewes