ลด การ ทํา งาน ของ ต่อ ม ไขมัน

แบคทีเรีย P.acne ที่เป็นต้นเหตุแห่งสิวเกิดขึ้นได้อย่างไร

ตัวการหลักเลยก็คือ ฮอร์โมน เมื่อคุณมีความเครียด หรืออยู่ในช่วงเข้าสู่วัยหนุ่มสาว หรือกำลังมีประจำเดือน ร่างกายของคุณจะผลิตฮอร์โมนในปริมาณที่มากขึ้น ซึ่งนั่นก็อาจจะก่อให้เกิดการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย P.acne แต่กลไกทางพันธุกรรมก็อาจจะเป็นส่วนที่ก่อให้เกิดปัญหาสิวของคุณได้อีกทางหนึ่ง กล่าวคือ ถ้าพ่อแม่เคยเป็นสิว คุณก็อาจจะเป็นด้วยเช่นกัน

แบคทีเรีย P.acne เกิดจากการที่ไม่ได้ทำความสะอาดใช่หรือไม่

ไม่ใช่อย่างแน่นอน การไม่ได้ล้างหน้าอาจไม่ใช่ต้นเหตุของปัญหาสิว โดยส่วนใหญ่เวลาที่เป็นสิว เราก็จะพุ่งความสนใจไปที่การทำความสะอาดและบำรุงผิวเป็นหลัก สุดท้ายแล้วอาจจะกลายเป็นว่าเรากำลังทำร้ายผิวเพิ่มมากขึ้นโดยไม่รู้ตัว เพราะจริงๆ แล้วการล้างหน้าเพื่อชำระล้างความมันส่วนเกินและสิ่งสกปรกที่อุดตันรูขุมขนนั้นอาจจะช่วยป้องกันการเกิดสิวได้ แต่ในขณะเดียวกันการล้างหน้าที่มากจนเกินไปก็อาจจะก่อให้เกิดสิวขึ้นได้เช่นกัน

จริงหรือไม่ที่การล้างหน้าจะช่วยลดปัญหาสิวแต่การล้างหน้าที่มากเกินไปกลับทำให้เกิดสิวได้

คำตอบคือ จริง การล้างหน้าด้วยผลิตภัณฑ์ล้างหน้าที่เหมาะสมจะช่วยคุณจัดการกับปัญหาสิวได้ แต่การล้างหน้ามากจนเกินไปก็อาจจะก่อให้เกิดสิวได้เช่นกัน นั่นก็เป็นเพราะว่า คุณได้ล้างไขมันตามธรรมชาติบนใบหน้าของคุณออกไปด้วยหากคุณล้างหน้าบ่อยเกินไป ซึ่งถือเป็นการกระตุ้นให้ต่อมไขมันผลิตไขมันเพิ่มขึ้นมาจนเกินความจำเป็น เมื่อคุณรู้สึกถึงความมันบนใบหน้า คุณก็จะอยากล้างหน้าบ่อยขึ้น จนส่งผลให้กลายเป็นผลเสียต่อผิวหน้าที่จะเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า

หลังจากที่ได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังแล้ว เราก็ได้ข้อสรุปว่าการจะมีผิวหน้าที่ปลอดสิวได้นั้น เราต้องหาความพอดีให้เจอ โดยเริ่มจากการเลือกผลิตภัณฑ์ล้างหน้าที่เหมาะกับประเภทของผิวคุณ คุณควรมองหาผลิตภัณฑ์ที่มีสูตรในการทำความสะอาดที่ล้ำลึก พร้อมๆ ไปกับการรักษาความสมดุลและความชุ่มชื้นให้กับผิวของคุณ

บทความแนะนำสำหรับคุณ อ่านต่อได้ที่นี่

แผลเป็นที่เกิดจากสิวหรือรอยด่างดำ? เรียนรู้ถึงความแตกต่าง คลิก!

ต้นเหตุที่แท้จริงของปัญหาสิวที่คุณไม่เคยรู้ คลิกเลย!  

ที่มา : เดลินิวส์

ลด การ ทํา งาน ของ ต่อ ม ไขมัน

แฟ้มภาพ

เป็นโรคผิวหนังอีกหนึ่งชนิดที่พบบ่อย แม้จะไม่ใช่โรคติดต่อ และสามารถรักษาให้หายได้ แต่ก็เป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้ป่วยได้ไม่แพ้โรคผิวหนังอื่น ๆ

โรคผื่นต่อมไขมันอักเสบ หรือที่แพทย์มักเรียกว่า เซ็บเดอร์มเป็นโรคผิวหนังไม่ติดต่อชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นผื่นขุยบริเวณหนังศีรษะเหมือนกับรังแค ไปจนถึงผื่นแดง มีขุยหรือสะเก็ดสีเหลืองปนน้ำตาลด้วย  ขึ้นที่ใบหน้าบริเวณคิ้ว ร่องข้างจมูก หลังใบหู

ด้วยลักษณะของโรคที่ทำให้มองเห็นได้ชัดบริเวณใบหน้าและศีรษะ อาจสร้างความกังวลใจ และทำให้ผู้ป่วยเสียบุคลิกภาพ จึงนับว่าเป็นโรคที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างมาก

เซ็บเดอร์มพบได้ทั่วโลก เป็นในทุกเชื้อชาติ พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง อุบัติการณ์สูงในทารกก่อนวัยขวบปีแรกและในวัยผู้ใหญ่

เป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด เป็น ๆ หาย ๆ ส่วนใหญ่ถูกกระตุ้นจากฤดูกาล พบผู้ป่วยค่อนข้างมากในช่วงฤดูหนาว ผู้ที่มีความวิตกกังวลหรือมีความเครียดสูง พักผ่อนน้อย นอกจากนั้นยังพบมากในผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคทางระบบประสาท

โรคนี้เชื่อว่าเกิดจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างต่อมน้ำมันที่ผิวหนัง กับเชื้อยีสต์มาลัสซีเซียบนผิวหนัง กระตุ้นให้เกิดกระบวนการอักเสบและเซลล์ผิวหลุดลอกเป็นขุยหรือสะเก็ด บริเวณที่เกิดผื่นจะอยู่บนบริเวณที่มีต่อมน้ำมันมาก เช่น บนศีรษะ ใบหน้า หน้าอก ลำตัว หรือบริเวณรอยพับใหญ่ ๆ ของร่างกาย เช่น รักแร้และขาหนีบ ซึ่งอาจจะลุกลามเป็นบริเวณกว้าง

การสังเกตผื่นเซ็บเดอร์มและการรักษาเซ็บเดอร์มในเด็กทารก พบในเด็กเล็กอายุตั้งแต่ 2 สัปดาห์ถึง 6 เดือนแรกของชีวิต อาการจะแสดงบริเวณศีรษะ เห็นเป็นผื่นสีเหลืองออกน้ำตาล บางครั้งอาจรวมตัวกันเป็นแผ่นหนาติดแน่นบนหนังศีรษะ หรือเป็นแผ่นหนาสีขาว จับกับเส้นผมแน่น ซึ่งปกติจะไม่ทำให้ผมร่วง แต่จะลุกลามไปที่หน้าผาก เปลือกตาและร่องจมูก และอีกบริเวณที่พบบ่อย คือที่ขาหนีบ ก้นและอาจกระจายไปที่รักแร้ สะดือและลำตัว คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องตกใจ ควรพาลูกมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย รักษาไม่ยาก และผื่นมักจะหายขาดเมื่ออายุเกิน 1 ขวบ

เซ็บเดอร์มในผู้ใหญ่  พบในผู้ใหญ่ตั้งแต่อายุ 30-60 ปี ลักษณะของผื่นมีความหลากหลายมาก บนใบหน้าจะพบผื่นแดง ขอบชัด ปกคลุมด้วยขุยแห้งสีขาวหรือขุยมันสีเหลือง ที่หัวคิ้ว ผิวหนังระหว่างคิ้ว ร่องจมูก โหนกแก้ม หลังใบหู รูหู ผู้ป่วยบางรายมีอาการอักเสบของเปลือกตาและกระจกตาได้ ผื่นบนหน้าอาจจะเห่อมากขึ้น เมื่อผู้ป่วยเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือตากแดดมาก ๆ

การรักษา ควรพบแพทย์ก่อน เพื่อยืนยันว่าเป็นผื่นเซ็บเดอร์ม ไม่มีโรคผิวหนังอย่างอื่นที่เป็นสาเหตุของอาการดังกล่าว แพทย์จะแนะนำการรักษาโดยมีเป้าหมายให้ผื่นหายไว และกลับเป็นซ้ำน้อย ยารักษาขึ้นกับบริเวณที่เป็นด้วย ถ้ามีอาการมากที่หนังศีรษะ ยาในรูปแบบแชมพูและโลชั่นจะเหมาะสมกว่า

ส่วนบริเวณอื่น ๆ อาจใช้ยาในรูปแบบครีม ยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์จะช่วยควบคุมอาการเฉียบพลันและทำให้ผื่นสงบเร็ว แต่ไม่ควรหาซื้อมาใช้เอง เนื่องจากยามีหลายระดับความแรง และมีผลข้างเคียงมาก

“การใช้ยาต้านเชื้อรา จะช่วยลดการเจริญของเชื้อยีสต์มาลัสซีเซียและกลับเป็นซ้ำน้อย นอกจากนั้นยังมีครีมปราศจากสเตียรอยด์ที่ใช้รักษาเซ็บเดอร์มได้อีกในกรณีที่เป็นบ่อย หรือหากต้องการหลีกเลี่ยงยาสเตียรอยด์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำและการดูแลตนเอง จะช่วยไขข้อข้องใจ ได้รับการวินิจฉัยถูกต้อง และได้รับการรักษาที่เหมาะสม ปลอดภัยในระยะยาว เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของเราเอง”รศ.นพ.นภดล นพคุณ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านแพทย์ผิวหนัง กล่าวสรุป.

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine