ความ แตก ต่าง โรงเรียน ไทย กับ ต่างประเทศ

ความ แตก ต่าง โรงเรียน ไทย กับ ต่างประเทศ

มาต่อภาคสอง High school ในอเมริกา

บอกไว้ก่อนว่า ส่วนตัวเราไม่เคยไปเรียน High school ที่อเมริกา แต่ก็อาศัยจากสังเกตเพื่อนในมหาวิทยาลัย (เวลาเขาเล่าถึงช่วงชีวิตวัยมัธยม) ฟังๆ คนอื่นเขามา ดังนั้นก็รวมๆ เอามาเพื่อเปรียบเทียบให้ดูกัน

ส่วนของไทย ก็คือประสบการณ์ส่วนตัวของเราล้วนๆ ดังนั้นมันอาจไม่ใช่ตัวแทนของประเทศไทยทั้งหมดนะ และอาจมีจิกกัดบ้าง แรงไปบ้าง ขอโทษด้วยนะจ้ะ คอมเม้นต์ได้ ไม่โกรธ


การเลือกวิชาเรียน

ไทย  ー ของเราจะมีลักษณะเป็นตารางเรียนที่เขาจัดมาให้ แต่ถ้าม. ปลายก็ต้องเลือกสายการเรียน แกเลือกสายศิลป์แกก็ห้ามลงเรียนวิชาวิทย์ (ยกเว้นวิทย์พื้น) ฯลฯ

USA - ไม่มีการเลือกแผนการเรียน แต่ต้องเลือกวิชาเรียนแทน โดยใครอยากเข้าคณะไหนหรือสนใจด้านไหน ก็เลือกเรียนวิชาด้านนั้น แบบเจาะลึก แต่อย่างไร เขาก็ต้องเรียนวิชาพื้นฐานนะคะ (เช่นเลขพื้น วิทย์พื้น) แต่พื้นของเขาก็คือพื้นจริงๆ เลขก็อารมณ์แบบจบ ม.3 บ้านเรา

ดังนั้น ที่อเมริกา เขาก็เลยไม่ค่อยดูถูกคนเรียนสายอื่นไง (เช่นสายศิลป์ภาษาที่โดนบ่อยสุด =_=)

เพราะคนเก่งที่เรียนภาษาก็มี เรียนฟิสิกส์ก็มี หรือเรียนทั้งวิทย์ ทั้งเลข ทั้งภาษาเลยก็มี ไม่เหมือนไทยที่ คนเรียนสายวิทย์เก่ง คนเรียนศิลป์ภาษา โง่ เกรดไม่ถึงละสิ ถึงต้องเรียนสายนี้


ลักษณะห้องเรียน

ไทย ー ห้องเรียนมีเด็กเกือบๆ 50 คน อาจารย์เป็นผู้สอน (หรือบางทีก็ไม่สอน?)เด็กก็นั่งฟัง นั่งหลับ นั่งคุยไปตามเรื่อง

USA - ห้องเรียนมักเป็นคลาสเล็กๆ ไม่เกิน 25 คนซะส่วนใหญ่ จึงมีลักษณะการสอนแบบเป็นกันเองมากขึ้น เด็กมีโอกาสถาม มีโอกาสตอบ แสดงความคิดเห็น เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ได้มากขึ้น (แต่เด็กที่ไม่ทำอะไรเลย มีเรียน จดๆ แล้วก็กลับบ้านก็มีนะ แต่คนเมกา เขาจะถูกปลูกฝังมาว่า รู้ไม่รู้ให้พูดออกมาก่อน คนที่ไม่พูดคือคนไม่ฉลาด เขาไม่มีคติว่าเสือซ่อนเล็บอะไรแบบเราหรอก)

แต่พวกไม่เรียน หลับ โดดเรียน เล่นมือถือก็มีนะ ปกติ
ส่วนเราหรอ ชีวิตในห้องเรียนอเมริกาทุกวันนี้ก็พูดบ้าง ไม่พูดบ้าง ไปตามเรื่อง…

ดังนั้นก่อนที่จะบอกว่า อยากให้เด็กไทยแย่งกันถาม แย่งกันตอบ ให้เปลี่ยนคลาสเรียนเป็นคลาสขนาดเล็กซะก่อน เพราะไม่อย่างนั้น 50 คนแย่งกันถาม แย่งกันตอบ มันจะ วุ่นวายมาก

ส่วนเรื่องเด็กไทยไม่กล้าถาม ไม่กล้าตอบ อันนี้เราไม่ค่อยเห็นด้วยนะ เพราะช่วงม. 6 ช่วงเวลาแห่งการไม่มาโรงเรียนของนักเรียน คลาสก็จะเล็กๆ มากเหลือประมาณ สิบกว่าคน ทุกคนก็ถามอาจารย์ ตอบอาจารย์กันสนุกสนานดีนะ

จริงๆ เราว่าจะให้กล้าถาม กล้าตอบ กระตือรือร้นในการเรียนเราว่ามันขึ้นอยู่กับคน เพราะถึงจะเป็นเด็กเมกา ถ้าไม่ตั้งใจเรียน มันก็ไม่ถาม ไม่ตอบหรอก =_=


บังคับในสิ่งที่จำเป็น

ไทย ー ดูเหมือนโรงเรียนจะเห็นทุกอย่างสำคัญไปหมด ตั้งแต่วิชาเรียนที่เยอะมากๆ (เยอะจริงๆ เพราะวิชาเรียนของเรา กรอกใบสมัครมหาลัยของเมกาได้ไม่หมด…ช่องที่เขามีให้เรากด add เพิ่มจนเต็มลิมิตแล้วก็ยังไม่พอ) กีฬาสี รับน้อง กิจกรรมนู่นนี่ ไปจนถึงใบวิ่ง บังคับให้เด็กวิ่งรอบสนาม วิ่งเสร็จเด็กต้องไปเรียนพิเศษต่อ =_=

USA ーบังคับเฉพาะสิ่งที่จำเป็นจริงๆ กีฬาสีหรอ ใครอยากทำก็ทำ (ไม่อยากทำก็ไม่ต้อง เอาเวลาไปทำอย่างอื่นที่สนใจจริงๆ แทน)

ถ้าใครที่เป็นโรคไม่ชอบให้คนมาบังคับ คงรู้ว่ามันทรมานแค่ไหน เราเป็นคนที่เกลียดกีฬาสีมากๆ เป็นมาตั้งแต่ประถมแล้ว เราไม่ชอบความวุ่นวาย ไม่ชอบแดด ไม่ชอบเสียงดัง หาเรื่องโดดตลอด << แต่กีฬาสีก็มีประโยชน์นะ เอาไว้กรอกตรงกิจกรรม ตอนสมัครเข้าเรียน

(จริงๆ กิจกรรมของโรงเรียนก็ช่วยให้เรามีกิจกรรมใส่ไปได้หลายช่องตอนสมัครมหาวิทยาลัย)


ครู

ไทย ー บางคน เน้นว่าบางคนเพราะไม่ใช่ทุกคน ไม่สอน สอนน้อย (ไปสอนพิเศษแทน)

US - ก็สอนอ่ะ

อันนี้เราว่าอยู่ที่ความรับผิดชอบของครูล้วนๆ ที่เมกาครูเขาถือว่าเขาได้รับเงินเดือนมาแล้ว เงินก็มาจากเขาต้องสอน มันเป็น “หน้าที่” … ที่สำคัญคือ ครูในเมกาเขาจะค่อนข้างให้เกียรติคนเรียน เขาถือว่าเราเป็นคนเหมือนกัน เพราะความสัมพันธ์ของคนในอเมริกาจะเป็นแนวนอน มากกว่าในสังคมไทยที่เป็นความสัมพันธ์ในแนวตั้ง (อายุ ศักดินา)

ไม่เหมือนครูที่สอนอยู่โรงเรียน (ที่เขาว่ากันว่า) ดีที่สุดในประเทศ แต่กลับตะโกนด่านักเรียน(ที่ทำผิด) ด้วยคำพูดหยาบคาย หรือแม้แต่การพูดจาที่ดูถูกทั้งนักเรียนและผู้ปกครอง

คือครูที่ไทยดีๆ ก็มีเยอะนะ แต่แบบไม่รับผิดชอบก็มีเยอะ…


การบ้าน

ไทย เด็กไทยส่วนมากบ่นว่าการบ้านเยอะ ในความรู้สึกเรา เราว่าการบ้านที่ไทยไม่เยอะนะ แต่ไร้สาระมากๆ ให้เขียน Essay แต่อาจารย์ไม่เคยตรวจและแก้กลับมาให้ ทำรายงาน (ที่ก็ไปก็อปเอามาจากเน็ต) เขียนบูรณาการกับสวนพฤษศาสตร์…. บางการบ้านก็ดีนะ แต่ตั้งแต่อยู่ม.ปลายมา เราว่ามีงานที่ดีจริงๆ ไม่ถึงห้าชิ้นอ่ะ

USA การบ้านเยอะมากๆ (เยอะกว่าไทยค่ะ) ต้องอ่านหนังสือเยอะ ต้องเขียน (เน้นว่าเขียน) ไม่ใช่ไปก็อปแปะจากเน็ต เขียนกันทีเป็นหน้าๆ เลย

เราไม่เคยทำการบ้านของเด็กมัธยมที่อเมริกา ก็เลยยอมรับว่าไม่ค่อยรู้ว่าเขาทำอะไรกันบ้าง แต่เขาเน้น Critical thinking มากๆ มันคือการฝึกให้เด็กเอาเนื้อหาที่เรียนมา ตีความ ประเมินผล แต่มันไม่ใช่แบบ O-net หรือข้อสอบไทยที่อ้างว่ามันคือ Critical thinking

จริงๆ เราว่าเราอาจกำลังเดินมาผิดทางนะ

(ปล. ขอบคุณคุณ I’m in US ที่ช่วยชี้แนะ เรื่องการบ้านจริงๆ ขึ้นอยู่กับบุคคลและโรงเรียนด้วยค่ะ คนที่มีการบ้านน้อยๆ ก็มีอยู่ค่ะ แต่เรื่องการบ้านเยอะ อันนี้ เราเอามาจาก น้องชาย น้องสาวของเราที่เรียนที่อเมริกา และเพื่อนเราที่มหาวิทยาลัยค่ะ…พูดง่ายๆ คือคนที่เรารู้จักเป็น “เด็กเรียน” ที่อเมริกาค่ะ)


ระบบอาวุโส

ไทยー มีรุ่นน้องรุ่นพี่ เคารพครูอาจารย์

US-ทุกคนเท่าเทียม (แต่เราก็มีพี่รหัสในมหาวิทยาลัยที่อเมริกานะ)

จริงๆ เราก็ชอบระบบรุ่นพี่-รุ่นน้องนะ มันเป็นระบบที่น่ารักดี

ถึงจะเรียนเมกา แต่จริงๆ เราก็เป็นคนที่ถูกสอนมาด้วยระบบนี้ตั้งแต่เด็กนะ เช่น ไม่ยืนค้ำหัวผู้ใหญ่(หรือไม่อยู่ในที่สูงกว่าผู้ใหญ่)   ไม่ให้น้องเรียกชื่อเฉยๆ (บางบ้านพี่น้องเขาไม่ต้องเรียกพี่กันเนอะ…แต่บ้านเราไม่ได้ เพราะเราเป็นพี่คนโต) รวมไปถึงการดูแลน้อง เพราะถือว่าเขาเด็กกว่า (มีใช้งานบ้าง ไปตามเรื่อง)

แต่อเมริกา ก็ทำให้เราสนิทกันง่ายขึ้นดีนะ อย่างเพื่อนสนิทที่สุดของเราที่เมกาก็เป็นรุ่นพี่ปี 3 แต่เพราะเราคุยกันใช้แค่ ยู กับ ไอ มันก็เลยฟังดูเท่าเทียม (แต่ตอนนี้เริ่มเขาว่าออนนี่ละ 55+) แต่บางอารมณ์เขาก็เทคแคร์เราเหมือนน้องสาวเหมือนกัน


จริยธรรม

ไทย ー ได้ยินเขาบ่นๆ กันว่าเด็กไทยสมัยนี้ไม่ค่อยมีคุณธรรม จริยธรรมเท่าไหร่ การศึกษาก็เลยต้องเน้น “ปลูกจิตสำนัก เน้นคุณธรรมมากกว่าความรู้?”

อเมริกา ーไม่ค่อยได้ยินพูดถึงเรื่องนี้เท่าไหร่ (แล้วตกลงเขามีคุณธรรมหรือเปล่า…เอ่อ ก็ไม่รู้เหมือนกัน)

แต่!เมกามีการลงโทษที่แรงมากๆ ในกฎที่เขากำหนด เช่นการลอกเลียนผู้อื่น

ถ้าตอนสอบอาจารย์เห็นชะเง้อมองเพื่อน เขากาหัวข้อสอบแบบไร้ความปราณี ยิ่งเป็นรายงานต้องเขียนเอง เรียงความต้องเขียนเอง อาจารย์เข้าจะเข้าไปเช็คในเว็บได้ ว่าลอกเพื่อนมาหรือเปล่า หรือลอกจากเน็ตมาหรือเปล่า

กฎส่วนมากของเขาก็จะมีความชัดเจนมากๆ เช่นกัน

อยากรู้ไหมว่าถ้าจับได้ว่าลอกมาจากเน็ตเขาทำอย่างไร

มหาวิทยาลัยส่วนมากไล่ออกเลย!..โหดป่ะล่ะ

ดังนั้น เราอยากให้เลิกพูดว่า “เน้นคุณธรรม เน้นจริยธรรม” เพราะมันเป็นอะไรที่ไม่ชัดเจนมากๆ จริยธรรมคือแค่ไหน คนดีคือแค่ไหนถึงเรียกว่าคนดี ศีล 5 ศีล 8 หรือศีล 227 ข้อ?

เปลี่ยนมามีบทลงโทษที่ชัดเจนและเอาจริง เราว่าจะดีกว่านะ


ตรงเวลา

ไทย ーเข้าช้าปล่อยช้า…

US-เข้าตรงเวลา ปล่อยตรงเวลา (หรือถ้าปล่อยช้า เสียงออดปุ๊บ เด็กก็จะยกมือบอกอาจารย์ว่าหมดเวลาแล้วเด็กก็มีสิทธฺ์เดินออกนอกห้องได้เลย โดยอาจารย์ไม่มีสิทธิพูดว่า ชั้นจะสอนต่ออีกหน่อย ใครอยากรู้ก็อยู่ต่อ เคยมีอาจารย์ทำอยู่ครั้ง สองครั้ง เด็กในห้องมันจะมองแบบหงุดหงิดมาก กระสับกระส่ายสุดๆ 55)

ในความรู้สึกเรา เวลาเด็กเตือนอาจารย์ว่าหมดเวลาแล้ว อาจารย์จะอายนิดๆ ด้วยนะ เหมือนเป็นความรู้สึกผิดเบาๆ ที่ไม่่บริหารเวลาให้ดี

เราอยากบอกว่าจริงๆ เรื่องเวลา ส่วนตัวเราเป็นคนที่ให้ความสำคัญค่อนข้างมาก ฉะนั้นถ้าให้พูดตรงๆ คือเราเกลียดคนที่ไม่รักษาเวลามากๆ

เราก็เคยไปคุยกับคนเมกัน (คนที่แก้ essay ให้เรานั่นแหละ) เราก็บ่นๆ เรื่องอาจารย์ท่านหนึ่งที่เข้าช้า ปล่อยช้า ครูเมกันคนนี้เขาก็บอกประมาณว่า นี่ถือเป็นไม่เคารพเวลาของเราเลยนะ ประมาณนี้ คือสำหรับเขาถือว่าเป็นเรื่องใหญ่มาก

จริงๆ เราก็เข้าใจนะ ว่าการที่เราชิลๆ กันเรื่องเวลามันก็ทำให้เราไม่เครียด แต่อีกนัย มันก็ทำให้ชีวิตเราวุ่นวายและกลับมาเครียดเหมือนเดิมก็ได้ ดังนั้น มารักษาเวลากันเถอะนะทุกคน ^_^

ถึงมันจะเหนื่อย แต่มันก็ทำให้เราเครียดน้อยลงนะ เรามองว่าการตรงต่อเวลาเป็นการให้เกียรติคนอื่นด้วย


เสื้อผ้า หน้าผม

ไทย ー เครื่องแบบ เกรียน ผู้หญิงต้องผมสีดำเท่านั้น ใครเป็นสีน้ำตาลหาว่าย้อมหมด พ่อแม่ต้องลางานมา(เวลาราชการ) เพื่อบอกกับอาจารย์ว่าลูกไม่ได้ย้อมผม เรียกกันมา 2เดือน 2 ครั้ง แม่ไม่ต้องทำงานกันพอดี

US – ไม่มีเครื่องแบบ อยากใส่อะไรก็ใส่ (อันนี้จริงครึ่งไม่จริงครึ่ง เพราะแต่ละโรงเรียนเขาก็มีกฎต่างกันไป เช่นห้ามสักคำที่หยาบคายบนร่างกาย ดูถูกเชื้อชาติ ห้ามห้อยอะไรมากมาย ห้ามพกอาวุธ)

จริงๆ เรื่องนี้เราก็พูดไม่ถูกเหมือนกัน มันกึ่งๆ แน่นอนว่าเราชอบแบบเมกามากกว่า เพราะเราก็เป็นคนที่มีผมสีน้ำตาลเหมือนที่บอกมาข้างบนนั่นแหละ แต่มันจะมีข้อแตกต่างคือ เราคนไทย (และเอเชียและยุโรปด้วย) จะมีค่านิยมที่ยึดติดเรื่องเสื้อผ้า คนนี้แต่งตัวดี แสดงว่าเป็นคนรวย มีการศึกษาอะไรก็ว่าไป

แต่เมกา เขาไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่ เรื่องเสื้อผ้า เคยได้ยินเขาบอกว่า อยู่เมกา จะใส่ยีนส์ชิลๆ เดินเข้าร้านแบรนเนมก็ไม่มีใครว่านะ เขาสนใจแค่บัตรเครดิตในกระเป๋าอย่างเดียว หรือแม้แต่จะไปเรียนก็ใส่ยีนส์ไปได้แบบปกติ หรือถ้าหน้าร้อนก็ใส่ขาสั้นได้

สุดท้าย สรุปแบบตรงๆ ว่า ชีวิต High school ในเมกาถ้ามองโดยรวมก็ไม่ได้ดีมากๆ เหมือนที่หลายคนคิด เขาก็ยังมีปัญหาเช่นยาเสพติด อาชญากรรม หรืออะไรมากมาย แต่มันเป็นระบบที่ขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียนเป็นหลัก

อีกอย่าง ปัญหาการ Bully เท่าที่ฟังๆ จากเพื่อนและอ่านจากน้องๆ ที่ไปแลกเปลี่ยนมา ก็เป็นปัญหาที่มีให้เห็นเหมือนกัน แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละโรงเรียนด้วย ส่วนตัวเราไม่รู้ว่าสถานการณ์ที่ไทยเป็นยังไง (แต่เราเดาว่ามันก็คงมีอยู่ใช่ไหม)

นั่นคือสาเหตุที่ถ้ามีคนถามเราว่า อยากต่อม.ปลาย ไปอังกฤษหรือเมกาดี เราจะตอบว่า “อังกฤษ”

เรียนที่ไทยกับต่างประเทศต่างกันยังไง

รูปแบบการเรียนการศึกษา – ความแตกต่างระหว่างการศึกษาไทยกับต่างประเทศ เรื่องการศึกษา ในประเทศไทย ส่วนใหญ่ จะเน้นให้เรียนไปในด้านวิชาการให้แน่น แต่จะมีชั่วโมงว่าง หรือ ทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้เล็กน้อย เน้นการเรียนในห้องมากกว่านอกห้อง แต่ ในการศึกษาต่างประเทศนั้น เน้นการเรียนนอกห้อง มากกว่าในห้องเรียน มักจะให้การบ้านหรือหัวข้อ ...

ม.2 อยู่เกรดอะไร

Level มัธยมศึกษา 1 ถึง มัธยมศึกษา 3 = middle school (MS) อายุ 12 ปี ถึงอายุ 14 ปี เรียน มัธยม 1 ถึง มัธยม 3 = grade 7 - grade 9. Level .ปลาย หรือ มัธยมศึกษา 4 - 6 = high school. อายุ 15 ปี ถึงอายุ 17 ปี เรียน มัธยม 4 ถึง มัธยม 6 = grade 10 – grade 12.

โรงเรียนนานาชาติคืออะไร

โรงเรียนนานาชาติหรือ International School คือโรงเรียนที่มีระบบการเรียนการสอนที่ใช้หลักสูตรต่างประเทศที่ได้รับมาตรฐานและอยู่ภายใต้หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ มีการใช้ภาษาต่างประเทศในการเรียนการสอน นักเรียนที่เข้าร่วมโรงเรียนนานาชาติมักจะมาจากหลากหลายประเทศและศาสนา เชื้อชาติ

ม.4 อยู่เกรดไหน

ปี 1 (Grade 9) ที่เข้ามาใหม่จะเรียกว่า Freshmen เทียบได้กับ.3. ปี 2 (Grade 10) เรียกว่า Sophomore เทียบได้กับ.4. ปี 3 (Grade 11) เรียกว่า Junior เทียบได้กับ.5. ปี 4 (Grade 12) เป็นปีสุดท้ายของการเรียนมัธยม เรียกว่า Senior ก็คือจะเท่ากับเด็ก.6.