ตัวอย่างแนะนําตัวเอง

John Lees ที่ปรึกษาด้านอาชีพและผู้เขียนหนังสือ The Interview Expert ได้ให้คำแนะนำเอาไว้ว่า “ให้มองการสัมภาษณ์งานนี้เหมือนการออดิชั่นไปเล่นหนังสักเรื่อง จินตนาการว่าผู้สัมภาษณ์ของเรามีหนังฉายอยู่ในหัว หนังเรื่องนี้เป็นเรื่องของเรา ที่ได้เข้ามาทำงานที่บริษัทนี้ กำลังพรีเซนต์งานให้หัวหน้าฟัง กำลังพูดคุยกับลูกค้าของบริษัท”

Steven Davis ที่ปรึกษาด้านอาชีพอีกคนหนึ่งก็ได้ให้คำแนะนำเอาไว้ว่า “นี่เป็นโอกาสเดียวที่จะสร้าง First Impression ที่ดี” ในความคิดเห็นของเขา การที่บริษัทจะตัดสินใจว่าจะรับเราเข้าทำงานหรือไม่นั้นเกิดขึ้นในช่วงไม่กี่นาทีแรกของการสัมภาษณ์ ตั้งแต่การทักทาย การสบตา ประโยคแรกที่เราพูด และการแนะนำตัวของเรา

ที่จริงคำถามว่า “แนะนำตัวเองหน่อย” ไม่มีสูตรสำเร็จในการตอบ มันเป็นเหมือนคำถามที่เราจะตอบอะไรก็ได้ และผู้สัมภาษณ์บางรายอาจประเมินเราตั้งแต่คำถามนี้ ทำให้เราต้องเตรียมคำตอบที่ผู้สัมภาษณ์น่าจะอยากฟังไป แต่ปัญหาคือ แล้วเขาอยากฟังอะไรจากเรากันนะ

 

ตัวอย่างแนะนําตัวเอง

 

1.ข้ามข้อมูลเบื้องต้นที่อยู่ในเรซูเม่ก็ได้

ข้อมูลเรื่องชื่อหรือประสบการณ์การทำงานนั้นอยู่ในเรซูเม่อยู่แล้ว ไม่ต้องเสียเวลาอ่านมันซ้ำอีกครั้งให้ผู้สัมภาษณ์ฟังก็ได้ การที่เราได้รับเลือกมานั่งสัมภาษณ์อยู่ตรงนี้เป็นเพราะข้อมูลในเรซูเม่นั่นแหละ ดังนั้นนี่เป็นโอกาสที่เราจะได้แนะนำตัวเองในเรื่องอื่นบ้าง แต่ถ้ารู้สึกไม่มั่นใจ จะพูดซ้ำก็ได้ ไม่มีอะไรผิดหรือถูกในการแนะนำตัวหรอก

ถึงอย่างนั้น การแนะนำตัวนี้ก็ยังไม่ใช่ช่วงเวลาที่เราสามารถพูดถึงชีวิตส่วนตัวได้ อย่างเรื่องไลฟ์สไตล์ ครอบครัว งานอดิเรก ความชอบ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าพูดไม่ได้เลยตอบการสัมภาษณ์ เพียงแค่เก็บเอาไว้ทีหลังในช่วงที่การสัมภาษณ์เริ่มผ่อนคลายลง หรือผู้สัมภาษณ์ถามถึงงานอดิเรกของเราจะดีกว่า เพราะบางครั้งเราอาจบังเอิญมีงานอดิเรกเหมือนกับผู้สัมภาษณ์ และคุยกันต่อติดได้แบบยาวๆ หลังจากที่คุยรายละเอียดสำคัญจบไปแล้ว

 

2.ลองหาคำใบ้จากรายละเอียดงาน

ถ้าข้ามข้อมูลเบื้องต้นและชีวิตส่วนตัวไปก่อน แล้วจะมีอะไรให้แนะนำตัวอีก คำตอบคือ Job Description และ Qualification ในหน้าประกาศรับตำแหน่งใหม่ที่เรากำลังจะไปสัมภาษณ์นี่แหละเป็นแหล่งคำใบ้ชั้นดีของการคราฟต์ประโยคแนะนำตัวที่เข้ากับบริษัทที่เรากำลังจะไปสัมภาษณ์มากที่สุด

ลองอ่านข้อความพวกนั้นจนกว่าเราจะเข้าใจว่าเขาต้องการคนแบบไหนมาร่วมงาน นำข้อมูลเหล่านั้นมาร้อยเรียงกันและเช็คกับตัวเองว่าเราเป็นคนในใจของเขาหรือเปล่า เขาต้องการคนที่สามารถสื่อสารได้อย่างฉะฉานใช่หรือไม่ ต้องการคนที่เขียนคำว่า ‘คะ’ และคำว่า ‘ค่ะ’ อย่างถูกวิธีใช่หรือเปล่า หรือเขาบอกว่า ‘ถ้าสามารถขับรถได้จะพิจารณาเป็นพิเศษ’ เอาไว้ไหม จดคำใบ้เหล่านี้เอาไว้เลย เดี๋ยวเราจะมาร้อยเรียงเรื่องกัน

Tammy Johns ซีอีโอของบริษัทวางแผนและจัดหาทรัพยากรบุคคลให้คำแนะนำว่า อีกหนึ่งอย่างที่จะทำให้โปรไฟล์ของเราดูดีมากขึ้นคือการเล่าว่าทักษะในปัจจุบันของเรานั้นสามารถนำมาใช้ในตำแหน่งงานที่เรากำลังสัมภาษณ์อยู่ได้อย่างไร แม้ว่าบางทักษะอาจจะไม่ได้สามารถใช้ได้โดยตรง แต่ถ้ามันมีความคาบเกี่ยวกันกับตำแหน่งงานที่เรากำลังสัมภาษณ์อยู่ ลองเล่าเรื่องนี้ให้ผู้สัมภาษณ์ฟังด้วยก็ได้

 

3.ขุดค้นความทรงจำ

เมื่อได้คำใบ้มาแล้ว มาลองขุดค้นความทรงจำกัน ว่าเรามีทักษะอะไรบ้าง มีเรื่องราวประสบการณ์สุดโปรฯ ที่พอจะเข้ากับตำแหน่งงานที่กำลังสัมภาษณ์อยู่และอยากเล่าให้เขาฟังไหม หยิบเรื่องราวเล่านั้นมาใช้คำในการเล่าให้เข้ากับตำแหน่งงาน ถ้ามันยาวเกินไปก็ลองรวบตึงให้ฟังง่ายขึ้น ไม่ต้องลงรายละเอียดในทุกอย่างขนาดนั้น

ทุกสิ่งที่เราเล่าไป จะเป็นวัตถุดิบในการสร้างคำถามต่อไปของผู้สัมภาษณ์ ดังนั้นเรื่องที่เราเล่าจะต้องไม่เกินจริง ถ้ามีคำถามเพิ่มเติมเราต้องสามารถตอบได้ด้วยนะ ซึ่งนี่แหละเป็นโอกาสที่เราจะแสดงความเป็นมืออาชีพในการตอบคำถาม เพราะในทุกการทำงานต้องมีการตอบคำถามเกิดขึ้น และถ้าเราตอบได้ดี ผู้สัมภาษณ์ก็จะเริ่มสนใจในตัวเรามากขึ้น

 

4.ประกอบเข้าด้วยกันให้เป็นเรื่องราว

เมื่อได้คำใบ้และเรื่องราวในอดีตของเราที่เหมาะกับการจะแนะนำตัวแล้ว ก็ได้เวลาจับมาร้อยเรียงเป็นเรื่องราว โดยที่ปรึกษาด้านอาชีพ Lily Zhang แนะนำขั้นตอนการร้อยเรียงที่ง่ายและใช้ได้ผลจริงไว้ดังนี้

เริ่มที่ปัจจุบัน: เรากำลังทำอะไรอยู่ ตำแหน่งงานปัจจุบันของเราคืออะไร ทักษะของเรามีอะไรบ้าง สิ่งที่เราภาคภูมิใจที่สุดในตำแหน่งงานปัจจุบัน

ต่อด้วยอดีต: อะไรที่ทำให้เรามาถึงจุดนี้ หรือประสบการณ์ในอดีตที่ทำให้เราควรได้รับตำแหน่งงานที่กำลังสัมภาษณ์อยู่

ปิดด้วยอนาคต: เป้าหมายของเราที่มีเมื่อได้รับตำแหน่งงานนี้ เราจะทำอะไรให้กับบริษัทได้บ้าง

ถ้าร้อยเรียงตามนี้แล้วยังรู้สึกว่าไม่ใช่ ก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามที่ใจเราชอบ อย่าลืมว่าการแนะนำตัวไม่มีสูตรสำเร็จ ร้อยเรียงยังไงก็ได้ให้ข้อมูลที่เราต้องการเล่าให้เขาฟังครบถ้วน และตัวเองเราเองพอใจ

 

5.ฝึกซ้อมจนกว่าจะคล่อง

อย่าลืมซ้อมจนกว่าเราจะพูดได้คล่องและดูเป็นมืออาชีพ Steven Davis ให้คำแนะนำว่าควรซักซ้อมให้บ่อย ลองอัดเสียงตัวเอง หรืออัดวิดีโอไว้เลยก็ได้ อัดเสร็จแล้วก็รอสักหนึ่งชั่วโมงถึงค่อยกลับมาดูใหม่ เพราะการเว้นช่วงเวลานี้จะทำให้เรามีระยะห่างและมุมมองที่อาจเปลี่ยน ทำอย่างนี้ซ้ำจนกว่าจะรู้สึกว่าตัวเราในวิดีโอดูฉะฉานและมีความน่าเชื่อถือมากพอ

ทีนี้หลายคนอาจสงสัยว่า แล้วแนะนำตัวกี่นาทีถึงจะเพียงพอ ที่จริงแล้วไม่เคยมีใครให้คำตอบได้ว่าเวลาที่เหมาะสมในการแนะนำตัวตอนสัมภาษณ์งานอยู่ที่กี่นาที ผู้เชี่ยวชาญบางคนก็แนะนำใช้เวลาแค่ 30 วินาทีก็พอ หรือบางคนก็แนะนำว่าใช้เวลาให้มากกว่า 2 นาที แต่มันไม่มีกฎตายตัว เพราะทุกคนมีเรื่องราวที่แตกต่างกัน ขอเพียงแค่เล่าให้ครบจบเท่าที่อยากเล่าได้ก็พอ

การแนะนําตัวเองต้องมีอะไรบ้าง

การขึ้นต้น เหมือนการเปิดตัว ควรให้เป็นที่ประทับใจ.
บอกชื่อ นามสกุล ชื่อเล่น.
บอกวัน เดือน ปีเกิด สถานที่เกิด (จังหวัด หรือประเทศ).
สถานภาพทางครอบครัว หรือสมาชิกในครอบครัว มีกี่คน เป็นบุตรคนที่เท่าไร.
การศึกษา เรียนจบทางด้านใด หรือเคยเรียนที่โรงเรียนไหนก่อนจะมาเรียนที่ปัจจุบัน.

แนะนําตัวเอง ภาษาอังกฤษเขียนยังไง

ประโยคการแนะนำตัวแบบเป็นทางการ May I introduce myself? แปลว่า ฉันขออนุญาตแนะนำตัวเองนะคะ เป็นประโยคขออนุญาต My name is Samorn Jaidee.

การเขียนแนะนำตัวเองมีความสำคัญอย่างไร

จะเห็นได้ว่าการพูดแนะนำตัวมีความสำคัญคือ ทำให้ตัวผู้พูดเป็นที่รู้จัก และเป็นที่ประทับใจ ของผู้ฟัง ดังนั้นการพูดแนะนำตัวจึง “เกิดขึ้นได้เสมอในชีวิตประจำวัน เป็นการพูดเฉพาะโอกาส ซึ่งจะ เกิดขึ้นได้ทุกระดับของการสื่อสารคือ การพูดแนะนำตัวตัวต่อตัว พูดแนะนำต่อกลุ่ม และการพูดแนะนำต่อ วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 พ.ศ. ...

วิธีการอธิบายเกี่ยวกับตัวเอง

ตอบสัมภาษณ์ อย่างไร?.
1. เรียบเรียงข้อมูล ตามเวลา เวลาพูดถึงตัวเอง คุณควรจะเรียงจากอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ... .
2. First Impression คือทุกอย่าง ... .
3. พูดถึงจุดแข็งของตัวเอง และเล่าประสบการณ์ ... .
4. เป็นมืออาชีพให้มากที่สุด ... .
5. พยายามพูดให้สั้น แต่ได้ใจความ.