ลงทะเบียนปรับโครงสร้างหนี้

ข่าวประชาสัมพันธ์

17 มิถุนายน 2565

ลงทะเบียนปรับโครงสร้างหนี้

ลงทะเบียนปรับโครงสร้างหนี้

ธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) จัดทำ “มาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้อย่างยั่งยืน เฟส 2” ช่วยเหลือลูกค้าที่อยู่ในมาตรการที่ 18 และ 19 และยังได้รับผลกระทบด้านรายได้จาก COVID-19 สามารถขยายระยะเวลาความช่วยเหลือต่อเนื่องตั้งแต่ 1 กรกฎาคม - 31 ธันวาคม 2565 ประกอบด้วย มาตรการที่ 18 [M18]  : สำหรับลูกค้ารายย่อยที่มีสถานะบัญชีปกติ รองรับลูกค้าเดิมที่อยู่ระหว่างใช้มาตรการที่ 18 ซึ่งจะสิ้นสุดระยะเวลาความช่วยเหลือวันที่ 30 มิถุนายน 2565 และยังไม่สามารถผ่อนชำระหนี้ให้กับธนาคารได้ตามสัญญากู้เงิน สามารถเลือกแบ่งจ่ายเงินงวดผ่อนชำระ [ตัดเงินต้น ตัดดอกเบี้ย] เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 75% ของเงินงวดผ่อนชำระตามสัญญากู้เงิน และลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากผลิตภัณฑ์สินเชื่อ/ประกาศที่ผู้กู้ใช้อยู่ลงอีก 0.25%-0.50% ต่อปี ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ผ่าน Application : GHB ALL หรือ GHB Buddy บน Application Line หรือ www.ghbank.co.th หรือ สาขาทั่วประเทศ จนถึงวันที่ 24 มิถุนายน 2565 และ มาตรการที่ 19 [M19] : สำหรับลูกค้าผู้ประกอบการสินเชื่ออพาร์ทเม้นท์ รองรับลูกค้าเดิมที่อยู่ระหว่างใช้มาตรการที่ 19 เลือกแบ่งจ่ายเงินงวดผ่อนชำระ [ตัดเงินต้น ตัดดอกเบี้ย] เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 70% ของเงินงวดผ่อนชำระปกติตามสัญญากู้เงิน และลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากผลิตภัณฑ์สินเชื่อตามสัญญากู้เงินลงอีก 0.25% ต่อปี ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ที่ ธอส. สำนักงานใหญ่และสาขาทั่วประเทศถึง 30 มิถุนายน 2565 สอบถามรายละเอียดที่ GHBank Call Center โทร 0-2645-9000 และ Facebook Fanpage ธนาคารอาคารสงเคราะห์  

ฝ่ายสื่อสารองค์กร
17 มิถุนายน 2565

ลงทะเบียนปรับโครงสร้างหนี้

1. ใครสามารถเข้าร่วมโครงการได้

  • ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจมาอย่างต่อเนื่อง

 

2. หากลูกค้าเคยเข้าร่วมโครงการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจมาแล้วก่อนหน้านี้ และต่อมามีความประสงค์ต้องการขอเข้าร่วมหรือเปลี่ยนแปลงเป็นโครงการตามมาตรการแก้หนี้อย่างยั่งยืนได้หรือไม่

  • ลูกค้าสามารถยื่นคำร้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงได้ผ่านช่องทาง WWW.KRUNGSRI.COM หรือโทร 1572

 

3. ระยะเวลาของมาตรการแก้หนี้อย่างยั่งยืน

  • เริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป

 

4. หากลูกค้าเข้าร่วมโครงการจะมีผลกับการรายงานข้อมูลเครดิตบูโรของลูกค้าหรือไม่

  • ไม่มีผลใดๆ ต่อการรายงานข้อมูลการใช้สินเชื่อที่ส่งรายงานให้กับบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (ข้อมูลเครดิตบูโร)

 

5. ในขณะที่ชะลอการชำระค่างวด ดอกเบี้ย ยังคงเกิดขึ้นหรือไม่

  • ดอกเบี้ยยังคงเกิดขึ้น และคำนวณดอกเบี้ยเป็นรายวันตามปกติ เพียงแต่ชะลอการเรียกเก็บเท่านั้น

 

6. ดอกเบี้ยและเงินต้นในช่วงที่ลูกค้าเข้าร่วมโครงการที่มีการชะลอการชำระจะมีการเรียกเก็บในงวดใด และเป็นยอดประมาณเท่าไร

  • ดอกเบี้ยที่คำนวณจากเงินต้นนับจากวันที่ชะลอการชำระ จะไปรอเรียกเก็บในงวดสุดท้ายของสัญญา หรืองวดสุดท้ายที่ลูกค้าชำระปิดบัญชี กรณีปิดก่อนครบกำหนดเฉพาะสำหรับสินเชื่อบุคคล ลูกค้าสามารถแจ้งความประสงค์ขอผ่อนจ่ายดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นในช่วงที่ชะลอการชำระหนี้ได้ โดยธนาคารจะพิจารณาตามความเหมาะสมของลูกค้าแต่ละราย ตามเกณฑ์ภายในของธนาคาร

    ทั้งนี้หากกรณีที่ลูกค้ามีการผ่อนชำระเกินกว่าค่างวดที่เรียกเก็บ ส่วนเกินดังกล่าวจะนำไปหักชำระดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นในช่วงที่ได้รับการผ่อนผัน ซึ่งถือเป็นดอกเบี้ยค้างชำระ ที่ลูกค้ามีภาระผูกพันธ์ต้องชำระให้เสร็จสิ้นก่อน หากมีเงินเหลือจึงจะนำไปตัดชำระเงินต้น ตามลำดับ

 

7. กรณีลูกค้าเข้าร่วมโครงการการชะลอการชำระหนี้ดอกเบี้ยและเงินต้นตามระยะเวลาที่ตกลงกับธนาคาร ลูกค้าสามารถขอขยายระยะเวลาการสิ้นสุดสัญญาออกไปได้หรือไม่

  • สามารถขอขยายระยะเวลาของสัญญาได้ ตามความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ ซึ่งจะได้มีการตกลงเป็นรายกรณีไป

 

8. หากลูกค้าตอบรับการเข้าร่วมโครงการแล้ว ในระหว่างการเข้าร่วมลูกค้าสามารถชำระค่างวดตามปกติได้หรือไม่

  • ลูกค้าสามารถชำระค่างวดได้ตามปกติ ทางธนาคารจะนำเงินดังกล่าวมาตัดชำระ ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย/ค่าธรรมเนียม (ถ้ามี) ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นในช่วงที่ได้รับการผ่อนผัน และเงินต้นตามลำดับ

 

9. หากเข้าร่วมโปรแกรมไปแล้วต้องการยกเลิก ต้องดำเนินการอย่างไร

  • ลูกค้ากรอกแบบฟอร์ม "การขอยกเลิกการเข้าร่วมโครงการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ" พร้อมแนบไฟล์สำเนาบัตรประชาชน เพื่อใช้เป็นเอกสารในการดำเนินการ หรือลูกค้าสามารถโทร 1572 หรือประสานงานกับเจ้าหน้าที่สินเชื่อที่เป็นผู้ดูแลท่าน แจ้งความจำนงพร้อมส่งสำเนาบัตรประชาชนที่ระบุข้อความว่า "การขอยกเลิกการเข้าร่วมโครงการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ"
    ยกเว้น หากได้รับอนุมัติและทำสัญญาตามมาตรการการให้ความช่วยเหลือในโปรแกรมดังต่อไปนี้
    - โปรแกรมเปลี่ยนสินเชื่อผ่อนชำระแบบขั้นต่ำเป็นสินเชื่อผ่อนชำระแบบรายงวด และ/หรือ
    - โปรแกรมแบ่งผ่อนชำระดอกเบี้ยคงค้างเป็นแบบรายงวด
    จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงโปรแกรมการให้ความช่วยเหลือไปเป็นแบบอื่น หรือกลับไปใช้เงื่อนไขการผ่อนชำระแบบเดิมได้ ทั้งนี้ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาการเปลี่ยนแปลงมาตรการการให้ความช่วยเหลือตามเงื่อนไขภายในของธนาคาร

 

10. ลูกค้าที่เข้าร่วมโปรแกรมจะได้รับใบแจ้งหนี้ตามปกติหรือไม่

  • ได้รับใบแจ้งหนี้ตามปกติ
    ยกเว้นกรณีพักชำระหนี้ ธนาคารจะจัดส่งจดหมายแจ้งยอดเงินต้น และดอกเบี้ยสะสมในช่วงเวลาที่พักชำระหนี้ให้ท่านทราบแทนใบแจ้งหนี้ เมื่อพ้นระยะเวลาพักชำระหนี้แล้ว ธนาคารจะจัดส่งใบแจ้งหนี้ให้ตามเดิม ซึ่งจะมีแจ้งสรุปยอดดอกเบี้ยพักชำระคงค้างให้ทราบในท้ายเอกสาร

 

11. กรณีลูกค้าที่สมัครบริการหักชำระค่างวดอัตโนมัติ (auto debit) ไว้ ธนาคารจะยังหักเงินตามปกติหรือไม่ในช่วงที่เข้าโปรแกรม

  • ธนาคารดำเนินการหักชำระค่างวดตามปกติ

 

12. เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการผ่อนผันแล้ว หากลูกค้ายังไม่สามารถกลับมาผ่อนชำระได้เหมือนเดิม ทางธนาคารมีมาตรการอื่น ๆ หรือไม่

  • ปัจจุบันธนาคารมีมาตรการช่วยเหลือตามที่ลูกค้าแต่ละท่านได้รับไป ทั้งนี้ หากธนาคารมีมาตรการอื่น ๆ เพิ่มเติมจะประกาศให้ทราบต่อไป

 

13. ในระหว่างชะลอการชำระหนี้ ลูกค้าสินเชื่อส่วนบุคคลยังสามารถเบิกถอนเงินสดจากบัตรกดเงินสดได้ตามปกติหรือไม่

  • เพื่อไม่เป็นการเพิ่มภาระหนี้ให้กับลูกค้า ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในระงับวงเงินเบิกถอนเงินสดจากบัตรกดเงินของลูกค้าเป็นการชั่วคราว การคืนวงเงินเบิกถอนเงินสดจะเป็นไปตามเงื่อนไขภายในของธนาคาร

 

14. การเข้าร่วมมาตรการแก้หนี้อย่างยั่งยืน มีค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียมใดหรือไม่

  • ลูกค้าสามารถร้องขอในการเข้าร่วมมาตรการโดยไม่มีค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียมใดๆ

 

15. ลูกค้าสามารถศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารจัดการหนี้เพิ่มเติมตามมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท) เพิ่มเติมได้จากที่ใดบ้าง

  • ลูกค้าสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ โครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน ของ ธปท.

 

16. หากลูกค้าสนใจในการเข้าร่วมโครงการฯดังกล่าว ลูกค้าสามารถสมัครผ่านช่องทางใด

  • ลูกค้าสามารถสมัครผ่าน www.krungsri.com หรือ สอบถามรายละเอียดได้ที่ Krungsri Call Center 1572 หรือแจ้งความประสงค์ผ่านเจ้าหน้าที่ที่ดูแลบัญชีสินเชื่อของท่านได้