เงินเดือน เป็นสินสมรส หรือ ไม่

การจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย ย่อมมีผลที่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ต่างๆ รวมถึงความสัมพันธ์ด้านทรัพย์สินด้วย แล้วเงินเดือนหรือรายได้ของแต่ละฝ่ายถือเป็นสินสมรสด้วยหรือไม่? หากใช่จะมีวิธีการบริหารจัดการอย่างไรให้ลงตัว?

เงินเดือน รายได้ ผลกำไรจากการประกอบธุรกิจส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นของฝ่ายสามี หรือภรรยาที่ได้มาระหว่างการสมรส (หลังจดทะเบียนสมรส) ถือเป็นสินสมรสครับ ซึ่งต่างฝ่ายต่างมีสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนนี้กันคนละครึ่ง แต่ทั้งนี้ก็อยู่ที่การจัดการ และวางแผนบริหารสินสมรสให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วยอย่างเช่น สิทธิประโยชน์ในการยื่นภาษีเงิน ซึ่งหากบริหารให้ดีก็จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับครอบครัวได้

นอกจากเงินเดือนจะเป็นสินสมรสแล้วยังมีทรัพย์สินอะไรบ้างที่จะกลายเป็นสินสมรสหลังจากจดทะเบียนสมรส และมีทางไหนบ้างที่จะสามารถแยกสินสมรสออกมาเป็นของแต่ละฝ่าย บทความนี้มีคำตอบให้ครับ

สารบัญ

  • เงินเดือนเป็นสินสมรสไหม?
    • กรณีมีรายได้แค่ฝ่ายเดียว
    • กรณีต่างฝ่ายต่างมีรายได้
  • สินส่วนตัว และ สินสมรสอื่นๆ ที่ต้องรู้ก่อนจดทะเบียน
    • สินส่วนตัว (เป็นทรัพย์สินของใครของมัน)
    • สินสมรส (เป็นเจ้าของทรัพย์สินร่วมกัน)
  • ทุกคู่สามารถแยกสินสมรสออกจากกันได้

เงินเดือนเป็นสินสมรสไหม?

เมื่อเราตัดสินใจจดทะเบียนสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมายเรียบร้อยแล้วทรัพย์สินจะถูกจัดสรรเป็น 2 ส่วนด้วยกันนั่นคือ สินส่วนตัวและสินสมรส ซึ่งเงินเดือนถือเป็นหนึ่งในสินสมรสครับ และไม่ใช่เฉพาะแค่เงินเดือนเท่านั้นแต่ยังรวมถึงรายได้ ผลกำไรจากการประกอบธุรกิจส่วนตัวไม่ว่าจะเป็นรายได้ของสามีหรือภรรยา ต่างฝ่ายต่างมีสิทธิ์ในเงินส่วนนี้ด้วยกันคนละครึ่ง แต่ทั้งนี้ชีวิตจริงในครอบครัวก็แล้วแต่การบริหารจัดการกันตามความสะดวกครับ

เมื่อเงินเดือนรายได้ถือเป็นสินสมรส การจัดการเรื่องภาษีเงินได้เป็นสิ่งที่ต้องวางแผนให้รอบคอบเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับทั้งคู่ครับ โดยวิธีการยื่นภาษีฉบับคนมีคู่แบ่งได้ 2 กรณีดังนี้ครับ

กรณีมีรายได้แค่ฝ่ายเดียว

ใช้วิธีการยื่นรวมเพื่อที่จะสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนจากอีกฝ่ายได้

กรณีต่างฝ่ายต่างมีรายได้

  • หากเงินเดือนสูงทั้งคู่ ควรแยกยื่นภาษี ถ้ายื่นรวมกันจะทำให้ฐานเงินได้ที่ใช้คำนวณภาษีสูงขึ้น
  • หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเงินเดือนสูงมาก ควรแยกยื่นภาษีเฉพาะรายได้ประเภทที่ 1 และนำเงินได้ประเภทอื่นๆ ไปเป็นรายได้ของอีกฝ่ายที่มีเงินเดือนน้อยกว่า จะได้ช่วยลดฐานเงินได้ที่ใช้คำนวณภาษี
  • หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีค่าลดหย่อนมาก ควรยื่นภาษีร่วม เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์จากค่าลดหย่อนร่วมกัน (ถ้าคำนวณแล้วว่าประหยัดภาษีได้มากกว่าการแยกยื่นภาษี)

สินส่วนตัว และ สินสมรสอื่นๆ ที่ต้องรู้ก่อนจดทะเบียน

การจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย ทรัพย์สินบางส่วนอาจจะตกเป็นสินสมรส แต่ก็มีบางส่วนที่เป็นสินส่วนตัวเช่นกัน ซึ่งใครที่กำลังจะจดทะเบียนสมรสควรรู้ข้อมูลในส่วนนี้ไว้เลยครับ

สินส่วนตัว (เป็นทรัพย์สินของใครของมัน)

  • ทรัพย์สินที่มีอยู่แล้ว “ก่อนสมรส”
  • เครื่องใช้สอยส่วนตัว, เครื่องมือประกอบอาชีพ
  • ทรัพย์สินที่ได้จาก “มรดก” หรือ การให้โดย “เสน่หา”
  • ทรัพย์สินจากการหมั้น ในกรณีที่ฝ่ายสามีให้ภรรยาไปแล้ว ก็จะถือว่าเป็นสินส่วนตัวของภรรยา สามีไม่มีสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นๆ

สินสมรส (เป็นเจ้าของทรัพย์สินร่วมกัน)

  • ทรัพย์สินที่ได้มา “ระหว่างการสมรส” นั่นหมายความว่ารายได้ เงินเดือน โบนัสก็เป็นสินสมรสเช่นกันตามที่ได้บอกไปข้างต้นครับ
  • เป็นทรัพย์สินจากการให้ที่ระบุว่าเป็น “สินสมรส” อาจจะได้มาจากพินัยกรรมหรือเป็นการให้ที่มีการทำหนังสือระบุว่าเป็นสินสมรส (มรดกปกติที่ไม่ได้ระบุว่าจะให้เป็นสินสมรสตรงนี้ยังถือว่าเป็นสินส่วนตัวอยู่ แต่ถ้าจะให้เป็นสินสมรสจะต้องระบุในพินัยกรรมว่ายกให้ใครและยกให้เป็นสินสมรส)
  • ดอกผลของสินส่วนตัว = สินสมรส เช่น เราไปฝากเงินไว้ที่ธนาคารแล้วได้ดอกเบี้ย, ซื้อกองทุน ซื้อหุ้นแล้วได้เงินปันผล, มีบ้านอยู่แล้วไปปล่อยเช่าแล้วได้รับค่าเช่ามา พวกนี้จะเรียกว่าเป็นดอกผล ซึ่งดอกผลเหล่านี้กฎหมายบอกว่าเป็นสินสมรสครับ

ทุกคู่สามารถแยกสินสมรสออกจากกันได้

อย่างไรก็ตามเราสามารถแยกกันจัดการสินสมรสได้นะครับและเมื่อแยกสินสมรสออกจากกันแล้ว ทรัพย์สินนั้นๆ ที่แยกออกมาจะถือเป็นสินส่วนตัวของแต่ละฝ่ายเลย ซึ่งจะสามารถแยกได้ก็ต่อเมื่อมี 4 กรณีนี้

  1. เมื่อคู่สมรสตกลงจะแยกกันจัดการสินสมรส โดยจะต้องตกลงทำสัญญาให้ชัดเจนก่อนจดทะเบียนสมรส
  2. เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตกเป็นคนไร้ความสามารถ อีกฝ่ายมีสิทธิ์ร้องขอให้ศาลแยกสินสมรสได้
  3. เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูกศาลตัดสินให้เป็นบุคคลล้มละลาย มีผลให้สินสมรสแยกกันตามกฎหมาย
  4. เมื่อมีการร้องขอต่อศาลให้แยกสินสมรส ตามแต่สาเหตุ เช่น อีกฝ่ายทำความเสียหายแก่สินสมรส เป็นต้น


การจดทะเบียนสมรสนั้นจะมีข้อผูกพันระหว่างกันทั้งเรื่องของกฎหมายและความสัมพันธ์ในครอบครัว รู้ข้อมูลทั้งหมดแล้วหากตัดสินใจจะจดทะเบียนสมรส ก็ถึงเวลาพูดคุย แจกแจงทรัพย์สินให้อีกฝ่ายรับรู้ เพื่อวางแผนบริหารจัดการสินสมรสให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับชีวิตคู่นะครับ

Square Logo ของเว็บไซต์ GeLending.com เว็บไซต์การเงินส่วนบุคคลอิสระ ที่จะแนะนำเคล็ดลับการกู้เงินด่วน เงินด่วนฉุกเฉิน ตลอด 24 ชั่วโมง

GeLending.com

Gelending.com เว็บไซต์การเงินส่วนบุคคล ทั้งการเงินปัจจุบัน และ Cryptocurrencies ก่อตั้งขึ้นปี 2020 เกี่ยวกับเรา

เงินเกษียณเป็นสินสมรสไหม

เงินบำนาญเป็นเงินที่ทางราชการจ่ายให้แก่ข้าราชการผู้ที่พ้นจากราชการแล้วตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการเมื่อข้าราชการผู้นั้นมีคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายยังมีชีวิตอยู่จึงเป็นการได้เงินมาในระหว่างสมรส ย่อมถือว่าเงินบำนาญนั้นเป็นสินสมรส เมื่อนำเงินนั้นมาซื้อที่ดินและต่อมาได้ปลูกสร้างบ้านซึ่งเป็นส่วนควบของที่ดินในระหว่าง ...

บ้านถือเป็นสินสมรสไหม

ที่ดินและบ้านที่ได้มาระหว่างสมรสถือเป็นสินสมรส

หุ้นใน บริษัท ถือเป็นสินสมรสไหม

ในกรณีที่สามีนำสินส่วนตัวไปซื้อหุ้นบริษัทมา หุ้นนั้นก็ย่อมเป็นสินส่วนตัว ไม่ใช่สินสมรส ถ้าซื้อหุ้นภายหลังการจดทะเบียนสมรส หุ้นนั้นย่อมเป็นสินสมรสครับ เมื่อเป็นสินสมรสย่อมมีสิทธิในสินสมรสคนละส่วนเท่า ๆ กัน

สินสอดใช่สินสมรสไหม

ความเข้าใจทั่วไป #สินสอด คือเงินที่ให้พ่อแม่และเป็นกลายสินสมรส แต่จริงๆแล้ว สินสอดคคือทรัพย์สินที่ได้รับจากฝ่ายชายที่มอบให้พ่อและแม่ของฝ่ายหญิง และหากพ่อแม่ของฝ่ายเจ้าสาวมอบสินสอดนี้ให้กับคู่แต่งงานจะถือว่าเป้นสินสมรสทันที เพราะได้มาหลังสมรส นอกจากนี้ ซองงานแต่งที่หลายๆคนมักมีข้อสงสัย ก็เป็นสินสมรสเช่นเดียวกัน แล้ว ...