สาระสําคัญของรัฐธรรมนูญ

อ้างอิงที่มา : http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/2033-00/  และไพศาล ภู่ไพบูลย์ อังคณา ตติรัตน์ และปนัดดา มีสมบัติงาม. หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม.1. พิมพ์ครั้งที่ 1.  กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.

ศาลเยาวชนฯ จ.นนทบุรี พิพากษาลงโทษจำคุก 3 ปี  ‘เพชร ธนกร’ เยาวชนนักกิจกรรมทางการเมือง อายุ 19 ปี เหตุขึ้นปราศรัยวิจารณ์สถาบันฯ ในชุมนุมคนนนท์ท้าชนเผด็จการ ที่ท่าน้ำนนทบุรี เมื่อ 10 ก.ย. 63 แต่พิจารณาลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เพราะขณะเกิดเหตุจำเลยมีอายุ 17 ปี เหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน ให้รอลงอาญา 2 ปี

สาระสําคัญของรัฐธรรมนูญ

เพชร ธนกร (สงวนนามสกุล) เยาวชนนักกิจกรรมทางการเมืองผู้มีความหลากหลายทางเพศ

22 ธ.ค. 65 วันนี้ (22 ธ.ค.) เวลา 11.53 น. ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางจังหวัดนนทบุรี พิพากษาลงโทษจำคุก 3 ปี เพชร ธนกร เหตุขึ้นปราศรัยในชุมนุมคนนนท์ท้าชนเผด็จการ ที่บริเวณลานกิจกรรมท่าน้ำนนทบุรี เมื่อ 10 ก.ย. 63 แต่พิจารณาลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เพราะขณะเกิดเหตุจำเลยมีอายุ 17 ปี เหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน ให้รอลงอาญา 2 ปี สำหรับข้อหา ม.116 ยุยงปลุกปั่น ศาลพิพากษายกฟ้อง พิเคราะห์จากคำให้การพยานและหลักฐานฝ่ายโจทก์แล้ว ไม่ถือว่ามีน้ำหนักเพียงพอจะชี้ว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้อง

 

ด่วน! ศาลเยาวชนฯ จ.นนทบุรี พิพากษาลงโทษจำคุก 3 ปี #เพชร_ธนกร เหตุขึ้นปราศรัยในชุมนุม #คนนนท์ท้าชนเผด็จการ ที่บริเวณลานกิจกรรมท่าน้ำนนทบุรี เมื่อ 10 ก.ย.63
.
แต่พิจารณาลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เพราะขณะเกิดเหตุจำเลยมีอายุ 17 ปี เหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน ให้รอลงอาญา 2 ปี
. pic.twitter.com/Sv5gnWrHd0

— TLHR / ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (@TLHR2014) December 22, 2022

 

ข้อมูลจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนระบุ เพชร ธนกร เป็นเยาวชนรายแรกผู้ถูกดำเนินคดีในข้อหายุยงปลุกปั่น (มาตรา 116) ก่อนถูกแจ้ง 112 เพิ่ม สำหรับคดีนี้ เพชรถูกดำเนินคดีพร้อมกับนักกิจกรรมอีก 4 ราย ได้แก่ รุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล ไมค์-ภาณุพงศ์ จาดนอก ไบร์ท-ชินวัตร จันทร์กระจ่าง และ เพนกวิน-พริษฐ์ ชิวารักษ์ หากแต่ขณะเกิดเหตุเพชรยังเป็นเยาวชน (อายุ 17 ปี) จึงถูกแยกมาดำเนินคดีที่ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนนทบุรี แรกเริ่มเพชรถูกแจ้งข้อหายุยงปลุกปั่นตามมาตรา 116 เท่านั้น ต่อมาพนักงานอัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนนทบุรีได้มีหนังสือ (ลงวันที่ 2 ก.ย. 2563) ระบุให้พนักงานสอบสวน แจ้งข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เพิ่มเติม เพราะมีความเห็นว่าถ้อยคำปราศรัยของเพชรในบางส่วนมีการตั้งคำถามถึงความจำเป็นในการใช้คำราชาศัพท์ และเรื่องการประทับในต่างประเทศของในหลวงรัชกาลที่ 10 จึงถือว่ามีพฤติการณ์เข้าข่ายข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ ด้วย

บรรยายฟ้องระบุ ตั้งคำถาม “กษัตริย์ยังเป็นสถาบันยึดเหนี่ยวจิตใจหรือไม่” เป็นการจาบจ้วงต่อสถาบันฯ

จากเอกสารคำฟ้องมีเนื้อหาโดยสรุปว่า เมื่อวันที่ 10 ก.ย. 2563 จําเลยกับพวกซึ่งถูกแยกดําเนินคดีต่างหาก ได้ร่วมกันกล่าวปราศรัยบนเวทีลานท่าน้ํานนทบุรี โดยเป็นการปราศรัยด้วยถ้อยคําซึ่งมีลักษณะให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน มีสาระสําคัญเกี่ยวกับการโจมตีการทํางานของรัฐบาล เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออก แก้ไขรัฐธรรมนูญ และปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ 

สำหรับจำเลยได้กล่าวปราศรัยว่า

“เราคือมนุษย์คนหนึ่ง เราขอสนับสนุนและยืนยันว่าไม่ควรมีการใช้คําราชาศัพท์แบ่งชนชั้นเกิดขึ้นในประเทศไทยค่ะ ขนาดที่พระมหากษัตริย์ในต่างประเทศเนี่ยยังคงใช้ ยูกับไอ แล้วทําไมประชาชนประเทศไทยอย่างเราจะใช้คุณกับฉันกับลูกหลานศักดินาไม่ได้คะ

“เราจะไม่ให้ความเชื่อผิดๆ มาครอบงําเรา เราจะไม่ให้ศาสนามาครอบงําเราอีกต่อไป เพราะศาสนาเป็นสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ไม่ใช่เอาไปครอบงําใครแบบผิดๆ เราควรมองความเป็นจริง เราจะยอมเป็นฝุ่นใต้ละอองธุลีพระบาทหรือจะยอมเป็นฝุ่นใต้ตีนใครอีกหรือเปล่า ในยุคนี้เราคงเชื่อได้หรือเปล่าว่าพระมหากษัตริย์คือสถาบันที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ แต่ว่าพระมหากษัตริย์ตอนนี้ไม่ได้อยู่ที่ไทย แต่อยู่ที่เยอรมัน เสวยสุขท่ามกลางภาษีของประชาชน แล้วเราจะเชื่อได้อย่างไรว่าสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันที่ยึดเหนี่ยวจิตใจประชาชนคนไทยอย่างเรา” 

พนักงานอัยการระบุว่าถ้อยคำที่จำเลยและพวกร่วมกันปราศรัยเป็นความเท็จ และเป็นการจาบจ้วงล่วงเกิน ดูหมิ่น ใส่ความ หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ โดยประการที่น่าจะทําให้รัชกาลที่ 10 เสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง ทําให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพต่อพระมหากษัตริย์ ซึ่งอยู่ในฐานะที่ผู้ใดจะละเมิดมิได้ และมิใช่เป็นการกระทําภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญหรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต 

ปัจจุบัน เพชร ธนกร ถูกดำเนินคดีทางการเมืองรวมแล้ว 8 คดี (มีจำนวน 3 คดีที่เหตุเกิดหลังอายุเกิน 18 ปีแล้ว) โดยเป็นคดีมาตรา 112 จำนวน 3 คดี โดยในคดีเหล่านี้ ธนกรยังคงยืนยันว่าต้องการที่จะต่อสู้คดีแทนการเข้ารับมาตรการพิเศษ โดยระบุว่าต้องการให้คดีความของตนเป็นหมุดหมายสำหรับคดีการเมืองในศาลเยาวชนฯ คดีอื่นๆ ต่อไป

     กระทั่งถึงวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวรซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิ ได้เปลี่ยนระบอบการปกครอง เป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมือง เป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้บริการราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย แต่อย่างไรก็ตามคณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนได้ หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญของรัฐซึ่งมีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎรเลือกตั้งใหม่ ในส่วนเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์นั้น ได้บัญญัติว่า พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็น ที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้

โครงสร้างและสาระสําคัญของรัฐธรรมนูญมีอะไรบ้าง

โครงสร้างและสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญ.
รูปแบบของรัฐและระบอบการปกครอง ... .
สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ ... .
แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ... .
รัฐสภา ... .
พระมหากษัตริย์.

รัฐธรรมนูญ คืออะไร มีความหมายและความสําคัญอย่างไร

รัฐธรรมนูญ (Constitutional) หมายถึง กฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นกติกาสูงสุดในการปกครอง ซึ่งกำหนดกรอบอำนาจหน้าที่และบทบาทของบุคคลต่าง ๆ รัฐธรรมนูญเป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงการปกครองระบอบประชาธิปไตย และเป็นเครื่องหมายที่แสดงให้เห็นว่าประเทศมีการปกครองแบบนิติรัฐ คือ เป็นการปกครองโดยกฎหมาย และในบรรดากฎหมายที่ออกมาบังคับใช้กับ ...

โครงสร้างของรัฐธรรมนูญมีลักษณะสําคัญอย่างไรบ้าง

โครงสร้างหลักของรัฐธรรมนูญไทยนั้น ประกอบด้วย 16 หมวด และบทเฉพาะกาล (รวม 279 มาตรา) อันมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ หมวด 1 บททั่วไป : มาตาราที่ 1-5. หมวด 2 พระมหากษัตริย์ : มาตราที่ 6-24. หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย : มาตราที่ 25-49.

รัฐธรรมนูญมีความสําคัญต่อการปกครองประเทศอย่างไร

รัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองของรัฐต่าง ๆ โดยรัฐธรรมนูญมีสาระสําคัญ เป็นการก่อตั้งระบอบการปกครองและก่อตั้งองค์กรการบริหารกลไกของรัฐนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์กร ฝ่ายบริหาร องค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ และองค์กรฝ่ายตุลาการ รวมทั้งกําหนดความสัมพันธ์เชิงอํานาจระหว่าง ประชาชนกับองค์กรดังกล่าว โดยอํานาจตรารัฐธรรมนูญ คือ ...