รูปร่าง ไม่ใช่ เทวดาถอดรูป หมายความ ว่า อย่างไร

- เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ( รัชกาลที่ 6 ) โดยใช้ "พระนามแฝงว่า รามจิตติ"

- ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ดุสิตสมิต พ.ศ. 2464

- รูปแบบบทประพันธ์ เป็นแบบนวนิยาย "ร้อยแก้ว" รูปแบบ "จดหมาย" มีจำนวนทั้งหมด 18 ฉบับ มีระยะเวลาในจดหมายทั้งหมด 1 ปี 7 เดือน

- มีจุดมุ่งหมาย เพื่อสะท้อนค่านิยมและสภาพสังคมในสมัยนั้น

- เนื้อหาเกี่ยวกับตัวละครเอกสมมุติ "นายประพันธ์ ประยูรสิริ" นักเรียนนอกที่กลับมาจากประเทศอังกฤษ ที่ได้เขียนจดหมายถึงเพื่อนของเขา "นายประเสริฐ สุวัฒน์" เพื่อเล่าเรื่องราวต่างๆ และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพสังคมในสมัยนั้น

แก่นของเรื่อง

การรู้จักอนุรักษ์วัฒนธรรมอันดีงามของไทยและรู้จักเลือกวัฒนธรรมตะวันตกมาปรับใช้ให้เหมาะสม

คุณค่าของเรื่อง

- ด้านเนื้อเรื่อง : แสดงให้เห็นพระปรีชาสามารถในงานพระราชนิพนธ์ มีแก่นเรื่องชัดเจน เนื้อเรื่องน่าสนใจ ผูกปมได้ดี มีข้อคิด 

- ด้านความคิด : แสดงให้เห็นว่านักเรียนนอกในสมัยนั้นเป็นผู้นำกระแส เมื่อทำผิดพลาดก็ควรปรับตัว รวมทั้งการนำเอาเลือกรับวัฒนธรรมต่างชาติมาใช้ให้สอคล้องกับของที่มีอยู่เดิม

- ด้านความรู้ : แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ซึ่งเริ่มไว้ผมยาว ค่อยๆเลิกนุ่งโจงกระเบน หันมานุ่งผ้าซิ่น การแสดงละครที่ใช้ชายจริงหญิงแท้ การใช้คำทับศัพท์และสำนวนต่างประเทศเพื่อแสดงความเป็นเด็กนอก

ต้วละคร

- พระเอก : ประพันธ์

- คนถูกแอบชอบ (ตปก.) : 

× มิสมิลเลอร์ - มีแฟนแล้ว เจอกันบนเรือ

× ลิลี่ - แฟนเก่า นิสัยคล้ายมิสมิลเลอร์

- คนถูกคลุมถุงชน : 

× แม่กิมเน้ย - แต่งตัวไม่งาม ไม่ชอบ

- พ่อคนถูกคลุมถุงชน : นายอากรเพ้ง

- นางเอก : อุไร

- พ่อนางเอก : พระพินิฐพัฒนากร

- น้องสาวพระเอก : 

× ประไพ - คอยช่วยเหลือความรักของพี่ชาย

- คนควงพระยาตระเวน : นางสร้อย (เมียใหม่)

- สามีใหม่นางเอก : 

× พระยาตระเวรนคร - เจ้าชู้ รวย

- ตัวประกอบอื่นๆล

× นายภักดี - เจ้าของร้านผ้าแห่งหนึ่ง

× หลวงเทพปัญหา - ฝ่ายพระเอก

× นางสาวศรีสมาน - นางเอกตัวจริง

× หลวงพิเศษ ผลพานิช - คู่นางเอก

ฉบับที่ 1  ( 23 09 พ.ศ.246- )

พระเอกเขียนจดหมายถึงเพื่อนสนิทระหว่างนั่งเรือ ซึ่งเนื้อหาเล่าว่าไม่อยากกลับ เพราะที่ไทยกับอังกฤษมีวัฒนธรรมแตกต่างกัน นอกจากนี้ยังเล่าถึง หญิงสาวที่แอบชอบเพราะมีนิสัยเหมือนแฟนเก่า พระเอกแอบหวังว่าหญิงคนนั้นจะเสียใจเมื่อต้องจากกัน แต่ก็นก เพราะเธอมีแฟนอยู่แล้ว (มารอรับด้วย)

ฉบับที่ 4 ( 1 12 246- )

พระเอกเล่าว่าพ่อจะยัดตนเข้าทำงาน เพราะเจ้าตัวมีความคิดที่ว่างานจะได้มากจากเส้นสาย แต่สรุปคือไม่ผ่าน พระเอกจึงขอทำการค้าขาย แต่ผู้เป็นพ่อก็ยังปฏิเสธ เนื่องจากเห็นว่าอาชีพนี้ไม่มีทางรุ่งเรืองเป็นแน่

นอกจากนี้ยังมีการบ่นเรื่องการคลุมถุงชนอีก ซึ่งแม้พ่อจะเห็นว่าดี แต่เขากลับมองว่าเธอไม่งาม ไม่น่ามอง เมื่อได้ความเห็นไม่ตรงกัน จึงได้ข้อสรุปตรงกลางว่าจะขอดูตัวก่อน...ซึ่งแม้จะมีคู่ดูตัวอยู่แล้ว แต่เขาก็ยังเผลอไปแอบชอบหญิงอีกคน จากโรงหนังพัฒนาการ

ฉบับที่ 5 ( 15 12 246- )

พระเอกเล่าว่าตนได้เข้าทำงานราชการแล้ว และไม่ชอบคู่ดูตัวเลย บอกว่าหน้าตาของเธอเหมือน "นางซุนฮูหยิน" ที่แต่งกายรุ่งริ่งเหมือนต้นคริสมาส และเล่าถึงสาวในโรงหนังที่แอบชอบ ซึ่งก็คือนางเอก เมื่อรู้ว่าน้องสาวของตนพอรู้จักกับเธอคนนั้นอยู่บ้าง ก็ขอให้เธอช่วยเรื่องการสานสัมพันธุ์

อันที่จริงพระเอกชอบนางเอก ตรงมีนิสัยเป็นกันเอง ทันสมัย เหมือนชาวยุโรป จึงอยากสนิทด้วยเพื่อให้หายติดถึงวัฒนธรรมอังกฤษ

ฉบับที่ 6 ( 11 01 246- )

พระเอกเล่าว่าในคืนที่ตนได้เจอหน้านางเอกตรงๆครั้งแรก ก็เมื่องานแต่งไฟทางลำนำของน้องสาว ซึ่งมีอีกหลายต่อหลายครั้งได้เจอกันเพราะมีน้องสาวเป็นผู้ช่วย เขาอยากจะหอมแก้มน้องจริงๆ แต่ทำไม่ได้เพราะวัฒนธรรมมันต่างกัน นอกจากนี้ยังเขียนไปถึงเรื่องที่ตนเผลอชมนางเอกว่าสวยเสียยิ่งกว่าคู่ดูตัวของตน ระหว่างเดินผ่านหน้าร้านคุณภักดี ซึ่งพอดีกับที่เดินสวนกับคู่ดูตัว.. ทั้งคู่ตกใจและคู่ดูตัวงอน หนีหายไป

ฉบับที่ 9  ( 21 05 246- )

พระเอกเล่าว่าเขากับนางเอกมีความสัมพันธุ์อันเกินเลยไปแล้วในขณะที่อยู่ที่ทริปหัวหิน พระเอกจะแสดงความรับผิดชอบด้วยการขอแต่งงาน แต่ถูกพ่อไม่เห็นด้วย เพราะเธอเป็นผู้หญิงเปิดเผย รู้จักชายไปทั่ว ไม่แน่ว่าอาจเคยมาแล้วก็ได้ จึงได้ข้อสรุปว่าให้ดูตัวไปก่อน1ปี แต่พระเอกไม่ฟัง และรีบไปสู่ขอ เพื่อไปฮันนีมูลที่หัวหินอีกรอบ

ฉบับที่ 11 ( 21 06 246- )

พระเอกเล่าว่าอยู่ที่บ้านหลังใหม่ไม่มีความสุขเลย ทั้งๆที่ควรจะมีความสุขที่สุดเมื่อได้เห็นภรรยา แต่ว่าตอนนี้เขากลับไม่มีความสุขที่ว่านั่น สาเหตุก็เพราะ เมื่อนางเอกเบื่อการอยู่หัวเมืองแบบเพรชบุรี ก็กลับมาที่กรุงเทพโดยไม่บอกกล่าวและทำทีเป็นโมโหเมื่อไม่มีใครมารับ พระเอกไม่พอใจ แต่ถ้าจะให้ทะเลาะกันกลางถนนก็อายเขา จึงตกลงกันว่าจะไปคุยกันในบ้าน ที่ยังสร้างไม่เสร็จดี

หลังจากนั้นก็มีอีกหลายต่อหลายครั้งที่นางเอกจับผิดเขา มันทำให้เจ้าตัวรู้สึกเหมือนอยู่ที่โรงรียนและถูกจ้องโดยคุณครูตลอดเวลา

ฉบับที่ 12 ( 20 11 246- )

พระเอกเล่าว่า นางเอกแท้งลูกแล้วในกลางเดือนกรกฎา และมีท่าทีไม่พึงพอใจในตัวเขาแล้ว แม้จะตนจะอึดอีด แต่ก็ต้องอดทนอยู่ด้วยกันต่อไป หลังจากที่นางเอกหายเจ็บท้องแล้ว เธอก็ชอบออกไปเที่ยวนอกบ้าน และตอบอย่างฉุนเฉียวเวลาพระเอกถาม คล้ายกับจะบอกว่าไม่ใช่เรื่องของเขา นานๆเข้าใบทวงหนี้เริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆ จนพระเอกต้องออกปากเตือน ซึ่งโดนสวนกลับมาว่า "ทำไมก่อนอต่งไม่ดูให้ดีว่า เธอใช้เงินฟุ่มเฟือยขนาดไหน" และไม่ยอมเปลี่ยนแปลงตนเอง

พระเอกต้องไปยืมเงินพ่อมาใช้หนี้ ซึ่งผู่เป็นพ่อโกรธมาก จะเอาเรื่องนางเอก แต่กลับโดนตอกกลับมาว่าเธอจะไม่ชดใช้อะไรทั้งสิน และไม่ให้พระเอกมีอำนาจในเงินของตนอีก ก่อนจะหนีกลับไปบ้านพ่อ

หลวงเทพปัญหามาหาและเล่าว่านางเอกหนีเที่ยวอยู่กับพระยาตระเวรนคร ซึ่งมีนิสัยเจ้าชู้ เมื่อทราบข่าวเขาก็เป็นห่วงจึงส่งจดหมายไปเตือนด้วยความหวังดี แต่กลับโดนฉีกทิ้งอย่างไม่ใยดี ต่อมามีข่าวใหม่ว่านางเอกถึงขั้นไปค้างบ้านชายอื่นแล้ว พระเอกจึงตัดสินใจหย่า

- ฉบับที่ 13 ( 22 12 246- )

พระเอกเล่าว่ามีความสุขมากขึ้นเพราะโสด ถึงจะโดนนินทาบ้าง แต่ก็ถือว่า การแต่งงานเป็นเรื่องส่วนตัว ไม่ใช่เรื่องที่คนอื่นจะมายุ่งได้จึงไม่คิดอะไรมาก ส่วนนางเอกก็ย้ายไปอยู่กับสามีใหม่ของตนที่มีเมียน้อยถึง 7 คน ซึ่งพวกหล่อนชอบกลั่นแกล้งเธอเวลาที่นางไม่อยู่บ้าน จนนางเอกทนไม่ไหวหนีกลับบ้านพ่อ สามีก็ตามไปง้อ และให้เธออยู่บ้านอีกหลังนึงที่ถนนราชประสงค์ หลังจากนั้น พระเอกก็ได้เลื่อนขั้นเป็นผู้ช่วยเจ้ากรมโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ ส่วนทางเสือป่า เขาได้เข้าไปประจำอยู่ในกรมม้าหลวงตามที่หสัง และเลื่อนยศเป็นนายหมู่เอก

- ฉบับที่ 15 ( 23 01 246- )

พระเอกเล่าว่างานเฉลิมพระชนมพรรษาของปีนี้น่าสนุก เพราะตนกลับมาโสดอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งสามีใหม่นางเอกเองก็เห็นด้วย และไปมีคนควงใหม่ ซึ่งนางเอกแค้นใจมาก แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะถ้าเลิกกับชายคนนี้จะไม่มีเงินและต้องกลับไปง้อพ่อ ที่เคยอวดดีเอาไว้ว่าจะไม่มาพึ่งอีก นอกจากนี้ นางยังเคยยังเคยพูดไว้ว่า พวกฝรั่งเห็นว่า "การมีภรรยาหลายคนไม่ทำให้ได้รับความเสื่อมเสีย เพราะเป็นเรื่องส่วนตัว" จึงต้องอดทน

- ฉบับที่ 16 ( 31 01 246- )

พระเอกเล่าว่ามีความสุขกับงาน ณ ปัจจุบัน เพราะต้องเจอคนมากและทำให้วิสัยทัษน์กว้างไกลขึ้น ต่างจากงานราชการ ที่เมื่อหมดเวลาก็ต่างคนต่างไป ไม่ได้นั่งล้อมวงทำกิจกรรมอะไรต่อ

นอกจากนี้ก็เล่าว่าสโมสรไทยหลายแห่งที่ตั้งขึ้นมีแววว่าจะล้มละลาย โดยสโมสรไทยที่ยั่งยื่นที่สุด คือ "สามัคยาจารย์สมาคม" ซึ่งเป็นของสำหรับจำเพาะข้าราชการกระทรวงเดียว และกระทรวงนั้นก็ยังหนุนหลังสมาคมไว้อยู่ 

และได้พูดถึงการเล่นละครที่ผู้ชายเล่นเป็นตัวผู้ชาย ผู้หญิงเล่นเป็นตัวผู้หญิง ที่ตนดูของคณะละครศรีอยุทธยารม ว่าเป็นละครที่แสดงดี ผู้หญิงที่เป็นตัวละครในคณะนี้ก็ยังสาวๆอยู่ ถึงจะมีสามีและบุตรแล้วก็ตาม ผู้หญิงที่มีลูกแล้วไม่จำเป็นต้องแก่อย่างที่เขาว่ากัน ผู้ชายที่เบื่อผู้หญิงที่มีลูกแล้ว ก็ต้องโทษผู้หญิงด้วยเช่นกัน เพราะหลายคนมักเข้าใจผิดว่า พอมีลูกก็ชอบปล่อยตัวให้ทรุดโทรม แต่ถ้าผู้หญิงดูแลตัวเอง ปฎิบัติให้สามีรู้สึกมีความสุข ก็ไม่จำเป็นต้องห้ามเขาไปมีคนอื่นเลย เพราะเขาจะรู้สึกว่า มีแค่คนเดียวก็มีความสุขพอแล้ว

- ฉบับที่ 17 ( 03 03 246- )

พระเอกเล่าว่าตนเลื่อนยศเป็นนายหมู่ใหญ่แล้ว และเมื่อกลับบ้านได้ไม่กี่วัน นางเอกก็มาหาที่บ้าน เพื่อขอให้เขาช่วยดูแลตนอีกครั้ง เนื่องจากสามีใหม่ต้องการบ้านที่ถนนราชประสงค์ให้นางสร้อย ภรรยาใหม่ของเขาเข้าอยู่ ส่วนนางจะต้องย้ายไปอยู่ที่อื่น เงินก็ไม่มีใช้สอย จะให้กลับไปอาศัยพ่อก็กลัวจะเสียหน้า เพราะเคยพูดอวดอ้างไว้ พระเอกแนะนำให้เธอกลับไปง้อพ่อของตน นางจึงไปง้อและกลับไปอยู่ที่นั่น

- ฉบับที่ 18 ( 14 04 246- )

พระเอกเล่าว่า นางเอกตกลงแต่งงานกับหลวงพิเศษ ผลพานิชที่เป็นพ่อค้าแล้ว ตนจึงคลายกังวล และเขาเองก็ได้รักกับผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งเป็นแม่ค้าแล้ว เขาจึงคลายกังวล และตนเองก็ได้รักกับผู้หญิงคนอื่นเสียที... เธอชื่อนางสาว "ศรีสมาน" เป็นลูกสาวเจ้าพระยาพิสิฐเสวก ทั้งสองฝ่ายคุยจนเป็นที่ต้องใจกันแล้ว และพระเอกก็ได้ลงท้ายไว้ว่า จะให้นายประเสริฐมาเป็นเพื่อนเจ้าบ่าว

สำนวนสุภาษิตในเรื่อง

ฉบับที่ 4

- เดินเข้าท้ายครัว => โดยทั่วไปหมายความว่า เข้าทางภรรยา ในที่นี้หมายถึงใช้ความรู้จักคุ้นเคยกันเป็นส่วนตัวเป็นเครื่องช่วยให้ได้งานทำ

- หมอบราบคาบแก้ว => ยอมตามโดยไม่ขัดขืน

- คลุมถุงชน => การแต่งงานที่ผู้ใหญ่จัดการให้โดยที่เจ้าตัวไม่รู้จักกันหรือไม่ได้รักกันมาก่อน

- ลงรอยเป็นท่าประนม => ในที่นี้ หมายถึง ยกมือไหว้บ่อยๆ จนมือแทบจะค้างอยู่ในท่านั้น

ฉบับที่ 6

- ทำตัวเป็นหอยจุ๊บแจง => หอยจุ๊บแจง เป็นชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยว จะอ้าฝาเปิดปากในน้ำนิ่ง แต่เมื่อมีสิ่งใดมากกระทบ ก็จะปิดฝาซ่อนตัวทันที ในที่นี้หมายถึง ผู้หญิงที่มักเก็บตัวอยู่แต่ในบ้าน ขี้อาย ไม่รู้จักเข้าสังคม

- ค้อนเสียสามสี้วง

ฉบับที่ 7

- โรงเรียนฝึกหัดเจ้าชู้ => เป็นคำที่คุณพ่อของนายประพันธ์พูดถึงนางอุไรว่า เป็นผู้หญิงที่คุ้นเคยกับผู้ชายหลายคน

- ชิงสุกก่อนห่าม => ทำสิ่งที่ยังไม่สมควรแก่วัย หรือยังไม่ถึงเวลา มักหมายถึง การลักลอบได้เสียกันก่อนแต่งงาน

ฉบับที่ 9

- เมฆทุกก้อนมีซับในเป็นเงิน ( Ever cloud has a silver lining ) => เป็นสำนวนอังกฤษ หมายความว่าในอุปสรรค์หรือความทุกข์ก็ยังมีสิ่งดีๆ หรือความสุขแทรกอยู่บ้าง

- อุทิศตัวเป็นพรหมจรรย์ => ประพฤติตนเหมือนนักบวชโดยเว้นจากการมีเพศสัมพันธ์

ฉบับที่ 15

- ขนมปังครึ่งก้อนยังดีกว่าไม่มีเลย ( Half a loaf is better than none ) => เป็นสำนวนอังกฤษ หมายความว่า แม้จะไม่ได้สิ่งใดอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ แต่ถ้าพอมีอยู่บ้างก็ยังดีกว่าไม่มีเลย

ฉบับที่ 17

- ขุดอู่ => เปลเด็ก มาจากสำนวนว่า ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ผูกอู่ตามใจผู้นอน ซึ่งหมายความว่า ทำตามความพอใจของผู้ที่ได้รับผล โดยตรง “ขุดอู่” ในที่นี้หมายถึง การเลือกคู่ครองด้วยตนเอง

ฉบับที่ 18

- เทวดาถอดรูป => มีรูปร่างหน้าตาดีราวกับเทวดา

คำทับศัพท์ , คำศัพท์ ภายในเรื่อง

- กรมท่าซ้าย => ส่วนราชการในสมัยก่อน

- ครึ => เก่า ล้าสมัย

- โช => อวดให้ดู

- พิสดาร => ละเอียดลออ กว้างขวาง

- พื้นเสีย => โกรธ

- ไพร่ => ชาวบ้าน

- ฟรี => เป็นอิสระจากกฎเกณฑ์หรือการควบคลุม

- เรี่ยม => สะอาดหมดจด

- ลอยนวล => ตามสบาย

- สิ้นพูด => หมดคำพูดที่จะกล่าว

- หดหู่ => หอเหี่ยวไม่ชื่นบาน

- หมอบราบ => ยอมตามโดยไม่ขัดขืน

- หมายว่า => คาดว่า

- หัวนอก => คนที่นิยมแบบฝรั่ง

- หัวเมือง => ต่างจังหวัด

- อยู่ข้าง => ค่อนข้าง

- สังกัดกรมพระคลัง

- หลวง => บรรดาศักดิ์ข้าราชการ

ที่สูงกว่าและต่ำกว่าพระ

- แบชะเล่อร์ ( Bachelor ) => ชายโสด

- ปอปูลาร์ ( Popular ) => ได้รับความนิยม

- เร็สตอรังต์ ( Restaurant ) => ภัตตาคาร ร้านอาหาร

- เล็กเช่อร์ ( Lecture ) => บรรยาย

- ศิวิไลซ์ ( Civilize ) => เจริญ มีอารยธรรม

- อินเตอเร้สต์ ( Interest ) => ความสนใจ

- เอดูเคชั่น ( Education ) => การศึกษา

- ฮันนี่มูน ( Honeymoon ) => การไปเที่ยวด้วยกันของคู่แต่งงานใหม่