ข้อ ควร ปรับปรุง ใน การ ทํา งาน

สำหรับน้องๆ ที่พึ่งเรียนจบใหม่ ก้าวแรกในการเริ่มต้นทำงานถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง นอกจาก Skill หรือทักษะในวิชาชีพของตนเองแล้ว ยังมีทักษะอีก 6 ด้านที่จะทำให้การทำงานของเรานั้นโดดเด่นไม่แพ้ใครในองค์กร ทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจของตนเองในฐานะผู้ประกอบการได้เช่นกัน ทักษะที่ว่านั้น ได้แก่

ข้อ ควร ปรับปรุง ใน การ ทํา งาน

1. การบริหารจัดการตนเอง (Self-Management)

การบริหารจัดการตนเองที่มีประสิทธิภาพเริ่มต้นจากความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence) คือ การที่เราสามารถทำความเข้าใจความคิด ความรู้สึกของตนเองและจัดการกับความคิดและความรู้สึกดังกล่าวได้อย่างสร้างสรรค์และมีความสุขในการดำเนินชีวิต การรู้จักความฉลาดทางอารมณ์ยังช่วยให้บุคคลสามารถพัฒนาและใช้ศักยภาพของตนเองในการทำงานและการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม ตัวอย่างลักษณะของความฉลาดทางอารมณ์ ได้แก่

  • สามารถปรับตัวให้มีความยืดหยุ่นและเต็มใจที่จะปรับตนเองเมื่อเข้าสู่เงื่อนไขใหม่ๆ ในชีวิต 
  • มีความตรงไปตรงมา ซื่อสัตย์ พร้อมที่จะยืนหยัดในสิทธิของตนเองและความถูกต้อง
  • สามารถรับรู้อารมณ์ เข้าใจความรู้สึกของตนเองและผู้อื่นได้อย่างชัดเจน
  • สามารถจัดการอารมณ์หรือรับมือกับความรู้สึกของตนเองและของผู้อื่น
  • สามารถแสดงออกทางอารมณ์ สื่อสารความรู้สึกของตนเองที่มีต่อผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
  • สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ ลดความหุนหันพลันแล่น
  • สามารถจัดการกับความเครียดของตนเองได้  เป็นต้น

นอกจากความฉลาดทางอารมณ์แล้วการรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility) ก็เป็นค่านิยมพื้นฐานในการบริหารจัดการตนเอง เพราะจะช่วยบ่มเพาะความคิดและพฤติกรรมของตนเองให้ตระหนักถึงปัญหาของส่วนรวมและทำตนให้เป็นประโยช์ต่อสังคมในฐานะที่เราเป็นส่วนหนึ่งของสังคมนั้นๆ ไม่ว่าน้องๆ จะอยู่ในฐานะพนักงานขององค์กรหรือผู้ประกอบการเองก็ตาม

ข้อ ควร ปรับปรุง ใน การ ทํา งาน

2. การบริหารความสัมพันธ์ (Relationship Management)

ในการทำงานนั้นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงานและเครือข่ายในสายอาชีพเดียวกันถือว่ามีความสำคัญมากเพราะเพื่อนร่วมงานที่อยู่ในองค์กรมาก่อนสามารถแบ่งปันประสบการณ์ ความรู้ที่ตรงกับสิ่งที่เราจะต้องทำ เราสามารถปรึกษา เรียนรู้วิธีการทำงานที่จะช่วยให้งานประสบความสำเร็จและขอความช่วยเหลือเมื่อเกิดปัญหาขึ้นได้ 

สิ่งที่เป็นแนวคิดพื้นฐานในการบริหารความสัมพันธ์ ได้แก่ การบริหารความหลากหลาย (Diversity Management) ผู้คนมีความหลากหลายในมิติที่แตกต่างกัน เช่น สัญชาติ ภาษา อายุ เพศ สถานภาพการสมรส ความพิการ ภูมิหลังการศึกษา ค่านิยม ศาสนา และภูมิหลังการทำงาน  เป็นต้น การรับรู้ว่ามีความหลากหลายในองค์กรที่เราทำงานจะทำให้เราเข้าใจความคิดและพฤติกรรมของผู้คนในองค์กรทำให้มีโอกาสในการสร้างความสัมพันธ์อันดีได้ง่ายขึ้นและสิ่งสำคัญสุดๆ ที่อยากฝากไว้ คือคำว่า “ใจเขาใจเรา” หรือ “To put yourself in someone’s shoes” กล่าวคือ เราต้องฝึกมองเหตุการณ์เดียวกันในมุมมองของคนอื่นดูบ้างเพื่อเราจะได้เข้าใจกันมากขึ้น 

ในมุมของการเป็นเจ้าของธุรกิจ การประยุกต์ใช้ทักษะการบริหารความสัมพันธ์สามารถเป็นปัจจัยตัดสินความสำเร็จและความล้มเหลวของธุรกิจได้ เช่น การสร้างและรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า คู่ค้า และพนักงาน เป็นต้น

ข้อ ควร ปรับปรุง ใน การ ทํา งาน

3. การแก้ปัญหาเชิงระบบ (Systematic Problem Solving)

ในการทำงานนั้นเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงที่จะต้องเผชิญกับปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนั้นทักษะการแก้ปัญหาเชิงระบบ จะทำให้เรามองปัญหาออกและแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ 

การฝึกคิดอย่างเป็นระบบจะนำไปสู่ทางออกของปัญหาได้ ซึ่งกระบวนการในการฝึกให้คิดอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

  • ระบุปัญหาที่แท้จริง คือ การระบุเหตุการณ์หรือสถานการณ์ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จริงหรือที่เราคิดว่าเป็นปัญหา โดยบรรยายเหตุการณ์ตามความเข้าใจ และพยายามมองในแง่มุมที่แตกต่างกัน นอกจากนี้อาจใช้การตั้งคำถามเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นๆเพื่อให้สามารถเข้าใจและระบุปัญหาที่แท้จริงได้แม่นยำยิ่งขึ้น
  • ทำความเข้าใจกับเหตุการณ์และระบุสาเหตุ คือ การทำความเข้าใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ ต้องทำเข้าใจความเป็นมาเป็นไปของเหตุการณ์ โดยการเก็บข้อมูลที่ผ่านมา นำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาเขียนความสัมพันธ์ในรูป แผนผัง หรือรูปภาพที่เชื่อมโยงเหตุการณ์ต่างๆ เข้ากับสาเหตุ อาจทำให้เราเห็นว่ามีสาเหตุหลายอย่างที่ทำให้เกิดปัญหา
  • หาวิธีการแก้ปัญหาที่เป็นไปได้มากที่สุด คือ การคิดหาว่ามีวิธีการใดบ้างที่ใช้ได้ในการแก้ปัญหานี้ เรียงลำดับจากวิธีที่เป็นไปได้มากที่สุดจนถึงน้อยที่สุด เลือกวิธีการที่จะใช้แก้ปัญหาแล้วจัดทำขั้นตอนการดำเนินงานเพื่อให้ไปถึงเป้าหมาย โดยคำนึงถึงกำลังความสามารถของบุคคล เวลา ทรัพยากร และงบประมาณ 
  • ปฏิบัติตามขั้นตอนตามแผนที่ใช้แก้ปัญหา คือ ทำตามที่เราได้วางแผนไว้ หากเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับหลายภาคส่วนควรสร้างความเข้าใจร่วมกันและสร้างความร่วมมือให้เกิดขึ้นจึงจะดำเนินงานตามแผนได้อย่างราบรื่น
  • ประเมินผลการแก้ปัญหา คือ การมองหาจุดบกพร่องที่เกิดขึ้นในกระบวนการแก้ปัญหาของเราและปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น เช่น ลดเวลา ควบคุมงบประมาณ หรือประเมินกำลังคนที่ใช้เพื่อให้ได้งานออกมาอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

ข้อ ควร ปรับปรุง ใน การ ทํา งาน

4. การมีภาวะผู้นำ (Leadership)

ภาวะผู้นำเป็นส่วนผสมของทักษะหลายๆ อย่างร่วมกัน รวมถึงประสบการณ์ที่เราได้เรียนรู้จากการทำงานจริง เช่น การทำกิจกรรมในมหาวิทยาลัย การออกค่ายอาสา การร่วมกิจกรรมกับองค์กรต่างๆ เป็นต้น คุณลักษณะของผู้นำที่ดีเริ่มต้นจากการที่เราสามารถจัดการกับตัวเองได้อย่างลงตัว มีความมั่นใจในตนเอง มีทัศนคติที่ดี ตัดสินใจได้ดี กล้ายอมรับทั้งความผิดพลาดและคำชื่นชม มองเห็นคุณค่าในตัวเองและมีวินัยในตนเองจนสามารถเป็นตัวอย่างที่ดีได้ มีความยืดหยุ่นเห็นอกเห็นใจผู้อื่น สามารถสร้างแรงบันดาลใจ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมทีม สื่อสารกับทีมอยู่เสมอ แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นไปสู้เป้าหมาย เป็นผู้นำด้วยหัวใจและสมอง มีศิลปะในการจูงใจผู้อื่นให้ร่วมงานเพื่อให้สำเร็จตามความมุ่งหมายที่ต้องการ 

ข้อ ควร ปรับปรุง ใน การ ทํา งาน

5. การบริหารความเปลี่ยนแปลง (Change Management)

การเปลี่ยนแปลงอาจนำมาซึ่งปัญหาใหม่ๆ หรือโอกาสในชีวิตที่เพิ่มมากขึ้น เช่น การตกงาน  การย้ายงาน การเลื่อนตำแหน่ง หรือแม้แต่เพื่อนร่วมงานลาออกก็ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน ดังนั้น การบริหารความเปลี่ยนแปลง (Change Management) จึงต้องอาศัยความสามารถในการใช้ความรู้ ทักษะและความเข้าใจที่มีอยู่ เพื่อจัดการกับสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย โดยกระบวนการแก้ปัญหาเริ่มต้นจากการเผชิญกับปัญหาและยุติลงเมื่อได้คำตอบที่บรรลุวัตถุประสงค์ 

การที่เราพบเจอกับการเปลี่ยนแปลงหรือความท้าทายใหม่ๆ แล้วสามารถใช้ความรู้ ความคิดหรือประสบการณ์เดิมที่มีมาประยุกต์ใช้ในการคิดพิจารณาไตร่ตรองเพื่อตัดสินใจหาทางเลือกหรือแนวทางการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมที่สุดอย่างทันท่วงทีจะช่วยลดผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นกับงาน กับครอบครัว หรือกับตนเองได้ ทั้งยังช่วยให้พร้อมรับโอกาสใหม่ๆ ที่จะเข้ามาหลังการเปลี่ยนแปลงนั้นได้อย่างดี อีกทั้ง การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เช่น การอ่าน การฟัง การอบรม การฝึกงาน จะทำให้เราเข้าใจจุดแข็ง จุดอ่อนของตนเอง ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแนวคิดพฤติกรรม เพื่อให้ตนเองมีบุคลิก อุปนิสัย อารมณ์ ความรอบรู้ ทักษะ ที่จะช่วยให้เรานั้นใช้ชีวิตและทำงานได้อย่างมีคุณภาพ พร้อมรับทุกสถานการณ์ที่จะเข้ามาในชีวิต

ข้อ ควร ปรับปรุง ใน การ ทํา งาน

6. การบริหารดิจิตอล (Digital Management)

ทักษะการบริหารดิจิตอลมีองค์ประกอบ 2 อย่าง ได้แก่

การบริหารข้อมูล (Information Management)

การรู้สารสนเทศ (Information literacy) เป็นทักษะและความรู้ที่ช่วยให้เราค้นหาและประเมินคุณค่าของข้อมูลต่างๆ ทั้งในชีวิตประจำวัน และในการทำงาน เพื่อให้เราสามารถใช้ข้อมูลที่เราต้องการได้อย่างมีประโยชน์สูงสุดและสามารถคัดแยกข้อมูลที่เราไม่ต้องการได้เป็นอย่างดี 

การรู้สารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้เราประสบความสำเร็จในการคาดการณ์สิ่งต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต แบ่งออกได้เป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ 

  • การประเมินวัตถุประสงค์ในการใช้ข้อมูล เช่น เพื่อเพิ่มความรู้ความสามารถ เพื่อใช้ในการแก้ปัญหา หรือเพื่อใช้ในการตัดสินใจบางอย่าง เป็นต้น
  • การหาแหล่งข้อมูลที่เป็นไปได้และน่าเชื่อถือที่สุด ต้องรู้ว่าเราจะสามารถหาข้อมูลได้จากไหนจึงจะได้ข้อมูลที่ครบถ้วนและน่าเชื่อถือ เช่น หนังสือ เว็บไซต์ หรือสอบถามจากผู้รู้
  • การเข้าถึงแหล่งข้อมูลและการค้นหาข้อมูลในแหล่งข้อมูลที่เราเลือกไว้ เช่น การนัดสัมภาษณ์
  • การวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล ประเมินคุณค่าของข้อมูลที่ได้มาว่าข้อมูลใดเป็นประโยชน์และสามารถนำมาใช้ได้จริง
  • การใช้ข้อมูลที่ได้มาตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ จัดเรียงข้อมูลที่จะต้องใช้อย่างเป็นระบบ และนำเสนอในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ก็จะช่วยให้เราบรรลุวัตถุประสงค์ในการใช้ข้อมูลได้ง่ายขึ้น เช่น หลังจากได้ข้อมูลแล้วสามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง

การบริหารเทคโนโลยี (Technology Management)

เทคโนโลยีได้ก้าวเข้ามาเป็นปัจจัยสำคัญในการทำงานโดยเฉพาะในศตวรรษที่ 21 ที่เทคโนโลยีต่างๆ ถูกพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เราจะต้องสามารถทำความเข้าใจ ปรับประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับงานและชีวิตประจำวันของตนเองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม พร้อมต่อการพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีที่สูงขึ้นไป 

ทักษะคือสิ่งที่เราต้องฝึกฝนอยู่เป็นประจำเพื่อให้เกิดความชำนาญและใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หวังว่าทักษะทั้ง 6 ด้าน ที่สำนักบริหารกิจการนิสิตหยิบยกมาฝากนี้ จะช่วยให้น้องๆ ก้าวเข้าสู่ชีวิตการทำงานได้อย่างมั่นใจ สามารถบริหารจัดการชีวิตได้อย่างลงตัวและมีความสุข

ข้อ ควร ปรับปรุง ใน การ ทํา งาน

สำหรับน้องที่ยังไม่สำเร็จการศึกษาและอยากพัฒนาทักษะทั้ง 6 ด้านที่กล่าวมานี้ สำนักบริหารกิจการนิสิตได้จัดทำรายวิชา GENED ที่นำกิจกรรมมาประยุกต์ใช้ในการช่วยพัฒนาทักษะทั้ง 6 ด้าน ทั้งนี้ น้องๆ ยังสามารถประเมินทักษะของตนเองและรับแนวทางการพัฒนาทักษะต่างๆ ได้จาก Application : New CU CUDSON – Discover the best of yourself เร็วๆ นี้ ที่ CU NEX