เรียนอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มสธ

การเปลี่ยนแปลงของวิชาเอกอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


อาจารย์ เนตรชนก เจริญสุข

              สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้เปิดสอนหลักสูตรอา ชีวอนามัยและความปลอดภัยมาตั้งแต่ปี 2533 เป็นต้นมา หลังจากนั้นก็ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีความสอดคล้องกับหลักวิชาการที่ทันสมัยและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น ซึ่งหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต วิชาเอกอาชีวอนามัยและความปลอดภัย(ต่อเนื่อง 2 ปี)  โดยได้รับการยอมรับจากสำนักความปลอดภัยให้บัณฑิตที่จบหลักสูตรดังกล่าวมีคุณสมบัติเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพได้ตามกฎหมายของกระทรวงแรงงาน ซึ่งก็ได้รับความสนใจจากบุคลากรทุกส่วนไม่ว่าจะเป็นบุคลากรในหน่วยงานภาครัฐหรือภาคอุตสาหกรรมรวมถึงบุคลากรในสาขาอื่น ๆ ทั้งที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ยังทำให้ผู้สนใจไม่ต้องใช้เวลาการทำงานเนื่องจากเป็นระบบการเรียนทางไกลโดยการศึกษาด้วยตนเองและยังใช้ระยะเวลาเรียน 2 ปีเท่านั้นก็สามารถจบปริญญาตรีได้
              จนกระทั่งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) มีคำสั่งไม่ให้มีการจัดทำหลักสูตรปริญญาตรีในลักษณะต่อเนื่อง 2 ปีอีกต่อไป (โดยมีข้อยกเว้นสำหรับหลักสูตรทางด้านเทคโนโลยี) จึงทำให้ มสธ.ต้องปิดรับนักศึกษาในหลักสูตรดังกล่าวชั่วคราวเพื่อดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรนี้ใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นการปรับปรุงครั้งใหญ่เนื่องจากได้มีการเปลี่ยนหลักสูตรจากหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต เอกอาชีวอนามัยและความปลอดภัย(ต่อเนื่อง 2 ปี)  เป็นหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต วิชาเอกอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ซึ่งได้เริ่มเปิดสอนครั้งแรกในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2556นี้ ดังนั้นจึงขออธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตรทั้ง 2หลักสูตรในส่วนที่เหมือนกันและแตกต่างกัน ดังนี้
ถาม:ปริญญาที่จะได้รับสำหรับหลักสูตรอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่กำลังเปิดสอนในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2556 มีการเปลี่ยนแปลงไปจากหลักสูตรเดิมหรือไม่
ตอบ: สำหรับหลักสูตรเดิม คือ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต  วิชาเอกอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (ต่อเนื่อง 2 ปี) นั้นนักศึกษาที่จบจะถือว่าจบวุฒิปริญญาตรีสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต”  ส่วนหลักสูตรใหม่ที่ได้เปิดรับสมัครนักศึกษาในภาคการศึกษา 1/2556 นี้ คือ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต วิชาเอกอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ซึ่งนักศึกษาที่จบจะถือว่าจบวุฒิปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิต  ซึ่งนักศึกษาที่จบทั้ง 2 หลักสูตรนี้ถือว่ามีศักดิ์และสิทธิ์ในใบปริญญาเท่าเทียมกัน และสามารถทำงานในวิชาชีพนี้ได้เหมือนกันด้วย
ถาม:คุณสมบัติของผู้สมัครในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต วิชาเอกอาชีวอนามัยและความปลอดภัยมีความแตกต่างกับหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต  วิชาเอกอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (ต่อเนื่อง 2 ปี) หรือไม่
ตอบ:สำหรับหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต  วิชาเอกอาชีวอนามัยและความปลอดภัย(ต่อเนื่อง 2 ปี) นั้นที่ปิดหลักสูตรไปแล้วได้เปิดรับผู้สนใจที่มีวุฒิการศึกษาตั้งแต่ระดับประกาศนียบัตรขั้นสูงหรือปวส.ขึ้นไป และยังเปิดรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีทุกสาขาด้วย แต่สำหรับหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต วิชาเอกอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่กำลังเปิดรับอยู่นี้ผู้ที่สมัครเรียนได้ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสายวิทยาศาสตร์รวมแล้วมี 10 วุฒิการศึกษาเท่านั้น คือ ปริญญาตรีวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือสาธารณสุขศาสตร์(หลักสูตร 4 ปี) หรือพยาบาลศาสตร์(หลักสูตร 4 ปี) หรือวิศวกรรมศาสตร์ หรือครุศาสตร์อุตสาหกรรม หรือ อุตสหกรรมศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ทุกสาขาวิชา หรือสาธารณสุขศาสตร์(หลักสูตรต่อเนื่อง 2 ปี) หรือพยาบาลศาสตร์(หลักสูตรต่อเนื่อง 2 ปี) หรือแพทย์แผนไทยบัณฑิต
              ส่วนผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรขั้นสูง หรือปวส.และปริญญาตรีสายสังคมนั้นยังไม่สามารถสมัครเรียนในหลักสูตรนี้ได้ในภาคการศึกษา 1/2556นี้ เนื่องจากยังติดเงื่อนไขของทางสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) ที่กำหนดไว้ แต่อย่างไรก็ตามคาดว่าในภาคการศึกษาต่อไปน่าจะเปิดรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรขั้นสูง หรือปวส. สายช่างอุตสาหกรรมเข้ามาเรียนในหลักสูตรนี้ได้ เนื่องจากขณะนี้กำลังจัดโครงสร้างและเตรียมความพร้อมอยู่
ถาม: ระยะเวลาในการเรียนในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต วิชาเอกอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเป็นอย่างไร
ตอบ: สำหรับนักศึกษาที่กำลังเรียนในหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต วิชาเอกอาชีวอนามัยและความปลอดภัย(ต่อเนื่อง 2 ปี)ที่ซึ่งปิดหลักสูตรไปแล้วนั้นยังคงสามารถเรียนตามโครงสร้างหลักสูตรเดิมนี้ได้ต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะถึงวันหมดอายุตามที่ระบุไว้ในบัตรนักศึกษาของแต่ละคนซึ่งมีระยะเวลาเรียน 3เท่าของหลักสูตร และจะสามารถต่ออายุบัตรได้อีกคนละ1ปีเท่านั้น รวมแล้วเท่ากับว่านักศึกษาทุกคนมีระยะเวลาเรียนในหลักสูตรนี้7ปี ซึ่งต้องเรียนให้ผ่านทุกชุดวิชาตามโครงสร้างภายในระยะเวลาที่กำหนดคือ 7ปีนับตั้งแต่วันที่สมัครเรียน แต่ถ้าครบ 7 ปีแล้วยังไม่สามารถเรียนได้ครบตามโครงสร้างที่กำหนด จะไม่สามารถต่ออายุนักศึกษาได้อีกและถือว่าหมดสภาพนักศึกษาทันที โดยเฉพาะผู้ที่จบวุฒิการศึกษาระดับประกาศนียบัตรขั้นสูงหรือปวส.และปริญญาตรีสายสังคมนั้นจะไม่สามารถสมัครเรียนหลักสูตรใหม่ได้ เนื่องจากหลักสูตรใหม่นี้ไม่ได้เปิดรับผู้สำเร็จการศึกษาในคุณสมบัติดังกล่าว ดังนั้นนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิตทุกคนควรมีการวางแผนการลงเรียนชุดวิชาที่เหลือให้ดี และอย่าให้เกินระยะเวลาการเรียนของนักศึกษาแต่ละคนอย่างเด็ดขาด
              สำหรับหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตนี้จะมีการจัดโครงสร้างหลักสูตรแยกตามวุฒิการศึกษาของผู้สมัคร ดังตารางที่ 1 ดังนั้นนักศึกษาที่ใช้วุฒิการศึกษาในการสมัครเรียนในหลักสูตรนี้ต่างกัน จะมีระยะเวลาในการเรียนที่ต่างกันด้วย โดยที่มีระยะเวลาเรียน 3เท่าของหลักสูตรเช่นเดิม

 ตารางที่ 1 โครงสร้างหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต วิชาเอกอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


วุฒิการศึกษาของผู้สมัคร

ระยะเวลาการศึกษาตามโครงสร้างหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตร

รวม

หมวดศึกษาทั่วไป

หมวดวิชาแกน

หมวดวิชาเฉพาะ

(ชุดวิชา)

(ชุดวิชา)

(ชุดวิชา)

(ชุดวิชา)

1. สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีวิทยาศาสตร์สุขภาพ

2ปี

1

1

10

12

2. สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีวิทยาศาสตร์การแพทย์

3. สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีสาธารณสุขศาสตร์(หลักสูตร 4 ปี)

4. สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีพยาบาลศาสตร์(หลักสูตร 4 ปี)

5. สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์

2ปี

1

2

9

12

6. สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีครุศาสตร์อุตสาหกรรม หรือ
ปริญญาตรีอุตสหกรรมศาสตร์

7. สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์ทุกสาขาวิชา

2ปีครึ่ง

1

2

10

13

8. สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีสาธารณสุขศาสตร์(หลักสูตรต่อเนื่อง 2 ปี)

3 ปี

2

5

10

17

9. สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีพยาบาลศาสตร์(หลักสูตรต่อเนื่อง 2 ปี)

10. สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีแพทย์แผนไทยบัณฑิต

ดังนั้นจึงขอยกตัวอย่างวุฒิการศึกษาที่ใช้สมัคร เช่น นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์นั้นตามโครงสร้างมีระยะเวลาเรียนเพียง 2ปี แต่สามารถเรียนได้ 3เท่าของโครงสร้างหลักสูตรเท่ากับ 2 × 3 = 6ปี  แต่ถ้านักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางวิทยาศาสตรบัณฑิต วิชาเอกสิ่งแวดล้อมนั้นตามโครงสร้างมีระยะเวลาเรียน 2ปีครึ่ง แต่สามารถเรียนได้ 3เท่าของโครงสร้างหลักสูตรเท่ากับ 2.5 × 3 = 7.5ปี แต่ถ้านักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีสาธารณสุขศาสตร์(หลักสูตรต่อเนื่อง2ปี) นั้นตามโครงสร้างมีระยะเวลาเรียน 3ปี แต่สามารถเรียนได้ 3เท่าของโครงสร้างหลักสูตรเท่ากับ 3 × 3 = 9ปี เป็นต้น
ถาม: ผู้สมัครเรียนในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต วิชาเอกอาชีวอนามัยและความปลอดภัยมีชุดวิชาที่ต้องเรียนเหมือนกันหรือไม่
ตอบ: เนื่องจากหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต วิชาเอกอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้เปิดรับนักศึกษาโดยแยกโครงสร้างหลักสูตรตามวุฒิการศึกษาที่สมัคร ดังนั้น ในแต่ละวุฒิการศึกษาก็จะมีชุดวิชาที่จะต้องลงเรียนต่างกันโดยที่ระยะเวลาเรียนเท่ากันด้วย ถ้าเปรียบเทียบนักศึกษาที่สมัครเรียนโดยใช้วุฒิการศึกษาปริญญาตรีสาธารณสุขศาสตร์(หลักสูตร 4ปี)กับ ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ดังตารางที่ 2แล้ว จะเห็นว่าระยะเวลาการศึกษาตามโครงสร้างหลักสูตรนั้นทั้ง2วุฒิการศึกษาจะเรียน 2ปีเท่ากัน แต่จำนวนชุดวิชาที่ต้องเรียนในหมวดวิชาแกนและหมวดวิชาเฉพาะไม่เท่ากัน  โดยเมื่อรวมจำนวนชุดวิชาที่ต้องเรียนตามโครงสร้างหลักสูตรแล้วเท่ากัน คือ 12ชุดวิชา ดังนั้น นักศึกษาที่ลงเรียนหลักสูตรนี้ต้องตรวจสอบชุดวิชาที่ต้องเรียนตามโครงสร้างหลักสูตรจากคู่มือนักศึกษาก่อนที่จะเลือกชุดวิชาเพื่อลงทะเบียนเรียนด้วย
ตารางที่ 2 เปรียบเทียบโครงสร้างหลักสูตรระหว่างวุฒิการศึกษาปริญญาตรีสาธารณสุขศาสตร์(หลักสูตร 4ปี)กับ ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์


วุฒิการศึกษาของผู้สมัคร

ระยะเวลาการศึกษาตามโครงสร้างหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตร

รวม

หมวดศึกษาทั่วไป

หมวดวิชาแกน

หมวดวิชาเฉพาะ

(ชุดวิชา)

(ชุดวิชา)

(ชุดวิชา)

(ชุดวิชา)

สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีสาธารณสุขศาสตร์(หลักสูตร 4 ปี)

2ปี

1

1

10

12

สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์

2ปี

1

2

9

12

ถาม: รูปแบบการเรียนการสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต วิชาเอกอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเปลี่ยนแปลงหรือไม่
ตอบ: สำหรับรูปแบบการเรียนการสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต วิชาเอกอาชีวอนามัยและความปลอดภัยยังคงใช้รูปแบบการเรียนการสอนทางไกลเช่นเดิมโดยเน้นเอกสารการสอนในชุดวิชาต่าง ๆ เป็นหลัก และในบางชุดวิชาจะมีการสอนเสริม และสื่อCDหรือDVD เพื่อเป็นช่องทางเสริมให้นักศึกษาเข้าใจในเนื้อหาชุดวิชานั้นยิ่งขึ้น  
ถาม: เมื่อเรียนจบหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต วิชาเอกอาชีวอนามัยและความปลอดภัยสามารถนำไปใช้ในการทำงานได้เหมือนกับหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต(ต่อเนื่อง 2 ปี)หรือไม่
ตอบ: เนื่องจากหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต(ต่อเนื่อง 2 ปี)และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต วิชาเอกอาชีวอนามัยและความปลอดภัยถือว่าได้ผ่านเกณฑ์ในการพิจารณาวุฒิการศึกษาปริญญาตรีสาขา     อาชีวอนามัย หรือเทียบเท่า ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานพ.ศ. 2549 และได้ถูกประกาศขึ้นเว็บไซต์ของสำนักความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานด้วย ดังนั้นนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) หรือวิทยาศาสตรบัณฑิต วิชาเอกอาชีวอนามัยและความปลอดภัยนี้แล้วจะมีศักดิ์และสิทธิ์เท่าเทียมกันและสามารถทำงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพได้แน่นอน
อย่างไรก็ตามถ้าผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต วิชาเอกอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้ที่ http://healthsci.stou.ac.th/page/home.aspx  และถ้ามีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมทาง e-mail :  
-----------------------------------------------------