สังคมที่มีคุณภาพ

คุณภาพชีวิต (Quality of Life) คุณภาพชีวิตเป็นลักษณะที่ดีเด่นของบุคคลในความเป็นอยู่ ครอบคลุมลักษณะที่เป็นความต้องการทางวัตถุ และทางจิตใจของบุคคล สามารถดำรงชีวิตได้ในระดับที่เหมาะสม ให้สามารถพึ่งตนเองได้โดยไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน และไม่เบียดเบียนธรรมชาติ อีกทั้งยังควรรักษาวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีของสังคมตลอดจนมีความเป็นไปได้ที่จะบรรลุถึงความปรารถนาในชีวิต
สรุปความรู้
การพัฒนาคุณภาพชีวิต

-  มนุษย์ทุกคนที่เกิดมาย่อมต้องการมีชีวิตที่ดีและมีคุณภาพ

-  แนวคิดในการพัฒนาชีวิตให้มีคุณภาพ เกิดขึ้นในทศวรรษที่ 1970 ในประเทศแถบตะวันตก

-คุณภาพชีวิตอย่างน้อย ๆ ควรได้ระดับความจำเป็นพื้นฐาน (Basic Minimum Need หรือ BMN หรือ จปฐ.) เป็นความจำเป็นขั้นต่ำสุดที่คนทุกคนในชุมชนควรจะมี หรือควรจะเป็นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้มีชีวิตที่ดีและสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุขตามสมควร

-พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ..2542ได้ให้ความหมาย คุณภาพชีวิต หมายถึง ลักษณะที่ดีเด่นของบุคคลในความเป็นอยู่

-  รศ.เทเวศร์ พิริยะพฤนท์ และคณะ กล่าวว่า คุณภาพชีวิต (Quality of Life = QOL) หมาย ถึง การดำรงชีวิตของมนุษย์ในระดับที่เหมาะสม ตามความจำเป็นพื้นฐานในสังคมหนึ่ง ๆ ในช่วงเวลาหนึ่ง ประชาชนมีหน้าที่พัฒนาตนเองและครอบครัวให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตเพื่อพัฒนาให้ตนเองมีสุขภาพกายและจิตดี มีครอบครัวที่อบอุ่น มีที่อยู่อาศัย มีรายได้พอสมควร ประหยัด สร้างตนเองและครอบครัว

-  สรุป คุณภาพชีวิต หมายถึง การมีชีวิตที่มีความสุข

2. องค์ประกอบของคุณภาพชีวิต

องค์การอนามัยโลกได้ แบ่งองค์ประกอบของคุณภาพชีวิตประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ
             1) ด้านร่างกาย (Physical Domain)
คือ การรับรู้สภาพทางด้านร่างกายของบุคคล ซึ่งมีผลต่อชีวิตประจำวัน
            
2) ด้านจิตใจ (Psychological Domain) คือ การรับรู้สภาพทางจิตใจของตนเอง
            
3) ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม (Social Relationships) คือ การรับรู้เรื่องความสัมพันธ์ของตนกับบุคคลอื่น
            
4) ด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) คือ การรับรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต

      สรุป ได้ว่า องค์ประกอบของคุณภาพชีวิตนั้นประกอบไปด้วยปัจจัยย่อยมากมาย นอกเหนือไปจากปัจจัยพื้นฐาน คือเรื่องที่เกี่ยวกับปัจจัย 4 ที่เป็นพื้นฐานทางด้านร่างกายเพื่อที่จะไม่ให้โรคภัยไข้เจ็บคอยเบียดเบียน ตลอดจนการศึกษา และวิธีเสริมสร้างคุณธรรม และจริยธรรม ที่ดีเพื่อให้สามารถต่อสู้ฝ่าฟันกับอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้น และมีความเข้มแข็งที่จะพัฒนาตนเอง ส่วนในด้านจิตใจนั้น ทุกคนปรารถนาที่จะมีความสุข แต่การที่จะมีความสุขได้นั้นก็ต้องมีองค์ประกอบไปด้วยปัจจัยหลายอย่างชีวิตที่เป็นสุขควรประกอบด้วยปัจจัยใดบ้าง คำตอบน่าจะมีหลากหลายและแน่นอนที่จะต้องผสมผสานกลมกลืนกันไป  

3. มิติในการพัฒนาคุณภาพชีวิต 
              1.) การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านร่างกาย 
                   ได้แก่ การให้ความสำคัญกับสุขภาพ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ บริโภคอาหารอย่างถูกสุขลักษณะ เป็นการการพัฒนาให้ร่างกายมีความแข็งแรง สมส่วน และไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ
             2.) การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านอารมณ์     
                  ได้แก่ การสร้างเสริมสุขภาพจิตใจที่ดี รู้จักควบคุมอารมณ์ โดยการพัฒนาทางด้านจิตใจด้วยการให้ทาน การทำงานอดิเรกที่ชื่นชอบ การเข้าร่วมกิจกรรมสันทนาการ การฝึกสมาธิ การผ่อนคลายด้วยการฟังเพลง การพักผ่อน การท่องเที่ยว เป็นต้น
             3.) การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านสังคม 
                  เป็น การสร้างการยอมรับ และยกย่องจากสังคม ได้แก่ การเข้าร่วมกิจกรรมกับสังคม หรือหน่วยงานต่างๆ ใช้เวลาว่างบำเพ็ญประโยชน์เพื่อชุมชน ให้ความร่วมมือกับสังคมในด้านต่างๆ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม และการปฏิบัติตนโดยยึดหลักของกฎหมาย และคุณธรรม จริยธรรม
             4.) การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านสติปัญญา         
                  เป็น การเพิ่มทักษะทางด้านความรู้ให้กับตนเอง ได้แก่ การอ่านหนังสื่อ การเข้ารับการฝึกอบรมเพิ่มพูนความรู้ด้านต่างๆ การศึกษาข้อมูลสารสนเทศจากสื่อต่างๆ การสังเกต และติดตามการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ฯลฯ
                 การพัฒนาคุณภาพชีวิตของ บุคคลจะต้องเริ่มต้นด้วยตัวเอง เปิดใจยอมรับกับการพัฒนาตนเองพัฒนาคุณภาพชีวิต ต้องมีความพร้อมสำหรับการศึกษาเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลง แล้วจะทำให้บุคคลนั้นสามารถใช้ชีวิตร่วมกันกับคนอื่นๆ ในสังคมได้อย่างมีความสุข

   4. คุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทยตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
             การมีคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทยจะต้องผ่านเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ทุกตัวชี้วัด
           เครื่องชี้วัดความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) มี 6 หมวด 42 ตัวชี้วัด ดังนี้

หมวดที่ 1 สุขภาพดี (13 ตัวชี้วัด)
หมวดที่ 2 มีบ้านอาศัย (8 ตัวชี้วัด)
หมวดที่
3 ฝักใฝ่การศึกษา (7 ตัวชี้วัด)
หมวดที่ 4 รายได้ก้าวหน้า (3 ตัวชี้วัด)
 หมวดที่
5 ปลูกฝังค่านิยมไทย (6 ตัวชี้วัด)
หมวดที่ 6 ร่วมใจพัฒนา (5 ตัวชี้วัด)

5. ตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตที่ดีตามแนวพุทธ

ตามแนวพระพุทธศาสนา คุณภาพชีวิตที่ดี คือ มีการพัฒนาด้านกาย ศีล จิตและปัญญา
จักร
4 คือธรรมที่เป็นเครื่องช่วยให้สามารถสร้างสมความดีอื่น ๆ ทุกอย่าง และช่วยให้ประสบความเจริญก้าวหน้าในชีวิต ประกอบด้วย

1) ปฏิรูปเทสวาสะ (การอยู่ในถิ่นที่ดี มีสิ่งแวดล้อมเหมาะสม) คือ ถิ่นที่มีลักษณะสมบูรณ์ 5 ประการ คือถิ่นที่มีศูนย์กลาง ถิ่นที่มีการอาชีพสะดวก ถิ่นที่มีการศึกษาสะดวก ถิ่นที่มีศาสนาประกาศสัจธรรม และถิ่นที่มีคนทรงศีลทรงธรรมทรงวิทยาคุณมาก
                   2) สัปปุริสูปัสสยะ (การสมาคมกับสัตบุรุษ)สัตบุรุษ แปลว่า คนดี คนสงบ การสมาคมกับสัตบุรุษ ได้แก่ การเข้าไปสนทนาไต่ถาม มอบตัวเป็นศิษย์ รับโอวาทของสัตบุรุษ เมื่ออยู่ในท้องถิ่นที่มีสัตบุรุษ ย่อมแนะนำสิ่งที่ควรแนะนำ ให้รู้จักบาปบุญคุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ ให้รู้จักเว้นชั่วประพฤติดี ละสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
                  3) อัตตสัมมาปณิธิ (การตั้งตนไว้ชอบ ตั้งจิตมุ่งหมายนำตนไปถูกทาง)คือ การตั้งตนให้อยู่ในศีลธรรม ดำเนินชีวิตไปในทางที่ดีมีเป้าหมายชัดเจน มีเส้นทางเดินที่มั่นคง มีแบบอย่างที่ถูกต้อง มีอุดมคติที่ก้าวหน้า
                  ๔) ปุพเพกตปุญญตา (ความเป็นผู้ได้ทำความดีไว้ก่อนแล้ว, มีพื้นเดิมดีได้สร้างสมคุณความดีเตรียมพร้อมไว้แต่ต้น)
                 บุญ ตามความหมายแห่งคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา มุ่งเอาผล คือ ความสุข ความเจริญ ทั้งทางร่างกาย และจิตใจ อันก่อให้เกิดความผ่องแผ้ว สงบ และเกิดความพอใจที่จะกระทำความดีให้สูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป       
                จักร 4 ข้างต้น เปรียบดุจล้อรถที่จะชักนำชีวิตของเราดำเนินไปในวิถีทางที่ถูกต้องสอดคล้องลงตัว ทั้งนี้ชีวิตจะเจริญก้าวหน้าได้ ต้องอาศัยปัจจัยทั้งภายนอก และภายใน จึงจะสามารถนำชีวิตไปถึงจุดหมายปลายทางได้ด้วยความสำเร็จ 
               บทสรุป
               มนุษย์ทุกคนที่เกิดมาย่อมต้องการมีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่ง ก็คือการมีความสุข ซึ่งความสุขของชีวิตที่แท้จริง คือ ความรู้สึกพอใจในตนเอง มีความรู้สึกว่าชีวิตนี้มีคุณค่า มีความหมาย ร่างกายมีความแข็งแรง ปราศจากโรค สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมและเพื่อนในสังคม มีจิตใจร่าเริงแจ่มใสเบิกบาน มองโลกแง่ดี ควบคุมอารมณ์ได้ และมีชีวิตอยู่ในสังคม ซึ่งทุก ๆ คนในสังคมจะต้องมีโอกาสในระดับที่ยอมรับได้ ซึ่งความมั่นคงทางเศรษฐกิจ (Economic Security) ได้รับการยอมรับอย่างเท่าเทียมกัน (Social Inclusion) อาศัยอยู่ในชุมชนที่มีความสมานฉันท์ (Cohesive Communities) และมีการเสริมพลังให้เกิดมากขึ้น (Empowerment) ที่จะพัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพ


ที่มา
:
พระพุทธศาสนากับแนวคิดเรื่องคุณภาพชีวิต รศ.ดร.มานพ  นักการเรียน

สังคมที่มีคุณภาพเป็นอย่างไร

คุณภาพสังคม คือ ความคิดที่ครอบคลุมเรื่องคุณภาพชีวิตประจ าวันของประชาชน เป็นเรื่อง ของความสามัคคีในสังคม การมีส่วนร่วมในหลายๆ กลุ่มที่เกิดขึ้นในทุกๆ วัน รวมถึงการเสริมพลัง ทางสังคม คุณภาพสังคมเป็นขอบเขตที่ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในด้านสังคมและ เศรษฐกิจ รวมทั้งการพัฒนาชุมชนภายใต้ความเป็นอยู่ที่ดีและศักยภาพของตนเอง

คุณภาพชีวิตคืออะไร

คุณภาพชีวิต (ราชบัณฑิตยสถาน, 2550) หมายถึง ชีวิตที่มีคุณภาพ มีความสมบูรณ์ทั้ง ด้านสุขภาพ ร่างกายและจิตใจ สามารถดำรงชีวิตให้สอดคล้องตามสภาวะทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สภาพแวดล้อมในการดำเนินชีวิตและทรัพยากรที่มีอยู่

คุณภาพชีวิตมีความสําคัญอย่างไร

คุณภาพชีวิตมีบทบาทสำคัญทั้งในด้านความผาสุกของมนุษย์ในการดำรงชีวิตและ การสร้างผลงานที่มีคุณค่าเรื่องความสุขและคุณภาพชีวิต ไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่ ความสุขของชีวิต ได้มีการกล่าวกันมาตั้งแต่ยุคอริสโตเติล แต่ก็เป็นความหมายในเชิง “จริยธรรม” ซึ่งเป็น ความหมายที่ได้รับอิทธิพลแนวความคิดของทางตะวันตก ในการให้ความหมายในเชิงระบบของ “ ...