การตั้งถิ่นฐานและการ ดำเนิน ชีวิตของคนสมัยอยุธยา

   ในรัชกาลที่ 4 อนุญาตให้ไพร่เสียเงินแทนการถูกเกณฑ์แรงงานเข้ารับราชการ ให้เสรีภาพแก่สตรีที่บรรลุนิติภาวะในการเลือกคู่ครองโดยพ่อแม่จะบังคับไม่ได้ ห้ามพ่อแม่ขายบุตรเป็นทาส ห้ามสามีขายภรรยาเป็นทาสโดยเจ้าตัวไม่สมัครใจ . ประกาศให้ข้าราชการสวมเสื้อเวลาเข้าเฝ้า โปรดให้สร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขึ้นเพื่อเป็นของที่พระมหากษัตริย์พระราชทาน เป็นบำเหน็จรางวัลแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการไทย และชาวต่างประเทศ ทรงเปลี่ยนแปลงพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา โดยพระองค์ทรงร่วมเสวยด้วย

การตั้งถิ่นฐานและการ ดำเนิน ชีวิตของคนสมัยอยุธยา

วิถีชีวิตของคนไทยสมัยต่าง ๆ
วิถีชีวิตดั้งเดิมของคนไทย  คือ  การเป็นสังคมเกษตรกรรมที่ทุกคนอาศัยอยู่รวมกันเป็นชุมชนในระดับครอบครัว  เป็นครอบครัวขยายที่มีคนหลายรุ่นอาศัยอยู่รวมกัน  คือ  รุ่นปู่ย่าตายาย  รุ่นพ่อแม่  รุ่นลูก  รุ่นหลาน  รวมทั้งมีญาติพี่น้องอาศัยอยู่ใกล้ชิดกัน โดยมีศูนย์กลางของชุมชน  คือ  ศาสนสถาน  เช่น  วัด  มัสยิด  ผู้ใหญ่ในชุมชน  เช่น  พระ  ผู้ใหญ่บ้าน  ผู้เฒ่าผู้แก่  ได้รับการนับถือและเป็นผู้ตัดสินความขัดแย้งในชุมชน  มีขนบธรรมเนียมประเพณี  การละเล่น  และความเชื่ออันเนื่องมาจากการเป็นสังคมเกษตรกรรม  จากการนับถือศาสนาและความเชื่อดั้งเดิมเรื่องการนับถือผีสางเทวดา
          เมื่อเวลาผ่านไป  สังคมมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น  ความคิด  ค่านิยม  อุดมการณ์  การเมืองการปกครอง  และบรรทัดฐานทางสังคม  ซึ่งมีผลให้วิถีชีวิตของคนไทยในสมัยต่าง ๆ มีความแตกต่างกัน

1.  วิถีชีวิตของคนไทยสมัยสุโขทัย
          วิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยสมัยสุโขทัยสามารถสรุปออกเป็นด้าน ๆ ได้ดังนี้
1)  ด้านการเมืองการปกครอง  ในระยะแรกผู้ปกครองสุโขทัยมีความใกล้ชิดกับประชาชน  เปรียบเสมือนกับพ่อปกครองลูก  ต่อมาผู้ปกครองได้นำหลักธรรมในพระพุทธศาสนามาปรับใช้ในการปกครอง  ทำให้ผู้ปกครองทรงเป็นธรรมราชา  ปกครองโดยทศพิธราชธรรม
2)  ด้านเศรษฐกิจ  ชาวสุโขทัยมีเสรีภาพในการประกอบอาชีพ  อาชีพที่ทำ  เช่น  เกษตรกรรม  หัตถกรรม  ค้าขาย  มีการใช้เงินพดด้วงและเบี้ยเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
3)  ด้านสังคมและวัฒนธรรม  สังคมในสมัยสุโขทัยมีขนาดไม่ใหญ่มาก  สังคมไม่ซับซ้อนเพราะประชากรมีจำนวนน้อย  ชนชั้นในสังคมแบ่งออกเป็นชนชั้นผู้ปกครอง  ได้แก่  พระมหากษัตริย์  ขุนนางและผู้ถูกปกครอง  ได้แก่  ราษฎร  ทาส  และพระสงฆ์  ชาวสุโขทัยมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนามาก  ดังจะเห็นได้จากการฟังธรรมในวันพระ  มีการสร้างวัด  พระพุทธรูปจำนวนมาก  และมีการแต่งวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา  คือ  ไตรภูมิพระร่วง

2.  วิถีชีวิตของคนไทยสมัยอยุธยา  ธนบุรี  และรัตนโกสินทร์ตอนต้น
          วิถีชีวิตของคนไทยในสามช่วงเวลานี้กล่าวได้ว่ามีความคล้ายคลึงกันและไม่มี ความแตกต่างกันมากนัก  การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนไทยที่เห็นได้ชัดเจนเกิดขึ้นเมื่อมีการปรับ ปรุงประเทศให้ทันสมัยตามแบบตะวันตกตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา
สำหรับวิถีชีวิตของคนไทยในสมัยอยุธยา  ธนบุรี  และรัตนโกสินทร์ตอนต้นสรุปได้ดังนี้
 1)  ด้านการเมืองการปกครอง  ในสมัยอยุธยาได้รับคติการปกครองแบบสมมติเทพมาจากเขมรที่ผู้ปกครองเปรียบดัง เทพเจ้า  จึงมีข้อปฏิบัติตามกฏมณเฑียรบาลที่ทำให้ผู้ปกครองมีความแตกต่างจากประชาชน  เช่น  การใช้ราชาศัพท์  การมีพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา  เป็นต้น  ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับราษฎรจึงห่างเหินกัน  อย่างไรก็ตาม  ผู้ปกครองก็เป็นธรรมราชาด้วยเช่นกัน  สำหรับประชาชนถูกควบคุมด้วยระบบไพร่  ต้องถูกเกณฑ์แรงงานให้กับทางราชการ
2)  ด้านเศรษฐกิจ  เป็นระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเองและยังชีพอยู่ได้  ราษฎรสามารถผลิตสิ่งของที่จำเป็นในชีวิตประจำวันใช้เองในครัวเรือน  การค้าขยายตัวไม่มากเพราะถูกผูกขาดโดยพระคลังสินค้า  สินค้าของตะวันตกส่วนใหญ่ขายได้เฉพาะสินค้าบางประเภท  เช่น  อาวุธปืน  กระสุนปืน  และสินค้าฟุ่มเฟือยที่ใช้ในราชสำนักหรือสำหรับกลุ่มที่มีฐานะ  การติดต่อค้าขายกับภายนอกมากขึ้น  ทำให้มีการจัดระเบียบหน่วยงานต่าง ๆ ชัดเจน  เช่น  มีกรมท่าและพระคลังสินค้าดูแลการติดต่อและการค้ากับต่างประเทศ  การจัดระบบภาษีอาการและระบบเงินตรา
3)  ด้านสังคมและวัฒนธรรม  จากการติดต่อกับชุมชนภายนอก  ไม่ว่าทางการค้า  การทำสงคราม  รวมถึงมีชาวต่างชาติเข้ามารับราชการในราชสำนัก  ทำให้สังคมไทยสมัยอยุธยาได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมประเพณีจากเขมร  อินเดีย  มอญ  จีน ญี่ปุ่น  เปอร์เซีย  อาหรับ  ยุโรป  เช่น  การกำหนดชนชั้นของคนในสังคม  กฎหมาย  ประเพณี  พระราชพิธีและธรรมเนียมในราชสำนัก  วิถีการดำเนินชีวิตต่าง ๆ เช่น  การดื่มชา  การใช้เครื่องถ้วยชาม  เครื่องเคลือบ  การปรุงอาหาร  และขนมหวาน
สำหรับพระพุทธศาสนายังคงมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของคนไทยในสมัยนี้เช่นเดียว กับสมัยสุโขทัย  โดยประชาชนมีประเพณีในชีวิตประจำวันที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา  เช่น  การเกิด  การอุปสมบท  การแต่งงาน  การตาย  และประเพณีเกี่ยวกับสังคมเกษตรกรรม  เช่น  การทำขวัญแม่โพสพ  ส่วนผู้ที่นับถือศาสนาอื่นก็สามารถอยู่ร่วมกันได้ในสังคม  ดังจะเห็นได้จากการมีการมัสยิดและโบสถ์คริสต์  ทั้งที่กรุงศรีอยุธยา  กรุงธนบุรีและกรุงเทพมหานคร  และยังมีการสร้างสรรค์งานศิลปกรรม  วรรณกรรม ประเพณี  เพื่อความสำคัญของพระพุทธศาสนาและความเป็นสมมติเทพของพระมหากษัตริย์

3.  วิถีชีวิตของคนไทยสมัยรัตนโกสินทร์ยุคปรับปรุงประเทศถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
          ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา  สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปจากสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นอย่างมากจากการรับ วัฒนธรรมของชาติตะวันตก  สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงเกิดจากการที่ไทยทำสนธิสัญญาเบาว์ริงกับประเทศ อังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2398  และทำสนธิสัญญากับชาติตะวันตกอื่น ๆ ทำให้มีการติดต่อกับชาติตะวันตกมากขึ้น  ผู้นำการเปลี่ยนแปลงในระยะแรก  ได้แก่  ผู้ปกครองและชนชั้นสูง  เช่น  เจ้านาย  ขุนนาง  ต่อมาชนชั้นกลางได้มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนไทย
1)  ด้านการเมืองการปกครอง  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใกล้ชิดกับราษฎรมากขึ้น  เช่น  เสด็จประพาสหัวเมืองบ่อยครั้ง  อนุญาตให้ราษฎรเข้าเฝ้า ฯ  ระหว่างเสด็จพระราชดำเนินได้  ให้ราษฎรมองพระพักตร์พระเจ้าแผ่นดินและถวายฎีกาแก่พระองค์ได้โดยตรง  ตลอดจนมีการปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดิน  แบ่งงานออกเป็นกระทรวง  กรม  ทำให้การฝึกคนเข้ารับราชการมากขึ้น
2)  ด้านเศรษฐกิจ  ข้าวกลายเป็นสินค้าออกอันดับหนึ่งของไทย  มีการบุกเบิกที่ดินเพื่อใช้ปลูกข้าว  เช่น  บริเวณรังสิต  ปรับปรุงระบบชลประทาน  การขุดคูคลอง  และการตั้งโรงสีข้าว  โดยชาวจีนเป็นผู้ค้าข้าวในประเทศและเป็นเจ้าของโรงสี  ส่วนชาวยุโรปเป็นผู้ส่งออก
ต่อมาไทยผลิตสินค้าออกที่มีความสำคัญอีก 3 ประการ  คือ  ดีบุก  ไม้สัก  และยางพารา  การเติบโตของการส่งออกดีบุก  ทำให้มีชาวจีนอพยพเข้ามาเป็นแรงงานและอาศัยอยู่ทางภาคใต้ของไทยมากขึ้น  เช่น  ที่ภูเก็ต
การเปิดเสรีทางเศรษฐกิจทำให้การค้าขยายไปทั่วประเทศ  เมืองขยายตัว  เกิดการพัฒนาเส้นทางคมนาคม  พ่อค้าเร่ชาวจีนบรรทุกสินค้าไปขายยังหัวเมืองต่าง ๆ ส่งผลให้ชาวจีนอพยพจากรุงเทพมหานครไปอาศัยอยู่ตามชุมชนเมืองในหัวเมือง  ซึ่งพัฒนาเป็นชุมชนการค้าของเมืองนั้น ๆ และตั้งรกรากมาจนถึงปัจจุบัน
3)  ด้านสังคมและวัฒนธรรม  วิถีชีวิตของคนไทยเปลี่ยนไปอันเนื่องมาจากการปรับปรุงประเทศให้เข้าสู่ความ ทันสมัยแบบตะวันตก  เช่น  ราษฎรไทยได้รับการปลดปล่อยจากการเป็นทาสและไพร่  มีอิสรเสรีในการประกอบอาชีพ  ได้รับการรักษาโรคด้วยวิชาการแพทย์แผนใหม่  สามัญชนมีโอกาสได้เล่าเรียนในโรงเรียนและมหาวิทยาลัย  เข้าทำงานในกระทรวงต่าง ๆ อ่านหนังสือพิมพ์  ใช้รถไฟ  รถยนต์  ไปรษณีย์โทรเลข  โทรศัพท์  ไฟฟ้า  น้ำประปา  มีถนนหนทางใหม่ ๆ เพื่อใช้เดินทาง  ทำให้ชีวิตของคนไทยสะดวกสบายมากขึ้น
นอกจากนี้  ชาวไทยทั้งหญิงและชายเริ่มแต่งกายให้เป็นแบบสากลนิยม  รับประทานกาแฟ  นม  ขนมปัง  เป็นอาหารเช้าแทนข้าว  ใช้ช้อนส้อม  นั่งโต๊ะเก้าอี้  มีโอกาสเดินทางไปศึกษาที่ต่างประเทศ  รู้จักเล่นกีฬาแบบตะวันตก  สร้างพระราชวัง สร้างบ้านแบบตะวันตก  นิยมมีบ้านพักตากอากาศในต่างจังหวัด  ในสมัยรัชกาลที่ 6  คนไทยเริ่มมีคำนำหน้าชื่อบุรุษ  สตรี  เด็ก  เป็นนาย  นางสาว  นาง  เด็กชาย  เด็กหญิง  ตามลำดับ  มีนามสกุลเป็นของตัวเอง  ผู้หญิงเริ่มไว้ผมยาวและนุ่งผ้าซิ่น  มีการใช้ธงไตรรงค์เป็นธงประจำชาติไทย  เป็นต้น

4.  วิถีชีวิตของคนไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ถึงปัจจุบัน
          การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475  มีผลต่อวิถีชีวิตของคนไทยในด้านต่าง ๆ หลายประการ  ดังนี้
1)  ด้านการเมืองการปกครอง  ในสมัย พ.ศ. 2475  มีการเปลี่ยนแปลงระบอบใน พ.ศ. 2475  มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเป็นประชาธิปไตย  เกิดองค์กรการเมืองต่าง ๆ เช่น  พรรคการเมือง  คณะรัฐมนตรี  รัฐสภา  ประชาชนมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง  มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง  แต่บางสมัยถูกปกครองโดยเผด็จการที่ยกเลิกรัฐธรรมนูญ  มีการควบคุมสิทธิทางการเมืองของประชาชน
 2)  ด้านเศรษฐกิจ  ตั้งแต่ พ.ศ. 2504  มีการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนไทยหลายอย่าง  เช่น  เกิดโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมาก  คนในชนบทอพยพมาทำงานโรงงานมากขึ้น  เกิดปัญหาความยากจนและช่องว่างทางเศรษฐกิจระกว่างภาคเกษตรกรรมกับอุตสาหกรรม
ในทศวรรษ 2530  รัฐบาลมุ่งพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่  แต่เมื่อเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจใน พ.ศ. 2540  ทำให้ธุรกิจจำนวนมากล้มละลาย  คนตกงานจำนวนมาก  รัฐบาลได้ส่งเสริมให้ประชาชนดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อลดความ ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย
3)  ด้านสังคมและวัฒนธรรม  สามารถแบ่งได้เป็นช่วง ๆ ดังนี้
 3.1)  สมัยการสร้างชาติ  ตรงกับสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามสมัยแรก (พ.ศ. 2481 - 2487)  ได้สร้างกระแสชาตินิยมและความเป็นไทยด้วยการออกรัฐนิยมหลายฉบับ  เช่น  เปลี่ยนชื่อประเทศ  ชื่อสัญชาติ  ชื่อคนสยาม  เป็นประเทศไทย  สัญชาติไทย  คนไทย  มีการยกเลิกบรรดาศักดิ์และยศข้าราชการพลเรือน  ทั้งหญิงและชายต้องสวมรองเท้า  สวมหมวก  ห้ามรับประทานหมากพลู  ต้องใช้คำสรรพนามแทนตนเองว่า  "ฉัน"  และเรียกคนที่พูดด้วยว่า  "ท่าน"  เป็นต้น  แต่ภายหลังวัฒนธรรมเหล่านี้ก็ถูกยกเลิกไป
3.2)  สมัยการฟื้นฟูพระราชประเพณี  ตรงกับสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์  (พ.ศ. 2501 - 2506)  ในสมัยนี้มีการฟื้นฟูความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์  และฟื้นฟูพระราชพิธีต่าง ๆ เช่น  เปลี่ยนวันชาติจากวันที่ 24  มิถุนายน ซึ่งเป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย  มาเป็นวันที่ 5 ธันวาคม  ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษา  จัดให้มีพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาอย่างยิ่งใหญ่  จัดงานพระราชพิธีวันฉัตรมงคล  และมีพิธีต่าง ๆ ที่ให้ความสำคัญแก่สถาบันพระมหากษัตริย์  เช่น  พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์  พิธีที่ทำคุณประโยชน์ด้านต่าง ๆ ฟื้นฟูพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินทอดผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราทาง ชลมารค  สนับสนุนการเสด็จพระราชดำเนินไปยังต่างจังหวัดในท้องถิ่นทุรกันดารทั่ว ประเทศ  มีการสร้างพระตำหนักในภูมิภาคต่าง ๆ ส่งเสริมโครงการหลวง  โครงการพระราชดำริต่าง ๆ ออกข่าวพระราชสำนักผ่านโทรทัศน์และวิทยุเป็นประจำทุกวัน  จะเห็นว่าการฟื้นฟูพระราชพิธี  การสร้างธรรมเนียมต่าง ๆ เกี่ยวกับราชสำนักในสมัยจอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์ได้สืบทอดมาถึงปัจจุบัน
3.3)  สมัยการฟื้นฟูวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว  ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์  ได้ตั้งองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (อ.ส.ท.)  ปัจจุบันคือ  การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย  องค์กรนี้ได้เข้าไปส่งเสริม  ฟื้นฟู  และสร้างขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นในที่ต่าง ๆ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว  ทำให้ขนบธรรมเนียมประเพณีหลายอย่างได้รับการฟื้นฟูสืบทอด  และประเพณีบางอย่างได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นใหม่  เช่น  การจัดงานประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย  เป็นต้น
 3.4)  สมัยการพัฒนาทางเศรษฐกิจถึงปัจจุบัน  สมัยนี้ได้มีการกำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1  เมื่อ พ.ศ. 2504  ทำให้วิถีชีวิตของคนไทยเปลี่ยนแปลงอย่างมาก  โดยเกิดจากหลายปัจจัย  เช่น  การพัฒนาทางการศึกษา  ทำให้อัตราผู้รู้หนังสือมากขึ้น  จำนวนผู้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยและจำนวนมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น  คนไทยนิยมไปเรียนต่อต่างประเทศมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ประกอบกับในช่วงนี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกา  ทำให้วัฒนธรรมตะวันตกแพร่ขยายเข้ามาในสังคมไทยมากขึ้น
ในด้านครอบครัว  ครอบครัวมีขนาดเล็ก  โดยมีลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยว  สังคมแบบเครือญาติหรือสังคมชนบทของไทยเปลี่ยนไป  วางแผนครอบครัวและความเจริญทางการแพทย์  ทำให้ประชากรวัยสูงอายุมีจำนวนมากขึ้น  ขณะที่ประชากรวัยเด็กลดลงความสัมพันธ์แบบเครือญาติลดลง  ผู้หญิงไทยออกไปทำงานนอกบ้านมากขึ้น  และเกิดปัญหาสังคมต่าง ๆ ตามมา  เช่น  ปัญหาเด็กเร่ร่อน  ปัญหาสิ่งเสพติด  ปัญหาอาชญากรรม  เป็นต้น

การตั้งถิ่นฐานและการ ดำเนิน ชีวิตของคนสมัยอยุธยา

https://sites.google.com/site/nichanunmoonlak/withi-chiwit-thiy

การตั้งถิ่นฐานและการ ดำเนิน ชีวิตของคนสมัยอยุธยา
 

การตั้งถิ่นฐานและการดำเนินชีวิตของคนสมัยอยุธยามีศูนย์กลางของอาณาจักรอยู่บริเวณใด *

การกำเนิดอาณาจักรอยุธยาที่ได้รับการยอมรับกว้างขวางที่สุด คือ เป็นรัฐที่มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาในที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเป็นการรวมอำนาจกันระหว่างอาณาจักรละโว้และอาณาจักรสุพรรณภูมิ โดยช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 19 อาจจะเพราะภัยโรคระบาดคุกคาม สมเด็จพระเจ้าอู่ทองจึงทรงย้ายราชสำนักมายังที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงอันอุดม ...

ลักษณะการดำเนินชีวิตของคนสมัยธนบุรีเป็นอย่างไร

เศรษฐกิจในสมัยธนบุรีเป็นเศรษฐกิจแบบยังชีพเช่นเดียวกับอยุธยา (คือทำพอมีพอกินในแต่ละครอบครัว) การทำนาเป็นอาชีพหลัก นอกจากนั้นก็มีการปลูกฝ้าย ยาสูบ อ้อย ผัก และผลไม้กันทั่วไป เมื่อบ้านเมืองพ้นจากภาวะสงครามไม่มีข้าศึกมารบกวน ราษฎรก็มีเวลาตั้งหน้าประกอบการอาชีพ ทำให้ฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัวดีขึ้น บ้านเมืองจึงสามารถกลับ ...

ลักษณะการดำเนินชีวิตในสมัยอยุธยาเป็นอย่างไร

09.ชีวิตความเป็นอยู่และประเพณีบางอย่างสมัยอยุธยา.
บ้านเรือนสมัยอยุธยา สร้างเป็นหลังขนาดย่อมๆ.
ผู้หญิงต้องรับผิดชอบต่อครอบครัวมากกว่าผู้ชาย.
ชอบเล่นการพนันกันอย่างกว้างขวาง.
ชอบสูบยาเส้น และสูบกันอย่างกว้างขวาง.
นิยมให้ลูกชายได้ศึกษาเล่าเรียนโดยใช้วัดเป็นสถานศึกษา ... .
ทาสอันได้เลี้ยงมาเมื่อเกิดทุพภิกขภัย.

สมัยอยุธยามีความสําคัญอย่างไร

พระนครศรีอยุธยาคือนครที่เป็นอะไรหลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน คือนับแต่การเป็นราชธานีที่เป็นศูนย์กลางการปกครอง เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ มาเป็นเมืองที่ค้าขายติดต่อกับนานาชาติ ศูนย์กลางของการคมนาคมภายในกับบรรดาบ้านเมืองที่อยู่บริเวณเหนือน้ำขึ้นไป และในที่สุดก็เป็นศูนย์กลางแห่งศิลปวัฒนธรรมที่แผ่อิทธิพลไปยังบ้านเล็กเมือง ...