วิจัย การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ทางการ ศึกษา

ชื่อเรื่อง:

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

ชื่อเรื่องอื่นๆ:

Human resource management case study of Suratthani Rajabhat University

ผู้แต่ง:

กิตติ มีลำเอียง

ผู้ควบคุมงานวิจัย:

กิตติ บุนนาค

ชื่อปริญญา:

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

ระดับปริญญา:

Master's

คณะ/หน่วยงาน:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

วันที่เผยแพร่:

2557

ตัวระบุวัตถุจิจิทัล (ดีโอไอ):

10.14457/NIDA.the.2014.56

หน่วยงานที่เผยแพร่:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี 2) ศึกษาระดับทัศนคติของบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานีที่มีต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการ บริหารทรัพยากรมนุษย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ซึ่งการศึกษามีมหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานีเป็นหน่วยในการวิเคราะห์ โดยผู้วิจัยจะใช้การศึกษาแบบผสมผสานระหว่างการวิจัย เชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) จะใช้การวิจัยเชิง สำรวจ(Survey Research) โดยการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือหลักในการเก็บข้อมูลจากกลุ่ม ตัวอย่างที่เป็นบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนจำนวน 412 ตัวอย่าง ส่วนการวิจัยเชิง คุณภาพ (Qualitative Research) จะใช้การสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้างเพื่อเก็บข้อมูลจากบุคคลที่ เกี่ยวข้องจำนวน 5 คน และทำการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) เพื่อใช้ในการยืนยันข้อมูลที่ ได้จากการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ และเพื่อให้สามารถอธิบายคำตอบตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ ได้กำหนดไว้
ผลการศึกษาสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนคือ 1) ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า การ บริหารทรัพยากรมนุษย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ส่วนการ ได้มาซึ่งบุคลากรภายในองค์การจะยึดหลักความรู้ความสามารถ และประสบการณ์เป็นสำคัญ และ การพัฒนาบุคลากรภายในองค์การจะเน้นการฝึกอบรม โดยโปรแกรมการฝึกอบรมส่วนใหญ่จะมี เฉพาะบุคลากรที่อยู่ในระดับบริหารเท่านั้น การจูงใจบุคลากรภายในองค์การใช้การจูงใจแบบ ค่าตอบแทนโดยการให้เงินทุนในการศึกษาต่อ ส่วนการธำรงรักษาบุคลากรองค์การมีกระบวนการ ลงโทษและการบริหารค่าตอบแทนที่มีความเป็นธรรม 2) ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า กลุ่มตัวอย่าง มีทัศนคติต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีอยู่ในระดับมากเมื่อ พิจารณาในแต่ละด้านจะพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติต่อด้านการได้มาซึ่งบุคลากรมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการธำรงรักษาบุคลากร และกลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติต่อการ จูงใจบุคลากรน้อยที่สุด และจากการทดสอบทางสถิติพบว่า เพศ อายุ ประสบการณ์ในการทำงาน และสาเหตุในการเข้ามาทำงานในองค์การของบุคลากรที่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติด้านการบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ ส่วนประเภทของบุคลากร รายได้ ระดับการศึกษา และสถานภาพของบุคลากรไม่ มีผลต่อทัศนคติด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ นอกจากนั้น ปัญหาที่พบจากการบริหารทรัพยากร มนุษย์ที่ผู้บริหารต้องรีบแก้ไขคือ ช่องว่างของสถานะทางสังคมระหว่างบุคลากรตามสัญญาจ้างและ พนักงานมหาวิทยาลัยและการขาดกฎระเบียบกลางในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือ 1) องค์การควรมีนโยบาย ที่ลดความแตกต่างระหว่างสถานะของบุคลากร 2) องค์การควรมีนโยบายเกี�����ยวกับการส่งเสริมให้ บุคลากรมีความก้าวหน้าในสายงานของตนเองที่มีความหลากหลาย ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติสำหรับการพัฒนาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือ 1) องค์การควรมี การจัดทำแผนเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในระยะยาว 2) องค์การควรมีการวิจัยเพื่อพัฒนา คุณภาพบุคลากรที่อยู่ให้มีศักยภาพสูงสุด

รายละเอียดเพิ่มเติม:

วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557

หัวเรื่องมาตรฐาน:

การบริหารงานบุคคล

ประเภททรัพยากร:

วิทยานิพนธ์

ความยาว:

276 แผ่น

ชนิดของสื่อ:

Text

รูปแบบแฟ้มข้อมูล:

application/pdf

ภาษา:

tha

สิทธิในการใช้งาน:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4655