ศิลปินแห่งชาติสาขาดนตรีไทยคนแรก

นับเป็นอีกหนึ่งความสูญเสียของวงการดนตรีไทย กับการจากไปของ "พันโทเสนาะ หลวงสุนทร" ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) พุทธศักราช 2555 (12 กันยายน 2477 - 22 พฤศจิกายน 2565) สิริอายุ 88 ปี

พันโทเสนาะ หลวงสุนทร ศิลปินแห่งชาติ อายุ 88 ปี คือครูดนตรีไทยผู้สืบทอดดนตรีไทยโดยสายเลือดจาก "ครูบาง หลวงสุนทร" ผู้เป็นบิดา ทางระนาดเอก และปี่ใน จากนั้นได้เริ่มเรียนดนตรีไทยกับคุณตาถม เจริญผล และยังได้เรียนดนตรีไทย เป็นศิษย์สายตรงกับครูดนตรีไทยหลายท่าน เช่น ครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)

พันโทเสนาะ คือครูผู้เชี่ยวชาญในวิชาดนตรีไทยทั้งทางทฤษฎี การปฏิบัติ และการประพันธ์เพลง มีความแตกฉานในศาสตร์แห่งดนตรีไทยอย่างลึกซึ้ง มีความสามารถสูงในการบรรเลงระนาดเอกอย่างสมบูรณ์แบบ โดยเฉพาะการบรรเลงเดี่ยวระนาดเอก

โดยได้สร้างผลงานการบรรเลงไว้หลายรูปแบบ อาทิ การประชันวงในโอกาสต่างๆ การบันทึกเสียงเพลงเดี่ยวระนาดเอก ที่บันทึกโดยนายเดวิด มอร์ตัน ในปี พ.ศ. 2510 ชุดเพลงดีที่บ้านบาตร และยังมีผลงานการเข้าร่วมวงดนตรีสากลและวงดนตรีลูกทุ่งอีกด้วย อีกทั้งยังได้ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ด้านดนตรีไทยให้กับสถาบันการศึกษาหลายแห่ง

ภายหลังเกษียณอายุราชการแล้ว "พันโทเสนาะ หลวงสุนทร" ได้ทุ่มเทเวลาส่วนใหญ่กับการบันทึกบทเพลง ทั้งบทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นเอง ประมาณ 40 เพลง และบทเพลงที่ได้รับการถ่ายทอดจากครูต่างๆประมาณ 500 เพลง เป็นโน้ตสากล เพื่อมอบให้เป็นสมบัติของมูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่และฝากไว้เป็นสมบัติของอนุชนรุ่นหลังสืบไป

สำหรับ กำหนดการบำเพ็ญกุศลศพ "พันโทเสนาะ หลวงสุนทร" ศิลปินแห่งชาติ สาขาดนตรีไทย ตั้งศพ ณ วัดบางเพ็งใต้ (บำเพ็ญใต้) ศาลา 1 วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน 2565 เวลา 16.00 น.เป็นต้นไป โดยมีพิธีรดน้ำศพในเวลา 17.30 น. และเวลา 19.00 น. จะมีพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และพระสงฆ์สวดพระอภิธรรม

..

รายนามศิลปินแห่งชาติ ตั้งแต่ พ.ศ. 2528 ถึงปัจจุบัน จำแนกตามปีและสาขาตามลำดับ

พ.ศ.สาขาทัศนศิลป์สาขาศิลปะการแสดงสาขาวรรณศิลป์วิจิตรศิลป์ประยุกต์ศิลป์2528
  • นายเฟื้อ หริพิทักษ์ (จิตรกรรม)
  • นายมนตรี ตราโมท (ดนตรีไทย)
  • ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี (นาฏศิลป์)
  • ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช (วรรณศิลป์)
2529
  • นายคำหมา แสงงาม (ปั้นแกะสลัก)
  • นายประสงค์ ปัทมานุช (จิตรกรรม)
  • นายไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์(ประติมากรรม)
  • นางแสงดา บันสิทธิ์ (การทอผ้า)
  • นายเห้ง โสภาพงศ์ (เครื่องถม)
  • ศ. พล.ร.ต.สมภพ ภิรมย์ (สถาปัตยกรรม)
  • นายทองมาก จันทะลือ (หมอลำ)
  • นายกั้น ทองหล่อ (หนังตะลุง)
  • คุณหญิงไพฑูรย์ กิตติวรรณ (ดนตรีไทย)
  • นายเฉลิม บัวทั่ง (ดนตรีไทย)
  • นายเปลื้อง ฉายรัศมี (ดนตรีพื้นบ้าน-โปงลาง )
  • นางชูศรี สกุลแก้ว (หุ่นกระบอก)
  • นางท้วม ประสิทธิกุล (คีตศิลป์)
  • นางทองหล่อ ทำเลทอง (เพลงพื้นบ้าน)
  • ท่านผู้หญิงพวงร้อย อภัยวงศ์ (เพลงไทยสากล)
  • นายรงภักดี (เจียร จารุจรณ) (นาฏศิลป์)
  • นางกัณหา เคียงศิริ (ก.สุรางคนางค์) (นวนิยาย)
  • นายอบ ไชยวสุ (ฮิวเมอริสต์) (หัสคดี)
2530
  • นายชิต เหรียญประชา(ประติมากรรม)
  • นายโหมด ว่องสวัสดิ์ (จิตรกรรม)
  • นางพยอม สีนะวัฒน์ (ศิลปะงานผ้า)
  • ม.ร.ว. มิตรารุณ เกษมศรี (สถาปัตยกรรม)
  • นายยก ชูบัว (มโนราห์)
  • คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง (ดนตรีไทย)
  • นายวิจิตร คุณาวุฒิ (ภาพยนตร์)
  • นางเจริญใจ สุนทรวาทิน (คีตศิลป์)
  • นางเฉลย ศุขะวณิช (นาฏศิลป์)
  • นายไชยลังกา เครือเสน (ดนตรีพื้นบ้าน)
  • ม.ล.ปิ่น มาลากุล (วรรณศิลป์)
2531
  • นายเฉลิม นาคีรักษ์ (จิตรกรรม)
  • นายพูน เกษจำรัส (ศิลปะภาพถ่าย)
  • นายพิมาน มูลประมุข(ประติมากรรม)
  • นายหวังดี นิมา (หวังเต๊ะ) (เพลงพื้นบ้าน-ลำตัด)
  • นายประสิทธิ์ ถาวร (ดนตรีไทย)
  • นายบุญยงค์ เกตุคง (ดนตรีไทย)
  • นายเสรี หวังในธรรม (ศิลปะการละคร)
  • นางสาวจำเรียง พุธประดับ (นาฏศิลป์-ละคร)
  • นายกรี วรศะริน (นาฏศิลป์-โขน)
  • นายสมาน กาญจนะผลิน (เพลงไทยสากล)
  • นายสง่า อารัมภีร (เพลงไทยสากล)
  • นางสุกัญญา ชลศึกษ์ (กฤษณา อโศกสิน) (วรรณศิลป์)
2532
  • นายสนิท ดิษฐพันธุ์ (จิตรกรรม)
  • ดร.ประเวศ ลิมปรังษี (สถาปัตยกรรม)
  • นายฉิ้น อรมุต (หนังฉิ้น ธรรมโฆษณ์) (หนังตะลุง)
  • นางเชอร์รี่ เศวตนันทน์ (สวลี ผกาพันธุ์) (เพลงไทยสากล-ขับร้อง)
  • นายประสิทธิ์ พยอมยงค์ (เพลงไทยสากล)
  • นายประเวศ กุมุท (ดนตรีไทย)
  • นายหยัด ช้างทอง (นาฎศิลป์-โขน)
นายอังคาร กัลยาณพงศ์ (วรรณศิลป์)2533
  • นายทวี นันทขว้าง (จิตรกรรม)
  • นายสุเทพ วงศ์กำแหง (เพลงไทยสากล-ขับร้อง)
  • นางสุวรรณี ชลานุเคราะห์ (นาฏศิลป์-ละครรำ)
  • นางบัวผัน จันทร์ศรี (เพลงพื้นบ้าน)
  • นายสมชาย อาสนจินดา (ละครเวที ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์)
นายศักดิชัย บำรุงพงศ์ (เสนีย์ เสาวพงศ์) (วรรณศิลป์)2534
  • นายสวัสดิ์ ตันติสุข (จิตรกรรม)
  • นาวาตรีพยงค์ มุกดา (เพลงไทยสากล-เพลงลูกทุ่ง ประพันธ์)
  • นางเพ็ญศรี พุ่มชูศรี (เพลงไทยสากล-ขับร้อง)
  • นายเคน ดาเหลา (หมอลำ)
  • นายบุญยัง เกตุคง (ลิเก)
  • นายอาจินต์ ปัญจพรรค์ (วรรณศิลป์)
  • นายสุวัฒน์ วรดิลก (วรรณศิลป์)
2535
  • นายประยูร อุลุชาฎะ (น. ณ ปากน้ำ) (จิตรกรรม)
  • นายจูเลี่ยม กิ่งทอง (หนังตะลุง)
  • นางผ่องศรี วรนุช (เพลงลูกทุ่ง-ขับร้อง)
  • นายคำ กาไวย์ (การแสดงพื้นบ้าน-ช่างฟ้อน)
  • นางส่องชาติ ชื่นศิริ (นาฏศิลป์-ละครรำ)
  • ร.อ.ต.แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ (ดนตรีสากล)
  • นายเตือน พาทยกุล (ดนตรีไทย)
  • นายคำสิงห์ ศรีนอก (ลาว คำหอม) (วรรณศิลป์)
2536
  • นายพินิจ สุวรรณะบุณย์ (การออกแบบประยุกต์ศิลป์)
  • นายขาเดร์ แวเด็ง (ดนตรีพื้นบ้าน-ร็องแง็ง)
  • นายชาลี อินทรวิจิตร (ภาพยนตร์ ดนตรี-ประพันธ์คำร้อง)
  • นางฉวีวรรณ ดำเนิน (หมอลำ)
  • นางสุดจิตต์ อนันตกุล (คีตศิลป์)
  • นายจำเนียร ศรีไทยพันธุ์(ดนตรีไทย)
  • นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ (กวีนิพนธ์)
  • นางประคิณ ชุมสาย ณ อยุธยา (กวีนิพนธ์)
2537–
  • รศ. ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี (สถาปัตยกรรม)
  • นางประยูร ยมเยี่ยม (เพลงพื้นบ้าน-ลำตัด)
  • พล.ร.ต. ม.ล.อัศนี ปราโมช (ดนตรีสากล)
–2538
  • นายจิตต์ จงมั่นคง (ภาพถ่ายศิลปะ)
  • นายสมเศียร พานทอง (ชาย เมืองสิงห์) (เพลงลูกทุ่ง-ขับร้อง ประพันธ์)
  • นายเปรื่อง ชื่นประโยชน์ (ป.ชื่นประโยชน์) (ประพันธ์เพลง)
  • นายคำผาย นุปิง (การแสดงพื้นบ้าน-ขับซอ)
  • นายสร้อย ดำแจ่ม (การแสดงพื้นบ้าน-เพลงบอก)
  • นายแจ้ง คล้ายสีทอง (คีตศิลป์)
  • นายสวง ทรัพย์สำรวย (ล้อต๊อก) (นักแสดง-ตลก)
  • นายอำนวย กลัสนิมิ (ผู้สร้างภาพยนตร์-ผู้กำกับการแสดง)
  • นายณรงค์ วงษ์สวรรค์ (วรรณศิลป์)
  • นายทวีป วรดิลก (วรรณศิลป์)
2539
  • นายชำเรือง วิเชียรเขตต์(ประติมากรรม)
  • นางเกลียว เสร็จกิจ (ขวัญจิต ศรีประจันต์) (เพลงพื้นบ้าน-อีแซว)
  • นางจันทร์สม สายธารา (เพลงพื้นบ้าน-ขับซอ)
  • นางรวงทอง ทองลั่นธม (เพลงไทยสากล-ขับร้อง)
  • พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ (ผู้สร้างภาพยนตร์-ผู้กำกับการแสดง)
  • นายสมควร กระจ่างศาสตร์ (ละครเวที-นักแสดง)
  • นายบุญเลิศ นาจพินิจ (ลิเก)
  • นายสาคร ยังเขียวสด (หุ่นละครเล็ก)
  • นายใหญ่ วิเศษพลกรัง (เพลงพื้นบ้าน-เพลงโคราช)
  • หม่อมหลวงศรีฟ้า มหาวรรณ (ศรีฟ้า ลดาวรรณ) (วรรณศิลป์)
2540
  • นายกมล ทัศนาญชลี (จิตรกรรมและสื่อผสม)
  • นายทองใบ เรืองนนท์ (ละครชาตรี)
  • นายอิ่ม จิตภักดี (หนังอิ่มเท่ง) (หนังตะลุง)
  • นายพินิจ ฉายสุวรรณ (ดนตรีไทย)
  • คุณหญิงมาลัยวัลย์ บุณยะรัตเวช (ดนตรีสากล)
  • นายไวพจน์ สกุลนี (ไวพจน์ เพชรสุพรรณ) (เพลงลูกทุ่ง-ขับร้อง ประพันธ์)
  • นายสมพงษ์ พงษ์มิตร (ภาพยนตร์และละคร)
  • นายสุรพล โทณะวณิก (เพลงไทยสากล ประพันธ์)
  • นางบุญเพ็ง ไฝผิวชัย (หมอลำ)
  • นายฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ (พนมเทียน) (วรรณศิลป์)
2541
  • ศ. ประหยัด พงษ์ดำ (ภาพพิมพ์)
  • นายชลูด นิ่มเสมอ (ประติมากรรม)
  • พลอากาศตรี อาวุธ เงินชูกลิ่น (สถาปัตยกรรม)
  • ดร. สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา (สถาปัตยกรรมแบบร่วมสมัย)
  • นางศิริวัฒน์ ดิษยนันทน์ (นาฏศิลป์)
  • นายชัยชนะ บุญนะโชติ (เพลงลูกทุ่ง-ขับร้อง)
  • นายชรินทร์ นันทนาคร (เพลงไทยสากล-ขับร้อง)
  • นางเบ็ญจรงค์ ธนโกเศศ (ดนตรีไทย)
  • นาวาตรี ปิยะพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (ดนตรีสากล)
  • นางจุรี โอศิริ (ภาพยนตร์และละคร นักพากย์)
  • นายประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง (นักแต่งเพลง)
  • เจ้าเครือแก้ว ณ เชียงใหม่ (คีตศิลป์พื้นเมืองล้านนา)
  • พลตำรวจเอก วสิษฐ เดชกุญชร (วรรณศิลป์)
2542
  • ผศ. ดำรง วงศ์อุปราช (จิตรกรรม)
  • นายอินสนธิ์ วงศ์สาม(ประติมากรรม)
  • ผศ. มานิตย์ ภู่อารีย์ (ภาพพิมพ์)
  • นายชิน ฝ้ายเทศ (ชินกร ไกรลาศ) (เพลงลูกทุ่ง-ขับร้อง)
  • นายสมนึก ทองมา (ชลธี ธารทอง) (เพลงลูกทุ่ง-ประพันธ์)
  • นางมารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา (ภาพยนตร์และละคร นักแสดง-นักพากย์)
  • นายแท้ ประกาศวุฒิสาร (ภาพยนตร์)
  • นางสัมพันธ์ พันธุ์มณี (นาฏศิลป์)
  • นายเชื้อ ดนตรีรส (ดนตรีไทย)
  • นางสมพันธ์ โชตนา (นาฏศิลป์พื้นเมืองล้านนา)
  • นางสัมพันธ์ พันธุ์มณี (นาฏศิลป์)
  • นางสุภา สิริสิงห์ (โบตั๋น) (วรรณศิลป์)
2543
  • นายจักรพันธุ์ โปษยกฤต(จิตรกรรม)
  • รศ. ฤทัย ใจจงรัก (สถาปัตยกรรม)
  • พลเรือตรี มงคล แสงสว่าง (คีตศิลป์)
  • นายอัศศิริ ธรรมโชติ (วรรณศิลป์)
2544
  • นายถวัลย์ ดัชนี (จิตรกรรม)
  • นายประดิษฐ์ ยุวพุกกะ (สถาปัตยกรรมแบบประเพณี)
  • หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล (ผู้สร้างภาพยนตร์-ผู้กำกับการแสดง)
  • นายคำพูน บุญทวี (วรรณศิลป์)
2545
  • ศ. (พิเศษ) ประกิต บัวบุศย์(จิตรกรรม)
  • นายนิธิ สถาปิตานนท์ (สถาปัตยกรรมแบบร่วมสมัย)
  • นายจิรัส อาจณรงค์ (ดนตรีไทย)
  • นายสุจิตต์ วงษ์เทศ (กวีนิพนธ์)
2546
  • นายพิชัย นิรันต์ (จิตรกรรม)
  • นางสาววนิดา พึ่งสุนทร (สถาปัตยกรรมไทยแบบประเพณี)
  • นายพร้อม บุญฤทธิ์ (หนังพร้อมน้อย) ( หนังตะลุง)
  • นายกรุณา กุศลาสัย (วรรณศิลป์)
2547
  • นายไพบูลย์ มุสิกโปดก (ภาพถ่ายศิลปะ)
  • นายสันต์ สารากรบริรักษ์(จิตรกรรม)
  • นายจุลทัศน์ กิติบุตร (สถาปัตยกรรมแบบร่วมสมัย)
  • นายไพรัช สังวริบุตร (ภาพยนตร์และละคร)
  • นางจินตนา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา (จินตนา สุขสถิตย์) (ดนตรีสากล-ขับร้อง)
  • นายราฆพ โพธิเวส (นาฏศิลป์-โขน)
  • คุณหญิงวินิตา ดิถียนต์ (ว.วินิจฉัยกุล) (วรรณศิลป์)
  • นายชาติ กอบจิตติ (วรรณศิลป์)
2548
  • นายทวี รัชนีกร
  • นายประเทือง เอมเจริญ(จิตรกรรม)
  • นายวิเชียร คำเจริญ (ลพ บุรีรัตน์) (นักแต่งเพลงลูกทุ่ง)
  • นายฉลาด ส่งเสริม (ป.ฉลาดน้อย) (หมอลำ)
  • นายมานพ ยาระณะ (การแสดงพื้นบ้าน-ช่างฟ้อน)
  • นายสำราญ เกิดผล (ดนตรีไทย)
  • นายศุภชัย จันทร์สุวรรณ์ (นาฏศิลป์)
  • นายสถาพร ศรีสัจจัง (วรรณศิลป์)
  • นายประยอม ซองทอง (วรรณศิลป์)
2549
  • ศ. เกียรติศักดิ์ ชานนนารถ(จิตรกรรม)
  • นายนนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน(ประติมากรรม)
  • ศ. กิตติคุณ เดชา บุญค้ำ (ภูมิสถาปัตยกรรม)
  • รศ. สมถวิล อุรัสยะนันทน์ (ออกแบบอุตสาหกรรม)
  • ร.ต.ต. กาหลง พึ่งทองคำ (ดนตรีไทย)
  • นายเกียรติพงศ์ กาญจนภี (ดนตรีสากล – ผู้ประพันธ์เพลง)
  • นายสุชาติ ทรัพย์สิน (การแสดงพื้นบ้าน)
  • ศ. (เกียรติคุณ) มณี พยอมยงค์ (วรรณศิลป์)
  • ศ. (กิตติคุณ) ระวี ภาวิไล (วรรณศิลป์)
2550
  • ศ. เดชา วราชุน (ภาพพิมพ์และสื่อผสม)
  • นายยรรยง โอฬาระชิน (ภาพถ่าย)
  • ศ. (กิตติคุณ) ร.อ. กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา(สถาปัตยกรรมร่วมสมัย)
  • ร.ท. ชาญ บัวบังศร (นักดนตรี-นักประพันธ์เพลง)
  • นายนครินทร์ ชาทอง (หนังตะลุง)
  • นายโกวิท เอนกชัย (กวีนิพนธ์ บทความ นวนิยาย)
2551
  • รศ. อิทธิพล ตั้งโฉลก (จิตรกรรม)
  • หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ (ดนตรีไทยสากล-ขับร้อง)
  • นายประสิทธิ์ ปิ่นแก้ว (นาฏศิลป์-โขน)
  • พลเรือตรี วีระพันธ์ วอกลาง (ดนตรีสากล)
  • นายศิริ วิชเวช (คีตศิลป์)
  • นายกรีพงศ์ เทียมเศวต หรือ สรพงษ์ ชาตรี (นักแสดงภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์)
  • นายอดุล จันทรศักดิ์
2552
  • ศ. ปรีชา เถาทอง (จิตรกรรม)
  • นายวรนันท์ ชัชวาลทิพากร(ภาพถ่าย)
  • นายองอาจ สาตรพันธุ์ (สถาปัตยกรรมร่วมสมัย)
  • นางเพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์ (ประณีตศิลป์-แกะสลักเครื่องสด)
  • นายจตุพร รัตนวราหะ (นาฏศิลป์-โขน)
  • นายอุทัย แก้วละเอียด (ดนตรีไทย)
  • นางมัณฑนา โมรากุล (ดนตรีไทยสากล-ขับร้อง)
  • นายประยงค์ ชื่นเย็น (ดนตรีไทยลูกทุ่ง-เรียบเรียงเสียงประสาน)
  • นายเสกสรรค์ ประเสริฐกุล (เรื่องสั้น สารคดี นวนิยาย กวีนิพนธ์)
2553
  • นายธงชัย รักปทุม (จิตรกรรม)
  • นางประนอม ทาแปง (ประณีตศิลป์ – ศิลปะผ้าทอ)
  • นายเผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี (สถาปัตยกรรมไทย)
  • นายควน ทวนยก (ดนตรีพื้นบ้าน)
  • ผศ. พ.อ. (พิเศษ) ชูชาติ พิทักษากร (ดนตรีสากล)
  • นางสาวพิศมัย วิไลศักดิ์ (ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ – นักแสดง)
  • นายสุประวัติ ปัทมสูต (ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ – ผู้กำกับ นักแสดง)
  • นายสมบัติ พลายน้อย (ส.พลายน้อย) (สารคดี เรื่องสั้น)
  • นายสุรชัย จันทิมาธร (หงา คาราวาน) (เรื่องสั้น สารคดี กวีนิพนธ์)
2554
  • นายเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์(จิตรกรรม)
  • นายเมธา บุนนาค (สถาปัตยกรรม)
  • นายทองร่วง เอมโอษฐ (ประณีตศิลป์-ศิลปะปูนปั้น)
  • นางรัจนา พวงประยงค์ (นาฏศิลป์ไทย-ละคร)
  • นายนคร ถนอมทรัพย์ (ดนตรีไทยสากล-ประพันธ์และขับร้อง)
  • นายเศรษฐา ศิระฉายา (ดนตรีไทยสากล-ขับร้อง)
  • รศ. สดใส พันธุมโกมล (ละครเวทีและละครโทรทัศน์)
  • นายประภัสสร เสวิกุล
  • นายสุชาติ สวัสดิ์ศรี
2555
  • ศ. พิเศษ อารี สุทธิพันธุ์(จิตรกรรม)
  • ศ. วิโชค มุกดามณี (สื่อผสม)
  • รศ. เข็มรัตน์ กองสุข(ประติมากรรม)
  • นางเนื่อง แฝงสีคำ (ประณีตศิลป์-ช่างทอง)
  • นางบัวซอน ถนอมบุญ (การแสดงพื้นบ้าน-การขับซอ)
  • นายดอกดิน กัญญามาลย์ (ภาพยนตร์)
  • นายสมส่วน พรหมสว่าง (เพลิน พรหมแดน) (ดนตรีไทยลูกทุ่ง)
  • นายมนัส ปิติสานต์ (ดนตรีไทยสากล)
  • พันโทเสนาะ หลวงสุนทร (ดนตรีไทย)
  • พันโทวิชิต โห้ไทย (ดนตรีไทย-โยธวาทิต)
  • นายเคล้าน้อย โรจนเมธากุล (การแสดงพื้นบ้าน-หนังตะลุง)
  • นางทัศนีย์ ขุนทอง (ดนตรีไทย-คีตศิลป์)
  • นางนงไฉน ปริญญาธวัช (กาญจนา นาคนันทน์) (นวนิยายและเรื่องสั้น)
  • คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ (กุลทรัพย์ รุ่งฤดี) (กวีนิพนธ์)
  • คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ (ทมยันตี) (นวนิยาย)
  • นายมกุฏ อรฤดี (นิพพานฯ,วาวแพร) (นวนิยายและเรื่องสั้น)
2556
  • นายช่วง มูลพินิจ (จิตรกรรม)
  • นายธีรพล นิยม (สถาปัตยกรรม)
  • นางนิตยา รากแก่น (บานเย็น รากแก่น) (การแสดงพื้นบ้าน-หมอลำ)
  • นายยืนยง โอภากุล (แอ๊ด คาราบาว) (นักประพันธ์-นักร้องเพลงไทยสากล)
  • นายบุญฉลอง ภักดีวิจิตร (ฉลอง ภักดีวิจิตร) (ผู้สร้าง-ผู้กำกับภาพยนตร์และละครโทรทัศน์)
  • นายเฉลิม ม่วงแพรศรี (ดนตรีไทย)
  • นางรำไพพรรณ สุวรรณสาร ศรีโสภาค (โสภาค สุวรรณ)
  • นายวินทร์ เลี้ยววาริน (วินทร์ เลียววาริน)
  • นายเจริญ มาลาโรจน์ (มาลา คำจันทร์)

Advertisement

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

Like Loading...

ศิลปินแห่งชาติสาขาดนตรีไทยคนแรกคือใคร

มนตรี ตราโมท.

ศิลปินแห่งชาติสาขาดนตรีไทยมีใครบ้าง

นายทองมาก จันทะลือ (หมอลำ).
นายกั้น ทองหล่อ (หนังตะลุง).
คุณหญิงไพฑูรย์ กิตติวรรณ (ดนตรีไทย).
นายเฉลิม บัวทั่ง (ดนตรีไทย).
นายเปลื้อง ฉายรัศมี (ดนตรีพื้นบ้าน-โปงลาง ).
นางชูศรี สกุลแก้ว (หุ่นกระบอก).
นางท้วม ประสิทธิกุล (คีตศิลป์).
นางทองหล่อ ทำเลทอง (เพลงพื้นบ้าน).

ใครเป็นศิลปินคนแรกของกรมศิลปากร

หน้าที่การงานของมนตรี เจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับจนเลื่อนเป็นชั้นเอก ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้มนตรีดำรงตำแหน่งศิลปินพิเศษ เมื่อ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2504 นับเป็นศิลปินคนแรกของกรมศิลปากรที่ได้รับชั้นพิเศษ

บุคคลสําคัญในวงการดนตรีไทย มีใครบ้าง

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ -- ชีวประวัติ.
หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) -- ชีวประวัติ.
พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) -- ชีวประวัติ.
พระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) -- ชีวประวัติ.
ศักดิ์ คำศิริ -- ชีวประวัติ.
จำเนียร ศรีไทยพันธุ์ -- ชีวประวัติ.
โชติ ดุริยประณีต -- ชีวประวัติ.