ความ หมาย ของจดหมายธุรกิจ ไทย แบบ ราชการ

บทที่๑ จดหมายคืออะไร

จดหมาย เป็นเครื่องมือในการส่งสารชนิดหนึ่ง เนื้อหาในจดหมายขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้ส่งว่าต้องการเล่าเรื่องสอบถาม แสดงความคิดเห็น หรือแสดงความคิดเห็นหรือแสดงความรู้สึกส่วนการใช้ภาษาจะเป็นระดับใดขึ้นอยู่กับเนื้อหา ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งกับผู้รับและสถานภาพทางสังคม

    จดหมายอาจมีรูปแบบการเขียนที่ตายตัวสำหรับการใช้งานอย่างเป็นทางการเช่น จดหมายราชการ จดหมายเพื่อการติดต่อทางธุรกิจ ส่วนใหญ่จะประกอบด้วย ชื่อและที่อยู่ของผู้เขียนวันที่เขียน ชื่อและที่อยู่ของผู้รับ หัวเรื่อง เนื้อความ คำลงท้าย และลายเซ็น และอาจมีตราประทับหรือเครื่องหมายอื่นๆตามรูปแบบที่กำหนด

บทที่๒ ประเภทของจดหมาย

๑.จดหมายส่วนตัว
จดหมายส่วนตัวเป็นจดหมายที่เขียนติดต่อระหว่างบุคคลที่คุ้นเคยกัน อาจเป็นญาติสนิทครู อาจารย์ เพื่อไต่ถามทุกข์สุขส่วนตัว เล่าเรื่องราวที่พบเห็นมา แสดงเสียใจแสดงความยินดีหรือขอบคุณ หรือแจ้งกิจธุระบางอย่างที่มีความเกี่ยวข้องกันระหว่างผู้ส่งกับผู้รับ
๒. จดหมายธุรกิจ
จดหมายธุรกิจ เป็นจดหมายที่บุคคลเขียนติดต่อกันระหว่างบริษัท ห้างร้านและองค์กรต่างๆเพื่อติดต่อกันเรื่องเกี่ยวกับธุรกิจ พาณิชยกรรม และการเงิน
๓.จดหมายกิจธุระ
จดหมายกิจธุระ เป็นจดหมายที่บุคคลเขียนติดต่อกับบุคคลอื่น หรือระหว่างบุคคลกับบริษัทห้างร้าน องค์กร เพื่อแจ้งธุระต่างๆเช่น นัดหมาย ขอสมัครงานขอทราบผลสอบบรรจุพนักงาน ขอความช่วยเหลือและขอคำแนะนำเพื่อประโยชน์ในด้านการงานต่างๆ
๔.จดหมายราชการ
จดหมายราชการ หรือที่เรียกว่าหนังสือราชการเป็นจดหมายที่เขียนติดต่อระหว่างราชการต่างๆหรือบุคคลเขียนไปถึงส่วนราชการ หรือส่วนราชการมีไปถึงราชการด้วยกันเองตลอดจนส่วนราชการนั้นเขียนไปถึงส่วนราชการนั้นเขียนไปถึงตัวบุคคลการเขียนจดหมายราชการตามระเบียงงานสารบรรณด้วยข้อความในหนังสือดังกล่าวถือว่าเป็นหลักฐานทางราชการ มีสภาพผูกมัดถาวรดังนั้นจึงเขียนให้กระจ่างและชัดเจน

บทที่๓ ส่วนประกอบและรูปแบบของจดหมาย

ส่วนประกอบของจดหมาย
๑. สถานที่เขียน ควรบอกให้ชัดเจนจากหน่วยย่อยไปหาหน่วยใหญ่
๒. วัน เดือน ปี ใช้แบบจดหมายราชการ ดังนี้  ๑๕ มีนาคม ๒๕๔๗
๓. คำขึ้นต้น ใช้ให้เหมาะสมกับบุคคล
๔. ใจความหรือเนื้อความ ถ้ามีเรื่องจะต้องเขียนมากควรแบ่งเป็นตอน ๆถ้าจะเขียนเรื่องใหม่ก็ขึ้นบรรทัดใหม่ ย่อหน้าไม่ควรเขียนติดต่อกันเพียงย่อหน้าเดียว
๕. คำลงท้ายต้องใช้ให้สัมพันธ์กับคำขึ้นต้นและใช้ให้ถูกต้องตามฐานะของบุคคล                                                                           

๖.ชื่อผู้เขียน ถ้าใช้ลายเซ็นต้องวงเล็บชื่อนามสกุลไว้ใต้ลายเซ็นด้วยลายมือที่อ่านง่ายชัดเจนหากมีตำแหน่งหน้าที่การงานหรือติดต่อในฐานะตำแหน่งนั้นก็ให้บอกตำแหน่งหน้าที่นั้น

การวางรูปแบบของจดหมาย
การวางรูปแบบของจดหมายควรจัดระยะให้พอเหมาะเพื่อให้สวยงาม จึงควรเว้นริมที่ขอบกระดาษทั้งสองด้านไว้ประมาณ ๑ นิ้วและวางส่วนอื่น ๆ ตามลำดับดังนี้
ที่อยู่ หรือสถานที่เขียนจดหมาย มุมบนขวามือห่างจากกลางหน้ากระดาษ ๑นิ้ว
วัน เดือน ปี                          กึ่งกลางหน้ากระดาษ
คำขึ้นต้น       ห่างจากริมกระดาษทางด้านซ้ายมือ๑ นิ้ว
เนื้อความของจดหมาย      ย่อหน้าจากคำขึ้นต้น ๑ นิ้ว
คำลงท้าย       ตรงกับวันที่
ชื่อผู้เขียน      อยู่ใต้คำลงท้ายถอยหลังไปประมาณ ครึ่งนิ้ว
รับรองของบุคคล (ถ้ามี)         ตรงกับคำขึ้นต้น
ชื่อของบุคคล                     กึ่งกลางระหว่างเนื้อความ                                 

รูปแบบจดหมาย(ทั่วไป)                                                                                                                                          

ที่อยู่………………

                              วันที่…………

คำขึ้นต้น

เนื้อหา ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

                                                       คำลงท้าย

                                ชื่อผู้ส่ง……………..

บทที่๔ภาษาและหลักการเขียนจดหมาย

      การเขียนจดหมายเป็นการติดต่อสื่อสารวิธีหนึ่งที่อำนวยความสะดวกและประหยัดค่าใช้จ่ายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการเขียนจดหมาย คือการใช้ภาษาเพื่อสื่อสารได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้เขียนและสอดคล้องกับประเภทของจดหมาย ตลอดจนคำนึงถึงกาลเทศะระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร
. กลวิธีในการเขียนจดหมาย
๑. เขียนข้อความให้ชัดเจน ใช้ถ้อยคำสุภาพ กะทัดรัด สละสลวย ไม่อ้อมค้อมและต้องใช้ภาษาที่สำรวมมากกว่าภาษาพูด
๒. เขียนด้วยลายมือเรียบร้อย อ่านง่าย
๓. ใช้ภาษาถูกต้องตามลักษณะการใช้ภาษาและตามความนิยม
๔. เขียนถูกต้องตามแบบฟอร์มที่รับรองกัน

๒.  หลักการทั่วไปในการเขียนจดหมาย การเขียนจดหมายควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

๒.๑ การใช้ถ้อยคำ   จดหมายที่ต้องใช้ถ้อยคำในการเขียนให้ถูกต้องเหมาะสม
กับประเภทของจดหมายและผู้รับจดหมายด้วยหลักการใช้ถ้อยคำสำหรับการเขียนจดหมายมีดังนี้

๑คำขึ้นต้นจดหมาย                                                                           

คำที่ใช้ขึ้นต้นในจดหมายโดยทั่วไปมีดังนี้

กราบเรียนใช้กับผู้ที่มีอาวุโสสูงกว่าเช่น กราบเรียน คุณย่า

เรียนใช้เพื่อแสดงความสุภาพโดยทั่วไปเช่น เรียน บรรณาธิการ

ถึงใช้กับผู้ที่มีอาวุโสอ่อนกว่าที่รู้จักคุ้นเคยกันเช่น ถึงหลานอ้อย

สวัสดีใช้ระหว่างผู้ที่มีสถานภาพเท่าเทียมกัน รู้จักสนิทสนมกันมักใช้ในจดหมายส่วนตัวเช่น สวัสดีแต้ว

การเขียนคำขึ้นต้นจดหมายที่กล่าวมาแล้วนั้นอาจเพิ่มส่วนขยายเพื่อให้สุขภาพและแสดงความสนิทสนมได้อีกด้วย เช่นกราบเรียนคุณย่าที่เคารพรักอย่างสูง

๒การใช้คำสรรพนาม

คำสรรพนามบุรุษที่๑ 
จดหมายทั้ง ๒ ฉบับ
(ในบทเรียน) ผู้เขียนเป็นผู้หญิงและอายุน้อยกว่าผู้รับจดหมายจึงใช้คำสรรพนามว่า หนูแทนตนเอง การใช้คำสรรพนามในจดหมายโดยทั่วไปขึ้นอยู่กับความเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการของจดหมายและความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งจดหมายกับผู้รับ

ระดับทางการ

                                ชายใช้ว่า   - กระผม ผม

                                หญิงใช้ว่า  - ดิฉัน

                ระดับไม่เป็นทางการ

                                ชายใช้ว่า  -  ฉันเรา ชื่อเล่น คำเรียนญาติ

                                หญิงใช้ว่า  -  ฉันเรา หนู ชื่อเล่น คำเรียกญาติ

คำสรรพนามบุรุษที่๒

จดหมายฉบับที่๑(ในบทเรียน)เลือกใช้คำสรรพนามบุรุษที่ ๒ เป็นคำเรียกญาติคือ คุณป้าเนื่องจากคนไทยนิยมใช้คำเรียกญาติเป็นคำสรรพนามเรียกผู้อื่นที่ไม่ใช่ญาติด้วย เช่นเรียกแม่ค้า ว่า ป้า เรียกคนขายของว่า พี่ หรือ น้าเรียกเด็กส่งอาหารและเก็บโต๊ะว่า น้อง จะเห็นว่า คุณป้าในจดหมายฉบับที่หนึ่งจะแตกต่างกับ น้า ที่เป็นคนขายของ ค่ำว่า คุณป้าแสดงว่าผู้เขียนนับถือและยกย่องผู้รับจดหมายเป็นญาติผู้ใหญ่

ระดับทางการใช้ว่า   ท่าน หรือ คุณ

ระดับไม่เป็นทางการใช้ว่า  นาย เธอ ชื่อเล่น หรือคำเรียกญาติ

๓การใช้คำลงท้ายจดหมาย

                ผู้เขียนควรเลือกคำลงท้ายให้สอดคล้องกับคำขึ้นต้นตามความสัมพันธ์ระหว่างผู้เขียนและผู้รับเช่น

                คำขึ้นต้น                                                                                    คำลงท้าย

กราบเรียน..  ที่เคารพอย่างสูง                                                ด้วยความเคารพอย่างสูง

ด้วยความเคารพ                                                                      เรียน.... ที่เคารพ   

เรียน..ที่นับถือ                                                                       ด้วยความเคารพ

ถึง..เพื่อนรัก,                                                                         รัก, คิดถึง, รักและคิดถึง,

....ที่รัก                                                                                    ด้วยความรัก,ด้วยความคิดถึง

สวัสดีค่ะ                                                                                 สวัสดีค่ะ

๔การใช้คำตามระดับภาษา

     ระดับภาษา หมายถึงถ้อยคำที่สัมพันธ์กับสถานะของบุคคล โอกาสและกาลเทศะที่ใช้ในการสื่อสารระดับภาษาที่ใช้ในการเขียนจดหมายอาจแบ่งได้เป็น ๓ ระดับ คือภาษาไม่เป็นทางการภาษากึ่งทางการ และภาษาทางการ ดังตัวอย่าง

ภาษาไม่เป็นทางการ                              ภาษากึ่งทางการ                     ภาษาทางการ

อยาก                                                       ต้องการ                                    ประสงค์

เจอะ,เจอ                                                                พบ                                                     พบ

เชิญ                                                         เรียนเชิญ                                                  เรียนเชิญ             

แยะ,เยอะ,เยอะแยะ                              มาก                                                  จำนวนมาก

แป๊บเดียว,เดี๋ยวเดียว                              สักครู่,  ไม่นาน                      สักครู่, ไม่นาน

ภาษาไม่เป็นทางการ                              ภาษากึ่งทางการ                     ภาษาทางการ

แค่                                                           เพียง                                                  เพียง

หน่อยเดียว                                             น้อย,ไม่มาก                                    ไม่มาก

เอาไป                                                     นำไป                                                นำไป

พอ                                                          เมื่อ                                                   เมื่อ, ครั้น

ยังงี้                                                          อย่างนี้                                            เช่นนี้, เป็นดังนี้

คำนำหน้านาม

                คำนำหน้านาม แบ่งได้เป็น ๓ กลุ่มดังนี้

๑.      

คำนำหน้านามตามฐานะของบุคคล

๑.๑บุคคลธรรมดาตั้งแต่เกิดจนถึงอายุ ๑๔ ปี จะใช้คำนำหน้านามว่า เด็กหญิง หรือเด็กชายตามเพศของเด็ก ใช้ย่อว่า ด.ญ.หรือ ด.ช. เช่น

                เด็กหญิงสมสมัย  รักความดี

เด็กชายสุภาพ  หมั่นเพียร
  เมื่อมีอายุครบ ๑๕ ปีจะเปลี่ยนคำนำหน้านามจากเด็กหญิง เป็นนางสาว ย่อว่า น.ส.  และเปลี่ยนเด็กชาย เป็น นายเมื่อหญิงแต่งงานจะเปลี่ยนคำนำหน้านาม นางสาว เป็น นาง

                ๑.๒บุคคลที่เป็นพระราชวงศ์จะมีคำนำหน้านามตามศักดิ์ เช่นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หม่อนเจ้าหม่อนราชวงศ์ หม่อมหลวง ในภาษากึ่งทางการ ค่ำว่า หม่อนราชวงศ์ และหม่อนหลวงอาจใช้อักษรย่อว่า ม.ร.ว. และ ม.ล. ตามลำดับ เช่น

                                หม่อมราชวงศ์คึกฤทธ์ ปราโมช (ภาษาทางการ)

                                ม.ร.ว.ประกายฉัตร สุขสวัสดิ์ (ภาษากึ่งทางการ)

                                หม่อมหลวงจิรายุนพวงศ์ (ภาษาทางการ)

                                ม.ล. กัลยาณีจรูญโรจน์ (ภาษากึ่งทางการ)

๒.คำนำหน้านามตามยศ

                ผู้ที่เข้ารับราชการเป็นทหารตำรวจ จะมีคำบอกยศที่ได้รับพระราชทานเป็นคำนำหน้านามเช่น

                ยศทหารบก

                                จ่าสิบเอก                                ใช้ย่อว่า                  จ.ส.อ.

                                สิบโท                     ใช้ย่อว่า                  ส.ท.

                                ร้อยตรี                    ใช้ย่อว่า                  ร.ต.

                                พันโท                     ใช้ย่อว่า                  พ.ท.

                                พลเอก                    ใช่ย่อว่า                  พล.อ.

         ยศทหารเรือ

                                จ่าตรี                       ใช้ย่อว่า                  จ.ต.

                                เรือตรี                     ใช้ย่อว่า                  ร.ต.

                                นาวาโท                  ใช้ย่อว่า                  น.ท.

                                พลเรือเอก              ใช้ย่อว่า                  พล.ร.อ.

                ยศทหารอากาศ

                                เรืออากาศตรี          ใช้ย่อว่า                  ร.ต.

                                นาวาอากาศโท       ใช้ย่อว่า                  น.ท.

                                พลอากาศเอก         ใช้ย่อว่า                  พล.อ.อ.

           ยศตำรวจ

                                สิบตำรวจตรี          ใช้ย่อว่า                  ส.ต.ต.

                                ร้อยตำรวจตรี        ใช้ย่อว่า                  ร.ต.ต.

                                พันตำรวจโท         ใช้ย่อว่า                  พ.ต.ท.

                                พลตำรวจเอก         ใช้ย่อว่า                  พล.ต.อ.

. คำนำหน้านามบอกอาชีพหรือตำแหน่ง

คำนำหน้านามที่บอกอาชีพหรือตำแหน่งมีเฉพาะบางอาชีพบางตำแหน่งเช่น ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์มหาวิทยาลัย หรือแพทย์ เป็นต้น

                                ผู้ช่วยศาสตราจารย์ใช้ย่อว่า                  ผ.ศ.

                                รองศาสตราจารย์                   ใช่ย่อว่า                  รศ.

                                ศาสตราจารย์                          ใช้ย่อว่า                  ศ.

                                นายแพทย์                              ใช้ย่อว่า                  นพ.

                                แพทย์หญิง                             ใช้ย่อว่า                  พญ.                        

นอกจากนี้ในภาษาไทยยังใช้คำบอกอาชีพของบุคคลหรือตำแหน่งอื่น ๆ เป็นคำนำหน้านามได้อีกคำนำหน้านามประเภทนี้จะใช้เฉพาะในภาษาพูดเท่านั้นเช่น หมอเสนอ กัปตันโยธิน  ดีเจสมเวตน์ หัวหน้าบังอร ช่างสมศักดิ์

บทที่๕ มารยาทในการเขียนจดหมาย

มารยาทในการเขียนจดหมาย
๑.ใช้กระดาษสีขาว  สีอ่อนหรือสีสุภาพเข้ากันกับซองไม่มีรอยยับหรือรอยฉีกขาดให้ได้มาตรฐานไม่ควรใช้กระดาษที่มีตราของทางราชการเขียนจดหมายส่วนตัว
๒. เขียนด้วยหมึกสีดำ สีน้ำเงิน ไม่ควรใช้ดินสอหรือหมึกแดงหมึกสีฉูดฉาดเพราะไม่สุภาพ ต้องเขียนตัวอักษรหรือตัวเลขให้ชัดเจน ไม่ขูด ลบ ขีดฆ่า หรือเขียนทับลงไป
๓. ไม่ใช้ซองที่มีลวดลายหรือสีเข้มมาก
๔. ไม่สอดธนบัตรหรือสิ่งของมีค่าลงในซองจดหมาย อาจหายได้
๕. ไม่บรรจุสิ่งของอื่นนอกจากจดหมายลงไปในซองจดหมาย เช่นกระดุม
๖. เมื่อได้รับจดหมายหรือไปรษณียภัณฑ์แล้ว ต้องรีบตอบโดยเร็วที่สุด
๗.จดหมายที่ส่งทางไปรษณีย์ ต้องผนึกดวงตราไปรษณีย์ยากรที่มุมบนด้านขวามือ ควรใช้ดวงตราไปรษณีย์ยากรให้น้อยที่สุด
๘.ผนึกดวงตราไปรษณีย์กากรให้ถูกต้องตามอัตราที่การสื่อสารกำหนดไว้
๙.ถ้าเขียนไปรษณียบัตร ควรใช้ถ้อยคำสั้น ๆ สุภาพเป็นข้อความที่เปิดเผยได้
๑๐.ไม่ใช้ภาษาพูดในการเขียนจดหมายควรใช้ภาษาเขียนมากกว่า
๑๑.ควรเขียนคำนำหน้าชื่อผู้รับบนจ่าหน้าให้ถูกต้อง ตามความนิยมและความเหมาะสม เช่นคุณ นายแพทย์ อาจารย์ หรือยศทางทหาร
๑๒.ไม่ควรใช้ซองที่ประทับตราเมล์อากาศส่งทางไปรษณีย์ธรรมดา
๑๓.ไม่ควรเขียนจดหมายถึงผู้อื่นในทำนองกล่าวหาว่าร้ายโดยไม่ลงชื่อผู้เขียน
๑๔.ถ้าต้องการเขียนข้อความเพิ่มเติมหลังจากจบจดหมายแล้ว ต้องเขียนคำว่าป.ล.(ปัจฉิมลิขิต) ก่อน
๑๕.เรียงลำดับเนื้อหาสาระให้เมาะสม ไม่กำกวม ถ้าเป็นจดหมายส่วนตัวควรมีถ้อยคำที่แสดงถึงความสัมพันธ์อันดี เช่น การถามทุกข์สุข