จังหวะในการเป่าลมเข้าปากผู้ป่วยที่หยุดหายใจ

13.6  การปฐมพยาบาลช่วยหายใจและนวดหัวใจ

        13.6.1 ภาวะผู้ป่วยหยุดหายใจและวิธีช่วยหายใจ

            การช่วยหายใจหรือเรียกว่า ผายปอด เป็นวิธีปฏิบัติเพื่อช่วยให้ปอดได้รับออกซิเจนเพียงพอและเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความพิการแก่สมองและอวัยวะสำคัญอื่นๆ เนื่องจากการขาดออกซิเจนปกติถเหยุดหายใจ 2-3 นาที จะหมดสติ หยุดหายใจ 5 นาที หัวใจจะแต้นไม่สม่ำเสมอ หยุดหายใจ 8 นาที หัวใจจะเต้นอ่อนลงมาก ถ้าเกิน 8 นาที หัวใจมักจะหยุดภาวะที่มักทำให้ผู้ป่วยหยุดหายใจ หรือหายใจไม่ออกได้แก่ การจมน้ำ ไฟฟฟ้าดูด หรือถูกรัดคอภาวะเหล้านี้ ถ้าได้ช่วยผู้ป่วยภายใน 8 นาที โดยมากมักจะฟื้นง่าย เพียงแต่ช่วยให้หายใจได้เท่านั้นก็เป็นการเพียงพอแล้ว ถ้าเกิน 8 นาที หัวใจมักจะหยุดเต้น ต้องช่วยทั้งการหายใจและช่วยให้หัวใจเต้นด้วยเมื่อพบคนเจ็บนอนอยู่ คล้ายหมดสติ ต้องลองตรวจดูว่าหมดสติจริงหรือไม่โดยการเรียกและเขย่าตัวหรือตบที่ไหล่ ถ้าหมดสติจะไม่มีการตอบโต้ หรือมีเสียงตะราง หรือมีการเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อยให้ประเมินการหายใจดังต่อไปนี้

1.  ดูการเคลื่อนไหวของทรวงอก และหน้าท้องว่ามีการยกตัวขึ้นหรือไม่ หรือหายใจหรือไม

2.  ฟังสียงลมหายใจ โดยเอียงหูของผู้ช่วยเหลือเข้าไปใกล้บริเวณจมูกและปากของผู้ป่วยว่าได้ยินเสียงอากาศผ่านออกมาทางจมูกหรือปากหรือไม่

3.  สัมผัสโดยใช้กระดาษหรือสำลีจ่อบริเวณจมูกหรือใช้แก้มสัมผัส

        13.6.2  วิธีช่วยหายใจ (Breathing)

1.  ท่าทางเดินหายใจให้โล่ง (Airwayโดยจับศีรษะให้หงายขึ้นเพื่อไม่ใช้ลิ้นตกลงไปอุดที่หลอดลลมในคนหมดสติอวัยวะทุกส่วนของร่างกายจะคลายและหย่อยตัว ลิ้นจะตกลงไปอุดทางเดินทางหายใจ การที่จับคอหงายจะทำให้โคนลิ้นถูกดึงออกมาจากคอหอยและทางเดินหายใจ ในผู้ป่วยที่มีของอยู่ในปากควรเอาออก เช่น ฟันปลอม หรืออาหารอยู่ยังไม่ทันกลืนลงไป อาจใช้นิ้วที่พันผ้าล้วงเอาออก

2 . เป่าลมเข้าทางปากของผู้ป่วยใช้มือข้างหนึ่งประคองผู้ป่วย มืออีกข้างหนึ่งกดหน้าผากเพื่อให้หงาย ปากของผู้ป่วยจะเผลอเล็กน้อยสูดหายใจเข้าเต็มที่แล้วก้มลงประกบปากของผู้ป่วย เป่าลมเข้าไปทางปากของผู้ป่วยจนหมดไม่จำเป็นต้องออกแรงเป่ามากนัก ถ้าลมรั่วออกทางจมูกอาจใช้มือปิดจมูกไว้

        ข้อควรจำ

หากปากเปื้อนให้ใช้ผ้าเช็ดหนน้าปิดปากก่อน

3.  เป่าลมเข้าทางปากต่อเนื่อง ถอนปากออกจากผู้ป่วยสูดหายใจเข้าเต็มที่แล้วเริ่มเป่าลมเข้าทางปากผู้ป่วยอีก ทำเช่นนี้เรื่อยไปโดยไม่ต้องรีบร้อน ถ้าทำอยางสบายๆ จะได้อัตราการหายใจประมาณ 12-15 ครั้งต่อนาที ถึงแม้การช่วยหายใจโดยเป่าลมหายใจที่ใช้แล้วลงในปอดผู้ป่วย ก็สามรรถทำให้ผู้ป่วยได้ออกซิเจนเพียงพอ เพราะลมหายใจที่ใช้แล้วยังมีออกซิเจนอยู่มาก โดยปกติอากาศที่หายใจออกมีออกซิเจนอยู่ประมาณ 21% อากาศที่หายใจออกมรออกซิเจนประมาญ 16-18% หมายความว่าใช้ไปเพียง 4% เท่านั้นยังเหลืออยู่อีกมาก

4.  ตรวจผู้ป่วยหายใจได้เองถ้าทำถูกวิธีลมจะเข้าปอดได้โดยการชำเลืองดู ขณะที่เป่าลมเข้าปอด หน้าอกจะกระเพื่อมสูงขึ้นเวลาถอนปากออกจากผู้ป่วยแล้วเอียงหูฟังจะพบว่าลมออกจากปากจมูกของผู้ป่วย มากระทบใบหูของผู้พยาบาลคนที่หยุดหายใจมักจะหายใจได้เองภายในเวลา 1-2 นาที นั้นคือเป่าลมเข้าทางปากไม่เกิน 30 ครั้ง ตามปกติจะเป่าลมเข้าทางปาก 5 ครั้ง แล้วคลำดูชีพจรทีหนึ่ง ถ้าคลำพบว่าผู้ป่วยไม่หายใจเอง ก็เป่าต่อไปอีก ถ้าคลำไม่พบแสดงว่าหัวใจหยุดเต้น ต้องช่วยนวดหัวใจ (ดูข้อ 12.6.2) ได้เลยโดยไม่ชักช้าแม้ในคนที่หัวใจหยุดเต้นโดยไม่ได้เกิดจากการหายใจนำมาก่อน การช่วยครั้งแรกก็ต้องช่วยหายใจก่อนเหมือนกัน

        13.6.3 วิธีปฐมพยาบาลนวดหัวใจ ( Cardiae Massage)

การนวดหัวใจหรือเรียกการช่วยกระตุ้นหัวใจ

1.  ถ้าผู้ป่วยนอนบนเตียงสปริงที่นอนที่มีความนุ่มมาก ให้หากระดาษแข็งมาลองหลัง หรือให้ช่วยกันหามหรืออุ้มผู้ป่วยมานอนบนพื้นบ้าน พื้นเรือน หรือแม้แต่พื้นดินก็ได้

2.  ถ้าถอดเสื้ออกได้ง่ายให้ถอดเสื้ออกโดยการปลดกระดุมทางด้านหน้า ถ้าถอดยากใช้กำลังฉีกเลย เพื่อให้เห็นหน้าอกชัดเจน

3.  ผู้พยาบาลยืนข้างตัวผู้ป่วย  (ในกรณีที่ผู้ป่วยนอนคนเดียว) หรือคุกเข่าลงข้างตัวผู้ป่วย (กรณีที่ผู้ป่วยนอนบนพื้น) ให้ระดับเอวของผู้พยาบาลอยู่เหนือตัวผู้ป่วยเพื่อที่จะได้ทำการถนัด

4.  วางส้นมือข้างหนึ่งลงบนกระดูกหน้าอก กะเอาตรงกลางหน้าอกควรวางสันมือต่ำลงมาจากจุดกึ่งกลางกระดูกหน้าอดเล็กน้อย ใช้ส้นมืออีกข้างหนึ่งวางช้อนขึ้นไปกดกระดูกหน้าอก โดยใช้น้ำหนักตัวโน้มขึ้นบนตัวผู้ป่วย กะให้กระดูกหน้าอดยุบลงไปสัก 3-4 ชม. แล้วปล่อยมือขึ้น กอดลงไปใหม่ผ่อนขึ้น ดังนี้

        ก.  การกดและการผ่อนควรทำให้ได้ผล ดังนั้นคือให้กระดูกหน้าอกยุบลงไป 2-4 ซม. ไม่ควรลุกลี้ลุกลนให้ทำด้วยความนิ่มนวลไม่ใช้แรงกระแทก เพราะในคนอายุมากอาจทำให้กระดูกซี่โครงหักเกิดโรคแทรกซ้อนต่อไปได้อีก

        ข.  ตั้งจังหวะการทำให้เหมาะภ้าทำเนิบๆตามสบายจะกดได้ราวๆ 50-60 ครั้ง/นาที ซึ่งเพียงพอไม่จำเป็นต้องจับเวลาให้ตรงแผงในขณะนั้น ถ้าได้รับการฝึกซ้อมมาก่อนจะรู้ได้ว่าทำขนาดไหนถึงจะพอดี

        ค.  การกดหัวใจนี้ต้องควบคู่กันไปการช่วยหายใจคือเป่าปากอีกครั้งหนึ่ง กดหัวใจ 3-4 ครั้งหรือเป่าปาก 2 ครั้ง กดหัวใจ 5 ครั้งตามอัตราใดที่เห็นว่าเหมาะสมก็ได้ ในการทำตนเดียว ทำอย่างหลังคือเป่าปาก 2 ครั้ง กดหัวใจ 5 ครั้งจะเหมาะกว่าเพราะไม่ต้องเลื่อนตัวบ่อยนัก ถ้ามี 2 คนช่วยกัน ทำอย่างแรกจะใกล้เคียงธรรมชาติมากกว่าทั้งนี้ควรพิจารณาดูตามความเหมาะสม

จังหวะในการเป่าลมเข้าปากผู้ป่วยที่หยุดหายใจ