ประติมากรรมรูปเหมือนเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยที่พบนั้น

ประติมากรรมรูปเหมือนเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยที่พบนั้น

ประติมากรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ 

เริ่มตั้งแต่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ จนถึงปัจจุบัน นับเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงทางศิลปวัฒนธรรม ที่เป็นไปอย่างรวดเร็วฉับพลัน มากกว่ายุคสมัยในอดีตที่ผ่านมา เนื่องจากอิทธิพลของความเจริญทางเทคโนโลยี อารยธรรมตะวันตกที่หลั่งไหลเข้ามาในประเทศอย่างรวดเร็ว และมากมาย การติดต่อกับนานาประเทศทั่วโลก เป็นไปอย่างกว้างขวาง มีการสื่อสารที่ฉับพลัน ล้วนมีส่วนอย่างมาก ต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย และการสร้างงานประติมากรรม กล่าวโดยสรุป ประติมากรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์แบ่งออกได้เป็น ๓ ระยะ คือ ประติมากรรมแบบดั้งเดิม ประติมากรรมระยะปรับตัว และประติมากรรมร่วมสมัย

ประติมากรรมแบบดั้งเดิม

อยู่ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๓ การสร้างประติมากรรม ดำเนินรอยตามแบบประเพณีนิยม ที่ทำกันมาแต่อดีตของไทย

สมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นยุคที่เริ่มสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เป็นช่วงเวลาแห่งการสร้างบ้านเมืองใหม่ จึงมีการสร้างพระพุทธรูปน้อยมาก พระประธานที่สร้างในสมัยนี้ที่สำคัญคือ พระประธานที่พระอุโบสถ และพระวิหาร วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ฝีมือพระยาเทวารังสรรค์ เป็นพระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่ จนดูเกือบคับอาคาร มีฐานชุกชีเตี้ย เป็นผลในการแสดงอำนาจราชศักดิ์ พระพุทธรูปส่วนใหญ่เคลื่อนย้ายมาจากสุโขทัย และจังหวัดทางภาคกลาง ที่องค์พระพุทธรูปเหล่านี้ถูกทอดทิ้งอยู่ ตามโบราณสถานที่ปรักหักพัง ต้องกรำแดดกรำฝน นำมาบูรณะใหม่กว่า ๑,๒๐๐ องค์ และส่งไปเป็นประธานตามวัดต่างๆ ในกรุงเทพฯ ที่เหลือนำมาประดิษฐานไว้ ณ ระเบียงวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามพันกว่าองค์ ทั้งชั้นนอก และชั้นใน ประติมากรรมอื่นๆ ที่สำคัญคือ หัวนาค และเศียรนาคจำแลง และยักษ์ทวารสำริดปิดทอง ประจำประตูทางเข้า พระมณฑป หอพระไตรปิฎก

ประติมากรรมรูปเหมือนเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยที่พบนั้น
ยักษ์บนฐานปลายพลสิงห์ เหนือบันไดทางขึ้นพระมณฑป วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หล่อด้วยโหละปิดทอง สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์

หลังปราสาทพระเทพบิดร วัดพระศรีรัตนศาสดารามฝีมือครูดำช่างปั้นเอกสมัยรัชกาลที่ ๑

สมัยรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯให้บูรณะศิลปสถาน และงานศิลปะอื่นๆ โดยเฉพาะด้านประติมากรรมเป็นพิเศษ เช่น ทรงปั้นหุ่นพระยารักใหญ่รักน้อย และรูปพระลักษมณ์พระราม ซึ่งเป็นหุ่นหลวงที่สวยงามมาก ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ทรงปั้นหุ่นพระพักตร์ พระพุทธประธาน ๒ องค์ คือ พระพุทธจุฬารักษ์ พระประธานพระอุโบสถวัดราชสิทธาราม และพระพุทธธรรมิศรราชโลกธาตุดิลก พระประธานพระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม งานชิ้นที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งคือ ทรงร่วมสลักบานประตูพระวิหารหลวงวัดสุทัศนเทพวราราม รูปพรรณพฤกษาซ้อน ๓ ชั้น มีภาพสัตว์ประเภทนกและกระต่ายประกอบ

พระยารักใหญ่ พระยารักน้อยฝีพระหัตถ์รัชกาลที่ ๒ ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์
ประติมากรรมรูปเหมือนเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยที่พบนั้น

สมัยรัชกาลที่ ๓ ในรัชกาลนี้มีการสร้างหล่อพระประธานขนาดใหญ่ ตามวัดที่สร้างใหม่ เช่น "พระพุทธตรีโลกเชษฐ์"พระประธานพระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม และ "พระพุทธเสฏฐมุนี" พระประธานในศาลาการเปรียญวัดสุทัศนเทพวราราม "พระเสฏฐตมมุนี" พระประธานพระอุโบสถวัดราชนัดดา และ "พระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมา" พระประธานพระอุโบสถวัดเฉลิมพระเกียรติ นอกจากนี้ยังทรง สร้างพระพุทธไสยาสน์ยาว ๙๐ ศอกที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และพระพุทธรูปยืนทรง เครื่องกษัตริยาธิราชเจ้า ๒ องค์ เพื่อเป็นราชอนุสรณ์แด่พระอัยกา และพระราชบิดาของพระองค์ ซึ่งเป็นพระหล่อสัมฤทธิ์หุ้มทองคำ ประดับด้วยอัญมณีมีค่า ถวายพระนามว่า "พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก" และ"พระพุทธเลิศหล้านภาลัย" ประดิษฐานในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม การสร้างพระพุทธรูปยืนทรงเครื่องปางห้ามญาติขนาดใหญ่นี้ นิยมสร้างไว้เป็นจำนวนมาก ถือเป็นพระราชนิยมของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ประติมากรรมรูปเหมือนเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยที่พบนั้น
พระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมา พระประธานพระอุโบสถ วัดเฉลิมพระเกียรติ พระพุทธรูปปางมารวิชัย สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์

ประติมากรรมระยะปรับตัว 

สมัยรัชกาล ที่ ๔ ถึงรัชกาลที่ ๕ เป็นยุคสมัยของการปรับตัว เปิดประเทศ ยอมรับอิทธิพลตะวันตก ยอมรับความคิดใหม่มาเปลี่ยนแปลงสังคม ระเบียบประเพณี เพื่อประคองให้ประเทศรอดพ้นจากภัยสงคราม หรือจากลัทธิล่าอาณานิคมตะวันตก ซึ่งหลายประเทศในซีกโลกเอเชียยุคนั้นประสบอยู่ การสร้างงานศิลปกรรมทุกสาขา รวมทั้งประติมากรรม ก็ถูกกระแสการเมืองนี้ด้วย

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริปั้นรูปเหมือนแบบตะวันตกขึ้น เป็นครั้งแรกในประเทศไทย จึงโปรดเกล้าฯ ให้หลวงเทพรจนา (พลับ) ซึ่งต่อมาเป็นพระยาจินดารังสรรค์ปั้นถวาย โดยปั้นจากพระองค์จริง และเลียนแบบรูปปั้นของพระองค์ ที่ฝรั่งปั้นจากรูปพระฉายที่ส่งมาถวาย แต่ไม่เหมือน เมื่อทอดพระเนตรเห็นพระรูปที่หลวงเทพรจนาปั้นขึ้นใหม่ ก็ทรงโปรด ต่อมานำพระรูปองค์นี้ประดิษฐานไว้ ณ พระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาทในพระนครคีรีที่เพชรบุรี ปัจจุบันมีการหล่อไว้หลายองค์ ประดิษฐานที่พระตำหนักเพชร วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ และหอพระจอม วัดราชประดิษฐ์ กรุงเทพฯ จากพระรูปองค์นี้ นับเป็นการเปลี่ยนศักราชประติมากรรมไทย ที่เดิมปั้นรูปราชานุสรณ์ โดยใช้การสร้างพระพุทธรูป หรือเทวรูปแทน มาสู่การปั้นรูปราชานุสรณ์เหมือนรูปคนจริงขึ้น และจากจุดนี้เอง ส่งผลให้มีการปรับตัวทางประติมากรรมไปสู่ประติมากรรมสมัยใหม่ การปั้นหล่อพระพุทธรูปในยุคนี้ ไม่ใหญ่โตเท่าสมัยรัชกาลที่ ๓ มีพุทธลักษณะที่เป็นแบบฉบับของตนเอง มีลักษณะโดยส่วนรวมใกล้ความเป็นมนุษย์ มีการปั้นจีวร เป็นริ้ว บนพระเศียร ไม่มีต่อมพระเมาลี พระพุทธรูปที่สำคัญเหล่านี้คือ พระสัมพุทธพรรณี พระนิรันตราย และพระพุทธสิหังคปฏิมา พระประธาน ในพระอุโบสถวัดราชประดิษฐ์ ในรัชสมัยนี้ มีการสร้างพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติเช่นกัน แต่จีวรพระสมัยนี้เป็นริ้วใกล้เคียงธรรมชาติมากขึ้น ประติมากรรมที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งคือ "พระสยามเทวาธิราช" เป็นเทวรูปขนาดเล็กหล่อด้วยทองคำทั้งองค์สูง ๘ นิ้วฟุต ลักษณะงดงามมาก เป็นฝีพระหัตถ์ของพระองค์เจ้าประดิษฐวรการ

ประติมากรรมรูปเหมือนเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยที่พบนั้น
พระสยามเทวาธิราช เทวรูปขนาดเล็ก หล่อด้วยทองคำบริสุทธิ์ทั้งองค์ ประดิษฐานอยู่ในพระพิมาน ภายในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ พระบรมมหาราชวัง


สมัยรัชกาลที่ ๕ ระยะต้นรัชกาล อายุกรุงรัตนโกสินทร์จะครบ ๑๐๐ ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทำนุบำรุงศิลปะแบบดั้งเดิมอย่างมาก มีการปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ ปราสาทราชมณเฑียร โดยเฉพาะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เกิดงานประติมากรรมตกแต่งที่สวยงาม ในศาสนสถานแห่งนี้มากที่สุด งานประติมากรรมส่วนใหญ่เป็นฝีพระหัตถ์ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการทั้งสิ้น เช่น รูปสัตว์หิมพานต์ ๗ คู่ บนชานชาลาไพที รอบปราสาทพระเทพบิดร รูปพระบรมราชานุสาวรีย์ประจำรัชกาลที่ ๑, ๒ และ ๓ เป็นรูปบุษบกประดิษฐานพระราชลัญจกร บนพานแว่นฟ้า พร้อมช้างเผือกและฉัตร ตรงมุมด้านตะวันตกเฉียงเหนือของปราสาทพระเทพบิดร ปั้นหล่อพระบรมรูป ๓ รัชกาลคือ รัชกาลที่ ๑ รัชกาลที่ ๒ และรัชกาลที่ ๓ รวมทั้งปั้นแก้ไขรัชกาลที่ ๔ ที่พระยาจินดารังสรรค์ปั้นไว้ พระบรมรูปทั้ง ๔ รัชกาลปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในปราสาทพระเทพบิดร เป็นรูปเหมือนที่แปลกไปจากภาพเหมือนโดยทั่วไป เพราะเป็นศิลปะระยะปรับตัว เป็นการผสมระหว่างความต้องการที่จะให้รูปปั้น เหมือนรัชกาลนั้นๆ กับการสร้างรูปให้มีความงามแบบพระหรือเทวรูป ที่ต้องการความเกลี้ยงเกลากลมกลึงของรูปทรง เป็นคุณค่าความงาม รูปเหมือนจึงแสดงความเหมือนบุคคลออกมา พร้อมกับให้อารมณ์ความรู้สึกแบบไทยด้วย 

ประติมากรรมรูปเหมือนเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยที่พบนั้น

พระพุทธนฤมลธรรมโมภาส
พระพุทธรูปกะไหล่ทอง ปางสมาธิ 
ในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีการสร้างพระพุทธรูป ขึ้นใหม่เหมือนกัน ที่สำคัญคือ พระพุทธนฤมลธรรมโมภาส พระประธานวัดนิเวศน์ธรรมประวัติ บางปะอิน อยุธยา ฝีพระหัตถ์พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ นอกจากนี้ ยังมีการปั้นหล่อพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ซึ่งมีอยู่ครั้งเดียวในรัชกาลนี้ สร้างใน ระหว่างพ.ศ. ๒๔๔๒-๒๔๔๔ ในคราวนั้นโกลาหลมาก เนื่องจาก ไม่มีการปั้นพระขนาดใหญ่มานาน แต่ก็สำเร็จลงด้วยดี พระพุทธรูปองค์นี้คือ พระพุทธชินราชจำลอง ปั้นหล่อขึ้น เพื่อนำมาประดิษฐาน เป็นพระประธานวัดเบญจมบพิตร ต้องลงไปปั้นหล่อที่พิษณุโลก ผู้ปั้นหล่อจำลองคือ หลวงประสิทธิปฏิมา
ประติมากรรมร่วมสมัย 

อยู่ในสมัยรัชกาลที่ ๖ จนถึงรัชกาลปัจจุบัน เป็นศิลปะที่มีผลสืบเนื่องมาจากความเจริญแบบตะวันตก ที่หลั่งไหลเข้ามาในประเทศไทย ทำให้เกิดแนวความคิดใหม่ ในการสร้างสรรค์ศิลปะ เพื่อสาธารณะประโยชน์ นอกเหนือจากการสร้าง เพื่อศาสนาอย่างเดียว

"มนุษย์กับความปราถนา" ประติมากรรมร่วมสมัยหรือสมัยใหม่ ปั้นด้วยปูนปลาสเตอร์ เข็มรัตน์ กองสุข เป็นผู้ปั้น
ประติมากรรมรูปเหมือนเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยที่พบนั้น

สมัยรัชกาลที่ ๖ ศิลปะตะวันตกเข้ามาสู่ชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย และกำลังฝังรากลึกลงไปในสังคม และวัฒนธรรมไทย การตกแต่งวังเจ้านาย อาคารราชการ อาคารพาณิชย์ สวนสาธารณะ และอาคารบ้านเรือนของคนสามัญ เริ่มตกแต่งงานจิตรกรรม และงานประติมากรรมภาพเหมือนมากขึ้น งานประติมากรรมไทยที่ทำขึ้น เพื่อศาสนา เช่น การสร้างศาสนสถาน ปั้นพระพุทธรูป ที่เคยกระทำกันมาก็ถึงจุดเสื่อมโทรมลง แม้จะมีการทำกันอยู่ก็เป็นระดับพื้นบ้าน ที่พยายามลอกเลียนสิ่งดีงามในยุคเก่าๆ ที่ตนนิยม ขาดอารมณ์ความรู้สึกทางการสร้างสรรค์ และไม่มีรูปลักษณะที่เป็นแบบแผนเฉพาะยุคสมัย

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงหันมาส่งเสริมศิลปะการช่างสมัยใหม่ โดยตั้งโรงเรียนเพาะช่างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖ จัดสอน ศิลปะการช่างทั้งแบบตะวันตก และแบบไทย การสร้างงานศิลปะระดับชาติ ได้จ้างฝรั่งมาออกแบบ ตกแต่งพระบรมมหาราชวัง หรือพระที่นั่ง ทรงเห็นความจำเป็นที่ต้องใช้ช่างทำรูปปั้นต่างๆ เช่น เหรียญตรา และอนุสาวรีย์ ซึ่งช่างไทยยังไม่ชำนาญงานภาพเหมือนขนาดใหญ่ จึงสั่งช่างปั้นมาจากประเทศอิตาลี ผู้ได้รับเลือกคือ ศาสตราจารย์ คอราโด เฟโรจี เข้ารับราชการเป็นประติมากร กรมศิลปากร กระทรวงวัง เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม ๒๔๖๖ ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้ศาสตราจารย์เฟโรจี เข้าไปปั้นพระบรมรูปของพระองค์โดยใกล้ชิด เป็นพระบรมรูปเท่าพระองค์จริง ปัจจุบันประดิษฐานในปราสาทพระเทพบิดร นับเป็นงานภาพเหมือนที่สำคัญในรัชกาลนี้ ต่อมาศาสตราจารย์เฟโรจี ได้โอนสัญชาติ และเปลี่ยนชื่อเป็นไทยว่า ศิลป พีระศรี ท่านผู้นี้ ต่อมามีความสำคัญต่อวงการศิลปกรรมไทยสมัยใหม่ทุกสาขาอย่างที่สุด

รัชกาลที่ ๗ - รัชกาลปัจจุบัน ระยะแรกศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี เป็นช่างปั้นที่สำคัญแต่ผู้เดียวในยุคนั้น ได้ดำเนินการปั้นรูปอนุสาวรีย์พระปฐมบรมราชานุสรณ์เป็นภาพเหมือนขนาดใหญ่ ๓ เท่าคนจริงเป็นครั้งแรกในเมืองไทย ส่งไปหล่อทองแดงที่ประเทศอิตาลี เสร็จทันมาติดตั้ง ที่เชิงสะพานพุทธยอดฟ้า เพื่อเปิดสะพาน และฉลองกรุงครบ ๑๕๐ ปีเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕

หลังจากการฉลองกรุงไม่กี่วันก็เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้นในประเทศไทย โดยคณะทหารและพลเรือน อำนาจการปกครอง และการบริหารประเทศ จึงไม่ตกอยู่กับพระมหากษัตริย์อีกต่อไป การสร้างงานศิลปกรรม ซึ่งแต่เดิมอยู่ในความดูแลของราชสำนัก ซึ่งมีพระมหากษัตริย์ทรงส่งเสริม ก็สิ้นสุดลง วิถีการดำเนินชีวิต ความรู้สึกนึกคิดของประชาชนเปลี่ยนแปลงไป คณะรัฐบาลมุ่งพัฒนาประเทศ ทางด้านวัตถุมากกว่าการพัฒนาด้านจิตใจ โดยเฉพาะทางศิลปะ การสร้างงานศิลปกรรมยุคต่อมา ล้วนต้องต่อสู้ดิ้นรนอยู่ในวงแคบๆ แต่กระนั้นการต่อสู้ดิ้นรน เพื่อให้สังคมเห็นคุณค่าในงานศิลปะ ยังดำเนินต่อไป โดยมีศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี เป็นผู้นำ เพื่อทำให้ผู้นำประเทศ และคนทั่วไปเห็นคุณค่า ท่านต้องทำงานอย่างหนัก กล่าวคือ นอกจากงานปั้นอนุสาวรีย์ที่สำคัญแล้ว ท่านยังได้วางแนวทางการศึกษาศิลปะ โดยหาทางจัดตั้งโรงเรียนประณีตศิลปกรรมขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗ ซึ่งต่อมาขยายตัวขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๖ จัดให้มีการเรียนการสอน ทั้งด้านจิตรกรรม และประติมากรรม ซึ่งการศึกษา และการสร้างงานประติมากรรม ต่อมาเปลี่ยนไปตามการพัฒนาวัฒนธรรมของสังคม ที่ต้องการพึ่งพาพลังงานใหม่ๆ ภายใต้อิทธิพลทางวิทยาศาสตร์ เศรษฐกิจ การเมือง และอื่นๆ ซึ่งเป็นการก้าวหน้าแห่งยุค โดยเฉพาะในรัชกาลปัจจุบัน การสื่อสาร และการคมนาคมเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทั่วถึงเกือบทุกมุมโลก มีลัทธิทางศิลปะเกิดขึ้นมากมาย ทั้งในยุโรป และสหรัฐอเมริกา และได้แพร่หลายเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยด้วย ประติมากรรมจึงเข้าสู่รูปแบบของศิลปะร่วมสมัย เป็นการแสดงออกทางด้านการสร้างสรรค์ ที่มีอิสระ ทั้งความคิด เนื้อหาสาระ และเทคนิคการสร้างงาน สุดแต่ศิลปินจะใฝ่หา งานศิลปะที่แสดงออกมานั้น จึงเป็นสัญลักษณ์สำคัญ ที่สะท้อนถึงเอกลักษณ์ใหม่ ของวัฒนธรรมไทยอีกรูปแบบหนึ่ง

ภูมิปัญญา เรื่อง การทอผ้า

การทอผ้าเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ที่คนไทยรุ่นปัจจุบันต้องช่วยกันอนุรักษ์ไว้ในสมัยก่อน ผู้หญิงไทยจะทำเครื่องใช้ต่างๆ ในบ้านเอง งานสำคัญอย่างหนึ่งคือการทำเสื้อผ้า ผ้านุ่ง ผ้าห่ม ไว้ใช้กันในครอบครัว ในพิธีกรรมต่างๆ เกี่ยวกับการเกิด การบวช การแต่งงาน การตาย ก็ต้องใช้ผ้า ผ้าทอจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตคนไทย

 
ประติมากรรมรูปเหมือนเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยที่พบนั้น

กรรมวิธีและเทคนิคในการทอผ้าให้เกิดลวดลายต่างๆ เป็นเทคนิคและ ความสามารถของแต่ละคน

หลักใหญ่ของการทอผ้าก็คือ การนำเส้นฝ้ายหรือไหมมาขัดกันให้เป็นลาย โดยขึงเส้นกลุ่มหนึ่งเป็นหลัก เรียกว่า เส้นยืน

 
ประติมากรรมรูปเหมือนเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยที่พบนั้น

แล้วใช้อีกเส้นหนึ่ง เรียกว่าเส้นพุ่ง สอดตามขวางของเส้นยืน เมื่อสานขัดกันก็จะเกิดลวดลายต่างๆ

ผ้าบางชนิด ผู้ทอจะคิดหาวิธีสอดด้ายและสอดสีสลับกัน บางวิธีก็จะจับผูกและมัดเน้นเป็นช่วงๆ หรืออาจจะยกด้ายที่ทอเป็นระยะๆทำให้เกิดลวดลายสวยงาม

ผู้ทอต้องสามารถจดจำลวดลายที่ตนคิดประดิษฐ์ได้ ถึงแม้แต่ละลวดลายจะมีความซับซ้อนและหลากหลาย แต่เขาก็สามารถนำมาประสานกันได้อย่างเหมาะเจาะงดงามแสดงถึงภูมิปัญญาและความสามารถของชาวชนบทเป็นอย่างดี

ผ้าทอมือจึงมีเทคนิคการทอและความสวยงามเป็นที่สุด

ผ้าทอของชาวบ้านมีรูปแบบ ระเบียบลาย ที่บ่งชี้ถึงกลุ่มของคนไทยสายต่างๆ ได้

ผ้าซิ่นที่นุ่ง ก็มีการทอให้แตกต่างกัน สามารถบอกได้ว่า หญิงคนใดยังเป็นโสดและหญิงคนใดแต่งงานแล้ว

 
ประติมากรรมรูปเหมือนเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยที่พบนั้น

ผ้าซิ่นของหญิงมีสามีจะเป็นซิ่นที่นำผ้าสามชิ้นมาต่อกัน แบ่งเป็นส่วนบน ส่วนกลาง และส่วนเชิงแต่ละส่วนจะทอเป็นลวดลายแตกต่างกันทั้ง 3 ส่วน

ผ้าซิ่นของหญิงสาวจะเป็นผ้าผืนเดียวกันตลอดทั้งผืน อาจใช้วิธีมัดหมี่เป็นดอกเป็นลวดลายอย่างเดียวสวยงามมาก

 
ประติมากรรมรูปเหมือนเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยที่พบนั้น

ชายผ้าซิ่นแทบทุกผืนจะมีวิธีทำลวดลายแปลกๆ เช่น อาจจะจกไหมสลับกับฝ้ายในรูปแบบของการทอผสมปักกลายๆ แต่แทนที่จะใช้เข็มปัก เขาจะใช้ขนเม่นทำลวดลาย วิธีนี้เรียกว่า จก แต่ละบ้านจะมีลวดลายของตน

ผ้าตีนจกที่นิยมกันมากคือ ผ้าตีนจกของหาดเสี้ยว จังหวัดสุโขทัย เป็นศิลปะพื้นบ้านลวดลายสวย สีงาม งานประณีต

นอกจากผ้ามัดหมี่ ผ้าจกแล้ว ยังมีผ้าแพรวาซึ่งใช้เป็นผ้าคลุมไหล่ หรือห่มเฉียงไหล่ผ้าขิตซึ่งมีลวดลายเป็น แนวเดียวกันตลอด นิยมใช้ทำหมอน ผ้าปูโต๊ะ ผ้าคลุมเตียง ผ้ายกดอก

เป็นศิลปะการทออีกแบบหนึ่งคล้ายกับผ้าขิตแต่จะทอด้วยไหมทั้งผืน และยกดิ้นเงินหรือดิ้นทอง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีชื่อเสียงในการทอผ้ายก เรียกว่า ผ้ายกเมืองนคร

 
ประติมากรรมรูปเหมือนเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยที่พบนั้น

ผ้าพื้นและผ้าอื่นๆ ส่วนใหญ่เป็นผ้าที่ทอใช้กันทั่วๆ ไปในชีวิตประจำวัน เช่น ผ้าโสร่ง ผ้าขาวม้า เป็นส้นขัดตาตารางหรือเป็นลายเส้นธรรมดา

วัตถุดิบที่ใช้ในการทอผ้า

วัตถุดิบ ที่นิยมนำมาใช้ทอผ้า ได้แก่ ไหม ฝ้าย และขนสัตว์นั้น นักวิชาการเชื่อกันว่า มีกำเนิดจากดินแดนอื่นนอกประเทศไทย ไหมนั้นเชื่อว่ามีต้นกำเนิดมาจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนแล้วนำไปเผยแพร่ในญี่ปุ่น อินเดีย รวมทั้งดินแดนต่างๆ ในเอเชีย และยุโรป ส่วนฝ้ายเชื่อกันว่าอาจมาจากอาหรับและเผยแพร่เข้ามาใช้กันอย่างกว้างขวางในอินเดียก่อน จึงเข้ามาในแถบประเทศไทย และประเทศใกล้เคียงภายหลัง จนกลายเป็นพืชพื้นเมืองในแถบนี้ไป สำหรับขนสัตว์เป็นวัสดุที่เหมาะกับอากาศหนาว เชื่อกันว่านำมาใช้ทำผ้าในยุโรปตอนเหนือก่อน แล้วจึงแพร่หลายไปสู่ดินแดนอื่นๆ

การทอผ้าแบบพื้นบ้าน พื้นเมืองในภูมิภาคต่างๆ

            ในปัจจุบันการทอผ้าพื้นบ้านพื้นเมืองหลายแห่งยังทอลวดลาย สัญลักษณ์ดั้งเดิม โดยเฉพาะในชุมชนที่มีเชื้อสายชาติพันธุ์บางกลุ่มที่กระจายตัวกันอยู่ในภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย ศิลปะการทอผ้าของกลุ่มชนเหล่านี้จึงนับว่าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่มอยู่จนถึงทุกวันนี้ หากจะแบ่งผ้าพื้นเมืองของกลุ่มชนเหล่านี้ตามภาคต่าง ๆ เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น ก็อาจจะแบ่งคร่าว ๆ ได้ดังนี้

๑. การทอผ้าในภาคเหนือแถบล้านนาไทย

          ๒. การทอผ้าในภาคกลาง ในภาคกลางตอนบน

          ๓. การทอผ้าในภาคอีสาน

          ๔. การทอผ้าในภาคใต้

ลวดลายและสัญลักษณ์ในผ้าไทยเป็นอย่างไร

ผ้าพื้นบ้านพื้นเมืองของไทยที่ทอกันตามท้องถิ่นต่าง ๆ ในปัจจุบันนี้เต็มไปด้วยลวดลายและสัญลักษณ์ต่าง ๆ มากมาย ซึ่งผู้ใช้ผ้าในยุคปัจจุบันอาจไม่เข้าใจความหมายและมองไม่เห็นคุณค่า

ลวดลายและสัญลักษณ์เหล่านี้ บางลายก็มีชื่อเรียกสืบต่อกันมาหลายชั่วคน บางชื่อก็เป็นภาษาท้องถิ่นไม่เป็นที่เข้าใจของรนไทยในภาคอื่น ๆ เช่น ลายเอี้ย ลายบักจัน ฯลฯ บางชื่อก็เรียกกันมาโดยไม่รู้ประวัติ เช่น ลายแมงมุม ลายปลาหมึก ซึ่งแม้แต่ผู้ทอก็อธิบายไม่ได้ ว่าทำไมจึงเรียกชื่อนั้น บางลวดลายก็มีผู้ตั้งชื่อให้ใหม่ เช่นลาย"ขอพระเทพ" เป็นต้น สัญลักษณ์และลวดลายบางอย่างก็เชื่อมโยงกับคติและความเชื่อของคนไทยพื้นบ้านที่นับถือสืบต่อกันมาหลาย ๆ ชั่วอายุคน และยังสามารถเชื่อมโยงกับลวดลายที่ปรากฏอยู่ในศิลปะอื่น ๆ เช่น บนจิตรกรรมฝาผนัง และสถาปัตยกรรม หรือบางทีก็มีกล่าวถึงใน ตำนานพื้นบ้าน และในวรรณคดี เป็นต้น

          บางลวดลายก็เป็นคติร่วมกับความเชื่อสากลและปรากฏอยู่ในศิลปะของหลายชาติ เช่น ลายขอหรือลายก้นหอย เป็นต้น ซึ่งนับว่าเป็นลายเก่าแก่แต่โบราณของหลายๆ ประเทศทั่วโลก หากเรารู้จักสังเกตและศึกษาเปรียบเทียบแล้วก็จะเข้าใจลวดลายและสัญลักษณ์ในผ้าพื้นเมืองของไทยได้มากขึ้น และมองเห็นคุณค่าได้ลึกซึ้งขึ้น

ลวดลายต้นแบบ สามารถแบ่งเป็น ๔ ประเภท ได้แก่

๑. ลายเส้นตรง หรือเส้นขาด

๒. ลายฟันปลา

๓. ลายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หรือลายกากบาท

๔. ลายขดเป็นวงเหมือนก้นหอย หรือตะขอ

ลวดลายที่เชื่อมโยงกับความเชื่อพื้นบ้านอย่างเห็นได้ชัดมีอะไรบ้าง

ลวดลายและสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในศิลปะผ้าทอไทยนั้นเชื่อกันว่ามีความเชื่อมโยงกับคติความเชื่อของคนไทยที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ เราอาจศึกษาเปรียบเทียบลวดลายสัญลักษณ์เหล่านี้กับสัญลักษณ์อย่างเดียวกันที่ปรากฏอยู่ในศิลปะประเภทอื่น ๆ เช่น ในจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม และแม้แต่ในตำนานพื้นบ้านที่เล่าขานสืบต่อกันมา หรือในวรรณกรรมต่าง ๆ ลวดลายที่เชื่อมโยงกับความเชื่อพื้นบ้านไทยอย่างเห็นได้ชัด มีดังนี้

สัญลักษณ์งูหรือนาค งูหรือนาคปรากฏอยู่ในลายผ้าพื้นเมืองของคนไทยกลุ่มต่างๆ เกือบทุกภูมิภาคของประเทศ โดยเฉพาะในล้านนาและในอีสาน นอกจากนี้ยังพบในศิลปะของกลุ่มคนที่พูดภาษาตระกูลไท ที่อาศัยอยู่นอกดินแดนของไทยในปัจจุบัน เช่น ในสิบสองปันนา ในลาว อีกด้วย

ในแถบลุ่มแม่น้ำโขง คนไทยและคนลาวต่างมีความเชื่อสืบทอดกันมา เรื่องพญานาค ซึ่งอาศัยอยู่ที่เมืองบาดาลใต้แม่น้ำโขง จนกระทั่ง ทุกวันนี้ผู้คนในแถบนั้นก็ยังเชื่อว่าเวลามีงานบุญประเพณี เช่น งานไหลเรือไฟ พญานาคก็จะขึ้นมาเล่นลูกไฟด้วย ดังที่มีผู้เห็นลูกไฟขึ้น จากลำน้ำในช่วงเทศกาลงานไหลเรือไฟเป็นประจำเกือบทุกปี

สัญลักษณ์นกหรือห่านหรือหงส์ นกหรือหงส์เป็นสัญลักษณ์สำคัญที่ปรากฏอยู่ในศิลปะผ้าทอพื้นบ้านในภาคเหนือของไทยเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ก็มีปรากฏมากในผ้าทอมือของลาวสิบสองปันนา และในหมู่พวกคนไทในเวียดนาม

ในสถาปัตยกรรมล้านนาและล้านช้างจะพบนกหรือหงส์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญประดับอยู่บนหลังคาโบสถ์ คู่กับสัญลักษณ์นาค หรือบางแห่งก็มีแต่หงส์ประดับอยู่ตามจุดต่าง ๆ ในวัดในสิบสองปันนา สัญลักษณ์นกหรือหงส์หรือนกยูง จะปรากฏอยู่ทั่วไปทั้งในจิตรกรรม สถาปัตยกรรม และบนผืนผ้า นกยูงเป็นสัญลักษณ์ที่ รัฐบาลจีนปัจจุบัน ได้นำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของยูนาน และได้มีการประดิษฐ์นาฏลีลาสมัยใหม่ซึ่งใช้แสดงเป็นสัญลักษณ์ของชาวไทลื้อในสิบสอบปันนา เรียกว่า ระบำนกยูง

การทอลายขิต คือการคัดเก็บยกเส้นด้ายยืนพิเศษ ให้เกิดเป็นลวดลาย แล้วสอดเส้นด้ายพุ่งไปตลอดแนวของความกว้างของหน้าผ้า ทำให้เกิดลายขิตในแต่ละแถวเป็นลายขิตสีเดียวกัน

การยก เป็นเทคนิคการทอยกลายให้เห็นเด่นชัด มีลักษณะคล้ายกับการทอลายขิต แต่ใช้เส้นพุ่งพิเศษ เช่น ไหม ดิ้นเงิน ดิ้นทอง มีชายมีเชิง ซึ่งขั้นตอนยุ่งยากกว่าผ้าทอลายขิตมาก

การจก เป็นเทคนิคการทอลวดลายบนผืนผ้า ด้วยวิธีการเพิ่มด้ายพุ่งพิเศษเข้าไปขณะที่ทอเป็นช่วง ๆ ไม่ติดต่อกันตลอดหน้ากว้างของผ้ากระทำโดยใช้ไม้หรือขนเม่นหรือนิ้วมือ ยกหรือจกด้วยเส้นยืนขึ้น แล้วสอดเส้นพุ่งพิเศษต่อไปตามจังหวะของลวดลาย สามารถสลับสีได้หลากหลายสี

การทอลายน้ำไหล เป็นเทคนิคการทอแบบลายขัดธรรมดา แต่ใช้ด้ายหลากสีพุ่งเกาะเกี่ยวกันเป็นช่วง ๆ ให้เกิดจังหวะของลายน้ำไหล เป็นลักษณะเฉพาะของชาวเมืองน่าน เรียกกรรมวิธีการทอนี้ว่า "ล้วง" แต่ชาวไทลื้อ อำเภอเชียงของ และเชียงคำ จังหวัดเชียงราย เรียกว่า "เกาะ" เทคนิคนี้อาจดัดแปลงพัฒนาเป็นลายอื่น ๆ เรียกว่าลายผักแว่น ลายจรวด ฯลฯ เป็นต้น

 การยกมุก เป็นเทคนิคการทอ โดยใช้เส้นยืนพิเศษเพิ่มบนกี่ทอผ้าลายยกบนผ้าเกิดจากการใช้ตะกอลอยยกด้ายยืนพิเศษ ลวดลายที่เกิดจากเทคนิคนี้คล้ายกันมากกับลวดลายที่เกิดจากเทคนิค ขิต จก แทบจะแยกไม่ได้เลยสำหรับผู้ที่ไม่เข้าใจเรื่องเทคนิคการทอผ้าที่ลึกซึ้ง ชาวไทยพวนที่ตำบลหาดเสี้ยว จังหวัดสุโขทัย และที่ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ใช้เทคนิคนี้ในการทอส่วนที่เป็นตัวซิ่น บางครั้งอาจจะนำเชิงซิ่นมาต่อเป็นตีนจกเรียกว่า ซิ่นมุก

 การมัดหมี่ เป็นเทคนิคการมัดเส้นพุ่งหรือเส้นยืน ให้เป็นลวดลายด้วยเชือกกล้วยหรือเชือกฟางก่อนนำไปย้อมสี แล้วกรอด้ายให้เรียงตามลวดลาย ร้อยใส่เชือกแล้วนำมาทอ จะได้ลายมัดหมี่ที่เป็นทางกว้างของผ้า เรียกว่า มัดหมี่ เส้นพุ่ง ซึ่งเป็นที่นิยมในบ้านเรา มีการทำผ้ามัดหมี่เส้นยืนบ้างในบางจังหวัดเช่นจังหวัดเชียงใหม่แม่ฮ่องสอน ราชบุรี เพชรบุรี ส่วนใหญ่เป็นผ้าชาวเขา บางผืนใช้การทอสลับกับลายขิต ซึ่งช่วยเพิ่มความวิจิตรงดงามให้แก่ผืนผ้า

ปัญหาในการอนุรักษ์และสืบทอดศิลปะผ้าไทยมีอะไรบ้าง

            ศิลปะผ้าทอไทยอันมีประวัติยาวนานและมีความมั่งคั่งหลากหลาย ซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณจนทุกวันนี้ ตกอยู่ในมือของคนรุ่นเราและรุ่นหลังจะรักษาต่อไป หน่วยงานหลาย ๆ หน่วยงานทั้งของรัฐบาลและเอกชนต่างก็ช่วยกันดำเนินการรับสนองพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในเรื่องการศึกษา ส่งเสริมและพัฒนาศิลปะผ้าทอของไทย อย่างไรก็ตามเท่าที่ได้มีการศึกษา สำรวจปัญหาต่าง ๆ พบว่ายังมีปัญหาในการส่งเสริมและพัฒนาศิลปะการทอผ้าไทยอยู่ดังนี้

๑. ศิลปหัตถกรรมในหลาย ๆ ท้องถิ่นยังถูกละเลย การผลิตศิลปหัตถกรรมกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปไม่มีแหล่งรวมในบางท้องถิ่น

๒. ขาดการกระตุ้นหรือประกวดให้ผลิตผลงานที่มีคุณภาพมาก ๆ ขึ้น

๓. ผู้มีฝีมือเปลี่ยนไปประกอบอาชีพอย่างอื่น

๔. ไม่รักษาคุณภาพให้สม่ำเสมอ เมื่อผ้าทอมือขายดีจะผลิตผ้าที่ด้อยฝีมือมาขายแทน ช่างทอก็มีคุณภาพด้อยลง และมีจำนวนน้อยลงเรื่อย ๆ

๕. ช่างฝีมือคุณภาพดีมักทำงานได้ช้าขายยาก เพราะต้องขายราคาแพงให้คุ้มกับเวลา หมดกำลังใจ ขาดการส่งเสริม ช่างทอฝีมือดี หลายคนยังไม่มีคนรู้จักและเห็นคุณค่า

๖. ช่างฝีมือขาดการแข่งขันทางความคิด

๗. การถ่ายทอดทำกันในวงจำกัด ขาดตัวผู้สืบทอดอย่างจริงจังและกว้างขวาง

 แหล่งอ้างอิง 

http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=14&chap=3&page=t14...

http://student.swu.ac.th/hm471010393/culture.htm

แหล่งอ้างอิง: 

http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=14&chap=3&page=t14-3-infodetail09.html