ขั้น ตอน หลังการเก็บเกี่ยว ข้อ ใด เรียง ลำดับ ได้ ถูก ต้อง

5. การเก็บเกี่ยวผลผลิต หมายถึงการกระทำที่ผู้ปลูกพืชนำเอาส่วนของผลผลิตพืชออกไปจากต้นพืชหรือพื้นที่ที่ปลูกนั้น โดยส่วนที่นำออกไปนั้นมีลักษณะเป็นไปตามความต้องการของผู้ปลูกหรือผู้บริโภค

การเก็บเกี่ยวผลผลิตพืชให้มีคุณภาพผู้ปลูกพืชจะต้องมีความรู้และเข้าใจถึงธรรมชาติของผลผลิตของพืชแต่ละอย่างแต่ละชนิด อายุของผลผลิต ลักษณะรูปร่าง สีสันและขนาดของผลผลิต สภาพดินฟ้าอากาศ และเครื่องมือที่ใช้เพื่อการเก็บเกี่ยว

หลักการที่ใช้เพื่อพิจารณาตัดสินใจเก็บเกี่ยวผลผลิตพืชนั้นมักจะต้องเกี่ยวข้องกับอายุของพืชและการใช้ประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้จากชีวิตประจำวันมาประกอบการตัดสินใจเสมอ  จะอย่างไรก็ตามในที่นี้ขอให้แนวคิดเพื่อการเก็บเกี่ยวผลผลิตให้มีคุณภาพ ด้วยการพิจารณาผลผลิตนั้นดังนี้

วิธีที่ 1 ใช้การประมาณอายุหลังจากวันปลูกจนถึงวันเก็บเกี่ยว (ภายใต้การเจริญเติบโตที่เหมาะสมของพืช)

วิธีนี้ผู้ปลูกพืชควรที่จะศึกษาถึงอายุของพืชที่ปลูกในแต่ละฤดูกาล ว่ามีช่วงอายุที่ให้ผลผลิตโดยนับจากวันที่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวได้นั้น ในแต่ละฤดูกาล นานเพียงใด

วิธีที่ 2 ใช้การประมาณอายุนับจากวันที่ดอกผสมเกสรจนถึงวันเก็บเกี่ยว วิธีค่อนข้างที่จะยุ่งยากกว่าวิธีแรกเพราะไม่ทราบว่าพืชแต่ละชนิดจะผสมเกสรเมื่อใด เวลาใด อาจผิดพลาดได้

วิธีที่ 3 ใช้การประมาณด้วยสายตา  เป็นการประมาณคุณภาพของผลผลิตพืชโดยอาศัยความชำนาญเป็นสำคัญโดยการสังเกตดูการเปลี่ยนแปลงไปของส่วนที่เป็นผลผลิตของพืชที่ต้องการเก็บเกี่ยว เช่น

-ดูการเปลี่ยนแปลงของสีผิวของผลผลิต  (การมีนวล ไม่jมีนวล  (Wax) เมื่อแก่หรืออ่อน )

-ดูการเปลี่ยนแปลงขนาดและสภาพทางกายภาพของผลผลิต  (การมีเหลี่ยม ไม่มีเหลี่ยม)

-ดูการเปลี่ยนแปลงของพืชในลักษณะที่ผิดปกติ  เช่น การเหี่ยวเฉาของลำต้น ของมือเกาะ ของใบ

วิธีที่ 4 ใช้การประมาณด้วยประสาทสัมผัสอื่น ๆ  เช่น

-การชิมรส ด้วยการใช้ลิ้นสัมผัสกับเนื้อของผลผลิต

-การฟังเสียง ด้วยการใช้การตี ดีด เคาะ ผล

-การดมกลิ่น ด้วยการใช้จมูกดมหาความหอมของผลที่สุกแก่

YouTube Video


6. การจัดการผลผลิตภายหลังการเก็บเกี่ยว  หมายถึงการกระทำที่เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตที่เก็บเกี่ยวแล้ว และลดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผลผลิตนั้น  ซึ่งจะต้องเกี่ยวข้องกับขั้นตอนของการจัดการตามลำดับก่อนหลังดังนี้

6.1 การทำความสะอาดผลผลิต  เป็นการทำเพื่อให้ผลผลิตมีความสวยงาม สะอาดปราศจากสิ่งสกปรกและสารพิษที่ปนเปื้อน ซึ่งมีวิธีการที่นิยมใช้ 3 วิธีดังนี้

6.1.1 การใช้มือและมีด เพื่อเก็บและตัดส่วนที่ไม่ต้องการออก เช่น ใบที่แก่ ชิ้นส่วนของวัชพืช ส่วนที่เน่าเสีย  สิ่งที่ปนเปื้อนและมองเห็นได้ ฯ

6.1.2 การใช้น้ำล้าง และใช้แปรงขัดถู เพื่อชำระล้างส่วนที่ปนเปื้อนที่เป็นละอองเล็ก ๆ เช่นฝุ่นละออง เศษดิน และซากของอินทรียวัตถุต่าง ๆ 

6.1.3 การใช้ลมเป่า ใช้กับผลผลิตพืชที่ไม่สามารถจะล้างด้วยน้ำได้ เช่น ผลผลิตจำพวกไม้ผล ได้แก่  ทุเรียน น้อยหน่า มังคุด ซึ่งมักจะมีเพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง เกาะติดอยู่กับผล

6.2 การคัดขนาดผลผลิต เป็นการจัดหมวดหมู่ของผลผลิต เช่น ขนาด เล็ก-กลาง-ใหญ่- ใหญ่พิเศษ, อ่อน-แก่- สุก- งอม , มีตำหนิ-ไม่มีตำหนิ   ซึ่งจะทำให้ผู้ผลิตไม่ถูกต่อว่าต่อขานจากผู้ซื้อในภายหลัง วิธีการที่ใช้เพื่อการคัดขนาดผลผลิต มีดังต่อไปนี้

6.2.1 การคัดโดยการใช้สายตาสังเกต ด้วยการดู รูปร่าง ความเล็ก-ใหญ่ ยาว  สั้น สวยงาม

6.2.2 การคัดโดยการใช้เครื่องมือที่เรียกว่าเครื่องคัดขนาด ใช้สำหรับการคัดผลไม้ที่มีรูปร่างของผลที่แน่นอนแต่แตกต่างกันที่ขนาดของผล เช่น ส้ม มะม่วง มังคุด ฝรั่ง สมโอ ฯ

6.2.3 การคัดโดยใช้เครื่องชั่งน้ำหนักหรือตาชั่ง ใช้สำหรับผลผลิตที่มีรูปร่างไม่แน่นอน เช่น ทุเรียน ฟักทอง ขนุน เงาะ มะละกอ ฯ

6.3 การบรรจุ หีบห่อ ผลผลิต (รวมความถึงการบ่มผลผลิตบางชนิดด้วย) เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในขณะที่ขนส่งผลผลิตจากแหล่งผลิตไปสู่ผู้บริโภค อีกทั้งยังช่วยป้องกันการคละกันของผลผลิตที่ได้มีการคัดขนาดไว้แล้ว  การบรรจุและหีบห่อผลผลิตที่เป็นผลผลิตพืช ควรที่จะต้องคำนึงถึงหลักการที่สำคัญดังนี้

1.ต้องคำนึงถึงรูปร่างลักษณะของผลผลิต  พวกที่มีน้ำหนักเบา ขนาดเล็ก ใช้ภาชนะขนาดเล็ก  เช่น ถุงพลาสติก กล่อง ตะกร้า ชะลอม   พวกที่มีน้ำหนักมาก ใช้ภาชนะขนาดใหญ่และแข็งแรง 

2.คำนึงถึงการสูญเสียน้ำและการรักษาความแห้ง เช่นผัก ควรบรรจุในภาชนะที่ป้องกันการเสียน้ำ

หอม กระเทียม ควรบรรจุในภาชนะที่โปร่งและอากาศถ่ายเทได้สะดวก

3.คำนึงถึงลักษณะของภาชนะที่ใช้บรรจุ  ควรให้สอดคล้องกับผลผลิตและการจูงใจผู้ซื้อ

6.4 การจัดจำหน่าย  เนื่องจากผลผลิตทางการเกษตรเป็นสิ่งที่เน่าเสียได้ง่าย ภายหลังจากที่ได้มีการบรรจุหีบห่อแล้วจึงควรที่จะต้องเร่งรีบระบายผลผลิตออกไปสู่ผู้บริโภคให้เร็วที่สุดเทาที่ที่จะทำได้ ดังนั้นการจำหน่ายผลผลิต จึงมีทางเลือกได้เพียง 2 ทางเลือกเท่านั้นคือ

ทางเลือกที่ 1 จำหน่ายส่ง ให้กับคนกลาง(ที่เรียกว่าขายส่ง) ที่ทำหน้าที่ในการรวบรวมผลผลิตจากทุกทิศทางที่มีอยู่ในพื้นที่ ทางเลือกนี้มีข้อเสียคือมักจะถูกกดราคา ผู้ขายไม่สามารถกำหนดราคาเองได้ตามที่ต้องการ  ราคามักจะเกิดจากการต่อรองของผู้ซื้อ เพราะผู้ซื้อนั้นเขาไม่ง้อคนขาย โดยเฉพาะผลผลิตที่เป็นไปตามฤดูกาล และเป็นบุคคลที่เริ่มต้นกับการขายผลผลิตด้วยตนเอง แต่ก็เป็นทางเลือกที่ต้องเลือก

ทางเลือกที่ 2 จำหน่ายให้กับผู้บริโภคโดยตรง ในลักษณะของการขายปลีกให้กับผู้ซื้อแต่ละคน ทางเลือกนี้มีข้อดี คือผู้ขายสามารถที่จะกำหนดราคาขายเองได้ตามที่ต้องการ แต่มีข้อเสียคือไม่สามารถที่จะหาผู้ซื้อเป็นจำนวนมาก ๆ รายได้ อีกทั้งยังจะต้องมีพาหนะขนส่งผลผลิตด้วย จึงจะจำหน่ายผลผลิตได้มาก

6.5 การเก็บรักษาผลผลิตให้คงสภาพที่ดี  หมายถึงการยืดอายุของผลผลิตที่ได้เก็บเกี่ยวแล้วออกไปให้นานที่สุดโดยที่ผลผลิตนั้นยังคงมีคุณภาพเหมือนเดิมหรือเสื่อมคุณภาพลงให้น้อยที่สุด  ในกรณีที่ผลผลิตนั้นยังสดและยังไม่ได้ผ่านการแปรรูป

วิธีการที่ใช้ เพื่อยืดอายุผลผลิตนั้น โดยสังเขปมี 3 วิธีดังนี้

วิธีที่ 1 การเก็บรักษาไว้ในโรงเรือนที่แห้งและมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อเป็นการลดความร้อน และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นจากขบวนการหายใจของผลผลิต ทำให้การเข้าทำลายซ้ำของจุลินทรีย์เกิดขึ้นได้ยากผลผลิตจึงไม่เน่าเสีย  เช่น หอมแดง กระเทียม มันฝรั่ง ข้าวโพด กะหล่ำปลี ฯ

วิธีที่ 2 การเก็บรักษาในที่ที่มีอุณหภูมิต่ำ เพื่อลดอัตราการคายน้ำ การหายใจ 

วิธีที่ 3 การใช้สารเคลือบผิว  (Wax) ใช้เคลือบเพื่อลดการสูญเสียน้ำไปจากผลผลิต โดยไขที่ใช้นั้นใช้ได้ทั้งไขจากพืชและสัตว์ ตลอดจนไขจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลี่ยม เช่น ส้ม แอปเปิ้ล มะม่วง ฯ

YouTube Video