สิทธิขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล

สิทธิขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล

PDPA ย่อมาจาก Personal Data Protection Act หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งใจความสำคัญของกฎหมายฉบับนี้มุ่งเน้นไปที่องค์กร หน่วยงาน หรือนิติบุคคลให้มี “มาตรฐาน” ในการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเหมาะสมและเพียงพอ เมื่อมีความจำเป็นต้องขอใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะมีผลกระทบไปถึงการรักษาความลับ (Confidentiality) ความถูกต้องสมบูรณ์ (Integrity) และความพร้อมใช้งาน (Availability) ของข้อมูลส่วนบุคคล ที่ก่อให้เกิดแนวโน้มให้เกิดผลกระทบเชิงลบหรือความเสียหายในระดับบุคคลหรือองค์กร⠀⠀บุคคลทั่วไปในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject) ควรจะตระหนักและเข้าใจสิทธิของตนเอง โดยสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีด้วยกันทั้งหมด 7 ประการ

สิทธิขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล

1. สิทธิได้รับการแจ้งให้ทราบ (Right to be informed)
⠀⠀
การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องแจ้งรายละเอียดในการเก็บข้อมูล ตลอดจนการนำไปใช้ หรือเผยแพร่ให้เจ้าของข้อมูลทราบก่อนหรือขณะเก็บรวบรวมข้อมูล

สิทธิขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล

2. สิทธิในการขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (Right of access)
⠀⠀
เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนเองจากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล

สิทธิขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล

3. สิทธิในการขอให้โอนข้อมูลส่วนบุคคล (Right to data portability)
⠀⠀
ในกรณีที่เจ้าของข้อมูลต้องการนำข้อมูลที่เคยให้ไว้กับผู้ควบคุมข้อมูลรายหนึ่ง ไปใช้กับผู้ควบคุมข้อมูลอีกราย เจ้าของข้อมูลสามารถขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลที่จัดทำข้อมูล ให้ส่งหรือโอนข้อมูลดังกล่าวให้ได้ 

สิทธิขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล

4. สิทธิคัดค้านการเก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (Right to object)
⠀⠀
เจ้าของข้อมูลสามารถคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เมื่อไหร่ก็ได้ รวมถึงสามารถทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้

สิทธิขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล

5. สิทธิขอให้ลบ ทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลไม่สามารถระบุตัวตนได้ (Right to erasure; also known as right to be for-gotten)
⠀⠀
หากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล นำข้อมูลส่วนบุคคลไปเผยแพร่ในที่สาธารณะ หรือสามารถเข้าถึงได้ง่าย เจ้าของข้อมูลมีสิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลทำการลบ ทำลายข้อมูล หรือทำให้ข้อมูลนั้นไม่สามารถระบุตัวตนได้

สิทธิขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล

6. สิทธิขอให้ระงับการใช้ข้อมูล (Right to restrict processing)
⠀⠀
เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าจะในกรณีที่เกิดการเปลี่ยนใจไม่ต้องการให้ข้อมูลแล้ว หรือเปลี่ยนใจระงับการทำลายข้อมูลเมื่อครบกำหนดที่ต้องทำลาย

สิทธิขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล

7. สิทธิการขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล (Right of rectification)
⠀⠀
เจ้าของข้อมูลมีสิทธิที่จะขอแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลของตนเองให้มีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้ โดยการแก้ไขนั้นจะต้องเป็นไปด้วยความสุจริต และไม่ขัดต่อหลักกฎหมาย
⠀⠀
หมายเหตุ : ทั้งนี้ ควรเก็บบันทึกหลักฐานไว้ หากพบว่าข้อมูลส่วนบุคคลได้ถูกนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ ที่ตกลงกัน ก็สามารถใช้เป็นหลักฐานในการร้องเรียนต่อคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ

ในมาตรา 30 ของ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ได้กล่าวไว้ว่า “เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือขอให้เปิดเผยถึงการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวที่ตนไม่ได้ให้ความยิมยอม

ซึ่งในบทความนี้เราจะมาพูดถึงสิทธิของเจ้าของข้อมูลกันครับว่าสิ่งที่ต้องทำมีอะไรบ้าง

สิทธิของเจ้าของข้อมูลมีอะไรบ้าง

1. สิทธิในการขอเข้าถึง และแก้ไข

เจ้าของข้อมูลที่ให้องค์กรเก็บไว้จะต้องมีช่องทางให้เจ้าของข้อมูลนั้นสามารถเรียกดูข้อมูลของตนเองได้ หากข้อมูลส่วนใดไม่ถูกต้องเจ้าของข้อมูลมีสิทธิที่จะเรียกแก้ไข หรือเพิ่มเมื่อไหร่ก็ได้ ซึ่งวัตถุประสงค์ของการเก็บข้อมูล Data Controller และ Data Processor ควรตรวจสอบให้ถูกต้อง และเป็นปัจจุบันที่สุด 

หากข้อมูลส่วนบุคคลมีการแก้ไขเรียบร้อยแล้ว บริษัท หรือหน่วยงานจะต้องแจ้งต่อเจ้าของข้อมูลให้ทราบด้วย

2. สิทธิในการลบข้อมูล

ไม่ว่าใครก็ตามที่กรอกข้อมูลส่วนตัวมีสิทธิขอลบข้อมูลจาก Data Controller และ Data Processor

สิทธิในการได้รับ นั่นหมายความว่าบุคคลใดก็ตามมีสิทธิ์ที่จะติดต่อ บริษัท หรือหน่วยงานที่ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลและขอให้ลบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

Use case ที่ถูกเจ้าของข้อมูลขอลบได้มีดังต่อไปนี้

  • หากข้อมูลไม่จำเป็นสำหรับวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวมอีกต่อไป หรือเจ้าของข้อมูลไม่ได้ใช้บริการ Service ที่รวบรวม หรือเก็บข้อมูลของเขาอีกต่อไป
  • หากข้อมูลส่วนบุคคลได้รับการประมวลผลโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
  • หากข้อมูลส่วนตัวของพวกเขาถูกนำไปประมวลผล หรือใช้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย

3. สิทธิในการ จำกัด การประมวลผล

เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิที่จะจำกัดการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล หมายความว่าข้อมูลของเจ้าของสามารถเลือกที่จะประมวลผลตามวัตถุประสงค์ได้

สิทธิ์ในการจำกัด จะมีผลเหนือสิ่งอื่นใดเมื่อเจ้าของข้อมูลเห็นว่าข้อมูลไม่ถูกต้องและได้ร้องขอการแก้ไข ในกรณีดังกล่าวเจ้าของข้อมูลสามารถร้องขอให้ จำกัด การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของพวกเขาในขณะที่มีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลได้เลยครับ

4. การเคลื่อนย้ายข้อมูล

หากว่าเจ้าของข้อมูลมีความต้องการที่จะย้ายข้อมูลของเขาไปที่อื่น หน่วยงาน หรือองค์กรจะต้องอำนาจความสะดวกในการถ่ายโอนข้อมูลดังกล่าว แต่มีเงื่อนไขว่า หน่วยงานจะประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลต้องเป็นไปตามความยินยอมของเจ้าของข้อมูล หรือ ทำสัญญากับเจ้าของข้อมูลและจะใช้กับข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวที่เจ้าของข้อมูลได้ให้ไว้เท่านั้น

5. สิทธิในการคัดค้าน

ในบางกรณีบุคคลมีสิทธิที่จะคัดค้านการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของตนได้ในบางกรณี ซึ่งการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของตนเพื่อการตลาดทางตรง เจ้าของข้อมูลสามารถคัดค้านได้เสมอ แต่มีบางกรณีที่เจา้ของข้อมูลไม่สามารถคัดค้านได้มีดังต่อไปนี้

  • ข้อมูลส่วนบุคคลที่ประมวลผลเพื่อวัตถุประสงค์ในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์หรือในอดีตหรือวัตถุประสงค์ทางสถิติ
  • เหตุผลอันชอบธรรมที่น่าสนใจสำหรับข้อมูลที่จำเป็นต้องได้รับการประมวลผลซึ่งแทนที่ผลประโยชน์สิทธิและเสรีภาพของแต่ละบุคคลไม่ว่าจะเป็น การเกิดอุบัติเหตุ หรือสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับจากภาครัฐ

หมายเหตุ : ช่องทางการขอสิทธิต่าง ๆ ของเจ้าของข้อมูลจะต้องไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายใด ๆ และเข้าถึงได้ง่าย

ผลกระทบ

ใครก็ตามที่ได้รับอันตรายจากข้อมูลส่วนบุคคลของตนที่ถูกประมวลผลโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎระเบียบการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอาจมีสิทธิ์ได้รับความเสียหายจากผู้ควบคุม (Data Controller) หรือผู้ควบคุมที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผล (Data Processor)

นอกจากนี้ผู้ประมวลผลข้อมูลอาจต้องรับผิดต่อความเสียหายหากมีการละเมิดข้อกำหนดที่กำหนดไว้ที่ผู้ประมวลผลโดยเฉพาะหรือประมวลผลข้อมูลโดยฝ่าฝืนคำสั่งของผู้ควบคุม

บุคคลสามารถร้องขอความเสียหายจากผู้ควบคุมข้อมูลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลหรือดำเนินการทางกฎหมายเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายในศาลได้

 สรุปจากหลักการแล้วใครก็ตามที่ได้รับความเสียหายมีสิทธิได้รับการชดเชยความเสียหายทั้งหมดจากผู้ควบคุมข้อมูลหรือผู้ประมวลผลข้อมูล แต่ก็สามารถไกล่เกลี่ยระหว่างกันได้ เช่นกัน

Reference : https://www.imy.se/other-lang/in-english/the-general-data-protection-regulation-gdpr/the-data-subjects-rights/