แนวข้อสอบนักวิชาการสาธารณสุข ข้อเขียน

                                                        สอบตำเเหน่งวิชาการสาธารณสุขศาสตร์

 

รับ  2 อัตรา คนสอบทั้งหมด 378 คน
เงินเดือน 18,000 บาท

วิธีสมัคร : สมัครด้วยตนเอง สถานที่รับสมัคร : งานการบริหารงานการบุคคล กลุ่มบริหารทั่วไป สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น วันที่เปิดรับสมัคร : 24 - 28 สิงหาคม 2558 ในเวลาราชการ 

เขาจะรับสมัครก่อน เเล้วจะประกาศ วันสอบ สถานที่สอบ รายชื่อผู้สมัครสอบทีหลัง
ประกาศรายชื่อ : 1 กันยายน....... อ่านต่อได้ที่ :http://www.job-108.com/jobs-id5222.html

สอบวันที่ 6/9/2015
โรงเรียนกัลยาณวัตร จังหวัดขอนเเก่น

การประเมินครั้งที่ 1

1.ความรู้ความสามารถทั่วไป
2.ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะสำหรับตำเเหน่งที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่ เช่น การดำเนินงานด้านสาธารณสุข วัดเเละประเมินผล การส่งเสริมสุขภาพ การสุขาภิบาลเเละอื่นๆ เป็นต้น กฏหมายเเละระเบียบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

อุปกรณ์

ปากกาน้ำเงิน เขาใช้ปากกาน้ำเงินในการฝนคำตอบเเละใช้ลิควิด ลบคำตอบได้เเปลกมาก เเต่ก่อนเคยใช้เเต่ดินสอ 2B ฝนรหัสเลยไม่ค่อยชินเท่าไหร่

ประกาศผล

14/9/2558
ข้อสอบมี 100 ข้อ
- ข้อเขียน 50 ข้อ 50 คะเเนน
-ข้อกากบาท 50 ข้อ 50 คะเเนน
เวลาทำ 13.30-16.30 น.

1.อาหารประเภทใดมีโอกาสปนเปื้อนสารฆ่าแมลงมากที่สุด

ง.ลูกชิ้น หมูยอ

คำตอบ: ค.ผักสด ผลไม้ ปลาเค็ม

2.ร้านอาหารที่รับรองมาตรฐานอาหารสะอาดรสชาติอร่อยต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานกี่ข้อ

ก.12 ข้อ

ข. 15 ข้อ

ค.20 ข้อ

ง. 30 ข้อ

คำตอบ: ข. 15 ข้อ

เกณฑ์ร้านอาหารมาตรฐาน
“อาหารสะอาด รสชาติอร่อย” (Clean Food Good Taste)

1. เกณฑ์ด้านกายภาพ 15 ข้อ (ต้องผ่านทุกข้อ) ดังนี้
1) สถานที่รับประทาน สถานที่เตรียมปรุง ประกอบอาหาร
ต้องสะอาดเป็นระเบียบและจัดเป็นสัดส่วน
2) ไม่เตรียมปรุงอาหารบนพื้นและบริเวณหน้าหรือในห้องน้ำ
ห้องส้วม และต้องเตรียมปรุงอาหารบนโต๊ะที่สูงจากพื้นอย่างน้อย 60 ซม.
3) ใช้สารปรุงแต่งอาหารที่มีความปลอดภัย มีเครื่องหมายรับรองของทางราชการ
เช่น เลขทะเบียนตำรับอาหาร (อย.) เครื่องหมายรับรองมาตรฐานของ
กระทรวงอุตสาหกรรม (มอก.)
4) อาหารสดต้องล้างให้สะอาดก่อนนำมาปรุงหรือเก็บ การเก็บอาหารประเภท
ต่างๆต้องแยกเก็บเป็นสัดส่วน อาหารประเภทเนื้อสัตว์ดิบเก็บในอุณหภูมิที่
ไม่สูงกว่า 7.2 องศาเซลเซียส
5) อาหารที่ปรุงสำเร็จแล้ว เก็บในภาชนะที่สะอาดมีการปกปิด
วางสูงจากพื้นอย่างน้อย 60 ซม.
6) น้ำแข็งที่ใช้บริโภคต้องสะอาด เก็บในภาชนะที่สะอาดมีฝาปิด
ใช้อุปกรณ์ที่มีด้ามสำหรับคีบหรือตักโดยเฉพาะ
วางสูงจากพื้นอย่างน้อย 60 ซม. และต้องไม่มีสิ่งของอย่างอื่นแช่รวมไว้
7) ล้างภาชนะด้วยน้ำยาล้างภาชนะ แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด 2 ครั้ง
หรือล้างด้วยน้ำไหล และที่ล้างภาชนะต้องวางสูงจากพื้นอย่างน้อย 60 ซม.
8) เขียงและมีด ต้องมีสภาพดี แยกใช้ระหว่างเนื้อสัตว์สุก เนื้อสัตว์ดิบ และผัก ผลไม้
9) ช้อน ส้อม ตะเกียบ วางตั้งเอาด้ามขึ้นในภาชนะโปร่งสะอาด หรือวางเป็นระเบียบ
ในภาชนะโปร่งสะอาดและมีการปกปิด เก็บสูงจากพื้นอย่างน้อย 60 ซม.
10) มูลฝอย และน้ำเสียทุกชนิด ได้รับการกำจัดด้วยวิธีที่ถูกหลักสุขาภิบาล
11) ห้องส้วมสำหรับผู้บริโภคและผู้สัมผัสอาหารต้องสะอาด มีอ่างล้างมือที่
ใช้การได้ดี และมีสบู่ใช้ตลอดเวลา
12) ผู้สัมผัสอาหารแต่งกายสะอาด สวมเสื้อมีแขน ผู้ปรุงต้องผูกผ้ากันเปื้อน
ที่สะอาด สวมหมวกหรือเน็ทคลุมผม
13) ผู้สัมผัสอาหารต้องล้างมือให้สะอาดก่อนเตรียมปรุง ประกอบ จำหน่าย
อาหารทุกครั้ง ใช้อุปกรณ์ในการหยิบจับอาหารที่ปรุงสำเร็จแล้วทุกชนิด
14) ผู้สัมผัสอาหารที่มีบาดแผลที่มือต้องปกปิดแผลให้มิดชิด หลีกเลี่ยงการ
ปฏิบัตงานที่มีโอกาสสัมผัสอาหาร
15) ผู้สัมผัสอาหารที่เจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถติดต่อไปยังผู้บริโภค โดยมีน้ำ
และอาหารเป็นสื่อ ให้หยุดปฏิบัติงานจนกว่าจะรักษาให้หายขาด
2. เกณฑ์ด้านชีวภาพ (ตรวจหลังจากผ่านด้านกายภาพแล้ว)
3. จะได้รับป้ายรับรอง “อาหารสะอาด รสชาติอร่อย” เมื่อผ่านเกณฑ์ข้อ 1 และข้อ 2 แล้ว
18 4. ป้ายมีอายุ 1 ปี นับจากวันที่ได้รับ และต้องประเมินใหม่ทุกๆปี


3. หลักเกณฑ์ส้าคัญในการพัฒนาส้วมสาธารณะให้ได้มาตรฐานประกอบด้วยอะไรบ้าง

ก.ความสวยงาม สะอาด เรียบร้อย

ข.ความสะอาด เรียบร้อย เพียงพอ

ค.ความสะอาด เพียงพอ ปลอดภัย

ง.ความสวยงาม สะอาด ปลอดภัย

คำตอบ: ค.ความสะอาด เพียงพอ ปลอดภัย (ไปดูตัวย่อภาษาอังกฤษมาด้วยน่ะค่ะ ว่า มีตัวอะไรบ้าง HAS ย่อมาจากอะไร )
)

เกณฑ์มาตรฐานส้วมสาธารณะระดับประเทศ (HAS)

สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม

ส้วมสาธารณะ หมายถึง ห้องส้วมในที่สาธารณะหรือสถานประกอบการหรือสถานบริการที่จัดเตรียมไว้ให้ประชาชนทั่วไปใช้บริการ การพัฒนาส้วมสาธารณะในประเทศไทยให้ได้มาตรฐานนั้น

เน้นการพัฒนาส้วมสาธารณะไทยให้บรรลุ 3 เรื่อง คือ สะอาด เพียงพอ ปลอดภัย ได้มาตรฐาน
1.สะอาด (Healthy) หมายถึง ส้วมจะต้องได้รับการดำเนินการให้ถูกหลักสุขาภิบาล เช่น ห้องส้วมและสุขภัณฑ์ทั้งหมดจะต้องสะอาด ไม่มีกลิ่นเหม็น มีน้ำสะอาด สบู่ล้างมือ กระดาษชำระเพียงพอ
การเก็บกักหรือบำบัดสิ่งปฏิกูลถูกต้องและมีสภาพแวดล้อมสวยงาม ซึ่งจะมีผลดีทั้งร่างกายและจิตใจของผู้ใช้บริการ
2.เพียงพอ (Accessibility) หมายถึง ต้องมีจำนวนส้วมให้เพียงพอแก่ความต้องการของผู้ใช้ รวมถึง ผู้พิการ ผู้สูงวัย หญิงมีครรภ์ และส้วมต้องพร้อมใช้งานตลอดเวลาที่เปิดให้บริการ
3.ปลอดภัย (Safety) หมายถึง ผู้ใช้บริการจะต้องปลอดภัยขณะใช้ส้วม เช่น สถานที่ตั้งส้วม
ไม่เปลี่ยว ห้องส้วมแยกชาย-หญิง มีแสงสว่างเพียงพอ เป็นต้น


4. พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2523 รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศชื่อโรคติดต่ออันตรายไว้ 
รวม 5 โรค มีดังนี้
1. อหิวาตกโรค
2. กาฬโรค
3. ไข้ทรพิษ
4. ไข้เหลือง
5. โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง
(ข้อสอบเอา ไข้กาฬหลังแอ่น มาหลอก จขกท ตอบผิดเลย วัยรุ่นเเซง)

5.ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน กรมควบคุมโรค Complaint Center
DCC call Center 
=1422
(ข้อนี้ จขกท ก็ตอบ 1590 เสียใจจัง^^)

6. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของไทย คนปัจจุบัน 6/9/2558
ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน  คณะที่ ครม. 61  30 สิงหาคม พ.ศ. 2557-19 สิงหาคม พ.ศ. 2558( จขกท ตอบข้อนี้ ถ้า สอบ ต้นเดือน สค ตอบถูกไปเเล้ววววว หูย><!!)ศ.นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร  คณะที่ ครม. 61 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558-ปัจจุบัน


7.POSDCORB is an acronym widely used in the field of Management and Public Administration that reflects the classic view of administrative management.
 The acronym stands for steps in the administrative process: Planning, Organizing, Staffing, Directing, Co-Ordinating, Reporting and Budgeting.
(ข้อนี้ จขกท เดาถูกเพราะ เอาคำว่า survey มาหลอก คิดว่า ไม่น่าใช่ ไม่เคยผ่านตากับการย่อคำว่า Survey ในการเรียนสาธารณสุข 4 ปี)
จาก https://en.wikipedia.org/wiki/POSDCORB

8.ข้อสอบถาม.....รายงานความเสี่ยงของโรงงานไฟฟ้าถ่านหินต่ออะไรนี้เเหละ (จขกท ลืม เเต่จำได้ว่าตอบ E..SA นี้เเหละเลย ได้กินไข่เลย - -!!)
สงสัยว่า EIA กับ EHIA คือ อะไร ต่างกันอย่างไร แล้วทำไมต้องมี

                 EIA (Environmental Impact Assessment) คือ “รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม” จากโครงการต่าง ๆ ของรัฐและเอกชน เช่น เขื่อน โรงไฟฟ้า ถนน สนามบิน ที่อยู่อาศัย โรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ ทั้งด้านบวกและลบ เพื่อเตรียมควบคุม ป้องกัน และแก้ไขก่อนเริ่มสร้างโครงการนั้น ๆ

                 ส่วน EHIA (Environmental Health Impact Assessment) เป็นรายงานส่วนหนึ่งของ EIA อีกที แต่จะเน้นที่ “ผลกระทบต่อสุขภาพ” ของประชาชนที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการนั้น ๆ

หลายประเทศออกพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ บังคับให้ภาคราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน ต้องทำ EIA และ EHIA ก่อนสร้างโครงการต่าง ๆ โดยเริ่มจากกระบวนการกลั่นกรองโครงการ จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน เพื่อกําหนดขอบเขตการศึกษาและประเมินระดับผลกระทบ จากนั้นต้องจัดเวทีรับฟังการทบทวนร่างรายงานอีกครั้งเพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน แก้ไข และติดตามตรวจสอบ ก่อนจะทำรายงาน EIA หรือ EHIA เสนอสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และหน่วยงานอนุญาต

เมื่อผ่านความเห็นชอบแล้ว สผ. จะส่งรายงาน EIA หรือ EHIA ไปขอความเห็นประกอบจากองค์กรอิสระ ขั้นตอนสุดท้ายหน่วยงานผู้มีอํานาจอนุมัติจะเผยแพร่เหตุผลและคําชี้แจงการตัดสินใจต่อสาธารณะและบนเว็บไซต์

เพราะเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมบ้านเรากำลังขยายตัวรวดเร็ว ถ้ามีแต่ผู้สร้างสิ่งต่าง ๆ โดยมุ่งแต่ผลตอบแทนทางธุรกิจ ไม่สำรวจผลกระทบก่อนดำเนินโครงการ ย่อมมีโอกาสก่อปัญหาทรัพยากร สิ่งแวดล้อมไปจนถึงสุขภาพประชาชน EIA และ EHIA จึงเป็นเหมือนประตูด่านแรกที่จะปิดกั้นผลเสียต่าง ๆ สู่ชุมชน เพื่อความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย
จาก
ตีพิมพ์ใน นิตยสาร สารคดี ฉบับที่ 344 ตุลาคม 2556

- See more at: http://www.sarakadee.com/2013/12/20/eia-ehia/#sthash.8ZYoyoNr.dpuf
9.ข้อสอบถามว่าข้อใดไม่ใช่ มีให้เลือกสี่ตัวเลือกสั้นๆ (เเต่ จขกท เน้น สีเหลืองไว้ มันอยู่ในตัวเลือกรวมๆกันทำเราสับสน งงงวย ฮือๆๆๆ )

อีโบลาไวรัส...ไวรัสอันตรายที่ควรรู้

อีโบลาไวรัส...ไวรัสอันตรายที่ควรรู้

พญ. มาริษา พงศ์พฤฒิพันธ์
สาขาวิชาตจวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในขณะนี้อีโบลาไวรัส (ebola virus) กำลังเป็นที่จับตามองของแพทย์ทั่วโลก เนื่องจากมีรายงานการระบาดหนักในปีนี้ และได้คร่าชีวิตผู้ป่วยชาวแอฟริกันไปหลายร้อยราย เชื้ออีโบลาไวรัสเป็นไวรัสอันตรายที่(1)ติดต่อในคนและในสัตว์และอาจทำให้ผู้ติดเชื้อนั้นเสียชีวิต โดยมี(2)อัตราการเสียชีวิตสูงถึง 60-90%(มันมีตัวเลือก 40% มาด้วยน่ะค่ะ ข้อนี้เเหละ น่าจะฝนซะ จขกท ลืมเลย ไปตอบ ข้อเลือดออกเยอะๆผิดสะงั้น เเห้วเลย  ฮือๆ>< !!)น(3)ปัจจุบันก็ยังไม่มีทางรักษาและยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ก่อนหน้านี้มี(4)รายงานการระบาดเฉพาะในทวีปแอฟริกาโดยเริ่มมีการระบุเชื้อได้จากการตรวจทางห้องปฏิบัติการตั้งแต่ปี ค.ศ.19671 ล่าสุด (ค.ศ.2014) ได้มีรายงานการระบาดหนักเกิดที่ไลบีเรีย, กีเนียและเซียราลีโอน ซึ่งเป็นประเทศที่อยู่บริเวณตะวันตกของทวีปแอฟริกา2

การติดต่อ
(5)ไวรัสนี้สามารถติดต่อได้โดยการสัมผัสเลือด หรือสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย ได้แก่ เลือด น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย ของใช้ของผู้ป่วย หรือสัตว์ที่ป่วย รวมทั้งการนำสัตว์ที่ป่วยมาทำเป็นอาหาร โดยผ่านทางเยื่อบุในปากและทางเดินอาหาร (mucous membrane), เยื่อบุตา (conjunctiva) และรอยแยกหรือแผลบนผิวหนัง3 ระยะที่เกิดการติดต่อได้เริ่มตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการนำ (ประมาณ 7 วัน) ซึ่งในระยะนี้ยังจัดเป็นความเสี่ยงต่ำ การติดต่อจะติดได้ง่ายขึ้นเมื่อผู้ป่วยเข้าสู่ระยะท้ายของโรค

อาการและอาการแสดง1
1. อาการในระยะแรก (Phase I) มีอาการไข้สูงทันทีทันใด (39-40°C) อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ปวดศีรษะจากท้ายทอย และเจ็บคอ

2. อาการในระยะที่สอง (Phase II) จะมีอาการของความผิดปกติของอวัยวะภายใน โดยจะเริ่มมีอาการในวันที่ 2-4 หลังแสดงอาการแรกเริ่ม และคงอยู่นาน 7- 10 วัน อาการและอาการแสดงได้แก่ อาการปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย เบื่ออาหาร เจ็บคอรุนแรง เจ็บหน้าอก กลืนลำบาก ไอแห้ง ๆ และมี ผื่นแดง ราบและนูน (maculopapular rash) กดจางได้ และไม่คัน ขึ้นตามผิวหนัง โดยเริ่มมีผื่นได้ตั้งแต่วันที่ 2-7 หลังแสดงอาการแรกเริ่ม (มักขึ้นในวันที่ 5) (รูปที่ 1)1 เมื่อผื่นหายจะเกิดเป็นขุยเล็กๆได้ (fine scaling) อาการทางตา ได้แก่ อาการตาแดง ตาสู้แสงไม่ได้(6) ในรายที่มีอาการรุนแรงจะมีเลือดออกในอวัยวะภายใน ทำให้เลือดกำเดาไหล, ถ่ายเป็นเลือด, อาเจียนเป็นเลือด, ปัสสาวะเป็นเลือด, และปรากฏจุดเลือดออกตามร่างกาย ร่วมกับภาวะตับถูกทําลาย ไตวาย มีอาการทางระบบประสาทส่วนกลาง เช่น สับสน เซื่องซึม ก้าวร้าว (aggressiveness) และอาการชัก เป็นต้น

แนวข้อสอบนักวิชาการสาธารณสุข ข้อเขียน

รูปที่ 1 ผื่นแดง ราบและนูน กดจางได้ (maculopapular rash) ที่พบจากการติดเชื้ออีโบลาไวรัส1

3. อาการในระยะที่สาม (Phase III) ผู้ป่วยจะมีอาการหายใจเร็ว อาจมีอาการสะอึก มีความดันโลหิตลดต่ำ เป็นผลให้อวัยวะหลายระบบเสื่อมหน้าที่ ปัสสาวะไม่ออก ซึ่งเป็นผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิต

สำหรับผู้ที่รอดชีวิตจะมีอาการต่าง ๆ เหล่านี้

ได้มากกว่าหนึ่งเดือน ได้แก่ อาการอ่อนเพลียรุนแรง เบื่ออาหารน้ำหนักลด และปวดข้อ อาการอื่นที่อาจพบตามหลัง ได้แก่ ตับอักเสบเป็น ๆ หาย ๆ, ไขสันหลังอักเสบ, อาการทางระบบประสาท และตาอักเสบ (uveitis) เป็นต้น

การวินิจฉัย
การยืนยันการวินิจฉัยการติดเชื้ออีโบลา ทำได้โดยการตรวจหาเชื้อไวรัส (antigen detection, viral RNA polymerase chain reaction) และภูมิต่อเชื้อไวรัส (IgG)

การรักษา
ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาจำเพาะ การรักษาจึงทำได้เพียงการบรรเทาอาการ และรักษาตามอาการ ปัจจุบันมีความพยายามในการคิดค้นยาใหม่ แต่ยังอยู่ในระหว่างการศึกษา

การป้องกัน
สามารถป้องกันการแพร่เชื้อได้โดยการใช้มาตรการควบคุมการติดเชื้อ ผู้ที่ต้องเดินทางเข้าไปในพื้นที่ที่มีการระบาด ควรปฏิบัติตนให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ โดยหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับเลือด หรือสารคัดหลั่ง เช่น เลือด หรือสิ่งของเครื่องใช้ของผู้ป่วยที่อาจปนเปื้อนกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วย หรือศพของผู้ป่วยที่เสียชีวิต หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์โดยเฉพาะสัตว์ป่าที่อาจนำมาเป็นอาหาร ถ้ารู้สึกไม่สบาย มีอาการไข้ ปวดหัว เจ็บคอ ท้องเสีย อาเจียน ปวดท้อง ผื่นแดง หรือตาแดง ให้พบแพทย์ทันที
10.ถามว่า 3 อันดับการตายของคนไทยเกิดจากอะไร
มี เอดส์ มาหลอกเราสามข้อ เลยน่ะ 
มีตัวเลือก หัวใจ หลอดเลือด มะเร็ง ข้อนี้น่าาจะถูกจำไว้กันให้ดีๆๆ (เฮ้อ เศร้า - -)
(จขกท ตอบ มะเร็ง อุบัติเหตุ เเละ หัวใจ  เเห้วอีกเเล้วววววว  โธ่ - -!!! )  

5 อันดับโรคยอดฮิต ที่คร่าชีวิตคนไทยสูงสุด

1.มะเร็ง 

อันดับหนึ่งครองแชมป์ติดต่อกันมา 5 ปีผู้เสียชีวิตประมาณปีละ 50,000 คน เฉลี่ยชั่วโมงละ 6 คน โดยจำนวนอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นจำนวนมากขึ้นตามลำดับ โรคมะเร็งหากเป็นแล้วมีโอกาสเสียชีวิตสูง โดยเฉพาะรายที่พบในระยะลุกลาม โรคมะเร็งที่พบมากที่สุด 6 อันดับแรก ได้แก่ มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งในช่องปาก โดยมะเร็งที่ผู้ชายเป็นกันมากอันดับ 1 ได้แก่ มะเร็งตับ รองลงมาคือ มะเร็งปอดและมะเร็งลำไส้ใหญ่ ส่วนมะเร็งที่พบในผู้หญิงตามลำดับคือมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม และมะเร็งตับ แต่หากตรวจพบในระยะแรกอาจมีทางจะรักษาได้ จึงต้องหมั่นตรวจสุขภาพประจำปีอย่างต่อเนื่องนะคะ

2.โรคหัวใจและหลอดเลือด ไขมันในเลือดสูง และโรคหลอดเลือดหัวใจ

อาการเตือนของโรคหัวใจประกอบไปด้วยอาการเหนื่อยเวลาออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมต่างๆอย่างต่อเนื่อง อาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก หรือมีอาการอึดอัดหายใจไม่สะดวก อาการหายใจลำบาก อาการนอนราบแล้วอึดอัด ถ้านั่งแล้วจะสบายขึ้น อาการลุกขึ้นมากลางดึกหายใจแรงๆ แล้วจึงนอนต่อไปได้ อาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ อาการเป็นลมหมดสติ เป็นคำเตือนที่ควรระวัง หรือเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจ จึงควรไปพบแพทย์ทันที

3.วัณโรค ปอดอักเสบ โรคระบบทางเดินหายใจ

เป็นกลุ่มโรคเดียวกัน เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า มายโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลสิส (Mycobacterium tuberculosis) มีสถิติจากองค์การอนามัยโลระบุว่าพบประชากรโลก 1 ใน 3 หรือประมาณ 2,000 ล้านคนติดเชื้อวัณโรค และมีผู้ป่วย 15 ล้านคน สำหรับคนไทยคาดว่าราว 20 ล้านคนมีเชื้อวัณโรคในตัว พร้อมกำเริบหากสุขภาพทรุดโทรม เช่น สูบบุหรี่ ดื่มเหล้าจัด หรือติดเชื้อเอดส์ ผู้ติดเชื้อวัณโรคเหล่านี้อาจป่วยได้ถึงปีละ 1 แสนคน และจำนวนอาจสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง บางคนที่ไม่ใส่ใจในสุขภาพตัวเอง ไม่ตรวจสุขภาพประจำปี อาจจะเกิดอาการรุนแรง หรือรักษาได้หายยากกว่าเนื่องจาตรวจพบช้าเกินไป

4.โรคของต่อมไร้ท่อ (โรคกลุ่มเบาหวาน ไทรอยด์ ต่อมหมวกไต)

ในส่วนของต่อมไร้ท่อ มีหน้าที่ควบคุมและประสานงานกับระบบต่างๆ ภายในร่างกายให้คงอยู่ในสภาวะสมดุล โดยต่อมไร้ท่อภายในร่างกาย เช่น ต่อมใต้สมอง ตับอ่อน ต่อมหมวกไต จะผลิตสารที่เรียกว่า ฮอร์โมน ซึ่งมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตต่อร่างกาย ลักษณะของโรคเกิดจากการถ่ายทอดมาทางพันธุกรรม เป็นมาโดนกำเนิด หรือเกิดจากความผิดปกติของสภาพร่างกาย จากอุปนิสัยเคยชินในการรับประทานอาหาร ดังนั้นสิ่งที่สามารถควบคุมได้คือการเลือกรับประทานให้ถูกสุขลักษณะ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้ถูกต้องนะคะ

5.โรคจากการดื่มแอลกอฮอล์ 

สาเหตุสำคัญของโรคเกือบ 100% มาจากอุบัติเหตุ นอกจากนั้นยังเกิดโรคร้ายแรงตามมาอีกมากมาย เช่นโรคตับแข็ง มะเร็งตับ ตับอ่อนอักเสบ โรคกระเพาะและกระเพาะรั่ว ภาวะเลือดออกจากทางเดินอาหาร เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้มักเป็นเรื้อรังและทำให้ผู้เจ็บป่วยทุกข์ทรมาน ทั้งยังก่อเกิดภาวะแทรกซ้อนในโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง (เส้นเลือดในสมองแตกหรือตีบ) โรคนี้เราสามารถควบคุมไม่ให้เกิดขึ้นได้ หากคุณเป็นคนที่รักสุขภาพ ไม่ทำลายสุขภาพตัวเองด้วยเครื่องดื่มแอลกฮอล์และของมึนเมา

จาก http://monavie-valent.blogspot.com/p/5.html


10.ข้อสอบข้อนี้ถามว่า ทีี่ใดอยู่ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
1.โรงพยาบาลจิตเวชขอนเเก่น(น่าจะตอบข้อนี้หรือเปล่า? เพราะเพิ่งขับรถผ่าน สองวันก่อนเห็นป้าย)
2.โรงพยาบาลสิรินธร ขอนเเก่น
3.วิทยาลัยสิรินธร
4.........(ลืม อย่างเเรง!! ที่สำคัญลืมว่าตัวเองตอบข้อไหนด้วย เนี้ยยยย ชีวิต!!!)

แนวข้อสอบนักวิชาการสาธารณสุข ข้อเขียน

จาก http://ops.moph.go.th/str.html
http://www.moph.go.th/moph-links-province-2.php(จำชื่อ รพ. รพสต สสจ ในลิ้งนี้ไปน่ะค่ะ คงตอบได้เเน่นอน!!!)
11.สรุปแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8-11 ที่ออกข้อสอบ ในตัวเลือก
ถามว่าฉบับไหนเน้น คน เเละสังคม

ฉบับที่ 8 พ.ศ.2540-2544
เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของการวางแผนพัฒนาประเทศที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม และมุ่งให้ คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาและใช้เศรษฐกิจเป็นเครื่องมือช่วยพัฒนาให้คนมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นพร้อมทั้ง ปรับเปลี่ยนวิธีการพัฒนาแบบแยกส่วนมาเป็นบูรณาการแบบองค์รวม เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามในปีแรกของแผนฯ ประเทศไทยต้อง ประสบวิกฤตเศรษฐกิจอย่างรุนแรง และส่งผลกระทบต่อคนและสังคมเป็นอย่างมาก จึงต้องเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพมั่นคง และลดผลกระทบจากวิกฤตที่ก่อให้เกิดปัญหาการว่างงานและความยากจนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
- การพัฒนาศักยภาพของคน
การพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมให้เอื้อต่อการพัฒนาคน
- การเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาของภูมิภาคและชนบทเพื่อ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึง
การพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนการพัฒนา คนและคุณภาพชีวิต
- การจัดหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- การพัฒนาประชารัฐ เป็นการพัฒนาภาครัฐให้มีสมรรถนะ และพันธกิจหลักในการเสริมสร้างศักยภาพและสมรรถนะ ของคนและมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ
-การบริหารจัดการเพื่อให้มีการนำแผนพัฒนาฯไปดำเนินการ ให้เกิดผลในทางปฏิบัติด้วยแนวทางการแปลงแผนไปสู่การ ปฏิบัติ
ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 - 2549)
เป็นแผนที่ได้อัญเชิญแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ ได้อัญเชิญ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ ควบคู่ไปกับกระบวนทรรศน์การพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มี คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 โดยยึดหลักทางสายกลาง เพื่อให้ประเทศรอดพ้นจากวิกฤต สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง และนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุล มีคุณภาพและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และสถานการณ์เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่สมดุลทั้งด้านตัวคน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย ผลการพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 สรุปได้ว่า ประสบความสำเร็จที่น่าพอใจ เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 5.7 ต่อปี เสถียรภาพทางเศรษฐกิจปรับตัวสู่ความมั่นคง ความยากจนลดลง ขณะเดียวกันระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้นมาก อันเนื่องมาจากการดำเนินการเสริมสร้างสุขภาพอนามัยการมีหลักประกันสุขภาพที่ มีการปรับปรุงทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ โดยครอบคลุมคนส่วนใหญ่ของประเทศ และการลดลงของปัญหายาเสพติด
วัตถุประสงค์
(1) เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพและมีภูมิคุ้มกัน
(2) เพื่อวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้เข้มแข็ง ยั่งยืน สามารถพึ่งตนเองได้อย่างรู้เท่าทันโลก
(3) เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดีในสังคมไทยทุกระดับ
(4) เพื่อแก้ปัญหาความยากจนและเพิ่มศักยภาพและโอกาสของคนไทยในการพึ่งพาตนเอง
ลำดับความสำคัญของการพัฒนา
1. การเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วและมีเสถียรภาพ


2. การสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก
3. การบรรเทาปัญหาสังคม
4. การแก้ปัญหาความยากจน

ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 - 2554)
- ประเทศไทยยังคงต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในหลายบริบท ทั้งที่เป็นโอกาสและข้อจำกัดต่อการพัฒนาประเทศ จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมของคนและระบบให้มีภูมิคุ้มกัน พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น โดยยังคงอัญเชิญ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวปฏิบัติในการพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มี คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 และแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 และให้ความสำคัญต่อการรวมพลังสังคมจากทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมดำเนินการใน ทุกขั้นตอนของแผนฯ พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่การปฏิบัติ รวมทั้งการติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงานตามแผนอย่างต่อเนื่อง
ฉบับที่ 11 พ.ศ.2555-2558
- ตามวิสัยทัศน์ 3 พันธกิจ 3 วัตถุประสงค์ 4 เป้าหมายหลัก และ 7 ยุทธศาสตร์ ตามการศึกษาจากบริบทตลอดจนจุดแข็ง จุดอ่อนโอกาสและภัยคุกคามของประเทศไทย
วิสัยทัศน์  " ประเทศมีความมั่นคงเป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง"
3 พันธกิจ ได้แก่ การพัฒนาฐานการผลิตและบริการ การสร้างความเป็นธรรมและ ลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ สังคม และสร้างภูมิคุ้มกันจากวิกฤตการณ์
3 วัตถุประสงค์ เพื่อให้ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืน คนไทยอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และพร้อมเชิญกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเป็นสุข
4 เป้าหมายหลัก ได้แก่ เศรษฐกิจมีความเข้มแข็งสมดุล ความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น มีหลักประกันสังคมที่ทั่วถึง และสังคมไทยมีความสุขอย่างมีธรรมาภิบาล
7 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ การสร้างฐานการผลิตให้เข้มแข็ง สมดุล อย่างสร้างสรรค์ การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการผลิต การค้า การลงทุน การพัฒนาคุณภาพคน ทั้งความรู้คู่คุณธรรม สังคม มั่นคงเป็น

ธรรม มีพลังและเอื้ออาทร เน้นการผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความมั่นคงของพลังงานและอาหาร และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
จะเห็นได้ว่า แผนฉบับที่ 11 นั้น เน้นการ "ตั้งรับ" มากกว่า "รุก" โดยเน้นการป้องกันปัญหาจากวิกฤตการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพราะเราเพิ่งผ่านวิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลก และวิกฤตการณ์ทางการเมืองภายในประเทศมาหมาดๆ
การเน้น "ภูมิคุ้มกัน" นั้นเป็นเพียงเป้าหมายขั้นต่ำเหมือนคนที่ปลอดโรค เพราะมีภูมิต้านทานโรค แต่ไม่ได้บอกว่าสุขภาพแข็งแรงมีกำลังวังชาดีเพียงไร เชื่อว่าพวกเราไม่ได้ต้องการเพียงให้ประชาชนพอมีกินประชาชนควรจะ "กินดีอยู่ดี" และมี "คุณภาพชีวิต" ที่ดีขึ้นกว่าเดิม อีกนัยหนึ่ง ผลโดยรวมประเทศไม่ควรมีสถานะเพียงเกณฑ์เฉลี่ยของประเทศอาเซียนด้วยกันหรือเพียงแต่ดีกว่า พม่า ลาว กัมพูชา บ้าง แต่เราควรจะตั้งเป้าหมายให้ประเทศไทยมีความ "มั่งคั่ง" อยู่ในชั้นแนวหน้าของอาเซียน ที่จะแข่งขันกับประเทศ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ได้ และตัวอย่างที่ดีๆ ของประเทศนอกอาเซียนอื่นๆ เช่น เกาหลี และจีน เป็นต้น


12.ถามว่า 

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 เน้นคือ ข้อใดข้อนี้น่าจะตอบว่าถูกทุกข้อน่ะค่ะ

ฉบับที่ 11 พ.ศ.2555-2558
ตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ เป้าหมายหลัก และ ยุทธศาสตร์ ตามการศึกษาจากบริบทตลอดจนจุดแข็ง จุดอ่อนโอกาสและภัยคุกคามของประเทศไทย 
วิสัยทัศน์  " (1)ประเทศมีความมั่นคงเป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง"
พันธกิจ ได้แก่ (2)การพัฒนาฐานการผลิตและบริการ การสร้างความเป็นธรรมและ ลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ สังคม และสร้างภูมิคุ้มกันจากวิกฤตการณ์
วัตถุประสงค์ (3)เพื่อให้ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืน คนไทยอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และพร้อมเชิญกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเป็นสุข
เป้าหมายหลัก ได้แก่ เศรษฐกิจมีความเข้มแข็งสมดุล ความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น มีหลักประกันสังคมที่ทั่วถึง และสังคมไทยมีความสุขอย่างมีธรรมาภิบาล
ยุทธศาสตร์ ได้แก่ การสร้างฐานการผลิตให้เข้มแข็ง สมดุล อย่างสร้างสรรค์ การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการผลิต การค้า การลงทุน การพัฒนาคุณภาพคน ทั้งความรู้คู่คุณธรรม สังคม มั่นคงเป็น

ธรรม มีพลังและเอื้ออาทร เน้นการผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความมั่นคงของพลังงานและอาหาร และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
จะเห็นได้ว่า แผนฉบับที่ 11 นั้น เน้นการ "ตั้งรับ" มากกว่า "รุก" โดยเน้นการป้องกันปัญหาจากวิกฤตการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพราะเราเพิ่งผ่านวิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลก และวิกฤตการณ์ทางการเมืองภายในประเทศมาหมาดๆ
การเน้น "ภูมิคุ้มกัน" นั้นเป็นเพียงเป้าหมายขั้นต่ำเหมือนคนที่ปลอดโรค เพราะมีภูมิต้านทานโรค แต่ไม่ได้บอกว่าสุขภาพแข็งแรงมีกำลังวังชาดีเพียงไร เชื่อว่าพวกเราไม่ได้ต้องการเพียงให้ประชาชนพอมีกินประชาชนควรจะ "กินดีอยู่ดี" และมี "คุณภาพชีวิต" ที่ดีขึ้นกว่าเดิม อีกนัยหนึ่ง ผลโดยรวมประเทศไม่ควรมีสถานะเพียงเกณฑ์เฉลี่ยของประเทศอาเซียนด้วยกันหรือเพียงแต่ดีกว่า พม่า ลาว กัมพูชา บ้าง แต่เราควรจะตั้งเป้าหมายให้ประเทศไทยมีความ "มั่งคั่ง" อยู่ในชั้นแนวหน้าของอาเซียน ที่จะแข่งขันกับประเทศ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ได้ และตัวอย่างที่ดีๆ ของประเทศนอกอาเซียนอื่นๆ เช่น เกาหลี และจีน เป็นต้น

13.Pravalence rate
14.Incidence rate
15.วันไหนที่ห้ามขายเครื่องดื่มเเอลกอฮอล์
สรุปสาระสำคัญ...เรื่องวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตามมาตรา ๒๘, มาตรา ๓๙ ของพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. ๒๕๕๑ และประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องกำหนดวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. ๒๕๕๒ ฉบับที่ ๒ (ออกตามความในมาตรา ๔ และมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. ๒๕๕๑) ได้ว่า... 

วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา (๔ วันสำคัญพิเศษทางพระพุทธศาสนา) เป็นวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด ทั้งชนิดขายส่งและขายปลีกทั่วราชอาณาจักร ตลอด ๒๔ ชั่วโมง (เริ่มนับตั้งแต่หลังเวลา ๒๔.๐๐ น. ของวันก่อนหน้า ไปจนถึงเวลา ๒๔.๐๐ น. ของวันที่ห้ามนั้น) โดยยกเว้นให้ขายได้เฉพาะในโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม หากพบมีการฝ่าฝืนกฎหมาย จะมีความผิดต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน ๖ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 
ตอบ วันเข้าพรรษา

16.เด็กเเรกเกิดสูง 50 ซม หนึ่งปีจะสูงเท่าไหร่

ส่วนสูง 1 ปี ของทารกแรกเกิด

ความยาวเมื่อแรกคลอดของเด็กทารกแรกเกิดนั้นในปกติแล้วจะเป็น 50 เซนติเมตร และเมื่อเด็กแรกเกิดมีอายุ 1 ปี เด็กควรที่จะมีพัฒนาการทารกความสูงอยู่ที่ 1.5 เท่าของความยาวแรกเกิด ซึ่งควรที่จะมีเท่ากับ 75 เซนมิเมตร และสูงมากกว่าเดิม 2 เท่าตัวหลังจากที่เป็นความยาวแรกเกิด



อายุ 12 เดือน

                -น้ำหนักจะเป็น 3 เท่าของแรกเกิด ประมาณ 9 กิโลกรัม (21-22 ปอนด์)

                -สูง 29 นิ้ว หรือประมาณ 71-74 เซนติเมตร(จขกท ตอบ 65 ผิดเลย)

                -เส้นรอบศีรษะกับหน้าอกจะเท่ากัน

                -มีฟัน 6 ซี่

                -ชีพจร 100-140 ครั้งต่อนาที

                -การหายใจ 20-40 ครั้งต่อนาที

                การเคลื่อนไหว

                -ยืนได้ตามลำพัง

                -เดินได้เมื่อมีคนจูงเดิน เกาะเก้าอี้เดินได้

                -จับดินสอสีและขีดบนกระดาษได้

                การออกเสียงและด้านสังคม

                -สามารถพูดได้ 2 คำติดต่อกัน เช่น พ่อ พ่อ  แม่ แม่

                -จำชื่อตนเองได้

                -ชอบพูดคุยคนเดียวหรือกับคนที่อยู่ใกล้ตัวเขา

                -เข้าใจคำห้ามต่าง ๆ เช่น อย่า, ไม่

                -สนใจต่อตนเองเท่านั้น

                -แสดงความอิจฉา พอใจโกรธ

17.ฟันน้ำนมขึ้นบนล่างตอนอายุกี่เดือน

ฟันกระต่าย – เริ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 6-10 เดือน ในช่วงนี้ฟันคู่หน้าทั้งบนล่างจะเริ่มงอก อาจทำให้คุณแม่รู้สึกไม่ค่อยสบายนักเวลาให้นม

จาก http://th.theasianparent.com/%E0%B8%A5%E0%B8%B3%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9F%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81/

18.รอบศรีษะเเรกเกิด วัดได้ 35 ซม เเล้ว 4 เดือน จะมีความยาวเท่าไหร่ 

แนวข้อสอบนักวิชาการสาธารณสุข ข้อเขียน

18.

ยุคกำเนิดกระทรวงสาธารณสุข

=ปี 2485


ในยุคกำเนิดกระทรวงสาธารณสุขนี้ แบ่งออกเป็น 2 สมัย ดังนี้ คือ

สมัยรัชกาลที่ 8

แนวข้อสอบนักวิชาการสาธารณสุข ข้อเขียน

ในปี พ.ศ. 2485 ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี จอมพล ป. พิบูลสงคราม มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาจัดการปรับปรุงทางการแพทย์ โดยมีการประชุมครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 และได้ประชุมอีก 4 ครั้ง รวมเป็น 5 ครั้ง ครั้งหลังเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 สามารถเสนอรายงานการจัดตั้ง กระทรวงสาธารณสุข ให้รัฐบาลเสนอต่อรัฐสภา ต่อมาก็ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2485 มีกระทรวงสาธารณสุขขึ้น ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัตินี้ และมาตรา 13 โดยมีข้อความในพระราชกฤษฎีกาในเรื่องเหตุผลที่มาของการสถาปนากระทรวงสาธารณสุข ปรากฎดังนี้

"โดยเหตุที่การสาธารณสุข และการแพทย์ในเวลานี้ ยังกระจัดกระจายอยู่ในกระทรวงและกรมหลายแห่ง งานบางอย่างทำซ้ำและก้าวก่ายกัน และบางอย่างก็ไม่เชื่อม ประสานกันเป็นเหตุให้ต้องเปลืองเจ้าหน้าที่ และค่าใช้จ่าย ไปในทางไม่ประหยัด จึงสมควรปรับปรุงเสียใหม่ เพื่อให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น" ในด้านการแพทย์รัชสมัยนี้ มีการศึกษาวิจัยสมุนไพรเพิ่มขึ้น ในระหว่างปี พ.ศ. 2485 - 2486 ขณะที่สงครามโลกครั้งที่ 2 ลุกลามเข้ามาในเขตเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนยา ศาสตราจารย์นายแพทย์อวย เกตุสิงห์ ได้ทำวิจัยสมุนไพรที่ใช้รักษาไข้มาลาเรียที่โรงพยาบาลสัตหีบ หลังสงครามโลกสงบลง ยังคงมีปัญหาขาดแคลนยาแผนปัจจุบันรัฐบาลจึงมี นโยบายให้โรงงานเภสัชกรรม กระทรวงสาธารณสุขนำสมุนไพรมาผลิตเป็นยารักษาโรคเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปในนักวิชาการสาธารณสุข แพทย์และประชาชนคนไทยว่า สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ได้ทรงอุทิศพระองค์ ทรงมีพระเมตตาปราณีต่อพสกนิกรของพระองค์ ทรงพระตระหนัก เป็นอย่างยิ่งว่า สุขภาพของคนไทยเป็นเรื่องสำคัญและต้องการได้รับการแก้ไข ทรงเล็งเห็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยเป็นอย่างดี และทรงมีพระราชหฤทัยอย่างแน่วแน่ที่จะดำเนินการแก้ปัญหาเหล่านั้น จะเห็นได้จากพระราชหัตถเลขาของพระองค์ที่มีไปถึงกรมพระยาชัยนาทนเรนทร ความตอนหนึ่งว่า "หม่อมฉันรู้สึกอยู่เสมอว่า การสาธารณสุขนั้นเป็นของสำคัญ เป็นสิ่งบำรุงกำลังของชาติไทย เป็นสาธารณสุขประโยชน์กับมนุษยชาติทั่วไป เพราะฉะนั้นเมื่อมีโอกาสอันใดที่หม่อมฉันพอที่จะช่วยออกกำลังกาย ปัญญา หรือทรัพย์ อันเป็นทางที่จะทะนุบำรุงให้การนั้นเจริญขึ้นแล้ว หม่อมฉันยินดีปฏิบัติได้เสมอ"

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 69 ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และองค์ที่ 7 ในสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี (สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวสาอัยยิกาเจ้า) ทรงมีพระเชษฐาและพระเชษฐภคินี ร่วมพระมารดารวม 7 พระองค์สมเด็จพระบรมราชชนก ทรงพระราชสมภพในวันศุกร์ เดือนยี่ ปีเถาะ ขึ้น 3 ค่ำ ซึ่งตรงกับวันที่ 1 มกราคม พุทธศักราช 2434 ณ พระตำหนักสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ในพระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทาน นามว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าชาย มหิดลอดุลยเดช นเรศวรมหาราชาธิบดินทร์ จุฬาลงกรณนรินทร์วรางกูร สมบูรณ์เบญจพรสิริสวัสดิ์ ขัตติยวโรภโตสุชาต คุณ สังกาศเกียรติประกฤษฐ ลักษณวิจิตรพิสิษฐบุรุษย ชนุตมรัตน์พัฒนศักดิ์ อัครวรราชกุมาร" ทรงบรรพชาสามเณร เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม ถึงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2447 และทรงผนวชวันที่ 21 สิงหาคม รัตนโกสินทรศก 123 ภายหลังทรงลาผนวชแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสด็จไปศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ ทรงเข้าเรียนที่โรงเรียน แฮโรว์ ในปี พ.ศ. 2448 เพื่อทรงศึกษาวิชาเบื้องต้นในปี พ.ศ. 2450 สมเด็จฯ พระบรมราชชนก ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังประเทศเยอรมนี เพื่อทรงศึกษาที่ โรงเรียนเตรียมนายร้อย เมืองปอตสดัม เป็นเวลา 1 ปีระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่ที่โรงเรียนนายร้อยชั้นต้น ประเทศเยอรมนี แพทย์ที่เยอรมันได้ทำการรักษาพระอาการประชวรด้วยโรคกระดูกสันหลังคด ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ จะมีพระอาการเป็นปกติหลังจากนั้นแล้วทรงศึกษาด้านการทหาร ณ โรงเรียน นายร้อยทหารบก Royal Prussian Military College, Gross Lichterfelde ใกล้กรุงเบอร์ลิน ภายหลังที่ทรงสำเร็จจากโรงเรียนนายร้อยทหารบกแล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงศึกษาด้านทหารเรือ ณ Imperial German Naval College เมืองเฟลนสบูร์ก ตอนเหนือ ของประเทศเยอรมนี ระหว่างปี พ.ศ. 2454 - 2457 เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 เนื่องจากรัฐบาลสยามในพระบาทสมเด็จฯ พระบรมราชชนก ต้องเสด็จกลับประเทศสยาม และทรงเข้ารับราชการในกระทรวงทหารเรือในระยะเวลาที่ทรงรับราชการกองทัพเรือนั้น ทรงทุ่มเทพระสติปัญญาในการพัฒนากองทัพเรือ ทรงบันทึก โครงการสร้างกองเรือรบ ทรงเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดหาเรือตอร์ปิโดรักษาฝั่งสำหรับป้องกันน่านน้ำไทย และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเรือดำน้ำ รวมทั้งปัญหาด้านโภชนาการ สำหรับการปฏิบัติงานในเรือดำน้ำ แต่กลับทรงพบอุปสรรคหลายประการในการวางโครงการใหม่ ๆ ให้กับกองทัพเรือ จึงทรงลาออกจากราชการทหารเรือในช่วงท้ายเวลาที่ทรงปฏิบัติราชการกองทัพเรือและมีพระดำริที่จะลาออกนั้น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ผู้บัญชาการโรงเรียนราชแพทยาลัย (คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาลปัจจุบัน) ได้เสด็จไปเฝ้าเพื่อเชิญเสด็จประพาสเรือยนต์ไปตามคลองต่าง ๆ ได้รับสั่งให้เรือแวะที่สะพานท่าน้ำโรงพยาบาลศิริราช และทูลเชิญเสด็จฯพระบรมราชชนกทอดพระเนตรโรงพยาบาล และทรงพบเห็นสภาพผู้ป่วยไม่มีที่พักคนไข้นอนเรียงกันอยู่ อย่างแออัดเมื่อสมเด็จฯพระบรมราชชนกทรงเห็นถึงความจำเป็นของบ้านเมืองในขณะนั้น และทรงเห็นว่าการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับด้านการแพทย์และสาธารณสุขจะทำให้ทรงช่วยเหลือกิจการด้านนี้ในประเทศเป็นไปได้ดียิ่งขึ้น สมเด็จฯพระบรมราชชนก เสด็จออกไปยังมหาวิทยาลัยเอดินเบอระ สกอตแลนด์ เพื่อทรงศึกษาด้านการแพทย์ แต่เนื่องจากสภาพอากาศในสกอตแลนด์เป็นอุปสรรคต่อพระอนามัย จึงเสด็จไปที่สหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2475 พระองค์เสด็จไปศึกษาวิชาการสาธารณสุข และวิชาการแพทย์ ณ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกาทรงสอบได้ประกาศนียบัตรการสาธารณสุขและปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต ชั้น Cum Lande พระองค์เป็นผู้ทรงบำเพ็ญประโยชน์ต่อวงการแพทย์ การสาธารณสุข การพยาบาล การเภสัชกรรม ทันตศึกษา การประมง และการศึกษาของประเทศ เป็นคุณูปการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการแพทย์ พระราชกรณียกิจของพระองค์ มีดังนี้
18. โรคติดต่อที่ต้องแจ้งความ ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2523 ถือเป็นโรคที่มีความรุนแรงและอันตราย สามารถติดต่อกันได้ง่าย รวมทั้งถ้าหากเกิดการติดต่ออาจทำให้เกิดการเสียชีวิตได้ ดังนั้นจึงควรแจ้งความต่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ไว้เพื่อเป็นการระวังไว้ก่อน โดยโรคติดต่อที่ต้องแจ้งความนั้น ปัจจุบัน (ณ วันที่ 18 มิถุนายน 2558) มีทั้งหมด 22 โรค ดังนี้

แนวข้อสอบนักวิชาการสาธารณสุข ข้อเขียน
 1. อหิวาตกโรค

แนวข้อสอบนักวิชาการสาธารณสุข ข้อเขียน
 2. กาฬโรค

แนวข้อสอบนักวิชาการสาธารณสุข ข้อเขียน
 3. ไข้ทรพิษ

แนวข้อสอบนักวิชาการสาธารณสุข ข้อเขียน
 4. ไข้เหลือง

แนวข้อสอบนักวิชาการสาธารณสุข ข้อเขียน
 5. ไข้กาฬหลังแอ่น

แนวข้อสอบนักวิชาการสาธารณสุข ข้อเขียน
 6. คอตีบ

แนวข้อสอบนักวิชาการสาธารณสุข ข้อเขียน
 7. โรคบาดทะยักในทารกแรกเกิด

แนวข้อสอบนักวิชาการสาธารณสุข ข้อเขียน
 8. โปลิโอ

แนวข้อสอบนักวิชาการสาธารณสุข ข้อเขียน
 9. ไข้หวัดใหญ่

แนวข้อสอบนักวิชาการสาธารณสุข ข้อเขียน
 10. ไข้สมองอักเสบ

แนวข้อสอบนักวิชาการสาธารณสุข ข้อเขียน
 11. โรคพิษสุนัขบ้า

แนวข้อสอบนักวิชาการสาธารณสุข ข้อเขียน
 12. ไข้รากสาดใหญ่

แนวข้อสอบนักวิชาการสาธารณสุข ข้อเขียน
 13. วัณโรค

แนวข้อสอบนักวิชาการสาธารณสุข ข้อเขียน
 14. แอนแทร็กซ์

แนวข้อสอบนักวิชาการสาธารณสุข ข้อเขียน
 15. โรคทริคิโนซิส

แนวข้อสอบนักวิชาการสาธารณสุข ข้อเขียน
 16. โรคคุดทะราด เฉพาะในระยะติดต่อ

แนวข้อสอบนักวิชาการสาธารณสุข ข้อเขียน
 17. โรคอัมพาตกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียกอย่างเฉียบพลันในเด็ก

แนวข้อสอบนักวิชาการสาธารณสุข ข้อเขียน
 18. โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง

ถามว่า โรคเมอร์ อยุ่อันดับที่เท่าไหร่ 

=22

ข้อสอบข้อเขียน 5 ข้อให้กระดาษเปล่า เอสี่ มีเส้นมา 3 แผ่น
1.ธรรมาภิบาลคืออะไร? ให้อธิบาย ในกระดาษว่างๆ

 (เคล็ดลับเซพเวลา เเละ หน้ากระดาษไม่เลอะลิควิด
จขกท ชอบเขียนเเล้วลบบ่อย จขกท เลยใช้ปากกาลบได้รู้สึกสะดวกมาก ไม่ต้องมีรอยลิควิด เลอะ ให้ไม่สะบายตา ราคาเเท่งละ 25 บาท จขกท ใช้จดตลอด สมัยเรียนปี สี่ ใช้เขียนตอนสอบจบ สอบเข้าสถานศึกษา ในระดับปริญญาโท รู้สึกสะดวกสะบายกว่าใช้ปากกามาก เราจะประหยัดเวลา ในการเขียนด้วยน่ะค่ะ เพราะถ้าใช้ลิควิดเลอะ ก็รอเเห้ง ข้อมูลในหัวที่จะเขียน เดี๋ยวจะหายสะก่อน แต่ข้อเสียมันก็มี น่ะค่ะ อย่าง จขกท เรียนใช้ สี่ ถึงหก เเท่ง ต่อ สามสี่เดือน น่ะค่ะ ถ้าจำไม่ผิด เเท่งหนึ่งเขียนได้สองเดือน สำหรับ จขกท ถ้าเขียนเยอะก็หมดไวค่ะ เเต่คุ้ม สำหรับ จขกท มาก เพราะ ไม่ชอบรอยลิควิดมากค่ะ)

(ข้อนี้ จขกท ตอบว่า เป็นหลักปฎิบัติ ความยุติธรรม ความเสมอภาค เเละความโปร่งใส่ เพื่อให้บ้านเมืองเกิดความสงบเรียบร้อยเเละผาสุข เเละยกตัวอย่างเหตุการณ์ เช่น การสอบเเข่งขันเข้าตำเเหน่งนักวิชาการสาธารณสุขโดยความโปร่งใส การกระจายบริการทางการเเพทย์อย่างเท่าเทียมกันทุกภาคส่วน เเละการประเมินคุณภาพโรงพยาบาลอย่างโปร่งใส เป็นต้น ไม่รู้ คะเเนนเต็ม 10 จะได้เท่าไหร่น้า > <)

ธรรมาภิบาล ( Good Governance) คือ การปกครอง การบริหาร การจัดการการควบคุมดูแล กิจการต่าง ๆ ให้เป็นไปในครรลองธรรม นอกจากนี้ยังหมายถึงการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน ธรรมที่ใช้ในการบริหารงานนี้ มีความหมายอย่างกว้าง กล่าวคือ หาได้มีความหมายเพียงหลักธรรมทางศาสนาเท่านั้น แต่รวมถึง ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และความถูกต้องชอบธรรมทั้งปวง ซึ่งวิญญูชนพึงมีและพึงประพฤติปฏิบัติ อาทิ ความโปร่งใสตรวจสอบได้ การปราศจากการแทรกแซงจากองค์กรภายนอก เป็นต้น

ธรรมาภิบาล เป็นหลักการที่นำมาใช้บริหารงานในปัจจุบันอย่างแพร่หลาย ด้วยเหตุเพราะ ช่วยสร้างสรรค์และส่งเสริมองค์กรให้มีศักยภาพและประสิทธิภาพ อาทิ พนักงานต่างทำงานอย่างซื่อสัตย์สุจริตและขยันหมั่นเพียร ทำให้ผลประกอบการขององค์กรธุรกิจนั้นขยายตัว นอกจากนี้แล้วยังทำให้บุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง ศรัทธาและเชื่อมั่นในองค์กรนั้น ๆ อันจะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่น องค์กรที่โปร่งใส ย่อมได้รับความไว้วางใจในการร่วมทำธุรกิจ รัฐบาลที่โปร่งใสตรวจสอบได้ ย่อมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนและประชาชน ตลอดจนส่งผลดีต่อเสถียรภาพของรัฐบาลและความเจริญก้าวหน้าของประเทศ เป็นต้น (http://th.wikipedia.org)
2.      หลักนิติธรรม
3.      หลักความโปร่งใส
4.      หลักความมีส่วนร่วม
5.      หลักความรับผิดชอบ
6.      หลักความคุ้มค่า
แต่จะเป็นหลักการใดก็ตาม ก็จะเห็นว่าหลักการทั้งหลายล้วนมีจุดมุ่งหมายที่จะรักษา “ความสมดุล”  ในมิติต่างๆไว้ เช่น หลักคุณธรรมก็คือการรักษาสมดุลระหว่างตนเองกับผู้อื่น คือไม่เบียดเบียน ผู้อื่นหรือตัวเองจนเดือดร้อน ซึ่งการที่มีความโปร่งใส เปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม ตรวจสอบ ก็เพื่อมุ่งให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้เห็นถึงความสมดุลดังกล่าวว่าอยู่ในวิสัยที่ยอมรับได้ ส่วนหลักความรับผิดชอบ ก็ต้องสมดุลกับเสรีภาพที่เป็นสิ่งที่สำคัญของทุกคน และหลักความคุ้มค่า ก็ต้องสมดุลกับหลักอื่นๆ เช่น บางครั้งองค์การอาจมุ่งความคุ้มค่าจนละเลยเรื่องความเป็นธรรมหรือโปร่งใส หรือบางครั้งที่หน่วยงานโปร่งใสมากจนคู่แข่งขันล่วงรู้ความลับที่สำคัญในการประกอบกิจการ   ความสมดุล หรือ ธรรม จึงเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของธรรมาภิบาล
"องค์กรจะต้องมีการประกาศ (statement) พันธกิจและวัตถุประสงค์ ขององค์กรที่ชัดเจน และใช้เป็นแนวทางในการวางแผน การปฏิบัติงานขององค์กรนั้นๆ"
"ผู้บริหารควรแจ้งให้ประชาชนได้ทราบในการประกาศสาธารณะ (Public Statement) ถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของตน โดยระบุให้ทราบถึงการปฏิบัติงานที่พอเหมาะกับขนาดและความซับซ้อน (Complexity) ขององค์กร"
"ผู้บริหารทำตัวเป็นตัวอย่างในการให้บริการแก่ประชาชนทุกชนชั้นอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน"
"ต้องมีระบบตรวจสอบการทำงานทุกอย่าง เพื่อให้แน่ใจว่าทุกอย่างดำเนินไปตามแผนการทำงาน มีการตรวจสอบความถูกต้องของรายงานบัญชีการเงินรวมทั้งข้อมูลต่างๆ ที่ผลิตโดยองค์กร"
"ผู้บริหารจัดการจะต้องมีความรับผิดชอบในผลงาน โดยการประเมินผลงานเป็นระยะๆ ทั้งนี้รวมทั้งการประเมินความต้องการในการฝึกอบรม หรือการพัฒนาทักษะที่ต้องการใช้ในการปฏิบัติหน้าที่"

สำนักงาน ก.พ. (คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน หรือ ก.พ. คือ คณะกรรมการที่รับผิดชอบงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ)ได้กำหนดไว้โดยได้เสนอเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่า หลักธรรมาภิบาลนั้นประกอบด้วย 6 หลักการคือ

1.      หลักคุณธรรม

แนวข้อสอบนักวิชาการสาธารณสุข ข้อเขียน

หลักของธรรมาภิบาลในภาครัฐ

1.ยึดมั่นในหลักของวัตถุประสงค์ในการให้บริการแก่ประชาชนหรือผู้ที่มาใช้บริการ (Clear statement-high service quality)

2.ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในหน้าที่และบทบาทของตน (Public Statement ว่าจะทำหน้าที่อย่างไรโดยวิธีอะไรที่จะบรรลุเป้าหมาย)

3.ส่งเสริมค่านิยม (Values) ขององค์กร และแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของธรรมาภิบาลโดยการปฏิบัติหรือพฤติกรรม (Behaviors) (moral integrity   and etiquette in the responsiveness to the diverse public)

4.มีการสื่อสารที่ดี การตัดสินใจอย่างโปร่งใส และมีการบริหารความเสี่ยงที่รัดกุม (Providing information to flow two-ways)

5.พัฒนาศักยภาพและความสามารถของส่วนบริหารจัดการอย่างต่อเนื่องและให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น (ผู้บริหารต้องมีความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง)

6.การเข้าถึงประชาชน และต้องรับผิดชอบต่อการทำงานและผลงานอย่างจริงจัง

***** ขอขอบคุณข้อมูลจาก ppt ของอาจารย์สุธรรม ส่งศิริ *****

จาก http://network.moph.go.th/km_ict/?p=360

2.

แนวข้อสอบนักวิชาการสาธารณสุข ข้อเขียน

บริการเชิงรุก “ทีมหมอครอบครัว” ที่ปรึกษาด้านสุขภาพ ใกล้บ้านคุณ

แนวข้อสอบนักวิชาการสาธารณสุข ข้อเขียน

แนวข้อสอบนักวิชาการสาธารณสุข ข้อเขียน
13 มิถุนายน 2558 11:35 น. (แก้ไขล่าสุด 13 มิถุนายน 2558 11:45 น.)

แนวข้อสอบนักวิชาการสาธารณสุข ข้อเขียน

        สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ กระทรวงสาธารณสุข จับมือจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ โครงการ “ทีมหมอครอบครัว” (Family Care Team) ที่ปรึกษาด้านสุขภาพใกล้บ้าน ใกล้ชิดทุกครอบครัว
        …บริการสาธารณสุขเชิงรุก เพื่ออนาคตสุขภาพของคนไทย...
        การบริการสาธารณสุขในรูปแบบทีมหมอครอบครัวนั้น คือมิติใหม่ของการบริการสุขภาพขั้นต้นเพื่อให้คนไทยได้เข้าถึงการรักษาพยาบาลมากขึ้น และสะดวกรวดเร็วขึ้น มีแนวคิดหลักคือ การดูแลสุขภาพประชาชนเป็นรายครอบครัว โดยหน่วยบริการสุขภาพใกล้บ้าน ทำงานกันในเชิงรุกไม่ตั้งรอให้คนไข้มาหาหมอแค่อย่างเดียว โดยส่งอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม. ซึ่งเป็นคนในชุมชนที่ได้รับการอบรมจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ลงพื้นที่ให้คำแนะนำ ดูแลด้านสุขภาพตลอดจนให้การช่วยเหลือขั้นพื้นฐาน กันถึงประตูบ้านทั้งในยามปกติและยามฉุกเฉิน

        นอกจากให้ความช่วยเหลือยามเจ็บไข้แล้วเป็นหลักแล้ว อสม.ยังมีหน้าที่ส่งเสริมและเป็นที่พึ่งในการวางแผนการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว โดยประชาชนอาจไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาลทุกครั้ง เพราะหากมีอาการเจ็บป่วยที่สามารถดูแลในเบื้องต้นเอง โดยความช่วยเหลือของ อสม.ใกล้บ้าน แต่หากจำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ ทีมหมอครอบครัวก็จะประสานงานให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสม และทันเวลาในยามฉุกเฉิน ผู้ป่วยติดเตียง-ติดบ้าน ผู้พิการ ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลใกล้ชิด คือกลุ่มแรกที่จะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากทีมหมอครอบครัว

แนวข้อสอบนักวิชาการสาธารณสุข ข้อเขียน
        รูปแบบการบริการของทีมหมอครอบครัวคือ
       • ส่งเสริมเรื่องสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล ฟื้นฟูสภาพ
       • ดูแลทุกด้านทั้งทางกาย จิตใจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
       • ดูแลระยะของวงจรชีวิต ตั้งแต่เกิดจนเสียชีวิต
       • ดูแลปัญหาสุขภาพตั้งแต่ระยะเริ่มจนถึงระยะสุดท้าย

        กระทรวงสาธารณสุขได้คิกออฟโครงการไปเมื่อปลายปี 2557 ซึ่งขณะนี้ ทุกอำเภอทั่วประเทศมีทีมหมอครอบครัวลงพื้นที่ดูแลประชาชนแล้ว ส่วนในกรุงเทพมหานครนั้นปักหมุดให้เขตดุสิตและเขตดอนเมืองเป็นพื้นที่นำร่องของทีมหมอครอบครัวกรุงเทพฯ คาดว่าจะให้บริการครบทุกเขตเร็วๆ นี้ โดยสามารถสอบถามเกี่ยวกับทีมหมอครอบครัวของบ้านตัวเองได้ที่ รพ.สต. หรือ รพ.รัฐ ใกล้บ้าน หรือโทร.1330

        ทั้งนี้เป้าหมายสำคัญของทีมหมอครอบครัวคือการพัฒนาไปถึงขั้นสร้างให้ประชาชนเกิดความมั่นใจ ไว้ใจ รู้จักและผูกพันกับทีมงาน “หมอ” ที่ร่วมกันบริการสุขภาพและให้การดูแล “สมาชิกทุกคนในครอบครัวในทุกโอกาสและทุกรูปแบบ” ให้บริการแบบรอบด้านที่ตอบสนองความต้องการชุมชน และมีระบบการดูแลรับส่งต่อผู้ป่วยอย่างไร้รอยต่อ เพื่อสุขภาพคนไทยที่ยั่งยืน

        “ประชาชนทั่วไทยอุ่นใจ มีญาติทั่วไทยเป็นหมอครอบครัว”
       ______________________________________________________________________

       

แนวข้อสอบนักวิชาการสาธารณสุข ข้อเขียน

จากhttp://www.manager.co.th/GoodHealth/ViewNews.aspx?NewsID=9580000066379






3.การจัดการความรู้ : ทฤษฎีภูเขาน้ำแข็ง

ภูเขาน้ำแข็ง

แนวข้อสอบนักวิชาการสาธารณสุข ข้อเขียน

            David McClelland ได้เปรียบเทียบความหมายของสมรรถนะไว้ในหนังสือ The Competency Foundation โดยอธิบายบุคลิกลักษณะ (Characteristic) ของคนเปรียบเสมือนภูเขาน้ำแข็ง

         ส่วนที่อยู่เหนือน้ำ สามารถสังเกตเห็นได้ง่าย
      
      1. ทักษะ (Skills) หมายถึง สิ่งที่บุคคลรู้และสามารถทำได้เป็นอย่างดี เช่น ทักษะการอ่าน ทักษะการฟัง ทักษะในการขับรถ เป็นต้น
            2. ความรู้ (Knowledge) หมายถึง สิ่งที่บุคคลรู้และเข้าใจในหลักการ แนวคิดเฉพาะด้าน เช่น มีความรู้ ด้านบัญชี มีความรู้ด้านการตลาด การเมือง เป็นต้น


        ส่วนที่อยู่ใต้น้ำ สังเกตเห็นได้ยาก 
    
        3. บทบาททางสังคม (Social Role) หมายถึง สิ่งที่บุคคลต้องการสื่อให้บุคคลอื่นในสังคมเห็นว่าตัวเขามีบทบาทอย่างไรต่อสังคม เช่น ชอบช่วยเหลือผู้อื่น เป็นต้น
            4. ภาพพจน์ที่รับรู้ตัวเอง (Self Image) หมายถึง ภาพพจน์ที่บุคคลสมองตัวเองว่าเป็นอย่างไร เช่น เป็นผู้นำ เป็นผู้เชี่ยวชาญ เป็นศิลปิน เป็นต้น
            5. อุปนิสัย (Traits) หมายถึง ลักษณะนิสัยใจคอของบุคคลที่เป็นพฤติกรรมถาวร เช่น เป็นนักกีฬาที่ดี เป็นคนใจเย็น เป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นต้น
            6. แรงกระตุ้น (Motive) หมายถึง พลังขับเคลื่อนที่เกิดจากภายในจิตใจของบุคคล ที่จะส่งผลกระทบต่อการกระทำ เช่น เป็นคนที่มีความต้องการผลสำเร็จ การกระทำสิ่งต่างๆ จึงออกมาในลักษณะของการมุ่งไปสู่ความสำเร็จตลอดเวลา

จาก http://suphawitza2.blogspot.com/
4.

ขั้นตอนการสอบสวนโรคระบาด

ศูนย์การควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา (Center  for  Disease  Control  and  Prevention: CDC ) แนะนำขั้นตอนการสอบสวนโรคระบาด  10  ขั้นตอน  เพื่อให้สามารรถดำเนินการสอบสวนโรคระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้ผลการสอบสวนที่สมบูรณ์ ขั้นตอนต่าง ๆ  ดังกล่าวได้แก่

1. การเตรียมการลงพื้นที่

2. การยืนยันการระบาดของโรค

3. การยืนยันการวินิจฉัยโรค

4. การกำหนดนิยามผู้ป่วยและการสืบหาผู้ป่วยเพิ่มเติม

5.  การศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา

6.  การตั้งสมมติฐาน

7.  การทดสอบสมมติฐาน

8.  ปรับปรุงสมมติฐานและศึกษาเพิ่มเติมตามความจำเป็น

9.  วางมาตรการควบคุมและป้องกันโรค

10.  การรายงานผลการสอบสวนโรค

                   ขั้นตอนที่ 1  การเตรียมการลงพื้นที่

การจัดทำเอกสารและการดำเนินงานตามขั้นตอนการบริหารงานสาธารณสุข เช่น  ขออนุมัติเดินทาง  เบิกจ่ายวัสดุและอุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นต้น  นอกจากนี้ยังครอบคลุมถึงการทบทวนความรู้เกี่ยวกับโรคที่จะดำเนินการสอบสวน  ตลอดจนติดต่อเจ้าหน้าที่ในพื้นที่และที่ปรึกษาทางวิชาการ  ทั้งนี้ผู้ดำเนินการสอบสวนโรคทุกคน ควรทำความเข้าใจในบทบาทหน้าที่และสายการทำงานต่าง ๆ ให้เรียบร้อยก่อนเริ่มดำเนินการสอบสวน

ขั้นตอนที่ 2   การยืนยันการระบาดของโรค

การยืนยันว่าผู้ป่วยของโรคที่เพิ่มมากขึ้นเป็นผู้ป่วยด้วยโรค หรือมีสาเหตุของการป่วยเหมือนกัน  บางครั้งการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยด้วยอาการเดียวกัน  อาจเป็นการป่วยจากโรคหรือสาเหตุที่แตกต่างกันได้  ดังนั้นผู้สอบสวนโรคจะต้องทำการยืนยันอาการป่วย  ตามนิยามผู้ป่วยที่เป็นมาตรฐาน  จากนั้นจึงทำการเปรียบเทียบอัตราการเกิดโรค ที่ตรวจพบกับอัตราการเกิดโรคปกติ โดยใช้การกระจายแบบ  binomial  หรือ  poison  หรือเปรียบเทียบอัตรากรเกิดโรคในแต่ละกลุ่มของประชากรกับอัตราที่คาดว่าจะพบในแต่ละกลุ่มตามปกติ (goodness  of  fit  test) ทั้งนี้ข้อมูลที่ใช้เปรียบเทียบอาจได้มาจากข้อมูลการเฝ้าระวังโรค  ข้อมูลรายงานทางสถิติระดับประเทศ  การจดทะเบียนผู้ป่วย หรือการสำรวจ เป็นต้น ทั้งนี้ในการเปรียบเทียบจะต้องควบคุมทั้งความแปรปรวนโดยบังเอิญ โดยการทดสอบสมมติฐานทางสถิติและควบคุมความแปรปรวนเนื่องจากความลำเอียง  โดยอาจพิจารณาที่มาของความลำเอียงจาก

1.  การรายงาน  เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงนิยามของผู้ป่วย  ทำให้มีจำนวนผู้ป่วยมากขึ้น

2.  การเปลี่ยนแปลงประชากร   เช่น  การอพยพย้ายถิ่นฐานของชาวเขาหรือแรงงานต่างด้าว  ที่อาจทำให้ประชากรที่เป็นตัวหารของตัววัดทางระบาดวิทยาเปลี่ยนแปลง

3.  การเปลี่ยนแปลงวิธีการตรวจวินิจฉัย  เช่น  สามารถตรวจพบการติดเชื้อได้ด้วยความไวสูงขึ้น  มีการรณรงค์ตรวจคัดกรองโรค  หรือมีหมอหรือพยาบาลใหม่ที่เชี่ยวชาญเรื่องโรคเฉพาะทางบางโรคมากขึ้น  เป็นต้น

4.  ความเห็นของสาธารณชน  ที่ให้ความสนใจโรคใดโรคหนึ่ง  อาจทำให้ผู้ป่วยที่ไม่เคยได้รับการตรวจ ได้รับการตรวจวินิจฉัยมากขึ้น ทำให้จำนวนผู้ป่วยมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม  หากสามารถระบุสาเหตุของการเกิดโรค เช่น  การระบาดของโรคจากอาหารจะช่วยให้สามารถสอบสวนโรคได้อย่างรวดเร็ว  เนื่องทราบวิธีการติดต่อและควบคุมโรคอยู่แล้ว

                   ขั้นตอนที่ 3  การยืนยันการตรวจวินิจฉัยโรค

หมายถึงการระบุตัวผู้ป่วยโดยการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ หรือการยืนยันการป่วยที่เหมือนกับผู้อื่น โดยใช้นิยามผู้ป่วยที่กำหนดขึ้น ทั้งนี้อาจดำเนินการไปพร้อมกับขั้นตอนที่ 4

ขั้นตอนที่ 4 การกำหนดนิยามผู้ป่วยและการหาผู้ป่วยเพิ่มเติม

นิยามผู้ป่วยหมายถึงเกณฑ์มาตรฐานที่ใช้ในการแยกผู้ที่ต้องสงสัยว่าป่วยด้วยโรคที่กำลังสอบสวนหรือไม่  ทั้งนี้เกณฑ์ดังกล่าวอาจใช้อาการต่าง ๆ ที่เกิดร่วมกันตามหลักสากล เช่น เกณฑ์การแยกผู้ต้องสงสัยและผู้ป่วยด้วยโรคฉี่หนู (leptospirosis)    ตามหลักขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) หรือใช้เกณฑ์ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น แบ่งกลุ่มผู้ป่วยโรคเอดส์ตามจำนวนเม็ดเลือดขาว   เป็นต้น การสืบหาผู้ป่วยเพิ่มเติมนั้น  อาจทำได้โดยการตรวจสอบทะเบียนผู้ป่วยตามโรงพยาบาล คลินิกหรือห้องปฏิบัติการ โดยอาจสอบถามข้อมูลจากผู้ที่ได้รับปัจจัยเสี่ยงหรือผู้ที่ทำการตรวจตัวอย่างด้วย ทั้งนี้การสืบหาผู้ป่วยโดยการสัมภาษณ์ผู้ที่ได้รับปัจจัยเสี่ยงอาจต้องเดินเป็นระยะทางไกล จึงเรียกว่า "การทำงานระบาดวิทยาแบบใช้รองเท้า (shoe-leather  epidemiology)" นอกจากนี้ อาจสืบหาผู้ป่วยเพิ่มเติมโดยให้ประชาชนทั่วไปส่งข้อมูลมาให้  แต่วิธีนี้อาจมีผลบวกเทียมและผลที่ซ้ำซ้อนกันเป็นจำนวนมากได้

ขั้นตอนที่ 5  การศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา

                   ระบาดวิทยาเชิงพรรณนา หมายถึงการสำรวจและบรรยายรูปแบบการเกิดโรคในประชากรเสี่ยง  การศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนานั้นสามารถเริ่มต้นด้วยการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ

1.  ประวัติผู้ป่วย  ได้แก่  ชื่อ  ที่อยู่  เบอร์โทรศัพท์ เพื่อให้ผู้สอบสวนโรคสามารถติดต่อผู้ป่วยได้ในภายหลัง

2.  ข้อมูลประชากร  ได้แก่  อายุ  เพศ  อาชีพ หรือปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจใช้แบ่งกลุ่มประชากรเพื่อคำนวณอัตราการป่วย

3.  ลักษณะการป่วยทางคลินิก  ได้แก่  เวลาที่เริ่มป่วย เวลาที่สัมผัสปัจจัยเสี่ยง อาการทางคลินิก  ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เป็นต้น

4.  ข้อมูลการสัมผัสปัจจัยเสี่ยง  ขึ้นกับโรคที่ทำการสอบสวน

5.  ข้อมูลของผู้รายงานโรค  ซึ่งอาจไม่ใช่ผู้ป่วย แต่เป็นญาติ หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่ให้การรักษา  ดูแล หรือตรวจตัวอย่าง เพื่อให้สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ภายหลัง

6.  ข้อมูลจำนวนประชากร ที่ใช้เป็นตัวหารในการคำนวณตัววัดทางระบาดวิทยา

หลังจากเก็บข้อมูลเบื้องต้นแล้ว  ผู้สอบสวนโรคอาจต้องทำการตรวจสอบความถูกต้องและสมบูรณ์ของข้อมูล  ทั้งนี้ในการกรอกข้อมูลใส่ฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ อาจใช้คนอย่างน้อย 2  คน กรอกข้อมูลเดียวกันเพื่อให้ตรวจสอบข้อผิดพลาดของกันและกันหรืออาจกำหนดช่วงของตัวแปรไว้ในโปรแกรมเพื่อให้สามารถกรอกคำตอบที่ถูกต้องได้เท่านั้น  นอกจากนี้ ข้อมูลชุดที่มายการที่ขาดหายไป (missing   value) อาจพิจารณาไม่นำมาใช้หากเป็นการขาดหายไปแบบสุ่ม  กล่าวคือไม่ได้ขาดหายไปในประชากรกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ  ซึ่งอาจทำให้เกิดความลำเอียงได้  เมื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลแล้ว  ขั้นตอนต่อไปคือ  การบรรยายการระบาดของโรคตามเวลา  สถานที่และ ประชากร

การบรรยายลักษณะการเกิดโรคตามเวลามักทำในรูปแบบของ  epidemic curve (แผนภาพที่  20 )  ซึ่งเป็นแผนภาพที่มีแกนนอน (X)  แสดงเวลา และแกนตั้ง (Y) แสดงจำนวนหรือสัดส่วน (percent) ของผู้ป่วย ณ เวลาหนึ่ง  epidemic  curve  สามารถแสดงการระบาดของโรคทั้งในอดีต  ปัจจุบัน  และอนาคต ระยะฟักตัวของโรค และที่สำคัญคือรูปแบบของการระบาดของโรคว่าเป็นแบบ   point-source  หรือแบบ  propagating  epidemic  สำหรับหน่วยของเวลาที่ใช้กำหนดแกนนอนนั้น  ให้ใช้หน่วยที่เหมาะสมกับระยะฟักตัวของโรค  อาจเป็นวัน  สัปดาห์  เดือน หรือปี และให้แบ่งช่วงระหว่างเวลาบนแกนนอน  ให้มีค่าเป็น 1/8  ถึง  1/3  เท่าของระยะฟักตัวของโรค  เช่น หากระยะฟักตัวของโรคเท่ากับ  1  สัปดาห์  อาจแบ่งช่วงของเวลาที่รายงานจำนวนผู้ป่วยเป็นรายวัน  เป็นต้น  อย่างไรก็ตาม  การแบ่งช่วงเวลาดังกล่าว  อาจปกปิดรายละเอียดที่สำคัญ  จึงควรสร้าง epidemic   curve  หลาย ๆ แบบ แล้วเลือกแบบที่แสดงรูปแบบการเกิดโรคได้อย่างชัดเจนที่สุด  นอกจากนี้  epidemic  curve  ควรครอบคลุมระยะเวลาตั้งแต่ก่อนเกิดการระบาดจนถึงการระบาดของโรคสิ้นสุดลงแล้วเพื่อแสดงให้เห็นว่าอัตราการเกิดโรคกลับเป็นปกติแล้วด้วย

เมื่อสร้าง  epidemic  curve  แล้ว  ขั้นตอนต่อไปคือ  การวิเคราะห์ระยะฟักตัวของโรค  ระยะฟักตัวของโรค  (incubation  period)  หมายถึงระยะเวลาตั้งแต่เชื้อโรคหรือสิ่งก่อโรคอื่นเข้าสู่ร่างกายจนแสดงอาการทางคลินิก  ซึ่งอาจแปรผันไปตามชนิดของเชื้อโรค  ความสามารถในการก่อโรค (pathogenicity)  ปริมาณของเชื้อที่เข้าสู่ร่างกาย (dose)  ตลอดจนระดับภูมิต้านทานต่อโรคของประชากร  หากทราบเวลาที่สัมผัสสิ่งก่อโรคที่แน่นอน  เช่น  ในกรณีของโรคที่เกิดจากอาหาร  อาจรายงานค่าสูงสุด  ต่ำสุด และค่ากลางของระยะฟักตัวของโรค  ซึ่งใช้ค่าเฉลี่ยหรือค่ามัธยฐานแทนก็ได้  หากการระบาดของโรคเกิดจากเชื้อหรือการสัมผัสแหล่งก่อเชื้อเพียงแหล่งเดียว  จะมีอัตราการป่วยเพิ่มขึ้นและลดลงอย่างรวดเร็วเรียกว่า  การระบาดแบบ  point  source  แต่หากมีการแพร่ของโรคจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งจะมีอัตราการเกิดโรคค่อย ๆ สูงขึ้นเรียกว่า  การระบาดแบบ porpagative

การบรรยายลักษณะการเกิดโรคตามสถานที่  สามารถแสดงหลักฐานสนับสนุนสมมติฐานเกี่ยวกับแหล่งที่มาและการติดต่อของโรคได้  แผนที่แสดงการเกิดโรคนั้น อาจทำแบบง่ายๆ ในรูป spot (dot) map   หรือแสดงแบบซับซ้อนโดยแสดงอัตราการเกิดโรคตามพื้นที่ต่าง ๆ แผนที่แสดงการเกิดโรคอาจแสดงตามความรุนแรงของการเกิดโรค และที่สำคัญคือ สามารถแสดงการเกาะกลุ่มกัน (clustering) ของผู้ป่วยตามขอบเขตทางภูมิศาสตร์  ตัวอย่างที่ดีในอดีตคือการแสดงอัตราการเกิดโรคบริเวณ golden   square  ในกรุงลอนดอนของ ดร.จอห์น  สโนว์ (Dr. John  Snow)   เมื่อประกอบกับข้อมูลอื่นทำให้สามารถสรุปได้ว่า โรคอหิวาต์ (cholera) สามารถติดต่อทางน้ำดื่มได้  อย่างไรก็ตามจำนวนผู้ป่วยที่หนาแน่นในบริเวณอาจขึ้นกับจำนวนประชากรบริเวณนั้นและอาจทำให้ได้ข้อสรุปที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง (ประชากรหนาแน่นไม่ใช่จำนวนผู้ป่วยหนาแน่น) จึงสามารถแสดงอัตราการเกิดโรคที่มีจำนวนประชากรเป็นตัวหารแทน

การบรรยายลักษณะการเกิดโรคตามลักษณะประชากรนั้น  สามารถแสดงกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงมากกว่าประชากรอื่นทั่วไป ทั้งนี้ความเสี่ยงของการเกิดโรคอาจขึ้นกับโอกาสสัมผัสปัจจัยเสี่ยง และระดับความไวต่อโรค ทั้งนี้อาจแบ่งกลุ่มประชากรตามเพศ  อายุ  อาชีพ  กิจกรรมที่ทำ เช่น  การเล่นกีฬา  การไปงานเลี้ยง  ลักษณะการเกิดโรคของกลุ่มประชากร  ต้องอาศัยข้อมูลทั้งตัวตั้ง (numerator) และตัวหาร (denominator) ซึ่งคือจำนวนประชากรทั้งหมดในกลุ่ม  สำหรับในสัตว์บริโภคอาจแบ่งกลุ่มประชากรตามชนิด วัตถุประสงค์  การเลี้ยง  ขนาดและลักษณะของฟาร์ม เป็นต้น

                         ขึ้นตอนที่ 6  ตั้งสมมติฐาน

                        การตั้งสมมติฐาน  เป็นการพยายามอธิบายความจริงที่สามารถทดสอบได้ว่าถูกต้องหรือไม่ ในการสอบสวนโรคระบาดนั้น  สมมติฐานที่ตั้งควรพยายามอธิบายความจริงเกี่ยวกับ

แหล่งที่มาของโรค วิธีการติดต่อของโรค  ตลอดจนแนวทางการควบคุมโรค ในการตั้งสมมติฐานนั้นผู้สอบสวนโรคควรคำนึงความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรค อาการทางคลินิก  ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการระบาดวิทยาเชิงพรรณนาตลอดจนข้อมูลเชิงลึกอื่นๆ ทั้งนี้อาจพิจารณาดำเนินการ ดังนี้

1.  ทบทวนความรู้เกี่ยวกับโรค

1.1  เชื้อโรค

1.2  แหล่งของเชื้อโรค

1.3  กลไกการติดต่อ

1.4  ลักษณะการเกิดโรค

1.5  อาการทางคลินิก

1.6  พยาธิกำเนิด

1.7  ปัจจัยเสี่ยง

2.  ศึกษาอาการทางคลินิกและผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

2.1  ทบทวนระเบียนผู้ป่วย

2.2  ยืนยันการป่วยทางห้องปฏิบัติการ

2.3  พิจารณาการตรวจเพิ่มเติม เช่น การตรวจลายพิมพ์สารพันธุกรรม

2.4  บรรยายความถี่ของอาการต่าง ๆ ในกลุ่มผู้ป่วย

3.  สัมภาษณ์ผู้ป่วยและผู้ดูแล

3.1  แหล่งของโรคที่เป็นไปได้

3.2  ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการสัมผัสปัจจัยเสี่ยง

3.3  ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างผู้ป่วย

4.  ทบทวนระบาดวิทยาเชิงพรรณนา

4.1  พิจารณารูปแบบการเกิดโรค

4.2  การกระจายตามภูมิประเทศ

4.3  ระยะฟักตัวของโรค

4.4  เหตุการณ์ที่เกิดในช่วงที่มีการสัมผัสปัจจัยเสี่ยง

4.5  ประชากรกลุ่มเสี่ยง

5.  สังเคราะห์ความจริงต่าง ๆ โดยรวม

ในการตั้งสมมติฐานนั้น  ผู้สอบสวนโรคควรมองหาลักษณะที่เหมือนกันในกลุ่มผู้ป่วย  กล่าวคือสืบหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมากที่สุดนั่นเอง

                        ขั้นตอนที่ 7  และ 8  ทดสอบสมมติฐาน  ปรับปรุงสมมติฐานและศึกษาเพิ่มเติมตามความจำเป็น

กระบวนการพิสูจน์สมมติฐานด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์  เป็นกระบวนการที่ต้องทำซ้ำ ๆ เป็นวงจร จนกว่าจะได้ข้อสรุปที่ถูกต้อง ประโยชน์ของผลการวิเคราะห์ข้อมูลใด ๆ ขึ้นกับความชัดเจนของสมมติฐาน โดยหากไม่สามารถตั้งสมมติฐานที่ดีแล้ว อาจไม่สามารถใช้ประโยชน์จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติจำเป็นสำหรับการอ้างอิงผลการศึกษาเกี่ยวกับแหล่งของโรค  และวิธีการติดต่อในระดับประชากร ทั้งนี้ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์อาจได้มาจากการศึกษาทางระบาดวิทยาแบบไปข้างหน้า (prospective  cohort)   แบบย้อนหลัง (retrospective  case-control)  แบบตัดขวาง (cross-sectional) หรือการทดลองทางคลินิก (clinical  trial) วิธีการศึกษาที่เลือกใช้ขึ้นกับระยะเวลาของการระบาดขนาดของประชากร และอัตราการเกิดโรค  โดยทั่วไปการศึกษาแบบไปข้างหน้าจะเหมาะสมสำหรับใช้ศึกษาการระบาดของโรคที่มีขอบเขตจำกัด และมีอัตราการป่วยสูง เช่น การระบาดจากโรคของอาหาร  ส่วนการศึกษาแบบย้อนหลังจะเหมาะสมสำหรับใช้ศึกษาการระบาดของโรคที่ไม่มีขอบเขตชัดเจนและอัตราการป่วยต่ำ

นอกจากนี้ ในการสอบสวนโรค อาจทำการศึกษาสิ่งแวดล้อมและศึกษาทางห้องปฏิบัติการ  การศึกษาทางห้องปฏิบัติการอาจใช้สนับสนุนสมมติฐานเกี่ยวกับแหล่งของเชื้อและวิธีการติดต่อ โดยแสดงความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อที่พบจากแหล่งต่าง ๆ โดยการเปรียบเทียบลักษณะภายนอก (phenotype) และลักษณะทางพันธุกรรม (genotype) หรือแสดงอัตราการพบเชื้อในผู้ป่วย ทั้งนี้จะต้องมีการเก็บตัวอย่างในช่วงที่มีการระบาด ดังนั้นหากเป็นการสอบสวนโรคแบบย้อนหลัง  อาจไม่สามารถหาหลักฐานเพิ่มเติมจากห้องปฏิบัติการได้ นอกจากการตรวจทางห้องปฏิบัติการแล้วผู้สอบสวนโรคควรทำการตรวจตราสิ่งแวดล้อม  โดยเฉพาะสุขลักษณะของสถานที่ที่น่าจะเป็นแหล่งของเชื้อโรค เพื่อให้สามารถวางมาตรการป้องกันการระบาดของโรคในอนาคตด้วย

ขั้นตอนที่ 9  กำหนดมาตรการควบคุมและป้องกันโรค

                        วัตถุประสงค์หลักของการสอบสวนโรคระบาด  คือ การหยุดยั้งการแพร่กระจายของโรค และป้องกันการเกิดโรคในอนาคต  โดยหลักการแล้ว  การควบคุมโรคควรมุ่งไปที่จุดอ่อนของห่วงโซ่การติดต่อ  จากแหล่งของโรคไปยังประชากร ทั้งในระดับของเชื้อก่อโรค ประชากรเสี่ยง และสิ่งแวดล้อม  ประสิทธิภาพของมาตรการควบคุมโรคจะช่วยสนับสนุนสมมติฐานเกี่ยวกับแหล่งของโรคและการติดต่ออีกด้วย หลักการควบคุมโรคโดยทั่วไปประกอบด้วย

1.  การควบคุมแหล่งของเชื้อโรค  ได้แก่  การทำลายแหล่งของเชื้อ  การแยกประชากร      ที่ป่วยจากประชากรที่ปกติ  (การกักกันโรค) การทำลายเชื้อโรคในแหล่งต่าง ๆ และการรักษาผู้ป่วย  เป็นต้น

2. ขัดขวางห่วงโซ่ของการติดต่อ  กล่าวคือ  ควบคุมสิ่งแวดล้อมนั่นเอง ซึ่งอาจทำได้โดยใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพซึ่งครอบคลุมการทำลายแมลงหรือสัตว์นำโรค การป้องกันการสัมผัสวัสดุอุปกรณ์ที่อาจติดเชื้อ การจำกัดการเข้าออกของบุคลากร ตลอดจนการปรับปรุงสุขลักษณะโดยทั่วไป

3.  สร้างภูมิต้านทานต่อโรค ในประชากรที่มีความเสี่ยงโดยการทำวัคซีน หรือใช้สารเคมีป้องกันโรค เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 10  การรายงานผลการสอบสวนโรค

..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/274772

จาก https://www.gotoknow.org/posts/274772

5.       DHS คืออะไร

                                                      นายอานนท์ ภาคมาลี (หมอแดง)

District Health SystemDHS คือ ระบบการทำงานเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาสาธารณสุข อย่างมีประสิทธิภาพ บูรนาการภาคีเน้นเป้าหมายผ่านกระบวนการชื่นชม และจัดการความรู้ แบบอิงบริบท ของแต่ละสถานที่ ภาพที่ คนในพื้นที่ ไม่ทอดทิ้งกัน การดูแลคนพิการ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่มากกว่าหน้าที่ อาจจะไม่เคยคาดหวังว่าในชีวิตนี้จะพบได้ แต่มันทำให้ อาจารย์ทุกท่าน คุณหมอทุกคน ที่ได้มีโอกาสมาเยี่ยมเยียน สัมผัส……มันยากที่จะอธิบาย แต่ไม่ยากที่จะบอกว่า สุขภาวะ เป้าหมายไปได้ถึง Goal

1, ชุมชนไม่ทอดทิ้งกัน

2. พึ่งตนเองได้ในความเจ็บป่วยที่พบบ่อย

3. โรคเรื้อรังสำคัญ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง สามารถควบคุม และดูแลได้ ในชุมชน

4. มีความเข้มแข็ง ของการควบคุมโรค ในท้องถิ่น เช่น โรคไข้เลือดออก และโรคไม่ติดต่อ

5. ผู้สูงอายุ ผู้ที่ต้องพึ่งพา สามารถได้รับการดูแล ได้ในชุมชน และที่บ้าน

6. เกิดการสร้างสุขภาวะของชุมชน โดยความเข้มแข็งของชุมชน มีภูมิคุ้มกัน

ผลที่จะเกิดขึ้นในระบบ Primary Care

1.  Essential Care

-   ผู้สูงอายุ ผู้ที่ต้องพึ่งพา สามารถที่ได้รับการดูแลได้ในชุมชนและที่บ้าน

-  โรคเรื้อรัง (เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ หืด ถุงลมโป่งพอง วัณโรคปอด เอดส์ โรคไต โรคตับ มะเร็ง)

-  มีความเข้มแข็งของการควบคุมโรค ในท้องถิ่นและไข้เลือดออก และโรคไม่ติดต่อ

-  งานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ควบคุมโรค คัดกรองโรค อนามัยสิ่งแวดล้อม อนามัยแม่และเด็ก อาชีวะอนามัย  - ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน – สุขภาพฟัน - โรคจิตเวช (สุขภาพจิต) - ผู้พิการ (อัมพาต เบาหวานถูกตัดเท้า แผลเรื้อรัง) - เด็กเล็ก วัยรุ่น วัยทำงาน ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส คนยากคนจน

2.  Unity District Health Team เครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอการทำงานเป็นทีม

รพ.  +  สสอ.  +  รพ.สต .  +  อปท.  +  ประชาสังคม

3.  Health Status

4.  Self Careรพ./รพ.สต./อสม./อปท.Home Care (ประเมิน) ปรับระบบบริการ คืนข้อมูล PCT พื้นที่ Empowermen ผู้ป่วย  Empowormen ชุมชน  คืนข้อมูลผู้ป่วย/ชุมชน

การเข้าถึงบริการสุขภาพไร้รอยต่อ…….ช่องว่าง ที่ควรเข้าถึงได้เร็ว และดีขึ้นในอนาคต

ประชาชน การจัดปัจจัยเสี่ยงและสิ่งแวดล้อม  กลุ่มเสี่ยง การเข้าถึงการคัดกรอง สามารถตรวจตนเองบางกรณี  สงสัยเป็น การเข้าถึงการชันสูตร อย่างรวดเร็ว มีคุณภาพ เป็นโรคระยะเริ่มต้น การผสมผสานภูมิปัญญาและศาสตร์ทางเลือก การดูแลต่อเนื่อง ในชุมชนอย่างมีส่วนร่วม

ระยะโรคลุกลาม การรับบริการอย่างเต็มที่และต่อเนื่อง  ระยะรุนแรง ระยะสุดท้ายของชีวิต ที่โรงพยาบาลและที่บ้าน

การเตรียมความพร้อม

1.  ทีมงาน แต่ละเครือข่ายฯคัดเลือกเรื่องที่สนใจเพียงเรื่องเดียวในประเด็น essential care ไม่ว่าจะเป็นโรคเรื้องรัง หรือสถานการณ์สำคัญที่จะดำเนินการต่อเนื่อง ไม่ว่าจะทำได้หรือไม่ได้ คนเป็นปัญหาสำคัญ หรือต้องการจะนำมาทบทวน เพื่อปรับปรุง กระบวนการจัดการที่มีอยู่

2.  ศึกษานโยบาย เป้าหมายกระบวนการดำเนินการที่มีอยู่ ความคาดหวัง ปัญหา อุปสรรค ความต้องการสาธารณสุขภาคประชาชน

3.  ค้นหาข้อมูล สถิติที่สำคัญ ตัวชี้วัด และผลลัพธ์ที่ผ่านมา

4.  ความร่วมมือในเครือข่าย และกับภาคประชาชน ที่มีอยู่ขณะนี้ ลักษณะ รูปแบบ ระดับการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมาย ผู้ป่วย ครอบครัว ชุมชน ที่มีอยู่จริง

5.  ความคาดหวัง ต่อการมีส่วนร่วม ทั้งในเครือข่ายและกับภาคประชาชนและรูปแบบจะดำเนินการ

ข้อตกลง การใช้คำแทนความหมายเพื่อให้เข้าใจตรง

ประเด็นสนใจ โรค/ประเด็น สถานการณ์ทางสาธารณสุข เป็นตัวเดินเรื่อง โดยให้เลือกมา CUP ละเรื่องเดียว

การบริการ การดำเนินการที่มีเฉพาะต่อ ประเด็นสนใจนั้นๆที่จะต้องปรับปรุง เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับ โรค/ประเด็นที่เลือกมา

CUPการจัดการกระบวนการ ระบบการบริการสุขภาพที่มีในระดับอำเภอ เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับโรค/ประเด็นที่เลือกมา

PCU การจักการ กระบวนการระบบการบริการสุขภาพ ที่มีในระดับรพ.สต. ที่ร่วมงานบางที่/ทั้งหมด เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่สนใจ

ทีมสหสาขาวิชาชีพ ทีมโรงพยาบาล หรือทีมโรงพยาบาล กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทีมสาธารณสุข

ทีมสหสาขาอาชีพ ทีมโรงพยาบาล กับ ทีมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กับ ประชาชน ทีมชุมชน (ทีมสาธารณสุข กับประชาชน) ทีมประชาชน (ท้องถิ่น/ประชาชน กับ ทีมสาธารณสุข)

การทบทวนการบริการ ที่มีอยู่โดยใช้มุมมองการจัดการ เครือข่ายสุขภาพแบบมีส่วนร่วม ที่มีประชาชนเป็นจุดศูนย์กลาง สถานการณ์การบริการ ขณะนี้เป็นอย่างไร ข้อมูลแบ่งกลุ่มเป้าหมายชัดเจน ครบถ้วนไหม (รักษา ส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟู) เป้าหมายที่วางไว้แต่ละกลุ่ม เป็นเชิงปริมาณ (คงลักษณ์ของกระบวนการ) หรือเชิงคุณภาพ (ผลลัพธ์ทางพฤติกรรม และคลินิก) กระบวนการจัดการและความเชื่อมโยงของการรักษา ส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟู ในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย ผลลัพธ์ของการบริการเป็นอย่างไร ประเด็นที่ได้ผล ได้จริงหรือไม่ ประเด็นที่เป็นปัญหาเกิดจากอะไร กระบวนการดูแลผู้ป่วยที่มีอยู่จริงในการบริการนั้นในภาพรวม ทั้งในโรงพยาบาลและภายนอกโรงพยาบาล

ความเชื่อมโยงบทบาทของทีมต่างๆ ทั้งในและนอกโรงพยาบาล ที่เอื้อให้การบริการเรียบเนียนถึง ครอบครัว ชุมชนหรือไม่ ประชาชนรู้สึกอย่างนั้นหรือไม่ อะไรคือการดูแลองค์รวม ที่ทีมงานเข้าใจ ปฏิบัติ ในขั้นตอนต่างๆ เรารู้ปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย ต่อการเข้าไม่ถึงการบริการและความไม่ต่อเนื่องของการดูแลองค์รวมได้ด้วยวิธีไหน ระบบของเราเองที่เป็นต้นเหตุ (ส่วนหนึ่ง) ที่ก่อปัญหาแก่กลุ่มเป้าหมาย มีหรือไม่ จะค้นพบได้อย่างไร ลักษณะของความร่วมมือเป็นการจัดการ สั่งการ หรือร่วมคิด ร่วมทำ เรารับรู้ความรู้สึก ความคิดของกันอย่างไร เป็นไปได้ไหมที่ทีมโรงพยาบาลและทีมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจะเป็นทีมของเราทีมเดียวกระบวนการ

และช่องทางความรับรู้ปัญหากลุ่มเป้าหมายตลอดกระบวนการอยู่ตรงไหนบ้าง เรามีการเปิดโอกาสให้ผู้ป่วย/ครอบครัว/ชุมชนมีส่วนร่วมกัน การบริการอย่างไร จะหลีกหนีการจัดตั้ง จากเราได้หรือไม่ เราเข้าใจและเชื่อมั่นใน การทำงานแบบร่วมคิดร่วมทำ เพิ่มพลังอำนาจแก่ประชาชน มากน้อยแค่ไหน ที่ทำมาแล้วมีอะไรบ้าง ถ้าเราจะออกแบบการบริการจากความต้องการของผู้มีส่วนร่วม และกลุ่มเป้าหมาย จะต้องเริ่มต้นดำเนินการอย่างไร การ่วมงานและความสัมพันธ์ของคณะกรรมการ CUP เอื้อกับการสร้างเครือข่าย เพื่อบริการไหม จุดอ่อน จุดแข็ง คือ? เป็นไปได้ไหมที่ การ่วมงานกันจะมีประเด็นการปรับบริการ ให้กลมกลืนกับวิถีชีวิตและองค์รวมของกลุ่มเป้าหมาย ลักษณะการร่วมงานและความสัมพันธ์ของบุคลากรโรงพยาบาลกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และนักวิชาการสาธารณสุขโรงพยาบาลกับนักวิชาการสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ลักษณะการ่วมงาน และความสัมพันธ์ของบุคลากรสาธารณาสุขกับภาคีภาครัฐ เอกชนอื่นๆ และภาคีชุมชนต่างๆ

 ครอบครัว ชุมชน การเข้าถึงบริการระบบสุขภาพ ทักษะเพื่อการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจอย่างมีความหมายและมีคุณค่า เช่น การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพตนเอง มีชุดให้ความรู้ด้านสุขภาพ มีเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจ ตามความสามารถเพื่อการจัดการตนเองและดูแลตนเอง เช่นการจัดการด้วยโรคเรื้อรัง อย่างมีส่วนร่วม จิตอาสา กลุ่ม/เครือข่ายต่างๆ กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน การจัดการให้มีการบริโภคยาอย่างถูกต้องสม่ำเสมอฯ

ความรู้เท่าทันสุขภาพ (Health literacy) เช่น การรณรงค์ การให้สุขศึกษา การสื่อสารด้วยกระบวนที่เข้าถึงได้ การวางแผนการบริการสุขภาพ และความร่วมมือระหว่างหน่วยราชการท้องถิ่น องค์กรภาคเอกชน กับภาคชุมชน

โครงสร้างทางสังคม ตามบริบท วัฒนธรรม เช่นกลไกกระบวนการ การมีส่วนร่วมและความร่วมมือการสนับสนุนทุนและทรัพยากร รวมถึงการฝึกอบรมแก่องค์การผู้บริโภคฯ เช่นการสนับสนุนจากองค์กรท้องถิ่น การฝึกอบรมอาสาสมัคร การสนับสนุนทุนและทรัพยากร เช่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/ประชาคม คณะกรรมการโรงพยาบาล คณะกรรมการที่ปรึกษาการบริการสุขภาพ โครงการเกี่ยวกับสุขภาพชุมชน การมีส่วนร่วมของชุมชน การช่วยเหลือและสนับสนุน (Advocate& Support) พัฒนา/เพิ่มศักยภาพ อำนาจผู้นำ ภาคชุมชน/แกนนำต่างๆ เช่นการระบุบุคคลโดยชุมชน การพัฒนาผู้นำ กลไกกระบวนการ การมีส่วนร่วม

 ด้านสาธารณสุข จัดการบริการด้านสุขภาพด้วยความรับผิดชอบตอบสนองต่อความต้องการ สนองความพึงพอใจและความคาดหวังของประชาชน เสริมความเข้มแข็งและคุณค่าการเห็นประชาชนเป็นศูนย์การการให้การยอมรับและการสนับสนุนการเป็นแบบอย่างที่ดี

ความตระหนักรับผิดชอบต่อการบริการที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ตามจรรยาบรรณ

-  เป็นบุคคลแบบอย่าง เพื่อคงไว้ซึ่งความมีคุณค่า

-  นำพาการร่วมงาน การเรียน การสอนในลักษณะสหสาขาวิชาชีพ

-  รักการเรียนรู้ต่อเนื่อง เพื่อการพัฒนาและเติบโตทางปัญญา

-  พัฒนาด้านวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง

ความสามารถในการดูแลองค์รวมด้วย การบริการเพื่อนมนุษย์/มิตรภาพบำบัด

-  เชื่อมั่นในการใช้ประโยชน์จากการใช้เหตุผลเชิงประจักษ์

-  ประสานสมดุลการบริการเวชศาสตร์ครอบครัวชุมชนและแบบผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

องค์ความรู้การให้สุขศึกษา และกระบวนการฝึกอบรมในทุกเรื่องที่จำเป็นสำหรับบุคลากรสาธารณสุข

-  ความรู้ ทักษะ ความสามารถ ที่จำเป็นต้องมี

-  เข้าใจภูมิปัญญาการศาสตร์พื้นบ้าน/ทางเลือกสถานบริการชุมชน

-  ได้รับการเรียนรู้ ฝึกฝน ในด้านการรับรู้ และตอบสนอง

-  ความสามารถผสมผสานกับบริบทวัฒนธรรมอย่างเหมาะสม

ความรู้ความสามารถหลักของบุคลากรที่เน้นการบริการที่มีประชาชน/ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง

-  เข้าใจถึงมิติด้านจิตสังคม

-  การเน้นย้ำ ความสำคัญของปัจจัยด้านชีวิตร่างกาย จิตสังคม และจิตปัญญา

-  ห่วงใยและเอาใจใส่สุขภาพและความเป็นอยู่ของผู้คน

-  การผสมผสานบนพื้นฐาน ความตระหนัก ด้านมนุษยธรรม

-  ความเชี่ยวชาญด้านการสื่อสารต่อผู้คน และการสร้างความเชื่อถือไว้วางใจได้

-  มีวิธีการเรียนรู้ และการสอนที่หลากหลาย

 องค์กรด้านสุขภาพ ระบบบริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ ความปลอดภัยบนพื้นฐาน จรรยาบรรณวิชาชีพ

-  ประสิทธิภาพและประสิทธิผล ความร่วมมือการบริการสุขภาพ

-  การไหลเวียนของผู้ป่วย

-  การเข้าถึงการตรวจวินิจฉัยเฉพาะที่จำเป็น

-  การแจ้งสิทธิ และการยืนยันการรับรู้

-  บันทึกทางสุขภาพและการบริการ

-  ระบบการจำหน่าย และส่งต่อผู้ป่วย

มาตรฐานและการสร้างแรงจูงใจ

-  มาตรฐานด้านบุคลากร

-  ระบบค่าตอบแทน ที่สนับสนุนความมั่นคงเพื่อการดำรงชีพ

-  ระบบเสริมแรงจูงใจ ตรมลำดับประสิทธิภาพการทำงาน

-  การยกย่อง ยอมรับบุคลากร ที่เป็นแบบอย่างต่อสาธารณะ

-  การพัฒนาความเชี่ยวชาญ เฉพาะอย่างต่อเนื่อง

-  การฝึกอบรมความรู้ ทักษะความสามารถที่จำเป็นต่อภาระงาน

-  การติดตามประเมินผล กลุ่มเป้าหมาย เพื่อการพัฒนาให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สิ่งแวดล้อม ความสะดวกสบาย ความปลอดภัย เอื้อต่อการปฏิบัติงานบรรยากาศทางสังคม อารมณ์ การสนับสนุนด้านสติปัญญา นโยบายด้านการจัดการ ความเสี่ยง การจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อที่จะเอื้อต่อการเรียนรู้ทางสุขภาพ

รูปแบบการบริการอื่นๆ อาทิเช่น การบริการนอกเวลา การฝึกหัตพยาบาล การส่งเสริมด้านจิตสังคม การบริการในชุมชน

ทีมสุขภาพสหสาขาวิชาชีพ รายละเอียดภาระงาน และหน้าที่ความรับผิดชอบ ในฐานะทีมสุขภาพการสนับสนุนการพัฒนาทีมสุขภาพ และการเพิ่มประสิทธิผลของการดำเนินการข้อกำหนดการสื่อสาร ประสานงานระหว่างวิชาชีพ

การบูรนาการ การให้สุขศึกษา และให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วย เข้ากับการมีส่วนร่วมของครอบครัวและความสามารถ ในการจัดการสุขภาพตนเองและครอบครัว

ภาวะผู้นำและทักษะการจัดการ ทักษะตามความสามารถในการจัดการ ทรัพยากรและการพัฒนาทางองค์กร การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ การจัดการ การฝึกอบรมภาวะผู้นำแก่ทีมงาน

ปัจจัยกำหนดทิศทางการพัฒนา

-  ผู้ป่วย (โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผู้สูงอายุ ผู้พิการฯ) ส่วนใหญ่ มีข้อจำกัดทางด้านร่างกายและเศรษฐกิจ

-  การฟื้นฟูที่บ้านนับเป็นกุญแจสำคัญในการดูแลผู้ป่วย

-  ดูแล ตามแนวคิดองค์รวม รักษาคนก่อนรักษาโรค

-  ผู้ป่วย (โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผู้สูงอายุ ผู้พิการฯ) ครอบครัวเป็นศูนย์กลาง มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

-  ไม่ดูแลผู้ป่วย (โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผู้สูงอายุ ผู้พิการฯ) แต่ต้องดูแลครอบครัวและญาติด้วย

ข้อด้อยของการบริการ ผู้ป่วย (โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผู้สูงอายุ ผู้พิการ) เดิม ไม่เข้าใจปัญหาที่แท้จริง ความช่วยเหลือไม่ตรงความต้องการ ทั้งของผู้ป่วยและครอบครัว

รู้จำนวน แต่ไม่เข้าใจ การฟื้นฟู ขึ้นทะเบียนได้ แต่ไม่ได้ฟื้นฟูสภาพอย่างเหมาะสม

รู้ปัญหา  แต่ไม่เห็นศักยภาพ สงเคราะห์ได้แต่ขาดคุณค่า สักแต่ว่าให้

เน้นตั้งรับมากกว่าตามรุก ขาดโอกาสเข้าถึง ขาดการติดตาม ตามบุญตามกรรม

ปัญหาอุปสรรค

1.  ผู้ป่วยมีจำนวนมาก รายใหม่เพิ่มขึ้น

2.  ลักษณะของโรค เรื้องรัง

3.  ผู้ป่วยอยากหาย แสวงหาการรักษา

4.  การรักษาต้องทำ ควบคู่กับการปรับพฤติกรรม

5.  การบริหารจัดการกำลังคน

6.  การจัดการข้อมูล

7.  ลักษณะงาน ทำคนเดียวไม่ได้

ความต้องการของภาคประชาชน

1.  อยากมีคลินิกโรคเรื้อรังใกล้บ้าน (เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผู้พิการ)

2.  อยากมีแพทย์ไปตรวจที่ รพสต.

3.  อยู่บ้านเดียวกัน อยากมาตรวจในวันเดียวกัน

4.  อยากหายจากโรค

DHS โครงการนำร่องของ 4 อำเภอ ได้แก่อำเภอมวกเหล็ก เสาไห้ บ้านหมอ ดอนพุด ในจังหวัดสระบุรี ทำการศึกษาในเรื่องของการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้องรัง (โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผู้พิการฯ) แนวทางพอสังเขปที่ผู้เขียนสามารถรวบรวมบันทึกได้ และเพื่อเป็นประโยชน์ สำหรับพี่ๆน้องๆชาวสาธารณสุข  ที่จะนำไปใช้ ในการดำเนินงาน ในโอกาสต่อไป

..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/519040

แนวข้อสอบนักวิชาการสาธารณสุข ข้อเขียน