การปกครองท้องถิ่นของญี่ปุ่นระดับล่าง ได้แก่

ไม่ว่าจะเป็นการประกาศภาวะฉุกเฉินอย่างรวดเร็วของผู้ว่าราชการจังหวัดฮอกไกโด การทำงานแก้ปัญหาไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ของผู้ว่าราชการจังหวัดโตเกียวและโอซาก้า ช่วงนี้ผลงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ ของญี่ปุ่นกำลังเป็นที่จับตามองไม่แพ้รัฐบาลกลาง ทั้งจากสายตาของคนญี่ปุ่นเองและคนต่างชาติอย่างเราที่สนใจประเทศญี่ปุ่น

แม้จะมีปัจจัยในเรื่องของลักษณะบุคคลที่ขึ้นมาเป็นผู้นำในท้องถิ่นนั้นๆ ด้วยก็ตาม แต่ความน่าสนใจหนึ่งของปรากฏการณ์นี้ที่น่าจะจุดประกายให้คนต่างชาติอย่างเราหันมาสนใจ คือความเข้มแข็งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นญี่ปุ่นที่ทำให้บางจังหวัดสามารถรับมือสถานการณ์ได้อย่างเป็นเอกเทศและมีประสิทธิภาพกว่าพื้นที่อื่น ซึ่งในบทความนี้ เราจะมาทำความรู้จักองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นญี่ปุ่นและความเคลื่อนไหวในการเมืองญี่ปุ่นระดับท้องถิ่นที่น่าสนใจกัน

โครงสร้างระบบการปกครองท้องถิ่นของญี่ปุ่น

การปกครองท้องถิ่นของญี่ปุ่นระดับล่าง ได้แก่

โครงสร้างระบบการปกครองท้องถิ่นของญี่ปุ่น

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของญี่ปุ่นประกอบด้วย 2 ระดับหลักๆ ได้แก่ระดับจังหวัด (โทะโดฟุเค็น - 都道府県) และระดับเทศบาล (ชิโจซอน – 市町村) โดยในแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีผู้ว่าราชการจังหวัด นายกเทศมนตรี และประธานของเมืองและชุมชนทำงานร่วมกันในฐานะผู้นำของผู้บริหารท้องถิ่น

กลุ่มผู้บริหารท้องถิ่นเหล่านี้เป็นบุคคลที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนในพื้นที่นั้นๆ ซึ่ง Purnendra Jain (2004) ศาสตราจารย์ด้านเอเชียศึกษา University of Adelaide ประเทศออสเตรเลียได้ตั้งข้อสังเกตว่าการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรงของญี่ปุ่นมีข้อดีที่สามารถช่วยให้ผู้บริหารท้องถิ่นสามารถก้าวข้ามเกมการเมืองท้องถิ่นและการต่อต้านในระบบราชการที่อาจเกิดขึ้น และช่วยให้ผู้บริหารท้องถิ่นสามารถผลักดันนโยบายของตัวเองได้อย่างอิสระในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ การที่ผู้บริหารท้องถิ่นได้รับมอบอำนาจจากประชาชนในพื้นที่โดยตรง ยังเป็นการเอื้อให้ผู้บริหารท้องถิ่นสามารถก้าวขึ้นมามีบทบาทในฐานะผู้นำของพื้นที่นั้นๆ ได้มากกว่าฝ่ายการปกครองส่วนกลางของประเทศ

ทั้งนี้ อำนาจของผู้บริหารท้องถิ่นไม่ได้ถูกรวบอยู่ที่ผู้นำสูงสุดของท้องถิ่นนั้นๆ แต่ถูกกระจายอยู่ในบุคคลต่างๆ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารท้องถิ่น โดยผู้นำสูงสุดของกลุ่มผู้บริหารท้องถิ่นมีหน้าที่หลักคือการประสานงานดูแลฝ่ายต่างๆ ในท้องถิ่น ซึ่ง Ohsugi Satoru (大杉 覚) อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครโตเกียวตั้งข้อสังเกตว่าโครงสร้างนี้เอื้อต่อการป้องกันการกระจุกตัวของอำนาจบริหาร และช่วยให้กลุ่มผู้บริหารท้องถิ่นสามารถบริหารจัดการอย่างเป็นประชาธิปไตยได้ แต่ในขณะเดียวกัน โครงสร้างนี้อาจทำให้เกิดคตินิยมถิ่น (Sectionalism) ซึ่งเป็นการอุทิศต่อท้องถิ่นของตนมากกว่าประเทศโดยรวมได้ (Ohsugi, 2009) ดังนั้น การบริหารในส่วนของท้องถิ่นจึงยังต้องอยู่ในขอบเขตที่กฏหมายกำหนดอยู่

อย่างไรก็ตาม การเป็นผู้นำของผู้บริหารท้องถิ่นกำลังเผชิญโจทย์จากสังคมปัจจุบันและโลกาภิวัฒน์ที่ทำให้ผู้บริหารท้องถิ่นต้องเป็นมากกว่าผู้นำเท่านั้น

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นญี่ปุ่น หนึ่งในฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนญี่ปุ่นยุคใหม่

การปกครองท้องถิ่นของญี่ปุ่นระดับล่าง ได้แก่

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นญี่ปุ่น หนึ่งในฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนญี่ปุ่นยุคใหม่

ความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกิดขึ้นในช่วงปี 1990 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเปิดโปงการคอรัปชั่นในประเทศญี่ปุ่น ทำให้มีการจับตามองภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้นจากประชาชน จากเหตุการณ์นี้ ผู้นำท้องถิ่นกลุ่มปฏิรูป (改革派) จึงพยายามผลักดันให้รัฐบาลกลางให้ความเป็นอิสระในการบริหารจัดการท้องถิ่นมากขึ้นและให้การบริหารของรัฐเป็นไปอย่างโปร่งใสมากขึ้น รวมถึงความเคลื่อนไหวในระดับท้องถิ่นเพื่อแสดงประสิทธิภาพในการจัดการตนเองเพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารจัดการจากหน่วยล่างขึ้นไปยังหน่วยบนที่เป็นระดับของชาติ (Jain, 2004)

ข้อสังเกตหนึ่งที่น่าสนใจจาก Jain ในฐานะศาสตราจารย์ชาวต่างชาติผู้ติดตามกระแสการปกครองส่วนท้องถิ่นของญี่ปุ่นคือ การเปลี่ยนแปลงในช่วงปี 1990 นี้เป็นการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่มีปัจจัยหลายอย่าง รวมถึงกระแสโลกาภิวัฒน์และการพัฒนาของเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการติดตามและกระจายข่าวสารของประชาชน ซึ่งนำไปสู่การสนับสนุนให้มีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นมากขึ้น และการเรียกร้องความโปร่งใสในการบริหารของภาครัฐ จนเกิดเป็นบริบทที่ผู้บริหารท้องถิ่นต้องแสดงภาวะผู้นำต่อทั้งท้องถิ่นตนเองและทั้งประเทศญี่ปุ่น และต้องมีบทบาทในฐานะฟันเฟืองขับเคลื่อนการเมืองที่มีความรับผิดชอบ มีความสามารถ และมีความเป็นเอกเทศในระบอบการปกครองที่มีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น

กรณีตัวอย่างที่น่าสนใจของการบริหารท้องถิ่นเพื่อท้องถิ่น

การปกครองท้องถิ่นของญี่ปุ่นระดับล่าง ได้แก่

กรณีตัวอย่างที่น่าสนใจของการบริหารท้องถิ่นเพื่อท้องถิ่น

ความคาดหวังจากประชาชนในท้องถิ่นที่เปลี่ยนไปและกระแสผู้บริหารท้องถิ่นที่พยายามกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นมากขึ้น ทำให้ญี่ปุ่นมีกรณีตัวอย่างที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคัดค้านโครงการก่อสร้างของรัฐที่เอื้อต่อการคอรัปชั่น (เช่นการก่อสร้างเขื่อนโดยไม่จำเป็น) หรือโครงการใดๆ ที่ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของคนท้องถิ่น รวมถึงมีการผลักดันนโยบายใหม่ๆ เพื่อพัฒนาท้องถิ่นของตน

กรณีตัวอย่างที่น่าสนใจมีเช่นคิตากาว่า มาซายาสุ (北川 正恭) ผู้ว่าราชการจังหวัดมิเอะ 2 สมัย (1995-2003) ผู้มีผลงานสำคัญเช่น การให้จังหวัดมิเอะเป็นหนึ่งในจังหวัดแรกๆ ที่เปิดข้อมูลการบริหารให้ประชาชนตรวจสอบได้ การออกกฎหมายการชำระภาษีของเสียจากอุตสาหกรรม (Industrial Waste Tax) เพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม และการยกเลิกโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในปี 2000 ที่เป็นประเด็นขัดแย้งในจังหวัดมากว่า 40 ปี

อีกกรณีตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจและยังเป็นประเด็นจนถึงทุกวันนี้คือการต่อต้านโครงการก่อสร้างฐานทัพอเมริกา “เฮโนโกะ” ของผู้ว่าราชการจังหวัดโอกินาว่าที่ดำเนินมาหลายสมัย ซึ่งแม้ว่าโครงการนี้จะได้รับการเห็นชอบจากรัฐบาลญี่ปุ่น แต่ผู้บริหารท้องถิ่นจังหวัดโอกินาว่าและผู้ว่าราชการโอกินาว่าหลายรุ่นมีการเคลื่อนไหวต่อต้านอย่างชัดเจนเนื่องจากฐานทัพอเมริกาถูกมองว่าเป็นหนึ่งในปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รวมถึงโครงการก่อสร้างฐานทัพยังมีการถมทะเลและปะการังที่ส่งผลเสียต่อระบบนิเวศทางทะเลของโอกินาว่า

หรือกรณีตัวอย่างล่าสุดคือการประกาศภาวะฉุกเฉินอย่างรวดเร็วของซุซุกิ นาโอมิจิ (鈴木 直道) ผู้ว่าราชการจังหวัดฮอกไกโดที่ประกาศภาวะฉุกเฉินในฮอกไกโดเนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่เมื่อช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2020 เป็นการประกาศภาวะฉุกเฉินก่อนรัฐบาลญี่ปุ่นจะเริ่มประกาศภาวะฉุกเฉินครั้งแรกใน 7 จังหวัดถึง 1 เดือน ซึ่งเป็นตัวอย่างการตัดสินใจดำเนินการอย่างรวดเร็วในระดับท้องถิ่นที่ได้รับความสนใจจากทั้งคนญี่ปุ่นและชาวต่างชาติ

อย่างไรก็ตาม บทความนี้เป็นไปเพื่อรวบรวมข้อมูลและทำความเข้าใจลักษณะการปกครองในระดับท้องถิ่นของญี่ปุ่นโดยสังเขปเท่านั้น ซึ่งความเคลื่อนไหวในการกระจายอำนาจจากรัฐบาลกลางไปสู่ท้องถิ่นจะนำพาญี่ปุ่นไปสู่ความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างนั้นเป็นเรื่องที่เรายังต้องติดตามกันต่อไป อย่างไรก็ตาม การก้าวขึ้นมามีบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นญี่ปุ่นในช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมาทำให้องค์กรญี่ปุ่นส่วนท้องถิ่นกลายเป็นหนึ่งในส่วนสำคัญที่ขับเคลื่อนประเทศญี่ปุ่นในยุคปัจจุบัน และเป็นอีกด้านของสังคมญี่ปุ่นที่น่าจับตามองกันต่อไป

แหล่งข้อมูลที่ถูกอ้างอิง

Purnendra Jain (2004). Local Political Leadership in Japan: A Harbinger
of Systemic Change in Japanese Politics?[ออนไลน์], Policy and Society, 23:1, 58-87, DOI: 10.1016/
S1449-4035(04)70027-2 [สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2020]

Satoru Ohsugi (2009). The Organization of Local Government Administration in Japan[ออนไลน์], Papers on the Local Governance System and its Implementation in Selected Fields in Japan, 11, 1-5, http://www.clair.or.jp [สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2020]

การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นของญี่ปุ่นแบ้งออกด้วยกันกี่ระดับ

ระบบการปกครองท้องถิ่นประเทศญี่ปุ่น แบ่งเป็น 2 ระดับใหญ่ ๆ คือ จังหวัดและเทศบาล ในระดับ จังหวัดมีทั้งหมด 47 แห่ง และเทศบาลประมาณ 1,800 แห่ง (ทั้งเทศบาลนคร เทศบาลเมือง และเทศบาล ตาบล ซึ่งต่อไปนี้เรียกรวมกันว่า “เทศบาล”) ทั้งนี้ จังหวัดจะบริหารจัดการภารกิจหลากหลายด้านในฐานะ รัฐบาลท้องถิ่นที่ดูแลเขตพื้นที่ของเทศบาลโดยรวม ...

ญี่ปุ่นมีการปกครองตนเองของท้องถิ่น เรียกว่าอะไร

ประเทศญี่ปุ่นแบ่งการการปกครองท้องถิ่นเป็นสองระดับ (two tiers system) คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับบน เรียกว่า Prefecture เทียบเท่ากับจังหวัดของประเทศไทย ซึ่งมีอยู่ 47 แห่ง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับล่าง คือ เทศบาล จำนวน 1,724 แห่ง

ญี่ปุ่นมีการปกครองแบบไหน

ญี่ปุ่นปกครอง​ด้วย​ระบอบ​ประชาธิปไตย​แบบ​เสรี​ภายใต้​รัฐธรรมนูญ โดย​มี​สมเด็จพระ​จักรพรรดิ​ทรง​เป็น​ประมุข มี​รัฐสภา​เป็น​สถาบัน​สูงสุด​ของ​รัฐ มี​นายกรัฐมนตรี​เป็น​หัวหน้า​คณะ​รัฐบาล โดย​นายกรัฐมนตรี​ได้รับ​การเลือก​จากสมาชิก​รัฐสภา รัฐสภา​ประกอบด้วย 2 สภา สภา​ผู้แทน​ราษฎร

การจัดองค์กรท้องถิ่นของญี่ปุ่นยึดหลักตามรูปแบบใด

การปกครองท้องถิ่นของญี่ปุ่นเป็นไปตามรัฐธรรมนูญซึ่งจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาไม่เคยมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแม้แต่ครั้งเดียว โดยรัฐธรรมนูญได้ให้ความสำคัญกับความเป็นอิสระของท้องถิ่น การให้สิทธิ์ในการจัดระบบการบริหารและทรัพย์สิน ตลอดจนการออกกฎระเบียบต่าง ๆ ของแต่ละท้องถิ่นเองได้ มีระดับการบริหาร 2 ระดับ ได้แก่ ระดับจังหวัด ( ...