โครงงานกระปุกออมสินอัจฉริยะ

โครงงานคุณธรรมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง   เรื่อง   กระปุกออมสินของพ่อ  

บทคัดย่อ   โครงงานกระปุกออมสินของพ่อ  มีจุดประสงค์เพื่อสร้างความตะหนักและเห็นความสำคัญในการปฏิบัติตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงโดยผ่านสื่อกระปุกออมสินของพ่อ  เป็นการรณรงค์ให้เพื่อนๆ  และน้องๆ  ในโรงเรียน  รู้จักประหยัดและอดออมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง  มีการวางแผนใช้จ่ายเงินและเป็นการจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช  โดยการประดิษฐ์กระปุกออมสินจากกระป๋องที่เหลือใช้แล้วหุ้มด้วยภาพวาดเกี่ยวกับวิธีการต่างๆ  ในการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง  แล้วนำกระปุกมาใช้ในกิจกรรมออมทรัพย์ของโรงเรียน  วางแผนการใช้จ่ายเงินโดยมีการบันทึกการใช้จ่ายเงินในสมุดบันทึกรายรับรายจ่าย   จากการปฏิบัติพบว่า  นักเรียนมีการประหยัดอดออม  มีคุณธรรม  จริยธรรมในการดำเนินชีวิต  ปฏิบัติตนในการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงและเป็นการจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ผู้จัดทำ   1. ด.ญ.อโรชา   อ่ำแจ่ม   2.ด.ญ.รุ่งทิวา  บุตรดี   3.ด.ญ.จันทร์กระจ่าง  เชียงดา
อาจารย์ที่ปรึกษา   นางวงเดือน   จตุพรรุ่งเรือง     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม  เขต 1

   

โครงงานกระปุกออมสินอัจฉริยะ
        
โครงงานกระปุกออมสินอัจฉริยะ

      

โครงงานกระปุกออมสินอัจฉริยะ

โครงงานวิทยาศาสตร์

เรื่อง กระปุกออมสินแยกเหรียญ

เสนอ

อาจารย์ สุวิมล   นาเพีย

จัดทำโดย

1.นางสาวธิดารัตน์  ยิ้มญวน            รหัสนักศึกษา 5614135133

2.นางสาวอินทิรา ตะชาติ                  รหัสนักศึกษา 5614135159

3.นางสาวพรนภา บุญเลิศ                รหัสนักศึกษา 5614135216

4.นายพิชญพงษ์ สุขสมาน                รหัสนักศึกษา 5614135222

5.นายเกียรติศักดิ์ โพธิ์เตี้ย                รหัสนักศึกษา 5614135233

6.นายวัฒนศักดิ์ ศรีเทพ                    รหัสนักศึกษา 5614135302

                                                7.นายอนุกูล เอี่ยมสำอาง                  รหัสนักศึกษา 5614135317

                                8.นายอำนวย สาลิกา                          รหัสนักศึกษา 5614135318

                                9.นางสาวสุธิดา โยธาทร                   รหัสนักศึกษา 5614135326

                                                10.นายอนุวัฒน์ อารีย์                        รหัสนักศึกษา 5614135331

คณะครุศาสตร์  สาขา สังคมศึกษา ชั้นปีที่ 3

มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ

ชื่อโครงงาน         :               กระปุกออมสินแยกเหรียญ

ผู้จัดทำ                   :              นางสาวธิดารัตน์  ยิ้มญวน                นางสาวอินทิรา ตะชาติ

    นางสาวพรนภา บุญเลิศ                    นายพิชญพงษ์ สุขสมาน  

    นายเกียรติศักดิ์ โพธิ์เตี้ย                     นายวัฒนศักดิ์ ศรีเทพ                        

                                             นายอนุกูล เอี่ยมสำอาง                      นายอำนวย สาลิกา                                                                                         นางสาวสุธิดา โยธาทร                       นายอนุวัฒน์ อารีย์

อาจารย์ที่ปรึกษา  :               อาจารย์ สุวิมล   นาเพีย

สถานศึกษา           :               มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ

บทคัดย่อ

                                ในปัจจุบันการใช้เหรียญต่างๆของคนไทย ยังมีจำนวนมาก การจับจ่ายใช้สอย การทอนเงินล้วนแล้วแต่ต้องมีเหรียญ แม้กระทั่งการออม การแยกเหรียญเพื่อนับเงินในปัจจุบันเครื่องแยกเหรียญก็มีขายแต่เนื่องจากราคาค่อนข้างแพง ผู้คนจึงไม่นิยมซื้อ

                การทำกระปุกออมสินแยกเหรียญจึงช่วยให้ผู้ใช้ มีความสะดวก รวดเร็วไม่ต้องเสียเวลามาใช้มือ แยกเหรียญ และสามารถนำไปใช้ได้สะดวกมีต้นทุนต่ำ

จากผลการดำเนินงานกระปุกออมสินแยกเหรียญ สามารถแยกเหรียญได้อย่างสะดวก แม่นยำ ช่วยแบ่งเบาภาระ ของผู้ใช้ในเรื่องของการแยกเหรียญ ซึ่งประกอบไปด้วยเหรียญสิบเหรียญห้า เหรียญสอง เหรียญบาท โดยไม่ต้องเสียเวลาในการนับแยกเหรียญด้วยมือ เมื่อออมเงินเสร็จผู้ใช้ก็สามารถนำเงินไปใช้ได้อย่างสะดวก

กิตติกรรมประกาศ

โครงงานเรื่องกระปุกออมสินแยกเหรียญ ที่สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีก็เพราะได้รับการช่วยเหลือจาก อาจารย์สุวิมล  นาเพีย  ที่ให้คำปรึกษาและให้คำแนะนำตลอดเวลา จนทำให้โครงงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ คณะผู้จัดทำขอขอบพระคุณท่านที่ให้ความช่วยเหลือในเรื่องต่างๆและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงงานเรื่องกระปุกออมสินแยกเหรียญเรื่องนี้ จะเกิดประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจในการศึกษาต่อไป

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                คณะผู้จัดทำ

บทที่ 1

บทนำ

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

                      ในสภาวะของโลกปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ ทางด้านการศึกษา และทางด้านเทคโนโลยีทำให้มีผู้ประดิษฐ์คิดค้นเครื่องอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์เป็นอย่างมาก เนื่องจากกระปุกออมสินในปัจจุบันมีปัญหาการตรวจเช็คจำนวนเงิน โดยเฉพาะเงินที่เป็นเหรียญที่มีเหรียญสิบบาท เหรียญห้าบาท เหรียญสองบาท เหรียญหนึ่งบาท ปนกันอยู่เป็นจำนวนมากทำให้ต้องเสียเวลาในการแยกเหรียญ การนับจำนวนเหรียญ

          จึงควรมีการคิดค้นเครื่องที่จะอำนวยความสะดวกในการแยกเหรียญขึ้น เพื่อช่วยลดภาระและความยุ่งยาก เพื่อประหยัดเวลาในการคัดแยกเหรียญ และลดต้นทุนในการผลิตเครื่องคัดแยกเหรียญ

          ดังนั้น จึงได้มีการเสนอโครงงานเรื่อง กระปุกออมสินแยกเหรียญเนื่องจากผู้เสนอโครงงานนี้มีแนวคิดที่ว่ากระปุกออมสินแยกเหรียญนี้สามารถที่จะช่วยแบ่งเบาภาระในเรื่องการแยกเหรียญ ขนาดเหรียญสิบบาท เหรียญห้าบาท เหรียญสองบาท เหรียญหนึ่งบาท โดยสามารถนับจำนวนเหรียญจำนวนมากได้อย่างถูกต้องและต้นทุนการผลิต ในราคาที่ถูก

วัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน

                1.เพื่อฝึกนิสัยรักการออม

                2.เพื่อความสะดวกของการแยกเหรียญและนับเหรียญ

สมมติฐานของศึกษา

การนับเหรียญจากกระปุกออมสินแยกเหรียญ สามารถนับได้สะดวกกว่ากระปุกออมสินธรรมด

ขอบเขตของการทำโครงงาน

1.ออมสินแยกเหรียญ 4 ชนิด คือ คือ เหรียญ 10 บาท 5 บาท 2 บาท 1 บาท

2.ใช้เวลาดำเนินการ ตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึง เดือนเมษายน พ..2559

นิยามเชิงปฏิบัติการ           

1. ออมสินแยกเหรียญ หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ของผู้จัดทำที่สามารถแยกเหรียญได้

2. เครื่องแยกเหรียญ หมายถึง ส่วนแรกของออมสินแยกเหรียญที่เมื่อหยอดเหรียญลงมาจะตรวจว่าเป็นเหรียญชนิดใด

3. กล่องเก็บเหรียญ หมายถึง ส่วนที่รับเหรียญจากเครื่องแยกเหรียญโดยภายในกล่องจะแบ่งเป็น 4 ช่อง สำหรับเหรียญแต่ละชนิดและทำหน้าที่หมุนช่องรับเหรียญที่ถูกต้องไปรับเหรียญตามที่เครื่องแยกเหรียญแจ้งว่าเป็นเหรียญชนิดใด

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

                1.ได้กระปุกออมสินแยกเหรียญที่ประหยัดเวลาในการคัดแยกเหรียญขนาดเหรียญ 10 บาท 5 บาท 2 บาท  1 บาท

                2.ได้กระปุกออมสินแยกเหรียญที่มีต้นทุนต่ำ ใช้วัสดุที่หาง่าย และสามารถทำเองได้

                3.เป็นการพัฒนารูปแบบของออมสินให้มีความแปลกใหม่ทำให้เกิดเป็นแรงจูงใจในการออม

ระยะเวลาในการดำเนินงาน

                ระหว่างเดือนมีนาคม  เมษายน 2559

บทที่ 2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

                ในการศึกษาโครงงานกระปุกออมสินแยกเหรียญ ขนาดเหรียญ 10 บาท 5 บาท 2 บาท 1 บาท คณะผู้ศึกษา ได้ค้นคว้ารวบรวมข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและจากเว็บไซด์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยขอนำเสนอตามลำดับดังนี้

2.1 เครื่องคัดแยกเหรียญ

                2.1.1 น.อ.ธวัชชัย เลื่อนฉวี, เทคโนโลยีโทรศัพท์; โรงพิมพ์ศุภาลัย, 2525.

ประโยชน์ ใช้ทำการคัดแยกประเภทของเหรียญให้มีความรวดเร็วกว่าที่จะให้คนมาทำการนับและคัดแยกเหรียญ

ด้วยตนเอง และความแม่นยำในการคัดแยกแต่ละครั้ง

                2.1.2 รองศาสตราจารย์ล้วน สายยศ, รองศาสตราจารย์อังคณา สายยศ, พิมพ์ครั้งที่ 5 กรุงเทพมหานคร, 2538.

ลักษณะทั่วไป มีขนาดพอประมาณสามารถทำการพกพาไปในที่ต่างๆได้ ข้อเสีย ตามท้องตลาดเครื่องคัดแยกเหรียญราคาตัวเครื่องค่อนข้างราคาสูงมากจึงไม่นิยมใช้ในกลุ่มคนทั่วไป นอกจากองค์กรต่างๆที่จำเป็นต้องใช้เครื่องเพื่อตรวจนับและคัดแยกเหรียญ

2.2 เหรียญ

                2.2.1 MASTER REPLACEMENT GUIDE, Philips Consumer Electronics Company, Copyright May 1998.ประเภทของเหรียญมีด้วยกัน 3 ประเภท โดยไชประกอบไปด้วย เหรียญ 10 เหรียญ 5และเหรียญบาทซึ่งในแต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกันไป และเวลาในการคัดแยกขึ้นอยู่กับปริมาณการใส่เหรียญลงไปในภาชนะเพื่อทำการคัดแยกเหรียญ

เหรียญกษาปณ์ไทย

                เหรียญกษาปณ์สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) มีการใช้หอยเบี้ยและพดด้วง ในการชำระเงินการค้าระหว่างไทยกับ ต่างประเทศ มีการใช้เบี้ยทองแดงในต่างประเทศจึงมีพระราช ดำริให้ทำเบี้ย ทองแดงจากประเทศอังกฤษมาเป็นตัวอย่าง 3 ชนิด ในปี จ.ศ.1197 หรือ พ.ศ. 2378 เมื่อทอดพระเนตรแล้วไม่ทรงโปรดในลายตราจึงมิได้นำ ออกใช้แต่ก็ทรงพระราชประสงค์ที่จะทำ เหรียญรูปกลมแบนอย่างสากลแต่ยังไม่สำเร็จ ก็เปลี่ยนรัชกาลในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (รัชกาลที่ 4) การค้าระหว่างไทยกับ ต่างประเทศ ก็ได้ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว พ่อ ค้าชาว ต่างประเทศเข้ามาค้าขายมากขึ้นและได้นำ เงินเหรียญของตนมาแลกกับ เงินพดด้วงจากรัฐบาลไทย เพื่อนำ ไปซื้อสินค้าจากราษฎรแต่ด้วยเหตุที่เงินพดด้วงผลิตด้วยมือจึงทำ ให้มีปริมาณไม่เพียงพอ กับความต้องการ ส่งผลให้เกิดความไม่สะดวกและการค้าของประเทศเสียประโยชน์พระองค์จึงมี พระราชดำริที่จะเปลี่ยนรูปเงินตราของไทยจากเงินพดด้วงเป็นเงินเหรียญ ในปี พ.ศ. 2399 ได้ทดลอง ทำเหรียญ รูปกลมแบนอย่างสากลโดยใช้ค้อนทุบตีโลหะให้เป็นแผ่นแบน แล้วตัดเป็นรูปเหรียญกลม ให้ได้ ตามขนาดและแล้วใช้แม่ตราตีประทับ (HAND-HAMMERRING METHOD) แต่ผลิต ได้ช้าและไม่เรียบร้อย นอกจากนี้ยังมีการใช้แม่ตราตีประทับกับ เงินเหรียญต่างประเทศเพื่อให้ราษฎร ยอมรับ ในปี พ.ศ. 2400 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้คณะทูตไทยไปเจริญ สัมพันธไมตรีกับ สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียที่ประเทศอังกฤษ สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียได้จัดส่ง เครื่องทำเหรียญเงินขนาดเล็กเข้ามาถวาย ทำงานด้วยแรงงานคนโดยใช้วิธีแรงอัดแบบ SCREW PRESS METHOD เป็นราชบรรณาการ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าให้จัดทำ เหรียญ กษาปณ์จากเครื่องจักรขึ้นเป็นครั้งแรกเรียกกันว่า "เหรียญเงินบรรณาการ" ในขณะเดียวกันคณะทูต ก็ได้สั่งซื้อเครื่องจักรทำ เงินชนิดแรงดันไอน้ำ จากบริษัท เทเลอร์เข้ามาในปลายปี2401 พระองค์จึง โปรดเกล้าให้สร้างโรงงานผลิตเหรียญกษาปณ์ขึ้นที่หน้าพระคลังมหาสมบัติในพระบรมมหาราชวัง ติดตั้งเครื่องใช้งานได้เมื่อ ปีพ.ศ. 2403 พระราชทานนามว่า "โรงกษาปณ์สิทธิการ" ในสมัยนี้จึงถือว่า มีการใช้เหรียญกษาปณ์แบบสากลนิยมขึ้นเป็นครั้งแรก ต่อมาแม้ได้ประกาศให้ใช้เงินตราแบบเหรียญ แล้วก็ยังโปรดเกล้าฯให้ใช้เงินพดด้วงอยู่เพียงแต่ไม่มีการผลิตเพิ่มเติม ได้ผลิตตามแจ้งที่แจ้งแก่ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติเมื่อ ปี พ.ศ. 2438 พบว่า มีเหรียญตรามงกุฎดังกล่าวให้แลกอยู่6 ราคา ด้วยกัน คือราคา สองบาท หนึ่งบาท สองสลึง หนึ่งสลึง หนึ่งเฟืองและ สองไพ แต่ผลิตได้น้อยไม่พอ -10- แก่ความต้องการ นอกจากนี้ยังมีเหรียญ หนึ่งตำลึงและกิ่งเฟื้องแต่ไม่ได้นำ ออกใช้จึงเป็น พระมหากษัตริย์ไทย พระองค์แรกที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิรูปเงินตราไทย จากที่เคย ใช้เงินพดด้วง หรือเงินกลมที่ใช้มาแต่โบราณกาลให้มาใช้เงินเหรียญหรือเงินแบน แบบสากล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ปรับปรุงมาตรา เงินตราไทย ที่ใช้อยู่ในขณะนั้น คือ ชั่ง ตำลึง บาท สลึง เฟื้อง เป็นระบบโดยใช้ หน่วยเป็นบาท และสตางค์คือ 100 สตางค์ เป็น 1 บาท ตั้งแต่พ.ศ. 2441 อันเป็นมาตราเงินตรา ไทยมาจนถึงปัจจุบัน และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำพระบรมรูปของพระองค์ประทับลงบน เหรียญ ซึ่งนับ เป็นครั้งแรกที่มีการนา พระบรมรูปของพระมหากษัตริย์ไทยประทับลงบนเหรียญ กษาปณ์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช  (รัชกาลที่ 9) ได้มีการผลิตเหรียญ กษาปณ์เริ่มจากเหรียญทองแดงและเหรียญดีบุกตราพระบรมรูป – ตราแผ่น ดิน ใน พ.ศ. 2493 ผลิตเหรียญราคา 5 บาท ขึ้นเป็นครั้งแรกในปีพ.ศ. 2515 ผลิตเหรียญราคา 10 บาท ขั้นเป็นครั้ง แรก ในปี พ.ศ. 2531 และได้มีการผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียน และเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก รวมทั้งมีการพัฒนาจัดทำ เหรียญที่ระลึก ต่อเนื่องมาจนกระทั่ง ปัจจุบัน คือ

                 1. เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน (Circulated coins) เป็นเหรียญกษาปณ์ที่ใช้หมุนเวียนกันอยู่ ทั่วไปในชีวิตประจำ วัน มี9 ชนิดราคา คือ 10 บาท, 5 บาท, 2 บาท, 1 บาท, 50 สตางค์, 25 สตางค์, 10 สตางค์, 5 สตางค์ และ 1 สตางค์แต่ที่ใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมี6 ชนิด ราคา คือ 10 บาท, 5 บาท, 2 บาท, 1 บาท, 50 สตางค์, 25 สตางค์ส่วนเหรียญชนิดราคา 10 สตางค์, 5 สตางค์ และ 1 สตางค์ มีใช้ในทางบัญชีเท่านั้น

                 2. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก (Commemorative coins) เป็นเหรียญกษาปณ์ที่ผลิตออกใช้ใน วโรกาสและโอกาสที่สำคัญ ทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันคือ ชาติศาสนา พระมหากษัตริย์ หรือเหตุการณ์ระหว่างประเทศโดยจัดทำ 2 ประเภท คือขัดเงาและไม่ขัดเงา ข้อแตกต่างระหว่างเหรียญกษาปณ์หมุนเวียน และเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกก็คือการวาง ลวดลายด้านหน้าและด้านหลัง โดนเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนจะวางลวดลายแบบ American Turning ซึ่งจะต้องพลิกดูลวดลายด้านหลังในแนวดิ่ง สา หรับเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกไดจัดวาง ลวดลายแบบ European Turning ซึ่งจะต้องพลิกในแนวนอนเพื่อดูลวดลายด้านหลัง

                 3. เหรียญที่ระลึก (Medal) เป็นเหรียญที่ผลิตขึ้นเนื่องในวโรกาสและโอกาสที่สำคัญ ต่างๆ ซึ่งมีความแตกต่างจากเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกตรงที่จะไม่มีราคาหน้าเหรียญ เนื่องจากมิใช่เงินตรา จึงไม่สามารถใช้ชำ ระหนี้ได้ตามกฎหมาย

บทที่ 3

วิธีดำเนินการ

วัสดุ อุปกรณ์

                1.คัตเตอร์                                             

                2.ปืนกาว                                              

                3.กาวแท่ง                                            

                4.ไม้บรรทัด                                         

                5. ปากกาเคมี                                       

                6.กรรไกร                                             

                7.ฟิวเจอร์บอร์ด                                  

                8.แผ่นอะคริลิคใส                              

                9.เลื่อยฉลุ                                             

วิธีดำเนินการ

                 ส่วนที่ 1 รางแยกเหรียญ

                1. ตัดแผ่นอะคริลิคใส

                                -ขนาดความกว้าง 25 ซม. ความยาว 30 ซม. จำนวน 2 แผ่น

                                -ขนาดความกว้าง 2 ซม. ความยาว 7.5 ซม. จำนวน 5 แผ่น

                                -ขนาดความกว้าง 2 ซม. ความยาว 5 ซม.    จำนวน 2 แผ่น

                                -ขนาดความกว้าง 2 ซม. ความยาว 6.5 ซม. จำนวน 2 แผ่น

                                -ขนาดความกว้าง 2 ซม. ความยาว 7 ซม. จำนวน 5 แผ่น

                                -ขนาดความกว้าง 2 ซม. ความยาว 4 ซม. จำนวน 2 แผ่น

                                -ขนาดความกว้าง 2 ซม. ความยาว 10 ซม. จำนวน 1 แผ่น

                                -ขนาดความกว้าง 2 ซม. ความยาว 4.5 ซม. จำนวน 1 แผ่น

                                -ขนาดความกว้าง 2 ซม. ความยาว 3.5 ซม. จำนวน 1 แผ่น

                -ขนาดความกว้าง 2 ซม. ความยาว 3 ซม. จำนวน 1 แผ่น

                -ขนาดความกว้าง 2 ซม. ความยาว 2 ซม. จำนวน 1 แผ่น

-ตัดสามเหลี่ยม ด้านละ 2 ซม. 2 ซม. และ 2.5 ซม.จำนวน 1 แผ่น

โครงงานกระปุกออมสินอัจฉริยะ

ภาพที่ 1  วัดขนาดแผ่นอะคริลิค ตามขนาดที่กำหนด

โครงงานกระปุกออมสินอัจฉริยะ

ภาพที่ 2 ตัดแผ่นอะคริลิค

13.นำแผ่นอะคริลิคที่ตัดมาติดตามจุดต่างๆบนแผ่นอะคริลิคใส ขนาดความกว้าง 25 ซม. ความยาว 30 ซม. ดังภาพแล้วติดด้วยปืนยิงกาว

โครงงานกระปุกออมสินอัจฉริยะ

ภาพที่ 3 ติดแผ่นอะคริลิค ตามจุดที่กำหนดดังภาพ

โครงงานกระปุกออมสินอัจฉริยะ

 14. เมื่อติดเรียบร้อยแล้ว ให้นำแผ่นอะคริลิคใส ขนาดความกว้าง 25 ซม. ความยาว 30 ซม. อีกแผ่นมาประกบกัน แล้วติดด้วยปืนยิงกาว

โครงงานกระปุกออมสินอัจฉริยะ

ภาพที่ 4 ติดแผ่นอะคริลิคใสประกบกัน

ส่วนที่2 ช่องเก็บเหรียญ

-         ตัดฟิวเจอร์บอร์ด ความกว้าง  12 ซม. ความยาว 28.5 ซม.  (ฐานรองช่องเก็บเหรียญ) จำนวน 1 แผ่น

-         ตัดฟิวเจอร์บอร์ด ความกว้าง  10 ซม. ความยาว 28.5 ซม.  (ด้านหน้าช่องเก็บเหรียญ) จำนวน 1 แผ่น

-         ตัดฟิวเจอร์บอร์ด เป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู ความกว้าง  9.5 ซม. ความยาวด้านล่าง  12 ซม. ความยาวด้านบน  8.5 ซม. จำนวน 6 แผ่น

-         นำทุกชิ้นส่วนมาประกอบกันดังภาพ

-         มีระยะห่างระหว่างช่องหยอดเหรียญ 6 ซม. จำนวน 5 ช่อง

โครงงานกระปุกออมสินอัจฉริยะ

ภาพที่ 5 ช่องเก็บเหรียญ

ส่วนที่ 3 เซฟเก็บเหรียญ

-         ตัดแผ่นอะคริลิคใสเป็นรูปสามเหลี่ยม ฐานกว้าง 12 ซม. ความสูง 25 ซม. นำมาติดกับแผ่นอะคริลิคใสสี่เหลี่ยม ขนาดความกว้าง 10.5 ซม. ความยาว 15.5 ซม. (ขาตั้งรางแยกเหรียญ)

-         ตัดแผ่นอะคริลิคใสเป็นรูปสี่เหลี่ยม ความกว้าง 15.5 ซม. ความยาว 30.5 ซม. (ฐาน)

-         ตัดแผ่นอะคริลิคใสเป็นรูปสี่เหลี่ยม ความกว้าง 15 ซม. ความยาว 30 ซม. (ด้านหลัง) โดยทำมุมกับรางแยกเหรียญ 60 องศา

-         ตัดแผ่นอะคริลิคใสเป็นรูปสี่เหลี่ยม ความกว้าง 7 ซม. ความยาว 30.5 ซม. (ฝาปิดด้านบน)

-         ตัดแผ่นอะคริลิคใสเป็นรูปสี่เหลี่ยม ความกว้าง 10.5 ซม. ความยาว 30.5 ซม. (ประตูเปิดปิด)

โครงงานกระปุกออมสินอัจฉริยะ

ภาพที่ 6 เซฟเก็บเหรียญที่ประกอบเสร็จแล้ว

แผนการกำหนดเวลาปฏิบัติงาน 1.ระยะเวลาดำเนินการ :

ลำดับ

รายการ

มี.ค.

เม.ย.

หมายเหตุ

1

ประชุม วางแผนเลือกโครงงานที่จะทำ

/

2

เสนอเค้าโครงงานให้อาจารย์ที่ปรึกษา

/

3

จัดซื้อจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้

/

4

เริ่มประดิษฐ์กระปุกออมสินแยกเหรียญ

1.ประดิษฐ์รางแยกเหรียญ

2.ประดิษฐ์ช่องบรรจุเหรียญแต่ละชนิด

3.ประดิษฐ์กรอบนอก

4.ประกอบทุกส่วนให้เข้ากัน

/

/

/

/

/

5

ทดลองการใช้งานกระปุกออมสินแยกเหรียญ

/

6

สรุปผลการทดลอง

/

7

นำผลการทดลองไปปรับปรุงแก้ไขการประดิษฐ์ในครั้งต่อไป

/

*กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

บทที่ 4

ผลการศึกษา

                จากการศึกษากระปุกออมสินแยกเหรียญ โดยแบ่งการแยกออกเป็นเหรียญ 10 บาท 5 บาท 2 บาท 1 บาท ซึ่งได้ดำเนินการทดลองหยอดเหรียญลงในกระปุกแยกเหรียญ10 บาท 5 บาท 2 บาท 1 บาท ได้ผลตามตารางดังต่อไปนี้

ตารางที่ 1 ตารางแสดงจำนวนเหรียญที่หยอดลงกระปุกออมสินแยกเหรียญ

เหรียญ

จำนวนเหรียญที่หยอด/ครั้ง

ความแม่นยำของเหรียญที่ลงช่อง/ครั้ง

10

10

8

5

10

9

2

10

5

1

10

7

จากตารางบันทึกผลพบว่า  ประสิทธิภาพในการแยกเหรียญของกระปุกออมสินแยกเหรียญ ได้ผลดังนี้

1.             กระปุกออมสินแยกเหรียญ มีประสิทธภาพในการแยกเหรียญ 10 บาท ได้ 8เหรียญ จากการทดลองทั้งหมด 10 เหรียญ ซึ่งมีความแม่นยำ มาก

2.             กระปุกออมสินแยกเหรียญ มีประสิทธภาพในการแยกเหรียญ 5 บาท ได้ 9เหรียญ จากการทดลองทั้งหมด 10 เหรียญซึ่งมีความแม่นยำ มากที่สุด

3.             กระปุกออมสินแยกเหรียญ มีประสิทธภาพในการแยกเหรียญ 2 บาท ได้ 5เหรียญ จากการทดลองทั้งหมด 10 เหรียญ ซึ่งมีความแม่นยำ น้อย

4.             กระปุกออมสินแยกเหรียญ มีประสิทธภาพในการแยกเหรียญ 5 บาท ได้ 7เหรียญ จากการทดลองทั้งหมด 10 เหรียญ ซึ่งมีความแม่นยำ ปานกลาง

บทที่ 5

สรุปผลการศึกษา อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

สรุปผลการศึกษา

                จากผลการทดลองกระปุกออมสินแยกเหรียญ สามารถแยกเหรียญต่างๆได้ดังนี้ ทดลองหยอดเหรียญ10 บาท จำนวน10 ครั้ง ลงถูกช่อง 8 ครั้งซึ่งมีความแม่นยำมาก ทดลองหยอดเหรียญ5 บาท จำนวน10 ครั้ง ลงถูกช่อง 9 ครั้งซึ่งมีความแม่นยำ มากที่สุด ทดลองหยอดเหรียญ2 บาท จำนวน10 ครั้ง ลงถูกช่อง 5 ครั้งซึ่งมีความแม่นยำ น้อย และทดลองหยอดเหรียญ1 บาท จำนวน10 ครั้ง ลงถูกช่อง 7 ครั้งซึ่งมีความแม่นยำ ปานกลาง

อภิปรายผล

                จากการทดสอบการทำงานของกระปุกออมสินแยกเหรียญ โดยทดลองหยอดเหรียญ 10 เหรียญ 5 เหรียญ 2 เหรียญ 1 อย่างละ 10 เหรียญ พบว่ากระปุกออมสินแยกเหรียญสามารถแยกเหรียญได้จริง และเมื่อออมเต็มแล้วสามารถนำเหรียญออกมาใช้ได้อย่างสะดวก โดยไม่ต้องเสียเวลาในการคัดแยก เหรียญ กระปุกออมสินยังสามารถใช้งานต่อได้อีก โดยไม่สิ้นเปลืองในการหาซื้อกระปุกใหม่

ข้อเสนอแนะ

                ในอนาคตคณะผู้จัดทำมีแนวคิดว่าว่าควรพัฒนาให้ออมสิน สามารถแยกชนิดของเหรียญได้แม่นยำ พร้อมกับบอกจำนวนเงินออมได้