ข้อดี ของบุคลิกภาพในการ ทำงาน

ประโยชน์ของการมีบุคลิกภาพที่ดี

1. สร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรงตลอดเวลา ด้วยการออกกำลังกาย
2. ทำให้ร่างกายมีบุคลิกภาพที่ดีคล่องแคว่งว่องไว และสง่าผ่าเผย
3. เป็นผู้ที่มีความร่าเริง จิตใจแจ่มใส อารมณ์ดี
4. มีกิริยามารยาท และพูดจาด้วยถ้อยคำที่สุภาพเป็นเสน่ห์กับผู้พบเห็น
5. เป็นผู้ที่มีเหตุผลไม่วู่วาม มีความสุขุมรอบคอบ มีสติ และควบคุมตัวเองได้
6. มีจิตใจที่เข้มแข็ง มีความอดทน ต่อสู้กับปัญหาและอุปสรรคได้
7. ยอมรับความเป็นจริงของโลกมนุษย์ ซึ่งประกอบไปด้วยสุขและทุกข์
8. มีความเชื่อมั่นในตัวเอง กล้าคิดกล้าทำ กล้าแสดงออก หรือกล้าตัดสินใจ โดยอาศัยหลักการและเหตุผล
9. มีความคิดใฝ่หาความก้าวหน้าในการทำงาน มีความคิดริเริ่มและมีความกระตือรือร้น มีน้ำใจและเอื้ออาทรผู้อื่น
10. ปรับปรุงตนเองให้เข้ากับสังคม และสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี และสมารถสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับบุคลรอบข้างได้อย่างมีความสุข
การพัฒนาบุคลิกภาพในวิชาชีพจริยธรรมในอาชีพคอมพิวเตอร์ ผู้เรียนจะได้รับสิ่งดีๆ ตอบแทน ดังนี้
1. ได้รับการพิจราณาเข้าทำงานจากสถานประกอบการได้งานกว่าบุคคลอื่น
2. สร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเองในการอยู้ร่วมกันในสังคม
3 สร้างบุคลิกและละกษณะนิสัยที่ดีแก่ผู้พบเห็น
4. มีความเข้าใจและยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต
5. สร้างความกระตือรือร้น และใฝ่ดีตลอดเวลา
6. มีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน
7. มีความสุขต่อการทำงานและในชีวิตประจำวัน
8. สร้างความเข้าใจกับบุคลอื่นๆ มีความโอบอ้อมอารี
9. ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ด้วยหลักการและเหตุผล
10. สร้างความหวังและกำลังใจให้ตนเอง

ที่มา http://nancylovebeer.blogspot.com/2011/08/blog-post_5680.html

1. ทางกายภาพ หมายถึง รูปร่างหน้าตาดี ย่อมส่งผลให้ผู้สัมภาษณ์สนใจได้บ้าง และตนเองก็มีความภูมิใจมั่นใจยิ่งถ้ามีสุขภาพที่แข็งแรงว่องไวในการทำงาน ยิ่งน่าประทับใจ

2. ทางสมอง สมองดีไม่มีโรคภัยไข้เจ็บก็จะทำให้เขามีความทรงจำดีเชาวน์ปัญญาดี แต่ต้องเป็นผลจากการศึกษาอบรมพื้นฐานด้วย

3. ความสามารถ อาศัยประสบการณ์ และความถนัดจากการฝึกฝน

4. ความประพฤติ เป็นผู้อยู่ในศีลธรรม สุภาพอ่อนโยน มีมนุษยสัมพันธ์ ไม่เป็นปฏิปักษ์กับสังคม

5. ชอบเข้าสังคมมีทัศนคติที่ดีต่อผู้อื่น การแสดงออกต่อเพื่อนฝูง ไม่เห็นแก่ตัว มีน้ำใจต่อผู้อื่นไม่อวดตัว

6. อารมณ์ดี ใจเย็น ไม่ฉุนเฉียว อดกลั้นโทสะได้

7. กำลังใจ เป็นคนที่จิตใจเข้มแข็ง ไม่ท้อถอย ไม่เสียขวัญง่าย

บุคลิกภาพมีอิทธิพลต่อการเลือกอาชีพ

เพราะบุคลิกภาพมีอิทธิพลต่อการเลือกอาชีพ โดยบุคคลจะเลือกอาชีพที่เหมาะสมกับบุคลิกภาพของตน บุคลิกภาพเฉพาะอย่างมีความสัมพันธ์กับอาชีพ เฉพาะอย่าง ทฤษฎีการเลือกอาชีพของ “จอห์นแอล ฮอลแลนด์”

1. แนวคิดพื้นฐาน 4 ประการ

ประการที่ 1 อาชีพเป็นเครื่องแสดงออกทางบุคลิกภาพ บุคคลจะเลือกอาชีพใดย่อมแสดงว่าบุคลิกภาพของ เขาจะปรากฏออกมาในทิศทางเดียวกัน
ประการที่ 2 บุคลิกภาพของแต่ละบุคคลมีความสัมพันธ์กับชนิดของสิ่งแวดล้อมในการทำงานของ บุคคลนั้น ดังนั้น บุคคลจึงมีแนวโน้มจะหันเข้าหางาน หรืออาชีพที่สอดคล้องกับบุคลิกภาพของเขา
ประการที่ 3 บุคคลจะค้นหาสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้เขาได้ฝึกทักษะ และใช้ความสามารถของเขา ทั้งยัง เปิดโอกาสให้เขาได้แสดงเจตคติ ค่านิยม และบทบาทของเขาฃ
ประการที่ 4 บุคลิกภาพของสิ่งแวดล้อมจะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของแต่ละบุคคล ดังนั้น เมื่อสามารถ ทราบบุคลิกภาพและสิ่งแวดล้อมของบุคคลแล้ว ก็จะทำให้ทราบผลที่จะติดตามมาของบุคคลนั้นด้วย เช่น การเลือกอาชีพ ความสำเร็จในอาชีพ ตลอดจนทั้ง พฤติกรรมต่าง ๆ ทั้งการศึกษาอาชีพและสังคมด้วย

2. สาระของทฤษฎี

ฮอลแลนด์ได้สรุปทฤษฎีของเขาไว้ 4 ประการดังนี้ คือ

2.1 ในสังคมของวัฒนธรรมตะวันตก สามารถแบ่งบุคคลออกตามลักษณะของบุคลิกภาพได้ 6 ประเภท คือ พวกชอบเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เป็นรูปธรรม (Realistic) พวกที่ชอบเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ใช้ความคิด การแก้ปัญหา (Intellectual) พวกชอบเข้าสังคม (Social) พวกชอบระเบียบแบบแผน (Conventional) พวกที่มีความทะเยอทะยาน ชอบมีอำนาจ (Enterprising) และพวกชอบศิลปะ (Artistic)
2.2 บรรดาอาชีพต่าง ๆ นั้น สามารถแบ่งตามลักษณะและสภาพแวดล้อมได้ 6 ชนิด ซึ่งสอดคล้องกับบุคลิกภาพของคนทั้ง 6 ประเภท
2.3 บุคคลย่อมแสวงหาสภาพแวดล้อมและอาชีพ ซึ่งเปิดโอกาสให้เขาได้ใช้ความสามารถและทักษะ เพื่อแสดงออกถึงค่านิยมและทัศนคติ ตลอดจนการ มีบทบาทที่เหมาะสม และหลีกเลี่ยงบทบาทที่ไม่เหมาะสมกับตนเอง
2.4 พฤติกรรมของบุคคลสามารถอธิบายได้จากปฏิกิริยาระหว่างแบบฉบับแห่งพฤติกรรมของ เขากับสภาพแวดล้อมของเขา

ท่านมีแนวถนัดด้านใดบ้าง

คนเรานั้นมีความถนัดในการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือหลาย ๆ สิ่งด้วยกันทุกคน แต่มีระดับความสามารถมากน้อยแตกต่างกันไป บางคนมีความถนัดใน การทำงานหลาย ๆ ด้าน แต่บางคนมีความถนัดในการทำงานด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะความถนัดก็คือ ระดับความสามารถของบุคคล ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้ โดยที่บุคคลนั้น ๆ ได้รับการฝึกอบรม หรือมีประสบการณ์ในงานนั้นๆ มาคู่กัน และสามารถที่จะนำ ประสบการณ์หรือความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรมนั้นไปใช้ให้ เป็นประโยชน์ สำหรับการสำรวจตัวท่านเองว่าเป็นคนอย่างไร มีบุคลิกภาพอย่างไร ตลอดจนพฤติกรรมและลักษณะที่เป็นทั้งข้อดีข้อเสีย มีความเชี่ยวชาญ ชอบงาน ประเภทใด และมีความถนัดทางด้านใด จะช่วยให้เราสามารถมองภาพที่เป็นตัวเองได้ทั้งหมด
จอห์น แอล ฮอลแลนด์ ได้จำแนกประเภทอาชีพตามบุคลิกภาพของบุคคลออกเป็น 6 กลุ่ม ซึ่งสามารถตัดสินใจก่อนตัดสินใจเลือกอาชีพดังนี้

ลักษณะโดยทั่วไป

ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบนี้ จะชอบกิจกรรมที่ต้องใช้พละกำลังชอบทำจักรกล ขาดทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องสังคมกับบุคคลอื่น ไม่ชอบเป็นจุดสนใจของผู้อื่น ค่อนข้างก้าวร้าว มีลักษณะเป็นชาย มีค่านิยมทางเศรษฐกิจและการเมือง ในรูปแบบที่มีระเบียบแบบแผนยึดถือประเพณีนิยม

ลักษณะเด่นของบุคลิกภาพ
มีความเป็นผู้ใหญ่ มีความอดทน มีความบากบั่น กล้าแสดงผลงาน ขาดทักษะในการสร้างสัมพันธภาพทางสังคม

กลุ่มที่ 2 บุคลิกภาพแบบที่ต้องใช้เชาวน์ปัญญาและความคิดนักวิชาการ หรือผู้ใช้กิจกรรมทางปัญญาในการแก้ปัญหา และแสวงหาความรู้ (Investigative)

ลักษณะโดยทั่วไป
ผู้ที่มีบุคลิกแบบนี้จะชอบคิด สังเกต วิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจารณ์อย่างมีเหตุผล ชอบแก้ปัญหา ชอบใฝ่หาความรู้ มีหลักการ ชอบทำงานที่สลับซับซ้อน มากกว่าเป็นผู้ลงมือทำ ไม่ติดประเพณีนิยมหลีกเลี่ยงการค้า การชักชวน การเข้าสังคมและการเลียนแบบ

ลักษณะเด่น
มีความเชื่อมั่นในตัวเอง มีความคิดเห็นรุนแรง มีความบากบั่นอุทิศเวลาให้กับงาน เก็บตัวไม่ใคร่สนใจ

การประเมินตนเอง
มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ไม่ชอบเอาอย่างใครสูง มีความร่าเริงต่ำ

กลุ่มที่ 3 บุคลิกภาพแบบมีศิลปะ (Artistic)

ลักษณะโดยทั่วไป
ผู้ที่มีบุคลิกภาพที่ชอบกิจกรรมเกี่ยวกับนามธรรม เป็นอิสระ รักความงาม มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ชอบใช้ชีวิตและกิจกรรมแบบตามลำพังไม่ค่อยควบคุมตัวเอง มักทำตามใจที่ตนปรารถนา มีความต้องการแสดงออกถึงลักษณะเฉพาะตัวของตัวเอง ชอบงานทางศิลปะ ไม่ชอบเลียนแบบ มีความคิดริเริ่ม หลีกเลี่ยงงานประเภทใช้ระเบียบแบบแผน

ลักษณะเด่นของบุคลิกภาพ
มีสุนทรีย์ มีศิลปะ ชอบคิดคำนึง ชอบครุ่นคิดคนเดียว เก็บตัว

การประเมินตนเอง
มีความเป็นอิสระสูง มีความเข้าใจในตนเองสูง มีความสามารถในการควบคุมตนเอง มีความสามารถในการแสดงความรู้สึก

กลุ่มที่ 4 บุคลิกภาพที่ชอบสมาคม สังคมกับบุคคลอื่น มีความสนใจสังคม (Social)

ลักษณะโดยทั่วไป
ผู้มีบุคลิกภาพแบบนี้ชอบติดต่อกับคน ชอบสนทนา ชอบให้ความรู้ สอนผู้อื่น ชอบแสดงตัวร่าเริง มีความรับผิดชอบ มีทักษะทางภาษา ต้องการความสนใจ ชอบ ช่วยเหลือผู้อื่น มีลักษณะเป็นผู้หญิง หลีกเลี่ยงการใช้ความคิดทางปัญญา มีแก้ปัญหาโดยคำนึงถึงความรู้สึก หลีกเลี่ยงงานที่เกี่ยวกับเครื่องยนต์ หรือทางวิทยาศาสตร์

ลักษณะเด่นของบุคลิกภาพ
ชอบสมาคม ร่าเริง ชอบเที่ยว รักษาประเพณี มีความรับผิดชอบ มีอำนาจอิทธิพลเหนือบุคคลอื่นๆ มีลักษณะท่าทาง นิสัยเป็นหญิง

กลุ่มที่ 5 บุคลิกภาพแบบกล้าคิดกล้าทำ มีธรรมชาติที่ชอบทำกิจกรรมเกี่ยวข้องกับการวางแผนหรือผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ (Enterprising)

บุคลิกภาพเพื่อการทำงานมีประโยชน์อย่างไร

การมีบุคลิกภาพที่ดีนอกจากจะช่วยให้การทำงานก้าวหน้าประสบความสำเร็จแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างความมั่นใจด้านบวกให้กับตัวคุณเองได้อีกด้วย.
ช่างสังเกต ... .
กระตือรือล้นและหนักแน่น ... .
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ... .
สู้งาน ... .
มีหัวใจเพื่องาน ... .
มนุษยสัมพันธ์ดี ... .
มีความเป็นผู้นำ ... .
มีความเป็นระเบียบและมีวินัย.

บุคลิกภาพที่เหมาะในการทำงานคือแบบไหน

คือมีใจรักในการทำงาน ทำงานเพื่องาน มิใช่ทำงานเพื่อแลกกับค่าแรงหรือเงินเดือนเพียงอย่างเดียว แต่มีความตั้งใจทำงาน สู้งาน และรับผิดชอบงานที่ตนทำอยู่ให้สำเร็จลุล่วง มนุษยสัมพันธ์ดี

บุคลิกภาพมีความสําคัญอย่างไรต่อการเลือกอาชีพ

ลักษณะของบุคลิกภาพเฉพาะของแต่ละคนนั้น หากบุคคลรู้จักและเข้าใจบุคลิกภาพจนสามารถมองตนได้ตามสภาพความเป็นจริงย่อม ช่วยให้บุคคล ตัดสินใจเลือกแนวทางชีวิต การศึกษา และอาชีพได้อย่างสอดคล้องกับตัวเองมากที่สุด

บุคลิกภาพที่พึงประสงค์ในการทำงานประกอบด้วยกี่ข้อ

1O บุคลิกภาพที่คนทำงานควรมี.
1.ช่างสังเกต ช่างคิด ช่างสืบค้น ช่างแสวงหาคำตอบในปัญหา จะทำให้เกิดความละเอียดรอบคอบ ส่งผลให้ผลงานของคนช่างสังเกตนั้น ละเอียดและมีความผิดพลาดน้อย.
2.กระตือรือร้นและหนักแน่น ... .
3.มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ... .
4.สู้งาน ... .
5.มีหัวใจเพื่องาน ... .
6.มนุษยสัมพันธ์ดี ... .
7.มีความเป็นผู้นำ ... .
8.มีความเป็นระเบียบและมีวินัย.