เทคนิคการตัด เย็บ เสื้อผ้า

หนึ่งในปัญหาหลักของวงการอุตสาหกรรมที่มีผ้าเป็นส่วนสำคัญในการผลิต คงจะหนีไม่พ้น ‘หลังจากตัดเย็บมีเศษผ้าเหลือทิ้งจำนวนมาก’ ไม่ใช่แค่สร้างขยะมหาศาลจนส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังสิ้นเปลืองทุนในการผลิต ต้องจ่ายเงินและใช้ผ้าเพิ่มขึ้นด้วย เราเข้าใจปัญหานี้เป็นอย่างดีจึงอยากมาบอกต่อเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้ทำงานตัดเย็บผ้าแล้วเหลือเศษผ้าเหลือทิ้งน้อยที่สุด แต่จะต้องทำอย่างไรบ้าง สามารถติดตาม เทคนิคการตัดเย็บผ้า ได้ในบทความนี้เลย

1. เตรียมหาช่างที่เชี่ยวชาญและอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับการทำงาน

ก่อนจะเริ่มลงมือทำเรื่องแรกที่คุณควรเตรียมให้พร้อมก็คือ หาช่างที่เชี่ยวชาญด้านการวางแพทเทิร์นและตัดเย็บผ้ามาเป็นผู้คำนวณดูว่า ควรจัดวางแพทเทิร์นอย่างไรถึงจะได้ผลงานออกมาคุ้มที่สุด เพื่อไม่ให้สั่งผ้ามาผิดพลาด ก่อนจะเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ให้เหมาะกับการทำงาน เช่น คอมพิวเตอร์ที่มีโปรแกรมวางแพทเทิร์นได้แม่นยำ กรรไกรคมตัดไม่พลาดหรือเบี้ยว โต๊ะตัดผ้าที่สามารถปรับเปลี่ยนเป็นหน้ากว้าง-หน้าแคบได้ตามต้องการ เป็นต้น

2. วางแพทเทิร์นจำลอง เพื่อวางแผนประหยัดเนื้อผ้า

หลังจากที่คุณวางแผนมาแล้วว่า จะตัดเย็บอะไรซักอย่างจนมาถึงขั้นตอนสร้างแพทเทิร์นเตรียมตัดเย็บเรียบร้อยแล้ว อย่าพึ่งนำไปตัดเย็บกับผ้าจริง เพราะกว่าจะได้แนวทางการตัดผ้าให้ประหยัดสุดคุณอาจต้องเสียเงินเสียผ้าไปจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะงั้นขั้นตอนแรกเลยขอแนะนำให้ลองวางแพทเทิร์นจำลองลงในโปรแกรมสำหรับวางแพทเทิร์นแล้วลองปรับการจัดวางดูว่า ควรวางแพทเทิร์นไซส์ไหนตำแหน่งไหนบ้าง (ปกติในผ้าหนึ่งผืนจะคละไซส์กันแทนที่จะวางไซส์เดียวกัน เพราะจะหาที่แทรกวางแพทเทิร์นได้จำนวนเยอะกว่า) แต่ถ้าไม่มีโปรแกรมอาจจะวางแพทเทิร์นแบบ Manual ด้วยการวาดบนกระดาษแล้วนำไปทาบลงกับผ้าจริงแทนก็ได้ แต่วิธีนี้จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญพอสมควร ไม่งั้นพลาดนิดเดียวอาจเปลืองเนื้อผ้าหนักกว่าเดิม

เทคนิคการตัด เย็บ เสื้อผ้า

3. คำนวณขนาดผ้าให้พอดีกับความต้องการ

หลังจากลองวางมาแล้วคร่าวๆ ว่า ผ้าผืนหนึ่ง (ตามขนาดที่ตั้งไว้) จะสามารถตัดเย็บไซส์ไหนได้จำนวนกี่ตัวก็มาต่อกันที่การคำนวณขนาดผ้า เพื่อให้ได้จำนวนผลงานการตัดเย็บตามความต้องการ โดยคำนวณตามสูตร ดังนี้ 

สำหรับผ้าธรรมดา : (จำนวนงานทั้งหมดที่ต้องการ / จำนวนการวางต่อผืน) x ความยาวต่อผืน = ผ้าที่ต้องใช้ทั้งหมด

สำหรับผ้ายืด : ชั่งน้ำหนักผ้าที่วางมาร์คต่อ 1 ผืน x จำนวนผืน 

ทั้งนี้อาจสั่งผ้ามาให้เหลือซัก 1 นิ้ว หรือ 15-20% ของปริมาณที่คำนวณออกมาได้ เพื่อให้ได้ผลงานพอดี ป้องกันการคำนวณขาดจนอาจต้องเสียหนักกว่าเดิมก็ได้

4. ตัดตามแพทเทิร์นไม่ต้องเผื่อเย็บ

ทาบแพทเทิร์นมาเท่าไหน ก็ตัดตามโครงแพทเทิร์นที่ทาบมาเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องเหลือพื้นที่เผื่อเย็บเพิ่มเติมอีก เพราะไม่ใช่แค่จะเปลืองเนื้อผ้า แต่การคำนวณที่ได้วางแผนไว้ในตอนแรกอาจคลาดเคลื่อนจนมีปัญหาตามมาได้ ด้วยการนำแพทเทิร์นไปวางบนผ้าและเผื่อตะเข็บในผ้าได้เลย หากไม่ถนัดควรเผื่อพื้นที่สำหรับการเย็บเพิ่มเติมก่อนคำนวณผ้า ไม่ใช่มาคำนวณภายหลังตอนจะตัดผ้าเพื่อนำไปเย็บต่อไป

ปัจจัยอื่นที่ต้องระวังเพิ่มเติม

แค่ตัดเย็บเนื้อผ้าเน้นคุ้มให้เหลือทิ้งน้อยอย่างเดียวอาจไม่พอ เพราะผลงานที่ได้อาจไม่น่าพึงพอใจเท่าไหร่ บางครั้งเลยอาจต้องระวังปัจจัยอื่นด้วย เช่น ประเภทเนื้อผ้าที่นำมาตัดเย็บ, หน้ากว้างของผ้า, ลวดลาย ฯลฯ

เนื้อผ้าเหลือทิ้งนำไปใช้ทำประโยชน์ยังไงต่อดี?

เชื่อไหมว่า ถึงเราจะระวังและวางแผนมาเป็นอย่างดีแค่ไหนก็ยังคงมีเนื้อผ้าเหลือทิ้งหลังตัดเย็บอยู่ดี อยู่ที่จะมากหรือน้อยแค่นั้น ปัญหาคือ แล้วเราจะจัดการกับเศษเนื้อผ้าที่เหลือแม้มีอยู่น้อยนิดกันยังไงดี? เรามีคำตอบมาฝากกัน

  •  คัดแยกเศษผ้า

หลังจากรวบรวมเศษผ้าที่เหลือมาแล้ว ต่อไปให้เริ่มจากการคัดแยกเศษผ้าตามแต่ละชนิดของเนื้อผ้า สี (ส่วนใหญ่จะแยกออกเป็นสีขาวและสีสันอื่นๆ) และขนาด เพื่อให้สามารถจัดกลุ่มไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้ง่ายขึ้น

  • ต่อยอดจากขยะสู่ผลงานสร้างประโยชน์หรือรายได้เพิ่มเติม

อย่าพึ่งนำเศษผ้าที่คุณกำลังมองว่า ‘เป็นขยะ’ ไปทิ้ง เพราะสิ่งเหล่านี้อาจสร้างประโยชน์หรือรายได้ให้คุณมากขึ้น เช่น นำไปตัดเย็บเป็นพรมเช็ดเท้า เปลผ้าถัก สร้อยข้อมือถักเปีย งานตกแต่งต่างๆ, ทำเป็นผ้าไว้ใช้ทำความสะอาดเครื่องจักรภายในโรงงาน ฯลฯ

  • ขายต่อให้คนอื่นได้นำไปใช้ทำประโยชน์ต่อไป

ในกรณีที่คุณนึกไม่ออกว่าจะเอาไปใช้ทำประโยชน์อะไรต่อดี หรือคนงานไม่มีเวลาเพียงพอจะมาสร้างสรรค์ผลงานในส่วนนี้ อาจนำไปขายต่อในราคาประหยัด เพื่อให้พวกเขาได้นำไปใช้ประโยชน์ต่อไปก็ได้ จะเห็นได้จากแบรนด์รักษ์โลกที่ปัจจุบันผุดขึ้นมาให้เห็นไอเดียเยอะขึ้น เช่น ที่นอนสัตว์เลี้ยง ผ้ากันเปื้อน ถุงผ้าเก็บช้อนส้อมส่วนตัว ฯลฯ

เทคนิคการตัด เย็บ เสื้อผ้า

เพียงเท่านี้ เทคนิคการตัดเย็บผ้า ก็ทำให้เศษผ้าที่หลายคนมองว่าเป็นปัญหาต้องกำจัดทิ้งก็จะหมดไป ไม่ต้องเหลือไว้เป็นขยะทำร้ายเงินในกระเป๋าและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา สำหรับท่านใดที่อ่านแล้วสงสัยอยากสอบถามเพิ่มเติม หรือ กำลังมองหาผ้าราคาโรงงาน เหลือทิ้งได้บ้างไม่ต้องกังวล 

    หนังสือ "เทคนิคการตัดเย็บเสื้อผ้าเบื้องต้น" เล่มนี้ ใช้ประกอบการเรียนรายวิชาการตัดเย็บเบื้องต้น ประเภทวิชาอุตสาหกรรมสิ่งทอ สำนักคณะกรรมการอาชีวศึกษา มีเนื้อหาเกี่ยวกับ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการตัดเย็บเสื้อผ้า การเย็บด้วยมือ จักรเย็บผ้าและการใช้จักรอุตสาหกรรมเข็มเดี่ยวฝีเข็มตรง การสร้างแบบตัดเบื้องต้น การติดซิป การทำกระเป๋าเสื้อผ้า และอื่นๆ อีกมากมาย โดยในเล่มได้อธิบายเนื้อหาอย่างละเอียด รวบรวมและเรียบเรียงเนื้อหาจากง่ายไปหายาก พร้อมภาพประกอบตัวอย่างเข้าใจง่าย เหมาะสำหรับใช้ประกอบการเรียนการสอน ของนิสิต นักศึกษาได้เป็นอย่างดี