เตรียมตัวก่อน ตั้ง ครรภ์ อายุมาก

การวางแผนสร้างครอบครัวใครว่าไม่สำคัญ สร้างครอบครัวก็ไม่ใช่เพียงวางแผนเฉพาะเรื่องการเงิน, ที่อยู่อาศัยหรือการปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันของคู่สามีภรรยาเท่านั้น การวางแผนเพื่อเจ้าตัวน้อยในครรภ์ก็เป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ ตั้งแต่เริ่มคิดที่จะอยากมี

มีงานวิจัยหลายชิ้น เกี่ยวกับการเตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์ ยืนยันถึงประโยชน์ของ “การเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์” ว่า “ช่วยลดอัตราการเสียชีวิต, การเจ็บป่วย และภาวะทุพลภาพของทั้งแม่และลูกได้”

สิ่งที่ควรรู้หากวางแผนจะตั้งครรภ์ คือ

  • หากยังไม่พร้อมที่จะมีลูก ควรคุมกำเนิด ด้วยวิธีที่เหมาะสม
  • อายุช่วงวัยที่เหมาะสมสำหรับการตั้งครรภ์ คือ ช่วงอายุ 20-30 ปี จะมีลูกง่ายและปลอดภัยกว่าวัยอื่น หากอายุมากกว่า 35 ปี หรือ 40 ปีขึ้นไปแล้ว การตั้งครรภ์จะเสี่ยงอันตรายมากยิ่งขึ้น อาจต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์เฉพาะทางด้านสูตินรีเวช
  • ใส่ใจเรื่องอาหารการกิน โดยรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ผักและผลไม้วันละ 5 ส่วน,บริโภคปลาทะเลน้ำลึก สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง เพื่อให้ร่างกายได้รับกรดโอเมก้า 3 บำรุงเพื่อสมองทารก และโฟเลตซึ่งพบในผักใบเขียว ส้ม มะนาว ธัญพืช ตับ ไข่แดง ฯลฯ หากได้รับไม่เพียงพอ ควรเสริมด้วยกรดโฟลิกหรือวิตามินบี 9 ขนาด 5 มิลลิกรัม วันละ 1 เม็ด ควรหลีกเลี่ยงสมุนไพรหรืออาหารเสริมบางชนิดที่มีคำเตือน เพราะอาจส่งผลให้มีลูกยาก และอาจส่งผลให้ทารกในครรภ์มีโอกาสพิการได้
  • ควรอย่างยิ่งที่จะต้องเลิกบุหรี่และงดดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เนื่องจากบุหรี่มีสารนิโคตินและสารบางชนิดที่ส่งผลให้มีบุตรยาก เสี่ยงแท้ง อาจคลอดก่อนกำหนด เด็กในครรภ์จะขาดสารอาหาร อาจพิการ อาจส่งผลถึงสติปัญญาบกพร่อง ในขณะเดียวกันแอลกอฮอล์ก็ทำให้ตัวคุณแม่ ไม่แข็งแรง และลูกมีโอกาสพิการได้เช่นกัน
  • ยาเสพติดและสารสเตียรอยด์ ส่งผลให้เกิดภาวะเสี่ยงแท้ง บุตร เด็กอาจพิการ หรือเสียชีวิตในครรภ์ได้
  • ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับหัวใจ ปอด และกล้ามเนื้อของคุณแม่
  • ดูแลสุขภาพช่องปากมากยิ่งขึ้น เนื่องจากในช่วงตั้งครรภ์ คุณแม่อาจจะขาดสารอาหารบางชนิด ที่ต้องแบ่งปันเพื่อไปหล่อเลี้ยงบุตรในครรภ์ อาจส่งผลให้เกิดโรคเหงือและฟันได้หากคุณแม่รับประทานสารอาหารไม่เพียงพอ และยังส่งผลให้ลูกน้อยในครรภ์มีน้ำหนักน้อย
  • การดูแลสุขภาพใจก็เป็นสิ่งสำคัญ คุณแม่ควรมีเทคนิคและวิธีการที่จะบริหารอารมณ์และจัดการกับความเครียดให้ได้ ควรจัดการปัญหาต่างๆ ที่ก่อให้เกิดความเครียดให้ลุล่วงไปก่อนการตั้งครรภ์ได้จะยิ่งดี
  • ปรึกษาแพทย์ มิใช่เฉพาะเรื่องการนับวันไข่ตก หรือนับรอบเดือน หรือรอบเดือนไม่มาค่อยปรึกษาเท่านั้น คู่สามีภรรยาที่พร้อมและต้องการวางแผนที่จะมีบุตร สามารถปรึกษาแพทย์ด้านความพร้อมของร่างกายได้ เช่นการตรวจร่างกาย ตรวจเลือด ตรวจภายใน ฉีดวัคซีน รวมทั้งการขอคำแนะนำจากแพทย์ในกรณีที่มีโรคประจำตัว ผู้ที่รับประทานยาชนิดหนึ่งชนิดใดเป็นประจำ หรือเคยมีประวัติแท้ง เพื่อให้การวางแผนการสร้างครอบครัวมีความมั่นใจมากยิ่งขึ้น

รู้หรือไม่...

คณะทำงานพิเศษ USPSTF สหรัฐอเมริกาแนะนำให้สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่สามารถตั้งครรภ์ได้ ใช้โฟเลตเสริมวันละ 400 ไมโครกรัมทุกวัน สำหรับสตรีที่วางแผนจะตั้งครรภ์ ใช้โฟเลตเสริมวันละ 400-800 ไมโครกรัมทุกวันเป็นเวลา 1 เดือนก่อนการตั้งครรภ์ เนื่องจากช่วยลดการแท้งและภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด และความพิการทางสมองของทารกได้

Cr. นิตยสาร NewParents Thailand by Health Today Thailand 2nd Edition 2019/2020 หน้า 9 และ 10 ผลิตโดย บริษัท ทิมส์ (ประเทศไทย) จำกัด

การดำเนินชีวิตของผู้หญิงในปัจจุบันร่วมกับระดับการศึกษา ความสามารถและโอกาสในการทำงานในระดับที่สูงขึ้น เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้แต่งงานช้า หรือตั้งครรภ์และมีบุตรเมื่อมีอายุมากขึ้น โดยผู้หญิงตั้งครรภ์เมื่ออายุมาก คือ ในช่วงอายุ 35 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อปัญหาสุขภาพและอันตรายทั้งต่อตนเองและทารกในครรภ์เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งลูกยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของโครโมโซม โดยเฉพาะการเกิดกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมมากขึ้นด้วยเช่นกัน


ผู้หญิงตั้งครรภ์เมื่ออายุมากเสี่ยงอะไรบ้าง

การตั้งครรภ์เมื่ออายุมากส่งผลกระทบต่อผู้หญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ ดังนี้

  1. การแท้งบุตร ผู้หญิงตั้งครรภ์เมื่ออายุมากมีโอกาสแท้งบุตรได้สูงกว่าผู้หญิงตั้งครรภ์อายุน้อย
  2. ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ อาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตหากได้รับการดูแลที่ไม่ถูกต้องทั้งในขณะตั้งครรภ์ ขณะคลอด และในระยะหลังคลอดโดย ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย ได้แก่
    1. เบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ เพราะในช่วงตั้งครรภ์ ร่างกายจะนำอินซูลินไปใช้ได้ไม่เต็มที่จึงอาจทำให้ระบบควบคุมน้ำตาลในเลือดผิดปกติจนเกิดโรคเบาหวานตามมา
    2. ครรภ์เป็นพิษ เป็นภาวะของผู้หญิงตั้งครรภ์ที่เกิดความดันโลหิตสูง ทั้งที่ไม่เคยเป็นความดันโลหิตสูงมาก่อน ร่วมกับภาวะโปรตีนสูงในปัสสาวะ
    3. รกเกาะต่ำ เป็นภาวะที่รกเกาะอยู่ที่ผนังมดลูกส่วนล่าง หรือใกล้ปากมดลูก เมื่อเข้าสู่ระยะใกล้คลอด มดลูกจะขยายขนาดใหญ่ขึ้นมาก ปากมดลูกจะเริ่มบางและยืดขยายออก รกที่เคยเกาะแน่นก็จะมีรอยปริและเกิดแยกตัว ทำให้มีเลือดออกทางช่องคลอด ถ้ารกเกาะต่ำมากหรือไปขวางปากมดลูก อาจทำให้ตกเลือดมากจนเสี่ยงต่อภาวะช็อก หรือทารกในครรภ์ขาดออกซิเจนและเสียชีวิตในครรภ์ได้
    4. ท้องนอกมดลูก เป็นการตั้งครรภ์ผิดปกติที่ตัวอ่อนฝังตัวนอกโพรงมดลูก ตัวอ่อนจึงไม่สามารถเจริญเติบโตได้ ซึ่งอาจมีผลเสียต่อท่อนำไข่และอาจอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ สาเหตุเกิดจากการอักเสบของท่อนำไข่ ส่งผลให้เกิดพังผืดจนท่อนำไข่ตีบแคบและผิดรูป ตัวอ่อนจึงไม่สามารถเคลื่อนผ่านไปได้ในเวลาที่เหมาะสม
    5. การคลอดก่อนกำหนด การคลอดเมื่ออายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ โดยมีสาเหตุมาจากมดลูกบีบตัว ปากมดลูกเปิดและบางก่อนกำหนด การคลอดก่อนกำหนด ส่งผลให้ทารกที่คลอดออกมาอาจมีการเจริญเติมโตที่ไม่สมบูรณ์เต็มที่

ลูกเป็นดาวน์ซินโดรม ความเสี่ยงของผู้หญิงตั้งครรภ์เมื่ออายุมาก

ผู้หญิงตั้งครรภ์เมื่ออายุมาก ส่งผลให้ทารกในครรภ์มีความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของโครโมโซม โดยเฉพาะการเกิดกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมเพิ่มสูงมากขึ้น โดยภาวะดาวน์ซินโดรม เกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 ตัว ตัวอ่อนจึงเกิดความบกพร่องทางสติปัญญา และจะมีรูปร่างหน้าตาที่ผิดปกติ เช่น ตัวเตี้ย ศีรษะเล็ก ตาเฉียงขึ้น ดั้งจมูกแบน ใบหูเล็ก และต่ำ เป็นต้น


ผู้หญิงตั้งครรภ์เมื่ออายุมากต้องดูแลอย่างไร

เมื่อผู้หญิงตั้งครรภ์ตอนอายุมาก หรือ อายุ 35 ปีขึ้นไป ถึงจะมีความเสี่ยงมาก แต่ถ้าสามารถฝากครรภ์ได้เร็ว แพทย์จะดูแลได้อย่างใกล้ชิด จะสามารถคำนวณอายุครรภ์ กำหนดวันคลอดและประเมินความเสี่ยงเบื้องต้นได้ โดยจะต้องเข้ารับการตรวจ เช่น

ตั้งครรภ์อายุ37ต้องตรวจอะไรบ้าง

ตรวจครรภ์ตามนัด คุณแม่ทั้งหลายอายุ 35 ปีขึ้นไปจะต้องตรวจครรภ์ตามนัดเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ เพื่อทราบการเปลี่ยนแปลงและความผิดปกติของทารก คุณหมอจะทำการตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจอัลตร้าซาวนด์ (หลายครั้ง) และเจาะน้ำคร่ำเพื่อดูโครโมโซมของทารกว่ามีความผิดปกติหรือไม่ เพื่อตรวจหาอาการดาวน์ซินโดรม

มีลูกตอนอายุ 40 อันตราย ไหม

ภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายของคุณแม่ตั้งครรภ์ในวัย 40+ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนคือ สุขภาพของคุณแม่และความแข็งแรงของทารกในครรภ์ เนื่องจากพออายุมากขึ้น โอกาสและความเสี่ยงที่จะเป็นโรคก็มากขึ้นตามไปด้วย เช่น โรคความดันเลือดสูง โรคเบาหวาน ซึ่งเป็นโรคที่พบเจอได้บ่อยในคนวัย 40+ ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายตามมา ...

มีลูกตอนอายุ36 อันตรายไหม

คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน และมีผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์มากกว่าคุณแม่อายุน้อย จึงควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษและเข้าตรวจตามคำแนะนำของแพทย์ ตั้งแต่เดือนแรกจนถึงไตรมาสสุดท้ายก่อนคลอด

ตั้งครรภ์อายุมาก เสี่ยงอะไร

สตรีตั้งครรภ์อายุมาก เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดทารกเสียชีวิตในครรภ์อย่างมีนัยสำคัญ โดยมีการศึกษาแบบ systematic review และ meta-analysis หลายการศึกษาได้ข้อสรุปว่า สตรีตั้งครรภ์อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป เพิ่ม ความเสี่ยงของการเกิดภาวะทารกเสียชีวิตในครรภ์มากกว่าสตรีตั้งครรภ์อายุน้อยร้อยละ 65 โดยความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามอายุ ...