การศึกษาเศรษฐศาสตร์มหภาคทำให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องใด

การศึกษาเศรษฐศาสตร์มหภาคทำให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องใด

ปัจจุบันนักเศรษฐศาสตร์แยกการศึกษาเศรษฐศาสตร์ออกเป็น 2 สาขาใหญ่ๆ คือ

เศรษฐศาสตร์จุลภาค (microeconomics) เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของหน่วยเศรษฐกิจใดหน่วยเศรษฐกิจหนึ่ง เช่น การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภครายใดรายหนึ่งว่าจะมีการตัดสินใจในการเลือกบริโภคสินค้าและบริการอย่างไร จำนวนเท่าใด เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความพอใจสูงสุดภายใต้ขีดจำกัดของรายได้จำนวนหนึ่ง พฤติกรรมของผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งว่าจะตัดสินใจเลือกผลิตสินค้าอะไร จำนวนเท่าใด ด้วย วิธีการอย่างไร และจะกำหนดราคาเท่าไร จึงจะได้กำไรสูงสุด ศึกษาพฤติกรรมการลงทุน การออมของ บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ศึกษากลไกตลาดและการใช้ระบบราคาเพื่อการจัดสรรสินค้า บริการ และทรัพยากร อื่นๆ จะเห็นได้ว่าเศรษฐศาสตร์จุลภาคส่วนใหญ่จะเป็นการศึกษาเรื่องที่เกี่ยวกับราคาในตลาดแบบต่างๆ นักเศรษฐศาสตร์บางท่านจึงเรียกวิชาเศรษฐศาสตร์อีกชื่อหนึ่งว่า ทฤษฎีราคา (Price Theory)

เศรษฐศาสตร์มหภาค (macroeconomics) เป็นการศึกษาภาวะเศรษฐกิจโดยส่วนรวม ทั้งระบบเศรษฐกิจหรือทั้งประเทศ อันได้แก่ การผลิตของระบบเศรษฐกิจ การบริโภค การออม และการลงทุนรวมของประชาชน การจ้างงาน ภาวะการเงินและการคลังของประเทศ ฯลฯ เศรษฐศาสตร์มหภาคโดยทั่วไปจะครอบคลุมหัวข้อต่างๆ เช่น รายได้ประชาชาติ วัฏจักรเศรษฐกิจ เงินเฟ้อและระดับราคา การคลังและหนี้สาธารณะ เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ การเงินและสถาบันการเงิน และเศรษฐศาสตร์การพัฒนา ฯลฯ

ที่มา: http://www.wphat.com/knowledge/onlinebooks/econ_ele/econ/eco1.htm

ที่มารูปภาพ : https://www.google.co.th/search?q=%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C+%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99&espv=2&biw=1242&bih=602&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwjdj5CU9_zQAhWIO48KHTB4AIQQ_AUIBygC&dpr=1.1#imgrc=PfTDm4409OCFuM%3A

เศรษฐศาสตร์มหภาค

         เศรษฐศาสตร์มหภาค เป็นการศึกษาหน่วยกิจส่วนรวม เช่น การผลิต รายได้ประชาชาติ การบริโภคการออม การลงทุน การจ้างงาน ภาษีอากร การคลังสาธารณะ การค้าระหว่างประเทศและการพัฒนาเศรษฐกิจ

         การศึกษาเศรษฐศาสตร์ระดับมหภาค เป็นการศึกษาที่ได้เน้นด้านการเพิ่มขึ้นของผลผลิตประชาชาติ การเพิ่มรายได้ให้แก่แรงงานและการมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

ความหมายของเศรษฐศาสตร์มหภาค
         จอห์น เมนารด เคนส์ “ทฤษฏีเศรษฐศาสตร์มิได้ให้ข้อสรุปที่จะนำมาใช้ได้กับนโยบายได้ทันทีโดยทฤษฏี เศรษฐศาสตร์เป็นวิธีการมากกว่าเป็นกฎเกณฑ์ และเป็นเทคนิคในการคิดซึ่งจะช่วยให้ได้ข้อสรุปที่ถูกต้อง”
         ลีออลเนล รอบบินส์ เป็นศาสตร์ที่ศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์ในการเลือกหาหนทางที่จะใช้ปัจจัยการผลิตที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อบำบัดความต้องการของมนุษย์ซึ่งมีอยู่มากมายนับไม่ถ้วน 
         โดยทั่วไปแล้วเป็นการศึกษาถึงวิธีการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อผลิตสินค้าและบริการ มาสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่ไม่จำกัด เพื่อผลิตสินค้าและบริการ มาสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่ไม่จำกัด

         เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics) เป็นการศึกษาถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนรวม เช่น ผลิตผลรวมของประเทศ การจ้างงาน การเงินและการธนาคาร การพัฒนาประเทศ การค้าระหว่างประเทศ อัตราดอกเบี้ย ซึ่งทั้งหมดนั้นเป็นปัญหาที่กว้างขวางกว่าเศรษฐศาสตร์จุลภาค เพราะว่าไม่ได้กระทบเพียงหน่วยธุรกิจเท่านั้น แต่จะกระทบถึงบุคคล หน่วยการผลิต และ อุตสาหกรรมทั้งหมด และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เศรษฐศาสตร์มหภาคนั้นจะมุ่งเน้นที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติเบี้องต้น(GNP) และการว่าจ้างงาน จะหาว่าอะไรเป็นสาเหตุให้ผลิตผลรวมและระดับการว่าจ้างงานมีการเคลื่อนไหวขึ้นลง เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาต่างๆได้ตรงจุด เช่น ภาวะเงินเฟ้อเงินฝืด และ ปัญหาการว่างงาน เป็นต้น

ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์มหภาค
         เนื่องจากเศรษฐศาสตร์มหภาคเป็นความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ ของระบบเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งมีผลต่อความเป็นอยู่ของประชาชนทุกคน ดังนั้นเศรษฐศาสตร์มหภาคจึงมีความสำคัญดังนี้
         1. ประชาชนทั่วไป ในฐานะเป็นพลเมืองส่วนใหญ่ของประเทศ ถ้ามีความเข้าใจในภาวะเศรษฐกิจ ก็จะสามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจได้อย่างทันท่วงที ช่วยให้ประชาชนเข้าใจการบริหารประเทศของรัฐบาลและสามารถที่จะให้ความร่วมมือกับรัฐบาลได้ดียิ่งขึ้น 
         2. ผู้ประกอบการ ไม่ว่าผู้ประกอบการอาชีพใดก็ต้องอาศัยความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ ในการประกอบการตัดสินใจบริหารงานต่างๆ ซึ่งจะสามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจได้ และเป็นการลดความเสียงจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจได้อีกด้วย 
         3. เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ สำหรับผู้ที่มีความรู้ในทางเศรษฐศาสตร์ในระดับสูงใน "ทฤษฏีเศรษฐศาสตร์มหภาค" เกี่ยวกับรายได้ประชาชาติ การเงินการคลัง และการธนาคาร วัฎจักรเศรษฐกิจ การค้าระหว่างประเทศ และการพัฒนาเศรษฐกิจ จะเป็นเครื่องมือขั้นต้นประกอบการวิเคราะห์เศรษฐกิจในขั้นต่อไป 

ที่มา:http://www.sainampeung.ac.th/chalengsak/units/unit3/chapter3/chapter3_3/mi_macroeconomics/macroeconomics.html

การศึกษาเศรษฐศาสตร์จุลภาคทำให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องใด

1.4.1 เศรษฐศาสตร์จุลภาค (microeconomics) คือเศรษฐศาสตร์ที่มุ่งศึกษา ถึงการตัดสินใจของ ส่วนย่อยในระบบเศรษฐกิจ โดยผู้ผลิตหรือผู้บริโภคคนใดคนหนึ่ง ครัวเรือนในครัวเรือนหนึ่ง ธุรกิจใด ธุรกิจหนึ่ง อุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง เป็นต้น ตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตคนหนึ่งตัดสินใจจะกำหนด

การศึกษาเศรษฐศาสตร์จุลภาคกับเศรษฐศาสตร์มหภาคจะทำให้ได้รับความรู้แตกต่างกันอย่างไร

ความแตกต่างระหว่างเศรษฐศาสตร์จุลภาคกับเศรษฐศาสตร์มหภาค คือ ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาคให้ความสำคัญกับการอธิบายพฤติกรรมและความสำคัญระหว่างหน่วยเศรษฐกิจแต่ละหน่วย เช่น ผู้บริโภคแต่ละคน หรือองค์กรธุรกิจแต่ละแห่ง ในขณะที่เศรษฐศาสตร์มหภาคนั้นให้ความสำคัญกับตัวแปรมวลรวมทางเศรษฐกิจ เช่น การบริโภคมวลรวม การลงทุน การจ้างงาน เป็นต้น ...

ข้อใดเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์จุลภาค

เศรษฐศาสตร์จุลภาค (microeconomics) เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของหน่วยเศรษฐกิจใดหน่วยเศรษฐกิจหนึ่ง เช่น การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภครายใดรายหนึ่งว่าจะมีการตัดสินใจในการเลือกบริโภคสินค้าและบริการอย่างไร จำนวนเท่าใด เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความพอใจสูงสุดภายใต้ขีดจำกัดของรายได้จำนวนหนึ่ง พฤติกรรมของผู้ผลิตหรือ ...

เศรษฐศาสตร์มหภาคคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร

เศรษฐศาสตร์มหภาค หมายถึง การศึกษาระบบเศรษฐกิจในภาพรวมในระดับชาติและ นานาชาติ หรือองค์ประกอบของระบบเศรษฐกิจที่สำคัญ เป็นการศึกษาที่มองในภาพรวมมากกว่าที่จะลง ในรายละเอียดของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระดับชาติ เช่น แทนที่เศรษฐศาสตร์มหภาคจะเกี่ยวกับสินค้า หรือบริการที่ขายได้ในแต่ละประเภท แต่นักเศรษฐศาสตร์มหภาคจะมองภาพรวมว่าผู้ ...