การรับผิดชอบต่อสังคม 3 ข้อ

บริษัทดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยา บรรณ ตลอดจนมีหลักธรรมาภิบาลเป็นเครื่องกำกับให้บริษัทดำเนินการด้วยความซื่อสัตย์สุจริตโปร่งใส ยุติธรรม และตระหนัก ถึงผลกระทบในทางลบต่อเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ถือหุ้น นักลงทุน พนักงาน ลูกค้า และผู้ที่มีส่วนได้เสียภายใต้กรอบจริยธรรมและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ

Overall Guidelines

  • นโยบายภาพรวม
  • แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่น และความขัดแย้งทางผลประโยชน์(Conflict of Interests)
  • การรายงานประเด็นด้านจริยธรรมและการรับเรื่องร้องเรียน
  • กิจกรรมเพื่อประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

นโยบายภาพรวม

บริษัทดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ ตลอดจนมีหลักธรรมาภิบาลเป็นเครื่องกำกับให้บริษัทดำเนินการด้วยความซื่อสัตย์สุจริตโปร่งใส ยุติธรรม และตระหนักถึงผลกระทบในทางลบต่อเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ ผู้ถือหุ้น นักลงทุน พนักงาน ลูกค้า และผู้ที่มีส่วนได้เสียภายใต้กรอบจริยธรรมและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ

วิสัยทัศน์

“ เป็นมืออาชีพในการบริหารหนี้ที่มีหลักประกัน และไม่มีหลักประกัน อย่างสร้างสรรค์ เพื่อลูกค้า และผู้ที่เกี่ยวข้อง ”

พันธะกิจ

  • บริหารจัดการอย่างมืออาชีพ ตามกฎหมาย และพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้
  • เสริมสร้างและรักษาภาพลักษณ์ของลูกค้า และผู้เกี่ยวข้อง
  • ใช้การตลาดนำ ทำอย่างเป็นระบบ จบหรือครบ กระบวนการและขั้นตอน
  • บริหารจัดการด้วยระบบคุณธรรม ให้ความสำคัญกับทางออกของลูกหนี้

บริษัทมีนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคม และนโยบายต่อต้านการทุจริต ซึ่งระบุแนวทางการปฏิบัติต่างๆ ตามแนวทาง ความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการที่จัดทำโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยกำหนดหลักการ 8 ข้อ ดังต่อไปนี้

  1. การประกอบกิจการด้วยความเป็นธรรม

    บริษัทตระหนักถึงการดำเนินธุรกิจที่สุจริตและเป็นธรรมตามกรอบกติกาการแข่งขัน ภายใต้กฎและระเบียบข้อบังคับที่ เกี่ยวข้องโดยคำนึงถึงผลประโยชน์และผลกระทบการดำเนินธุรกิจของกลุ่มธุรกิจต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียซึ่งได้แก่ ผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า นักลงทุน เจ้าหนี้ ชุมชนโดยรอบบริษัท

  2. การต่อด้านการทุจริตคอร์รัปชั่น

    บริษัทมีนโยบายต่อต้านการทุจริต โดยมุ่งเน้นด้านการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ความโปร่งใส ในการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนดำเนินธุรกิจด้วยระบบบริหารที่มีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ รวมไปถึงการส่งเสริมอบรมและ สร้างจิตสำนึกให้พนักงานตระหนักถึงการทุจริตที่เกิดขึ้น

  3. การเคารพสิทธิมนุษยชน

    บริษัทกำหนดกรอบและแนวทางดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษยชนต่างมีมาแต่เกิดโดย เท่าเทียมตามกฎหมาย รวมถึงข้อกำหนดตามมาตรฐานสากลสิทธิมนุษยชนอย่างพียงพอ และไม่เลือกปฏิบัติไม่ว่ามีถิ่นกำเนิด สัญชาติ เชื้อชาติเผ่าพันธุ์ สีผิว ศาสนา ภาษา หรือสถานะทางสังคมเช่นใด โดยมีการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ตลอด จนการปฏิบัติอย่างเสมอภาคซึ่งเป็นรากฐานของการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล

  4. การปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเป็นธรรม

    บริษัทให้ความสำคัญกับคุณค่าของพนักงานของบริษัท โดยผู้บริหารจะต้องปฏิบัติต่อพนักงานอย่างยุติธรรม บริหารงานโดยไม่มีความลำเอียง สนับสนุนในการสร้างศักยภาพในความก้าวหน้า และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ของพนักงาน รวมทั้งส่งเสริมให้พนักงานมีความเข้าใจในเรื่องจรรยาบรรณในที่ทำงานที่ต้องพึงปฏิบัติ และจัดสวัสดิการให้ อย่างเหมาะสมรวมไปถึงการรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอย่างมีเหตุผล

  5. ความรับผิดชอบต่อลูกค้าและลูกหนี้

    บริษัทกำหนดกรอบหลักการและแนวทางการรับผิดชอบต่อลูกค้าและลูกหนี้ด้วยการพัฒนาการบริการที่มีคุณภาพและ มาตรฐานจนนำไปสู่ความไว้วางใจ รวมถึงระบบการจัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ มีการบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้าและ ลูกหนี้ทั้งก่อนและหลังการดำเนินธุรกิจ มีการให้ข้อมูลอย่างถูกต้องครบถ้วน และเชื่อถือได้เพื่อประกอบการตัดสินใจทำธุรกรรม องค์กร

  6. การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

    บริษัทตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชนและถือเป็นธุรกิจหลักอย่างหนึ่งโดยจะปฏิบัติตามกฎหมาย และข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด และการกำหนดมาตรฐานการป้องกันและแก้ไขเมื่อเกิดผล กระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันเนื่องจากการดำเนินงานของกลุ่มบริษัท โดยปฏิบัติได้กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติไว้ดังนี้

    1. ผู้บริหารและพนักงานทุกคน ต้องช่วยกันปกป้องสิ่งแวดล้อมและปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการสถานที่ทำงาน ของบริษัท เช่น บริษัทจัดกิจกรรม Big Cleaning Day ให้พนักงานทำความสะอาดบริเวณโต๊ะทำงานและ คัดแยกวัสดุอุปกรณ์ที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสถานที่ทำงาน สิ่งแวดล้อม และสุขอนามัยของพนักงาน
    2. ผู้บริหารและพนักงานทุกคน ต้องช่วยกันลดปริมาณขยะและของเสีย ตลอดจนนำผลิตภัณฑ์หรือวัสดุที่ทิ้งแล้ว แต่ยังมีประโยชน์ นำกลับมาใช้ใหม่
    3. ผู้บริหารและพนักงานทุกคน ต้องอนุรักษ์และใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า โดยบริษัทกำหนดข้อปฏิบัติในการประหยัด พลังงานไฟฟ้าและน้ำ โดยใช้อย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพมากที่สุด เช่น การรณรงค์ให้ปิดไฟ ปิดเครื่อง ปรับอากาศ และปิดอุปกรณ์ไฟฟ้า ตามเวลาที่กำหนด ตลอดจนมีการเลือกอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติ ประหยัดไฟ โดยเฉพาะหลอดไฟ เครื่องปรับอากาศ และอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในอาคาร
    4. บริษัทมีการเผยแพร่นโยบายและให้ความรู้กับผู้บริหารและพนักงาน โดยมีการประกาศนโยบายการใช้ ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพให้พนักงานได้ทราบทั่วกันผ่านบอร์ดประชาสัมพันธ์ พร้อมทั้งกระตุ้นและ ส่งเสริมให้พนักงานร่วมมือปฏิบัติอย่างจริงจัง
  7. การร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม

    บริษัทตระหนักถึงความสำคัญในการมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคม จึงจัดให้มีโครงการช่วยเหลือและพัฒนาสังคม อย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นกิจกรรม สนับสนุนการศึกษา สร้างอาชีพโดยเปิดโอกาสให้ประชาชนที่แม้ไม่ได้จบปริญญาหรือแม้แต่ จบมัธยมที่ 3 ได้มีโอกาสร่วมงานกับบริษัทโดยไม่มีการปิดกั้นโอกาส และส่งเสริมให้คนพึ่งตนเองผ่านกิจกรรมเพื่อประโยชน์ต่อ ชุมชนและสังคม

  8. นวัตกรรมและการเผยแพร่นวัตกรรม

    บริษัทกำหนดแนวทางการพัฒนานวัตกรรมที่นำไปสู่การเพิ่มมาตรฐานกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ รวมถึง ปลูกจิตสำนึกให้พนักงานในองค์กรเป็นผู้ที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงและคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ โดยสามารถเชื่อมโยงเป้าหมาย องค์กรกับการตอบสนองความต้องการของลูกค้าและสังคมได้อย่างสมดุล

แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่น และความขัดแย้งทางผลประโยชน์(Conflict of Interests)

  • การรับเงินหรือประโยชน์ตอบแทน
    1. กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ต้องไม่รับเงินหรือประโยชน์ตอบแทนใดๆ เป็นการส่วนตัวจากลูกค้า คู่ค้า ของ บริษัท หรือจากบุคคลใดอันเนื่องจากการทำงานในนามบริษัท
    2. กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน จะต้องไม่ให้กู้หรือกู้ยืมเงิน หรือเรี่ยไรเงิน สิ่งของจากลูกค้าหรือผู้ทำธุรกิจกับ บริษัท เว้นแต่เป็นการกู้ยืมเงินจากธนาคารหรือสถาบันการเงินในฐานะของลูกค้าของธนาคารหรือสถาบันการ เงินดังกล่าว
  • การต่อต้านคอร์รัปชั่น

    บริษัทต่อต้านการคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบโดยไม่มีนโยบายเสนอเงิน สิ่งจูงใจ ของกำนัล สิทธิประโยชน์พิเศษ ใน รูปแบบใดๆ ไม่ว่าทางตรงหรือผ่านบุคคลที่สามแก่ลูกค้า คู่ค้าของบริษัท หน่วยงานภายนอกหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อ ให้ได้มาหรือคงไว้ซึ่งประโยชน์หรือความได้เปรียบทางธุรกิจ รวมทั้งไม่มีนโยบายจ่ายเงินรางวัลหรือการจ่ายเงินอื่นใด เพื่อเร่งการดำเนินการหรืออำนวยความสะดวก ยกเว้นการให้การเลี้ยงรับรองทางธุรกิจตามประเพณีนิยม ส่วนลดการ ค้า และโครงการส่งเสริมการขายของบริษัท โดยมีหลักเกณฑ์ในแบบประเมินตนเองเกี่ยวกับมาตรการต่อต้านการ คอร์รัปชั่น ตาม ก.ล.ต. รวมอยู่ทั้งสิ้น 71 ข้อ

  • การประกอบธุรกิจอื่นนอกบริษัท
    1. การทำธุรกิจส่วนตัวใดๆ ของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ต้องไม่กระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่และเวลาทำงาน ของบริษัท
    2. ห้ามประกอบธุรกิจหรือมีส่วนร่วมในธุรกิจใดอันเป็นการแข่งขันกับธุรกิจของกลุ่มบริษัท ไม่ว่ากรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงานดังกล่าวจะได้รับประโยชน์โดยตรงหรือโดยทางอ้อมก็ตาม
  • การทำธุรกิจใดๆ กับกลุ่มบริษัท
    1. การทำธุรกิจใดๆ กับบริษัททั้งในนามส่วนตัว ครอบครัว หรือในนามนิติบุคคลใดๆ ที่กรรมการ ผู้บริหาร และ พนักงานนั้นมีส่วนได้ส่วนเสีย จะต้องเปิดเผยส่วนได้ส่วนเสียต่อบริษัทก่อนเข้าทำรายการ
    2. ห้ามกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานที่มีส่วนได้เสียเป็นผู้อนุมัติในการตกลงเข้าทำรายการหรือกระทำการใด ๆ ในนามบริษัท
    3. ผู้ทำรายการในนามบริษัทมีหน้าที่ต้องตรวจสอบความสัมพันธ์ของคู่ค้าว่าเกี่ยวข้องกับกรรมการ ผู้บริหาร และ พนักงานหรือไม่ ก่อนทำรายการเพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้ นิยามของ ความสัมพันธ์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เรื่องการเปิดเผยข้อมูลและการปฏิบัติการของบริษัทจดทะเบียนในรายการ ที่เกี่ยวโยงกันของคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  • การรับของขวัญและการรับเลี้ยงรับรองทางธุรกิจ
    1. กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน พึงหลีกเลี่ยงการรับของขวัญทั้งที่เป็นตัวเงินและมิใช่ตัวเงินจากคู่ค้าหรือผู้ที่ เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท เว้นแต่ในเทศกาลหรือประเพณีนิยม แต่ต้องมีมูลค่าไม่เกิน 3,000 บาท ในกรณี ที่มีเหตุจำเป็นต้องรับของขวัญหรือทรัพย์สินอื่นใดในมูลค่าที่สูงกว่า 3,000 บาท ให้รายงานผู้บังคับบัญชาเพื่อ ดำเนินการตามความเหมาะสม
    2. กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน สามารถรับการเลี้ยงรับรองทางธุรกิจได้ เพื่อประโยชน์ในธุรกิจของบริษัท และ พึงหลีกเลี่ยงการรับการเลี้ยงรับรองในลักษณะที่เกินกว่าเหตุความสัมพันธ์ปกติจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับบริษัท หรือจะเป็นคู่ค้าในอนาคต
  • การเดินทางไปสัมมนา ดูงานทัศนะศึกษา

    กรรมการ ผู้บริหารและพนักงาน สามารถรับเชิญไปดูงาน สัมมนาและทัศนะศึกษา ซึ่งคู่ค้าซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสีย เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเดินทางให้ได้ ทั้งนี้ เฉพาะเพื่อประโยชน์ในทางธุรกิจ และต้องผ่านการอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาที่ มีอำนาจเท่านั้น แต่ห้ามรับเงินหรือประโยชน์อื่นใดจากคู่ค้า

  • การให้ของขวัญและการเลี้ยงรับรอง
  1. ในบางสถานการณ์ ผู้อื่นอาจมองว่าการให้ของขวัญและการเลี้ยงรับรองนั้นเป็นผลประโยชน์ทับซ้อน หรือใน กรณีที่ร้ายแรงกว่านั้นคือถือเป็นการให้สินบน หากพิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้อื่นอาจมองได้ว่าของขวัญหรือการ เลี้ยงรับรองนั้นเป็นการกระทำเพื่อหวังผลตอบแทนทางธุรกิจจากรัฐบาลหรือเพื่อผลประโยชน์ใด ๆ จากรัฐบาล กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานจะต้องไม่ให้ของขวัญหรือจัดให้มีการเลี้ยงรับรองนั้น แต่ทั้งนี้ อาจมีการเสนอ ของขวัญและการเลี้ยงรับรองที่เหมาะสมให้แก่ลูกค้าโดยบุคคลที่ได้รับมอบอำนาจให้ดำเนินการเท่านั้น
  2. ในบางธุรกิจ นิติบุคคลและภูมิภาคของบริษัทมีกระบวนการเกี่ยวกับเรื่องนี้ซึ่งอาจมีการตั้งข้อจำกัดที่เข้มงวด มากกว่า และ/หรือกำหนดให้มีการรายงานหรือการอนุมัติเพิ่มเติม
  • กิจกรรมทางการเมืองและการให้เงินสนับสนุนทางการเมือง

    ในฐานะพลเมืองคนหนึ่ง ท่านอาจมีความสนใจ ในกระบวนการทางการเมือง หรือในการโน้มน้าวจิตใจหรือ การสร้างสานความสัมพันธ์ กับเจ้าหน้าที่รัฐ อย่างไรก็ตาม การมีส่วนร่วมในกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ ทางการ เมืองในระดับต่าง ๆ ทั้งระดับนานาชาติ ระดับชาติ หรือระดับท้องถิ่นอาจเกิดความพัวพัน และความรับผิด ทางกฎหมายสำหรับบริษัทได้เป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นได้แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ท่านทำด้วยตนเองโดยไม่ได้เป็นตัวแทนของ บริษัท แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทมีพื้นฐานการทำงานที่ถูกต้องอยู่แล้ว และนโยบายของบริษัทไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

    มีกฎหมายหลายฉบับที่คอยกำกับดูแลกิจกรรม ทางการเมืองของบริษัท รวมทั้งพนักงานและตัวแทนของบริษัท การที่ท่านดำเนินกิจกรรมทางการเมืองใดๆ ที่ไม่ได้รับอนุญาต อาจส่งผลให้เกิดการฝ่าฝืนกฎหมาย และการลงโทษทางแพ่ง หรือทางอาญา การห้ามดำเนินธุรกิจ และ/หรือ ความเสี่ยงต่อการเสียชื่อเสียงสำหรับบริษัท

  • การบริจาคเพื่อการกุศล

    บริษัทมุ่งต่อการเป็นพลเมืองในฐานะบริษัทที่ดีและแสดงบทบาทอย่างเข้ม แข็งในการให้การสนับสนุนในชุมชน ซึ่งเราประกอบธุรกิจอยู่ การบริจาค ต่างๆ ซึ่ง บริษัทเป็นผู้ให้ทุนจะช่วยสนับสนุนวัตถุประสงค์เพื่อการกุศลของบริษัท และจะจัดสรรผ่านสถาบันการกุศลที่หลากหลาย เพื่อป้องกันการเข้าไปเกี่ยวข้องกับองค์กรการกุศลที่ไม่เหมาะสม (เช่น องค์กรที่สนับสนุน โดยผู้ก่อการร้ายหรือกิจกรรมการฟอกเงิน กลฉ้อฉลหรืออาชญากรรมอื่น) ท่านจะต้องปฏิบัติตาม ข้อกำหนดว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (“AML”)

    การบริจาคเพื่อการกุศลจะต้องไม่เป็นการให้จากบริษัท หรือเป็นการร้องขอจากพนักงาน ลูกค้า ผู้ให้บริการ เจ้าหน้าที่รัฐ หรือหุ้นส่วนทาง ธุรกิจอื่นๆ เพื่อเป็นเงื่อนไขหรือเพื่อครอบงำการตัดสินใจทางธุรกิจ (หรือปราศจาก “ผลประโยชน์ต่างตอบแทน”) หรือกระทำขึ้นเพื่อผลประโยชน์ของบุคคลใด ๆ สถานที่ทำงานของบริษัทควรเป็นอิสระ จากอิทธิพลภายนอก การให้เงิน บริจาคแก่องค์กรการกุศลต่าง ๆ ของควรกระทำเป็นความลับ เกิดจากความสมัคร ใจอย่างแท้จริง ไม่มีผลกระทบต่อการจ้างงาน หรือการตัดสินใจให้การชดเชยหรือตอบแทน และจะต้องสอดคล้องกับ นโยบาย ทั้งหมดเกี่ยวกับการไม่เรียกร้อง

  • การทำธุรกิจภายนอก

    เมื่อพนักงานของบริษัททำหน้าที่เป็นกรรมการของบริษัทที่ไม่ได้อยู่ในเครือ ซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ใน ตลาดหลักทรัพย์และมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงผลกำไรที่อยู่ในประเทศหรือเขตการปกครองใด ๆ ย่อมเกิดความเสี่ยงใน เรื่องความรับผิดชอบของพนักงานผู้นั้นในฐานะกรรมการ รวมทั้งความเสี่ยงว่าพนักงานผู้นั้นจะต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ใน การเข้าร่วมในกิจการของบริษัทแห่งนั้นด้วย ด้วยเหตุนี้จึงอาจเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่และความรับผิดชอบของ พนักงานผู้ในนั้นในการทำงานให้กับบริษัท ทั้งนี้ บริษัทไม่สนับสนุนอย่างยิ่งที่จะให้พนักงานประจำแสวงหาหรือยอมรับ ตำแหน่งกรรมการภายนอกบริษัทในบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์และมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงผลกำไร

    พนักงานทุกคนของบริษัทต้องเปิดเผยให้ทราบและขอรับคำอนุมัติที่จำเป็นล่วงหน้าก่อนที่จะเข้าร่วมในกิจกรรม ดังต่อไปนี้

      1. ตำแหน่งกรรมการและสมาชิกในคณะกรรมการของบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์และมีวัตถุประสงค์ โดยแสวงผลกำไร
      2. ตำแหน่งกรรมการและสมาชิกในคณะกรรมการของบริษัทเอกชนและมีวัตถุประสงค์โดยแสวงผลกำไร
      3. ตำแหน่งกรรมการและสมาชิกในคณะกรรมการขององค์กรที่ไม่แสวงผลกำไรซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อน หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานของคณะกรรมการ บริหารการตรวจสอบ การเงิน หรือ การลงทุน
      4. ลงสมัครรับเลือกตั้ง ยอมรับตำแหน่งในหน่วยงานรัฐบาล หรือมีความสัมพันธ์แบบอื่นกับหน่วยงานของรัฐหรือ หน่วยงานกึ่งรัฐ
      5. การทำธุรกิจภายนอกอื่น ๆ รวมถึงกิจกรรมที่ไม่หวังผลกำไร หากก่อให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนที่เกิดขึ้นจริง หรือที่เข้าใจว่าอาจเกิดขึ้นได้หรือดูเหมือนว่าจะเกิดขึ้น
  • ลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา

    บริษัทเคารพและไม่ละเมิดลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา พนักงานมีหน้าที่ปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาของ บริษัทจากการใช้หรือเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต รวมถึงเคารพสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์และเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา

  • การปกป้องทรัพย์สินของบริษัท

    เพื่อการดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ พนักงานของบริษัทต้องดูแลรักษาทรัพย์สินของบริษัทอย่างถูกต้อง และใช้งานทรัพย์สินอย่างเหมาะสมและเพิ่มวัตถุประสงค์ทางธุรกิจเท่านั้น

  • การเคารพสิทธิมนุษยชนและความเสมอภาค

    บริษัทดำเนินธุรกิจโดยเคารพหลักสิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัดและเชื่อว่าธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ต้องปฏิบัติ งานด้วยหลักจริยธรรมและมนุษยธรรมต่อมนุษย์ทุกคนอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน โดยเคารพสิทธิเสรีภาพและไม่ กีดกันหรือเลือกปฏิบัติทั้งด้านเชื้อชาติ สีผิว เพศ อายุ ศาสนา ความบกพร่องทางร่างกาย ถิ่นกำเนิด หรือชนชั้นทาง สังคม ซึ่งขัดขวางหรือเป็นอุปสรรคของความเสมอภาคทางโอกาสหรือการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมต่อพนักงาน ลูกค้า คู่ค้า และบุคคลอื่น

  • การลงโทษทางวินัย

    การกระทำที่ฝ่าฝืนหรืออาจพิจารณาว่าฝ่าฝืนจรรยาบรรณ กฎหมาย กฎเกณฑ์ จะถูกสอบสวนและลงโทษทาง วินัยตามแนวปฏิบัติของบริษัท ตามความเหมาะสมของผลกระทบและลักษณะของการกระทำความผิด อย่างยุติธรรม และปราศจากการเลือกปฏิบัติ พนักงานอาจต้องรับผิดชอบต่อบทลงโทษทางวินัย แม้การกระทำผิดนั้นจะมิได้ระบุไว้ ในจรรยาบรรณและแนวปฏิบัติอื่นของบริษัท

การรายงานประเด็นด้านจริยธรรมและการรับเรื่องร้องเรียน

  • ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน (Hot Line)

    กรณีพบเห็นการกระทำที่สงสัยว่าฝ่าฝืน หรือการไม่ปฏิบัติตามจริยธรรมและจรรยาบรรณ หรือพบเห็นการกระทำ ผิด การกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับบริษัท โดยคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการตรวจสอบ และ/หรือ คณะกรรมการ บริษัท จะดำเนินการตรวจสอบเรื่องร้องเรียน เพื่อให้มีความยุติธรรมโดยรวดเร็วที่สุด โดยพนักงาน สามารถสอบถาม ข้อสงสัย หรือรายงานต่อผู้ที่รับผิดชอบ และ/หรือ สามารถกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน โดยข้อมูลจะถูกส่งไปยังคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการตรวจสอบ และ/หรือ คณะกรรมการบริษัท โดยข้อมูลจะถูกปิดเป็นความลับ โดยมีช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน ดังต่อไปนี้

    1. ผู้บังคับบัญชาของพนักงานโดยตรง
    2. ฝ่ายบุคคลที่เบอร์ติดต่อ 02-004-5565, 086-819-3333
    3. กรอกข้อมูลในเว็บไซต์ของบริษัท http://www.chayo555.com/ หรืออีเมล์ [email protected]

  • การดำเนินการเมื่อได้รับเรื่องร้องเรียน

    ผู้รับเรื่องร้องเรียนดำเนินการรวบรวมข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามจริยธรรมและจรรยา บรรณเ พื่อพิจารณาขั้นตอน และวิธีการจัดการที่เหมาะสมในแต่ละเรื่องเพื่อนำเสนอมาตรการดำเนินการระงับการ ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามจริยธรรมและจรรยาบรรณ รวมถึงการบรรเทาความเสียหายให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบและ รายงานผลให้ผู้ร้องเรียนทราบ (กรณีเปิดเผยชื่อ)

  • มาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียนหรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริง
    1. ผู้ร้องเรียน หรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริง สามารถเลือกที่จะไม่เปิดเผยตนเองได้ อย่างไรก็ตาม หากมีการเปิดเผยตนเอง บริษัทจะสามารถติดต่อและรายงานผลได้
    2. ผู้รับเรื่องร้องเรียนต้องเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องเป็นความลับ และจะเปิดเผยเท่าที่จำเป็นแก่ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ เท่านั้น
    3. บริษัทห้ามมิให้มีการตอบโต้ต่อผู้ร้องเรียน หรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยเด็ดขาด การตอบโต้จะเป็นเหตุให้มีการลงโทษทางวินัยสูงสุด ซึ่งอาจรวมถึงการเลิกจ้าง

กิจกรรมเพื่อประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

บริษัทให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) รวมถึงเล็งเห็นความสำคัญของการสร้างสรรค์สังคม สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตของประชาชน บริษัทจึงพยายามที่ จะจัดกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ กิจกรรมเพื่อประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่บริษัทได้จัดทำและเข้าร่วม ในปี 2563 ประกอบด้วย

ประเภทของความรับผิดชอบมีอะไรบ้าง

คือ 1. ความรับผิดชอบต่อตนเอง ได้แก่ 1.1 ความรับผิดชอบในการรักษาสุขภาพอนามัย 1.2 ความรับผิดชอบในการจัดหาเครื่องอุปโภค บริโภค 1.3 ความรับผิดชอบด้านสติปัญญาและความสามารถ 1.4 ความรับผิดชอบในด้านความประพฤติ 1.5 ความรับผิดชอบด้านมนุษยสัมพันธ์ 1.6 ความรับผิดชอบด้านเศรษฐกิจส่วนตัว 1.7 ความรับผิดชอบด้านการงานที่ได้รับมอบหมาย

ปตท.มีความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างไร

ปตท. ต้องมีหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อสังคมเพื่อให้การช่วยเหลือ สนับสนุน และสร้างประโยชน์แก่ชุมชนและสังคมในภาพรวม มีแผนการในการรักษา สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดจากธุรกิจของ ปตท. มีแผนชดเชยที่ดีหากมีอุบัติเหตุและมีการวางแผนแก้ไขอย่างยั่งยืน

ความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคมมีอะไรบ้าง

ส่งเสริมและปลูกฝังให้ผู้บริหารทุกระดับ และพนักงานมีความรับผิดชอบ ต่อสภาพแวดล้อมและเป็นประโยชน์ต่อสังคมและชุมชน สนับสนุนการจัดกิจกรรมหรือเข้าไปมีส่วนร่วมสนับสนุนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนโดยกำหนดเป็นนโยบายและเปิดเผยถึงการปฏิบัติไว้ให้เป็นที่ทราบ

การทําCSR คืออะไร

Q: CSR ทำเพื่ออะไร ? A: แนวคิดพื้นฐานของ CSR คือ การทำให้ธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน การที่ธุรกิจทำ CSR ธุรกิจยังต้องมีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นในการบริหารกิจการให้มีผลกำไร และยังเป็นที่ยอมรับของสาธารณชน รวมถึงสามารถขยายกิจการให้เจริญเติบโตในสังคมและชุมชนที่ธุรกิจดำเนินอยู่ได้อย่างยั่งยืน