การ เตรียมตัว ใน การ สมัคร งาน

การ เตรียมตัว ใน การ สมัคร งาน

10 ขั้นตอนการเตรียมตัวไปสัมภาษณ์งาน

ยินดีด้วยค่ะ เรซูเม่ของคุณผ่านการพิจารณาและคุณถูกเรียกไปสัมภาษณ์งาน แต่การที่คุณจะได้งานหรือไม่นั้น การเตรียมตัวให้เหนือคู่แข่งที่มาสัมภาษณ์ในตำแหน่งเดียวกันจึงเป็นเรื่องสำคัญ คุณต้องเตรียมพร้อมสำหรับการตอบคำถามของทางบริษัท เตรียมค้นหาข้อมูลบริษัทและตำแหน่งที่สมัครงาน รวมถึงการเตรียมเอกสารสำคัญต่างๆ และเอกสารอ้างอิงให้พร้อมก่อนถึงวันสำคัญนั้น หวังว่าบทความนี้ซึ่งอัดแน่นไปด้วยเทคนิคมากมายที่จะช่วยให้คุณพร้อมไปสัมภาษณ์ได้อย่างมั่นใจและได้ตำแหน่งงานตามที่หวังไว้

สืบค้นข้อมูลบริษัทที่คุณกำลังจะไปสัมภาษณ์เพื่อทำความเข้าใจในเรื่องตัวธุรกิจและประเมินคำถามที่อาจถูกถามในห้องสัมภาษณ์ การสืบค้นที่ด้วยควรรวมถึง

  • การสืบค้นทางแหล่งข้อมูลออนไลน์
  • การสืบค้นทางเว็บไซต์ของบริษัท โดยเฉพาะในหัวข้อเกี่ยวกับเรา (About Us), บุคลากร (Team), และ ผลิตภัณฑ์ (Products)
  • อ่านสิ่งพิมพ์ถูกจัดพิมพ์หรือเผยแพร่โดยบริษัท
  • อ่านบทความของทางบริษัท รวมถึงบทความที่เขียนเกี่ยวกับบริษัท
  • สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทคู่แข่ง
  • สอบถามข้อมูลเชิงลึกของบริษัทจากบุคคลรอบตัวที่คุณรู้จัก

2. อ่านข้อมูลเกี่ยวกับผู้สัมภาษณ์

ก่อนถึงวันสัมภาษณ์ ลองพยายามค้นหารายชื่อของผู้สัมภาษณ์แล้ว สืบค้นข้อมูลของผู้สัมภาษณ์เป็นรายบุคคลจากแหล่งสืบค้นข้อมูลออนไลน์, ลิงค์อิน (LinkedIn), และเว็บไซต์ของทางบริษัท เพื่อทำความรู้จักในเรื่องประวัติและความสนใจของพวกเขาเหล่านั้นให้มากขึ้น

การตั้งคำถามล่วงหน้าเป็นสิ่งสำคัญเพื่อช่วยในการตอบคำถามได้อย่างถูกต้องและใช้คำได้อย่างสละสลวย รวมถึงไม่รู้สึกประหม่าเมื่อเจอคำถามยากๆ คำถามการสัมภาษณ์ที่ถูกถามบ่อย ได้แก่

  • กรุณาแนะนำตัวด้วยค่ะ
  • คุณรู้อะไรเกี่ยวกับบริษัทเราบ้าง
  • ทำไมถึงลาออกจากบริษัทเดิม
  • คุณสนใจอะไรในตำแหน่งนี้
  • ช่วยอธิบายสไตล์การทำงานของคุณด้วยค่ะ
  • จุดแข็งของคุณคืออะไร
  • จุดอ่อนของคุณคืออะไร
  • คุณมองตัวเองอย่างไรใน 5 ปีข้างหน้า
  • ต้องการฐานเงินเดือนเท่าไหร่
  • มีอะไรอยากกล่างเพิ่มเติมไหม
  • มีคำถามอะไรไหม

4. จำลองสถานการณ์ในห้องสัมภาษณ์

ลองจำลองสถานการณ์ในห้องสัมภาษณ์กับเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัว โดยเฉพาะกับคนที่มีประสบกาณ์ในการสัมภาษณ์งาน การจำลองสถานการณ์นี้มีประโยชน์และช่วยให้คุณมีความมั่นใจมากขึ้น จากนั้นถามข้อเสนอแนะสำหรับการตอบคำถาม การใช้ภาษากาย และการเตรียมพร้อมของคุณ ดังนั้นควรมีทั้งคำถามทั่วไปและคำถามยากๆเพื่อดูว่าคุณตอบคำถามได้ดีขนาดไหน

5. ใช้บริการหรือผลิตภัณฑ์ของบริษัท

หากทำได้ให้ลองใช้บริการหรือผลิตภัณฑ์ของบริษัทไม่ว่าคุณจะไปสัมภาษณ์ในตำแหน่งใดก็ตาม วิธีนี้จะช่วยคุณเตรียมตัวสำหรับคำถามเกี่ยวกับบริการหรือผลิตภัณฑ์ซึ่งอาจเกิดขึ้นในห้องสัมภาษณ์ และยังเป็นการแสดงให้ผู้สัมภาษณ์เห็นว่าคุณเตรียมพร้อมมาดีเพียงใด การสอบถามประสบการณ์การใช้งานจากลูกค้าท่านอื่นยังแสดงให้เห็นมุมมองของผู้บริโภคต่อบริการหรือผลิตภัณฑ์ของบริษัท และทำการจดบันทึกข้อมูลเหล่านั้น

6. ใตรวจสอบการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของคุณ

นายจ้างมักจะตรวจสอบการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของคุณ เช่น เฟสบุ๊ค (Facebook) เพื่ออ่านข้อมูลและประวัติของพนักงานในอนาคต ดังนั้นอย่าลืมตรวจสอบการโพสต์ข้อความและรูปภาพต่างๆ รวมถึงลบข้อมูลที่ทำให้นายจ้างเกิดภาพในเชิงลบต่อตัวคุณ การสืบค้นชื่อตัวเองบนฐานข้อมูลออนไลน์จึงเป็นประโยชน์ไม่น้อยเพื่อจะได้ทราบว่านายจ้างจะเห็นข้อมูลอะไรเกี่ยวกับคุณบ้าง

ควรแต่งตัวให้สุภาพเรียบร้อยและดูเป็นมืออาชีพสำหรับการสัมภาษณ์งาน เป็นธรรมดาที่การแต่งตัวมาสัมภาษณ์งานมักจะดูเป็นทางการมากกว่าการมาทำงานจริง หากคุณรู้จักคนที่ทำงานในบริษัทที่คุณกำลังจะไปสมัคร คุณสามารถขอคำแนะนำการแต่งตัวเพื่อไปสัมภาษณ์งานจากเขาได้

8. มาถึงก่อนเวลาและเตรียมตัวสำหรับการสัมภาษณ์

คุณต้องมาถึงห้องสัมภาษณ์ให้ตรงกับเวลาที่กำหนดเพื่อเป็นการสร้างความประทับใจแรกพบ ทำการค้นหาแผนที่การเดินทาง ตรวจสอบสภาพการจราจร และไปให้ถึงก่อนเวลา นอกจากนี้อย่าลืมปิดเครื่องมือสื่อสารทุกประเภทก่อนเข้าห้องสัมภาษณ์

9. นำเอกสารที่จำเป็นติดตัวไปด้วย

คุณควรถ่ายเอกสาร 5 – 6 ฉบับสำหรับเอกสารสำคัญเพื่อนำติดตัวไปด้วย ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้จะได้มีความพร้อม เอกสารเหล่านั้นประกอบด้วย

  • เรซูเม่ (Resume)
  • รายชื่อบุคคลอ้างอิง รวมถึงตำแหน่ง บริษัท ข้อมูลการติดต่อ เช่น เบอร์โทรศัพท์ และอีเมล์ (Email)
  • จดหมายแนะนำจากบุคคลอ้างอิง
  • ตัวอย่างผลงานของคุณ เช่น ผลงานการเขียน การออกแบบ แต่ต้องมั่นใจว่าไม่ใช่ข้อมูลที่ห้ามเปิดเผยจากบริษัทเดิม

หลังจากสัมภาษณ์งานเรียบร้อยแล้ว คุณควรแจ้งบุคคลอ้างอิงที่นายจ้างอาจทำการติดต่อไป โดยแจ้งตำแหน่งที่คุณทำการสมัครงาน หรือคุณอาจเตรียมคำถามเพื่อไปถามผู้สัมภาษณ์ก็ได้

10. ตรวจสอบข้อมูลบนเว็บไซต์กลาง

ตรวจสอบข้อมูลบนเว็บไซต์กลางที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทเพื่ออ่านมุมมองของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัท อาจเป็นประสบการณ์การทำงานของลูกจ้างในอดีตและปัจจุบัน รวมถึงข้อมูลเรื่องฐานเงินเดือน และประเภทคำถามของผู้สัมภาษณ์ ประสบการณ์เหล่านี้ช่วยให้คุณได้รู้ภูมิหลังของทางบริษัทและทราบถึงปัญหาของนายจ้างเพื่อใช้ประกอบในการตัดสินใจสมัครงาน

หวังว่าคำแนะนำต่างๆในบทความนี้จะช่วยคุณในการเตรียมตัวสัมภาษณ์และสร้างความมั่นใจให้การสัมภาษณ์ของคุณให้ผ่านไปได้ด้วยดี ขอให้ทุกคนโชคดีและได้งานตามที่หวังไว้นะคะ

ที่มา:

https://www.forbes.com/sites/allbusiness/2017/03/31/10-essential-steps-to-prepare-yourself-for-a-job-interview/#30dea24e7c72

โดย นานา

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการของเรา

การ เตรียมตัว ใน การ สมัคร งาน

Thailand Head Quarter

26th Floor, Sathorn Square
Office Tower,
98 North Sathorn Road, Silom,
Bangrak, Bangkok 10500, Thailand

TEL: +662-108-1250
E-mail:

©2021 PASONA THAILAND. ALL RIGHTS RESERVED.

10 ขั้นตอนการเตรียมตัวไปสัมภาษณ์งาน

ยินดีด้วยค่ะ เรซูเม่ของคุณผ่านการพิจารณาและคุณถูกเรียกไปสัมภาษณ์งาน แต่การที่คุณจะได้งานหรือไม่นั้น การเตรียมตัวให้เหนือคู่แข่งที่มาสัมภาษณ์ในตำแหน่งเดียวกันจึงเป็นเรื่องสำคัญ คุณต้องเตรียมพร้อมสำหรับการตอบคำถามของทางบริษัท เตรียมค้นหาข้อมูลบริษัทและตำแหน่งที่สมัครงาน รวมถึงการเตรียมเอกสารสำคัญต่างๆ และเอกสารอ้างอิงให้พร้อมก่อนถึงวันสำคัญนั้น หวังว่าบทความนี้ซึ่งอัดแน่นไปด้วยเทคนิคมากมายที่จะช่วยให้คุณพร้อมไปสัมภาษณ์ได้อย่างมั่นใจและได้ตำแหน่งงานตามที่หวังไว้

สืบค้นข้อมูลบริษัทที่คุณกำลังจะไปสัมภาษณ์เพื่อทำความเข้าใจในเรื่องตัวธุรกิจและประเมินคำถามที่อาจถูกถามในห้องสัมภาษณ์ การสืบค้นที่ด้วยควรรวมถึง

  • การสืบค้นทางแหล่งข้อมูลออนไลน์
  • การสืบค้นทางเว็บไซต์ของบริษัท โดยเฉพาะในหัวข้อเกี่ยวกับเรา (About Us), บุคลากร (Team), และ ผลิตภัณฑ์ (Products)
  • อ่านสิ่งพิมพ์ถูกจัดพิมพ์หรือเผยแพร่โดยบริษัท
  • อ่านบทความของทางบริษัท รวมถึงบทความที่เขียนเกี่ยวกับบริษัท
  • สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทคู่แข่ง
  • สอบถามข้อมูลเชิงลึกของบริษัทจากบุคคลรอบตัวที่คุณรู้จัก

2. อ่านข้อมูลเกี่ยวกับผู้สัมภาษณ์

ก่อนถึงวันสัมภาษณ์ ลองพยายามค้นหารายชื่อของผู้สัมภาษณ์แล้ว สืบค้นข้อมูลของผู้สัมภาษณ์เป็นรายบุคคลจากแหล่งสืบค้นข้อมูลออนไลน์, ลิงค์อิน (LinkedIn), และเว็บไซต์ของทางบริษัท เพื่อทำความรู้จักในเรื่องประวัติและความสนใจของพวกเขาเหล่านั้นให้มากขึ้น

การตั้งคำถามล่วงหน้าเป็นสิ่งสำคัญเพื่อช่วยในการตอบคำถามได้อย่างถูกต้องและใช้คำได้อย่างสละสลวย รวมถึงไม่รู้สึกประหม่าเมื่อเจอคำถามยากๆ คำถามการสัมภาษณ์ที่ถูกถามบ่อย ได้แก่

  • กรุณาแนะนำตัวด้วยค่ะ
  • คุณรู้อะไรเกี่ยวกับบริษัทเราบ้าง
  • ทำไมถึงลาออกจากบริษัทเดิม
  • คุณสนใจอะไรในตำแหน่งนี้
  • ช่วยอธิบายสไตล์การทำงานของคุณด้วยค่ะ
  • จุดแข็งของคุณคืออะไร
  • จุดอ่อนของคุณคืออะไร
  • คุณมองตัวเองอย่างไรใน 5 ปีข้างหน้า
  • ต้องการฐานเงินเดือนเท่าไหร่
  • มีอะไรอยากกล่างเพิ่มเติมไหม
  • มีคำถามอะไรไหม

4. จำลองสถานการณ์ในห้องสัมภาษณ์

ลองจำลองสถานการณ์ในห้องสัมภาษณ์กับเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัว โดยเฉพาะกับคนที่มีประสบกาณ์ในการสัมภาษณ์งาน การจำลองสถานการณ์นี้มีประโยชน์และช่วยให้คุณมีความมั่นใจมากขึ้น จากนั้นถามข้อเสนอแนะสำหรับการตอบคำถาม การใช้ภาษากาย และการเตรียมพร้อมของคุณ ดังนั้นควรมีทั้งคำถามทั่วไปและคำถามยากๆเพื่อดูว่าคุณตอบคำถามได้ดีขนาดไหน

5. ใช้บริการหรือผลิตภัณฑ์ของบริษัท

หากทำได้ให้ลองใช้บริการหรือผลิตภัณฑ์ของบริษัทไม่ว่าคุณจะไปสัมภาษณ์ในตำแหน่งใดก็ตาม วิธีนี้จะช่วยคุณเตรียมตัวสำหรับคำถามเกี่ยวกับบริการหรือผลิตภัณฑ์ซึ่งอาจเกิดขึ้นในห้องสัมภาษณ์ และยังเป็นการแสดงให้ผู้สัมภาษณ์เห็นว่าคุณเตรียมพร้อมมาดีเพียงใด การสอบถามประสบการณ์การใช้งานจากลูกค้าท่านอื่นยังแสดงให้เห็นมุมมองของผู้บริโภคต่อบริการหรือผลิตภัณฑ์ของบริษัท และทำการจดบันทึกข้อมูลเหล่านั้น

6. ใตรวจสอบการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของคุณ

นายจ้างมักจะตรวจสอบการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของคุณ เช่น เฟสบุ๊ค (Facebook) เพื่ออ่านข้อมูลและประวัติของพนักงานในอนาคต ดังนั้นอย่าลืมตรวจสอบการโพสต์ข้อความและรูปภาพต่างๆ รวมถึงลบข้อมูลที่ทำให้นายจ้างเกิดภาพในเชิงลบต่อตัวคุณ การสืบค้นชื่อตัวเองบนฐานข้อมูลออนไลน์จึงเป็นประโยชน์ไม่น้อยเพื่อจะได้ทราบว่านายจ้างจะเห็นข้อมูลอะไรเกี่ยวกับคุณบ้าง

ควรแต่งตัวให้สุภาพเรียบร้อยและดูเป็นมืออาชีพสำหรับการสัมภาษณ์งาน เป็นธรรมดาที่การแต่งตัวมาสัมภาษณ์งานมักจะดูเป็นทางการมากกว่าการมาทำงานจริง หากคุณรู้จักคนที่ทำงานในบริษัทที่คุณกำลังจะไปสมัคร คุณสามารถขอคำแนะนำการแต่งตัวเพื่อไปสัมภาษณ์งานจากเขาได้

8. มาถึงก่อนเวลาและเตรียมตัวสำหรับการสัมภาษณ์

คุณต้องมาถึงห้องสัมภาษณ์ให้ตรงกับเวลาที่กำหนดเพื่อเป็นการสร้างความประทับใจแรกพบ ทำการค้นหาแผนที่การเดินทาง ตรวจสอบสภาพการจราจร และไปให้ถึงก่อนเวลา นอกจากนี้อย่าลืมปิดเครื่องมือสื่อสารทุกประเภทก่อนเข้าห้องสัมภาษณ์

9. นำเอกสารที่จำเป็นติดตัวไปด้วย

คุณควรถ่ายเอกสาร 5 – 6 ฉบับสำหรับเอกสารสำคัญเพื่อนำติดตัวไปด้วย ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้จะได้มีความพร้อม เอกสารเหล่านั้นประกอบด้วย

  • เรซูเม่ (Resume)
  • รายชื่อบุคคลอ้างอิง รวมถึงตำแหน่ง บริษัท ข้อมูลการติดต่อ เช่น เบอร์โทรศัพท์ และอีเมล์ (Email)
  • จดหมายแนะนำจากบุคคลอ้างอิง
  • ตัวอย่างผลงานของคุณ เช่น ผลงานการเขียน การออกแบบ แต่ต้องมั่นใจว่าไม่ใช่ข้อมูลที่ห้ามเปิดเผยจากบริษัทเดิม

หลังจากสัมภาษณ์งานเรียบร้อยแล้ว คุณควรแจ้งบุคคลอ้างอิงที่นายจ้างอาจทำการติดต่อไป โดยแจ้งตำแหน่งที่คุณทำการสมัครงาน หรือคุณอาจเตรียมคำถามเพื่อไปถามผู้สัมภาษณ์ก็ได้

10. ตรวจสอบข้อมูลบนเว็บไซต์กลาง

ตรวจสอบข้อมูลบนเว็บไซต์กลางที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทเพื่ออ่านมุมมองของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัท อาจเป็นประสบการณ์การทำงานของลูกจ้างในอดีตและปัจจุบัน รวมถึงข้อมูลเรื่องฐานเงินเดือน และประเภทคำถามของผู้สัมภาษณ์ ประสบการณ์เหล่านี้ช่วยให้คุณได้รู้ภูมิหลังของทางบริษัทและทราบถึงปัญหาของนายจ้างเพื่อใช้ประกอบในการตัดสินใจสมัครงาน

หวังว่าคำแนะนำต่างๆในบทความนี้จะช่วยคุณในการเตรียมตัวสัมภาษณ์และสร้างความมั่นใจให้การสัมภาษณ์ของคุณให้ผ่านไปได้ด้วยดี ขอให้ทุกคนโชคดีและได้งานตามที่หวังไว้นะคะ

ที่มา:

https://www.forbes.com/sites/allbusiness/2017/03/31/10-essential-steps-to-prepare-yourself-for-a-job-interview/#30dea24e7c72

โดย นานา

เรียนรู้เพิ่มเติม
เกี่ยวกับบริการของเรา

การ เตรียมตัว ใน การ สมัคร งาน

การ เตรียมตัว ใน การ สมัคร งาน

Thailand Head Quarter

26th Floor, Sathorn Square
Office Tower,
98 North Sathorn Road, Silom,
Bangrak, Bangkok 10500, Thailand

TEL: +662-108-1250
E-mail:

©2021 PASONA THAILAND. ALL RIGHTS RESERVED.