งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา วpa

  • หน้าแรก
  • สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา - ผลประชุม ก.ค.ศ.

Show

4 คุณสมบัติ ใช้ลดระยะเวลาวิทยฐานะแบบใหม่ สายงานการสอน

กลุ่มประชาสัมพันธ์และการเผยแพร่

ก.ค.ศ. ประกาศใช้หลักเกณฑ์การประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ (ใหม่) 4 สายงาน

งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา วpa

        วันที่ 20 พฤษภาคม 2564 รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ.ลงนามในหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. แจ้งหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ใหม่) หรือเกณฑ์ PA ทั้ง 4  สายงาน ได้แก่ สายงานการสอน (ว 9/2564) สายงานบริหารสถานศึกษา (ว 10/2564) สายงานนิเทศการศึกษา (ว 11/2564) และสายงานบริหารการศึกษา (ว 12/2564) เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบและถือปฏิบัติ ดยจะเริ่มใช้หลักเกณฑ์ใหม่นี้ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 เป็นต้นไป

       โดย รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. กล่าวว่า การจัดทำหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินฯ ทั้ง 4 สายงานนี้ สืบเนื่องจากที่ ก.ค.ศ. ได้เห็นชอบการกำหนดมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ทุกสายงาน ทุกตำแหน่ง และทุกวิทยฐานะ ใหม่ ซึ่งเป็นการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะงานที่ปฏิบัติให้สอดคล้องต่อการเปลี่ยนแปลงกับการจัดการศึกษาในปัจจุบัน และทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก จึงเป็นที่มาของการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่ง และวิทยฐานะใหม่ทั้ง 4 สายงานด้วย โดยที่หลักเกณฑ์ใหม่นี้จะเป็นประโยชน์กับผู้เรียน สถานศึกษา ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับครู ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ และผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา ให้ได้มีการพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพสูงขึ้นตามระดับวิทยฐานะ และทำให้กระบวนการพัฒนาผู้เรียน กระบวนการจัดการเรียนรู้ การจัดการศึกษา มีแนวทางในการพัฒนาที่ชัดเจน สามารถนำมากำหนดแผนพัฒนาการนิเทศการศึกษา หรือแผนพัฒนาสถานศึกษาหรือหน่วยงานการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน และที่สำคัญเป็นการลดกระบวนการและขั้นตอนโดยนำระบบเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ (ระบบ Digital Performance Appraisal : DPA) เพื่อเป็นการลดภาระในการจัดทำเอกสารและงบประมาณการประเมิน รวมถึงเกิดการเชื่อมโยง บูรณาการในระบบการประเมินวิทยฐานะ การประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อเลื่อนเงินเดือน และการประเมินเพื่อคงวิทยฐานะไปในคราวเดียวกัน ซึ่งจะทำให้ลดความซ้ำซ้อนในเรื่องต่าง ๆ ดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผล และเป็นไปตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ

         และหลังจากนี้จนถึงเดือนตุลาคม 2564 สำนักงาน ก.ค.ศ. จะได้มีการสื่อสาร และสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินฯ ดังกล่าว ให้กับข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้อง ในรูปแบบต่าง ๆ ผ่านช่องทางการสื่อสารของสำนักงาน ก.ค.ศ. ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับข้าราชการครู บุคลากรศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้องได้ใช้เป็นแหล่งข้อมูลกลางในการเข้าศึกษารายละเอียดของหลักเกณฑ์ดังกล่าวต่อไป

  1.  สายงานการสอน (ว 9/2564)                ตำแหน่งครู
  2.  สายงานบริหารสถานศึกษา (ว 10/2564) ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา
  3.  สายงานนิเทศการศึกษา (ว 11/2564)      ตำแหน่งศึกษานิเทศก์
  4.  สายงานบริหารการศึกษา (ว 12/2564)    ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา

         

งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา วpa
รวมข้อมูลเกี่ยวกับเกณฑ์วิทยฐานะตามเกณฑ์ PA

กลุ่มประชาสัมพันธ์และการเผยแพร่

ก.ค.ศ. ยืนยัน เกณฑ์ ว 9/2564 เป็นธรรม ชี้เป็นระบบพัฒนาวิชาชีพครูใหม่ โดยเน้นผลลัพธ์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ

     วันที่ 11 มิถุนายน 2564 รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ.เป็นผู้รับรายชื่อข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู (ว 9/2564)  ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 20 พฤษภาคม 2564 จาก น.ส. ศริญญา สุกใส ประธานชมรมข้าราชการครูแห่งประเทศไทย พร้อมตัวแทนครู หลังจากที่ช่วงเช้าได้มีการยื่นหนังสือร้องเรียน ต่อ น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยขอให้ สำนักงาน ก.ค.ศ. พิจารณาเยียวยาครูคาดว่าจะที่ได้รับผลกระทบจากการประกาศใช้หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะแบบใหม่

        รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. กล่าวว่า การดำเนินการปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู ได้มีการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ทำความเข้าใจเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่หลักเกณฑ์และวิธีการ ฯ ประเมินวิทยฐานะใหม่ (ว 9/2564) ตั้งแต่ปี 2563 อย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดกับผู้เรียนเป็นสำคัญ

      สำหรับกรณีที่ประธานชมรม ฯ ได้ยื่นหนังสือถึงสำนักงาน ก.ค.ศ.ขอให้พิจารณาเยียวยาครูที่อาจได้รับผลกระทบจากการประกาศใช้หลักเกณฑ์และวิธีการฯ ดังกล่าว พิจารณารายละเอียดแล้วเห็นว่า เป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อน ซึ่งตนได้ชี้แจงข้อเท็จจริงกับครูกลุ่มดังกล่าวจนเกิดความเข้าใจแล้ว พร้อมยืนยันว่าครูยังสามารถเลือกประเมินวิทยฐานะตามหลักเกณฑ์เดิมได้ ส่วนผู้ที่จบปริญญาโท และได้บรรจุเป็นครูในปี 2560 หากไม่สามารถใช้วุฒิปริญญาโทในการขอมีและเลื่อนวิทยฐานะครั้งนี้ก็สามารถนำวุฒิไปใช้ในการขอมีและเลื่อนวิทยฐานะในครั้งถัดไปได้ ไม่มีการเสียสิทธิอย่างแน่นอน  พร้อมทั้งขอยืนยันว่าการปรับปรุงหลักเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะใหม่ นี้ จะเป็นประโยชน์กับผู้เรียน สถานศึกษา ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และที่สำคัญจะเป็นการยกระดับคุณภาพการศึกษาในภาพรวมของประเทศ  โดยขอให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เปลี่ยนแนวคิดว่า "ทำแล้วตัวเองจะได้อะไร แต่ให้คิดว่าทำแล้วเด็กจะได้อะไร" ทั้งนี้ประธานชมรมข้าราชการครูแห่งประเทศไทยและคณะ ได้เข้าใจเรื่องดังกล่าวโดยละเอียดแล้ว และมีความพึงพอใจก่อนเดินทางกลับ รศ.ดร.ประวิต กล่าว

งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา วpa

งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา วpa
   

ภาพ / ข่าว : กลุ่มประชาสัมพันธ์และการเผยแพร่

การประชุมสัมมนาเพื่อจัดทำข้อมูลการประเมินตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

         

          วันที่ 9 มิถุนายน 2564 รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาเพื่อจัดทำข้อมูลการประเมินตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ณ ห้องประชุมจรูญ มิลินทร์ ชั้น 7 อาคารรัชมังคลาภิเษก สำนักงาน ก.ค.ศ. กระทรวงศึกษาธิการ

     สืบเนื่องจากสำนักงาน ก.ค.ศ. ได้ประกาศใช้หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู (ว 9/2564) ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา (ว 10/2564) ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ (ว 11/2564) และตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา (ว 12/2564) นั้นสำนักงาน ก.ค.ศ. พิจารณาเห็นว่า เพื่อให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในทุกตำแหน่ง เกิดความเข้าใจในหลักเกณฑ์และวิธีการประเมิน ฯ ดังกล่าว จึงได้จัดการประชุมสัมมนาเพื่อจัดทำคู่มือการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ และตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา เพื่อให้ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาหารือเรื่องรายละเอียดเกี่ยวกับภาระงาน แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน แบบประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลง ตัวชี้วัด และแบบประเมินเพื่อให้มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ ก่อนนำเสนอ ก.ค.ศ. พิจารณาให้ความเห็นชอบให้สามารถนำคู่มือการประเมิน ฯ ในตำแหน่งครู และตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา ไปทดลองโดยนำร่องกับสถานศึกษาแต่ละสังกัด แต่ละขนาด และแต่ละประเภทการจัดการศึกษา เพื่อศึกษาวิเคราะห์ผลการทดลองใช้และนำมาปรับปรุงคู่มือการประเมิน ฯ ดังกล่าว ก่อนนำไปปฏิบัติพร้อมกันทั่วประเทศ โดยได้เชิญที่ปรึกษาสำนักงาน ก.ค.ศ. ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สำนักงาน ก.ค.ศ. ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุม สำหรับการประชุมในครั้งนี้ได้ปฏิบัติตามแนวทางป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 อย่างเคร่งครัด เช่น การใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การเว้นระยะห่าง การตรวจวัดอุณหภูมิ และจุดบริการแอลกอฮอล์ เจล รวมถึงกำหนดจำนวนผู้เข้าร่วมการประชุมด้วย

 

 

 

  

  

  

  

ระพีพรรณ จวงถาวร : ภาพ

ศรายุทธ มาทัพ หัวหน้ากลุ่มประชาสัมพันธ์และการเผยแพร่ : ข่าว / Editor

การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำตัวชี้วัดและแบบประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 3 สายงาน

   

     วันที่ 30 มีนาคม 2564 รศ.ดร. ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. เป็นประธานเปิดการประชุม และบรรยายพิเศษ ในการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำตัวชี้วัดและแบบประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 3 สายงาน ณ โรงแรมนูโว ชิตี กรุงเทพมหานคร

      สืบเนื่องจากการที่ ก.ค.ศ. ได้อนุมัติปรับปรุงมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา รวมถึงได้อนุมัติหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ ทุกสายงาน (สายงานการสอน สายงานบริหารสถานศึกษา สายงานนิเทศการศึกษา สายงานบริหารการศึกษา) ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น ซึ่งหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะฯ ดังกล่าว ได้กำหนดให้มีตัวชี้วัดในการประเมินด้วย ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการจัดทำตัวชี้วัดเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สำนักงาน ก.ค.ศ. จึงได้จัดการประชุมในครั้งนี้ขึ้น เพื่อรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ และร่วมกันพิจารณาจัดทำตัวชี้วัดและแบบประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 3 ตำแหน่ง ได้แก่ ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ และตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา ให้มีรายละเอียดตัวชี้วัดที่ใช้สำหรับการประเมิน มีความเหมาะสม เกิดประโยชน์สูงสุดกับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของตำแหน่งต่าง ๆ ที่สามารถเชื่อมโยงกันทั้งระบบ โดยได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่หลากหลาย ผู้แทนส่วนราชการ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ที่ปรึกษาสำนักงาน ก.ค.ศ. ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สำนักงาน ก.ค.ศ. เข้าร่วมการประชุม เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ก่อนที่สำนักงาน ก.ค.ศ. จะได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

   

   

งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา วpa

งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา วpa

ธาริณี นาคเมธี : ภาพ / ข่าว

ศรายุทธ มาทัพ หัวหน้ากลุ่มประชาสัมพันธ์และการเผยแพร่ : Editor

ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 10/2564

                  ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 10/2564 ในวันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน 2564 โดยมีนางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานการประชุม และมี รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. เป็นเลขานุการการประชุม ซึ่งที่ประชุมได้มีการพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและมีมติที่สำคัญ ดังนี้

                     1. เห็นชอบ วิธีการดำเนินการบริหารจัดการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปี พ.ศ. 2564โดยมอบ สพฐ. ดำเนินการจัดสอบภาค ก ความรู้ความสามารถทั่วไป และ ภาค ข มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ในอำนาจหน้าที่ของ กศจ. และ อ.ก.ค.ศ. สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ การใดที่ กศจ. ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ว 14/2563 ไปแล้ว ให้ส่งมอบให้ สพฐ. เพื่อดำเนินการต่อไป

           จากที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ดำเนินการเปิดรับสมัครบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปี พ.ศ. 2564 และประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบภาค ก และภาค ข เป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น ปรากฏว่าเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ไม่สามารถดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปี พ.ศ. 2564 ได้ตามกำหนดการสอบเดิมทำให้เกิดผลตามมาในด้านคุณภาพของการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา คุณภาพของผู้เรียนและการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของทั้งประเทศ ดังนั้น เพื่อให้การสอบแข่งขันฯ สามารถดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพได้ในสภาวการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยเป็นไปตาม พ.ร.ก. ฉุกเฉิน และมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) จึงให้ผู้มีสิทธิสอบ ภาค ก และ ภาค ข ตามที่ได้ประกาศรายชื่อไว้แล้วแจ้งความประสงค์ในการเข้าสอบในจังหวัดที่ตนเองพักอาศัยในปัจจุบัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเคลื่อนย้ายของผู้เข้าสอบในการเดินทางไปสอบในจังหวัดที่ได้ยื่นใบสมัครไว้

            2. อนุมัติ (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงาน กศน. จังหวัด/กรุงเทพมหานคร และผู้อำนวยการสำนักงาน กศน. จังหวัดกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเนื่องจาก ก.ค.ศ. ได้กำหนด มาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใหม่
(ว 3 /2564) โดยมีผลใช้บังคับทันที ประกอบกับหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกฯ ที่กำหนดไว้เดิม ได้ประกาศใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕9 ซึ่งปัจจุบันบริบทต่าง ๆ ได้มีการเปลี่ยนแปลงไป และเพื่อให้หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกเป็นไปแนวทางเดียวกันกับคัดเลือกตำแหน่งอื่น ๆ ในสายงานบริหารการศึกษา จังได้ปรับหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกฯ ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงาน กศน. จังหวัด/กรุงเทพมหานคร และผู้อำนวยการสำนักงาน กศน. จังหวัด/กรุงเทพมหานคร โดยคำนึงถึงบริบทของลักษณะงานที่รับผิดชอบ สามารถคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความเข้าใจลักษณะงานของการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาอัธยาศัย และนำนโยบายไปปฏิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีสาระสำคัญของหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังนี้

          1. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครเข้ารับการคัดเลือก

             1.1 ผู้มีสิทธิสมัครเข้ารับการคัดเลือกต้องเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงาน กศน. และปัจจุบันต้องไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งเดียวกันกับตำแหน่งที่สมัครเข้ารับการคัดเลือก

             1.2 คุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

             1.3 เป็นผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตามมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะ
ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.4/ว 3 ลงวันที่
26 มกราคม 2564

          2. กำหนดหลักสูตรการคัดเลือก ประกอบด้วย 3 ภาค ดังนี้

             ภาค ก ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการบริหารงานในหน้าที่ การวิเคราะห์กฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานและการนำไปใช้ (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)

             ภาค ข ความสามารถทางการบริหาร (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)

             ภาค ค ความเหมาะสมกับตำแหน่ง (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)

          3. เกณฑ์การตัดสิน

            3.1 ผู้ผ่านการคัดเลือกต้องได้คะแนน ภาค ก และภาค ข แต่ละภาคไม่ต่ำกว่าร้อยละห้าสิบ
และรวมทั้งสองภาคไม่ต่ำกว่าร้อยละหกสิบ และประกาศรายชื่อเรียงลำดับตามเลขประจำตัวสอบ เพื่อเข้ารับการประเมิน ภาค ค

3.2  ผู้ผ่านการคัดเลือกต้องได้คะแนน ภาค ค ไม่ต่ำกว่าร้อยละห้าสิบ

             3.3  ผู้ได้รับการคัดเลือกต้องได้คะแนนรวม ภาค ก ภาค ข และภาค ค ไม่ต่ำกว่าร้อยละหกสิบและ
ให้ประกาศรายชื่อโดยเรียงลำดับที่จากผู้ที่ได้คะแนนรวมจากมากไปหาน้อย                                    

          4. ให้ อ.ก.ค.ศ. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้กำหนด จำนวนตำแหน่งว่างที่จะใช้บรรจุและแต่งตั้ง วันและเวลาในการคัดเลือก องค์ประกอบ ตัวชี้วัด คะแนนการประเมิน ภาค ข และ ภาค ค และการประเมินสัมฤทธิผลการปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งการบริหารจัดการเกี่ยวกับการออกข้อสอบ และเป็นผู้ดำเนินการคัดเลือก
ทั้งนี้ อาจมอบสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยหรือตั้งคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการคัดเลือกได้

          5. กำหนดระยะเวลาการขึ้นบัญชีผู้ได้รับการคัดเลือก ไม่เกินสองปี

          6. กำหนดให้ผู้ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตามหลักเกณฑ์และวิธีการนี้ ต้องได้รับการประเมินสัมฤทธิผลการปฏิบัติงานในหน้าที่เพื่อพัฒนาการศึกษาเป็นระยะเวลา 1 ปี

    3. เห็นชอบ การกำหนดตำแหน่งอื่นที่ ก.ค.ศ. เทียบเท่าตามมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะ
สืบเนื่องจากที่ ก.ค.ศ. ได้กำหนดมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ทุกตำแหน่งและทุกสายงานขึ้นใหม่ ตาม ว 3/2564 โดยยกเลิกมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะฯ
ว 17/2548  ที่ใช้อยู่เดิม ก.ค.ศ. พิจารณาเห็นว่าเมื่อปรับปรุงมาตรฐานตำแหน่งฯ ใหม่ จึงต้องมีการพิจารณากำหนดตำแหน่งอื่นที่ ก.ค.ศ. เทียบเท่า ให้สอดคล้องตามมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะฯ ที่กำหนดขึ้นใหม่ด้วย โดยที่ประชุมได้พิจารณาให้กำหนดตำแหน่งอื่นที่ ก.ค.ศ. เทียบเท่าเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง เพื่อใช้สำหรับการสรรหาบุคคลเข้าสู่ตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา แต่มิได้กำหนดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับวิทยฐานะไว้ เนื่องจากคุณสมบัติเฉพาะสำหรับวิทยฐานะนั้น ได้ถูกกำหนดไว้ในมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะฯ ว 3/2564 แล้ว

          สำหรับการกำหนดตำแหน่งอื่นที่ ก.ค.ศ. เทียบเท่าเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น มีจำนวน 11 ตำแหน่ง ประกอบด้วย

          1) ครู

          2) รองผู้อำนวยการสถานศึกษา

          3) ผู้อำนวยการสถานศึกษา

          4) รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

          5) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

          6) รองผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัด/รองผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.กรุงเทพมหานคร

         7) ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัด/ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.กรุงเทพมหานคร

         8) ผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอ

         9) รองผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด

        10) ผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด

        11) ศึกษานิเทศก์

           โดยกำหนดตำแหน่งที่เทียบเท่าไว้เช่นเดิม ซึ่งเป็นตำแหน่งตาม พรบ. ข้าราชการครู พ.ศ. 2523 เพื่อให้ผู้ที่สามารถเข้าสู่ตำแหน่งนั้น สามารถเข้าสู่ตำแหน่งเพื่อความก้าวหน้าในวิชาชีพ

4. อนุมัติ (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดตำแหน่งเพื่อบริหารอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

    เนื่องจากจำนวนการเกิดของประชากรในอนาคตที่มีจำนวนลดลง ทำให้จำนวนประชากรที่จะเข้าเรียนลงลดประกอบกับมีการปรับปรุงการปฏิรูปการศึกษา และปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งจะส่งผลให้อนาคตจะมีสถานศึกษาขนาดเล็กกระจายตัวอยู่นอกเขตเมืองเพิ่มมากขึ้น ก.ค.ศ. จึงได้กำหนดเกณฑ์อัตราฯ ตาม ว 23/2564 ขึ้น ซึ่งหลักเกณฑ์และวิธีการฯ ดังกล่าว ได้กำหนดให้มีครูในสาขาวิชาเอกต่าง ๆ เพียงพออย่างเหมาะสม ไม่เกิดการกระจุกตัวของครูในสาขาใดสาขาหนึ่ง นอกจากนี้กระทรวงศึกษาธิการได้มีนโยบายในการควบรวมสถานศึกษา และได้มีการกำหนดตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษาเกิดขึ้นในสถานศึกษาที่มีจำนวนนักเรียนตั้งแต่ 120 คนขึ้นไป ส่งผลทำให้อัตรากำลังสายงานการสอนของสถานศึกษาขนาดต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงไป ก.ค.ศ.  จึงได้ศึกษา วิเคราะห์หลักเกณฑ์และวิธีการเกลี่ยอัตรากำลังฯ ที่มีอยู่เดิม เพื่อให้สอดคล้องกับเกณฑ์อัตรากำลังที่กำหนดใหม่ และเพื่อประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนและสามารถตอบโจทย์ด้านการบริหารสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการฯ ดังกล่าว ได้กำหนดวิธีการบริหารอัตรากำลังฯ ออกเป็น 3 กลุ่ม ตามรายละเอียดดังนี้

         กลุ่มที่ 1การบริหารอัตรากำลัง เพื่อขับเคลื่อนนโยบายการควบรวมสถานศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการเป็นกรณีการตัดโอนตำแหน่งและอัตราเงินเดือน ไปกำหนดในสถานศึกษาแห่งใหม่ ทำได้ทั้งภายในจังหวัดและต่างจังหวัด มี 2 วิธี

         วิธีที่ 1 ตัดโอนตำแหน่งฯ สายงานการสอนจากสถานศึกษา ที่ยุบ รวม เลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐานไปกำหนดเป็นสายงานการสอน ในสถานศึกษาแห่งใหม่ ที่มีอัตรากำลังสายงานการสอนต่ำกว่าเกณฑ์

        วิธีที่ 2 ตัดโอนตำแหน่งฯ สายงานบริหารสถานศึกษาจากสถานศึกษา ที่ยุบ รวม เลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ไปกำหนดเป็นสายงานการสอนหรือสายงานบริหารสถานศึกษา ในสถานศึกษาแห่งใหม่ที่มีอัตรากำลังสายงานการสอนหรือสายงานบริหารสถานศึกษาต่ำกว่าเกณฑ์

       กลุ่มที่ 2 การบริหารอัตรากำลัง เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการตามเกณฑ์อัตรากำลัง ว 23/2563 ที่ต้องการให้โรงเรียนมีครูที่เหมาะสมกับภาระงาน และมีครูครบในสาขาวิชาเอกแบ่งได้เป็น 2 วิธี

       วิธีที่ 1 “การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง” ซึ่งจะกระทำได้ภายในสถานศึกษานั้น เท่านั้น ได้แก่

                 1) ปรับปรุงสายงานการสอนเป็นสายงานการสอน

                 2) ปรับปรุงสายงานการสอนเป็นสายงานบริหารสถานศึกษา

         และ 3) ปรับปรุงสายงานบริหารสถานศึกษาเป็นสายงานการสอน ทั้งนี้ สถานศึกษานั้น ๆ ต้องมีอัตรากำลังสายงานที่รับการปรับปรุงต่ำกว่าเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ. กำหนด

     วิธีที่ 2 “การตัดโอนตำแหน่งและอัตราเงินเดือน” เป็นการตัดโอนไปกำหนดในสถานศึกษาแห่งใหม่ ซึ่งจะกระทำได้ภายในจังหวัดเท่านั้น เท่านั้น ได้แก่

               1) ตัดโอนสายงานการสอนเป็นสายงานการสอน

               2) ตัดโอนสายงานการสอนเป็นสายงานบริหารสถานศึกษา และ ๓) ตัดโอนสายงานบริหารสถานศึกษาเป็นสายงานการสอน ทั้งนี้ สถานศึกษาที่รับการตัดโอนต้องมีอัตรากำลังสายงานที่รับการตัดโอนต่ำกว่าเกณฑ์
ที่ ก.ค.ศ. กำหนด

        กลุ่มที่ 3 การบริหารอัตรากำลัง กรณีกระทรวงศึกษาธิการอนุมัติให้ถ่ายโอนไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นกรณีการตัดโอนตำแหน่งและอัตราเงินเดือน ไปกำหนดในสถานศึกษาแห่งใหม่ ได้ทั้งภายในจังหวัดและต่างจังหวัด

    5. เห็นชอบ (ร่าง) ระเบียบ ...เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษจากสภาพการทำงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ......

           ตามที่มาตรา 33 แห่ง พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 บัญญัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอาจได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษตามระเบียบที่ ก.ค.ศ. กำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี รวมถึงแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579 ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษา กำหนดให้สำนักงาน ก.ค.ศ. เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการพัฒนาระบบเงินเดือนและค่าตอบแทน สำหรับครูที่มีสมรรถนะสูง และครูที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ห่างไกล ทุรกันดารเสี่ยงภัย และพื้นที่พิเศษ ซึ่ง ก.ค.ศ. ได้นำรายละเอียดข้อมูลที่ได้ศึกษาจากการลงพื้นที่เพื่อดูสภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่จริงมาวิเคราะห์และพิจารณาแนวทางการกำหนดอัตราเงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ต้องปฏิบัติงานด้วยความเสียสละ อดทนสูง มีความยากลำบาก ตรากตรำในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตลอดจนต้องใช้ความรู้ความชำนาญ และความเอาใจใส่ต่อผู้เรียนเป็นพิเศษ ซึ่งสมควรกำหนดให้ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ โดยมีสาระสำคัญของ (ร่าง) หลักเกณฑ์ฯ ดังนี้

         1. กำหนดเหตุพิเศษ จากปฏิบัติงานด้วยความเสียสละ อดทนสูง ขาดโอกาสในการพัฒนาตนเอง   
มีความยากลำบาก ตรากตรำ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หรือการบริหารจัดการสถานศึกษา มีความเคร่งเครียด กดดัน หรือต้องดูแลกลุ่มผู้เรียนพักนอนในสถานศึกษาหรือผู้เรียนกลุ่มชาติพันธุ์ (กำหนดจากปัจจัยที่ 1 สภาพการปฏิบัติงาน)

        ทั้งนี้ นักเรียนพักนอน หมายถึง ผู้เรียนที่ศึกษาและต้องพักนอนอยู่ในสถานศึกษา เนื่องจากไม่สามารถเดินทางไป – กลับระหว่างสถานศึกษาและบ้านพักได้ภายในวันเดียวกัน เนื่องจากความยากลำบากในการเดินทาง โดยความเห็นชอบของส่วนราชการต้นสังกัดและโดยอนุมัติของ ก.ค.ศ. และกลุ่มชาติพันธุ์ หมายถึง กลุ่มชาติพันธุ์ตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด   

        2. ผู้มีสิทธิได้รับเงินเพิ่ม ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน และสายงานผู้บริหารสถานศึกษา ที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษา ดังนี้

             (1) สถานศึกษาตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔ แห่ง พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการครูฯ พ.ศ. 2547   

             (2) โรงเรียนสาขา/ห้องเรียนสาขาที่ส่วนราชการต้นสังกัดกำหนด

             (3) สถานที่จัดการเรียนการสอนที่ส่วนราชการต้นสังกัดกำหนด

      โดยอนุมัติของ ก.ค.ศ. หรือ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ. ตั้ง หรือ กศจ. ที่ได้รับมอบหมาย โดยสถานศึกษาต้องมีพื้นที่ตั้งเป็นเกาะ หรือบนภูเขาสูง หรือหุบเขา หรือเชิงเขา ที่ไม่สามารถเดินทางด้วยพาหนะใด ๆ ได้สะดวกตลอดปี หรือพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อความมั่นคงของประเทศ หรือพื้นที่อื่นตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

        3. อัตราเงินเพิ่ม 3,000 บาท/เดือน โดยให้จ่ายเป็นรายเดือนในลักษณะจ่ายควบกับเงินเดือน และไม่นำไปรวมคำนวณบำเหน็จบำนาญ กรณีปฏิบัติงานไม่เต็มเดือน ให้ได้รับเงินเพิ่มตามส่วนของจำนวนวันที่ได้ปฏิบัติหน้าที่

             ทั้งนี้ ให้ดำเนินการนำ (ร่าง) ระเบียบ ก.ค.ศ. เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษจากสภาพการทำงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ..... เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป

  

 

 

 

 

 

กลุ่มประชาสัมพันธ์และการเผยแพร่ สำนักงาน ก.ค.ศ.

ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 2/2564

        ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 2/2564 ในวันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 โดยมีนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน ซึ่งที่ประชุมได้มีการพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่สำคัญ ดังนี้

        1. เห็นชอบ (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา

       สืบเนื่องจาก ก.ค.ศ. ในคราวประชุมครั้งที่ 9/2563 เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2563 ได้เห็นชอบการกำหนดมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกตำแหน่งและทุกวิทยฐานะ สำหรับตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งได้กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบใหม่ ให้สอดคล้องต่อการเปลี่ยนแปลงกับการจัดการศึกษาในปัจจุบัน และทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก รวมทั้งกำหนดลักษณะงานที่ปฏิบัติ 5 ด้าน คือ    1. ด้านการบริหารวิชาการและความเป็นผู้นำทางวิชาการ 2. ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา 3. ด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม 4. ด้านการบริหารงานชุมชนและเครือข่าย และ 5. ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ รวมถึงการกำหนดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งซึ่ง ก.ค.ศ. ได้เห็นชอบหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอนไปแล้ว และเพื่อให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี รวมถึงโมเดลการศึกษายกกำลังสอง ของกระทรวงศึกษาธิการ “ปลดล็อก ปรับเปลี่ยน เปิดกว้าง” จึงเป็นที่มาของการจัดทำ (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งได้มีการศึกษา การระดมความคิดเห็นจากนักวิชาการ มีผลการวิจัยเป็นฐานในการดำเนินการ รวมถึงได้มีการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สำหรับหลักเกณฑ์และวิธีการฯ ใหม่นี้  ก.ค.ศ. พิจารณาแล้วเห็นว่าหลักเกณฑ์และวิธีการฯ ดังกล่าว จะเป็นประโยชน์กับผู้เรียน สถานศึกษา ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อให้ผู้บริหารสถานศึกษาได้พัฒนาตนเองให้มีศักยภาพสูงขึ้นตามระดับวิทยฐานะ มีภาวะผู้นำในการบริหารวิชาการ และบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนคุณภาพครู คุณภาพผู้เรียน และคุณภาพการศึกษาได้อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ ผู้บริหารสามารถเข้าถึงครูและห้องเรียนมากยิ่งขึ้นจะทำให้ได้รับทราบปัญหา และสามารถนำมากำหนดแผนพัฒนาสถานศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน และยังทำให้ผู้บริหารสถานศึกษาได้ทราบจุดแข็งและจุดที่ควรพัฒนาของครูและบุคลากรในสถานศึกษา ซึ่งจะทำให้มีแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะครู เพื่อให้ครูสามารถนำผลการพัฒนามาใช้ให้เกิดประโยชน์กับการจัดการเรียนรู้และการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน สำหรับการประเมินตามหลักเกณฑ์และวิธีการฯ ใหม่นี้เป็นการลดกระบวนการและขั้นตอน โดยการนำระบบเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ลดภาระในการจัดทำเอกสารและงบประมาณเกี่ยวกับการประเมิน เกิดการเชื่อมโยงบูรณาการในระบบการประเมินวิทยฐานะ การประเมินผลการปฏิบัติงาน การเลื่อนเงินเดือน และการประเมินเพื่อคงวิทยฐานะโดยใช้ตัวชี้วัดเดียวกัน ทำให้ลดความซ้ำซ้อน และมี Big data ในการบริหารงานบุคคลสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลสำคัญในการวางแผนอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพโดย (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการฯ ใหม่ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

        1. กำหนดให้ผู้บริหารสถานศึกษาทุกคน ต้องทำข้อตกลงในการพัฒนางานกับผู้บังคับบัญชาชั้นต้น
เป็นประจำทุกปี
ประกอบด้วย 2 ส่วน

           ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะ

           ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เสนอเป็นประเด็นท้าทายเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ครู และสถานศึกษา ฯลฯ

         โดยมีรอบการประเมินปีงบประมาณละ 1 ครั้ง โดยผลการประเมินไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการบริหารงานบุคคล ได้แก่ ใช้เป็นคุณสมบัติในการขอรับการประเมินเพื่อให้มีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ ใช้เป็นผลการประเมินเพื่อคงวิทยฐานะ (มาตรา 55) และใช้เป็นองค์ประกอบในการประเมินเพื่อพิจารณาเลื่อนเงินเดือน

         สำหรับการยื่นคำขอ ให้ยื่นได้ตลอดปี ภาคเรียนละ 1 ครั้ง โดยหากยื่นไว้แล้ว ต้องได้รับแจ้งมติไม่อนุมัติก่อน จึงจะยื่นในวิทยฐานะเดิมได้

         2. คุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอ

           1) ต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง/วิทยฐานะ 4 ปีติดต่อกัน หรือมีคุณสมบัติเป็นไปตามเงื่อนไขที่ ก.ค.ศ. กำหนด กรณีลดระยะเวลาจะต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง/วิทยฐานะ 3 ปีติดต่อกัน

           2) มีการพัฒนางานตามข้อตกลง ในช่วงระยะเวลาย้อนหลัง 3 รอบการประเมิน ผ่านเกณฑ์

           3) ไม่เคยถูกลงโทษทางวินัย/จรรยาบรรณที่หนักกว่าภาคทัณฑ์ในช่วง 4 ปีย้อนหลัง

           4) สำหรับผู้ขอเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ/เชี่ยวชาญพิเศษ ต้องมีผลงานทางวิชาการตามที่ก.ค.ศ. กำหนดด้วย

        3. การประเมิน กำหนดให้มีการประเมิน 2 ด้าน

           ด้านที่ 1 ด้านทักษะการวางแผนกลยุทธ์ การใช้เครื่องมือ หรือนวัตกรรมทางการบริหาร

           ด้านที่ 2 ด้านผลลัพธ์ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ครู และสถานศึกษา

          สำหรับวิทยฐานะเชี่ยวชาญ และเชี่ยวชาญพิเศษจะมีการประเมิน ด้านที่ 3 ด้านผลงานทางวิชาการ

        4. การยื่นคำขอให้ยื่นคำขอและหลักฐานประกอบการประเมินผ่านระบบการประเมินวิทยฐานะดิจิทัล(Digital Performance Appraisal : DPA)

       5. เกณฑ์การตัดสินในแต่ละด้านต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65 สำหรับการขอมีวิทยฐานะชำนาญการ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ร้อยละ 75 และร้อยละ 80 สำหรับการขอเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ และเชี่ยวชาญพิเศษ ตามลำดับ

        โดยหลักเกณฑ์และวิธีการฯนี้ กำหนดให้มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564

    2. เห็นชอบ (ร่าง) กฎ ก.ค.ศ. การให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำ หรือสูงกว่าขั้นสูงของอันดับ พ.ศ.....

        ตามที่ ก.ค.ศ. ได้ออกกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำหรือสูงกว่าขั้นสูงของอันดับ พ.ศ. 2553 รวมถึงกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำหรือสูงกว่าขั้นสูงของอันดับ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555
ซึ่งสำนักงาน ก.ค.ศ. ได้แจ้งให้ส่วนราชการทราบและถือปฏิบัติ ซึ่งต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาการทบทวนความเหมาะสมของกฎหมาย พ.ศ. 2558 ก.ค.ศ. จึงได้มีการทบทวนกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำ หรือสูงกว่าขั้นสูงของอันดับ พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยพบว่ามีสาระสำคัญและมีรายละเอียดที่ต้องปรับแก้หลายประเด็น เช่นการให้ได้รับเงินเดือนกรณีเปลี่ยนตำแหน่ง ย้าย หรือโอน ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา การให้ได้รับเงินเดือนในการแต่งตั้งครูผู้ช่วย ให้ดำรงตำแหน่งครู การให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นสูงของอันดับ การให้ได้รับเงินเดือนกรณีย้าย หรือโอน มาเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นต้น ซึ่งการปรับแก้กฎ ก.ค.ศ. ดังกล่าว จะทำให้การให้ได้รับเงินเดือนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กับข้าราชการพลเรือนสามัญมีความสอดคล้องกัน และเป็นไปตามนโยบายการศึกษายกกำลังสองของกระทรวงศึกษาธิการ “ปลดล็อก ปรับเปลี่ยน เปิดกว้าง” เพื่อให้การบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้จะได้นำร่างหลักเกณฑ์ดังกล่าวนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

 

 

 

  

ระพีพรรณ จวงถาวร : ภาพ

ธาริณี นาคเมธี : ข่าว

ศรายุทธ มาทัพ หัวหน้ากลุ่มประชาสัมพันธ์และการเผยแพร่  :  Editor

รวมคำถามยอดฮิตเกี่ยวกับการทำ ว PA

    นับถอยหลังอีกไม่กี่วันก็จะเข้าสู่การยื่น ว PA เรามาดูกันว่า คำถามยอดฮิตสรุปจากกิจกรรม Live “ร่วมเรียนรู้ พร้อมเข้าสู่ระบบ PA”  เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2564 มีอะไรกันบ้าง

คำถามที่ 1 : ในกรณีที่ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย จะต้องทำ PA ด้วยหรือไม่ ?

คำถามที่ 2 : กรณีที่ผู้ได้รับการบรรจุแต่งตั้งเป็นครูผู้ช่วยก่อน 5 ก.ค. 60 และได้ดำรงตำแหน่งครูตั้งแต่ 5 ก.ค. 60 ซึ่งมีคุณสมบัติตรบตาม ว 17/2552 แต่ยังไม่เคยขอมีวิทยฐานะชำนาญการในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่านตาม ว 21/2560 จะสามารถยื่นขอตาม ว 17/2552 ได้หรือไม่ ? ซึ่งเป็นระยะเวลาเปลี่ยนผ่านตาม ว 9/2564

คำถามที่ 3 : ในกรณียื่นขอมี / เลื่อนวิทยฐานะในระบบ DPA จะต้องส่งแผนการจัดการเรียนรู้และคลิปการสอนทุกรอบปีงบประมาณ หรือไม่ ?

 คำถามที่ 4 : การขอมี หรือเลื่อนวิทยฐานะในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน ใครเป็นผู้ประเมินผลการพัฒนาฯ ตาม ว 17/2552 และประเมินเมื่อใด ?

คำถามที่ 5 : สามารถนำวุฒิปริญญาโทเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่ได้ก่อนการบรรจุเป็นครู มาใช้ลดระยะเวลาการขอเลื่อนวิทยฐานะเป็นชำนาญการพิเศษ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการของ ว 9/2564 ได้หรือไม่ ?

ขอบคุณ Infographic จาก Starfish : shorturl.at/fqE12

กลุ่มประชาสัมพันธ์และการเผยแพร่ สำนักงาน ก.ค.ศ.

แนวคิดระบบพัฒนาวิชาชีพครู The system of Teacher Professional Development

งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา วpa

งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา วpa

งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา วpa

กลุ่มประชาสัมพันธ์และการเผยแพร่