สัญญาณ โทรทัศน์ เป็นการ สื่อสาร ใบ ระบบ ใด

           ทิศทางของการสื่อสารข้อมูล หมายถึง ทิศทางจากอุปกรณ์ส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์รับข้อมูลโดยผ่านสื่อนำข้อมูล

           สามารถแบ่งทิศทางการสื่อสารของข้อมูลได้เป็น 3 แบบ คือ

1. แบบทิศทางเดียว (Simplex)หรือเรียกว่า “การสื่อสารแบบทางเดียว” (One-way Communication)เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทางโดยไม่สามารถส่งข้อมูลย้อนกลับมาได้เช่น การกระจายเสียงจากสถานีวิทยุ การเผยแพร่ภาพและรายการต่างๆของสถานีโทรทัศน์ เป็นต้น

สัญญาณ โทรทัศน์ เป็นการ สื่อสาร ใบ ระบบ ใด

2. แบบกึ่งสองทิศทาง ( Half Duplex)หรือเรียกว่า “การสื่อสารแบบทางใดทางหนึ่ง (Either-way Communication)” เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลสามารถส่งกลับกันได้ 2 ทิศทาง แต่จะไม่สามารถส่งพร้อมกันได้ โดยต้องผลัดกันส่งครั้งละทิศทางเท่านั้น เช่น วิทยุสื่อสารแบบผลัดกันพูด

สัญญาณ โทรทัศน์ เป็นการ สื่อสาร ใบ ระบบ ใด

3. แบบสองทิศทาง (Full Duplex)หรือเรียกว่า “การสื่อสารแบบสองทาง (Both-way Communication)” เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลสามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้ง 2 ทิศทาง ในเวลาเดียวกัน เช่น ระบบโทรศัพท์ โดยที่คู่สนทนาสามารถพูดคุยโต้ตอบกันได้ในเวลาเดียวกัน ไม่ต้องกดสวิตซ์ เพื่อเปลี่ยนสถานะก่อนที่จะสื่อสาร

สามารถจัดแบ่งรูปแบบของการส่งสัญญาณข้อมูลได้เป็น 4 รูปแบบดังนี้

1. แบบทิศทางเดียวหรือซิมเพล็กซ์ (One-Way หรือ Simplex)
    ในการส่งสัญญาณข้อมูล แบบซิมเพล็กซ์ข้อมูลจะถูกส่งไปในทิศทางเดียว เท่านั้นหมายถึงว่าผู้ส่ง สามารถส่งข้อมูลหรือข่าวสารไปให้แก่ผู้รับได้เพียง ฝ่ายเดียว ส่วนผู้รับไม่สามารถจะโต้ตอบกลับไปได้ ตัวอย่างเช่น การกระจาย เสียงของสถานีวิทยุ หรือการแพร่ภาพทางโทรทัศน์

2. แบบกึ่งทางคู่หรือครึ่งเพล็กซ์ (Either-Way of Two Ways หรือ Half Duplex)
    การสื่อสารแบบครึ่งดูเพล็กซ์ เราสามารถส่งข้อมูลสวนทางกันได้แต่ต้องสลับ กันส่งจะทำในเวลาเดียวกันไม่ได้ ตัวอย่างเช่นวิทยุสื่อสาร ของตำรวจแบบ วอล์กกี้- ทอล์กกี้ ซึ่งต้อง อาศัยการสลับสวิตช์ เพื่อแสดงการเป็นผู้ส่งสัญญาณ และให้ทาง อีกด้านหนึ่งเป็นผู้รับสัญญาณคือต้องผลัดกันพูด บางครั้งเราเรียก การสื่อแบบ ครึ่งดูเพล็กช์ว่า แบบสายคู่ (Two-Wire Line)

3. แบบทางคู่หรือดูเพล็กซ์เต็ม (Both-way หรือ Full-Duplex)
    ในแบบนี้เราสามารถส่ง ข้อมูลได้พร้อม ๆ กันทั้งสอง ทาง ตัวอย่างเช่น ในการพูด โทรศัพท์ ท่าน สามารถพูด พร้อมกันกับคู่สนทนาได้ (เช่น ในกรณี แย่งกันพูดหรือ ทะเลาะ กัน) การทำงานจะเป็นดู เพล็กซ์เต็ม แต่ในการใช้งาน จริง ๆ แล้วจะเป็น แบบครึ่งดูเพล็กซ์คือผลัดกันพูด ดังนั้น โทรศัพท์จึงเป็น อุปกรณ์แบบดูเพล็กซ์เต็ม ที่มีการใช้งานแบบครึ่งดูเพล็กซ์บางครั้งเราเรียก การสื่อสารแบบดูเพล็กซ์ เต็มว่า Four-Wire Lineประโยชน์การใช้งานของการ ส่งสัญญาณ แบบดูเพล็กซ์เต็มย่อมให้ประโยชน์ใช้สอยได้ดีกว่ารวมทั้งลด เวลาในการส่งสัญญาณ เพื่อสลับการเป็นผู้ส่งในแบบครึ่งดูเพล็กซ์อย่างไร ก็ตามค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและอุปกรณ์ของระบบการส่ง สัญญาณแบบ ดูเพล็กซ์เต็มย่อมแพงกว่าและยุ่งยากกว่าเช่นกัน

4. แบบสะท้อนสัญญาณหรือเอ็กโคเพล็กซ์ (Echo-Plex)
    บางคนใช้คำว่าครึ่งดูเพล็กซ์ หรือดูเพล็กซ์เต็มมาอธิบายความสัมพันธ์ ระหว่างคีย์บอร์ด และจอภาพ ของเทอร์มินัลของเมนเฟรมหรือโฮสต์ คอมพิวเตอร์ ซึ่งที่จริงแล้วควรใช้คำว่า เอ็กโคเพล็กซ์มากกว่าในระหว่าง การคีย์ข้อความ หรือคำสั่งที่คีย์บอร์ดเพื่อให้โฮสต์คอมพิวเตอร์ รับข้อความ หรือ ทำตามคำสั่ง ข้อความหรือ คำสั่งก็จะปรากฏขึ้นที่ จอภาพของเทอร์มินัล ด้วยเช่นกัน เนื่องจากขณะที่สัญญาณตัวอักขระที่ถูกส่งจากคีย์บอร์ดไปยัง โฮลต์ ซึ่งเป็น แบบดูเพล็กซ์เต็มจะถูกสะท้อนสัญญาณให้กลับมาปรากฏ ที่จอภาพของเทอร์มินัลเองด้วย ทำให้ผู้ใช้สามารถรู้สึกไป พร้อม ๆ กันกับ ที่โฮลต์ทำงาน