เทคโนโลยีกับการเรียนการสอน

เทคโนโลยีกับการศึกษา

เมื่อ :

วันอังคาร, 07 กันยายน 2564

           สังคมปัจจุบันเป็นสังคมแห่งความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ที่มีแนวโน้มการพัฒนาแบบก้าวกระโดดในคริสต์ศตวรรษที่ 21 สังคมมีแนวโน้มที่จะพลิกโจมครั้งใหญ่อีก ดังนั้นถ้าเราขาดการเตรียมความพร้อม เราก็จะกลายเป็นคนล้าสมัยหรือตกยุคได้ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นยุคของสังคมอุตสาหกรรม มนุษย์เริ่มนำอุปกรณ์เทคโนโลยีมาใช้ และเน้นการสร้างคนให้ทำงานในโรงงานอุดสาหกรรม เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ออกมาให้เพียงพอกับความต้องการของประซากรที่เพิ่มสูงขึ้นตลอดเวลา ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นยุคสังคมอุตสาหกรรมที่เน้นการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้แทนแรงงานคนบทบาทของคนได้เริ่มเปลี่ยนจากการเป็นผู้ใช้แรงงาน กลายเป็นผู้คิดค้นอุปกรณ์เทคโนโลยีเพื่อนำมาใช้งาน และช่วยอำนวยความสะดวกในคริสต์ศตวรรษที่ 21 เทคโนโลยีมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ตัวอย่างเช่นในปี ค.ศ. 1950 กระบวนการผลิตรถยนต์ในโรงงานต้องอาศัยแรงงานคนเป็นจำนวนมาก ดังภาพ 1 แต่ในปี ค.ศ. 2015 ไต้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตรถยนต์ในโรงงาน จึงใช้จำนวนคนลดลง ดังภาพ 2

เทคโนโลยีกับการเรียนการสอน

ภาพ 1 กระบวนการผลิตรถยนต์ ใดยใช้แรงงานคน ในปี ค.ศ. 1950
ที่มา https://www.mprnews.org/story/2016/11/29/books-ford-century-in-minnesota

เทคโนโลยีกับการเรียนการสอน

ภาพ 2 กระบวนการผลิตรถยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ใช้จำนวนคนลดลง ในปี ค.ศ. 2015
ที่มา http://www.autoguide.com/auto-news/2015/03/should-you-rust-proof-your-new-car-.html

          ปัจจุบันร้านสะดวกซื้อ Amazon Go ดังภาพ 3 เพิ่งเปิดทำการในวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2561 ซึ่งมีจุดเด่นที่ลูกค้าไม่ต้องเข้าคิวจ่ายเงิน เพราะสามารถใช้แอพพลิเคชันของทางร้านจ่ายเงินแล้วเดินออกจากร้านได้ในทันที ซึ่งจุดสแกนแอพพลิเคชันจะอยู่บริเวณทางเข้าร้าน ดังภาพ 4 ดังนั้นจึงไม่ต้องมีพนักงานขายและพนักงานเก็บเงิน แล้วในอนาคตคนที่ถูกเทคโนโลยีเข้ามาทำงานแทนที่จะทำอะไรหรือคนเหล่านี้ต้องกลายเป็นคนตกงาน

เทคโนโลยีกับการเรียนการสอน

ภาพ 3 ร้านสะดวกซื้อ Amazon GO
ที่มา https://www.entrepreneur.com/article/307834

เทคโนโลยีกับการเรียนการสอน

ภาพ 4 จุดสแกนแอพพลิเคชันเพื่อซื้อสินค้าในร้าน
ที่มา http://www.statesman.com/news/national/amazon-debuts-cashier-less-amazon-store-downtown-seattle/8Kx4Y59yBDrvrRut2T4CJ/

          การตอบคำถามดังกล่าว นำไปสู่การเตรียมกำลังคนให้พร้อม เพื่ออยู่ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 อย่างมั่นใจว่าสามารถอยู่ร่วมกับเทคโนโลยีได้ การเตรียมความพร้อมดังกล่าวควรเริ่มต้นจากปัจจัยพื้นฐานของชีวิตซึ่งก็คือการศึกษาดังที่ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ได้กล่าวเกี่ยวกับการศึกษาในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ไว้ว่า เป็นการสร้างคนให้เป็นบุคคลที่พร้อมจะเรียนรู้ตลอดชีวิต และพร้อมที่จะนำความรู้ไปใช้ทำงานไม่ใช่แค่เพียงเรียนรู้เพื่อจะทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมอีกต่อไป

          เรื่องท้าทายสำหรับผู้สอนที่จะเป็นผู้สร้างบุคคลากรในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ให้มีความเชี่ยวซาญและพร้อมที่จะนำเทศโนโลยีมาใช้ประโยชน์ในการเรียนรู้ และที่สำคัญคือต้องปลูกฝังจรรยาบรรณของคนรุ่นใหม่ โดยไม่นำเทคโนโลยีไปใช้ในทางที่ผิดหรือใช้อย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ผู้สอนจึงต้องวางรากฐานการใช้เทคโนโลยีของผู้เรียนไว้ตั้งแต่วัยเริ่มตันการเรียนรู้ของชีวิต

เทคโนโลยีกับการเรียนการสอน

ภาพ 5  แสดงพัฒนาการของเทคโนโลยีสื่อสารตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

          ผู้สอนจึงต้องเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ด้วย เพื่อให้มีความชำนาญ จนสามารถนำไปใช้จัดการเรียนการสอนในห้องเรียนได้อย่างเหมาะสม ปัจจุบันมีการพัฒนาสื่อแอพพลิเคชันหลายรูปแบบที่ช่วยการเรียนการสอนในห้องเรียน ตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงระดับมหาวิทยาลัยโดยสื่อเหล่านี้จะอิงหลักของพัฒนาการตามวัยของเด็กเช่น แอพพลิเคชันฝึกทักษะเด็กปฐมวัย ซึ่งช่วยฝึกการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก โดยใช้มือขยับเมาส์ เพื่อลากโยงเส้นหรือวาดรูปสิ่งต่าง ๆ ได้ตามจินตนาการ เมื่อเด็กเข้าสู่ระดับประถมศึกษา จึงเริ่มนำแอพพลิเคชันมาประยุกต์ให้เข้ากับวิชาเรียนมากขึ้น เช่น ในวิชาภาษาอังกฤษ ผู้สอนนำแอพพลิเคชันโฟเนติกส์ (Phonetics) ซึ่งพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยฝึกการออกเสียงคำศัพท์ให้ได้สำเนียงที่ถูกต้อง ในวิชาคณิตศาสตร์ผู้สอนนำแอพพลิเคชันคาอุต (Kahoot) ซึ่งพัฒนาจากการตอบโจทย์ปัญหาในห้องเรียน โดยผู้สอนจะสร้างชุดคำถามขึ้นหนึ่งชุด จากนั้นให้ผู้เรียนตอบคำถามโดยผ่านอุปกรณ์สื่อสารที่เชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตผู้เรียนที่ได้คะแนนสูงสุดคือ ผู้ที่ตอบได้เร็วและถูกต้องที่สุดในวิชาวิทยาศาสตร์ ผู้สอนมีแอพพลิเคชันแพตเล็ต (Padlet) ซึ่งพัฒนาจากกระดานให้แสดงความคิดเห็น โดยแอพพลิเคชันนี้จะเป็นเสมือนกระดานหน้าชั้นเรียนที่นักเรียนทุกคนสามารถ

          ทำงานร่วมกันได้ เช่น สามารถเขียนข้อคิดเห็น ข้อสรุปตลอดจนข้อซักถามต่าง ๆ ทั้งในรูปแบบภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว โดยทุกคนจะสามารถเห็นข้อมูลทั้งหมดบนกระดานได้พร้อมกัน แอพพลิเคชันนี้จึงสามารถใช้ในการบันทึกข้อมูลผลการทำกิจกรรม แทนการจดบันทึกโดยใช้ปากกาบันทึกลงในกระดาษด้วยนอกจากนี้การประเมินการสอน ผู้สอนสามารถใช้แอพพลิเคชันเมนติมิเตอร์ (Mentimeter) ซึ่งสามารถประเมินผลแบบรู้ผลในทันที (Real Time) วิธีหนึ่งที่สามารถทำได้ง่ายคือ ผู้สอนเป็นคนตั้งคำถามเกี่ยวกับบทเรียนนั้น ๆแล้วให้ผู้เรียนเข้าไปลงคะแนน เช่น หลังการเรียน ผู้เรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับบทเรียนอย่างไร โดยมีข้อความให้เลือกคือ เข้าใจมาก เข้าใจปานกลาง และเข้าใจน้อยซึ่งผู้สอนสามารถทราบผล และนำผลไปปรับใช้ในการสอนครั้งถัดไปได้ในทันที แอพพลิเคชันเหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างที่ผู้สอนสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนในห้องเรียน เพื่อปรับเปลี่ยนวิธีจัดการเรียนรู้และเพิ่มประสิทธิภาพของผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม ภาพ 6.1 และ 6.2 เป็นรูปของนักเรียนคนเดียวกัน ศึกษาเรื่องเดียวกัน แต่มีวิธีเรียนที่แตกต่างกัน

เทคโนโลยีกับการเรียนการสอน

          สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้นำแอพพลิเคซันแพตเล็ต มาใช้ระหว่างการอบรมเชิงปฏิบัติการวิชาวิทยาศาสตร์ของครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เพื่อเป็นตัวอย่างให้ผู้สอนสามารถนำไปใช้ในห้องเรียน โดยใช้แอพพลิเคชันนี้ในการบันทึกข้อมูลผลการทำกิจกรรมและนำเสนอ ดังภาพ 7 ซึ่งเริ่มจากการสร้างความคุ้นเคยกับแอพพลิเคชันโดยให้ผู้รับการอบรมแนะนำตัวผ่านแอพพลิเคชันแพตเล็ต จากนั้นเริ่มให้ใช้ประกอบในการทำกิจกรรมเรื่องที่ 1 ดังภาพ 8 ระหว่างการใช้งานจะพบว่าครูมีคำถามและข้อสงสัยเกี่ยวกับแอพพลิเคข้นบ้าง เช่น วิธีการใส่รูปและการเพิ่มข้อความ แต่หลังจากที่ได้ใช้แอพพลิเคชันนี้ทำกิจกรรมไปเรื่อย ๆ จนถึงกิจกรรมที่ 4 ในภาพ 9 จะพบว่าแต่ละกลุ่มสามารถส่งข้อมูลได้เร็วขึ้นสวยงามมากขึ้น และครูเริ่มมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการใช้แพตเล็ตและแอพพลิเคชันอื่น " จึงเป็นการแสดงให้เห็นความพึงพอใจของผู้ใช้งาน

เทคโนโลยีกับการเรียนการสอน

ภาพ 7 กระดานแนะนำสมาชิกในห้องอบรม เพื่อเริ่มต้นเรียนรู้วิธีใช้งานเบื้องต้นของแอพพลิเคซันแพตเล็ต

เทคโนโลยีกับการเรียนการสอน

ภาพ 8  ผลการทำกิจกรรมที่ 1 ครูสามารถเพิ่มรูปภาพและหัวข้อลงในกระดานแพตเล็ตได้

ที่มา  https://padlet.com/lumbu/y9hz7769hobi

เทคโนโลยีกับการเรียนการสอน

ภาพ 9 ผลการทำกิจกรรมที่ 4 ครูสามารถเพิ่มวีติโอในกระดานแทนรูปภาพ
ที่มา https://padlet.com/lumbu/44uj60mnpwyd

           หลังการอบรมพบว่า ครูส่วนใหญ๋ให้ความคิดเห็นว่าแอพพลิเคชันนี้ใช้งานง่ย สามารถสร้างความสนใจในการเรียนได้ดี และทำให้เห็นหลักฐานที่ชัดเจน นำไปสู่การสรุปผลได้ง่าย สามารถดูผลการทำกิจกรรมย้อนหลังได้ และมีความสนใจที่จะนำแอพพลิเคชันนี้ไป่ใช้ในห้องเรียน นอกจากนี้ยังให้ข้อเสนอแนะว่าก่อนการใช้แอพพลิเคชันนี้ ควรกำหนดข้อตกลงในห้องเรียนให้ชัดจนว่าจะต้องใช้สมาร์ทโฟนในการทำกิจกรรมเท่านั้น ไม่อนุญาตให้ใช้แอพพลิเคชันเกม (ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนการเข้าใช้งานที่เว็บไซด์ http://padlet.com)

ผู้สอนท่านใดที่นำไปใช้ในห้องเรียนแล้วได้ผลเป็นอย่างไร สามารถแสดงความคิดเห็นในหน้ากระดานนี้ได้ที่ https://padlet.com/umbu/nh43mOrere84 หากมีแอพพลิเคชันอื่น ๆ ที่น่าสนใจก็สามารถเข้าไปแนะนำในหน้ากระดานนี้ได้

          บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://magazine.ipst.ac.th/

บรรณานุกรม

The evolution of communication technology. Retrieved March 23. 2016, from https://www.ukessays.com/essays/history/the-evolution-of-communication-technology.php.

LARKEES JUNE 6. 2014 Communication Technology. Retrieved November 24. 2016. from https://designanddigitaltechnology.wordpress.com/2014/06/06/communicationtechnology/

Shuhua Monica Liu & Qiani Yuan พัฒนาการของการสื่อสารตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน The Evoluion of Information and Communication

Technology in Public Administration. สืบคั้นวันที่ 28 พฤศจิกายน 2559. จาก http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1002/pad.1717/abstract May 2015.

การผลิตรถยนต์อุตสาหกรรม. สืบนวันที่ 23 มีนาคม 2559. จา http:/www.autoguide.com/auto-news/2015/03/should-you-rust-proof-your-new-car-html

วิจารณ์ พานิซ. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

แอพพลิเคซันวิซาคณิตศาสตร์. สืบคั้นวันที่ 1 ธันวาคม 2560, จาก https://kahoot.it/

แอพพลิเคชันวิชาคณิตศาสตร์. สืบต้นวันที่ 1 ธันวาคม 2560. จาก https:/www.mentimeter.com/  

หัวเรื่อง และคำสำคัญ

เทคโนโลยีกับการศึกษา, การเรียนการสอน, padlet

ลิขสิทธิ์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา

เทคโนโลยี

ระดับชั้น

ปฐมวัย
ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6

กลุ่มเป้าหมาย

ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป

ดูเพิ่มเติม

คุณอาจจะสนใจ

เทคโนโลยีกับการเรียนการสอน

Hits

เทคโนโลยีกับการเรียนการสอน
(258)

ในด้านการทำงานที่เกี่ยวข้องกับ Creativity ในบ้านเราแม้จะมีผู้ที่มีฝีมือและมีผลงานสร้างสรรค์ยอดเยี่ย ...

เทคโนโลยีกับการเรียนการสอน

Hits

เทคโนโลยีกับการเรียนการสอน
(1983)

E-learning (อีเลิร์นนิง) มาจากคำว่า electronic learning ซึ่งแปลตรงตัวเลยก็คือ การเรียนแบบอิเล็กทรอน ...