แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

  หนังสือ หม้อแปลงไฟฟ้า (รหัสวิชา 20104-2105) เล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน มีเนื้อหาตรงตามจุดประสงค์รายวิชา สมรรถนะรายวิชาและคำอธิบายรายวิชา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พ.ศ. 2562 ของสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เนื้อหามีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ แบ่งออกเป็น 9 บท ประกอบด้วย หลักการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า โครงสร้างของหม้อแปลงไฟฟ้า หลักการทำงานและอัตราส่วนของหม้อแปลงไฟฟ้า สภาวะการทำงานของหม้อแปลงไฟฟ้า โวลเตจเรกูเลชันและประสิทธิภาพหม้อแปลงไฟฟ้า การต่อหม้อแปลงไฟฟ้าใช้งาน หม้อแปลงประกอบเครื่องวัดไฟฟ้า การพันหม้อแปลงไฟฟ้าขนาดเล็ก และการบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้า นอกจากนี้ในทุกบทเรียนยังมีแบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน และแบบฝึกหัดประจำบทเพื่อใช้สำหรับวัดและประเมินผลการปฏิบัติงานของนักเรียน

หนังสือเล่มนี้เรียบเรียงตามจุดประสงค์รายวิชา สมรรถนะรายวิชา และคำอธิบายรายวิชา
หลักสูตร ปวช. พ.ศ. 2556 ของ สอศ. รหัสวิชา 2104-2104 สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง
และผ่านการตรวจประเมินคุณภาพจาก สอศ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ครั้งที่ 1
ประเภทวิชาอุตสาหกรรม ลำดับที่ 15  

เนื้อหาประกอบด้วย
* แม่เหล็กและการเหนี่ยวนำ
* หม้อแปลงเฟสเดียว วงจรสมมูล
* โวลต์เตจเรกูเลชัน
* การทดสอบหม้อแปลง

* ประสิทธิภาพ
* เครื่องหมายแสดงขั้ว
* การขนานหม้อแปลง หม้อแปลงสำหรับใช้งานพิเศษ
* หม้อแปลงสามเฟส การระบายความร้อน
* การบำรุงรักษาและการสร้างหม้อแปลงขนาดเล็ก 


เหมาะสำหรับ
นักเรียนระดับ ปวช. และผู้ที่สนใจจะศึกษาเรื่องหม้อแปลงไฟฟ้า
เพื่อเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพต่อไป

    หนังสือ "หม้อแปลงไฟฟ้า (รหัสวิชา 20104-2105)" เล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน มีเนื้อหาตรงตามจุดประสงค์รายวิชา สมรรถนะรายวิชาและคำอธิบายรายวิชา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พ.ศ. 2562 ของสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เนื้อหามีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ แบ่งออกเป็น 9 บท ประกอบด้วย หลักการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า โครงสร้างของหม้อแปลงไฟฟ้า หลักการทำงานและอัตราส่วนของหม้อแปลงไฟฟ้า สภาวะการทำงานของหม้อแปลงไฟฟ้า โวลเตจเรกูเลชันและประสิทธิภาพหม้อแปลงไฟฟ้า การต่อหม้อแปลงไฟฟ้าใช้งาน หม้อแปลงประกอบเครื่องวัดไฟฟ้า การพันหม้อแปลงไฟฟ้าขนาดเล็ก และการบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้า นอกจากนี้ในทุกบทเรียนยังมีแบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน และแบบฝึกหัดประจำบทเพื่อใช้สำหรับวัดและประเมินผลการปฏิบัติงานของนักเรียน

หนังสือ "หม้อแปลงไฟฟ้า (รหัสวิชา 20104-2105)" เล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน มีเนื้อหาตรงตามจุดประสงค์รายวิชา สมรรถนะรายวิชาและคำอธิบายรายวิชา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พ.ศ. 2562 ของสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เนื้อหามีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ แบ่งออกเป็น 9 บท ประกอบด้วย หลักการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า โครงสร้างของหม้อแปลงไฟฟ้า หลักการทำงานและอัตราส่วนของหม้อแปลงไฟฟ้า สภาวะการทำงานของหม้อแปลงไฟฟ้า โวลเตจเรกูเลชันและประสิทธิภาพหม้อแปลงไฟฟ้า การต่อหม้อแปลงไฟฟ้าใช้งาน หม้อแปลงประกอบเครื่องวัดไฟฟ้า การพันหม้อแปลงไฟฟ้าขนาดเล็ก และการบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้า นอกจากนี้ในทุกบทเรียนยังมีแบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน และแบบฝึกหัดประจำบทเพื่อใช้สำหรับวัดและประเมินผลการปฏิบัติงานของนักเรียน

สารบัญ
บทที่ 1 หลักการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า
บทที่ 2 โครงสร้างของหม้อแปลงไฟฟ้า
บทที่ 3 หลักการทำงานและอัตราส่วนของหม้อแปลงไฟฟ้า
บทที่ 4 สภาวะการทำงานของหม้อแปลงไฟฟ้า
บทที่ 5 โวลเตจเรกูเลชันและประสิทธิภาพหม้อแปลงไฟฟ้า
บทที่ 6 การต่อหม้อแปลงไฟฟ้าใช้งาน
บทที่ 7 หม้อแปลงประกอบเครื่องวัดไฟฟ้า
บทที่ 8 การพันหม้อแปลงไฟฟ้าขนาดเล็ก
บทที่ 9 การบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้า
ใบงานและแบบประเมินผลใบงาน

1.แม่เหล็กและการเหนี่ยวนำ 

                    'แม่เหล็ก เป็นแร่หรือโลหะที่มีสมบัติดูดเหล็กได้ในประวัติศาสตร์ พบว่า สาร"Magnesian stone") ("หินแมกแนเซียน") เป็นวัตถุที่ดูดเหล็กได้ แม่เหล็กสามารถทำให้เกิดสนามแม่เหล็กได้ นั่นคือมันสามารถส่งแรงดูดหรือแรงผลัก ออกไปรอบ ๆ ตัวมันได้ แม้ว่าสนามแม่เหล็กจะเป็นสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้แต่มันเป็นเกี่ยวข้องกับคุณสมบัติสำคัญของแม่เหล็กโดยตรง ได้แก่ คุณสมบัติการดูดและการผลักกันระหว่างแท่งแม่เหล็ก เราสามารถสร้างแม่เหล็กขึ้นมาได้ วิธีแรกคือ นำเหล็กมาถูกับแม่เหล็ก วิธีที่สองคือ ป้อนกระแสไฟฟ้าเข้าไปในขดลวดที่พันรอบเหล็ก แรงเหนี่ยวนำในขดลวดทำให้เหล็กนั้นกลายเป็นแม่เหล็กชั่วคราว และทำให้เกิด สนามแม่เหล็กรอบ ๆ เหล็กนั้นเราเรียกแม่เหล็กแบบนี้ว่า แม่เหล็กไฟฟ้า ปัจจุบัน มีสารอื่นที่ทำให้เป็นแม่เหล็กได้ เช่น นิเกิล โคบอล แมงกานีส

                    คุณสมบัติของแม่เหล็ก

        1. แม่เหล็กมี 2 ขั้วเสมอ ขั้วเหนือและขั้วใต้ ถ้าแขวนแท่งแม่เหล็กให้เคลื่อนที่อย่างอิสระ เมื่อหยุดนิ่ง ขั้วที่ชี้ไปทางทิศเหนือ เรียกว่า ขั้วเหนือ (N) ขั้วที่ชี้ไปทางทิศใต้ เรียกว่า ขั้วใต้ (S)
        2. ขั้วแม่เหล็กทั้งขั้วเหนือและขั้วใต้จะดูดสารแม่เหล็กเสมอ
        3. เมื่อนำแม่เหล็ก 2 อันมาอยู่ใกล้กัน ขั้วเหมือนกันจะผลักกัน และขั้วต่างกันจะดูดกัน
        4. แรงดูดจะมีมากที่สุดที่บริเวณขั้วทั้งสองของแม่เหล็กและลดน้อยลงเมื่อถัดเข้ามา
        5. เส้นแรงแม่เหล็กมีทิศทางออกจากขั้วเหนือไปยังขั้วใต้ ทั้งสามมิติ
        6. สนามแม่เหล็กหมายถึงบริเวณที่แม่เหล็กส่งแรงไปถึง

                    การประดิษฐ์แม่เหล็ก 

        1. แท่งแม่เหล็กโดยการถู วางแท่งแม่เหล็กบนโต๊ะแล้วใช้แท่งแม่เหล็กถูลากจากปลายหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่งแล้วยกขึ้นนำกลับมาวางที่ปลายตั้งต้น ทำซ้ำหลาย ๆ ครั้ง จนกระทั่งแท่งแม่เหล็กกลายเป็นแม่เหล็ก สังเกตลักษณะของเหล็ก
        ถ้าเหล็กเป็นเหล็กอ่อน (iron) จะได้แม่เหล็กชั่วคราว
        ถ้าเหล็กเป็นเหล็กกล้า (steel) จะได้แม่เหล็กถาวร
ซึ่งแม่เหล็กจะหมดอำนาจเมื่อถูกนำไปเผาหรือทุบด้วยค้อนหลาย ๆ ครั้ง
        2. เมื่อปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าไปในขดลวดสามารถแสดงอำนาจเป็นแม่เหล็กเกิดขึ้นได้และอำนาจจะหมดเมื่อหยุดปล่อยกระแสไฟฟ้า

                    กระแสไฟฟ้าทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก 


               เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านลวดตัวนำจะเกิดสนามแม่เหล็กรอบลวดตัวนำในลักษณะดังนี้
        1. กระแสไฟฟ้าผ่านลวดตัวนำตรง จะเกิดสนามแม่เหล็กรอบลวดตัวนำ หาทิศทางของสนามแม่เหล็กได้จาก กฎมือขวาโดยการกำมือรอบลวดตัวนำตรง และให้นิ้วหัวแม่มือชี้ไปทางทิศทางของกระแสไฟฟ้า ทิศการวนตามการชี้ของนิ้วทั้งสี่จะชี้ทิศทางของสนามแม่เหล็ก
        2. เมื่อมีกระแสไฟฟ้าผ่านโซเลนอยด์ (รวมทั้งลวดตัวนำวงกลม) จะเกิดสนามแม่เหล็กที่มีลักษณะคล้ายกับสนามแม่เหล็กของแท่งแม่เหล็ก การหาทิศทางยังคงใช้กฎมือขวาโดยวิธีกำมือขวาให้นิ้วทั้งสี่ชี้ไปตามทิศทางของกระแสไฟฟ้านิ้วหัวแม่มือจะชี้ทิศทางของสนามแม่เหล็ก
        3. กระแสไฟฟ้าผ่านทอรอยด์ จะเกิดสนามแม่เหล็กภายในทอรอยด์ การหาทิศทางใช้วิธีกำมือขวารอบแกนทอรอยด์ให้นิ้วทั้งสี่วนไปตามทิศทางของกระแสไฟฟ้า นิ้วหัวแม้มือจะชี้ทิศทางของสนามแม่เหล็ก

                    แรงแม่เหล็กกระทำต่อลวดตัวนำที่มีกระแสไฟฟ้า 

            เมื่อลวดตัวนำตรงยาว l ที่มีกระแสไฟฟ้า I ผ่านขณะวางตั้งฉากกับสนามแม่เหล็ก B ⃑ จะเกิดแรงกระทำด้วยขนาด F=IlB โดยทิศทางของแรงหาได้จากการกำมือขวาโดยวนนิ้วทั้งสี่ (ผ่านมุมเล็ก) จากทิศทางของกระแสไฟฟ้าไปหาทิศทางของสนามแม่เหล็กนิ้วหัวแม่มือจะชี้ทิศทางของแรง ส่วนในกรณีลวดตัวนำวางในทิศทางกระแสไฟฟ้าที่ทำมุมθกับสนามแม่เหล็กB ⃑ ขนาดของแรงจะเป็น F=IlBsin⁡θ โดยยังคงใช้กฎมือขวาหาทิศทางของแรงได้เช่นกัน แรงแม่เหล็กระหว่างลวดตัวนำสองเส้นที่ขนานกันและมีกระแสไฟฟ้าผ่าน ลวดตัวนำสองเส้นที่ขนานกันและมีกระแสไฟฟ้าผ่าน จะมีแรงกระทำระหว่างลวดตัวนำทั้งสองโดยจะเป็นแรงดึงดูดถ้ากระแสไฟฟ้าในลวดตัวนำทั้งสองมีทิศทางเดียวกัน แต่จะเป็นแรงผลัก ถ้ากระแสไฟฟ้าในลวดตัวนำทั้งสองมีทิศทางตรงข้ามกัน 

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

รูป 37 แรงระหว่างลวดตัวนำสองเส้นที่ขนานกันและมีกระแสไฟฟ้าในทิศเดียวกัน

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

รูป 38 แรงระหว่างลวดตัวนำสองเส้นที่ขนานกันและมีกระแสไฟฟ้าในทิศตรงกันข้าม

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

รูป 39 แรงที่กระทำต่อขดลวดในสนามแม่เหล็ก

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

รูป 40 ภาคตัดขวางของขดลวด แสดงแรงคู่ควบที่กระทำต่อลวอ PQ และ RS

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

รูป 41 แรงคู่ควบที่กระทำต่อขดลวดขณะทำมุม   กับ 

พิจารณาระนาบของขดลวด PQRS ทำมุม   กับสนามแม่เหล็ก   ดังรูป 41 โมเมนต์ของแรงคู่ควบหาได้ดังนี้

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

ถ้าขดลวดมีลวดพัน N รอบ จะได้

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105


                    กระแสเหนี่ยวนำและแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ 

            กระแสไฟฟ้าในขดลวดตัวนำเกิดจากการที่มีการเปลี่ยนแปลงฟลักซ์แม่เหล็กที่ผ่านขดลวดตัวนำเรียกการทำให้เกิดกระเกิดกระแสไฟฟ้าลักษณะนี้ว่า การเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า (eletro magnetic induction) และเรียกกระแสไฟฟ้าที่เกิดจากวิธีนี้ว่า กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำ (inducedcurrent) ปลายทั้งสองของเส้นลวดตัวนำมีความต่างศักย์ ดังนั้นถ้าต่อเส้นลวดตัวนำนี้ให้ครบวงจร ก็จะมีกระแสไฟฟ้าในวงจร แสดงว่าปลายทั้งสองของเส้นลวดตัวนำทำหน้าที่ เสมือนเป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้า แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่า แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ (induced electromotive force) หรือ อีเอ็มเอฟเหนี่ยวนำ (induced emf) กฎการเหนี่ยวนำของฟาราเดย์ สรุปได้ว่า แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำที่เกิดขึ้นในขดลวดเป็นสัดส่วนกับอัตราการเปลี่ยนแปลงฟลักซ์แม่เหล็กที่ผ่านขดลวดนั้นเมื่อเทียบกับเวลา กฎของเลนซ์มีใจความว่า แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ ในขดลวดจะทำให้เกิดกระแสเหนี่ยวนำในทิศทางที่จำทำให้เกิดฟลักซ์แม่เหล็กใหม่ขึ้นมาต้านการเปลี่ยนแปลง ของฟลักซ์แม่เหล็กที่ตัดผ่านขดลวดนั้น

                    แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำในมอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

            มอเตอร์ขณะหมุนจะมีฟลักซ์แม่เหล็กเปลี่ยนแปลงผ่านขดลวด ทำให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำมีทิศทางตรงข้ามกับแรงเคลื่อนไฟฟ้าเดิม เรียกว่า แรงเคลื่อนไฟฟ้ากลับ ในกรณีมอเตอร์ติดขัดหรือหมุนช้ากว่าปกติแรงเคลื่อนไฟฟฟ้ากลับจะมีค่าน้อยทำให้กระแสไฟฟ้าในขดลวดมีค่ามาก อาจทำให้ขดลวดร้อนจนไหม้ได้ จึงจำเป็นต้องตัดสวิตซ์เพื่อหยุดการทำงานของมอเตอร์ทุกครั้งที่แรงเคลื่อนไฟฟ้ากลับมีค่าน้อย

2.  หลักการทำงาน โครงสร้างของหม้อแปลงไฟฟ้า


            ในระบบจ่ายไฟฟ้าจะมีการแปลงแรงดันไฟฟ้าสลับให้มีขนาดสูงมากๆ เช่นให้มีขนาดเป็น 48kV หรือ 24kV เพื่อลดขนาดของลวดตัวนำ ที่ต้องใช้ในการจ่ายไฟฟ้าเป็นระยะทางไกลๆ เมื่อถึงปลายทางก่อนที่จะจ่ายไฟฟ้าไปให้แก่บ้านเรือนต่างๆ ก็จะแปลงระดับแรงดันไฟฟ้าให้ลดลงเป็น 220 V เพื่อลดอันตรายที่จะเกิดแก่ผู้ใช้ไฟฟ้า และเมื่อต้องการใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ระดับแรงดันต่ำๆ เช่น 6V หรือ 9V ก็จะต้องมีการแปลงดันไฟฟ้า ตามบ้านจาก 220 V เป็นระดับแรงดันไฟฟ้าตามที่ต้องการ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ดังกล่าว เราเรียกว่า หม้อแปลงไฟฟ้า (Transformer)
การทำงานของหม้อแปลงไฟฟ้านั้น อาศัยหลักการความสัมพันธ์ระหว่างกระแสไฟฟ้ากับเส้นแรงแม่เหล็กในการสร้างแรงเคลื่อนเหนี่ยวนำให้กับตัวนำ คือ เมื่อมีกระแสไหลผ่านขดลวดตัวนำ ก็จะทำให้เกิดเส้นแรงแม่เหล็กรอบๆตัวนำนั้น และถ้ากระแสที่ป้อนมีขนาดและทิศทางที่เปลี่ยนแปลงไปมา ก็จะทำให้สนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ถ้าสนามแม่เหล็กที่มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวตัดผ่านตัวนำ ก็จะเกิดแรงเคลื่อนเหนี่ยวนำขึ้นที่ตัวนำนั้น โดยขนาดของแรงเคลื่อนเหนี่ยวนำจะสัมพันธ์กับ ความเข้มของสนามแม่เหล็ก และความเร็วในการตัดผ่านตัวนำของสนามแม่เหล็ก
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

            พิจารณาจากรูป จะเห็นว่าโครงสร้างของหม้อแปลงจะประกอบ ไปด้วย ขดลวด 2 ขดพันรอบแกนที่เป็นสื่อกลางของเส้นแรงแม่เหล็ก ซึ่งอาจเป็นแกนเหล็ก แกนเฟอไรท์ หรือแกนอากาศ ขดลวดที่เราจ่ายไฟเข้าไปเราเรียกว่า ขดปฐมภูมิ (Primary Winding) และ ขดลวดอีกขดที่ต่อเข้ากับโหลด เราเรียกว่า ขดทุติยภูมิ (Secondary Winding)

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

            เมื่อเราจ่ายกระแสไฟฟ้าสลับให้กับขดปฐมภูมิ ก็จะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กที่เปลี่ยนแปลงไป-มา โดยเส้นแรงแม่เหล็กดังกล่าวก็จะวิ่งไป-มา ตามแกน และไปตัดกับขดทุติยภูมิ ทำให้เกิดแรงดันเหนี่ยวนำขึ้นที่ขดทุติยภูมิที่ต่อกับโหลด โดยแรงเคลื่อนเหนี่ยวนำที่เกิดขึ้น จะมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กและจำนวนรอบของขดลวด
การทำงานของหม้อแปลงไฟฟ้าเมื่อปล่อยแรงดันไฟสลับเข้าที่ขดปฐมภูมิจะเกิดเส้นแรงแม่เหล็กชักนำขึ้น ทำให้เกิดแรงดันไฟสลับขึ้นที่ขดทุติยภูมิโดยมีความถี่เท่าเดิม ขดทุติยภูมิจะมขดลวดขดเดียวหรือหลายขดก็ได้ แรงดันไฟสลับที่เกิดขึ้นที่ขดทุติยภูมิจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอัตราส่วนของขดลวด ระหว่างขดปฐมภูมิและขดทุติยภูมิ สามารถคำนวณได้ว่าทางขดปฐมภูมิ จะใช้ขดลวดกี่รอบต่อ 1 โวลต์แล้ว ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของขดลวด เมื่อสามารถหาได้ว่าขดลวดกี่รอบต่อโวลต์แล้ว ทางขดทุติยภูมิก็สามารถที่จะพันให้ได้จำนวนรอบตามที่ต้องการถ้าจำนวนรอบของขดปฐมภูมิเท่ากับจำนวนรอบของขดทุติยภูมิ แรงดันไฟสลับที่ออกมาที่ขดทุติยภูมิจะเท่ากับแรงดันไฟสลับที่ป้อนเข้าไปที่ขดปฐมภูมิ นั่นคือ ถ้าป้อนแรงดันไฟสลับเข้าที่ขดปฐมภูมิ 220 โวลต์ แรงดันไฟสลับออกที่ขดทุติยภูมิจะเท่ากับ 220 โวลต์เช่นกัน

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

            จากสมการ(4)จะเห็นว่าแรงดันไฟฟ้าทางขดทุติยภูมิ จะขึ้นอยู่กับอัตราส่วนจำนวนรอบของขดลวดทุติยภูมิ และขดปฐมภูมิ โดยถ้าเราพันขดลวดทุติยภูมิ ให้มีจำนวนรอบมากกว่าขดปฐมภูมิ แรงดันไฟฟ้าขาออกทางขดทุติยภูมิ ก็จะสูงกว่าแรงดันไฟฟ้า ที่จ่ายเข้ามาทางขดปฐมภูมิ เราเรียกว่าเป็น หม้อแปลงชนิดแปลงแรงดันขึ้น (Step Up Transformer) แต่ถ้าเราพันขดทุติยภูมิ ให้มีจำนวนรอบน้อยกว่าขดปฐมภูมิ แรงดันไฟฟ้าทางขดทุติยภูมิก็จะต่ำกว่าแรงดันที่จ่ายเข้ามาทางขดปฐมภูมิ เราเรียกว่าเป็น หม้อแปลงชนิดแปลงแรงดันลงขึ้น (Step Down Transformer)

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

            จากสมการ (5) เราสามารถตีความหมายได้ดังนี้ คือ
ถ้าโหลดมีการดึงกระแสทางขดทุติยภูมิมากขึ้น กระแสไฟฟ้าทางขดปฐมภูมิก็จะสูงขึ้นด้วย
ในกรณีเป็นหม้อแปลงชนิดแปลงขึ้น คือ Ns > Np กระแสทางขดทุติยภูมิ(Is) ก็จะน้อยกว่าค่ากระแสทางขดปฐมภูมิ(Ip) ซึ่งหมายถึง ขนาดของลวดที่ใช้พันขดทุติยภูมิจะมีขนาดเล็กกว่า ขนาดของขดปฐมภูมิ
แต่ถ้าเป็นหม้อแปลงชนิดแปลงลง คือ Ns < Np ค่าของกระแสทางขดทุติยภูมิ(Is) ก็จะสูงกว่ากระแสทางขดปฐมภูมิ(Ip) ซึ่งหมายถึง ขนาดของลวดที่ใช้พันขดทุติยภูมิจะมีขนาดใหญ่กว่า ขนาดของขดปฐมภูมิ

                    

                    สรุป
        1. หลักการทำงานของหม้อแปลงไฟฟ้า เกิดจากการเหนี่ยวนำซึ่งกันและกัน (Mutual Inductance) ซึ่งมีผลทำให้เกิดการเหนี่ยวนำของแรงดันไฟฟ้าจากขดลวดหนึ่งไปอีกขดลวดหนึ่ง
        2. การเพิ่มขึ้นของกระแสไฟฟ้าทางด้านปฐมภูมิ จะทำให้กระแสไฟฟ้าทางด้านทุติยภูมิเพิ่มขึ้น ในทำนองเดียวกันถ้ากระแสไฟฟ้าทางด้านปฐมภูมิลดลง ก็จะทำให้กระแสไฟฟ้าทางด้านทุติยภูมิลดลงด้วย ดังนั้น ความถี่ของไฟฟ้ากระแสสลับทางด้านทุติยภูมิจึงเท่ากับความถี่ทางด้านปฐมภูมิ
        3. ค่าสัมประสิทธิ์ความเหนี่ยวนำ (k) หมายถึง อัตราส่วนระหว่างจำนวนเส้นแรงแม่เหล็กที่เคลื่อนที่ไปตัดกับขดลวดทางด้านทุติยภูมิเปรียบเทียบกับเส้นแรงทั้งหมดที่เกิดจากขดลวดปฐมภูมิซึ่งจะมีค่าอยู่ระหว่าง 0 และ 1
        4. อัตราส่วนจำนวนรอบ (Turns Ratio) หมายถึง อัตราส่วนระหว่างจำนวนรอบของขดลวดทางด้านทุติยภูมิ (NS) ต่อจำนวนรอบของขดลวดปฐมภูมิ (Np) มีสูตรคำนวณดังนี้
อัตราส่วนจำนวนรอบ (Turns Ratio) = Ns/Nf
        5. ถ้าแรงดันไฟฟ้าทางด้านทุติยภูมิ (VS) มีค่ามากกว่าแรงดันไฟฟ้าทางด้านปฐมภูมิ (VS) จะเรียกหม้อแปลงไฟฟ้าชนิดนี้ว่า หม้อแปลงไฟฟ้าชนิดแปลงแรงดันขึ้น (Step-Up Transformer)
        6. ถ้าแรงดันไฟฟ้าทางด้านทุติยภูมิ (VS) มีค่าน้อยกว่าแรงดันไฟฟ้าทางด้านปฐมภูมิ (VS) จะเรียกหม้อแปลงไฟฟ้าชนิดนี้ว่า หม้อแปลงไฟฟ้าชนิดแปลงแรงดันลง (Step-Down Transformer)
        7. กำลังงานที่ได้จากด้านทุติยภูมิ (PS) ในทางอุดมคติแล้วจะมีค่าเท่ากับกำลังงานทางด้านปฐมภูมิ (PS) นั่นคือ PP = PS
        8. การสูญเสียกำลังภายในของหม้อแปลงไฟฟ้าเกิดจากสาเหตุ 3 ประการ ได้แก่
- ความต้านทานภายในขดลวด (Copper Loss)
- ชนิดของแกนที่ใช้พันขดลวด (Core Loss)
- การรั่วไหลของสนามแม่เหล็ก (Magnetic Leakage)

3.หลักการเกิดแรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำในหม้อแปลงไฟฟ้า

                    แรงดันไฟฟ้า

            กระแสไฟฟ้าเกิดจากการที่มีอิเล็กตรอนไหลในสายไฟ ซึ่งการที่อิเล็กตรอนไหลหรือเคลื่อนที่ได้นั้นจะต้องมีแรงมากระทำต่ออิเล็กตรอนทำให้เกิดกระแสไหล แรงดังกล่าวนี้เรียกว่า แรงดันไฟฟ้า (Voltage)
ศักย์ไฟฟ้า เป็นอีกคำหนึ่งที่คล้ายกับแรงดันไฟฟ้า จะหมายถึง ระดับไฟฟ้า เช่น ลูกกลมที่ 1 มีประจุไฟฟ้าบวกจะมีศักย์ไฟฟ้าสูง ส่วนลูกกลมที่ 2 มีประจุไฟฟ้าลบจะมีศักย์ไฟฟ้าต่ำ ดังนั้น ลูกกลมที่ 1 และ 2 จึงมีความแตกต่างของศักย์ไฟฟ้า เรียกว่า ความต่างศักย์ไฟฟ้า
แรงขับเคลื่อนทางไฟฟ้า หมายถึง แรงที่สร้างให้เกิดแรงดันไฟฟ้าซึ่งทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนอิสระตลอดเวลา กระแสไฟฟ้าจึงไหลตลอดเวลา แรงเคลื่อนไฟฟ้านี้อาจเกิดจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า, แบตเตอรี่, ถ่านไฟฉาย และเซลล์เชื้อเพลิง ฯลฯ
หน่วยของแรงดันไฟฟ้า, ความต่างศักย์ไฟฟ้า หรือแรงขับเคลื่อนทางไฟฟ้า มีหน่วยเดียวกัน คือ โวลต์ (Voltage ซึ่งแทนด้วย V)
แรงดันไฟฟ้า 1 โวลต์ คือ แรงดันที่ทำให้กระแสไฟฟ้า 1 แอมแปร์ไหลผ่านเข้าไปในความต้านทาน 1 โอห์ม

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

                    แรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำ

            แรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำนั้นเกิดจากการเคลื่อนที่ตัดกันระหว่างตัวนำกับสนามแม่เหล็ก โดยที่สนามแม่เหล็กอยู่กับที่ไม่ต้องเคลื่อนที่แต่อย่างใด
        1. แรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำโดยให้ตัวนำเคลื่อนที่ (Dynamic Induced emf.)
หมายถึง การทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำ โดยการให้ตัวนำเคลื่อนที่ตัดผ่านสนามแม่เหล็กโดยที่สนามแม่เหล็กอยู่กับที่ไม่ต้องเคลื่อนที่แต่อย่างใด
        2. แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำโดยให้ตัวนำอยู่กับที่ (Static Induced emf.)
หมายถึงการทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำโดยให้สนามแม่เหล็กเปลี่ยนแปลงตัดกับตัวนำ จากผลของการเปลี่ยนแปลงหรือลดของกระแสไฟฟ้า ซึ่งสามารถจำแนกออกเป็น 2 ชนิดคือ
                    - แรงดันไฟฟ้าที่เกิดจากการเหนี่ยวนำร่วม (Mutual Induced emf.)
                    - แรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำภายในตัวเอง (Self Induced emf.)
                    - แรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำโดยให้สนามแม่เหล็กเคลื่อนที่ (Dynamic Induced emf.)
            การเหนี่ยวนำของแรงดันไฟฟ้า สามารถทำให้เกิดขึ้นได้โดยการเคลื่อนที่สนามแม่เหล็กตัดกับตัวนำหรือขดลวดตัวนำได้เช่นเดียวกัน

4.ชนิดของหม้อแปลงไฟฟ้าและการบำรุงรักษา

                    ชนิดของหม้อแปลงไฟฟ้า               

            หม้อแปลงไฟฟ้าสามารถจำแนกชนิดหรือประเภทตามลักษณะต่างๆ เช่น แบ่งตามลักษณะของแกนเหล็กหรือแบ่งตามชนิดของระบบไฟฟ้า

                    แบ่งตามชนิดของแกนเหล็ก
เราสามารถจำแนกประเภทของแกนเหล็กออกเป็น 3 ชนิดคือ
        1. แกนเหล็กแบบคอร์ (Coretype)
            จะมีลักษณะเป็นรูปตัว L-L หรือ U-I ประกอบเข้าด้วยกัน ซึ่งเมื่อประกอบเข้ากันแล้วจะมีลักษณะเป็นวงจรแม่เหล็กวงจรเดี่ยว หรือวงจรแบบอนุกรมขดลวดด้านปฐมภูมิและด้านทุติยภูมิจะถูกพันอยู่บนแกนทั้งสองด้านแยะกันออกเป็น 2 ลักษณะคือ
ก. แกนแบบสี่เหลี่ยม ซึ่งแผ่นเหล็กแต่ละแผ่นมีลักษณะเท่ากัน
ข. แกนเหล็กแบบครูซิฟอร์ม (Crucifrome Type) มีลักษณะแตกต่างไปจากแบบสี่เหลี่ยมบ้างเล็กน้อย คือขนานของแผ่นเหล็มีขนานต่างกัน


        2. แกนเหล็กแบบเชลล์ (Shell Type)
            จะมีลักษณะเป็นรูปตัว E-I และ M แกนเหล็ขนิดนี้เมื่อประกอบเข้าด้วยกันแล้วจะเป็นหม้อแปลงไฟฟ้าที่มีวงจรแม่เหล็ก 2วงจรคือ
ก .แบบแกนเดี่ยว จะมีลักษณะแผ่นบาๆเป็นรูปตัว E-I หรือ M
ค. แกนเหล็กแบบกระจาย จะมีลักษณะเป็นวงจรแม่เหล็กหลายวงจรกระจายล้อมรอบ

        3. แกนเหล็กแบบทอร์รอยด์ (Toroid Type)
            จะมีลักษณะเป็นเหล็กแผ่นบางๆ จากกลม เมื่อประกอบเข้าด้วยกันแล้วจะมีลักษณะเป็นทรงกระบอก

                    แบ่งตามลักษณะการใช้งาน
        1. หม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง
            จะใช้สำหรับการจ่ายกำลังไฟฟ้าและระบบสายส่ง (Transmission Line) หม้อแปลงไฟฟ้าชนิดนี้จะมีค่ากำลังไฟฟ้าในการใช้งานสูงสุด

        2. หม้อแปลงอิเล็กทรอนิกส์
            จะมีหลายชนิดแตกต่างกันอีกทั้งการใช้งานก็ต่างกันด้วย บางครั้งจะพิจารณาหม้อแปลงไฟฟ้าชนิดนี้ว่าจะต้องมีขนาดไม่เกิด 100 V-A

        3. หม้อแปลงไฟฟ้าเครื่องมือวัด
            หม้อแปลงไฟฟ้าชนิดนี้จะใช้สำหรับวัดค่าแรงดันไฟฟ้าและค่ากระแสไฟฟ้าทั้งในวงจรไฟฟ้ากำลังและวงจรอิเล็กทรอนิกส์กำลัง เรียกว่า หม้อแปลงไฟฟ้าความต่างศักย์

        4. หม้อแปลงไฟฟ้าเฉพราะงาน
            หม้อแปลงไฟฟ้าชนิดนี้จะครอบคลุมหลายแบบและหลายลักษณะการใช้งานอุปกรณ์ที่ใช้งานร่วมด้วย

                    แบ่งตามความถี่ที่ใช้งาน
        1. หม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง
            จะใช้ในงานที่มีความถี่คงที่ตามความถี่ของระบบไฟฟ้ากำลัง เช่น ความถี่ 50,60,400 เฮิรตซ์กับความถี่ค่าอื่นๆ

        2. หม้อแปลงไฟฟ้าใช้ในย่านความถี่เสียง
            เป็นหม้อแปลงไฟฟ้าที่ใช้สำหรับงานสื่อสารที่ย่านความถี่สูง

        3. หม้อแปลงไฟฟ้าความถี่สูง
            เป็นหม้อแปลงไฟฟ้าความถี่สูงมาก

        4. หม้อแปลงไฟฟ้าความถี่ช่วงกว้าง
            เป็นหม้อแปลงไฟฟ้าที่ใช้งานเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงความถี่ช่วงกว้าง

        5. หม้อแปลงไฟฟ้าความถี่ช่วงแคบ
            เป็นหม้อแปลงไฟฟ้าที่ออกแบบให้ใช้งานเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์ ที่ทำงานในย่านความถี่เฉพราะ

        6. หม้อแปลงไฟฟ้าสัญญาณพัลซ์ (Pulse Transformer)
            เป็นหม้อแปลงไฟฟ้าที่ออกแบบให้ใช้งานเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์ ที่ทำงานในด้านอิเล็กทรอนิกส์

                    4. แบ่งตามลักษณะการพันขดลวด
        1.หม้อแปลงไฟฟ้าแบบแยกขด (Ordinary Transformer)
            หม้อแปลงไฟฟ้าแบบแยกขด หมายถึง หม้อแปลงไฟฟ้าที่มีขดลวดปฐมภูมิอาจจะมีมากกว่า 1 ขด


        2. หม้อแปลงไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ (Auto-transformer)
            หม้อแปลงไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ หมายถึง หม้อแปลงไฟฟ้าที่มีขดลวดเพียงชุดเดียว

                    5. แบ่งตามชนิดของระบบไฟฟ้า
        1.หม้อแปลงไฟฟ้า 3 เฟส หม้อแปลงไฟฟ้าที่ใช้กับระบบไฟฟ้า 3 เฟสดังนั้น จึงมีขดลวดด้านปฐมภูมิและทุติยภูมิอย่างละ 3ชุด 2. หม้อแปลงไฟฟ้าเฟสเดียว คือ หม้อเปลงไฟฟ้าที่ใช้กับระบบไฟฟ้าเฟสเดียวดังนั้นจึงประกอบด้วยขดลวดด้านปฐมภูมิและทุติยภูมิอย่างละหนึ่งชุด

               

                    การบำรุงรักษาหม้อแปลง

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

           

             การบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้าเป็นสิ่งสำคัญมาก เพื่อให้คงสภาวะปกติและยังทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น ในระบบฉนวนของหม้อแปลงไฟฟ้า นั้นมีส่วน ประกอบหลักคือ น้ำมันฉนวน กระดาษฉนวน ซีลยาง ฉนวนทองแดง โดยวัสดุเหล่านี้จะเสื่อมสภาพ เมื่อมีความชื้นน้ำ เขม่า สิ่งเจือปนอื่นๆ และก๊าซปะปนอยู่ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้หม้อแปลงเสียหายหรือช็อตระเบิดได้ ดังนั้นจึงควรทำการตรวจสอบสภาพ และบำรุงรักษาหม้อแปลงอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการลดค่าความเสียหายอีกทั้งยังทำให้ได้ประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุดจากการใช้งาน

                    การตรวจเช็คและบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้าเชิงป้องกัน

            หม้อแปลงไฟฟ้านับว่าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าขนิดหนึ่งที่จะต้องทำการตรวจเช็คและบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอและค่อเนื่องโดยปกติทั่วไปควรตรวจเช็คทุกๆ 6 เดือนหรืออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อประสิทธิภาพและยืดอายุการใช้งานของหม้อแปลงไฟฟ้า


            หัวข้อรายการควรตรวจเช็ค
        1. ตัวถังหม้อแปลงไฟฟ้า (Main Tank)
                    - ตรวจรอยรั่วซึมของน้ำมัน , คราบน้ำมัน
                    - ตรวจคราบสกปรก , ฝุ่นและขยะที่เกาะติด
                    - ตรวจดูว่าเกิดสนิมหรือการกัดกร่อนของตัวถัง
        2. การรั่วซึมรอบนอกของหม้อแปลงไฟฟ้า
                    - ตรวจดูปะเก็น/ซีลยางต่างๆ
                    - ตรวจดูวาล์วถ่ายน้ำมัน ( Drain Valve)
        3. ชุดกรองความชื้น (Dehydrating Breather)
                    - ตรวจสอบการเปลี่ยนสีของซิลิก้าเกล (Silica gel) จากสีน้ำเงินเข้มเป็สีชมพูไป 3/4 ของกระบอกกรองความชื้น (ควรแก้ไข)
                    - ตรวจสอบระดับน้ำมันในถ้วยใต้กระบอกกรองความชื้นว่ามีอยู่ในระดับที่มาตรฐาน
                    - ตรวจสอบซีลยางและน๊อตสกูรต้องไม่มีคราบน้ำมันและซีลยางไม่แตกระแหง มีผิวเรียบ
                    - ต้องดึงแผ่นอลูมิเนียมออกก่อนติดตั้งและจ่ายไฟ
        4. การตรวจวัดค่า (Insulation Resistance) 2000 MegaOhm – 5000 MegaOhm (20 C)
                    - H.V. – LV. ต้องไม่ต่ำกว่า 1000 MegaOhm
                    - HV. – Ground ต้องไม่ต่ำกว่า 1000 MegaOhm
                    - LV. – Ground ต้องไม่ต่ำกว่า 1000 MegaOhm
        5. บุชชิ่งแรงสูง – แรงต่ำ (Bushing)
                    - ตรวจสอบผิด (คราบน้ำมัน , รอยอาคท์ (Arc) , ครีบบิ่นแตก
                    - ตรวจความสะอาดของบุชชิ่ง
                    - ตรวจดูรอยรั่วซึมของคราบน้ำมัน , สภาพซีลยาง (Seal)
                    - ตรวจ Bolt & Nut ของบุชชิ่งแรงสูง – แรงต่ำ
        6. ขั้วต่อสายไฟเข้า – ออก ด้านแรงสูงและแรงต่ำ (Terminal Connector H.V. , L.V.)
                    - ตรวจดูรอยอาคท์ (Arc) หรือ Overheat
                    - ตรวจ Bolt & Nut ของ Terminal Connector ให้แน่น
                    - ตรวจสอบความสะอาดและทา Compound เพื่อช่วยเคลือบคลุมรอยสัมผัสไว้เป็นการกันความชื้นและอ๊อกซิเจนในอากาศ
        7. ชุดปรับแรงดันไฟฟ้า (Off Load Tap Changer)
                    - ตรวจสภาพของ Handle และ Tap Changer ตรงล็อกหรือไม่
                    - ตรวจสอบรอยรั่วของน้ำมันและซีลยาง (Seal)
                    - ตรวจสอบการอาคท์ (Arc) หรือเชื่อมติดของ Tap Changer โดยการหมุน มา 4-5 ครั้ง
        8. ที่วัดระดับน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้า (ถ้ามี)
                    - สังเกตการณ์ขยับตัวของเข็มวัดระดับ (ถ้ามี)
                    - ตรวจดูระดับน้ำมันอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน (20 Celsius) หรือไม่
                    - ตรวจขัน น๊อต สกูรให้แน่น
                    - ตรวจสอบรอยรั่วซึมน้ำมันและซีลยาง (Seal)
                    - ตรวจสอบกระจก/พลาสติก ว่าแตกชำรุดหรือไม่
        9. เทอร์โมมิเตอร์ (ถ้ามี)
                    - ตรวจสอบกระจก/พลาสติกปัทม์แตกชำรุดหรือไม่
                    - ตรวจสอบรอยรั่วซึมคราบน้ำมัน
                    - ตรวจสอบค่าที่วัดอุณหภูมิ Top oil เกินค่าที่กำหนดหรือไม่ (ไม่เกิน 60 Celsuu
                    - ตรวจสอบการทำงานของอุณหภูมิถูกต้องหรือไม่
        10. อุปกรณ์ความดัน (Pressure Relief Device) (ถ้ามี)
                    - ตรวจสอบรอยรั่วซึคราบน้ำมัน
        11. บุชโฮรีเลย์ (Buchholz Relay) (ถ้ามี)
                    - ตรวจสอบกระจก/หน้าปัดแตกชำรุดหรือไม่
                    - ตรวจสอบมี Gas สะสมมากผิดปกติหรือไม่
                    - ทดสอบการทำงาน
        12. น้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้า
                    - ทดสอบค่า Breakdown Voltage ตามมาตรฐาน ASTM หรือ IEC
                    - ตรวจสอบสีของน้ำมัน
                    - ตรวจสอบค่าความเป็นกรด , ความหนืด
                    - ตรวจสอบสิ่งเจือปนในน้ำมัน 

5.สมการแรงดันไฟฟ้า ของหม้อแปลงไฟฟ้า

            กรณีของหม้อแปลง 1 เฟส 2 ขดลวด
- แรงเคลื่อนไฟฟ้า (emf ) แรงเคลื่อนไฟฟ้าในขดลวดปฐมภูมิ E1 [V] และขดลวดทุติยภูมิ E2 [V] แสดงได้ด้วยสมการที่ 1 ดังนี้


แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

- กระแส ถ้าให้กระแสของขดลวดปฐมภูมิและทุติยภูมิเท่ากับ I1 [A] และ I2 [A] แล้ว จะได้สมการที่ 2 ดังต่อไปนี้

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

- อัตราส่วนจำนวนรอบ ถ้าให้อัตราส่วนจำนวนรอบเท่ากับ α แล้ว จะได้สมการที่ 3 ดังต่อไปนี้


แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

- พิกัดขนาด กําหนดจากพิกัดแรงดันทุติยภูมิ [V] และพิกัดกระแสทุติยภูมิ [A] ดังสมการที่ 4

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

                    หมายเหตุ

            *พิกัดแรงดันปฐมภูมิที่ระบุไว้ที่แผ่นป้าย เป็นค่าที่ได้จากการนำพิกัดแรงดันทุติยภูมิมาคูณกับอัตราส่วนจำนวนรอบ α เท่านั้น ในสภาพที่มีโหลด (แล็กกิ้งเพาเวอร์แฟกเตอร์) นั้น แรงดันที่ต้องป้อนให้ขดลวดปฐมภูมิเพื่อให้ได้แรงดันทุติยภูมิตามพิกัดจะต้องสูงกว่าค่านี้เล็กน้อย
            **พิกัดกระแสปฐมภูมิเป็นค่าจากการนำพิกัดกระแสทุติยภูมิมาหารด้วยอันตราส่วนจำนวนรอบ กระแสปฐมภูมิในทางปฏิบัติจะต้องรวมกระแสสร้างสนามแม่เหล็กเข้ามาด้วย

(a) รูปอย่างง่ายของหม้อแปลงขณะที่มีโหลด

(b) ผังวงจร

(c) รูปเวกเตอร์ปฐมภูมิ

(d) รูปเวกเตอร์ทุติยภูมิ

รูปแสดงหลักการทำงานของหม้อแปลงกับแรงดันขณะที่มีโหลด และรูปเวกเตอร์ของกระแส

6. การทดสอบหาการสูญเสียในหม้อแปลงไฟฟ้า

                    การสูญเสียในหม้อแปลงไฟฟ้า (Losses in a Transformer)

            หม้อแปลงไฟฟ้า นับได้ว่าเป็นเครื่องกลไฟฟ้าที่มีการสูญเสียน้อยที่สุดเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับเครื่องกลไฟฟ้าชนิดอื่น เช่น มอเตอร์ หรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เพราะว่าหม้อแปลงไฟฟ้าไม่มีส่วนประกอบใดๆ ที่เคลื่อนที่ได้ ดังนั้นจึงไม่มีการสูญเสียเนื่องจากความผืดและแรงต้านจากลม (Friction and Windage Losses) ดังนั้นจึงมีการสูญเสียเพียงสองส่วนเท่านั้นคือ

1.การสูญเสียในแกนเหล็ก (Iron Loss or Core Loss)

            การสูเสียในแกนเหล็กจะประกอบด้วยการสูญเสีย 2 ชนิด คือการสูญเสียเนื่องจากฮิสเตอรีซีสและการสูญเสียเนื่องจากกระแสไฟฟ้าไหลวนในแกนเหล็ก ทั้งนี้เนื่องจากเส้นแรงแม่เหล็กร่วมมีค่าคงที่ตลอดเวลาทุกสภาวะโหลด ดังนั้นการสูญเสียชนิดนี้จึงมีค่าคงที่แม้ว่าโหลดจะมีการเปลี่ยนแปลง
        - การสูญเสียเนื่องจากฮิสเตอรีซีส (Hysteresis Loss)
        - การสูญเสียเนื่องจากกระแสไฟฟ้าไหลวน (Eddy Current Loss)

2.การสูญเสียในขดลวดตัวนำ (Copper Loss)

        การสูญเสียในขดลวดตัวนำหรือขดลวดทองแดง เกิดขึ้นเนื่องจากความต้านทานของขดลวดทั้งด้านปฐมภูมิและทุติยภูมิของหม้อแปลงไฟฟ้า ขณะที่หม้อแปลงไฟฟ้าทำงานภาวะไม่มีโหลดจะมีกระแสไฟฟ้าไหลในขดลวดปฐมภูมิจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย

            การสูญเสียในแกนเหล็กที่แรงดันใด ๆ

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

            การสูญเสียในขดลวดที่กระแสใด ๆ

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

            การสูญเสียทั้งหมดในหม้อแปลงที่สภาวะใด ๆ

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

7.อัตราส่วนการเปลี่ยนแปร (transformation ratio) ของหม้อแปลงไฟฟ้า

            

                    การเปลี่ยนแปลงของแรงดันไฟฟ้า

อัตราส่วนการเปลี่ยนแปลงของแรงดันไฟฟ้า ε [%] แสดงได้ดังสมการที่ 5 ต่อไปนี้

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

            เมื่อคำนวณหาอัตราส่วนการเปลี่ยนแปลงของแรงดันไฟฟ้าจากวงจรสมมูลอย่างง่ายในรูปแสดงวงจรสมมูลอย่างง่าย (แปลงวงจรด้านทุติยภูมิเป็นด้านปฐมภูมิ) ตามสมการที่ 6


แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

รูปแสดงการคำนวณการเปลี่ยนแปลงของแรงดันไฟฟ้า

                    อิมพิแดนซ์ในวงจรหม้อแปลง

            เมื่ออิมพิแดนซ์ ZL ต่อกับแหล่งจ่ายไฟฟ้าโดยตรง อิมพิแดนซ์ที่เห็นโดยแหล่งจ่ายไฟฟ้าคือ ZL เมื่อมีหม้อแปลงต่ออยู่ในวงจรดังรูปที่ 2 (ก) อิมพิแดนซ์ที่เห็นโดยแหล่งจ่ายไฟฟ้าจะไม่เท่ากับ ZL แต่จะมีค่าอิมพิแดนซ์สมมูลย์คือ ZP

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

รูป 2 ก. โหลด ZL ได้รับกำลังไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายผ่านหม้อแปลง ข. แหล่งจ่ายมองเห็นอิมพิแดนซ์กลายเป็น ZP

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

8.การคำนานหาขนาดและประสิทธิภาพของหม้อแปลงไฟฟ้า

                    วิธีการคำนวณหม้อแปลงไฟฟ้า ?

                    พารามิเตอร์ที่สำคัญที่สุดของหม้อแปลงคือค่าระบุของกระแสและแรงดันไฟฟ้าและสมรรถนะที่ได้รับการออกแบบ ความแม่นยำในการคำนวณลักษณะของหม้อแปลงด้วยความเคารพต่อพารามิเตอร์เหล่านี้ไม่มีความสำคัญอย่างยิ่งดังนั้นเราสามารถ จำกัด ตัวเองให้ใกล้เคียงค่า

                    ลำดับของการคำนวณมีดังนี้

        1. การคํานวณกระแสผ่านขดลวดทุติยภูมิโดยมีค่าเผื่อการสูญเสีย: I 2 = 1.5 * I 2n โดยที่ I 2n เป็นกระแสไฟฟ้าที่ได้รับการจัดอยู่ในนั้น
        2.การคำนวณพลังงานที่ได้รับจากขดลวดทุติยภูมิ: P 2 = U 2 * I 2 โดยที่ U 2 - แรงดันไฟฟ้าอยู่ที่ ถ้าม้วนเช่นไม่ได้หนึ่งผลที่ได้คือผลรวมของความสามารถของพวกเขา
        3. การกำหนดกำลังไฟฟ้าที่เกิดขึ้น: РТ = 1,25 * P 2 ที่มีประสิทธิภาพตามลำดับที่ 80%
        4. การคำนวณกระแสผ่านขดลวดหลักของหม้อแปลง: I 1 = P T / U 1 โดยที่ U 1 เป็นแรงดันไฟฟ้าข้าม
        5. พื้นที่ของส่วนที่ต้องการของวงจรแม่เหล็ก: S = 1.3 * √ P T โดยที่ S วัดได้ในหน่วยซม. 2
        6. จำนวนรอบของขดลวดหลักของหม้อแปลง: N 1 = 50 * U 1 / S, โดย S มีหน่วยเป็นเซนติเมตร 2
        7. จำนวนรอบของขดลวดทุติยภูมิ: N 2 = 55 * U 2 / S โดย S มีหน่วยเป็นเซนติเมตร 2
        8. เส้นผ่านศูนย์กลางของตัวนำของขดลวดใด ๆ ของหม้อแปลงไฟฟ้า: d = 0,632 * √Iโดยที่ I - กระแสไฟฟ้าอยู่ในตัว สูตรนี้เป็นจริงสำหรับ ลวดทองแดง

            ตัวอย่างเช่นขดลวดทุติยภูมิของหม้อแปลงที่เชื่อมต่อกับเครือข่าย 220 V ควรให้กระแสไฟฟ้า 6.7 A ที่แรงดันไฟฟ้า 36 V. คำนวณค่าตัวแปรหม้อแปลง

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

            I 2 = 1.5 * 6.7 A = 10 A
            P 2 = 36 V * 10 A = 360 W.
            P T = 1.25 * 360 W = 450 W.
            I 1 = 450 W / 220 V ≈ 2 A.
            S = 1.3 * √450 (ซม. 2) ≈ 25 ซม. 2
            N 1 = 50 * 220/25 = 440 รอบ
            N 2 = 55 * 36/25 = 79 รอบ
            d 1 = 0.632 * √2 (มม.) = 0.9 มม., d 1 = 0.632 * √10 (มม.) = 2 มม.

            หากไม่มีเส้นลวดที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางที่ถูกต้องให้ใช้ลวดหนาหนึ่งเส้นแทนด้วยสายทินเนอร์ที่เชื่อมต่อกันหลายเส้น พื้นที่ตัดขวางของเส้นผ่านศูนย์กลาง d สามารถคำนวณได้จากสูตร: s = 0.8 * d 2

            ตัวอย่างเช่นคุณต้องใช้เส้นลวดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 มิลลิเมตรและมีเพียงตัวนำที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.2 มม. พื้นที่ตัดขวางของเส้นลวดที่ต้องการคือ s = 0.8 * 4 (mm 2) = 3.2 mm 2 พื้นที่ของกระแสที่คำนวณได้จากสูตรเดียวกันเท่ากับ 1.1 mm 2 ง่ายต่อการทำความเข้าใจว่าตัวนำตัวเดียวที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 มิลลิเมตรสามารถแทนที่ได้ด้วยเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.2 มิลลิเมตร

9.หม้อแปลงเฟสเดียว วงจรสมมูล

                    หม้อแปลงไฟฟ้า 1 เฟส

            หม้อแปลงไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์สำหรับแปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับให้มีแรงดันเพิ่มขึ้นหรือลดลง หรือในบางกรณีใช้ในการแยกการต่อถึงกันทางไฟฟ้า โดยมีอัตราการแปลงแรงดันเป็น 1:1 โครงสร้างของหม้อแปลงแสดงดังรูปที่ 1 ในรูปขดลวด H1 – H2 เป็นขดลวดปฐมภูมิ (Primary) หรือขดลวดด้านรับไฟ ส่วนขดลวด X1 – X2 เป็นขดลวดทุติยภูมิ (Secondary) หรือขดลวดด้านจ่ายไฟ เครื่องหมายจุด (•) ที่แสดงไว้ข้าง ๆ ขดลวดทั้งสอง แสดงว่า ปลายขดลวดด้านนั้นมีศักย์ไฟฟ้าเป็นบวกหรือลบพร้อม ๆ กัน

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
 

รูป 1 โครงสร้างของหม้อแปลง

            กระแสที่ไหลเข้าทางขั้ว • ของขดลวดด้านหนึ่ง จะทำให้ขั้ว • ของขดลวดอีกด้านหนึ่งเป็นขั้วที่มีศักย์ไฟฟ้าสูง (+) ถ้ามีโหลดต่ออยู่ทางขดลวดอีกด้านหนึ่งนั้น กระแสไฟฟ้าจะไหลออกจากด้านศักย์ไฟฟ้าสูง (+) นี้ อนึ่งหม้อแปลงเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าในวงจรกระสลับ หากจะพิจารณาโดยละเอียดในกรณีนี้ที่ใช้กับไฟฟ้ากระแสสลับรูปคลื่นไซน์ จะสังเกตได้ว่า ขณะคลื่นครึ่งบวกกับครึ่งคลื่นลบ ทิศทางของกระแสจะตรงข้ามกัน เครื่องหมาย • จึงกลับขั้วด้วย ดังนั้น ในแต่ละคาบจะมีการกลับขั้ว • ตามทิศทางกระแส ซึ่งในทางปฏิบัติหรือในตำรามักไม่สนใจว่าเป็นครึ่งบวกหรือครึ่งลบ การเขียน
            • ในแผนภาพเพียงเพื่อให้รู้ว่า ในขณะเวลาหนึ่ง ๆ สมมติว่ามีกระแสไหลเข้า • ด้านหนึ่ง • อีกด้านหนึ่งแรงดันตกคร่อมจะเกิดในลักษณะใด  

            เมื่อป้อนแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับให้กับหม้อแปลง จะเกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำขึ้นที่ขดลวดปฐมภูมิ และทุติยภูมิ ซึ่งจากกฎการเหนี่ยวนำของฟาราเดย์

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
  

            ถ้าสมมติให้หม้อแปลงเป็นหม้อแปลงในอุดมคติ คือ เส้นแรงแม่เหล็กที่คล้องขดลวด n1 คล้องขดลวด n2 ด้วย (ไม่มีสนามแม่เหล็กรั่วไหล) ไม่คิดความต้านทานของขดลวด ไม่คิดการสูญเสียในแกนเหล็ก และกระแสไฟฟ้าที่สร้างเส้นแรงแม่เหล็กมีค่าน้อยมาก ดังนั้นความสัมพันธ์ของแรงดัน, กระแสและจำนวนขดลวดของหม้อแปลงไฟฟ้าเป็นไปดังสมการที่ 2

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
 

               ในกรณีของหม้อแปลงแปลงลง (Step-down transformer) a จะมีค่ามากกว่า 1 ส่วนหม้อแปลงแปลงขึ้น (Step-up transformer) a จะมีค่ามากกว่า 1

                    วงจรสมมูลอย่างง่าย
        รูปแสดงวงจรสมมูลอย่างง่าย (แปลงวงจรด้านทุติยภูมิเป็นด้านปฐมภูมิ) เป็นวงจรสมมูลอย่างง่ายเมื่อมองจากด้านปฐมภูมิ โดยจะคำนวณหาคุณสมบัติต่างๆ ได้แก่ แรงดัน กระแส เพาเวอร์แฟกเตอร์ ฯลฯ วงจรสมมูลอย่างง่ายนี้เพียงพอต่อการใช้งานในทางปฏิบัติ


รูปแสดงวงจรสมมูลอย่างง่าย (แปลงวงจรด้านทุติยภูมิเป็นด้านปฐมภูมิ)


แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105


                    วงจรสมมูลย์ของหม้อแปลงไฟฟ้า

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

                                                        รูป 3 วงจรสมมูลย์ของหม้อแปลงไฟฟ้า

            ก. เมื่อแยกพารามิเตอร์ออก
            ข. เมื่อย้ายพารามิเตอร์ทางขดลวดทุติยภูมิมาไว้ทางด้านปฐมภูมิ
            ค. เมื่อไม่คิดกระแสขณะไร้ภาระ

            จากรูปที่ 3(ก) จะเห็นได้ว่า เมื่อหม้อแปลงไม่มีภาระไฟฟ้า นั่นคือ เมื่อขดลวดทุติยภูมิไม่มีกระแสไหล จะยังคงมีกระแสไหลเข้าสู่หม้อแปลงทางด้านขดลวดปฐมภูมิ กระแสนี้เรียกว่า กระแสขณะไร้ภาระ (No load Current) Io เวกเตอร์ของกระแสและแรงดันของหม้อแปลงจะเป็นดังรูปที่ 4

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
            รูป 4 เวกเตอร์ของกระแสและแรงดันของหม้อแปลง ขณะไร้โหลด

10. หม้อแปลงสำหรับเครื่องวัดไฟฟ้า

                    หม้อแปลงเครื่องมือวัด (Instrument Transformer)

            หม้อแปลงเครื่องมือวัด เป็นเครื่องสำเร็จ (Apparatus) ที่ใช้สำหรับแปลงแรงดันหรือกระแส เพื่อให้สามารถใช้ได้กับเครื่องวัดไฟฟ้าภายในพิสัยความถี่กำลัง โดยเครื่องวัดปกติ การขยายพิสัยวัดกระแสทำได้โดยใช้ชันต์ การขยายพิสัยวัดแรงดันทำโดยใช้ตัวต้านทานอนุกรม (ตัวคูณ) ซึ่งสามารถทำได้โดยสะดวก และพบเห็นทั่วไปในการวัดกระแสตรง อย่างไรก็ตาม วิธีนี้มีขีดจำกัดที่ค่ากระแสและแรงดันไม่สูงมาก เมื่อกระแสมีค่าสูงมากเกินไม่กี่ร้อยแอมแปร์ กำลังที่สูญเสียในชันต์จะมีค่ามากพอ นอกจากนั้นจะต้องคิดถึงการฉนวนเครื่องวัดให้พอเพียง ซึ่งเป็นเรื่องยากถ้ากระแสที่จะวัดอยู่ที่หลายร้อยหรือหลายพันโวลต์เหนือดิน ในกรณีที่ต้องวัดค่าที่มีพิสัยกว้างให้มีความถูกต้อง เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมที่จะต้องมีเครื่องวัดที่สามารถวัดค่าพิสัยกว้างให้ถูกต้องทั้งหมด แต่โดยการลดกระแสหรือแรงดันค่าสูงลงมาด้วยอัตราส่วนที่รู้ค่า และถูกต้องหลายๆค่าโดยใช้หม้อแปลง และใช้เครื่องมือวัดที่สามารถวัดขนาดกระแสหรือแรงดันค่าไม่สูง แต่มีความถูกต้องมากวัดค่า จะสามารถได้พิสัยกว้าง โดยมีความถูกต้องตามต้องการแต่ประหยัดและปลอดภัย

            เราสามารถแบ่งหม้อแปลงเครื่องมือวัดตามการใช้งานได้เป็นหม้อแปลงกระแส (Current Transformer (CT)) และหม้อแปลงแรงดัน (Potential Transformer (PT)) หม้อแปลงเครื่องมือวัดมีลักษณะเหมือนหม้อแปลงกำลังทั่วๆไป (สามารถใช้วงจรสมมูลของหม้อแปลงธรรมดาได้) แต่มีข้อพิเศษที่แตกต่างคือ
        1. จำเป็นต้องรู้อัตราส่วนจำนวนรอบอย่างแน่นอน เนื่องจากค่าความผิดพลาดหนึ่งรอบใน 200 ถ้าพิจารณาในลักษณะหม้อแปลงกำลัง จะทำให้เกิดความแตกต่างของแรงดันน้อยมาก แต่ก็จะผิดพลาดมาก ถ้าพิจารณาในการนำไปใช้ด้านการวัด
        2. แรงดันตกคร่อมในขดลวดจะต้องมีค่าต่ำที่สุด เพื่อหลีกเลี่ยงการเลื่อนเฟสหรือการเปลี่ยนอัตราส่วนการแปลง โดยการออกแบบหม้อแปลงให้มีค่ารีแอกแตนซ์รั่วซึมต่ำ และโดยใช้สายตัวนำ (ทองแดง) ให้มีขนาดโตกว่าที่ต้องการ ดังนั้นในกรณีหม้อแปลงกำลัง การโหลดจะถูกจำกัดโดยผลเนื่องจากความร้อน แต่การโหลดของหม้อแปลงเครื่องมือวัดจะถูกจำกัดโดยค่าความถูกต้อง
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

            หม้อแปลงกระแสไฟฟ้า แบบคาสเรซิน (ติดตั้งกลางแจ้ง)
เป็นหม้อแปลงกระแสชนิดแห้งหล่อด้วยเรซิน มีความปลอดภัยสูง สามารถออกแบบและผลิตที่ Accuracy class 0.2%-3.0% และ/หรือ 5P10-10P20 โดยการไฟฟ้านครหลวงได้ใช้ติดตั้งในระบบมิเตอร์ตั้งแต่ปี 2541 เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศถึงปัจจุบัน (2552), TME ได้จำหน่ายหม้อแปลงกระแสไฟฟ้า แบบคาสเรซิน ทั้งใช้งานกลางแจ้ง และใช้งานภายในไปกว่า 13,000 เครื่อง
        1.เทคนิคการออกแบบและผลิตจาก KWK Messwandler GmbH & CO.KG. ประเทศเยอรมัน
        2.ให้ความละเอียดเที่ยงตรงสูง
        3.ขนาดเล็กกว่าและน้ำหนักเบากว่าเมื่อเทียบกับชนิดน้ำมัน
        4.สะดวกต่อการติดตั้ง
        5.ปลอดภัย
        6.ผลิตได้มาตรฐานระดับสากล
        7.ทนรังสี UV มีอายุการใช้งานยาวนาน
        8.โครงสร้างไม่ต้องการการดูแลรักษาเทียบกับแบบน้ำมัน
        10.เป็นที่ยอมรับของการไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค นิคมอุตสาหกรรมและบริษัทเอกชน
        11.คุณภาพเช่นเดียวกับของที่นำเข้าจากต่างประเทศ
        12.สะดวกและส่งมอบเร็วกว่าสินค้านำเข้า
        13.สามารถออกแบบและผลิตตามความต้องการพิเศษอื่นๆ ได้

        เพื่อแปลงกระแสไฟฟ้าให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับมิเตอร์วัดกระแสไฟฟ้า และพลังงานไฟฟ้าสำหรับการคำนวณเงินค่าใช้ไฟฟ้าและ/หรืออุปกรณ์ป้องกัน


        1.มาตรฐานสากล IEC 60044-1 IEEE/ANSI Std.
        2.ควบคุมคุณภาพด้วยระบบ ISO 9001
        3.สามารถออกแบบและผลิตตามความต้องการอื่นๆ ได้

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

            หม้อแปลงกระแสไฟฟ้า แบบคาสเรซิน (ใช้งานภายใน)

เป็นหม้อแปลงกระแสชนิดแห้งหล่อด้วยเรซิน มีความปลอดภัยสูง สามารถออกแบบและผลิตที่ Accuracy class 0.2%-0.3% และ/หรือ 5P10-10P20 ใช้ติดตั้งภายในตู้หรือในบริเวณที่มีพื้นที่จำกัด ทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ ถึงปัจจุบัน (2552), TME ได้จำหน่ายหม้อแปลงกระแสไฟฟ้า แบบคาสเรซิน ทั้งใช้งานกลางแจ้งและใช้งานภายในไปกว่า 13,000 เครื่อง


        1.เทคนิคการออกแบบและผลิตจาก KWK Messwandler GmbH & CO.KG. ประเทศเยอรมัน
        2.ให้ความละเอียดเที่ยงตรงสูง
        3.ขนาดเล็กและน้ำหนักเบาดูแลง่าย
        4.สะดวกต่อการติดตั้ง
        5.ปลอดภัย
        6.ผลิตได้มาตรฐานระดับสากล
        7.มีอายุการใช้งานยาวนาน
        8.โครงสร้างไม่ต้องการการดูแลรักษาเหมือนแบบน้ำมัน
        9.คุณภาพเช่นเดียวกับของที่นำเข้าจากต่างประเทศ
        10.สะดวกและส่งมอบเร็วกว่าของนำเข้า
        11.สามารถออกแบบและผลิตตามความต้องการพิเศษอื่นๆ ได้


            เพื่อแปลงกระแสไฟฟ้าให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับมิเตอร์วัดกระแสไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้า ใช้ติดตั้งร่วมกับมิเตอร์อ่านค่ากระแสไฟฟ้าภายในตู้ควบคุมหรืออุปกรณ์ป้องกันอื่นๆที่ต้องการพื้นที่ๆ จำกัด
มาตรฐาน

  •             มาตรฐานสากล IEC 60044-1 IEEE/ANSI Std.
        1.ควบคุมคุณภาพด้วยระบบ ISO 9001
        2.สามารถออกแบบและผลิตตามความต้องการอื่นๆ ได้

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

            หม้อแปลงแรงดันไฟฟ้า 3 เฟส ชนิดน้ำมัน (ติดตั้งกลางแจ้ง)
เป็นหม้อแปลงแรงดันชนิดน้ำมัน มีปลอดภัยสูง สามารถออกแบบและผลิตที่ Accuracy class 0.5%, 1.0%, 3.0% และ/หรือ 3P หรือ 6P ในระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ส่วนมากใช้หม้อแปลงกระแสชนิดนี้ในระบบ

        1.ให้ความละเอียดเที่ยงตรงสูง
        2.ขนาดเล็กและน้ำหนักเบาดูแลง่าย
        3.สะดวกต่อการติดตั้ง
        4.ปลอดภัย
        5.ผลิตได้มาตรฐานระดับสากล
        6.มีอายุการใช้งานยาวนาน
        7.เป็นที่ยอมรับของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค นิคมอุตสาหกรรมและบริษัทเอกชน
        8.สามารถออกแบบและผลิตตามความต้องการพิเศษอื่นๆ ได้

            เพื่อแปลงแรงดันไฟฟ้าให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับมิเตอร์วัดแรงดันไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้าสำหรับการคำนวณเงินค่าใช้ไฟฟ้าและ/หรืออุปกรณ์ป้องกัน
        1.มาตรฐานสากล IEC 61869-3 IEEE/ANSI Std., MEA Spec No.520(07/-2014), PEA Spec No.RPRO-014/2559
        2.ควบคุมคุณภาพด้วยระบบ ISO 9001
        3.สามารถออกแบบและผลิตตามความต้องการอื่นๆ ได้


แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105


            หม้อแปลงแรงดันไฟฟ้า ชนิดน้ำมัน (ติดตั้งกลางแจ้ง)
เป็นหม้อแปลงแรงดันชนิดน้ำมัน มีปลอดภัยสูง สามารถออกแบบและผลิตที่ Accuracy class 0.2%-3.0% และ/หรือ 3P หรือ 6P ในระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ส่วนมากใช้หม้อแปลงกระแสชนิดนี้ในระบบ ถึงปัจจุบัน (2552), TME ได้จำหน่ายหม้อแปลงแรงดันไฟฟ้า ชนิดน้ำมัน ไปกว่า 27,000 เครื่อง

        1.ให้ความละเอียดเที่ยงตรงสูง
        2.ขนาดเล็กและน้ำหนักเบาดูแลง่าย
        3.สะดวกต่อการติดตั้ง
        4.ปลอดภัย
        5.ผลิตได้มาตรฐานระดับสากล
        6.มีอายุการใช้งานยาวนาน
        7.เป็นที่ยอมรับของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค นิคมอุตสาหกรรมและบริษัทเอกชน
        8.สามารถออกแบบและผลิตตามความต้องการพิเศษอื่นๆ ได้


            เพื่อแปลงแรงดันไฟฟ้าให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับมิเตอร์วัดแรงดันไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้าสำหรับการคำนวณเงินค่าใช้ไฟฟ้าและ/หรืออุปกรณ์ป้องกัน
มาตรฐาน

  •             มาตรฐานสากล IEC 60044-2 IEEE/ANSI Std.
        1.ควบคุมคุณภาพด้วยระบบ ISO 9001
        2.สามารถออกแบบและผลิตตามความต้องการอื่นๆ ได้

11.โวลต์เตจเรกกูเลชัน และประสิทธิภาพ


                    โวลท์เตจเรกกูเลชั่น (Voltage regulation)

            เนื่องจากแรงดันของหม้อแปลงไฟฟ้าเมื่อมีโหลดกับไม่มีโหลดนั้นจะแตกต่างกันมากบ้างน้อยบ้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหลายสิ่งด้วยกัน เช่น ขึ้นอยู่กับแกนเหล็กการอัดแกนเหล็ก การพันขดลวด รวมถึงการออกแบบที่ดี เป็นต้น
ถ้าแรงดันของหม้อแปลงไฟฟ้าเมื่อไม่มีโหลด กับเมื่อมีโหลดต่างกันมาก หม้อแปลงตัวนั้นก็ไม่ดี ถ้าแรงดันเมื่อไม่มีโหลดกับเมื่อมีโหลดแตกต่างกันน้อย หรือออกแบบให้ไม่แตกต่างกันเลย แสดงว่าการควบคุมแรงดันของหม้อแปลงไฟฟ้าดี


            สิ่งที่บอกอัตราการเปลี่ยนแปลงของแรงดันไฟฟ้าที่ขั้วของขดลวดทางด้านทุติยภูมิเรียกว่า โวลท์เตจเรคกูเลชั่น (Voltage regulation)

                    ขั้นตอนการทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้า

        1. Insulation Tester วัดความต้านทานไฟฟ้า


แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

        R13 = >2000M โอห์ม

        R1-core=  >2000M โอห์ม

        R3-core =  >2000M โอห์ม

        2.วัดแรงดันไฟฟ้าด้าน Secondary ของแต่ละ Tab

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

        Input Voltage 110 V

        แรงดันไฟฟ้าฝั่ง Secondary ที่ Tab ต่างๆ =8.9, 12.15, 24.12, 98.1, 109.7 V

        3.ทดสอบหาขั้วของหม้อแปลง (Polarity test)

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

        V1 = 110

        V2 = 109.6

        V3 = 0.5

        สรุปได้ว่าการต่อลักษณะนี้จะเป็นการต่อที่หักล้างกัน

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

        V1 = 110.2

        V2 = 109.7

        V3 = 220.1

        จากการทดลองทั้ง 2 วงจรข้างต้นทำให้สรุปได้ว่าขั้วของหม้อแปลงไฟฟ้านี้อยู่เยื้องกัน

4.การทดลองหาอัตราส่วนแรงดันไฟฟ้าของหม้อแปลง(Transformation Ration)

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

        ป้อน Input voltage (V1) = 0, 20, 40, 60, 80, 100, 120 V ตามลำดับ จากนั้นวัดค่า V2 แล้วนำมาคำนวณอัตราการขยายแรงดันของหม้อแปลงไฟฟ้าจากสูตร

a = V1/V2

        ตารางบันทึกผลการทดลอง

V1

0

20

40

60

80

100

120

V2

0

20.05

40.07

59.8

79.7

99.5

119.5

a

1

0.997

0.998

1.003

1.003

1.005

1.004

        5.การหา Loss ของหม้อแปลง

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

        หมายเหตุ เพิ่มค่า I1 เรื่อยๆ แต่ห้ามเกิน 1A

        ตารางบันทึกผลการทดลอง

V1

110110110110110V2109.9106.8104.5102.3101.3I10.1750.4060.6680.941.047I20.0020.3050.5820.8720.979P18.641.770.6102.6114.2P2032.559.988.798.2Loss8.69.210.713.916.0

        6.การทดสอบ Autotransformer แบบ Step-up

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

    หมายเหตุ I2ห้ามเกิน 1 A

        ตารางบันทึกผลการทดลอง

V1(volt)

110

110

110

110

V2(volt)

219.7

216.1

212.5

210.5

I1(amp)

0.170

0.976

1.781

2.10

I2(amp)

0.002

0.445

0.862

1.020

P1(watt)

8.7

106.6

196.0

230.0

P2(watt)

0

96.2

181.0

213.5

Loss(watt)

8.7

10.4

15.0

26.5


        7. การทดสอบ Autotransformer แบบ Step Down

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

        หมายเหตุ I2 ห้ามเกิน 2 A
        ตารางบันทึกผลการทดลอง

V1220220220220220220220220V2109.9109.5109.0108.2108.0107.1106.6106.1I10.0870.2100.3470.4890.6350.7770.9161.028I20.0020.3090.5940.8881.2741.4621.7521.975P18.742.974.3105.8139.2167.7202.0225.7P2033.864.695.2127.2154.7186.2208.6Loss8.79.19.710.612,013.015.817.1

    8.วัดค่าต่างๆของหม้อแปลงไฟฟ้าต่อหม้อแปลงAuto Transformer แบบ Step up 110V/220V Load Fluorescent36 W

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

หมายเหตุ  โหลดเป็นหลอด Fluorescent 36 W   ,I2 ห้ามเกิน 1A

ตารางบันทึกผลการทดลอง

V1110110110V2219.6218216.7I10.1711,0071,820I20.0020.4230.845P18.749.389.2P2038.974.6

P.F.1

0.420.480.46P.F.200.470.43Loss8.710.414.6

9.วัดค่าต่างๆของหม้อแปลงไฟฟ้าต่อหม้อแปลง AutotransformerStepแบบStep up 110V/208V Load Fluorescent36 W

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

หมายเหตุ  โหลดเป็นหลอด Fluorescent 36 W   ,I2 ห้ามเกิน 1A

ตารางบันทึกผลการทดลอง

V1110110110V2208.4206.6205.0I10.170.8561.508I20.0070.3660.711P18.645.579.4P2035.866.9

P.F.1

0.420.490.48P.F.200.480.47Loss8.69.712.5

        10.วัดแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง(เฉลี่ย)เมื่อผ่านวงจร Full-Wave Rectifier โดยหม้อแปลง Autotransformer 220V/110V และ 220V/12V


แรงดันไฟฟ้าจากหม้อแปลงไฟฟ้า = 110 V

เมื่อผ่านวงจร Full-Wave Rectifier ทำให้ได้แรงดันไฟฟ้ากระแสตรง= 100.52V

แรงดันไฟจากหม้อแปลงไฟฟ้า = 12 V

เมื่อผ่านผ่าน Full-Wave Rectifier ทำให้ได้แรงดันไฟฟ้ากระแสตรง = 11.49v

13.ประสิทธิภาพของหม้อแปลงไฟฟ้า

ประสิทธิภาพของหม้อแปลงไฟฟ้า

ประสิทธิภาพของหม้อแปลง หมายถึง ความสามารถในการทำงานของหม้อแปลง ซึ่งจะเท่ากับอัตราส่วนระหว่างกำลังขาออก (Power Output) ต่อ กำลังขาเข้า (Power Input)

ถ้ากำลังขาออกกับกำลังขาเข้ามีค่าแตกต่างกันมาก แสดงว่าหม้อแปลงมีประสิทธิภาพต่ำ แต่ถ้ากำลังขาออกกับกำลังขาเข้ามีค่าใกล้เคียงกันก็แสดงว่าหม้อแปลงมีประสิทธิภาพสูง องค์ประกอบที่ทำให้ประสิทธิภาพหม้อแปลงมีค่ามากหรือน้อยจะขึ้นอยู่กับการสูญเสียในหม้อแปลงนั่นเอง

14.เครื่องหมายแสดงขั้วของหมอแปลงไฟฟ้า

สายและการต่อ

 อุปกรณ์  สัญลักษณ์วงจร หน้าที่ของอุปกรณ์สาย(wire)ให้กระแสผ่านได้ง่ายมากจากส่วนหนึ่งไปยังส่วนอื่นของวงจรจุดต่อสาย
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
เขียนหยดจุดที่สายต่อกัน  ถ้าสายต่อและตัดกันเป็นสี่แยก ต้องเลื่อนให้เหลื่อมกันเล็กน้อยเป็นรูปตัวทีสองตัวต่อกลับหัว เช่นจุดต่อด้านขวามือสายไม่ต่อกัน
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
ในวงจรที่ซับซ้อนมีสายมากจำเป็นต้องเขียนสายตัดกันแต่ไม่ต่อกัน นิยมใช้สองวิธีคือเส้นตรงตัดกันโดยไม่มีจุดหยด หรือเส้นหนึ่งเขียนโค้งข้าม อีกเส้นที่เป็นเส้นตรงดังรูปทางขวา อยากแนะนำให้ใช้แบบหลังเพื่อป้องกันการเข้าใจผิดว่าเป็นจุดต่อที่ลืมใส่จุดหยด

แหล่งจ่ายกำลัง

 อุปกรณ์  สัญลักษณ์วงจร หน้าที่ของอุปกรณ์เซลล์
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
แหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้า เซลล์ตัวเดียวจะไม่เรียกว่าแบตเตอรี่แบตเตอรี่
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
แหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้า  แบตเตอรี่จะมีมากกว่า 1 เซลล์ต่อเข้าด้วยกันป้อนไฟตรง(DC)ป้อนพลังงานไฟฟ้า
DC = ไฟกระแสตรง ไหลทิศทางเดียวเสมอป้อนไฟสลับ(AC)ป้อนพลังงานไฟฟ้า
AC = ไฟกระแสสลับ เปลี่ยนทิศทางการไหลตลอดฟิวส์ป้องกันอุปกรณ์เสียหาย โดยตัวมันจะละลายขาดหากมีกระแสไหลผ่านเกินค่ากำหนดหม้อแปลง
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
ขดลวดสองขดเชื่อมโยงกันด้วยแกนเหล็ก หม้อแปลงใช้แปลงแรงดันกระแสสลับให้สูงขึ้นหรือลดลง พลังงานจะถ่ายโอนระหว่าง ขดลวดโดยสนามแม่เหล็กในแกนเหล็ก และไม่มีการต่อกันทางไฟฟ้าระหว่างขดลวด ทั้งสอง ดิน(earth)
(กราวด์)
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
ต่อลงดิน  สำหรับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไปนี่คือ 0V (ศูนย์โวลท์)ของแหล่งจ่ายกำลัง  แต่สำหรับไฟฟ้าหลักและวงจรวิทยุบางวงจรหมายถึงดิน  บางที่เราเรียกว่ากราวด์

อุปกรณ์ด้านออก: หลอดไฟ, ใส้ความร้อน, มอเตอร์ ฯลฯ

 อุปกรณ์  สัญลักษณ์วงจรหน้าที่ของอุปกรณ์หลอด (แสงสว่าง)
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
ตัวแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นแสง สัญลักษณ์นี้เป็นหลอดให้แสงสว่าง ตัวอย่างเช่นหลอดไฟหน้ารถยนต์ หรือหลอดไฟฉายหลอด(ตัวชี้)(indicator)
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
ตัวแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นแสง สัญลักษณ์นี้ใช้สำหรับเป็นหลอดตัวชี้บอก ตัวอย่างเช่นหลอดไฟเตือนบนหน้าปัดรถยนต์ตัวทำความร้อน (heater)ตัวแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นความร้อนมอเตอร์
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
ตัวแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานจล (หมุน)กระดิ่ง(bell)
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
ตัวแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นเสียงออด (buzzer)
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
ตัวแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นเสียงตัวเหนี่ยวนำ
(ขดลวด, โซลินอยด์)ขดลวด เมื่อมีกระแสไหลผ่านจะเกิดสนามแม่เหล็ก หากมีแกนเหล็กอยู่ข้างในจะสามารถแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล โดยทำให้เกิดการผลักได้

สวิทช์

 อุปกรณ์  สัญลักษณ์วงจรหน้าที่ของอุปกรณ์สวิทช์กดต่อสวิทช์กด ยอมให้กระแสไหลผ่านเมื่อสวิทช์ถูกกด เช่น สวิทช์กริ่งประตูบ้านสวิทช์กดตัดสวิทช์แบบกด ซึ่งปกติจะต่อ (on) และเมื่อถูกกดจะตัด (off)สวิทช์ปิดเปิด
(SPST)SPST(Single Pole Single Throw)
สวิทช์ปิดเปิด ยอมให้กระแสไหลผ่านที่ตำแหน่งต่อ (on)สวิทช์สองทาง
(SPDT)
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
SPDT(Single Pole Double Throw)
สวิทช์สองทาง เปลี่ยนสลับการต่อเพื่อให้กระแสไหลผ่านได้ไปทางตำแหน่งที่เลือก  สวิทช์สองทางบางแบบจะมีสามตำแหน่ง โดยตำแหน่งกลางไม่ต่อ(off) ตำแหน่งจึงเป็น เปิด-ปิด-เปิด(on-off-on)สวิทช์ปิดเปิดคู่
(DPST)
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
DPST(Double Pole Single Throw)
สวิทช์ปิดเปิดแบบคู่ ปิดเปิดพร้อมกัน เหมาะสำหรับตัด-ต่อหรือปิด-เปิด วงจรพร้อมกันสองเส้น เช่น ไฟเมนสวิทช์สองทางคู่
(DPDT)
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
DPDT(Double Pole Double Throw)
สวิทช์สองทางแบบคู่ เปลี่ยนสลับการต่อพร้อมกัน เช่นใช้ในการต่อเพื่อกลับทิศทางการหมุนของมอเตอร์ดีซี สวิทช์บางแบบจะมีสามตำแหน่งคือตำแหน่งไม่ต่อ(off)ตรงกลางด้วยรีเลย์
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
สวิทช์ทำงานด้วยไฟฟ้า เมื่อมีไฟ เช่น 12โวลท์ 24 โวลท์ มาป้อนให้ขดลวดแกนเหล็ก จะเกิดการดูดตัวสัมผัสให้ต่อกัน ทำหน้าที่เป็นสวิทช์ต่อวงจรหรือตัดวงจร แล้วแต่ว่าต่ออยู่ที่ขา NO หรือ NC
NO = ปกติตัด  COM = ขาร่วม  NC = ปกติต่อ

ต้านทาน

 อุปกรณ์  สัญลักษณ์วงจรหน้าที่ของอุปกรณ์ตัวต้านทาน
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
ตัวต้านทานทำหน้าที่ต้านการไหลของกระแส เช่น การใช้ตัวต้านทานต่อเพื่อจำกัดกระแสที่ไหลผ่าน LEDตัวต้านทานปรับค่าได้
(รีโอสตาท)
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
ตัวต้านทานปรับค่าได้ชนิดนี้มีสองคอนแทค (รีโอสตาท)ใช้สำหรับปรับกระแส ตัวอย่างเช่น ปรับความสว่างของหลอดไฟ, ปรับความเร็วมอเตอร์, และปรับอัตราการไหลของประจุเข้าในตัวเก็บประจุ เป็นต้นตัวต้านทานปรับค่าได้
(Potentiometer)
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
ตัวต้านทานปรับค่าได้ชนิดนี้มีสามคอนแทค (โพเทนชิออมิเตอร์) ใช้สำหรับควบคุมแรงดัน สามารถใช้เหมือนกับตัวแปลงเพื่อแปลง ตำแหน่ง(มุมของการหมุน)เป็นสัญญาณไฟฟ้า เช่น วอลุ่มปรับความดัง โทนคอนโทรลปรับทุ้มแหลมตัวต้านทานปรับค่าได้
(Preset)
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
ตัวต้านทานปรับค่าได้ชนิดนี้ใช้สำหรับปรับตั้งล่วงหน้า(preset)ใช้ไขควงเล็กๆหรือเครื่องมืออื่นที่คล้ายกันปรับ  ถูกปรับตั้งตอน ประกอบปรับแต่งวงจรจากนั้นอาจไม่มีการปรับอีก  บางแบบเป็นรูปเกือกม้าปรับได้ไม่ถึงรอบ บางแบบปรับละเอียดได้หลายรอบ

ตัวเก็บประจุ

 อุปกรณ์  สัญลักษณ์วงจร หน้าที่ของอุปกรณ์ตัวเก็บประจุ
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
ตัวเก็บประจุ เก็บสะสมประจุไฟฟ้า ใช้ต่อร่วมกับตัวต้านทานเป็นวงจรเวลา  สามารถใช้เป็นตัวกรอง  เป็นตัวกั้นไฟดีซีไม่ให้ผ่าน แต่ยอมให้สัญญาณเอซีผ่านได้ตัวเก็บประจุมีขั้ว
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
ตัวเก็บประจุชนิดมีขั้ว เก็บสะสมประจุไฟฟ้า เวลาใช้ต้องต่อให้ถูกขั้ว ใช้ต่อร่วมกับตัวต้านทานเป็นวงจรเวลา  สามารถใช้เป็นตัวกรอง  เป็นตัวกั้นไฟดีซีไม่ให้ผ่าน แต่ยอมให้สัญญาณเอซีผ่านได้ตัวเก็บประจุปรับค่าได้
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
ตัวเก็บประจุปรับค่าได้ใช้ในจูนเนอร์วิทยุตัวเก็บประจุทริมเมอร์
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
ตัวเก็บประจุปรับค่าได้โดยการใช้ไขควงเล็กๆหรือเครื่องมืออื่นที่คล้ายกันปรับ ถูกปรับตั้งตอน ประกอบปรับแต่งวงจร จากนั้นอาจไม่มีการปรับอีก

โอด

 อุปกรณ์  สัญลักษณ์วงจร หน้าที่ของอุปกรณ์ไดโอด
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ ยอมให้กระแสไหลผ่านทางเดียวLED
ไดโอดเปล่งแสง
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ แปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นแสงซีเนอร์ไดโอด
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
ไดโอดที่รักษาแรงดันคงที่ตกคร่อมตัวมันไดโอดพลังแสง
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
ไดโอดที่มีความไวต่อแสง

ทรานซิสเตอร์

อุปกรณ์  สัญลักษณ์วงจร หน้าที่ของอุปกรณ์ทรานซิสเตอร์ NPN
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
ทรานซิสเตอร์อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำชนิดNPN สามารถต่อร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆเพื่อเป็นตัวขยาย(Amplifier)หรือวงจรสวิทชิ่ง(Switching)ทรานซิสเตอร์ PNP
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
ทรานซิสเตอร์อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำชนิดPNP สามารถต่อร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆเพื่อเป็นตัวขยาย(Amplifier)หรือวงจรสวิทชิ่ง(Switching)ทรานซิสเตอร์พลังแสง
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
ทรานซิสเตอร์ที่มีความไวต่อแสง

อปุกรณ์เสียงและวิทยุ

 อุปกรณ์  สัญลักษณ์วงจร หน้าที่ของอุปกรณ์ไมโครโฟน
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
ตัวแปลงสัญญาณเสียงเป็นพลังงานไฟฟ้าหูฟัง
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
ตัวแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นเสียงลำโพง
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
ตัวแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นเสียงตัวแปลงพิโซ
(Piezo)
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
ตัวแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นเสียงภาคขยาย
(สัญลักษณ์ทั่วไป)
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
วงจรภาคขยายมีทางเข้าเดียว จริงๆแล้วเป็นสัญลักษณ์แผนภาพบล็อค เพราะทำหน้าที่แสดงแทนวงจรไม่ใช่แทนอุปกรณ์เดี่ยวๆสายอากาศ
(Antenna)
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
อุปกรณ์ที่ออกแบบเพื่อรับหรือส่งสัญญาณวิทยุ

มิเตอร์และออสซิลโลสโคป

 อุปกรณ์  สัญลักษณ์วงจร หน้าที่ของอุปกรณ์โวลท์มิเตอร์
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
โวลท์มิเตอร์ใช้วัดแรงดัน
ชื่อที่ถูกต้องของแรงดันคือความต่างศักด์แต่คนส่วนใหญ่ชอบเรียกว่าแรงดันแอมป์มิเตอร์
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
แอมป์มิเตอร์ใช้วัดกระแสกัลวาโนมิเตอร์
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
กัลวาโนมิเตอร์เป็นมิเตอร์ที่มีความไวสูงใช้สำหรับวัดค่ากระแสน้อยๆ เช่น1 มิลลิแอมป์หรือต่ำกว่าโอห์มมิเตอร์
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
โอห์มมิเตอร์ใช้วัดความต้านทาน เครื่องมัลติมิเตอร์ส่วนใหญ่สามารถตั้งวัดความต้านทานได้ออสซิลโลสโคป
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
ออสซิลโลสโคปใช้แสดงรูปคลื่นสัญญาณทางไฟฟ้า และสามารถวัดแรงดันกับช่วงเวลาของสัญญาณ

ตรรก(Logic Gates)

กระบวนการสัญญาณเกทตรรกซึ่งแสดงค่าจริง(true)(1, สูง, +Vs, เปิด) หรือไม่จริง( false) (0, ต่ำ, 0V, ปิด).
สำหรับรายละเอียดกรุณาดูที่หน้า เกทตรรก(Logic Gates)
สำหรับสัญลักษณ์เกทมีสองแบบคือสัญลักษณ์แบบเก่า กับสัญลักษณ์แบบIEC(International Electrotechnical Commission).ชนิดเกท สัญลักษณ์แบบเก่าสัญลักษณ์แบบ IEC หน้าที่ของเกทNOT
นอต
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
นอตเกทมีขาเข้าเพียงหนึ่งขา ถ้าด้านออกเป็น'o' หมายถึง 'ไม่(not)' ด้านออกของนอตเกทจะตรงกันข้ามกับด้านเข้า ดังนั้นด้านออกจะเป็นจริง(true)เมื่อด้านเข้าไม่จริง(false) นอตเกทเรียกอีกอย่างว่าอินเวอเตอร์AND
แอนด์
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
แอนด์เกทสามารถมีด้านเข้าสองขาหรือมากกว่า ด้านออกของเกทแอนด์(AND)เป็นจริงเมื่อด้านเข้าทุกขาเป็นจริง NAND
แนนด์
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
แนนด์เกทสามารถมีด้านเข้าสองขาหรือมากกว่า ค่า 'o' ทางด้านออกหมายถึง'ไม่(not)' ซึ่งก็คือเกท นอตแอนด์ (Not AND)
นั่นเอง ด้านออกของเกทแนนด์(NAND) เป็นจริงเมื่อด้านเข้าอย่างน้อยหนึ่งขาเป็น'o'OR
ออร์
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
ออร์เกทสามารถมีด้านเข้าสองขาหรือมากกว่า ด้านออกของเกทออร์(OR) เป็นจริงเมื่อด้านเข้าอย่างน้อยหนึ่งขาเป็นจริงNOR
นอร์
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
นอร์เกทสามารถมีด้านเข้าสองขาหรือมากกว่า ค่า'o' ทางด้านออกหมายถึง'ไม่(not)'ซึ่งก็คือเกท นอตออร์(Not OR) นั่นเอง ด้านออกของเกทนอร์(NOR)เป็นจริงเมื่อด้านเข้าทุกขาไม่เป็นจริง(เป็น 0 ทุกขา)EX-OR
เอกซ์-ออร์
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
เอกซ์-ออร์เกทสามารถมีด้านเข้าเพียงสองขา ด้านออกของเกทเอกซ์-ออร์(EX-OR)เป็นจริงเมื่อด้านเข้าต่างกัน (ขาหนึ่งจริงแต่อีกขาหนึ่งไม่จริง)EX-NOR
เอกซ์-นอร์
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
เอกซ์-นอร์เกทสามารถมีด้านเข้าเพียงสองขา ค่า'o'ที่ด้านออกหมายถึง'ไม่(not)' ซึ่งก็คือเกท นอตเอกซ์-ออร์(Not EX-OR)  นั่นเอง  ด้านออกของเกทเอกซ์-นอร์ (EX-NOR)เป็นจริง(true)เมื่อด้านเข้าเหมือนกัน(ทั้งจริงและ
ไม่จริง)

15.หม้อแปลงไฟฟ้าแบบร่วมขดลวด

        หม้อแปลง หรือหม้อแปลงไฟฟ้า (อังกฤษ: transformer, ออกเสียง) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่ใช้ในการส่งผ่านพลังงานจากวงจรไฟฟ้าหนึ่งไปยังอีกวงจรโดยอาศัยหลักการของแม่เหล็กไฟฟ้า โดยปกติจะใช้เชื่อมโยงระหว่างระบบไฟฟ้าแรงสูง และไฟฟ้าแรงต่ำ หม้อแปลงเป็นอุปกรณ์หลักในระบบส่งกำลังไฟฟ้า

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105


หม้อแปลงแบ่งออกตามการใช้งานของระบบไฟฟ้ากำลังได้ 2 แบบคือ หม้อแปลงไฟฟ้าชนิด 1 เฟส และหม้อแปลงไฟฟ้าชนิด 3 เฟสแต่ละชนิดมีโครงสร้างสำคัญประกอบด้วย
1. ขดลวดตัวนำปฐมภูมิ (Primary Winding) ทำหน้าที่รับแรงเคลื่อนไฟฟ้า
2. ขดลวดทุติยภูมิ (Secondary Winding) ทำหน้าที่จ่ายแรงเคลื่อนไฟฟ้า
3. ขั้วต่อสายไฟ (Terminal) ทำหน้าที่เป็นจุดต่อสายไฟกับขดลวด
4. แผ่นป้าย (Name Plate) ทำหน้าที่บอกรายละเอียดประจำตัวหม้อแปลง
5. อุปกรณ์ระบายความร้อน (Coolant) ทำหน้าที่ระบายความร้อนให้กับขดลวด เช่น อากาศ, พัดลม, น้ำมัน หรือใช้ทั้งพัดลมและน้ำมันช่วยระบายความร้อน เป็นต้น
6. โครง (Frame) หรือตัวถังของหม้อแปลง (Tank) ทำหน้าที่บรรจุขดลวด แกนเหล็กรวมทั้งการติดตั้งระบบระบายความร้อนให้กับหม้อแปลงขนาดใหญ่
7. สวิตช์และอุปกรณ์ควบคุม (Switch Controller) ทำหน้าที่ควบคุมการเปลี่ยนขนาดของแรงเคลื่อนไฟฟ้า และมีอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ รวมอยู่ด้วย
วัสดุที่ใช้ทำขดลวดหม้อแปลงโดยทั่วไปทำมาจากสายทองแดงเคลือบน้ำยาฉนวน มีขนาดและลักษณะลวดเป็นทรงกลมหรือแบนขึ้นอยู่กับขนาดของหม้อแปลง ลวดเส้นโตจะมีความสามารถในการจ่ายกระแสได้มากกว่าลวดเส้นเล็ก
หม้อแปลงขนาดใหญ่มักใช้ลวดถักแบบตีเกลียวเพื่อเพิ่มพื้นที่สายตัวนำให้มีทางเดินของกระแสไฟมากขึ้น สายตัวนำที่ใช้พันขดลวดบนแกนเหล็กทั้งขดลวดปฐมภูมิและขดลวดทุติยภูมิอาจมีแทปแยก (Tap) เพื่อแบ่งขนาดแรงเคลื่อนไฟฟ้า (ในหม้อแปลงขนาดใหญ่จะใช้การเปลี่ยนแทปด้วยสวิตช์อัตโนมัติ)


                    การต่อหม้อแปลง
            การขนานหม้อแปลง
การขนานหม้อแปลง หมายถึง การนำหม้อแปลงไฟฟ้าตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปมาต่อขนานหรือต่อพ่วงเข้าด้วยกัน เพื่อช่วยในการจ่ายโหลดหรือจ่ายกระแสไฟฟ้า ปัจจัยสำคัญที่เป็นสาเหตุของการขนานหม้อแปลงไฟฟ้านั้นอาจเกิดจากปัจจัยต่างๆดังนี้

        o การหยุดซ่อมแซมบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้า ในกรณีที่หม้อแปลงตัวเดิมต้องนำไปซ่อมแซมและบำรุงรักษา จึงต้องนำหม้อแปลงตัวใหม่ที่ใช้งานได้ต่อขนานหรือต่อพ่วงเข้าไป
        o เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของหม้อแปลงไฟฟ้า โดยใช้หม้อแปลง 2 ตัวที่มีพิกัดกำลังไฟฟ้าเท่ากันต่อขนานด้วยกันเพื่อจ่ายกำลังไฟฟ้าให้กับโหลด
        o เพื่อลดต้นทุนในการติดตั้งหม้อแปลงตัวใหม่ที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิม เมื่อโหลดเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม

17.หม้อแปลงสำหรับใช้งานพิเศษ

 

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

            บริษัทฯมีจุดเด่นในด้านการผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าชนิดพิเศษ ซึ่งออกแบบและผลิตโดยเฉพาะตามการใช้งานและคุณสมบัติที่ลูกค้ากำหนด โดยการออกแบบและเทคโนโลยีการผลิตที่ใช้นั้นมีบางส่วนที่แตกต่างไปจากกระบวนการผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าปกติ ซึ่งต้องอาศัยความรู้ ความสามารถของผู้ผลิตเป็นอย่างมาก หม้อแปลงไฟฟ้าชนิดพิเศษ ได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้ากระแสสลับเป็นกระแสตรง (Rectifier Transformer) ซึ่งใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมเคมี หม้อแปลงไฟฟ้าที่ใช้ในการหลอมโลหะ (Induction Furnace Transformer) ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมหลอมโลหะ หรือหม้อแปลงที่ใช้ฉนวนอื่น เช่น ซิลิโคนออยล์ เป็นต้น โดยบริษัทฯดำเนินการผลิตหม้อแปลงชนิดนี้ภายใต้เทคโนโลยีของบริษัท Fuji Electric Systems Co., Ltd ประเทศญี่ปุ่น

                18.การต่อหม้อแปลงไฟฟ้าระบบ3เฟส


                    การต่อหม้อแปลงเพื่อใช้กับระบบไฟฟ้า 3 เฟส

            การต่อหม้อแปลงไฟฟ้าเพื่อนำไปใช้งานกับระบบไฟฟ้า 3 เฟส จะมีอยู่ 2 กรณี คือ การใช้หม้อแปลงไฟฟ้าหนึ่งเฟส 3 ตัว และการใช้หม้อแปลงไฟฟ้าสามเฟส 1 ตัว
            การต่อวงจรของหม้อแปลงหนึ่งเฟส 3 ตัว หรือการต่อหม้อแปลงสามเฟส 1 ตัว จะมีวิธีเข้าขดลวดของหม้อแปลงทั้งสามชุดของด้านปฐมภูมิและทุติยภูมิเป็น 2 แบบ คือ แบบวายหรือสตาร์ (Wye or Star connection) และแบบเดลต้า (Delta connection)

              19.หม้อแปลง3เฟสการระบายความร้อน

1. คำอธิบายทั่วไปเกี่ยวกับพัดลมระบายความร้อน Transformer 3 เฟส 900 มม
        บอร์ดเทอร์มินัล DBF (CFZ) ชุดพัดลมระบายความร้อนเสียงรบกวนต่ำเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเสียงรบกวนต่ำและพัดลมระบายความร้อนประเภทการประหยัดพลังงานซึ่งใช้เป็นพิเศษในระบบระบายความร้อนของหม้อแปลงขนาดกลางและขนาดใหญ่ , ประสิทธิภาพการทำงานที่มีประสิทธิภาพมั่นคงประสิทธิภาพการทำงานที่เชื่อถือได้และอายุการใช้งานที่ยาวนานมันเป็นพัดลมพิเศษขั้นสูงมากของเสียงต่ำในประเทศ

2. พัดลมระบายความร้อน 3 เฟส 900 มม
wordlnary ชนิดกลางแจ้งและละเว้นโดยไม่ต้องลงนาม
TH เขตร้อนชื้นโซนร้อนประเภทโซนความร้อนแห้ง TA

3. ทิศทางการไหลของพัดลมระบายความร้อน Transformer 3 เฟส 900 มมQ คือ ประเภทของ blow ก่อนหน้า (กระแสลมจากมอเตอร์ไฟฟ้าไปยังใบพัด)
H หลังจากเป่าชนิด (อากาศไหลจากมอเตอร์ใบพัดเป็นไฟฟ้า)

4. ภาพโครงสร้างของ 3 Phase 900mm Power Transformer Cooling Fan

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

5. คุณสมบัติทางเทคนิคของเฟส 900 มม. หม้อแปลงไฟฟ้าพัดลมระบายความร้อน

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

6. โรงงานของเรา 3 เฟส 900 มม. หม้อแปลงไฟฟ้าพัดลมระบายความร้อน

20.คุณสมบัติของขดลวดที่ใช้พันในหม้อแปลงไฟฟ้า

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105
        เส้นสนามแม่เหล็ก(สีแดง)ของขดลวดที่มีกระแส(I)ไหลผ่านจะพาดผ่านศูนย์กลางของขดลวดและหนาแน่นสะสมบริเวณนั้น

        ขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ (อังกฤษ: electromagnetic coil) เป็นตัวนำไฟฟ้าอย่างหนึ่งเช่น ลวดในรูปของขดลวด(อังกฤษ: coil), รูปเกลียวก้นหอยหรือเกลียวสปริง ขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้าถูกใช้ในวิศวกรรมไฟฟ้า, ในการใช้งานที่กระแสไฟฟ้าจะมีปฏิสัมพันธ์กับสนามแม่เหล็ก, ในอุปกรณ์เช่นตัวเหนี่ยวนำ, แม่เหล็กไฟฟ้า, หม้อแปลง, และขดลวดเซ็นเซอร์ เป็นได้ทั้งกระแสไฟฟ้าจะถูกส่งผ่านลวดของคอยล์เพื่อสร้างสนามแม่เหล็ก หรือตรงกันข้าม สนามแม่เหล็กภายนอกที่แปรตามเวลาพาดผ่านด้านในของขดลวดสร้าง EMF(แรงดัน)ในตัวนำ

        กระแสไหลในตัวนำใดๆจะสร้างสนามแม่เหล็กวงกลมรอบตัวนำตามกฎของแอมแปร์ประโยชน์ของการใช้รูปทรงแบบขดม้วนก็คือมันจะเพิ่ม ความแรงของสนามแม่เหล็กที่เกิดจากกระแส สนามแม่เหล็กที่เกิดจากแต่ละรอบที่แยกจากกันของลวดตัวนำทั้งหมดผ่านศูนย์กลางของขดลวดและซ้อนกัน(อังกฤษ: superpose) เพื่อสร้างสนามที่แข็งแกร่งที่นั่น จำนวนรอบของขดลวดยิ่งมาก สนามที่ถูกสร้างขึ้นก็ยิ่งแรง ในทางกลับกัน การเปลี่ยนแปลงของฟลักซ์แม่เหล็กภายนอกทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าในตัวนำตามกฎการเหนี่ยวนำของฟาราเดย์ แรงดันไฟฟ้า ที่ถูกเหนี่ยวนำสามารถทำให้เพิ่มขึ้นได้โดยพันลวดให้เป็นขดเพราะเส้นสนามจะตัดเส้นลวดหลายครั้ง

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

ชนิดของขดลวด

ขดลวดสามารถถูกจำแนกตามความถี่ของกระแสไฟฟ้าที่มันถูกออกแบบมาเพื่อทำงานด้วย ได้แก่:

  • ขดลวด DC ที่ทำงานด้วยกระแสตรงคงที่ในขดลวดของมัน
  • ขดลวดความถี่เสียงออดิโอ (AF) ตัวเหนี่ยวนำหรือหม้อแปลงที่ทำงานกับกระแสสลับในช่วงความถี่เสียงที่น้อยกว่า 20 กิโลเฮิร์ทซ์
  • ขดลวดความถี่วิทยุ (RF) ตัวเหนี่ยวนำหรือหม้อแปลงที่ทำงานกับกระแสสลับในช่วงความถี่วิทยุ ที่สูงกว่า 20 กิโลเฮิร์ทซ์

21.เครื่องมือและอุปกรณ์ในการพันขดลวดหม้อแปลงไฟฟ้าและการสร้างหม้อแปลงขนาดเล็ก

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการพันหม้อแปลงขนาดเล็ก

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

1. บ็อบบินพลาสติก เป็นฟอร์มที่ใช้ในการพันขดลวดของหม้อแปลงไฟฟ้า ช่องสี่เหลี่ยมคือพื้นที่หน้าตัดของแกนเหล็กที่ใช้ในการคำนวณหาขนาดของหม้อแปลง

แบบฝึกหัดหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมเฉลย 2104-2105

2. ทองแดง ทองแดงที่ใช้ในการพันหม้อแปลงนี้เป็น s.w.g 23 เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.6096 mm พื้นที่หน้าตัด 0.29187 mm2