ความหมายของผลิตภัณฑ์ product

ส่วนประสมของผลิตภัณฑ์ หมายถึงกลุ่มของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะคล้ายกัน ที่กิจการทำการเสนอขายให้แก่ลูกค้าหรือผู้บริโภค โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ช่องทางการจัดจำหน่าย ตลาดเดียวกันแต่สามารถตอบสนองความต้องการเฉพาะของแต่ละกลุ่มย่อยได้

ส่วนประสมผลิตภัณฑ์ของกิจการมีมิติที่สำคัญ 6 มิติ ประกอบด้วย:–

1) Product line : สายผลิตภัณฑ์ หมายถึงการจัดกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดทางด้านลักษณะ หน้าที่(ผลประโยชน์) และช่องทางการจัดจำหน่ายที่คล้ายคลึงกันและมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเดียวกัน เช่น

ความหมายของผลิตภัณฑ์ product
ความหมายของผลิตภัณฑ์ product
ความหมายของผลิตภัณฑ์ product
ความหมายของผลิตภัณฑ์ product

2) Product item : รายการผลิตภัณฑ์ หมายถึงลักษณะของหน่วยผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกันภายในตราสินค้า หรือภายในสายผลิตภัณฑ์ในแง่ของขนาด ราคา รูปแบบ หรือคุณสมบัติอื่นๆ อย่างใด อย่างหนึ่ง เช่น

ความหมายของผลิตภัณฑ์ product

3) Product width : ความกว้างของผลิตภัณฑ์ หมายถึงจำนวนสายผลิตภัณฑ์ของกิจการหนึ่งที่เสนอขายทั้งหมด เช่น

ความหมายของผลิตภัณฑ์ product
ความหมายของผลิตภัณฑ์ product
ความหมายของผลิตภัณฑ์ product
ความหมายของผลิตภัณฑ์ product

4) Product depth : ความลึกของผลิตภัณฑ์ หมายถึงจำนวนรายการในแต่ละสายผลิคภัณฑ์ที่กิจการเสนอขาย เช่น

ความหมายของผลิตภัณฑ์ product
ความหมายของผลิตภัณฑ์ product

ความหมายของผลิตภัณฑ์ product

5) Product length : ความยาวของผลิตภัณฑ์ หมายถึงจำนวนรายการผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่กิจการเสนอขายให้แก่ลูกค้าหรือผู้บริโภคนั่นเอง เช่น

ความหมายของผลิตภัณฑ์ product
ความหมายของผลิตภัณฑ์ product

ความหมายของผลิตภัณฑ์ product
ความหมายของผลิตภัณฑ์ product

ความหมายของผลิตภัณฑ์ product

6) Product line consistency : ความสอดคล้องของสายผลิตภัณฑ์ หมายถึงความสัมพันธ์ของกลุ่่มผลิตภัณฑ์ในด้านการผลิต การจัดจำหน่าย หรือลักษณะของผลิตภัณฑ์ด้านอื่นๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน อาจจะสอดคล้องกันในเรื่องของกรรมวิธีการผลิตที่ใกล้เคียงกับกลุ่มเป้าหมายและใช้ช่องทางการจัดจำหน่ายที่คล้ายกัน เช่น บริษัท P&G มีความสอดคล้องกันในแง่่ของการเป็นผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค ซึ่งสามารถเลือกซื้อได้โดยใช้ช่องทางเดียวกัน แต่ไม่สอดคล้องกันในแง่ของลักษณะผู้ซื้อที่มีความหลากหลาย

Advertisement

แบ่งปันสิ่งนี้:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการ หรือจะเป็นอะไรก็ได้ที่สามารถนำเสนอขายสู่ตลาด เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค เมื่อศึกษาแนวคิดทางการตลาดผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการ พบว่า การตอบสนองความต้องการผู้บริโภค หมายรวมถึงความพึงพอใจทางด้านความต้องการของผู้บริโภค เพื่อใช้ในการสื่อสารทางการตลาดได้อย่างเหมาะสมลงตัว (Fetscherin et al., 2014) และเพื่อให้เกิดการส่งมอบของ ผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการ (Goods and Services)ได้นั้น จะต้องมีส่วนประสมทางด้านการตลาดหรือ 4’P ซึ่งประกอบด้วย  

ผลิตภัณฑ์ (Product) หมายถึงเป็นสินค้าหรือกลยุทธ์ตัวแรกของส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสำคัญที่สุดที่นักการตลาดจะต้องหยิบยกขึ้นมา พิจารณาก่อนโดยการเลือกผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของตลาดเป้าหมาย เพื่อสะดวกในการพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดตัวอื่นๆ ให้สัมพันธ์กัน (เชาว์  โรจนแสง 2545)  หรือแม้ผลิตภัณฑ์จะเป็นองประกอบตัวเดียวในส่วนประสมของการตลาดก็ตาม แต่เป็นตัวสำคัญที่มีรายละเอียดที่จะต้องพิจารณาอีกมากมาย ดังนี้ เช่นความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ (Produce Variety) ชื่อตราสินค้าของผลิตภัณฑ์ (Brand Name) คุณภาพ ของผลิตภัณฑ์ (Quality) การรับระกันผลิตภัณฑ์ (Warranties) และการรับคืนผลิตภัณฑ์ (Returns) (ชีวรรณ เจริญสุข 2547)

2.องค์ประกอบผลิตภัณฑ์

            องค์ประกอบผลิตภัณฑ์  (Product   Component)  เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาตัวสินค้าผลิตภัณฑ์หรือบริการ   เป็นการพิจารณาถึงคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่นักการตลาดจะต้องนำองค์ประกอบที่ได้ มาเป็นตัวกำหนดลักษณะสินค้าผลิตภัณฑ์หรือบริการในการตอบสนองความต้องการลูกค้าหรือของตลาด   โดยสามารถแบ่งได้  ดังนี้

  1. ผลิตภัณฑ์หลัก (Core  Product)  บริษัทต้องมีความรู้ว่าอะไรเป็นสิ่งที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้
  2. คุณสมบัติผลิตภัณฑ์ (Product  Attribute)  เราต้องทราบว่าผลิตภัณฑ์นั้นผลิตมาจากอะไร  มีคุณสมบัติอย่างไร   ลักษณะทางกายภาพ  ขนาด  จุดเด่น  ความงาม  ความคงทน
  3. จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ (Product   Feature)  เราต้องรู้ว่าสินค้าของเรามีอะไรเด่นเป็นพิเศษ  (Differentiation)  กว่าสินค้าอื่น  เพื่อดึงดูดลูกค้าให้ใช้สินค้าของเรา
  4. ผลประโยชน์ที่ได้รับจากผลิตภัณฑ์  (Product  Benefit)  ลูกค้าส่วนใหญ่มักจะสับสนระหว่างจุดเด่นผลิตภัณฑ์  และผลประโยชน์ที่ได้รับจากผลิตภัณฑ์  ซึ่งจะแตกต่างกันจุดเด่นผลิตภัณฑ์คือ สิ่งที่อยู่ในตัวสินค้า    ซึ่งผลประโยชน์ของผลิตภัณฑ์สามารถแบ่งออกเป็น  3  ประเภทคือ

4.1 ผลประโยชน์ที่ผลิตภัณฑ์พึงมี (Defensive  Benefit)

4.2 ผลประโยชน์พิเศษ (Extra  Benefit)

4.3  ผลประโยชน์เสริม (Fringe  Benefit

3.การประยุกต์ใช้

จากการประยุกต์ใช้กลยุทธ์ทางการตลาดทางด้านผลิตภัณฑ์ พบว่าการสร้างสินค้าผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ โดยใช้ทฤษฎีทางด้านผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการของระบบมาประยุกต์ใช้ในด้าน Input เช่นการวิจัยทางการตลาด กลยุทธ์ทางการตลาด การวิเคราะห์ทางการขาย เพื่อเข้าสู่กระบวนการของขั้นตอน เพื่อได้มาซึ่งความคิดใหม่ซึ่งจะต้องมีการสกรีนในเบื้องต้น เพื่อที่จะได้งานวิจัยหรือวิเคราะห์ข้อมูลที่ถูกต้องออกมามาซึ่ง concept ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่โดยจะมีความสัมพันธ์กับกลกลยุทธ์ทางการตลาด (กิตติคุณ บุญเกตุ, 2556) 2555) หลังจากผ่านกระบวนการข้างต้น จะได้ผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ที่ผ่านการทดสอบ และจัดให้มีตราสินค้าที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์สินค้า หรือบริการใหม่และเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งจัดการอบรมให้กับพนักงานเพื่อให้มีความรู้ต่อผลิตภัณฑ์ วางตัวในการตลาด ไปจนถึงคำนวณถึงผลกำไรของการออกผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ เพื่อผลประโยชน์สูงสุดขององค์กร*(ณัฐนันท์ หอมวิเศษวงศา, 2555)

บรรณานุกรม

กิตติคุณ บุญเกตุ .(2556)  วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร

วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (สถิติประยุกต์)

คณะสถิติประยุกต์  สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

  1. วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (สถิติประยุกต์), สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ชีวรรณ เจริญสุข (2547). กลยุทธ์การปรับตัวทางการตลาดของร้านค้าปลีกไทยแบบดั้งเดิม (โชวห่วย). บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร, มหาวิทยาลัยศรีปทุม. บริหารธุรกิจ การตลาด. 

วลีรักษ์ สิทธิสม. 2553.  OTOP ในจังหวัดนนทบุรี. สาขาวิชาบริหารอาชีวะและเทคนิคศึกษา ภาควิชาบริหารเทคนิคศึกษา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

อรรถสิทธ์ ทองทั่ว. 2552.  มหาวิทยาลัยบูรพา.

อ้างอิง (Reference)

http://forum.datatan.net/index.php?topic=126.0

http://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sms/market/Unit4/Subm1/U411-1.htm

http://marketingdirector.com/wp-content/uploads/2012/07/New-Product-Development-Methodology4.jpg

http://www.businessdictionary.com/definition/product.html

http://www.learnmarketing.net/theory.htm

http://businesscasestudies.co.uk/business-theory/marketing/marketing-mix-price-place-promotion-product.html#axzz3HEnvG4YI