มาตรา 89 2 แห่งประมวลรัษฎากร

ส่วนที่ 13 เบี้ยปรับ - เงินเพิ่ม

-------------------------

มาตรา 89  ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษี หรือบุคคลตามมาตรา 86/13 เสียเบี้ยปรับในกรณีและตามอัตราดังต่อไปนี้

(1) ประกอบกิจการโดยมิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85 หรือมาตรา 85/1 หรือประกอบกิจการเมื่อถูกสั่งเพิกถอนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85/17 แล้ว ให้เสียเบี้ยปรับอีกสองเท่าของเงินภาษีที่ต้องเสียในเดือนภาษีตลอดระยะเวลาที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวหรือเป็นเงินหนึ่งพันบาทต่อเดือนภาษีแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า

(2) มิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือแบบนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาให้เสียเบี้ยปรับอีกสองเท่าของเงินภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่งในเดือนภาษี

(3) ยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือแบบนำส่งภาษีไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาดอันเป็นเหตุให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่งในเดือนภาษีคลาดเคลื่อนไป ให้เสียเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของเงินภาษีที่เสียคลาดเคลื่อนหรือที่นำส่งคลาดเคลื่อน

(4) ยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาดอันเป็นเหตุให้จำนวนภาษีขายหรือจำนวนภาษีซื้อในเดือนภาษีที่แสดงไว้คลาดเคลื่อนไป ให้เสียเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีขายที่แสดงไว้ขาดไปหรือจำนวนภาษีซื้อที่แสดงไว้เกินไป

(5) มิได้จัดทำใบกำกับภาษีและส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการตามที่กำหนดในส่วน 10 ให้เสียเบี้ยปรับอีกสองเท่าของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษี

(6) ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้โดยไม่มีสิทธิที่จะออกตามกฎหมายตามมาตรา 86/13 ให้เสียเบี้ยปรับอีกสองเท่าของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้นั้น

(7) นำใบกำกับภาษีปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนมาใช้ในการคำนวณภาษีให้เสียเบี้ยปรับอีกสองเท่าของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษีนั้น

ในกรณีใบกำกับภาษีที่ผู้ได้รับประโยชน์ไม่สามารถนำพิสูจน์ได้ว่าบุคคลใดเป็นผู้ออกใบกำกับภาษี ให้ถือว่าเป็นใบกำกับภาษีปลอม

(8) มิได้เก็บสำเนาใบกำกับภาษีในกรณีภาษีขายไว้ตามที่กฎหมายกำหนดให้เสียเบี้ยปรับอีกร้อยละสองของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษี

(9) มิได้เก็บใบกำกับภาษีในกรณีภาษีซื้อที่ใช้เครดิตภาษีในการคำนวณภาษีไว้ตามที่กฎหมายกำหนด ให้เสียเบี้ยปรับอีกร้อยละสองของจำนวนภาษีที่นำมาเครดิตนั้น

(10) มิได้ทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนด หรือรายงานอื่นตามที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา 87/1 หรือมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบให้เสียเบี้ยปรับอีกสองเท่าของเงินภาษีซึ่งคำนวณจากฐานภาษีที่มิได้ทำรายงานหรือมิได้ลงรายการในรายงานให้ถูกต้อง

เบี้ยปรับตามมาตรานี้อาจงดหรือลดลงได้ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี

มาตรา 89/1  บุคคลใดไม่ชำระภาษีหรือนำส่งภาษีให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามบทบัญญัติในหมวดนี้ ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระหรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ

ในกรณีที่อธิบดีอนุมัติให้ขยายเวลาเสียภาษีตามที่กำหนดในมาตรา 3 อัฏฐ และได้มีการชำระภาษีหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาที่ขยายให้นั้น เงินเพิ่มตามวรรคหนึ่งให้ลดลงเหลือร้อยละ 0.75 ต่อเดือนหรือเศษของเดือน

การคำนวณเงินเพิ่มตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือยื่นแบบนำส่งภาษีตามส่วน 7 จนถึงวันชำระภาษีหรือนำส่งภาษี แต่เงินเพิ่มที่คำนวณได้มิให้เกินจำนวนภาษีที่ต้องชำระหรือนำส่ง

มาตรา 89/2  เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร เบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามหมวดนี้ให้ถือเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม

--------------------------

มาตรา 89 2 แห่งประมวลรัษฎากร


มาตรา 89 2 แห่งประมวลรัษฎากร

3 เรื่องควรรู้เกี่ยวกับกิจการที่ไม่ได้จดทะเบียนและเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม “อาจมีความผิดและเสียเบี้ยปรับ”


กรณีที่มูลค่าของฐานภาษีจากการประกอบกิจการเกิน 1,800,000 บาท ต่อปี ผู้ประกอบการซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการ
ที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หากผู้ประกอบการมิได้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายในเวลาตามที่
กฎหมายกำหนดแล้ว การประกอบกิจการของผู้ประกอบการรายนั้นเป็นการประกอบกิจการโดยไม่จดทะเบียน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องรับผิดตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนดไว้ซึ่งมีข้อพิจารณาตามลำดับ ดังนี้

ก. ความรับผิดในการเสียเบี้ยปรับ
1. กรณีประกอบกิจการโดยมิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85 หรือ มาตรา 85/1
ผู้ประกอบการซึ่งจะเริ่มประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการให้มีสิทธิยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก่อนวันเริ่ม
ประกอบกิจการ
(1) สำหรับผู้ประกอบการซึ่งประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการและมีมูลค่าของฐานภาษีในการประกอบกิจการ
เกินมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม
(2) สำหรับผู้ประกอบการที่ได้แจ้งต่ออธิบดีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. ประกอบกิจการเมื่อถูกสั่งเพิกถอนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85/17
ผู้ประกอบการจดทะเบียนใดกระทำผิดบทบัญญัติในหมวดนี้ (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) อธิบดีมีอำนาจสั่งเพิกถอนการจดทะเบียน
ภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการจดทะเบียนนั้นได้ และให้แจ้งการเพิกถอนดังกล่าวให้ผู้ประกอบการทราบเป็นหนังสือ

ข. ความรับผิดทางอาญา  
กรณีผู้ประกอบการไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยมีรายรับเกินมูลค่า ของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม มีหน้าที่
ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มิฉะนั้นมีความผิดฐานประกอบกิจการโดยไม่จดทะเบียน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่ามูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม
การที่บุคคลใดอาจต้องรับผิดทางอาญา ต้องปรากฏข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานซึ่งพิสูจน์ได้ว่ามีการกระทำ
อันเข้าลักษณะหนึ่งลักษณะใด

ค. แนววินิจฉัยของกรมสรรพากรที่น่าสนใจ
ตัวอย่าง นาง น. ประกอบกิจการจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มมีมูลค่าของฐานภาษีในการประกอบกิจการเกินมูลค่า
ของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2556 นาง น. ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อ
วันที่ 5 กันยายน 2556 และได้รับอนุมัติตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2556 นาง น.  ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ภ.พ.30) สำหรับเดือนภาษีสิงหาคม 2556 เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2556 (ภายในกำหนดเวลา นาง น.ต้องรับผิด
เสียภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมทั้งเบี้ยปรับ และเงินเพิ่มแต่ไม่ต้องเสียค่าปรับอาญา เนื่องจากได้ยื่นคำขอจดทะเบียน
ภาษีมูลค่าเพิ่มภายในกำหนดเวลาตามที่กฎหมายกำหนด
(อ้างอิงหนังสือตอบข้อหารือของกรมสรรพากรตามหนังสือที่ กค 0702/7643ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2557)

สรุป กรณีผู้ประกอบการซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและมีมูลค่าของฐานภาษี
เกินมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาด มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตั้งแต่วันที่มูลค่าของฐานภาษีเกิน
มูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม หากมิได้จดทะเบียนและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจึงต้องรับผิดตามประมวล
รัษฎากร ดังนี้

1. เสียเบี้ยปรับสองเท่าของเงินภาษีที่ต้องเสียในแต่ละเดือนภาษีตามมาตรา 89 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
2. เสียเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระหรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับตาม
มาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากร
3. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา 90/2 (2)
แห่งประมวลรัษฎากร


   
      บางส่วนจากบทความ “เรื่องน่ารู้เกี่่ยวกับเบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 (1)”
      อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน... วารสารเอกสารภาษีอากร ปีที่ 39 ฉบับที่ 459 เดือนธันวาคม 2562


Tax Talk : Tax How to : ทวี วัฒนามณีโชติ  
วารสาร : เอกสารภาษีอากร ธันวาคม 2562

มาตรา 89 2 แห่งประมวลรัษฎากร


มาตรา 89 2 แห่งประมวลรัษฎากร