โครงงานภาษาไทย เรื่อง คําทับศัพท์

โครงงานภาษาไทย เรื่อง คําทับศัพท์

คำทับศัพท์

โครงงานภาษาไทย เรื่อง คําทับศัพท์
"คำทับศัพท์" หมายถึง "คำที่รับจากภาษาหนึ่งมาใช้ในอีกภาษาหนึ่ง โดยวิธีถ่ายเสียงและถอดอักษร เช่น เขียนทับศัพท์และแปลทับศัพท์" ประเทศไทยได้รับภาษาต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทยมากมายหลายภาษา แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะการเขียนทับศัพท์คำที่มาจากภาษาอังกฤษเท่านั้น เพราะคำเหล่านี้มีใช้กันอย่างแพร่หลายทุกวงการ โดยราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติศัพท์ขึ้นใช้แล้ว เราคนไทยทุกคนควรศึกษาและเพิ่มความระมัดระวังเพื่อจะเขียนได้อย่างถูกต้องต่อไป

นิยาม

โครงงานภาษาไทย เรื่อง คําทับศัพท์
ปกติแล้วการทับศัพท์คือการจับคู่จากระบบการเขียนหนึ่งไปยังอีกระบบหนึ่งแบบคำต่อคำ หรือตามทฤษฎีคืออักษรต่ออักษร การทับศัพท์ได้พยายามที่จะสร้างความสัมพันธ์หนึ่งต่อหนึ่งทั่วถึงและทำให้เกิดความถูกต้องแม่นยำ เพื่อให้ผู้อ่านที่ได้รับรู้สามารถสะกดคำต้นฉบับจากคำทับศัพท์ได้ และเพื่อที่จะบรรลุจุดประสงค์นี้ จึงมีการกำหนดหลักการทับศัพท์ที่ซับซ้อนในการจัดการกับตัวอักษรบางตัวในภาษาต้นฉบับที่ไม่สัมพันธ์กับอักษรในภาษาเป้าหมาย ความหมายอย่างแคบของการทับศัพท์คือ การทับศัพท์แบบถอดอักษร (transliteration) ซึ่งเคร่งครัดในการคงตัวอักษรและเครื่องหมายวรรคตอนทุกอย่างเอาไว้ ทั้งนี้การถอดอักษรไม่สนใจความแตกต่างของเสียงในภาษา ตัวอย่างหนึ่งของการถอดอักษรคือการใช้แป้นพิมพ์ภาษาอังกฤษ พิมพ์แทนภาษาอื่นที่ใช้ตัวอักษรต่างออกไปเช่นภาษารัสเซียเนื่องจากมีข้อจำกัดทางเทคนิค หรือการถอดอักษรโบราณเพื่อให้ยังคงรักษารูปแบบการเขียนเดิมเอาไว้

โครงงานภาษาไทย เรื่อง คําทับศัพท์
การทับศัพท์ (การถอดอักษร) ต่างจากการถอดเสียง (transcription) ซึ่งเป็นการจับคู่เสียงอ่านของภาษาหนึ่ง ๆ ไปยังรูปแบบการเขียนของอีกภาษาที่ใกล้เคียงที่สุด ถึงแม้ว่าระบบการถอดอักษรส่วนใหญ่จะยังคงจับคู่อักษรต้นฉบับกับอักษรในภาษาเป้าหมายที่ออกเสียงคล้ายกันในบางคู่ ถ้าหากความสัมพันธ์ระหว่างตัวอักษรกับเสียงเหมือนกันทั้งสองภาษา การถอดอักษรก็อาจแทบจะเหมือนกับการถอดเสียง ในทางปฏิบัติ ก็มีการทับศัพท์บางระบบที่ผสมกันระหว่างการถอดอักษรและการถอดเสียง โดยจะถอดอักษรต้นฉบับบางส่วนและถอดเสียงในส่วนที่เหลือ การถอดเสียงจะพยายามหาแนวทางที่ดีที่สุดในการเขียนภาษาต่างประเทศให้เป็นภาษาเฉพาะ เช่นการเขียนคำในภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยโดยไม่สลับภาษาบนแป้นพิมพ์ (บางครั้งผู้ใช้งานอาจพบว่าการกระทำเช่นนี้อาจทำให้อ่านเข้าใจยากกว่าการพิมพ์โดยสลับภาษาตามปกติ) การถอดเสียงขณะพิมพ์จึงถือเป็นกระบวนการประยุกต์โดยแท้จริงเพื่อการป้อนข้อความในภาษาเฉพาะเช่นนั้น แต่ก็มีข้อเสียคืออาจทำให้ไม่สามารถคาดเดาเพื่อถอดกลับไปเป็นภาษาเดิมได้ เพราะมีอักษรที่เพิ่มเข้ามาหรือถูกตัดออกไป หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบจนไม่เหลือเค้าโครงเดิม ความหมายอย่างกว้างของการทับศัพท์จึงหมายรวมทั้งการทับศัพท์แบบถอดอักษรและการทับศัพท์แบบถอดเสียง

โครงงานภาษาไทย เรื่อง คําทับศัพท์
นอกจากนี้ ไม่ควรสับสนระหว่างการทับศัพท์กับการแปล ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนหรือเลือกคำในภาษาเพื่อสงวนความหมายดั้งเดิมเอาไว้ ในขณะที่การทับศัพท์เป็นการแปลงตัวอักษรเท่านั้น

โครงงานภาษาไทย เรื่อง คําทับศัพท์
คำแรกคือคำว่า "เกม" มาจากภาษาอังกฤษว่า "game" หมายถึง "การแข่งขัน การเล่นเพื่อความสนุก หรือ เป็นลักษณะนามเรียกการแข่งขันซึ่งหมดลงในคราวหนึ่ง ๆ" เช่น "การแข่งขันครั้งนี้มีแข่งขัน ๓ เกม" ถ้าเป็นภาษาปากมีความหมายว่า "สิ้นสุด, จบ" เช่น "เรื่องระหว่างคุณกับผมถือว่าเกมกันไปแล้ว" ดังนั้นเมื่อนำมาเขียนเป็นภาษาไทยจะไม่เขียนว่า "เกมส์" เพราะไทยจะรับมาเฉพาะคำที่ไม่เป็นพหูพจน์ เนื่องจากเรามีการใช้ลักษณะนามบอกจำนวนที่เป็นพหูพจน์อยู่แล้ว เช่น "งานกีฬาสีปีนี้มีเกมการแข้งขันมากถึง ๒๕ เกม" ยกเว้นชื่อเฉพาะ เช่น "เอเชียนเกมส์ , โอลิมปิกเกมส์" เป็นต้น

โครงงานภาษาไทย เรื่อง คําทับศัพท์

โครงงานภาษาไทย เรื่อง คําทับศัพท์
คำว่า "คลินิก" มาจากภาษาอังกฤษว่า "clinic" ไทยนำมาใช้ในความหมายว่า "สถานพยาบาล" คำนี้มีการรณรงค์ชี้แจงกันมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว หลายแห่งไม่ได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขยังคงเขียนผิดเป็น "คลินิก คลินิค หรือ คลีนิค" ซึ่งคงต้องขอความร่วมมือผู้เกี่ยวข้องได้โปรดช่วยกันแก้ไขให้ถูกต้องกันด้วย

โครงงานภาษาไทย เรื่อง คําทับศัพท์

โครงงานภาษาไทย เรื่อง คําทับศัพท์
คำว่า "วิดีโอ" และคำว่า "วีดิทัศน์" คำสองคำนี้จะพบว่าเขียนยังไม่ถูกต้องเกือบจะทั่วไป คำว่า "วิดีโอ" มาจากภาษาอังกฤษว่า "video" หมายถึง "ส่วนของเครื่องรับและส่งโทรทัศน์เกี่ยวกับภาพ"

โครงงานภาษาไทย เรื่อง คําทับศัพท์
ส่วนคำว่า "วีดิทัศน์" เป็นศัพท์บัญญัติทางการศึกษาของคำว่า "วิดีโอ" หมายถึง ภาพที่ได้รับการบันทึกลงในแถบพลาสติกเคลือบสารแม่เหล็ก สำหรับออกอากาศทางโทรทัศน์ เช่น วีดิทัศน์เรื่อง "นิราศพระบาท" หรือ วีดิทัศน์เรื่อง "พืชสมุนไพร" เป็นต้น คุณครูที่ทำผลงานทางวิชาการจะผิดที่คำนี้เป็นส่วนใหญ่ ตรวจสอบดูใหม่ให้ถูกต้อง ภาษาไทยพิถีพิถันในเรื่องการเขียนมากกว่ากลุ่มสาระวิชาอื่นๆ

โครงงานภาษาไทย เรื่อง คําทับศัพท์

โครงงานภาษาไทย เรื่อง คําทับศัพท์
ขอบคุณที่มา
โครงงานภาษาไทย เรื่อง คําทับศัพท์

https://th.wikipedia.org/wiki/การทับศัพท์
http://www.sahavicha.com/?name=article&file=readarticle&id=272

โครงงานภาษาไทย เรื่อง คําทับศัพท์