เป้าหมาย สูงสุด ของการฝึก อบรมตนตามหลัก พระพุทธ ศาสนา ข้อใด ไม่ ถูก ต้อง

ขั้นตอนการฝึกตนเพื่อหลุดพ้นจากทุกข์

เป้าหมาย สูงสุด ของการฝึก อบรมตนตามหลัก พระพุทธ ศาสนา ข้อใด ไม่ ถูก ต้อง

1) ต้องฝึกอบรมตนให้เป็นที่พึ่งแห่งตนเองให้ได้
      ผู้ที่จะพึ่งตนเองได้ จะต้องมีเป้าหมายในการฝึกอบรมตนให้มีคุณสมบัติของผู้ปรารภความเพียรในการกำจัดทุกข์ 5 ประการ คือ

            1.1) ฝึกตนให้เป็นผู้มีศรัทธา โดยเริ่มจากการศึกษาพุทธประวัติและการฝึกอบรมตนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งแต่เริ่มตั้งปณิธานเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จนกระทั่งได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และสั่งสอนสัตวโลกให้พ้นทุกข์ตามพระองค์ จนกระทั่งเสด็จดับขันธปรินิพพาน ให้เข้าใจอย่างชัดเจน

          1.2) ฝึกตนให้ดูแลรักษาสุขภาพเป็น จนกระทั่งเป็นผู้มีอาพาธน้อย  โดยเริ่มจากการรู้ประมาณในการบริโภคปัจจัย 4 ให้พอเหมาะพอดี ทั้งคุณภาพ ปริมาณ การใช้งาน ระยะเวลา และงบประมาณที่ตนเองมีอยู่ โดยไม่ก่อให้เกิดโทษต่อสุขภาพของร่างกาย

            1.3) ฝึกตนให้เป็นคนตรง เปิดเผย ไม่โอ้อวดไม่มีมารยา เพื่อมุ่งตรงสู่พระนิพพานโดยเริ่มจากการฝึกรับผิดชอบงานต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันให้ดี ตั้งแต่การศึกษาเล่าเรียน การทำงานบ้าน การทำงานอาชีพ โดยพยายามฝึกทำให้ ถูกดี คือ ถูกวัตถุประสงค์ ถึงดี คือ ดีทั้งคุณภาพและดีทั้งปริมาณ พอดี คือ เหมาะ มกับบุคคล เวลาสงบประมาณ เหตุการณ์ และสถานที่คนที่ฝึกตนเองมาในลักษณะนี้ ย่อมมีความรู้ดี ความสามารถดี และความประพฤติดี อยู่ในระดับที่จะทำให้พึ่งตนเองได้ ผู้อื่นเชื่อถือตนได้ จึงไม่มีปมด้อยในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม ทำให้ไม่จำเป็นต้องโอ้อวดหรือมีมารยาเพื่อเอาตัวรอด หรือเพื่อสร้างภาพหลอกลวงให้ผู้อื่นเข้าใจผิดว่าตนเป็นคนดี มีความสามารถ

          1.4) ฝึกตนให้เป็นผู้มีความพากเพียรในการกำจัดทุกข์ โดยเริ่มจากการฝึกอบรมตนให้เป็นคนมีวินัย ทั้งวินัยต่อเวลา วินัยต่อความสะอาด วินัยต่อความเป็นระเบียบ วินัยต่อกฎระเบียบต่าง ๆ และที่สำคัญต้องมีวินัยในการทำสมาธิ คือต้องหมั่นเจริญสมาธิภาวนาเป็นประจำทุกวัน โดยไม่มีข้อแม้เงื่อนไข

         1.5) ฝึกตนให้เป็นผู้มีปัญญาในการกำจัดทุกข์ โดยเริ่มจากการฝึกจับประเด็นหลักการตัดสินถูก-ผิด ดี-ชั่ว บุญ-บาป ควรทำ-ไม่ควรทำ จากนิทานชาดก จากนิทานสอนศีลธรรมจากเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้มีความรู้เท่าทันทุกข์ รู้เท่าทันกิเลสรู้เท่าทันกฎแห่งกรรมรู้เท่าทันปัญหาต่าง ๆ ที่ไม่พึงประสงค์


2) ต้องได้กัลยาณมิตรเป็นผู้ชี้ทาง
         การที่ใครจะพึ่งตนเองได้เร็วหรือช้านั้น มีปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่ง นั่นคือ เขาต้องได้ครูดี โดยเฉพาะครูที่สามารถชี้ทางที่ถูกต้องตรงตามหลักธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้จึงจะสามารถชี้แนะให้เราสามารถพึ่งตนเองได้เร็ว

        ครูที่จะสามารถชี้แนะหนทางกำจัดทุกข์ให้เราได้นั้น จะต้องเป็นครูที่ตั้งใจฝึกอบรมตนตามคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจนกระทั่งเห็นผลแล้ว ดังนี้คือ

           2.1) ท่านต้องเป็นต้นแบบการกำจัดทุกข์ให้แก่เราได้

           2.2) ท่านต้องให้คำแนะนำสั่งสอนในการกำจัดทุกข์ให้แก่เราได้

         2.3) ท่านต้องสามารถให้กำลังใจในการฝึกฝนอบรมตนเองให้แก่เราได้ครูที่จะสามารถทำได้เช่นนี้ คือครูที่ปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ 8 อย่างอุทิศชีวิตเป็นเดิมพันทำนองเดียวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาก่อนทั้งสิ้น ดังเช่น พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ) เป็นต้น


3) ต้องดำเนินชีวิตไปตามเส้นทางโอวาทปาฏิโมกข์
        ผู้ที่จะสามารถทำงานใหญ่ได้ตลอดรอดฝังนั้น จำเป็นต้องเป็นคนมีอุดมการณ์ หลักการและวิธีการที่ถูกต้อง ครบถ้วน และชัดเจน

           อุดมการณ์ บอกให้เรารู้ถึงความสำคัญและความจำเป็นของเป้าหมายที่กำลังจะทำ

           หลักการ เป็นสิ่งที่ใช้ในการตัดสินว่า

           - สิ่งใดที่ห้ามทำ ถ้าฝนทำไปจะนำเป้าหมายไปสู่ความล้มเหลว

           - สิ่งใดที่ทำได้ ถ้าทำแล้วจะนำเป้าหมายไปสู่ความสำเร็จ

           - สิ่งใดคือหัวใจสำคัญ ถ้ายิ่งทำจะทำให้นำเป้าหมายไปสู่ความสำเร็จเร็วยิ่งขึ้น

         วิธีการ เป็นสิ่งที่บอกความชัดเจนในการปฏิบัติว่า ต้องเริ่มต้นที่ไหน ขั้นตอนการปฏิบัติเป็นอย่างไร และทำอย่างไรจะเสร็จสมบูรณ์

        พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงต้องการให้ชาวโลกเป็นคนมีอุดมการณ์ หลักการ และวิธีการที่ถูกต้อง ครบถ้วน และชัดเจน ในการเริ่มต้นฝึกฝนอบรมตนเอง เพื่อกำจัดทุกข์ให้สิ้นไป

       อุดมการณ์ชีวิตที่ถูกต้องเป็นสัมมาทิฏฐิ คือ เราต้องอดทนฝึกฝนอบรมตนเอง โดยไม่มีการก่อบาปก่อเวรเพิ่ม เพื่อมุ่งไปสู่นิพพาน

      หลักการคิดที่ถูกต้องเป็นสัมมาสังกัปปะ คือ คิดเตือนตนเสมอว่า ความชั่วทุกชนิดต้องไม่ทำ ความดีที่มีโอกาสได้ทำต้องทำให้ดีสุดชีวิต ขณะทำความดี ต้องยิ่งรักษาใจให้ผ่องใสตลอดเวลา

       วิธีการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องเป็นบุญล้วน ๆ คือ ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ จะดำเนินชีวิตโดยไม่ว่าร้ายใคร ไม่ทำร้ายใคร ตั้งใจรักษาศีลและมารยาทให้ดี รู้ประมาณในการใช้ปัจจัย 4 เลือกที่นั่งและที่นอนที่มีความสงบ และหมั่นเจริญภาวนาเป็นกิจวัตรและทุกโอกาสที่เอื้ออำนวย

      ผู้ที่ดำเนินชีวิตตามอุดมการณ์ หลักการ และวิธีการในโอวาทปาฏิโมกข์นี้ ย่อมจะสามารถฝึกฝนอบรมตนเองให้กำจัดทุกข์ไปได้ตลอดรอดฝัง ไม่ตกม้าตายไประหว่างทาง เพราะเข้าใจชัดเจนแล้วว่า การฝึกอบรมตนครั้งนี้ เราจะมุ่งเอานิพพานเป็นแก่นสารของชีวิต


4) ต้องปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ 8 อย่างอุทิศชีวิตเป็นเดิมพัน
       ผู้ที่จะบรรลุนิพพานได้นั้น จำเป็นต้องมีความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจเท่ากับนิพพาน จึงจะเห็นนิพพาน เข้าถึงนิพพาน และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับนิพพาน ต่อจากนั้นก็จะสามารถพึ่งความบริสุทธิ์ของนิพพานไปกำจัดทุกข์ให้หมดสิ้นไปได้ และหากสามารถกำจัดทุกข์ได้หมดสิ้นเด็ดขาดถาวรเมื่อไร เมื่อนั้นย่อมสามารถฝ่าวงล้อมกฎแห่งกรรม กฎไตรลักษณ์ออกไปได้ด้วยโดยอัตโนมัติ

       สิ่งสำคัญในการกลั่นกาย วาจา ใจให้บริสุทธิ์ ก็คือ การเจริญสมาธิภาวนาที่ประกอบด้วยองค์ 7 หรือการปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ 8 ด้วยการเจริญภาวนา อันจะก่อให้เกิดความสะอาดความสว่าง ความสงบ จาก ภาวะแห่งใจหยุดใจนิ่งอย่างต่อเนื่องไม่ถอนถอยไปตามลำดับ ๆ จนกระทั่งบรรลุธรรม 

เป้าหมาย สูงสุด ของการฝึก อบรมตนตามหลัก พระพุทธ ศาสนา ข้อใด ไม่ ถูก ต้อง

ภาพที่ 1 แสดงสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วย องค์ 7

เป้าหมาย สูงสุด ของการฝึก อบรมตนตามหลัก พระพุทธ ศาสนา ข้อใด ไม่ ถูก ต้อง

ภาพที่ 2 แสดงมรรคมีองค์ 8 เพื่อการบรรลุธรรม

เป้าหมาย สูงสุด ของการฝึก อบรมตนตามหลัก พระพุทธ ศาสนา ข้อใด ไม่ ถูก ต้อง

ภาพที่ 3 แสดงมรรคมีองค์ 8 รอบแล้วรอบเล่าเพื่อการบรรลุธรรม


       พระสัมมาสัมพุทธเจ้ากว่าจะทรงค้นพบวิธีการกลั่นกาย วาจา ใจให้บริสุทธิ์มาให้แก่ชาวโลกได้ ก็ทรงอุทิศชีวิตเป็นเดิมพันหลายครั้งหลายหน การที่บุคคลใดจะมีกำลังใจสูงส่งพอที่จะฟันฝ่าอุปสรรคนานัปการ เพราะเล็งเห็นคุณค่าของการบรรลุธรรมยิ่งกว่าชีวิตของตนนั้นหาได้ยากยิ่ง

         ในขณะที่เรายังมีกำลังใจไม่เข้มแข็งพอจะเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ก็มีสิ่งที่ต้องปฏิบัติไม่ขาดอยู่ 4 ประการ นั่นคือ

        1) อย่าห่างกัลยาณมิตร คือ หมั่นไปหาครูดี เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับท่าน เพื่อว่าเมื่อพบข้อบกพร่องของเรา ท่านจะได้กล้าเตือนเราโดยไม่ต้องเกรงใจ

              2) หมั่นฟังธรรมไม่ขาด เพื่อสั่งสมความรู้และเตือนสติไม่ให้ออกนอกลู่นอกทาง

          3) หมั่นนำธรรมะมาไตร่ตรองให้เข้าใจวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติและเห็นคุณค่าของธรรมะยิ่งกว่าชีวิต

            4) หมั่นปฏิบัติธรรมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มีที่พึ่งในการกำจัดทุกข์ และมีกำลังใจที่จะทำความดีให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป

      ผู้ที่ฝึกอบรมตนมาตามเส้นทางนี้เท่านั้น จึงจะสามารถฝ่าทุกข์นานัปการ ฝ่ากฎแห่งกรรมและฝ่ากฎไตรลักษณ์ ตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปสู่นิพพานได้ นี่คือวิธีการแหกคุกจากวัฏสงสารที่มีปรากฏอยู่ในพระพุทธศาสนา และเป็นทางรอดสายเดียวที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทิ้งไว้เป็นมรดกธรรมให้แก่ชาวโลก ดังนั้นสิ่งที่เราต้องตัดสินใจในเวลานี้ ก็คือ เราจะติดคุกอยู่ในวัฏสงสารไปตลอดกาล หรือจะฝึกอบรมตนเพื่อบรรลุธรรมตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปนั่นเป็นสิ่งที่เราจะต้องตัดสินใจด้วยตนเอง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า "พระองค์ทรงเป็นเพียงผู้ชี้ทาง" ดังนั้นเราก็จะต้องเป็นผู้เดินทางตามพระองค์ด้วยตัวของเราเอง เพราะทางที่พระองค์ชี้นั้น เป็นทางรอดตายสายเดียวเท่านั้นของคนทั้งโลก

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 004 คู่มือพุทธมามกะ
หนังสือเรียน หลักสูตร Pre-Degree

 

การฝึกอบรมตนควรอาศัยหลักธรรมใดตามหลักพระพุทธศาสนา

หลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาที่มีความสอดคล้อง ที่สามารถฝึกฝนการพัฒนาตนเอง คือ สิกขา 3 หรือไตรสิกขา เป็นข้อที่จะต้องศึกษา ข้อปฏิบัติที่เป็นหลักส าหรับศึกษา คือในการฝึกหัดอบรม กาย วาจา จิตใจ และปัญญาให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปจนบรรลุจุดหมายสูงสุดคือพระนิพพาน ได้แก่ 1) อธิสีลสิกขา สิกขาคือศีลอันยิ่ง ข้อ ปฏิบัติส าหรับฝึกอบรมในทางความ ...

การฝึกตนเองตามนัยแห่งพระพุทธศาสนาควรดำเนินตามหลักธรรมอย่างไร

1. แนวคิดการพึ่งพาตนเองของวัยรุ่นตามหลักพระพุทธศาสนาต้องปฏิบัติตาม นาถกรณธรรม 10 คือ 1) ประพฤติตนดีงาม 2) ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก 3) คบคนดี4) ว่านอน สอนง่าย 5) เอาใจใส่ในกิจน้อยใหญ่ 6) เป็นผู้ใคร่ธรรม 7) ขยันหมั่นเพียร 8) มีจิตสันโดษ 9) ระลึกสิ่งที่ท าค าที่พูดไว้ได้ 10) มีปัญญาหยั่งรู้เหตุผล แนวทาง 10 ประการนี้ น าไปสู่ ...

กระบวนการฝึกหัดอบรมตนในพระพุทธศาสนาเรียกว่าสิ่งใด

ไตรสิกขาคือกระบวนการศึกษาที่มุ่งพัฒนามนุษย์ทั้งทางด้านกาย วาจา และความคิด จิตใจ อารมณ์ และสติปัญญา ให้สามารถที่จะดารงและดาเนินชีวิตในสังคมอย่างสันติมีอิสรภาพ โดยเน้นการปฏิบัติฝึกหัดอบรม ตนด้วยหลักศีล สมาธิ และปัญญา วิธีปฏิบัติฝึกหัดตามหลักของศีล สมาธิ ปัญญานั้น ผู้ศึกษาต้องปฏิบัติตาม แนวทางของมรรคมีองค์8 คือการอบรมตน ...

กระบวนการฝึกฝนตนเองตามหลักพระพุทธศาสนาได้แก่อะไรบ้าง

การพัฒนาตนหรือการการฝึกฝนตนถือว่าเป็นหลักของบัณฑิตผู้ฉลาดมีปัญญาในโลก นี้ก็จะต้องฝึกฝนตนเองเพื่อความเจริญก้าวหน้าด้วยคุณธรรมต่างๆดังที่พระพุทธศาสนาใช้ หลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาตนตามแบบโลกิยะคือภาวนา4อันได้แก่กายภาวนาสีลภาวนาจิตต ภาวนาและปัญญาภาวนาและหลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาตนตามแบบโลกุตตระคือภาวนา 2อันได้แก่การเจริญการ ...