วิจัย โรค ซึม เศร้าในวัย ทำงาน

Scolaris Content Display Scolaris Content Display

บทนำ

ความสามารถในการทำงานลดลง เช่นการขาดงานจากการป่วยเป็นเรื่องปกติในผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า

วัตถุประสงค์

เพื่อประเมินประสิทธิผลของวิธีการที่มีเป้าหมายเพื่อลดความบกพร่องในการทำงานของพนักงานที่เป็นโรคซึมเศร้า

วิธีการสืบค้น

เราค้นหาเอกสารจาก CENTRAL (The Cochrane Library), MEDLINE, Embase, CINAHL และ PsycINFO จนถึงวันที่ 4 เมษายน 2020

เกณฑ์การคัดเลือก

เราได้รวมการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม (RCTs) และคลัสเตอร์ ‐ RCT ที่มีการจัดการในสถานที่ทำงานและวิธีการทางคลินิกสำหรับผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าที่มีการใช้ จำนวนวันในการขาดงานจากการเจ็บป่วย หรือการขาดงานเป็นผลลัพธ์ในการศึกษา นอกจากนี้เรายังวิเคราะห์ผลของภาวะซึมเศร้าต่อการทำงาน

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้ทบทวนวรรณกรรม 2 คนดำเนินการอย่างอิสระต่อกัน ในการดึงข้อมูลและ ประเมินความเชื่อมั่นของหลักฐานโดยใช้ GRADE เราใช้ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยมาตรฐาน (SMD) หรืออัตราส่วนความเสี่ยง (RR) กับช่วงความเชื่อมั่น 95% (CI) เพื่อรวมผลของการศึกษาที่เราตัดสินว่ามีความคล้ายคลึงกันอย่างมาก

ผลการวิจัย

ในการทำให้เป็นปัจจุบันนี้เราได้เพิ่มการศึกษาใหม่ 23 รายการ โดยรวมแล้วเราได้รวมการศึกษา 45 รายการ ซึ่งมีกลุ่มการศึกษา 88 กลุ่ม มีผู้เข้าร่วมวิจัยที่เป็นโรคซึมเศร้าหรือมีอาการซึมเศร้าในระดับสูงทั้งหมด 12,109 คน

ความเสี่ยงของการมีอคติ

ประเภทของความเสี่ยงด้านอคติที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ อคติในการประเมินผล (detection bias) (27 การศึกษา) และ อคติในการติดตามผู้เข้าร่วมโครงการ (attrition bias) (22 การศึกษา) ซึ่งอคติทั้ง 2 อย่าง ส่งผลต่อผลลัพธ์ในการศึกษาคือ การขาดงานจากการเจ็บป่วย

การทดลองที่จัดการกับการทำงานโดยตรง

การทดลองที่จัดการกับการทำงานโดยตรงร่วมกับวิธีการทางคลินิก

การทดลองที่รวมกันระหว่างการจัดการกับที่ทำงานโดยตรงและวิธีการทางคลินิกอาจช่วยลดจำนวนวันที่ขาดงานจากการเจ็บป่วยได้ภายในปีแรกของการติดตามผล (SMD ‐0.25, 95% CI ‐0.38 ถึง ‐0.12; 9 การศึกษา หลักฐานมีความเชื่อมั่นในระดับปานกลาง) ซึ่งสามารถแปลผลกลับได้เป็นมีจำนวนวันลาป่วยน้อยลง 0.5 (95% CI ‐0.7 ถึง ‐0.2) ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาหรือน้อยลง 25 วันในช่วง 1 ปี (95% CI ‐37.5 ถึง ‐11.8) การทดลองนี้ไม่ได้ทำให้มีคนขาดงานน้อยลง หลังการติดตามผล 1 ปี (RR 1.08, 95% CI 0.64 ถึง 1.83; 2 การศึกษา, หลักฐานมีความเชื่อมั่นในระดับสูง) การทดลองนี้อาจลดอาการซึมเศร้า (SMD ‐0.25, 95% CI ‐0.49 ถึง ‐0.01; 8 การศึกษา หลักฐานมีความเชื่อมั่นในระดับต่ำ) และอาจมีผลเล็กน้อยต่อการทำงาน ภายในปีแรกของการติดตามผล (SMD ‐0.19, 95% CI ‐0.42 ถึง 0.06; 5 การศึกษา, หลักฐานมีความเชื่อมั่นในระดับปานกลาง)

ใช้การจัดการเกี่ยวกับการทำงานโดยตรงอย่างเดียว

การจัดการเกี่ยวกับการทำงานโดยเฉพาะเพียงอย่างเดียวอาจเพิ่มจำนวนวันขาดงานจากการเจ็บป่วยเมื่อเทียบกับการจัดการเกี่ยวกับการทำงานที่ทำตามปกติ (SMD 0.39, 95% CI 0.04 ถึง 0.74; 2 การศึกษา, หลักฐานมีความเชื่อมั่นในระดับต่ำ) แต่อาจไม่ได้นำไปสู่การเพิ่มจำนวนคนที่ขาดงานมากขึ้นภายในปีแรกของการติดตามผล (RR 0.93, 95% CI 0.77 ถึง 1.11; 1 การศึกษา, หลักฐานมีความเชื่อมั่นในระดับปานกลาง) หรือนานกว่านั้น (RR 1.00, 95% CI 0.82 ถึง 1.22; 2 การศึกษา, หลักฐานมีความเชื่อมั่นในระดับปานกลาง) อาจไม่มีผลต่ออาการซึมเศร้า (SMD ‐0.10, 95% ‐0.30 CI ถึง 0.10; 4 การศึกษา, หลักฐานมีความเชื่อมั่นในระดับปานกลาง) ภายในปีแรกของการติดตามผล และอาจไม่มีผลต่ออาการซึมเศร้าในระยะเวลา1 ปีขึ้นไป ( SMD 0.18, 95% CI ‐0.13 ถึง 0.49; 1 การศึกษา, หลักฐานมีความเชื่อถือได้ในระดับต่ำ) การทดลองนี้ที่มีการจัดการกับงานเพียงอย่างเดียวอาจไม่นำไปสู่การทำงานที่ดีขึ้นภายในปีแรกของการติดตามผล (SMD ‐0.32, 95% CI ‐0.90 ถึง 0.26; 1 การศึกษา, หลักฐานมีความเชื่อมั่นในระดับต่ำ)

วิธีการทางจิตวิทยา

วิธีการทางจิตวิทยา ทั้งแบบเผชิญหน้า หรือวิธีการด้านสุขภาพจิตทางอิเลคโทรนิค (E‐mental health) โดยมีหรือไม่มีคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ อาจลดจำนวนวันที่ขาดงานจากการเจ็บป่วยเมื่อเทียบกับการดูแลตามปกติ (SMD ‐0.15, 95% CI ‐0.28 ถึง ‐0.03; 9 การศึกษา, หลักฐานมีความเชื่อมั่นในระดับต่ำ) นอกจากนี้ยังอาจลดอาการซึมเศร้า (SMD ‐0.30, 95% CI ‐0.45 ถึง ‐0.15, 8 การศึกษา, หลักฐานมีความเชื่อมั่นในระดับต่ำ) เราไม่แน่ใจว่าวิธีการทางจิตวิทยาเหล่านี้ช่วยเพิ่มความสามารถในการทำงานหรือไม่ (SMD ‐0.15 95% CI ‐0.46 ถึง 0.57; 1 การศึกษา, หลักฐานมีความเชื่อถือมั่นในระดับต่ำมาก)

ใช้วิธีการบำบัดทางจิตร่วมกับยาต้านอาการซึมเศร้า

มีการศึกษา 2 รายการเปรียบเทียบผลของวิธีการบำบัดทางจิตร่วมกับยาต้านอาการซึมเศร้ากับยาต้านอาการซึมเศร้าเพียงอย่างเดียว มีการศึกษา 1 รายการ รวมการบำบัดทางจิตแบบพลวัตรร่วมกับยาต้านอาการซึมเศร้าชนิด tricyclic antidepressant (TCA) และการศึกษาอีก 1 รายการใช้การบำบัดโดยการปรับความคิดและพฤติกรรมทางโทรศัพท์ (CBT) ร่วมกับยาต้านเศร้าชนิด selective serotonin reuptake inhibitor (SSRI) เราไม่แน่ใจว่าวิธีการนี้จะช่วยลดจำนวนวันที่ขาดงานจากการเจ็บป่วยได้หรือไม่ (SMD ‐0.38, 95% CI ‐0.99 ถึง 0.24; 2 การศึกษา, หลักฐานมีความเชื่อมั่นในระดับต่ำมาก) แต่พบว่าอาจไม่มีผลต่ออาการซึมเศร้า (SMD ‐0.19, 95% CI ‐0.50 ถึง 0.12; 2 การศึกษา, หลักฐานมีความเชื่อมั่นในระดับต่ำ)

ใช้ยาต้านอาการซึมเศร้าอย่างเดียว

การศึกษา 3 รายการที่เปรียบเทียบประสิทธิภาพผลของยาต้านอาการซึมเศร้ากลุ่ม SSRI กับยาต้านอาการซึมเศร้ากลุ่ม Selective norepinephrine reuptake inhibitor (SNRI) ในการลดจำนวนวันการขาดงานจากการเจ็บป่วยพบว่าให้ผลลัพธ์ที่ไม่สอดคล้องกันอย่างมาก

การปรับปรุงคุณภาพการดูแล

โดยรวมแล้ววิธีการปรับปรุงคุณภาพการดูแลไม่ได้ทำให้จำนวนวันที่ขาดงานจากการเจ็บป่วยลดน้อยลง เมื่อเทียบกับการดูแลตามปกติ (SMD ‐0.05, 95% CI ‐0.16 ถึง 0.06; 7 การศึกษา, หลักฐานมีความเชื่อมั่นในระดับปานกลาง) อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาที่มีความเสี่ยงของการมีอคติในระดับต่ำ วิธีการดังกล่าวอาจนำไปสู่การมีจำนวนวันที่ขาดงานจากการเจ็บป่วยน้อยลงในปีแรกของการติดตามผล (SMD ‐0.20, 95% CI ‐0.35 ถึง ‐0.05; 2 การศึกษา, หลักฐานมีความเชื่อมั่นในระดับปานกลาง) การปรับปรุงคุณภาพการดูแลที่ดีขึ้นอาจทำให้อาการซึมเศร้าลดน้อยลง (SMD ‐0.21, 95% CI ‐0.35 ถึง ‐0.07; 7 การศึกษา, หลักฐานมีความเชื่อมั่นในระดับปานกลาง) แต่อาจทำให้การทำงานลดลง (SMD 0.5, 95% CI 0.34 ถึง 0.66; 1 การศึกษา, หลักฐานมีความเชื่อมั่นในระดับปานกลาง)

การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายอย่างหนักที่มีการควบคุม อาจลดจำนวนวันที่ขาดงานจากการเจ็บป่วยลง เมื่อเทียบกับการใช้วิธีการผ่อนคลาย (SMD ‐1.11; 95% CI ‐1.68 ถึง ‐0.54; 1 การศึกษา, หลักฐานมีความเชื่อมั่นในระดับต่ำ) อย่างไรก็ตาม การออกกำลังกายแบบแอโรบิคอาจไม่ได้ผลดีไปกว่าการผ่อนคลายหรือยืดกล้ามเนื้อ (SMD ‐0.06; 95% CI ‐0.36 ถึง 0.24; 2 การศึกษา, หลักฐานมีความเชื่อมั่นในระดับปานกลาง) การศึกษาทั้ง 2 รายการไม่พบความแตกต่างในการเปลี่ยนแปลงอาการซึมเศร้าจาก 2 เงื่อนไขการทดลอง

ข้อสรุปของผู้วิจัย

การรวมกันของวิธีการที่จัดการเกี่ยวกับการทำงานและวิธีการทางคลินิกอาจช่วยลดจำนวนวันขาดงานจากการเจ็บป่วยได้้ แต่เมื่อสิ้นสุดการติดตามผลที่ 1 ปีหรือนานกว่านั้นวิธีการนี้ไม่ได้ช่วยทำให้มีจำนวนคนกลับมาทำงานมากขึ้น วิธีการนี้อาจลดอาการซึมเศร้าและอาจเพิ่มการทำงานมากกว่าการดูแลตามปกติ วิธีการที่จัดการเกี่ยวกับการทำงานโดยเฉพาะอาจไม่ได้มีประสิทธิผลดีไปกว่าการดูแลตามปกติที่ทำอย่างเดียว วิธีการทางจิตใจอาจลดจำนวนวันขาดงานจากการเจ็บป่วยเมื่อเทียบกับการดูแลตามปกติ วิธีการที่ปรับปรุงการดูแลทางคลินิกอาจทำให้การขาดงานจากการป่วยลดน้อยลง และระดับอาการซึมเศร้าลดลงเมื่อเทียบกับการดูแลตามปกติ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างการรักษาด้วยยาต้านอาการซึมเศร้า พบว่า ไม่มีหลักฐานบ่งชี้ว่ามีความแตกต่างต่อผลการขาดงานจากการเจ็บป่วยระหว่างการได้รับการรักษาด้วยยาต้านอาการซึมเศร้าเศร้าที่แตกต่างกัน จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติม เพื่อประเมินว่าการรวมวิธีการจัดการเกี่ยวกับการทำงานและวิธีการทางคลินิกแบบใด จะได้ผลดีที่สุด

PICOs

PICOs

Population

    Intervention

      Comparison

        Outcome

          The PICO model is widely used and taught in evidence-based health care as a strategy for formulating questions and search strategies and for characterizing clinical studies or meta-analyses. PICO stands for four different potential components of a clinical question: Patient, Population or Problem; Intervention; Comparison; Outcome.

          See more on using PICO in the Cochrane Handbook.

          รูปแบบการบำบัดใดที่ดีที่สุดที่ช่วยให้ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้ากลับไปทำงานได้

          ภาวะซึมเศร้าคืออะไร

          ภาวะซึมเศร้าเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่พบบ่อยซึ่งอาจทำให้เกิดความรู้สึกเศร้ายาวนานและสูญเสียความสนใจในผู้อื่น การทำกิจกรรม และสิ่งต่างๆ ที่เคยสนุกสนาน คนที่มีภาวะซึมเศร้าอาจรู้สึกร้องไห้ฟูมฟาย หงุดหงิดหรือเหนื่อยเกือบตลอดเวลา และอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ สมาธิและความจำ

          ภาวะซึมเศร้าอาจส่งผลต่อความสามารถในการทำงานของบุคคล ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าอาจขาดงาน (ลาป่วย) หรือรู้สึกว่าไม่สามารถรับมือกับการทำงานได้

          การกลับไปทำงาน

          การลดอาการซึมเศร้าอาจช่วยให้คนที่มีภาวะซึมเศร้ากลับไปทำงานได้ การรักษารวมถึงการใช้ยาและการบำบัดทางจิตใจ (การพูดคุย) หรือทั้งสองอย่างร่วมกัน การเปลี่ยนแปลงในที่ทำงานอาจช่วยได้เช่น:

          การเปลี่ยนงานหรือเวลาทำงานของบุคคล

          สนับสนุนพวกเขาในการกลับไปทำงานอย่างค่อยเป็นค่อยไป หรือ

          ช่วยให้พวกเขารับมือกับสถานการณ์การทำงานบางอย่างได้ดีขึ้น

          ทำไมเราถึงทำการทบทวนวรรณกรรมนี้

          การทำงานสามารถฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจของบุคคลได้ ช่วยสร้างความมั่นใจและความภาคภูมิใจในตนเอง เปิดโอกาสให้ผู้คนเข้าสังคมและมีรายได้ เราต้องการทราบว่าการเปลี่ยนแปลงสถานที่ทำงานและโปรแกรมทางคลินิกสามารถช่วยให้ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้ากลับไปทำงานได้หรือไม่

          เราได้ทำอะไร

          เราค้นหาการศึกษาที่พิจารณาว่าการเปลี่ยนแปลงสถานที่ทำงานและโปรแกรมทางคลินิกส่งผลต่อจำนวนการลาป่วยของผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าได้หรือไม่ โปรแกรมทางคลินิกรวมถึง: ยา (ยาต้านอาการซึมเศร้า); การบำบัดทางจิตใจ การดูแลสุขภาพที่ดีขึ้นโดยแพทย์ และโปรแกรมอื่นๆ เช่นการออกกำลังกาย และการรับประทานอาหาร

          วันที่ค้นข้อมูล: เรารวบรวมหลักฐานที่เผยแพร่ถึงวันที่ 4 เมษายน 2020

          สิ่งที่เราพบ

          เราพบ 45 การศึกษา มีผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมด จำนวน 12,109 คน การศึกษาเกิดขึ้นในยุโรป (34 การศึกษา) สหรัฐอเมริกา (8) ออสเตรเลีย (2) และแคนาดา (1)

          เป็นการเปรียบเทียบระหว่างผลของ 'การดูแลตามปกติ' กับการเปลี่ยนแปลงในสถานที่ทำงานและโปรแกรมทางคลินิกเพื่อค้นหา:

          คนที่มีภาวะซึมเศร้าลาป่วยกี่วัน

          คนที่มีภาวะซึมเศร้าขาดงานกี่วัน

          อาการซึมเศร้าของคนที่มีภาวะซึมเศร้า และ

          ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าสามารถรับมือกับงานของตนได้ดีเพียงใด

          ผลลัพธ์ของการทบทวนวรรณกรรม

          ผลการวิจัยหลักของเราภายในปีแรกของการติดตามผล สำหรับกลุ่มที่มีการเปลี่ยนแปลงในสถานที่ทำงานหรือการรักษา เมื่อเปรียบเทียบกับการดูแลตามปกติมีดังต่อไปนี้

          การเปลี่ยนแปลงสถานที่ทำงานร่วมกับโปรแกรมทางคลินิก:

          อาจลดจำนวนวันในการลาป่วย (โดยเฉลี่ย 25 วันสำหรับแต่ละคนในช่วงหนึ่งปี 9 การศึกษา; มีผู้เข้าร่วมวิจัย 1292 คน);

          ไม่สามารถลดจำนวนคนที่ขาดงาน (2 การศึกษา; ผู้เข้าร่วม 1025 คน);

          อาจลดอาการซึมเศร้าลงได้ (8 การศึกษา; ผู้เข้าร่วม 1,091 คน); และ

          อาจเพิ่มความสามารถในการรับมือกับงาน (5 การศึกษา; ผู้เข้าร่วม 926 คน)

          การเปลี่ยนแปลงสถานที่ทำงานเพียงอย่างเดียว:

          อาจเพิ่มจำนวนวันในการลาป่วย (2 การศึกษา; ผู้เข้าร่วม 130 คน)

          อาจไม่ได้ทำให้คนขาดงานมากขึ้น (1 การศึกษา; ผู้เข้าร่วม 226 คน);

          อาจไม่ได้มีผลต่ออาการซึมเศร้า (4 การศึกษา; ผู้เข้าร่วม 390 คน); และ

          อาจไม่ได้เพิ่มความสามารถในการรับมือกับงาน (1 การศึกษา; ผู้เข้าร่วม 48 คน)

          การใช้วิธีการเพิ่มการดูแลสุขภาพเพียงอย่างเดียว:

          อาจลดจำนวนวันในการลาป่วยลงได้ 20 วัน (ใน 2 การศึกษาที่ดำเนินการอย่างดีมีผู้เข้าร่วม 692 คน อย่างไรก็ตามไม่ใช่ในทั้งหมด 7 การศึกษา ผู้เข้าร่วม 1912 คน)

          อาจลดอาการซึมเศร้าลงได้ (7 การศึกษา; ผู้เข้าร่วม 1808 คน); และ

          อาจลดความสามารถในการรับมือกับงาน (1 การศึกษา; ผู้เข้าร่วม 604 คน)

          การทำจิตบำบัดเพียงอย่างเดียว:

          อาจสามารถลดจำนวนคนที่ขาดงานใน 15 วัน (9 การศึกษา; ผู้เข้าร่วม 1649 คน); และ

          อาจลดอาการซึมเศร้าลงได้ (8 การศึกษา; ผู้เข้าร่วม 1255 คน); และ

          เราไม่แน่ใจว่าการบำบัดทางจิตเพียงอย่างเดียวจะส่งผลต่อความสามารถในการรับมือกับงานของผู้ป่วยหรือไม่ (1 การศึกษา; ผู้เข้าร่วม 58 คน)

          ความน่าเชื่อถือจากผลของการศึกษานี้เป็นอย่างไร

          ความเชื่อถือได้ในผลลัพธ์เหล่านี้ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางถึงต่ำ ข้อค้นพบบางอย่างมาจากการศึกษาจำนวนน้อยและมีผู้เข้าร่วมจำนวนน้อย นอกจากนี้เรายังพบข้อจำกัด ในวิธีการออกแบบการวิจัย การเก็บข้อมูล และการรายงานผลการศึกษา

          ใจความสำคัญ

          การรวมการเปลี่ยนแปลงสถานที่ทำงานเข้ากับโปรแกรมทางคลินิก อาจช่วยให้ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้ากลับไปทำงานได้เร็วขึ้นและลดจำนวนวันลาป่วยน้อยลง เราต้องการหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อประเมินว่าการเปลี่ยนแปลงสถานที่ทำงานร่วมกับโปรแกรมทางคลินิกรูปแบบใดที่ได้ผลดีที่สุด

          การเพิ่มคุณภาพการดูแลทางสุขภาพอาจจะช่วยให้ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้ามีจำนวนวันลาป่วยน้อยลง