รามเกียรติ์ ตอน ทศกัณฐ์ล้ม ข้อคิด

�ѹ˹�觷ȡѳ��������ǻ�����ѹ �֧������Ҽ���繹�ͧ��������ͧ��� ����Ҩ֧���Ե�����Һ������ �ź��鹻Դ��اŧ����� �ȡѳ���Ѻ����繡�اŧ���״�ֺ �Դ��Ң���֡�Ҧ�Ҫ���ҵ�������ִ���ͧ�� �֧���ҧ�ѡõѴ��鹪���ҢҴ������������� �ҧ����ѡ��������ҡ��е�ͧ���褹���ǵ�ʹ�� �֧�Դ�Ҥ���Թ�ҧ��һ���

�ҧ����ѡ�Ҿ���������֡�ѡ �֧�ŧ�����˭ԧ��Ǣ������¾����� ������������ �ҧ����ѡ����繹ҧ�մ� �����ҷ�����������ѡ�������йҧ�մҨ֧��ҷغ�� ����ѡɳ��ø�֧�Ѵ��� �Ѵ��� ��١ ����� �ͧ�ҧ����ѡ�� �ҧ�֧仿�ͧ����Ң� ����Ң��͡�ҵ�����Ѻ������ ��ͧ�þ����ʵ���� �����ѡ��֧仿�ͧ����ҷ�ɳ� ����ҷ�ɳ��͡�ҵ�����Ѻ������ �١��Ҵ����þ����ʵ�� ��о�����ա�����;���ҵ������� ��������� �֧�١����������ա��

ลูกทรพี/วัดรอยเท้า : ทรพีเป็นลูกของทรพากันางนิลากาสร เดิมทรพานั้นชื่อนนทกาลทำหน้าที่เฝ้าทวาร ณ เขาไกรลาส ถูกสาปให้ลงมาเกิดเป็นควายและเมื่อใดที่ถูกลูกฆ่าตายจึงจะพ้นโทษ เมื่อกำเนิดเป็นควายทรพาจำคำสาปได้จึงเที่ยวฆ่าลูกให้ตายเสมอ จนนางนิลากาสรแอบไปคลอดในถ้ำ พอทรพีโตขึ้นก็มีความอาฆาตแค้นพ่อ คอยวัดรอยเท้าทรพาอยู่เป็นประจำ จนเห็ว่าขนาดรอยเท่ากันแปลว่าไม่เสียเปรียบกันแล้ว จึงไปท้าสู้และได้ฆ่าต่อของตนตาย

เอ่ยชื่อ) จะสามารถฆ่าเขาได้ (มีเพียงมนุษย์ที่ ป๋าทศไม่ได้เอ่ยถึง) ฉะนั้นแกเลยซ่าไปทั่วทั้งสามโลก (แต่พรนี้ก็แค่ไม่ตายนะ ยังแพ้ได้และก็แพ้หลายหนซะด้วย) เมื่อได้พรวิเศษ ทศกัณฐ์ก็ยิ่งห้าวถึงกับเคยบุกยมโลกไปลองของกับพระยม เทพเจ้าแห่งความตาย ถึงจะไม่ชนะแต่ก็ไม่ตาย ท้าวเธอก็ยิ่งได้ใจเข้าไปใหญ่ คราวนี้ เฮียเล่นอาละวาดไปทั่ว ทั้งไปปราบพวกนาคที่นครโภควดี ป่วนแดนสวรรค์จนไปถึงจันทรโลกเลยทีเดียว

ท่านที่อ่านมาถึงตรงนี้แฟนานุแฟนอาจคิดว่า ทศกัณฐ์โกงขนาดนี้จะมีใครสู้แกได้อีกนอกจากพระราม แต่เอาเข้าจริงแล้วก็ยังมีคนที่เก่งกว่าทศกัณฐ์อยู่เหมือนกันครับ แถมเก่งขนาดที่แค่พลิกฝ่ามือก็ล้มทศกัณฐ์ได้แล้ว ถ้าไม่ติดว่า พระรามถูกกำหนดมาให้เป็นผู้ปลิดชีพทศกัณฐ์แล้ว ป๋าทศฯแกคงจะตายไปหลายรอบแล้วก็เป็นได้ คอลัมน์ไทยรัฐซันเดย์สเปเชียลโดยทีมงานนิตยสารต่วย’ตูนในสัปดาห์นี้ ผมจึงจะมาเล่าถึงสามบุคคลสุดแกร่งที่พิชิตทศกัณฐ์ไปแล้วก่อนพระรามครับ

ครั้งหนึ่งทศกัณฐ์เดินทางไปยังทะเลตะวันออก พบเกาะแห่งหนึ่ง บนเกาะนั้นมีคนผู้หนึ่งอาศัยอยู่ มีนามว่า พระมหาชมพูนุช ผู้มีรูปอันน่ากลัว ดั่งเพลิงกัลป์ตอนสิ้นโลก พระองค์เป็นดั่งกษัตริย์แห่งหมู่มนุษย์ เป็นดั่งหัวหน้าเทพแห่งสวรรค์ เป็นดั่งจันทร์ท่ามกลางหมู่ดาว เป็นดั่งสิงโตท่ามกลางสัตว์ร้าย เป็นดั่งเอราวัณแห่งหมู่ช้าง เป็นดั่งเขาพระสุเมรุในหมู่ขุนเขา เป็นดั่งต้นปาริชาตในหมู่ต้นไม้ จากนั้นทศกัณฐ์ได้กล่าวขึ้นมาว่า “จงมาสู้กับข้า”

รามเกียรติ์ ตอน ทศกัณฐ์ล้ม ข้อคิด
(ซ้าย) ทศกัณฐ์พบพระมหาชมพูนุช. (ขวา) ทศกัณฐ์พบพาลี.

พระมหาชมพูนุชจึงกล่าวตอบไปว่า “เจ้าผู้มีจิตใจชั่วร้าย ข้าจะล้างความกระหายสงครามของเจ้าออกไป” พระมหาชมพูนุชผู้นี้มีกำลังมากกว่าราวณะถึงพันเท่า พระองค์คือทุกสิ่งทุกอย่างของจักรวาล และจักรวาลก็คือพระองค์ พระกามเทพคือ ลึงค์ของท่าน วิศเวเทวาสถิตอยู่ที่บั้นพระองค์ วสุเทพอยู่กลางพระวรกาย มหาสมุทรอยู่ที่พระนาภี พระผิตามหะสถิตอยู่ที่ดวงพระหฤทัย พระสรัสวตีอยู่ที่พระกัณฐ์ พระอัศวินอยู่พระกรรณทั้งสอง พระสุริยะและพระจันทร์อยู่ที่ดวงเนตร ฯลฯ

เพียงพระปุรุษะใช้พระหัตถ์ตบไปที่ทศกัณฐ์ ทศกัณฐ์ก็ล้มลงไปนอนสลบอย่างง่ายดาย แล้วพระองค์ก็เสด็จเข้าไปในถ้ำใต้ดิน เมื่อฟื้นตื่นขึ้น ทศกัณฐ์ก็ได้ถามกับบริวารว่า “บุรุษผู้นั้นหายไปไหนแล้ว” เหล่าบริวารก็บอกว่า “เขาหลบเข้าไปทางนั้น” ทศกัณฐ์ย่างเข้าประตูไปอย่างไร้ความกลัว เมื่อเข้าไปแล้ว ทศกัณฐ์ได้พบกับพระมหาชมพูนุชอยู่มากมาย ทั้งหมดมีกายเหมือนกัน มีสีกายเหมือนกัน ทั้งหมดมีสี่กร กำลังร้องรำทำเพลงกัน ท่ามกลางบุรุษเหล่านั้นก็มีพระมหาชมพูนุชกำลังบรรทมอยู่ มีพระลักษมีคอยปรนนิบัติอยู่ข้างพระวรกาย

ทศกัณฐ์ได้เห็นพระลักษมีก็เกิดความปรารถนา ในจิตใจ จึงยื่นมือออกไปหวังจะจับกายพระลักษมี พระมหาชมพูนุชที่บรรทมอยู่ก็หัวเราะออกมาดังสนั่นทำให้ทศกัณฐ์สลบล้มลงไปอีกรอบ แล้วพระมหาชมพูนุชจึงกล่าวว่า “ลุกขึ้นมา จอมรากษส นี่ยังมิใช่ที่ตายของเจ้า ด้วยอำนาจพรแห่งพระพรหมยังปกป้องเจ้าไว้ จงไปจากที่นี่ซะ” แล้วทศกัณฐ์ฟื้นขึ้นมาพร้อมกับความกลัว หลังจากนั้นก็เผ่นกลับไปพร้อมบริวาร

ในกาลต่อมา พระรามซึ่งได้รับฟังเรื่องราวนี้จึงได้ถามกับพระอคัสตยะว่า “เขาผู้นั้นคือใครหรือ” พระอคัสตยะจึงเฉลยให้ฟังว่าเขาคือ พระกบิลนั่นเอง ซึ่งพระกบิลก็คือ อวตารหนึ่งของพระวิษณุ มีบทบาทในการปราบบุตรผู้ชั่วร้ายทั้ง 16,000 คนของท้าวสคร เป็นต้นเรื่องของการอัญเชิญพระแม่คงคาลงมาบนโลก (รามายณะ อุตตรกัณฑ์ บทที่ 28)

การตวีรยะอรชุนปราบทศกัณฐ์

ครั้งหนึ่งพระรามได้ถามกับพระอคัสตยะว่า “ในช่วงที่ทศกัณฐ์ท่องไปบนพิภพนี้ ไม่มีกษัตริย์หรือเจ้าชายองค์ใดเลยหรือที่ปราบมันได้”

พระอคัสตยะจึงเล่าว่า ทศกัณฐ์ได้เดินทางไปยังเมืองมหิษมตี ซึ่งมีกษัตริย์นามว่า อรชุน ปกครองอยู่ ในเวลานั้นท้าวอรชุนได้ไปเล่นน้ำอยู่กับเหล่านางสนมกำนัลที่แม่น้ำเนรพุทะ (nerbuda) อันเป็นเวลาเดียวกับที่ทศกัณฐ์เดินทางมาถึงเมืองมหิษมตี มันได้ประกาศแก่เหล่าขุนนางของเมืองว่า “กษัตริย์อรชุนอยู่ที่ใด ข้ามาเพื่อท้ารบกับเขา จงไปแจ้งถึงการมาถึงของข้า”

รามเกียรติ์ ตอน ทศกัณฐ์ล้ม ข้อคิด
พระพรหมผู้ให้พรแก่ทศกัณฐ์.

ฝ่ายข้าราชการจึงแจ้งแก่ทศกัณฐ์ถึงการออกไปประพาสขององค์กษัตริย์ ทศกัณฐ์จึงเดินทางออกจากเมืองไปจนถึงภูเขาวินธัย เมื่อไปถึงริมฝั่งแม่น้ำเนรพุทะ ทศกัณฐ์และเหล่าบริวารก็ได้พบกับสตรีรูปงามคนหนึ่ง เธอคือ เทวีแห่งแม่น้ำเนร พุทะ เธอบอกกับเหล่ารากษสถึงสรรพคุณของแม่น้ำแห่งนี้ว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ดั่งแม่น้ำคงคาเลยทีเดียว สามารถล้างบาปได้ และเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งที่จะใช้เป็นที่บูชาพระมหาเทพ

เมื่อได้ยินดังนั้น เหล่ารากษสก็พากันลงน้ำชำระล้างร่างกาย แล้วจึงตั้งศิวลึงค์ทองคำ เริ่มพิธีบูชาพระศิวะเจ้าขึ้นโดยการถวายดอกไม้ ในขณะเดียวกันกษัตริย์อรชุนได้เล่นน้ำอยู่กับเหล่านางสนม เขาได้ใช้แขนทั้งพันนั้นกั้นน้ำในแม่น้ำไว้จนน้ำเอ่อล้นริมฝั่ง ทำให้พิธีบูชาพระศิวะของทศกัณฐ์พังลงอย่างไม่เป็นท่า ทศกัณฐ์โกรธมากจึงใช้บริวารออกไปดูว่าเป็นฝีมือใคร บริวารกลับมารายงานว่า มีมนุษย์ผู้หนึ่ง ตัวใหญ่เท่าต้นสาละ ใช้แขนทั้งพันกั้นน้ำไว้ดั่งเขื่อน (อ่านแล้วผู้เขียนก็ไม่อยากจะเชื่อเลยว่าเป็นคน?)

พอได้ยินดังนั้นทศกัณฐ์จึงรู้ว่าคือ ท้าวอรชุนเป็นแน่ จึงยกพวกไปพร้อมอาวุธครบมือหมายจะท้ารบ เหล่ารากษสได้เข้าไปแจ้งแก่ข้าราชบริพารของท้าวอรชุนว่า “จงไปแจ้งแก่กษัตริย์แห่งไหหยัส (haihayas) ว่า ราวณะ เจ้าแห่งรากษส มาเพื่อต่อสู้กับเขา”

ข้าราชบริพารจึงตอบกลับไปว่า “ท่านราวณะ องค์กษัตริย์ของข้าจะตอบรับคำท้าทายของท่านแน่นอน แต่เวลานี้พระองค์กำลังสำราญอยู่กับการดื่มและเล่นน้ำอยู่กับเหล่านางกำนัล ท่านโปรดรอก่อนเถิด ไม่เช่นนั้นท่านก็จะต้องฆ่าพวกเราให้ได้ก่อนถึงจะได้สู้กับท้าวอรชุน”

ฝ่ายบริวารทศกัณฐ์ได้ยินก็โกรธ สังหารข้าราชบริพารบางคนไปทำให้ทหารทั้งสองฝ่ายเข้าปะทะกัน ฝ่ายทหารมนุษย์เพลี่ยงพล้ำอย่างหนัก ท้าวอรชุนจึงตะโกนขึ้นมาว่า “อย่ากลัวไป” พร้อมลุกขึ้นมาจากน้ำ ท้าวอรชุนคว้ากระบองทองกระโจนเข้าสู่สนามรบอย่างรวดเร็วและน่าหวั่นเกรง ควงกระบองด้วยความเกรี้ยวกราด ร้องคำรามราวกับพระยม ด้วยเวลาเพียงชั่วครู่เดียวก็ล้มประหาสตะ ยอดนักรบของทศกัณฐ์ลงได้ เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนั้นเหล่านักรบมือดีของทศกัณฐ์กลับพากันหนีกระเจิงไปจากสนามรบทันที

รามเกียรติ์ ตอน ทศกัณฐ์ล้ม ข้อคิด
การตวีรยะอรชุนปราบทศกัณฐ์.

จากนั้นการต่อสู้ระหว่างท้าวอรชุนผู้มีพันมือกับทศกัณฐ์ผู้มียี่สิบมือจึงเริ่มขึ้น ทั้งสองใช้คทาต่อสู้กันอย่างดุเดือด ท้าวอรชุนฟาดคทาไปโดนทศกัณฐ์เข้าอย่างจัง ทศกัณฐ์นั้นไม่ตายด้วยอำนาจของพรจากพระพรหม แต่คทาของทศกัณฐ์ตกลงบนพื้นและหักเป็นสองท่อน ทศกัณฐ์จึงวิ่งหนีไป แต่ก็ถูกอรชุนจับไว้ได้ ทศกัณฐ์จึงประกาศยอมแพ้ ท้าวอรชุนจึงจับไปขังไว้ที่เมืองมหิษมตี ภายหลังพระปุลัสตยมุนีจึงมาขอร้องให้ปล่อยลูกของตน ท้าวอรชุนเห็นแก่พระปุลัสตยะจึงยอมปล่อยตัวไปในที่สุด (รามายณะ อุตตรกัณฑ์ บทที่ 36)

ทศกัณฐ์พบพาลี

หลังจากถูกปล่อยตัวโดยการตวีรยะอรชุนแล้ว ทศกัณฐ์ก็ท่องไปในพิภพอีกครั้ง คราวนี้เดินทางไปยังกีษกินธะ (ขีดขิน) ซึ่งก่อตั้งโดยพาลีเพื่อไปท้ารบ ในเวลานั้น นางตารา สุเสนา และสุครีพ จึงบอกแก่เจ้าแห่งรากษสว่า “ในเวลานี้พาลีไม่ได้อยู่ที่นี่ เขาจะกลับมาหลังจากเสร็จพิธีสนธยา ณ บริเวณที่ทะเลทั้งสี่บรรจบกัน ท่านโปรดคอยอยู่ที่นี่เถิด แล้วราชาแห่งวานรจะกลับมาต่อสู้กับท่าน หรือหากท่านรีบร้อนที่จะพบกับความตายแล้วล่ะก็ ท่านจงเร่งไปทางทะเลใต้ ท่านจะพบพญาพาลีซึ่งอยู่ต่อหน้ากองกูณฑ์”

เมื่อได้ยินดังนั้น ทศกัณฐ์จึงมุ่งหน้าไปหาพาลีทันที (นี่ก็ยุขึ้นเหลือเกินพ่อคุณ) ทศกัณฐ์ไปถึงที่ก็เห็นพาลีนั่งอยู่ จึงเคลื่อนบุษบกวิมานไปใกล้หวังจะคว้าจับพาลีไว้ แต่ในฉับพลันทศกัณฐ์ก็ถูกพาลีรัดไว้ที่รักแร้เสียแล้ว ทศกัณฐ์ถูกจับแน่นอย่างกับนาคที่ถูกครุฑจับไว้อย่างนั้น พาลีจับทศกัณฐ์เหาะขึ้นไปบนฟ้า ลากทศกัณฐ์ไปทั่วมหาสมุทรทั้งสี่ จากทะเลใต้ไปทะเลตะวันตก ไปทะเลเหนือ และไปสุดที่ทะเลตะวันออก

รามเกียรติ์ ตอน ทศกัณฐ์ล้ม ข้อคิด
ราวณะหรือทศกัณฐ์.

จากนั้น พาลี บุตรแห่งอินทรเทพ ก็แบกทศกัณฐ์กลับไปยังนครขีดขิน เมื่อไปถึงสวนในนครขีดขิน พาลีก็ปล่อยทศกัณฐ์ออกจากรักแร้ ทศกัณฐ์จึงกล่าวกับพาลีว่า “พาลี ราชาแห่งวานร ข้าคือทศนน ผู้เป็นเจ้าแห่งรากษส มาที่นี่เพื่อต่อสู้กับท่าน แต่บัดนี้ข้าได้พ่ายแพ้ให้แก่ท่านแล้ว บัดนี้ข้าใคร่จะขอสาบานเป็นไมตรีกับท่านต่อหน้ากองกูณฑ์ นับแต่บัดนี้ ภรรยา ลูกๆ เมือง อาณาจักร ความสุข เสื้อผ้าและอาหาร จะเป็นของเราร่วมกัน” และแล้วราชาแห่งวานรและราชาแห่งรากษสก็กลายเป็นพันธมิตรกันในที่สุด (รามายณะ อุตตรกัณฑ์ บทที่ 39)

เห็นไหมครับ ตามที่ได้กล่าวไว้ว่า พรที่ทศกัณฐ์ได้รับนั้นช่วยให้เขาไม่ตาย แต่ไม่ได้ช่วยให้เขาเก่งกว่าใครๆเลยครับ สามบุคคลนี้คือตัวอย่างว่า “เหนือ ฟ้ายังมีฟ้า” จึงขอจบเรื่องราวของผู้ล้มทศกัณฐ์ไว้เพียงเท่านี้ครับ.

เรื่องรามเกียรติ์ตอนนารายณ์ปราบนนทกให้ข้อคิดอะไรบ้าง

รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก (ข้อคิด ( อำนาจอยู่ในมือของคนที่ลืมตัว….
อำนาจอยู่ในมือของคนที่ลืมตัว จะเกิดผลร้าย.
เมื่อคนมีอำนาจ จะตัดสินใจด้วยความรู้สึกก้าวร้าวรุนแรงได้ง่ายเมื่อคิดว่าถูกรังแก.
คนเราควรใช้อำนาจเพียงเพื่อป้องกันตัวไม่ให้รับพิบัติเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อทำลายผู้อื่นเพื่อแก้แค้น.

รามเกียรติ์ให้ข้อคิดอะไร

๑. อำนาจตกอยู่ในมือของคนที่ลืมตัว จะเกิดผลร้ายตามมาได้ ๒. เมื่อคนมีอำนาจ จะตัดสินใจด้วยความรู้สึกก้าวร้าวรุนแรงได้ง่ายเมื่อคิดว่าถูกรังแก ๓. คนเราควรใช้อำนาจเพียงเพื่อป้องกันตัวไม่ให้รับพิบัติเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อทำลายผู้อื่นเพื่อแก้แค้น

ในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ให้คุณธรรมในด้านใด

“แก่นเรื่องรามเกียรติ์คือการสู้รบระหว่างธรรมะกับอธรรม นอกจากความบันเทิงแล้ว ยังมีคุณธรรมต่าง ๆ สอดแทรกไว้อีกมากมาย ทั้งเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต ความเสียสละ ความมีสติ ความกตัญญู รวมทั้งชี้โทษของความหลงในกิเลส และที่สำคัญ ยังสะท้อนธรรมชาติของมนุษย์ผ่านบทบาทของตัวละครในเรื่อง หากอ่านให้เข้าใจและดูให้เป็นแล้วจะได้ทั้งความ ...

ข้อคิดจากเรื่องรามเกียรติ์ข้อใดที่เราสามารถนำไปใช้ชีวิตประจำวันได้

ข้อคิดจากเรื่องรามเกียรติ์ข้อใดที่เราสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ การอดทนอดกลั้น