สรุปพรบ บัตรประชาชน ล่าสุด

ผู้มีสัญชาติไทยทุกคนต้องมีบัตรประจําตัวประชาชนไว้ใช้แสดงตนเพื่อประโยชน์ในการเข้ารับบริการสาธารณะของรัฐ จึงได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการการออกบัตรประจําตัวประชาชน เพื่อให้สอดคล้องกับการที่รัฐจะนําเทคโนโลยีมาใช้ในการบริการประชาชนในด้านต่าง ๆ ผ่านทางบัตรประจําตัวประชาชน เพื่อประโยชน์ของผู้ถือบัตรประจําตัวประชาชน

สรุปพรบ บัตรประชาชน ล่าสุด
ดาวน์โหลดเอกสาร

                บัตรประจำตัวประชาชนเป็นเอกสารที่ทางราชการออกให้  เพื่อใช้พิสูจน์ยืนยันตัวบุคคลว่ามีสัญชาติไทยจริง  บัตรประจำตัวประชาชนจะนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ  เช่น  การทำนิติกรรมสัญญา  การสมัครงาน  การใช้สิทธิ์เลือกตั้ง  การทำหนังสือเดินทาง  การทำใบอนุญาตขับขี่  ฯลฯ  ถ้าไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนจะทำให้เกิดความยุ่งยากในการพิสูจน์ตัวบุคคลและการติดต่อการงานต่างๆ

                กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับบัตรประจำตัวประชาชน คือ พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 และพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542 กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับบัตรประจำตัวประชาชน เป็นหลักฐานที่แสดงถึงการเป็นพลเมืองไทย โดยจะต้องเป็นบุคคลผู้มีนสัญชาติไทย มีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 70 ปี ต้องยื่นขอมีบัตรประจำตัวประชาชน ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือที่ทำการกิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขตที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่มีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ มีรายละเอียดดังนี้

# 01 ความสำคัญของบัตรประชาชน

บัตรประชาชน หรือ บัตรประจำตัวประชาชน เป็นเอกสารสำคัญที่ทางราชการออกให้เฉพาะ เพื่อใช้ยืนยันตัวบุคคล ในกรณีที่ใช้สิทธิเลือกตั้ง สมัครงาน ทำนิติกรรมสัญญา ติดต่อหน่วยงานราชการหรือเอกชน เป็นหลักฐานที่หน่วยงานต่างๆใช้ตรวจสอบตัวบุคคลเมื่อจะออกหนังสือสำคัญ เช่น บัตรประจำตัวผู้ป่วย ใบอนุญาตขับรถ หนังสือเดินทาง บัตรเครดิต บัตรสมาชิกสโมสร รวมทั้งใช้ตรวจสอบตัวบุคคลเมื่อจะถอนเงิน รับพัสดุ หรือเปิดเซฟ เป็นต้น ในบัตรประจำตัวประชาชน จะมีรูปภาพเจ้าของบัตรฯถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวกไม่สวมแว่น ข้างหลังรูปภาพมีแถบบอกความสูง และมีข้อมูลเกี่ยวกับ เลขหมายประจำตัวของเจ้าของบัตร จำนวน 13 หลัก ซึ่งจะไม่ซ้ำซ้อนกับของผู้อื่น มีชื่อตัว ชื่อสกุล วันเดือนปีที่เกิด ศาสนา หมู่โลหิตของเจ้าของบัตร พร้อมที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน วันที่ที่ออกบัตร วันที่ที่บัตรหมดอายุ เป็นต้น

# 02 คุณสมบัติของผู้ที่มีบัตรฯ

ผู้มีสัญชาติไทย ซึ่งมีอายุตั้งแต่สิบห้าปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกินเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนตามบทบัญญัติมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542 ผู้ซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตร เพราะมีบัตรประจำตัวตามกฎหมายอื่น ให้ใช้บัตรประจำตัวอื่นนั้นแทนบัตรประจำตัวประชาชน เช่น เจ้าหน้าที่ของรัฐ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ภิกษุ สามเณร ผู้ที่อยู่ในที่คุมขังตามกฎหมาย ผู้ซึ่งอยู่ในระหว่างการศึกษา ณ ต่างประเทศ เป็นต้น บุคคลพิการโดยทั่วไป จะต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน ยกเว้นบุคคลพิการ 4 ประเภท คือ เป็นผู้พิการทางร่างกายเดินไม่ได้เป็นใบ้ตาบอดทั้งสองข้างหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบเท่านั้นที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตร อย่างไรก็ตาม บุคคลพิการ 4 ประเภท หากประสงค์จะขอมีบัตรฯ ก็สามารถไปดำเนินการขอมีบัตรได้ โดยเจ้าตัวจะต้องไปแสดงตัวและมีส่วนร่วมขอมีบัตรด้วยตนเอง 

# 03 ความหมายของเลขหมายประจำตัว 13 หลัก

สรุปพรบ บัตรประชาชน ล่าสุด

              หลักที่ 1 (ในภาพข้างบน คือ เลข 3) หมายถึงประเภทบุคคล ซึ่งมี 8 ประเภท คือ

                   ประเภทที่ 1 ได้แก่ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย ได้แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลา 
                   ประเภทที่ 2 ได้แก่ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย ได้แจ้งเกิดเกินกำหนดเวลา 
                   ประเภทที่ 3 ได้แก่ คนไทยและคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และมีที่อยู่ในทะเบียนบ้าน ในสมัยเริ่มแรก 
                   ประเภทที่ 4 ได้แก่ คนไทยและคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญคนต่างด้าว แต่แจ้งย้ายเข้า โดยยังไม่มีเลขประจำตัวประชาช

 ในสมัยเริ่มแรก 
                   ประเภทที่ 5 ได้แก่ คนไทยที่ได้รับอนุมัติให้เพิ่มชื่อเข้าในทะเบียนบ้าน ในกรณีตกสำรวจหรือกรณีอื่น ๆ 
                   ประเภทที่ 6 ได้แก่ ผู้ที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และผู้ที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแต่จะอยู่ในลักษณะชั่วคราว
                   ประเภทที่ 7 ได้แก่ บุตรของบุคคลประเภทที่ 6 ซึ่งเกิดในประเทศไทย
                   ประเภทที่ 8 ได้แก่ คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมาย คือ ได้รับใบสำคัญประจำตัว คนต่างด้าว คนที่ได้รับ                                                                                                       การแปลงสัญชาติเป็นสัญชาติไทยและคนที่ได้รับการให้สัญชาติไทย 


            หลักที่ 2 ถึงหลักที่ 5 (ในภาพข้างบน คือ เลข 1015) หมายถึง รหัสของสำนักทะเบียนที่ท่านมีชื่อในทะเบียนบ้านในขณะให้เลข                                                               สำหรับเด็กเกิดใหม่ จะหมายถึงถิ่นที่เกิดเลยทีเดียว โดยหลักที่ 2 และ 3 หมายถึงจังหวัด ส่วนหลักที่ 4 และ 5 หมายถึงอำเภอหรือเทศบาล


            หลักที่ 6 ถึงหลักที่ 10 (ในภาพข้างบน คือ เลข 01245) หมายถึงกลุ่มที่ของบุคคลแต่ละประเภทตามหลักที่ 1 หรือหมายถึงเล่ม                                                             ที่ของสูติบัตรแล้วแต่กรณี


            หลักที่ 11 และ 12 (ในภาพข้างบน คือ เลข 29) หมายถึงลำดับที่ของบุคคลในแต่ละกลุ่มประเภท หรือหมายถึงใบที่ของสูติบัตร                                                            แต่ละเล่มแล้วแต่กรณี


            หลักที่ 13 คือ ตัวเลขตรวจสอบความถูกต้องของเลข 12 หลักแรก