ความปลอดภัยในการใช้ เครื่องจักร กล งานไม่

สิ่งที่ต้องคำนึงถือเสมอในการปฏิบัติงานคือความปลอดภัย ในการปฏิบัติงานหากมีการป้องกันไม่รัดกุมเพียงพออาจมีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับอันตราย หรือก่อให้เกิดอุบัติเหตุต่อผู้ปฏิบัติงาน วัตถุดิบและเครื่องจักได้ อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเครื่องจักและความประมาทของผู้ปฏิบัติงานเอง นอกจากนี้สภาพแวดล้อมต่างๆ เช่น อากาศ แสงสว่าง เสียง การวางผังโรงงาน เป็นต้น สิ่งต่างๆ ดังกล่าวนี้หากมีความบกพร่องอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ ขณะเดียวกันอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจะส่งผลโดยตรงต่อการได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตของผู้ปฏิบัติงาน ความปลอดภัยซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการประกอบอาชีพและหัวใจของการทำงาน ผู้ที่ปฏิบัติได้ดีจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องระมัดระวังเรื่องความปลอดภัยอยู่เสมอ

สาระการเรียนรู้

1. ความหมายของความปลอดภัย

2. สาเหตุของอุบัติเหตุ

3. ผลการสูญเสียที่เกิดจากอุบัติเหตุในการปฏิบัติงาน

4. หลักความปลอดภัยสนการปฏิบัติงาน

5. หลักความปลอดภัยเมื่อปฏิบัติงานเกี่ยวกับเครื่องจักร

6. อุบัติภัยจากอัคคีภัย

7. การป้องกันอุบัติภัยในโรงงานซ่อมรถยนต์

8. การดูแลโรงฝึกงาน

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. บอกความหมายของความปลอดภัยได้
2. บอกสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุได้
3. อธิบายผลการสูญเสียที่เกิดจากอุบัติเหตุในการปฏิบัติงานได้
4. อธิบายหลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงานได้
5. อธิบายหลักการป้องกันอุบัติภัยต่างๆได้
6. บอกการดูแลโรงฝึกงานได้

ความหมายของความปลอดภัย
            การเกิดอุบัติเหตุในการทำงานแต่ละครั้งมิใช้เกิดจากเคราะห์กรรมของแต่ละบุคคล หากแต่เกิดขึ้นโดยมีสาเหตุที่ชัดเจน การเสริมสร้างความปลอดภัยในการทำงานจะเกิดขึ้นได้โดยการแก้ไขป้องกนที่สาเหตุของอุบัติเหตุได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
            ความปลอดภัย (Sfety) หมายถึง สภาพที่ปรอดภัยจากอุบัติเหตุต่างๆ ที่เกิดต่อร่างกาย ชีวิต หรือทรัพย์สินในการปฏิบัติงาน
            อุบัติเหตุ (Accident) หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดหมายและเมื่อเกิดขึ้นแล้วมีผลกระทบต่อการทำงาน ทำให้ทรัพย์สินเสียหายหรือบุคคลได้รับบาดเจ็บ
            ภัย (Hazard) เป็นสภาพการณ์ซึ่งมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดการบาดเจ็บต่อบุคคลหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือวัสดุ หรือกระทบกระเทือนต่อขีดวามสามารถในการปฏิบัติการของบุคคล
            อันตราย (Danger) หมายถึง ระดับความรุนแรงที่เป็นผลเนื่องมาจาก (Hazard) อันตรายจากภัยอาจมีระดับสูงมากหรือน้อยก็ได้ขึ้นอยู่กับมาตรการในการป้องกัน เช่น การทำงานบนที่สูง สภาพการณ์เช่นนี้ถือว่าเป็นภัยซึ่งอาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บถึงเสียชีวิตได้หากมีการพลัดตกลงมา ในกรณีนี้ถือได้ว่ามีอันตรายอยู่ในระดับหนึ่ง หากแต่ระดับอันตรายจะลดน้อยลง ถ้าผู้ปฏิบัติงานใช้สายนิรภัย (Harness) ขณะทำงานจะทำให้มีโอกาสของการพลัดตกและก่อให้เกิดการบาดเจ็บน้อยลง

สาเหตุของอุบัติเหตุ
            อุบัติเหตุและการทำงานมักจะเกี่ยวข้องกันเสมอ อุบติเหตุเห็นสิ่งที่ไม่คาดได้ล่วงหน้า หรือไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้นมา เมื่อใดก็ตามเมื่อผู้ปฏิบัติงานเกิดความประมาทก็อาจเกิดอุบติเหตุได้ทันที สาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุมี 3 ประการ ดังนี้
1. สาเหตุที่เกิดจากมนุษย์ (Human Cause)

            ซึ่งการเกิดอุบัติเหตุที่ครั้งจะมีจำนวนสู่ที่สุดถึงร้อยละ 88 ตัวอย่างเช่น ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์การทำงานไม่ถูกวิธี ความประมาท การมีนิสัยชอบเสี่ยงในการทำงาน หยอกล้อกันระหว่างทำงาน แต่งการไม่เหมาะสม สภาพจิตใจ เป็นต้น
2. สาเหตุที่เกิดจากความผิดพลาดของเครื่องจัก (Mechanical Failure)

            มีประมาณร้อยละ 10 ของการเกิดอุบัติเหตุทุกครั้ง ตัวอย่างเช่น ส่วนที่เป็นอันตรายของเครื่องจักรไม่มีเครื่องป้องกัน เครื่องจักและเครื่องมือชำรุดบกพร่อง การวางฝังโรงงานไม่เหมาะสม สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่ปลอดภัย เป็นต้น
3. สาเหตุที่เกิดจากธรรมชาติ (Acts of God)

            มีประมาณร้อยละ 2 เป็นสาเหตุที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาตินอกเหนือการควบคุม ตัวอย่างเช่นเกิดพายุ น้ำท่วม ฟ้าผ่า แผ่นดินไหว เห็นต้น

ผลการสูญเสียวที่เกิดจากอุบัติเหตุในการปฏิบัติงาน
ผลการสูญเสียที่เกิดจากอุบัติเหตุในการทำงาน สามารถแบ่งออกได้ด้งนี้

การสูญเสียโดยตรง

1.1. ได้รับบาดเจ็บ พิการ หรือเสียชีวิตและอาจทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายด้วย

1.2. ทำให้อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรตดลอดจนทรัพย์สินอื่นๆ ชำรุดเสียหาย
      1.3. การสูญเสียที่เป็นเป็นเงินซึ่งนายจ้างหรือรัฐบานต้องจ่ายโดยตรงให้แก่ผู้ที่ไดรับอุบัติเหตุจากการทำงาน เช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินทดแทนที่ต้องจ่ายโดยรัฐหรือโรงค่า ค่าทำขวัญ

ความปลอดภัยในการใช้ เครื่องจักร กล งานไม่

(ดูภาพเพิ่มเติมคลิกรูป)

การสูญเสียทางอ้อม

            การสูญเสียทางอ้อม คือ การสูญเสียซึ่งมักจะคิดไม่ถึง หรือไม่ค่อยได้คิดว่าเป็นการสูญเสีย ลักษณะการสูญเสียที่แผงอยู่ไม่ปรากฏเกิดชัดมีลักษณะดังนี้
        2.1. สูญเสียแรงงานของลูกจ้างที่ได้รับบาดเจ็บ จะต้องใช้เวลาพักฟื้นจนกว่าจะหาย
        2.2. ทำให้ปริมาณผลิตขาดหายไป ผลิตให้ผู้ใช้ไม่ทันเวลา เงินรางวัล โบนัสประจำปีลดน้อยลงไป
        2.3. สูญเสียผลกำไรส่วนหนึ่งไป เนื่องจากลูกจ้างบาดเจ็บและเครื่องจักหยุดทำงาน
        2.4. ครอบครัวต้องสูญเสียกำลังหลัก กำลังใจ สูญเสียรายได้
        2.5. ทำให้คนงานขวัญเสีย เกิดความกลัวประสิทธิภาพการทำงานลดลง

ความปลอดภัยในการใช้ เครื่องจักร กล งานไม่

(ดูภาพเพิ่มเติมคลิกรูป)

หลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
            ความปรอดภัยในการปฏิบัติงาน ไม่ใช้เรื่องของใครคนใคคนหนึ่ง เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องตระหนักและให้ความสำคัญ หลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงานต้องคำนึงถึงเรื่องดังต่อไปนี้

            1. จะต้องยอมรับ และปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยของโรงงานโดยเคร่งครัด
            2. 
ใช้เครื่องมือให้ถูกวิธี ถูกขนาด และถูกกับงาน

            3. 
แต่งกายให้ถูกต้องตามระเบียบของโรงงาน และใช้เครื่องป้องกันอันตรายทุกครั้งที่ปฏิบัติงานที่กำหนดให้ใช้เครื่องป้องกัน

            4. 
หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือหรือเครื่องจักรที่ชำรุดเสียหาย หรืออยู่ในสภาพที่ไม่เหมาะสมต่อการใช้งาน

            5. 
เก็บรักษาอุปกรณ์ และเครื่องมือที่ใช้ในการทำงานให้เป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ เมื่อนำไปใช้ต้องเก็บไว้ให้ถูกจุดทุกครั้ง
            6. ปฏิบัติงานตามขั้นตอนการทำงาน

 หลักความปลอดภัยเมื่อปฏิบัติงานเกี่ยวกับเครื่องจักร

  1. ใช้เครื่องจักรอย่างระมัดระวัง ปฏิบัติงานตามคู่มือหรือขึ้นตอนที่กำหนด
  2. อย่างถอดเครื่องมือนิรภัยหรือที่ครอบป้องกันอันตรายออกจากเครื่องจักรเด็ดขาด
  3. ห้ามใช้เครื่องจักรโดยไม่มีหน้าที่หรือได้รับการอบรมมาก่อน
  4. สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่เหมาะสมกับงาน
  5. ระวังอย่าให้มือหรือส่วนหนึ่งของร่างก่ายเข้าใกล้จุดหมุดหรือส่วนที่เครื่องไหวของเครื่องจักร
  6. ขณะเครื่องจักรกำลังทำงานอย่าปรับแต่ง ทำความสะอาดหรือพยายามดึงชิ้นงานที่ติดขัดออกโดยไม่หยุดเครื่องจักรก่อน
  7. สวมใส่เสื้อผ้าที่กระชับ ไม่ควรสวมเครื่องประดับที่อาจถูกเครื่องจักหนีบหรือดึงเข้าไปได้
  8. ขณะตรวจสอบ แก้ไข หรือซ่อมแซมเครื่องจักใช้แขวนป้อยเตือน และใส่กุญแจล็อกตลอดเวลา
  9. ก่อนการปฏิบัติงานต้องตรวจสอบสภาพเครื่องจักว่าอยู่ในสภาพดีพร้อมใช้งาน
  10. หากพบเครื่องจักร เครื่องมือนิรภัย หรือที่คอบป้องกันอันตรายชำรุดหรือสูญหายให้แจ้งหัวหน้าทันที

ความปลอดภัยในการใช้ เครื่องจักร กล งานไม่

(ดูภาพเพิ่มเติมคลิกรูป)

อุบัติภัยจากอัคคีภัย

ารเกิดอัคคีภัยหรือเพลิงไหม้ ต้องมีองค์ประกอบหลัก 3 ประการ คือ

เชื้อเพลิง ซึ่งอาจจะอยู่ในสถานะเป็นของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ เช่น ไม้ กระดาษ น้ำมันเบนซิน ก๊าซหุงต้ม เป็นต้น

อากาศ ที่มีออกซีเจนในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15 ออกซิเจนเป็นสารช่วยให้เกิดการลุกไหม้

ความร้อน บริเวณนั้นมีอุณหภูมิที่เหมาะสมพอที่จะทำให้เชื้อเพลิงนั้นเกิดเปลวไฟขึ้นได้

    1.สาเหตุของการเกิดอัคคีภัย

ความปลอดภัยในการใช้ เครื่องจักร กล งานไม่

    1.1.    อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่ได้มารฐานหรือผิดประเภท ขั้วต่อหลวม การลัดวงจรไฟฟ้าทำให้เกิดความร้อนสูงหรือประกายไฟขึ้นได้

    1.2.    การสูบบุหรี่หรือการจุดไฟ ในบริเวณที่มีเชื้อเพลิงไวไฟการทิ้งก้นบุหรี่ ไม่ขีดไฟที่ติดไฟแล้วลงถึงขยะ

    1.3.    สะเก็ดไฟ ประกายไฟ หรือเปลวไฟ จากการเชื่อมและตัดโลหะ ประกายไฟภายในเครื่องจักรที่ขัดข้อง เตาเผาที่ไม่มีสิ่งปกคลุมประกายไฟ เปลวไฟเหล่านี้สัมผัดเชื้อเพลิงที่อยู่ใกล้เคียงทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้

    1.4.    สภาพบรรยากาศที่มีสิ่งปนเปื้อน ก่อให้เกิดการระเบิดได้  เช่น ฝุ่นผง ไอระเหย ก๊าซของสารซึ่งมีความเข้มข้นอยู่ในช่วงที่เหมาะสม เมื่ออยู่ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิถึงจุดระเบิดก็จะระเบิดลุกไหม้ขึ้นได้

    2.ชนิดของเพลิงไหม้

2.1.    เพลิงประเภท ก. ได้แก่ เพลิงที่ไหม้จากวัสดุธรรมดา เช่น ไม้ กระดาษ ผ้า ฯลฯ การดับเพลิงประเภทนี้ต้องใช้ความเย็นและความเปียกชื้น

2.2.    เพลิงประเภท ข. ได้แก่ เพลิงที่เกิดจากวัสดุไวไฟ เช่น น้ำมันเบนซิน สี ก๊าซหุงต้ม หรือของเหลวไวไฟต่างๆ การดับเพลิงประเภทนี้ต้องครอบคลุมเพลิงคือป้องกันไม่ใช้ออกซีเจนเข้าไปช่วยให้เกิดไฟติด

2.3.    เพลิงประเภท ค. ได้แก่ เพลิงที่เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น มอเตอร์ สวิตซ์ การดับเพลิงประเภทนี้ต้องใช้สารดับเพลิงที่ไม่เป็นสื่อไฟฟ้า

    3.การดับเพลิง

สารดับเพลิงเป็นสารที่ใช้เพื่อตัดองค์ประกอบของการเกิดเพลิงไหม้ เช่น ลดความร้อน หรือกำจัดออกซิเจน การใช้สารดับเพลิงขึ้นอยู่กับสภาพของเพลิงที่เกิดขึ้น สารดับเพลิงที่ใช้มีดังนี้

3.1.    น้ำ (Water) เป็นสารดับเพลิงที่ใช้กับเพลิงที่เกิดจากวัสดุธรรมดา เช่น ไม้ การะดาษเพราะน้ำมีคุณสมบัติในการดับเพลิง คือ ลดอุณหภูมิของเชื้อเพลิงให้ต่ำกว่าจุดติดไฟ ปกคลุมไม่ให้ออกซีเจนจากอากาศเข้าถึงเชื้อเพลิง และเมือกระทบกับความร้อนจะเป็นไอ ข้อควรระวังในการใช้นำเป็นสารดับเพลิงคือต้องไม่ใช้กับเพลิงที่เกิดจากไฟฟ้า หรือใกล้สายไฟฟ้า เพราะจะทำให้เกิดไฟดูดผู้ปฏิบัติงานและผู้คนได้

3.2.    คาร์บอนไดออกไซด์ (Carbondioxide) จะประกอบไปด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายใต้ความดัน สามารถนำไปดับเพลิงได้ทุกประเภท

3.3.    โฟม (Foam) โฟมเป็นสารดับเพลิงที่มีลักษณะเป็นฟองผลิตจากการผสมระหว่างโซเดียมไบคาร์บอเนต กับสารละลายอะลูมิเนียมซัลเฟต เหมะสำหรับใช้ดับเพลิงที่เกิดจากวัสดุไวไฟ เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซหุงต้ม เป็นต้น

3.4.    ผงเคมีแห้ง (Dry chemical) ผงเคมีสามารถใช้ดับเพลิงได้ทุกชนิด แต่มีข้อเสียคือจะทำให้บริเวณเพลิงไหม้สกปรกไปด้วยผงเคมี

ความปลอดภัยในการใช้ เครื่องจักร กล งานไม่

ตารางการใช้เครื่องดับเพลิง

ประเภท

น้ำ

คาร์บอนไดออกไซด์

โฟม

ผงเคมี

ก.(ไม้ กระดาษ ผ้า ฯลฯ)

ดีมาก

เพลิงขนาดเล็ก

ดีมาก

เพลิงขนาดเล็ก

ข. (น้ำมันหรือของเหลวไวไฟต่างๆ)

ห้ามใช้

ดีมาก

ดีมาก

ดีมาก

ค. (อุปกรณ์ไฟฟ้า)

ห้ามใช้

ดีมาก

ห้ามใช้

ดีมาก

    4.การป้องกันการเกิดอัคคีภัย

    4.1.    ระบบไฟฟ้า การเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดจะต้องคุณสมบัติเหมาะสมกับพื้นที่ที่ใช้งานเมื่อเป็นพื้นที่ที่มีไอระเหยของสารไวไฟอุปกรณ์ไฟฟ้าต้องเป็นชนิดกันการระเบิดได้ (Explosion proof) และหลังใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าควรปิดสวิตช์และดึงปลั๊กออกทุกครั้ง

    4.2.    การบำรุงรักษาเครื่องจักร หมั่นตรวจตราและซ่อมบำรุงอุปกรณ์ เครื่องจักรต่างๆ อย่างเป็นระบบและสม่ำเสมอให้อยู่ในสภาพที่ดี เพื่อมิให้เกิดอัคคีภัยจากการชำรุดหรือความบกพร่องของอุปกรณ์

    4.3.    การสำรวจและตรวจสอบ ความเป็นระเบียบเรียบร้อยทั้งในอาคารและนอกอาคาร การแยกจัดเก็บสารเคมีอย่างถูกวิธีตามเอกสารข้อมูลความปรอดภัยเกี่ยวกับเคมีภัณฑ์ (Material Safety Data Sheet)

    4.4.    การฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงาน ผู้ปฏิบัติงานทุกๆ คนจะต้องทราบและเข้าใจเกี่ยวกับกฎระเบียบหรือวิธีการปฏิบัติที่ปลอดภัย เพื่อให้พนันงานปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องไม่เป็นต้นเหตุของการเกิดอัคคีภัย

การป้องกันอุบัติภัยในโรงงานซ่อมรถยนต์

            การทำงานในรางงานซ่อมรถยนต์อาจเกิดอันตรายขึ้นได้ตลอดเวลา ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจึงมีความจำเป็นที่ช่างจะต้องทรายซึ่งรายละเอียดมีดังนี้

            1. อย่าบัดกรี เชื่อมหรือตัดถึงน้ำมันรถยนต์จนกว่าจะล้างน้ำมันที่ตกค้างออกให้หมด
            2. ข้อต่อท่อน้ำมันในรถยนต์ต้องตรวจสอบอยู่เสมออย่าให้รั่ว น้ำมันเชื้อเพลิงที่รั่วถ้าพุ่งออกมาจะถูกประกายไฟหรือท่อไอเสียอาจเกิดการลุกไหม้ได้ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยควรมีอุปกรณ์ดับเพลิงไว้บริเวณปฏิบัติงาน
            3. การยกเครื่องยนต์ออกจากตัวถังรถ ควรตรวจสอบอุปกรณ์สำหรับการยกให้เรียบร้อย
            4. การทำงานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้ารถยนต์ ระบบคลัตซ์ ควรปลดขั้วแบตเตอรี่ออกก่อน เพื่อป้องกันการลัดวงจรและการเกิดอัคคีย์ภัยจากไฟฟ้า
            5. การขึ้นแม่แรงต้องขึ้นในจุดที่แข็งแรงและใช้ขาตั้งรองในตำแหน่งเหมาะสม ห้อมใช้แม่แรงยกรถไว้แล้วเข้าไปปฏิบัติงานใต้รถเป็นอันขาด และในขณะขึ้นแม่แรงควรใช้ลิ่มหรือขอนหนุนล่อรถ
            6. น้ำยาของแบตเตอรี่เป้นกรดอย่างแรง เมื่อสัมผัสร่างกายให้ล้ายด้วยด่างอย่างอ่อน
            7. ไม่ควรเปิดฝาหม้อน้ำหลังจากดับเครื่องยนต์ใหม่ๆ ควรรอจนกระทั้งเครื่องเย็นแล้วจึงเปิด
            8. การบริการเกี่ยวกับของเหลวรถยนต์ ถ้าเครื่องยนต์ทำงานมาระยะหนึ่งควรระมัดระวังเกี่ยวกับความร้อนจากของเหลวที่ถ่ายออกเป็นพิเศษ
            9. อย่าใช้น้ำมันเบนซินล้างทำความสะอาดชิ้นส่วนและสิ่งอื่นๆ เพราะน้ำมันเบนซินติดไฟง่ายควรใช้น้ำมันก๊าดหรือนำมันดีเซลล้างซึ่งติดไฟได้ยากกว่า
            10. ถ้านำมันเบนซินรั่วลงพื้นต้องรีบทำความสะอาดและเช็ดให้แห้งทันที
            11. ก่อนถอดข้อต่อท่อทางน้ำมันเชื้อเพลิงควรใช้ผ้าห่อรอบๆ ก่อนจึงถอด เพื่อป้องกันน้ำมันกระจายไปถูกชิ้นส่วนที่ร้อนอาจทำให้เกิดการลุกไหม้ของไฟได้
            12. ไม่ควรติดเครื่องยนต์ในโรงงานที่หน้าค่า ประตูปิด หรืออากาศถ่ายเทไม่สะดวก เพราะควันไปเสียจะเข้าสู่ร่างกายเป็นจำนวนมากทำให้เกิดการมึนงง เพื่อป้องกันควันไอเสียเข้าสู่ร่างกายเมื่อติดเครื่องยนต์ในบริเวณดังกล่าวควรมีเครื่องดูดควันไอเสีย หรือเป็นบริเวณที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก
            13. ห้ามสัมผัสน้ำมันเครื่องที่ใช้งานแล้วเป็นเวลานาน เพราะมีโอกาสเกิดมะเร็งผิวหนังได้ ถ้ามีความจำเป็นควรสวมถุงมือ ถ้าใส่ผ้าเปียกน้ำมันเครื่องควรเปลี่ยนทันที
            14. ห้ามให้ฝุ่นละอองที่มาจากผ้าเบรกและผ้าคลัตซ์เข้าสู่ภายในร่างกาย เพราะผ้าเบรกและแผ่นคลัตช์ทำมาจากแร่ใยหินหรือแอสเบสทอสซึ่งเป็นสารทำให้เกิดมะเร็งได้ ดังนั้นควรใช้นำยาหรือนำล้างห้ามใช้ลมเป่าเด็ดขาด
            15. ฟองน้ำยาทำความเย็นเครื่องปรับอากาศเป็นก๊าซพิษ ถ้ากระจายมาถูกเปลวไฟรือบุหรี่ที่สูบจะทำให้แดการไหม้ผิวหนังที่สัมผัสได้

การดูแลโรงฝึกงาน

    1. พื้นโรงงานจะต้องทำความสะอาดปราศจากน้ำมันหรือฝุ่นผง
    2. ทำความสะอาดบริเวณสถานที่ปฏิบัติงานและคลังเก็บของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
    3. ไม่ควรมีสิ่งกีดขวางามทางเดิน
    4. ควรเก็บรักษาเครื่องมือ เครื่องจักรให้อยู่ในสภาพดีและพร้อมใช้งานอยู่เสมอ
    5. จัดให้มีเครื่องมือปฐมพยาบาลเบื้องต้นไว้ในโรงงาน
    6. วัสดุทั้งหมดที่ติดไฟได้ ควรเก็บแยกไว้เฉพาะ
    7. ผ้าที่ใช้งานแล้ว ชิ้นส่วนกระดาษทรายและเศษเหล็กควรใส่ไว้ในถัง
    8. วัสดุและชิ้นส่วนต่างๆ ควรเก็บไว้เป็นที่ให้เรียบร้อย
    9. วัสดุที่ติดไฟได้ควรเก็บไว้ในที่ปลอดภัย
 

ความปลอดภัยในการใช้ เครื่องจักร กล งานไม่

(ดูภาพเพิ่มเติมคลิกรูป)

คำศัพท์ท้ายหน่วย

Safet = ความปลอดภัย

Accident = อุบัติเหตุ
Hazard = ภัย
Danger = อันตราย
Harness = สายนิรภัย
Carbondioxide = คาร์บอนไดออกไซด์
Foam = 
โฟม

Dry chemical = 
ผงเคมีแห้ง
Acts of God = สาเหตุที่เกิดจากธรรมชาติ
Human Cause  = สาเหตุที่เกิดจากมนุษย์
Material Safety Data Sheet = 
ความปลอดภัยที่เกี่ยวกับเคมีภัณฑ์
Mechanical Failure =  สาเหตุที่เกิดจามความผิดพลาดของเครื่องจักร