ความเหมือนระหว่างไทยกับพม่า

ด้านการทูต
            ไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับพม่าเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2491 และมีการเปิดสถานเอกอัครราชทูตของทั้งสองฝ่ายเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2492 ไทยและพม่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดทั้งในระดับรัฐบาลและประชาชนโดยมีความสัมพันธ์กว้างขวางในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมและมีการแลกเปลี่ยนการเยือนในทุกระดับอย่างสม่ำเสมอ ปัจจุบันนายสุพจน์ ธีรเกาศัลย์ ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำสหภาพพม่าและนายเย วิน (U Ye Win) เป็นเอกอัครราชทูตพม่าประจำประเทศไทย

ด้านการเมืองและความมั่นคง
            ไทยและพม่ามีกลไกความร่วมมือทวิภาคี ได้แก่
            (1) คณะกรรมาธิการร่วมไทย-พม่า (Thailand – Myanmar Joint Commission on Bilateral Cooperation – JC) ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศทั้งสองประเทศเป็นประธานร่วมเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ในภาพรวมได้จัดการประชุมครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 7-9 มกราคม 2545 ที่จังหวัดภูเก็ต
            (2) คณะกรรมการเขตแดนร่วม (Joint Boundary Committee – JBC) ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศทั้งสองประเทศเป็นประธานร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาเขตแดนร่วมกัน โดยประชุมครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2548 โดยมี ร.ต.ประพาส ลิมปะพันธุ์ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธานคณะกรรมการเขตแดนร่วมไทย-พม่าฝ่ายไทย และนายหม่อง มิ้นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศพม่าเป็นประธานฝ่ายพม่า
            (3) คณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค (Regional Border Committee – RBC) ซึ่งแม่ทัพภาคที่สามของไทยและแม่ทัพภาคตะวันออกเฉียงใต้ของพม่าเป็นประธานร่วม  เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและแก้ไขปัญหาความสงบเรียบร้อยบริเวณชายแดนโดยประชุมครั้งที่ 22 เมื่อวันที่ 29 เมษายน – 1 พฤษภาคม 2548 ที่เมืองเชียงตุงรัฐฉานของพม่า

ความเหมือนระหว่างไทยกับพม่า

ที่มาภาพ : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=772955

ด้านเศรษฐกิจ
             1. ความร่วมมือด้านการค้า ไทยและพม่ามีกลไกความร่วมมือในกรอบคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้าไทย-พม่า (Joint Trade Commission – JTC) ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของทั้งสองประเทศเป็นประธานร่วมเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือทางการค้าระหว่างกัน โดยได้ประชุมครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2547 ที่กรุงย่างกุ้ง ไทยเป็นประเทศคู่ค้าอันดับ 1 ของพม่า โดยในปี 2548 มีมูลค่าการค้ารวม จำนวน 100,316.5 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากปี 2547 ร้อยละ 27.2) โดยไทยนำเข้า 71,915.9 ล้านบาท และส่งออกไปพม่า 28,400.6 ล้านบาท ทำให้ไทยเสียเปรียบดุลการค้า 43,515.3 ล้านบาท (ส่วนหนึ่งมาจากค่าใช้จ่ายในการซื้อก๊าซธรรมชาติจากพม่า)สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ เคมีภัณฑ์ เหล็กเหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และเม็ดพลาสติก สำหรับสินค้าที่ไทยนำเข้าจากพม่า ได้แก่ก๊าซธรรมชาติ ไม้ซุง ไม้แปรรูป สินแร่โลหะอื่น ๆ และเศษโลหะ เหล็กและเหล็กกล้าและถ่านหิน สำหรับการค้าชายแดนไทย – พม่า ในปี 2548 มีมูลค่าการค้ารวม 88,614.3 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจาก 67,668 ล้านบาทในปี 2547 คิดเป็นร้อยละ 30.95) ไทยส่งออก 23,046.53 ล้านบาท และนำเข้า 65,567.79 ล้านบาทโดยไทยเสียเปรียบดุลการค้า 42,521.26 ล้านบาท (เนื่องจากไทยต้องชำระค่าก๊าซธรรมชาติแก่พม่า)
            2. ด้านการลงทุน ในปัจจุบัน ภาคเอกชนไทยลงทุนในพม่ารวมทั้งสิ้น 56 โครงการ คิดเป็นมูลค่า 1,345.62 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณร้อยละ 17.28 ของการลงทุนจากต่างประเทศในพม่าทั้งหมดโดยไทยมีมูลค่าการลงทุนในพม่าสูงเป็นอันดับที่ 3 รองจากอังกฤษ ( 40 โครงการ 1,569.52 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และสิงคโปร์ (70 โครงการ 1,434.21 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)การลงทุนของไทยในพม่าที่สำคัญ ได้แก่ การลงทุนในสาขาพลังงาน (น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ) ประมง อุตสาหกรรมโรงแรมและการท่องเที่ยวและการแปรรูปสินค้าเกษตรกรรม ไทยและพม่าได้มีการเจรจาจัดทำความตกลงการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างกันเมื่อวันที่ 15-16 กันยายน 2548 ที่กรุงเทพฯ โดยสามารถบรรลุข้อตกลงได้ในทุกข้อบทในร่างความตกลงฯ  และหัวหน้าคณะผู้แทนไทยและพม่าได้ร่วมลงนามย่อในร่างความตกลงฯ  ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศจะนำร่างความตกลงฯเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบและลงนามต่อไป
            3. ความร่วมมือในการพัฒนาเครือข่ายคมนาคม รัฐบาลไทยให้ความช่วยเหลือแก่พม่าในโครงการต่าง ๆ
            4. ความร่วมมือในกรอบ ACMECS ในกรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่น้ำโขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy – ACMECS) ไทยและพม่ามีความร่วมมือในสาขาต่าง ๆ ได้แก่
                          (1) การท่องเที่ยวโดยจัดตั้งคณะกรรมการร่วมด้านการท่องเที่ยวและพัฒนาการท่องเที่ยวระหว่างภาคใต้ของไทย-เมืองทวายในพม่า
                            (2) อุตสาหกรรม ซึ่งกำหนดพื้นที่จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพม่าที่เมืองเมียวดีเมาะลำใย และพะอัน โดยในชั้นนี้เห็นชอบกันที่จะเริ่มดำเนินการที่เมียวดีก่อน
                          (3) พลังงาน มีการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงานทดแทน เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2548 และการลงนามบันทึกความเข้าใจในการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำที่สาละวินฮัจจี และตะนาวศรี เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2548 และ
                         (4) เกษตรกรรม ซึ่งมีการจัดทำ Contract Farming ที่เมืองเมียวดี โดยร้อยตรีประพาส ลิมปะพันธุ์ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ ได้นำคณะผู้แทนไทยไปหารือกับทางการพม่าเรื่องโครงการ Contract Farming ที่กรุงย่างกุ้ง ระหว่างวันที่ 28 – 29 กันยายน 2548 นอกจากนี้รัฐบาลไทยได้ให้วงเงินสินเชื่อ (credit line) จำนวน 4,000 ล้านบาทสำหรับพม่าในการซื้อเครื่องจักรและวัสดุอุปกรณ์ในการพัฒนาประเทศ จนถึงวันที่ 13 มิถุนายน 2548 ไทยได้อนุมัติเบิกจ่ายไปแล้วร้อยละ 70 หรือประมาณ 2,800 พันล้านบาท นอกจากนี้ ในปี 2547 ไทยได้ให้สิทธิพิเศษด้านภาษีศุลกากรในการนำเข้าสินค้าจากพม่าซึ่งรวมถึงสินค้าเกษตร ทั้งในรูปของการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่ประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ (ASEAN Integration System of Preferences – AISP)  และยกเว้นอากรขาเข้าสินค้าในลักษณะ One Way Free Trade รวมจำนวน 461 รายการและเพิ่มเป็น 850 รายการในปี 2548

ด้านวัฒนธรรมสังคมและสาธารณสุข
           โดยที่ไทยและพม่ามีพรมแดนติดต่อกันและประชาชนของทั้งสองประเทศ  มีความคล้ายคลึงทางด้านวัฒนธรรมและศาสนาในภาพรวม รัฐบาลไทยและพม่าได้ลงนามในความตกลงทางวัฒนธรรมเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2542 นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินกิจกรรมอื่น ๆ ได้แก่โครงการอัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทานไปทอดถวายแก่วัดในพม่าซึ่งกระทรวงการต่างประเทศดำเนินการติดต่อกันมาปีนี้เป็นปีที่ 10 การเชิญผู้สื่อข่าวพม่าเยือนประเทศไทยการสนับสนุนการสอนภาษาไทยในมหาวิทยาลัยภาษา ต่างประเทศของพม่าการจัดโครงการวาดเขียนเกี่ยวกับประเทศไทยในหมู่เยาวชนพม่า เป็นต้น ทั้งนี้รัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่ายังสามารถสนับสนุนกิจกรรมความร่วมมือด้านวัฒนธรรมและศาสนาเพิ่มเติมได้อีก  เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีในระดับประชาชนของทั้งสองประเทศมากขึ้น
           ในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญต่อพม่า (และกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ) เป็นลำดับแรกในโครงการความร่วมมือทางวิชาการโดยไทยให้ทุนการศึกษา ทุนฝึกอบรม/ดูงาน การจัดส่งวัสดุอุปกรณ์และการจัดส่งผู้เชี่ยวชาญไปให้คำปรึกษาแนะนำในด้าน ต่าง ๆ ใน 3 สาขาหลัก คือการเกษตร การศึกษา และสาธารณสุข รวมทั้งสาขาอื่น ๆ ที่ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกันโดยตั้งแต่ปี 2540-2547 ไทยให้ความร่วมมือและความช่วยเหลือทางวิชาการแก่พม่าเป็นจำนวนเงิน 92.45 ล้านบาทสำหรับปี 2548 ไทยให้ความช่วยเหลือเป็นทุนการศึกษาและทุนฝึกอบรมหลักสูตรนานาชาติในไทยจำนวน 164 ทุนนอกจากนี้ ตั้งแต่ปี 2545 รัฐบาลไทยยังได้เริ่มให้การสนับสนุนโครงการ  ตามพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีสำหรับครูประถมศึกษาจากพม่า  ในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการเกษตรและโภชนาการสำหรับเด็กวัยเรียนในไทย  และการส่งคณะเจ้าหน้าที่ไทยไปติดตามผลการประชุมเชิงปฏิบัติการในสหภาพพม่า
            ในด้านความร่วมมือในการแก้ไขปัญหายาเสพติด เมื่อปี 2544 รัฐบาลไทยได้ให้ความช่วยเหลือแก่พม่าในโครงการพัฒนาหมู่บ้านยองข่าในรัฐฉาน (เขตของว้า) ดำเนินการโดยมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทางเลือก (alternative development) โดยนำโครงการพัฒนาดอยตุงเป็นแบบอย่าง  เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนพม่าให้เลิกการปลูกฝิ่น  และมีการให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การปลูกพืชผล การสร้างโรงเรียนโรงพยาบาล การสาธารณสุข ฯลฯ (วงเงิน 50 ล้านบาท) แต่ภายหลังการปลดพลเอก ขิ่น ยุ้นโครงการดังกล่าวได้รับผลกระทบและหยุดชะงักไป
            นอกจากนี้เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลพม่าในการแก้ไขปัญหายาเสพติด  และเพื่อความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ประชาชนชาวพม่าเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2548 รัฐบาลไทยได้บริจาคข้าวสาร 1,000 ตันผ่านองค์การอาหารโลก (World Food Program – WFP) มูลค่า 10.54 ล้านบาทเพื่อช่วยเหลือชนกลุ่มน้อยในรัฐฉานที่ได้รับผลกระทบจากโครงการยุติการปลูกฝิ่น

ความเหมือนระหว่างไทยกับพม่า

http://bruneiasian.wikispaces.com/ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหภาพพม่า

ความเหมือนระหว่างไทยกับพม่า

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับพม่าเป็นความสัมพันธ์แบบใด

ความสัมพันธ์พม่าไทย หมายถึงความสัมพันธ์ของสองประเทศตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน พม่ามีสถานทูตประจำประเทศไทยที่กรุงเทพมหานคร ส่วนประเทศไทยมีสถานทูตประจำประเทศพม่าที่ย่างกุ้ง ความสัมพันธ์พม่าไทยมักดำเนินไปในเรื่องของเศรษฐกิจและการค้า นอกจากนี้ก็มีความขัดแย้งเป็นระยะ ๆ เช่นกรณีพิพาทเกาะหลาม เกาะคัน และเกาะขี้นก

ประเทศไทยและเมียนมาร์มีความคล้ายคลึงในเรื่องใดมากที่สุด

ประเทศไทยกับประเทศพม่า หรือเมียนมาในปัจจุบัน เป็นเพื่อนบ้านกันมาช้านาน ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศที่เราส่วนใหญ่รับรู้กันมักเป็นเรื่องของ “การศึกสงคราม” แต่ในส่วนน้อยที่ไม่ค่อยมีผู้กล่าวถึงนัก ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรมด้วย ยิ่งจำแนกลึกลงไปในส่วนของ “นาฏกรรม” ก็จะพบว่ามีส่วนคล้ายกันเลยทีเดียว

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่าในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีลักษณะแบบใด

ในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จะมีความสัมพันธ์แบบผูกไมตรี ช่วยเหลือมอญให้พ้นจากการถูกกดขี่ข่มเหงของพม่า

วัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมเมียนมามีสิ่งใดที่คล้ายคลึงกันมากที่สุด

เมียนมาร์ มีวัฒนธรรม ร่วมที่เหมือนกับไทย คือ การนับถือพุทธศาสนา อาจกล่าวได้ว่า หากจะท าธุรกิจกับชาวเมียนมาร์ ควรที่จะต้องมีการเรียนรู้ และให้ความส าคัญกับการปฏิบัติตนทางพุทธ ศาสนา พฤติกรรมที่เห็นได้โดยทั่วไปส าหรับผู้ที่ใกล้ชิดกับนักธุรกิจเมียนมาร์ คือ การเข้าวัดเพื่อทาบุญ การ บริจาคสิ่งของ การนั่งสมาธิ ทั้งที่ศาสนา ...