ตัวอย่าง สัญญาจ้าง รีวิว สินค้า


  • 2 เดือนที่แล้ว

Show

ตัวอย่าง สัญญาจ้าง รีวิว สินค้า

เคยมั้ยคะ? ตั้งใจทำรีวิวอย่างดี แต่มีคนเอารูปหรือไอเดียเราไปใช้ งานออกมาดูแล้วคุ้นไม่ไหว!

จีบันเข้าใจดีว่าการทำกระทู้รีวิว มันเหนื่อยม้ากกก! ต้องทำทุกอย่างเองคนเดียว ทั้งคิดไอเดีย ถ่ายรูป แต่งรูป และเขียนรีวิว ซึ่งงานออนไลน์จะโดนก็อปกันได้ง่ายมาก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะทำอะไรไม่ได้เลยนะ

บ้านเรามีกฎหมายปกป้องดูแลผลงานที่สร้างสรรค์ของทุกคนนะคะ โดยฉบับล่าสุดที่ประกาศใช้หมาดๆ เลยก็คือ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ ฉบับที่ 5 ปี 2565 ประกาศใช้วันที่ 23 สิงหาคม 2565 นี้ ซึ่งเป็นตัวที่เพิ่มเติมมาจากฉบับปี 2537

ไม่ต้องกลัวจะซับซ้อนค่ะ เพราะเราเลือกสรุปมาให้แล้ว รับรองว่าได้ใช้จริงแน่นอน!

1. Q: เขียนรีวิวคล้ายกัน ผิดไหม?

    A: คัดลอกแบบเป๊ะๆ หรือเหมือนบางส่วนที่สำคัญ ผิดนะ

ตัวอย่าง สัญญาจ้าง รีวิว สินค้า

เนื้อหาเหมือนกันเป๊ะ มีคนก็อปงานเราไปลงที่อื่นแบบเหมือนเป๊ะๆ แบบนี้ผิดแน่นอน

เนื้อหาเหมือนแค่บางส่วน แต่เป็นสาระสำคัญ ที่พิสูจน์ได้ว่าสร้างมาด้วยความพยายามของเราเอง อันนี้ก็ผิดเหมือนกัน

เนื้อหาเหมือนแค่บางส่วน แต่เป็นคำทั่วไป ที่ใครๆ ก็เขียนได้ ไม่ว่าจะเล่าแบบสลับคำ หรือเปลี่ยนมู้ดการเล่า อันนี้ค่อนข้างยากเลยค่ะ ที่จะพิสูจน์ได้ว่าเขาก็อปเราหรือเปล่า ถึงจะไม่ผิดลิขสิทธิ์ แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องที่ควรทำนะ และถ้าอยากเอาเนื้อหาของใครมาลง ก็ควรขออนุญาตไว้ก่อนดีที่สุด

งานเขียนรีวิว บทความต่างๆ ที่ลงในสื่อออนไลน์ ถือเป็นงานประเภทวรรณกรรม และนับเป็นงานสร้างสรรค์ใน 9 ประเภท ที่มีกฎหมายลิขสิทธิ์คุ้มครอง ส่วนเรื่องที่เป็นข้อเท็จจริงทั่วไป เช่น ส่วนผสมสกินแคร์ตามฉลาก ก็ไม่เข้าข่ายงานที่เป็นลิขสิทธิ์ สามารถนำมาใช้ได้

  • อ่านเพิ่มเติมได้ใน พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 4, 6, 7, 15, 27 

2. Q: รีวิวสินค้า รูปและเนื้อหาเป็นของใคร

    A: ของเราแน่นอน ยกเว้นว่าแบรนด์จ้างหรือให้ของมา

ตัวอย่าง สัญญาจ้าง รีวิว สินค้า

ซื้อเองรีวิวเอง (Real User) ลิขสิทธิ์เป็นของผู้รีวิว ถ้าแบรนด์มาเห็นแล้วเอารูปไปโพสต์ต่อในแอคเคาท์แบรนด์ หรือมีคนเอาไปโพสต์เปิดรับพรีออเดอร์ขายของ แบบนี้ไม่ได้นะ ไม่ว่าใครเอาผลงานไปใช้ ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรีวิวก่อนเสมอ จะยินยอมให้ใช้ได้ฟรี หรือเสียเงินก็แล้วแต่ตกลงกัน

แบรนด์ให้ของ (Given by Brand) ลิขสิทธิ์เป็นของผู้รีวิว ถ้าแบรนด์ส่งของมาให้ ไม่ว่าจะมีข้อกำหนดว่าต้องรีวิวเป็นการตอบแทนหรือไม่ก็ตาม ถ้าเราทำการรีวิวลิขสิทธิ์ก็จะเป็นของแบรนด์ เพราะการให้ของสามารถมองว่าเป็นการจ้างได้เหมือนกัน ของที่ได้เปรียบเหมือนค่าตอบแทน

แบรนด์จ้าง (Sponsored) ลิขสิทธิ์เป็นของแบรนด์ ข้อนี้สิ่งที่สำคัญมากๆ คือการทำ "สัญญาจ้างงาน" ในสัญญาต้องระบุรายละเอียดให้ครบ ว่าผลงานที่รีวิวเป็นของผู้ว่าจ้าง หรือเป็นของผู้รีวิว ถ้าไม่มีการทำสัญญากัน ผลงานที่เราทำก็จะเป็นของแบรนด์ในทันที ทางที่ดีเวลาทำงานร่วมกับแบรนด์ ให้ตกลงกันให้เรียบร้อยว่าผลงานเป็นของเราเท่านั้น และขอบเขตการให้แบรนด์นำไปใช้มีแค่ไหน

ไม่ว่าแบรนด์จะให้ของมาหรือแบรนด์จ้าง ควรตกลงความเป็นเจ้าของผลงานกันก่อนตั้งแต่แรก ไม่ว่าจะได้เงินหรือไม่ก็ตาม

  • อ่านเพิ่มเติมได้ใน พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 10  และ พ.ร.บ. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2535 มาตรา 587

3. Q: คุยงานผ่านไลน์ ถือเป็นสัญญาไหม

    A: เป็น แต่ทำสัญญาจ้างดีกว่านะ

ตัวอย่าง สัญญาจ้าง รีวิว สินค้า

เดี๋ยวนี้หลายแบรนด์ตกลงจ้างงานผ่านทางไลน์ ไม่ได้ส่งเป็นหนังสือสัญญาจริงจัง ซึ่งแชทไลน์ก็ถือว่าเป็นสัญญาได้ เพราะในกฎหมายไม่ได้กำหนดว่าจะทำต้องสัญญาจ้างทำของในรูปแบบไหน

และสามารถใช้เป็นหลักฐานในการพิจารณาที่ชั้นศาลได้ น้ำหนักจะสู้สัญญาจ้างไม่ได้ อยู่ที่ดุลพินิจของศาลว่าจะเชื่อไหม ทางที่ดีทำสัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษรและมีการลงชื่อจะดีที่สุด

ถ้าทำงานกับแบรนด์แล้วคุยกันแค่ทางไลน์ แคปแชทเก็บเป็นหลักฐานกันไว้ด้วยดีกว่า เผื่อเกิดเหตุการณ์ Leave หรือ Unsend แชทขึ้นมา ที่ไม่อาจคาดเดาได้

  • อ่านเพิ่มเติมได้ใน พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 10  และ พ.ร.บ. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2535 มาตรา 587

4. Q: เอารูปหรือเนื้อหาคนอื่นมาใช้ แล้วให้เครดิตผิดไหม?

    A: ผิดนะ ให้เครดิตไม่เท่ากับเอามาใช้ได้

ตัวอย่าง สัญญาจ้าง รีวิว สินค้า

การเอารูปหรือเนื้อหาของคนอื่นมาใช้ ต้องขออนุญาตเจ้าของก่อนเสมอ ถ้าไม่ได้ขอแต่แปะเครดิตไว้ ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่ผิด รวมถึงรูปของแบรนด์ต่างๆ ด้วย แม้ส่วนใหญ่แบรนด์อาจไม่ฟ้องเพราะถือเป็นการช่วยโปรโมตสินค้าก็ตาม แต่ถ้าเขาไม่พอใจก็สามารถฟ้องร้องได้อยู่ดี

ส่วนธีสิส งานวิจัย หรือบทความ ถ้าเอาเรื่องเขามาอ้างอิง ต้องขออนุญาตก่อน สามารถส่งอีเมลหรือติดต่อไปที่เจ้าของโดนตรงได้เลย ถ้าเนื้อหาที่เราเอามาลงเป็นข่าวข้อเท็จจริง ก็ไม่ถือเป็นงานที่มีลิขสิทธิ์ แต่ต้องดูดีๆ ว่ามีความเห็นมากกว่าข้อเท็จจริงหรือเปล่า ถ้ามีเราจะเอาส่วนที่เกินจากข้อเท็จจริงมาใช้ไม่ได้

  • อ่านเพิ่มเติมได้ใน พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 32, 33 

5. Q: ใส่โลโก้แบรนด์ในรูปรีวิว ผิดไหม?

    A: ไม่ผิด แต่ควรได้รับอนุญาตก่อน

ตัวอย่าง สัญญาจ้าง รีวิว สินค้า

เวลารีวิวเราก็อาจจะใส่โลโก้แบรนด์ไปด้วย ซึ่งการนำโลโก้ของแบรนด์มาใช้จริงๆ ไม่ได้เข้าข่ายความผิดในกฎหมายลิขสิทธิ์ แต่ไม่ว่าจะทำงานร่วมกับแบรนด์หรือรีวิวเองก็ตาม ก็ควรสอบถามแบรนด์ก่อนว่าใช้ได้มั้ย แบรนด์อยากให้ใส่ลงไปหรือเปล่า หรือได้ทำอะไรกับโลโก้อันนั้นมากไปมั้ย

ถ้าใช้โลโก้แบรนด์แล้วรีวิวเกิดความเสียหายหรือแบรนด์ไม่พอใจ แบรนด์ก็สามารถฟ้องกฎหมายอาญา ความผิดฐานหมิ่นประมาทได้ แต่ก็ไม่เสมอไป ต้องดูที่เนื้อหาที่รีวิว (อยู่ที่ดุลยพินิจของศาล)

ส่วนถ้าโลโก้เป็นเครื่องหมายการค้าของแบรนด์ด้วย ต้องดูเจตนาการใช้ ถ้าไม่ได้มีเจตนาเอาไปใช้ในการค้า แบรนด์อาจใจดีมองว่าเป็นการช่วยโปรโมตได้ แต่ทางที่ดีถ้าจะใช้ก็ขออนุญาตไว้ก่อนดีกว่านะ


  • ไม่เกี่ยวข้องกับกฎหมายลิขสิทธิ์ แต่ให้ดูกฎหมายที่เกี่ยวกับการจดทะเบียนการค้าแทน

6. Q: จัดวางรูปคล้ายกันผิดไหม

    A: ไม่ผิด การจัดวางไม่เป็นงานที่มีลิขสิทธิ์

ตัวอย่าง สัญญาจ้าง รีวิว สินค้า

การวางรูปแบบ (Layout) ไม่ถือว่าเป็นงานสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นการจัดวางตำแหน่งรูป ข้อความ การตกแต่ง หรือเนื้อหา เช่น จัดวางเป็นรูปสี่เหลี่ยมหลายช่อง หัวใจ วงกลม หรือข้อความล้อมรูป  ถ้ามีคนจัดวางรูปคล้ายเรา ก็ไม่ใช่เรื่องผิด รวมถึงการจัดวางองค์ประกอบภายในรูป หรือตำแหน่งรูปในรูปถ่ายก็ไม่ใช่งานที่มีลิขสิทธิ์

  • อ่านเพิ่มเติมได้ใน พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 6

7. Q: ไอเดียเหมือนกัน ผิดไหม

    A: ไม่ผิด ต้องออกมาเป็นชิ้นงานก่อนนะ ไอเดียไม่นับ

ตัวอย่าง สัญญาจ้าง รีวิว สินค้า

ไอเดีย ไม่ว่าจะสตอรี่บอร์ดหรือดราฟต์ โครงเรื่องต่างๆ ยังไม่ถือเป็นงานสร้างสรรค์จะมีลิขสิทธิ์ได้ต่อเมื่อออกมาเป็นชิ้นงานแล้วเท่านั้น

ตัวอย่าง เราโพสต์ในไอเดียการทำกระทู้รีวิวใหม่ไว้ในเฟซบุ๊กตัวเอง แต่วันรุ่งขึ้นดันมีคนทำกระทู้เหมือนที่เราโพสต์เฟซไป อันนี้ไม่ผิดนะคะ เพราะเรายังไม่มีชิ้นงานออกมา การโพสต์เฟซบุ๊กเป็นเพียงแค่ไอเดีย ไม่ว่าจะจดไอเดียใส่โน้ตในสมุดหรือคอมไว้ แต่ยังไม่เป็นชิ้นงานออกมา ก็ถือว่ายังไม่มีลิขสิทธิ์นะ

แต่ถ้าไอเดียที่โพสต์ไว้มีการเล่าอย่างละเอียดว่าจะทำงานยังไง เช่น บรีฟอย่างละเอียด ถ้ามีการให้รายละเอียดงานยาวพอ ก็อาจเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ได้

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะบังเอิญเหมือนกันไม่ได้ ถ้างานที่ออกมามีไอเดียคล้ายกัน แม้ว่าต่างคนต่างทำ ศาลอาจตัดสินให้ทั้งคู่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ได้ ไม่ถือว่าเป็นการคัดลอก ถ้ามีการพิสูจน์ได้ว่าแต่ละคนสร้างสรรค์ออกมาเองจริงๆ

ในทางกลับกัน ถ้าเราเขียนกระทู้ไว้แล้ว แต่ไม่ได้เผยแพร่ งานนั้นก็จะมีลิขสิทธิ์แล้วทันที แม้จะยังไม่มีใครเห็นก็ตาม

  • อ่านเพิ่มเติมได้ใน พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 7

8. Q: แปลหรือรวบรวมเนื้อหามาจากต่างประเทศ ผิดไหม

    A: ไม่ผิด ถ้าแปลมาจากข่าวข้อเท็จจริง

ตัวอย่าง สัญญาจ้าง รีวิว สินค้า

การแปลข่าวหรือเนื้อหาที่เป็นข้อเท็จจริง (Fact)

  • การแปลตามตัว: ไม่ผิดลิขสิทธิ์ สามารถทำได้ แต่ถ้าเราแปลผิด หรือสื่อความหมายให้เจ้าตัวถูกมองในแง่ลบ อันนี้เขาอาจจะฟ้องเราได้ ทั้งนี้แปลแล้วห้ามเอาไปใช้ในเชิงพาณิชย์
  • การแปลพร้อมเสริมการวิเคราะห์ หรือเรียบเรียงเอาใหม่ของผู้แปล: สามารถทำได้และถือเป็นงานสร้างสรรค์ของเรา ที่มีลิขสิทธิ์คุ้มครอง

การแปลบทความ หนังสือ งานวิจัย หรือธีสิส

ต้องขออนุญาตผู้เขียนก่อนเสมอ ถ้าเจ้าของภาษาต้นฉบับอนุญาตให้เราแปลได้ ผู้แปลก็จะมีลิขสิทธิ์ในงานแปลของตัวเอง แต่ถ้าไม่ได้รับอนุญาตให้แปล ก็เท่ากับผิดกฎหมาย ถึงงานแปลนั้นก็จะไม่มีลิขสิทธิ์ แม้จะหยิบมาแปลนิดๆ หน่อยๆ ยังไงก็ถือว่าผิด

แต่นี่คือแค่กฎหมายไทยเท่านั้น ถ้าจะแปลเนื้อหาจากต่างประเทศ เราสามารถดูกฎหมายลิขสิทธิ์ของอนุสัญญาเบิร์นได้ ว่ามีประเทศไหนเป็นภาคีสมาชิกของอนุสัญญานี้บ้าง ก็จะได้เอามาใช้ในขอบเขตที่เหมือนกันได้ หรือลองดูก่อนว่าเว็บเขาเขียน Disclaimer หรือ Copyright ไว้ว่ายังไง แต่ทางทีดีก็ติดต่อผู้เขียนที่เราต้องการเอางานของเขามาแปลเลยดีกว่า การทำซ้ำ ดัดแปลง ต้องได้รับอนุญาตก่อนเสมอ

ทั้งนี้ถ้าแปลผิดความหมาย แม้จะขออนุญาตก่อนแล้ว แต่ทำให้คนในข่าวเสียหาย ก็จะมีความผิดฐานหมิ่นประมาทได้ (ต้องดูเจตนาว่าตั้งใจดัดแปลงมั้ย) 


  • อ่านเพิ่มเติมได้ใน พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 7

9. Q: พิสูจน์ยังไงว่าเป็นผลงานเราจริง ไม่ได้ก็อปใคร

    A: แสดงที่มาของงาน หรือเวลาบันทึกในคอมพิวเตอร์

ตัวอย่าง สัญญาจ้าง รีวิว สินค้า

ถ้ามีคนมากล่าวหาว่าเราก็อปงาน หรือเราต้องการพิสูจน์ว่างานชิ้นนี้เป็นของเราจริงๆ หลักฐานที่จะสามารถพิสูจน์ได้คือที่มาของงานนั้น เช่น โครงเรื่อง ไอเดีย ดราฟต์ สตอรี่บอร์ดของงานชิ้นนั้น หรือจะเป็นบันทึกการประชุมก็ได้ ว่ามีการคิดงานนี้เกิดขึ้นจริง

แต่ถ้าไม่มีอะไรเลย ก็สามารถใช้เวลาในคอมพิวเตอร์พิสูจน์ได้ ว่างานของเราเกิดขึ้นเมื่อไหร่ หรือเผยแพร่ไปเมื่อไหร่ เพื่อยืนยันว่าเราเผยแพร่ก่อน หรือทำหนังสือรับรองความเป็นลิขสิทธิ์ให้กับตัวเองไว้ก่อนก็ได้ แม้งานนี้เราทำเองไม่มีใครรู้ แต่เราก็สามารถรับรองตนเองได้นะ

  • ไม่ได้มีระบุชัดเจนในกฎหมาย

10. Q: เมื่อมีคนก็อปรูปหรือเนื้อหารีวิว ทำยังไงดี

      A: แจ้งเว็บนั้นให้เอาลง รอการตอบกลับ แล้วไกล่เกลี่ยหรือฟ้องร้อง

ตัวอย่าง สัญญาจ้าง รีวิว สินค้า

1. แจ้งให้เว็บไซต์หรือโฮสติ้งนั้นให้เอาลงเป็นลายลักษณ์อักษร ตามช่องทางต่างๆ ที่ติดต่อได้ เช่น การอินบ็อกซ์ หลังไมค์ เพื่อเก็บหลังฐานว่าเราแจ้งแล้ว

2. รอให้ทางเว็บต้นทางตอบกลับมา ว่าจะดำเนินการเอาลงภายในกี่วัน

3. ไกล่เกลี่ยกับคู่กรณี (ทำหรือไม่ก็ได้) จะใช้บริการไกล่เกลี่ยของกรมทรัพย์สินทางปัญญา หรือไกล่เกลี่ยกันเองก็ได้ ถ้าไกล่เกลี่ยแล้วยังไม่สำเร็จ ไม่ยอมความกัน ก็ฟ้องร้องได้เลย

  • อ่านเพิ่มเติมได้ใน พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ ฉบับที่ 5 ปี 2565 มาตรา 43/6 

*** ข้อมูลเหล่านี้นำมาจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์

หากสงสัยเรื่องเกี่ยวกับลิขสิทธิ์และร้องเรียนเกี่ยวกับการละเมิด สามารถติดต่อได้ทางสายด่วน 1368

สำหรับทางจีบันดอทคอม ในฐานะออนไลน์คอมมูนิตี้ที่ชวนเพื่อนๆ มาแชร์คอนเท็นต์เกี่ยวกับความสวยความงามและการดูแลตัวเอง เข้าใจมากๆ ว่ากว่าจะเป็นหนึ่งกระทู้เนี่ย ต้องใช้ความพยายาม ใช้แรงกาย แรงใจกันมากขนาดไหน

ดังนั้นเราต้องเป็นครีเอเตอร์หนึ่งเดียวในชิ้นงานของตัวเองเท่านั้น! ซึ่งถ้าเพื่อนๆ เจอกระทู้ละเมิดลิขสิทธิ์ก็แจ้งจีบันได้ตามลิงก์ด้านล่างเลยค่า จีบันพร้อมซัพพอร์ตเพื่อนๆ ทุกคนเพื่อปกป้องสิทธิ์และไม่อยากให้มีการละเมิดสิทธิ์ โดยได้อัพเดทช่องทางการร้องเรียนตามกฎหมายที่อัพเดทใหม่ และส่วนอื่นๆ ก็พร้อมช่วยเหลือเต็มที่เลยนะ <3

>>ขั้นตอนการแจ้งกระทู้ละเมิดลิขสิทธิ์ที่ Jeban.com<<

Jebanista คุณก็เป็นได้!

มีรีวิว หรือ How to อะไรเอามาแชร์กัน
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ JEBAN COMMUNITY
ได้ง่ายนิดเดียว เริ่มเขียนเลย