การสืบค้น แหล่งข้อมูล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

การสืบค้นข้อมูล

การสืบค้นข้อมูล หมายถึง วิธีการต่างๆ ที่ใช้ประกอบในการสร้างประโยคการค้นหา เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด เทคนิคในการค้นหานั้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การค้นหาพื้นฐานหรืออย่างง่าย (Basic Search) และการค้นหาแบบซับซ้อนหรือขั้นสูง (Advanced Search)

การนำความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต มาประยุกต์ใช้ในการศึกษาหาความรู้ ได้แก่ การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต โดยการใช้งานอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับการศึกษานี้จะสามารถแบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ระดับดังนี้

1. การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต

2. การนำข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตมาใช้งาน

3. การสร้างแหล่งข้อมูลด้วยตนเอง

ก่อนจะเริ่มต้นการค้นหา ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

         1. ผู้ค้น จะต้องทราบว่าตนเอง ต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใด นอกจากนี้จะต้องมีข้อมูลส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องการจะค้นหา (ลองสำรวจตัวเองก่อนสิคะว่า มีข้อมูลอะไรบ้างตอนนี้) ถ้ายังไม่มี คิดค่ะคิด...ใช้หมองหน่อย...ได้หรือยังคะ  ได้แล้วจดไว้ค่ะ ....

         หรือหากคิดไม่ออกจะช่วยคิดค่ะ ง่ายๆ เช่น รู้จักชื่อผู้แต่งมั๊ย รู้จักชื่อเรื่องที่เราต้องการค้นหาหรือไม่ ถ้าไม่รู้ให้กำหนดหัวเรื่องหรือคำสำคัญแทนก็ได้ค่ะ เดี๋ยวจะพูดต่อไป....

         2. รู้จักแหล่งสารสนเทศหรือเครื่องมือที่จะใช้ค้นหาหรือยังคะ เช่น ถ้าคุณต้องการค้นหารายการบรรณานุกรมงานวิจัยของห้องสมุดมหาวิทยาลัยขอนแก่น ควรจะใช้ฐานข้อมูลใดค้นหา จึงจะได้ข้อมูลตามที่ต้องการ เป็นต้น

         ดังนั้น สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ผู้ค้นจะต้องรู้จักแหล่งสารสนเทศและฐานข้อมูลหรือเครื่องมือค้นหาที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ต้องการ ซึ่งปัจจุบันนี้มีมากมายทั้งฟรีและบริการเชิงพาณิชย์

         3. ต้องรู้จักวิธีการใช้แหล่งสารสนเทศ ฐานข้อมูลหรือเครื่องมือที่ใช้ค้นหา เช่น รู้จักวิธีค้นหาแบบพื้นฐาน หรือหากจะให้ดีก็ควรรู้จักการค้นหาแบบขั้นสูงด้วย นอกจากนี้ยังต้องรู้จักวิธีการจัดการผลลัพธ์ ได้แก่ การบันทึก การสั่งพิมพ์ การส่งข้อมูลทาง E-mail การจัดการรายการบรรณานุกรม เป็นต้น

         4. รู้จักกฏ กติกา มารยาทในการใช้แหล่งสารสนเทศ ฐานข้อมูลหรือเครื่องมือค้นหา เนื่องจากปัจจุบันได้มีการละเลิดลิขสิทธิ์กันมากขึ้น

การค้นคว้าด้วยการใช้ Search Engine

                การใช้งานงานอินเทอร์เน็ตที่นิยมใช้กันอย่างมาก จะได้แก่การเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อหาความรู้ แต่การเข้าเยี่ยมชมนั้น ในกรณีที่เรารู้ว่าเว็บไซต์เหล่านั้นมีชื่อว่าอะไร เนื้อหาของเว็บ มุ่งเน้นเกี่ยวกับสิ่งใด เราสาสามารถที่จะเข้าเยี่ยมชมได้ทันที่ แต่ในกรณีที่เราไม่ทราบชื่อเว็บเหล่านั้น แต่เรามีความต้องการที่จะค้นหาเนื้อหาบางอย่าง มีวิธีการจะเข้าสืบค้นข้อมูลได้ โดยการใช้ความสามารถของ Search Engine

Search Engine จะมีหน้าที่รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้ โดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่ ผู้ใช้งานเพียงแต่ทราบหัวข้อที่ต้องการค้นหาแล้วป้อน คำหรือข้อความของหัวข้อนั้นๆ ลงไปในช่องที่กำหนด คลิกปุ่มค้นหา เท่านั้น ข้อมูลอย่างย่อๆ และรายชื่อเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องจะปรากฏให้เราเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ทันที

Search Engine แต่ละแห่งมีวิธีการและการจัดเก็บฐานข้อมูลที่แตกต่างกันไปตามประเภทของ Search Engine ที่แต่ละเว็บไซต์นำมาใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ดังนั้นการที่จะเข้าไปหาข้อโดยวิธีการ Search นั้น อย่างน้อยเราจะต้องทราบว่า เว็บไซต์ที่จะเข้าไปใช้บริการ ใช้วิธีการหรือ ประเภทของ Search Engine อะไร เนื่องจากแต่ละประเภทมีความละเอียดในการจัดเก็บข้อมูลต่างกันไป

ประเภทของ Search Engine

1. Keyword Index  เป็นการค้นหาข้อมูล โดยการค้นจากข้อความในเว็บเพจที่ได้ผ่านการสำรวจมาแล้ว จะอ่านข้อความ ข้อมูล ประมาณ 200-300 ตัวอักษรแรกของเว็บเพจ วิธีการค้นหาของ Search Engine ประเภทนี้จะให้ความสำคัญกับการเรียงลำดับข้อมูลก่อนหลัง  การค้นหาข้อมูล โดยวิธีการเช่นนี้จะมีความรวดเร็วมาก แต่มีความละเอียดในการจัดแยกหมวดหมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงรายละเอียดของเนื้อหาเท่าที่ควร แต่ถ้าต้องการแนวทางด้านกว้างของข้อมูล การค้นหาแบบนี้จะเหมาะสมที่สุด

2. Subject Directories  การจำแนกหมวดหมู่ข้อมูล Search Engine ประเภทนี้ จะจัดแบ่งโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ของแต่ละเว็บเพจ ว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร โดยการจัดแบ่งแบบนี้จะใช้คนพิจารณาเว็บเพจ แต่ละเว็บ แล้วทำการจัดหมวดหมู่ โดยจะขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของคนจัดหมวดหมู่แต่ละคนว่าจะจัดเก็บข้อมูลนั้นๆ อยู่ในกลุ่มของอะไร ดังนั้นฐานข้อมูลของ Search Engine ประเภทนี้จะถูกจัดแบ่งตามเนื้อหาก่อน แล้วจึงนำมาเป็นฐานข้อมูลในการค้นหาต่อไป

3. Metasearch Engines  จะเป็น Search Engine ที่ใช้ในการค้นหาเว็บ ด้วยตัวของ Search Engine แบบ Metasearch Engines เองแล้ว แต่ที่เด่นกว่านั้นคือ Search Engine แบบ Metasearch Engines จะยังสามารถเชื่อมโยงไปยัง Search Engine ประเภทอื่นๆ เพื่อเรียกดูข้อมูลที่ Search Engine อื่นๆ ค้นพบ โดยสังเกตได้จากจะมีคำว่า [Found on Google, Yahoo!] ต่อทางด้านท้าย นั้นก็หมายความว่าการค้นหาข้อความนั้นๆ มาการเชื่อมโดยไปค้นข้อมูลจาก เว็บ Google และ Yahooแต่การค้นหาด้วยวิธีนี้มีจุดด้อย คือ วิธีการนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษรและมักจะไม่ค้นหาคำประเภท Natural Language (ภาษาพูด) และที่สำคัญ Search Engine แบบ Metasearch Engines ส่วนมากไม่รองรับภาษาไทย

เทคนิคการสืบค้นข้อมูล

          1. การค้นหาแบบพื้นฐาน (Basic Search)เป็นการค้นหาสารสนเทศอย่างง่ายๆ ไม่ซับซ้อน โดยใช้คำโดดๆ หรือผสมเพียง 1 คำ ในการสืบค้นข้อมูล โดยส่วนใหญ่การค้นหาแบบง่ายจะมีทางเลือกในการค้นหา ได้แก่

              1.1  ชื่อผู้แต่ง (Author)เป็นการค้นหาโดยใช้ชื่อของบุคคล กลุ่มบุคคล นามปากกา หรือชื่อหน่วยงาน/องค์กร ที่เป็นผู้แต่งหรือเขียนหนังสือ บทความ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ หรือทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ ซึ่งมีหลักการค้นหาง่ายๆ ดังนี้

                     1.1.1 ผู้แต่งคนไทย เป็นการค้นหาชื่อบุคคล ตัวอย่างเช่น กุลธิดา  ท้วมสุข ให้ตัดคำนำหน้าชื่อออก เช่น นาย นาง นางสาว หรือหากเป็นบุคคลที่มีบรรดาศักดิ์หรือฐานันดรศักดิ์ ให้ค้นด้วยชื่อ และต่อท้ายด้วยบรรดาศักดิ์หรือฐานันดรศักดิ์ หากเป็นการค้นหาชื่อที่เป็น นามปากกา ฉายาหรือสมณศักดิ์ ให้ค้นหาตามนามปากกา ฉายา หรือสมณศักดิ์

              ยกตัวอย่างเช่น

                     - นางกุลธิดา  ท้วมสุข            ชื่อที่ใช้ค้น คือ  กุลธิดา  ท้วมสุข  (ให้ตัดคำนำหน้าชื่อออก)

                     - ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมท        ชื่อที่ใช้ค้น คือ  คึกฤทธิ์ ปราโมท, ม.ร.ว.

                                                                                  (ให้เอาบรรดาศักดิ์ หรือฐานันดรศักดิ์ มาต่อท้ายชื่อ)

                     - ร.ต.อ ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์   ชื่อที่ใช้ค้น คือ  ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ (ให้ตัดยศหรือตำแหน่งออก)

                     - พระยาอุปกิตติศิลปสาร         ชื่อที่ใช้ค้น คือ  พระยาอุปกิตติศิลปสาร 

                     1.1.2 ผู้แต่งที่เป็นชาวต่างประเทศ ให้ค้นหาโดยใช้ ชื่อสกุล ตามด้วยชื่อกลางและชื่อต้น

              ยกตัวอย่างเช่น

                     "Judith G. Voet"                  ชื่อที่ใช้ค้น  คือ    Voet, Judith G.

                                                                             หรือ   Voet, Judith

                                                                             หรือ   Voet

                     1.1.3 ผู้แต่งที่เป็นหน่วยงาน/องค์กร ให้ค้นหาตามชื่อหน่วยงานหรือชื่อองค์กรนั้น เช่น การค้นหาชื่อหน่วยงานที่มีทั้งหน่วยงานใหญ่และหน่วยงานย่อย ให้ค้นหาโดยใช้ชื่อหน่วยงานใหญ่ก่อน แล้วตามด้วยชื่อหน่วยงานย่อย หากเป็นชื่อย่อ เมื่อค้นหาให้ใช้ชื่อเต็ม

              ยกตัวอย่างเช่น

                     -สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ชื่อที่ใช้ค้น คือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สำนักวิทยบริการ

                     - ททท.  ชื่อที่ใช้ค้น คือ การท่องเที่ยวแห่ประเทศไทย

              1.2  ชื่อเรื่อง (Title)เป็นการค้นหาข้อมูล ด้วยชื่อเรื่อง เช่น ชื่อหนังสือ ชื่อบทความ ชื่อเรื่องสั้น นวนิยาย ชื่องานวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ การค้นโดยใช้ชื่อเรื่องนี้ เป็นการค้นหาแบบเจาะจง ดังนั้นผู้ค้น ต้องรู้จักชื่อเรื่อง หลักการค้นหาด้วยชื่อเรื่องทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ใช้หลักการเดียวกัน คือ ค้นหาตามชื่อนั้นๆ ได้เลย โดยระบบจะทำการค้นหาจากชื่อเรื่อง เริ่มจากอักษรตัวแรกและตัวถัดไปตามลำดับ

               ยกตัวอย่างเช่น

                     - เพลงรักในสายลมหนาว   (ชอบดูมาก..ชึ้ง..แถมพระเอกหล๊อ..หล่อ)

                     - อินเทอร์เน็ตสำหรับผู้เริ่มต้น  (เรื่องนี้ก็ชื่นชอบผู้แต่ง อ. ยืน ภู่วรวรรณ)

                     - Engineering Analysis  (เรื่องนี้ไม่อ่าน เพราะเดี๋ยวเจ็บหัว)

              1.3 หัวเรื่อง (Subject Heading)คือ คำหรือวลีที่กำหนดขึ้นมา เพื่อใช้แทนเนื้อหาของหนังสือ บทความ งานวิจัย วิทยานิพนธ์หรือทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ

              หัวเรื่องที่ใช้ในการค้นหานั้น จะนำมาจากคู่มือหัวเรื่องที่ใช้กันเป็นมาตรฐานในห้องสมุดหรือหน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศ ทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ  ให้นึกถึงหัวเรื่องใหญ่และเรื่องย่อยเอาไว้ เช่น หัวเรื่องที่ต้องการค้นหา คือ คณิตศาสตร์ นี่คือหัวเรื่องใหญ่ ภายใต้หัวเรื่องใหญ่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ จะมีเรื่องย่อยๆ ซ่อนอยู่เช่น การบวก การลบ การคูณ การหาร เป็นต้น

              1.4 คำสำคัญ (Keywords)คือ การค้นหาด้วยคำหรือวลีที่กำหนดขึ้นมา เพื่อใช้แทนเรื่องที่ต้องการค้นหา โดยทั่วไปคำสำคัญจะมีลักษณะที่สั้น กระทัดรัด ได้ใจความ มีความหมาย เป็นคำนามหรือเป็นศัพท์เฉพาะในแต่ละสาขาวิชา  โดยจะกำหนดมาจากคำที่อยู่ในชื่อเรื่องและหัวเรื่องที่เราต้องการค้นหานั่นเอง

              การค้นหาด้วยคำสำคัญนั้น ระบบจะทำการค้นหาคำที่ปรากฏอยู่ในชื่อเรื่อง ไม่ว่าจะอยู่ต้นเรื่อง กลางเรื่องหรือท้ายเรื่อง  ผู้ค้น จะต้องดึงคำสำคัญที่อยู่ในชื่อเรื่องออกมา เพื่อใช้ค้นหา

          2. การค้นหาแบบขั้นสูง (Advanced Search)เป็นการค้นหาที่ซับซ้อนมากกว่าแบบพื้นฐาน ซึ่งมีเทคนิคหรือรูปแบบการค้นที่จะช่วยให้ผู้ค้นสามารถจำกัดขอบเขตการค้นหาหรือค้นแบบเจาะจงได้มากขึ้น เพื่อให้สามารถค้นหาข้อมูลได้ที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด

             2.1 การสืบค้นข้อมูล โดยใช้ตรรกบูลีน (Boolean Logic) หรือการค้นหาโดยใช้ Operator เป็นการค้นหา โดยใช้คำเชื่อม 3 ตัว คือ AND, OR, NOT ดังนี้

                  - AND ใช้เชื่อมคำค้น เพื่อจำกัดขอบเขตการค้นหาให้แคบลง

                  - OR ใช้เชื่อมคำค้น เพื่อขยายขอบเขตให้กว้างขึ้น

                  - NOT ใช้เชื่อมคำค้น เพื่อจำกัดขอบเขตให้แคบลง

             2.2 เทคนิคการตัดคำ (Truncation)

             2.3 เทคนิคการจำกัดคำค้น (Limit Search)

อ้างอิง

น้ำทิพย์ วิภาวิน,(2547)การจัดการความรุ้กับคลังความรู้ Knowledge Management and Knowledge Center.  กรุงเทพฯ:เอสอาร์พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

พรธิดา วิเชียรปัญญา,(2547)การจัดการความรู้ : พื้นฐานและการประยุกต์ใช้.  กรุงเทพฯ : ธรรกมลการพิมพ์.

การสืบค้นข้อมูลแบ่งออกเป็นกี่ประเภทอะไรบ้าง

การค้นหาข้อมูลมี 2 วิธี 1. การค้นหาในรูปแบบ Index Directory. 2. การค้นหาในรูปแบบ Search Engine. การค้นหาในรูปแบบ Index Directory.

การสืบค้นเพื่อหาแหล่งข้อมูลคืออะไร

การสืบค้นแหล่งข้อมูล คือ กระบวนการค้นหาข้อมูลที่ต้องการ โดยใช้โปรแกรมในคอมพิวเตอร์เพื่อการสืบค้นหาและอาจจะค้นหาจากแหล่งอื่น ๆ ที่ไม่ใช้อินเทอร์เน็ต การสืบค้นหาแหล่งข้อมูลสามารถทำได้ ดังนี้ การสืบค้นข้อมูลด้วยมือ เป็นการสืบค้นจากเอกสาร เช่น จากหนังสือ ตำรา ตามสถานที่ต่าง ๆ หรือห้องสมุด

ประเภทของโปรแกรมสืบค้นข้อมูล มีอะไรบ้าง

ประเภทของโปรแกรมค้นหา.
Directory search tool หรือ Subject search. ... .
Search engine tool หรือ Keyword search. ... .
Specialized search tool. ... .
Multi-engine search tool หรือ Meta-Search..

สืบค้นข้อมูลจากแหล่งใดได้บ้าง

การสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตนั้น โดยส่วนมากแล้วจะมีเว็บไซต์ หรือเรียกว่า Search Engine เป็นเว็บไซต์ค้นหาข้อมูลที่ใช้โปรแกรมอัตโนมัติรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์ต่าง ๆ โดยละเอียด เหมาะกับการหาข้อมูลแบบเจาะจงที่นิยมใช้ เช่น GooGle.com googkai.com หรือ sanook.com เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมในการสืบค้นข้อมูลมากที่สุด ...