การพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ และสติปัญญา

ร่างกายของวัยรุ่นมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งกล้ามเนื้อและรูปร่าง แต่ผู้หญิงกับผู้ชายอาจมีพัฒนาการทางร่างกายที่แตกต่างกัน ดังนี้

วัยรุ่นหญิง ส่วนใหญ่เริ่มมีพัฒนาการทางเพศตั้งแต่อายุ 8-13 ปี และเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วระหว่างอายุ 10-14 ปี โดยผู้หญิงจะเริ่มมีการเปลี่ยนทางร่างกายหลายส่วน ได้แก่

  • ความสูงของร่างกายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
  • หน้าอกเริ่มใหญ่ขึ้นและสะโพกเริ่มมีส่วนเว้าส่วนโค้งมากขึ้น
  • เริ่มมีขนรักแร้ ขนที่อวัยวะเพศ โดยปกติจะเริ่มมีขนภายใน 6-12 เดือนหลังจากเต้านมเริ่มขยาย
  • ส่วนประกอบของระบบสืบพันธุ์ เช่น มดลูก คลิตอริส ช่องคลอด เริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น
  • เริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก อาจมีประจำเดือนตอนอายุประมาณ 13 ปี

เมื่อผู้หญิงเริ่มมีประจำเดือน การพัฒนาของความสูงอาจเพิ่มขึ้นอีก 1-2 นิ้วและการพัฒนาของความสูงอาจค่อย ๆ ช้าลงขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลด้วย

พัฒนาการเด็ก ด้านอารมณ์จิตใจ

                พัฒนาการทางอารมณ์ หมายถึง ขบวนการวิวัฒนาการของจิตที่สามารถรับผิดชอบควบคุม ขัดเกลา และแสดงออก ซึ่งอารมณ์ให้เหมาะสมกับกาลเวลาและสถานที่ เช่น การโต้เตียงโดยไม่รู้สึกโกรธเคือง รับฟังความคิดเห็น ของบุคคลอื่นที่มีความคิดเห็นขัดแย้งกับตนอย่างสบายใจในขณะที่รู้สึกโกรธเคืองไม่แสดงพฤติกรรมใดๆ ออกมาในทางไม่ดี หรือในทางลบ

                ลักษณะพัฒนาการทางด้านอารมณ์ของเด็กปฐมวัยการแสดงออกทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยนั้นรุนแรงกว่าวัยทารก ระดับความรุนแรงทางอารมณ์ของเด็กแต่ละคนมีไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายๆอย่าง เช่น สุขภาพ สิ่งแวดล้อม การอบรมเลี้ยงดู อารมณ์โดยทั่วไปของเด็กปฐมวัย ได้แก่ อารมณ์โกรธ กลัว อิจฉา อยากรู้อยากเห็น อารมณ์สนุกสนาน และอารมณ์รัก ซึ่งมีลักษณะดังนี้

                1.อารมณ์โกรธ จะเริ่มเมื่อเด็กอายุได้ 6 เดือน และจะมีอัตราความโกรธสูงขึ้นตามลำดับเด็กมักโกรธเมื่อถูกขัดใจ ถูกรังแก และเรียนรู้ว่าวิธีที่จะเอาชนะได้ง่ายที่สุดคือการแสดงอารมณ์โกรธ เด็กจะแสดงอารมณ์โกรธอย่างเปิดเผย เช่น ร้องไห้ กระทืบเท้า กระแทกร่างกาย ทำตัวอ่อน ไม่พูดไม่จา ฯลฯ เมื่อพ้นวัยนี้ไปแล้วเด็กจะเริ่มควบคุมตัวเองได้บ้าง ในระยะนี้ควรที่จะหลีกเลี่ยงการทำให้เด็กโกรธมากที่สุด เมื่อเวลาที่เด็กโกรธควรจะชี้แจงเหตุผลที่ไม่ตามใจ

                2.อารมณ์กลัว กลัวในสิ่งที่จะมีเหตุผลมากกว่าวัยทารก สิ่งเร้าที่ทำให้เด็กกลัวมีมากขึ้น เช่น กลัวเสียงดัง คนแปลกหน้า อายุ 3-5 ปี กลัวสัตว์ กลัวถูกทิ้งให้อยู่คนเดียว พฤติกรรมที่เด็กแสดงออกเวลากลัว ร้องไห้ วิ่งหนี หาที่ซ่อน ความกลัวเหล่านี้จะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น

                3.อารมณ์อิจฉา อารมณ์อิจฉาเป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อเด็กมีความรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น หรือ กำลังสูญเสียของที่เป็นของตนไป จะเกิดขึ้นในเด็กอายุ 2-5 ปี เด็กจะอิจฉาน้อง เมื่อเด็กเห็นว่าพ่อแม่ให้ความสนใจมากกว่าตน พฤติกรรมที่แสดงออกเช่นเดียวกับอารมณ์โกรธ ดังนั้นควรที่จะให้ความรักความอบอุ่นที่ทัดเทียมกันเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเลื่อมล้ำ

                4.อารมณ์อยากรู้อยากเห็น เป็นวัยที่เริ่มรู้จักการใช้เหตุผลมีความเป็นตัวของตัวเองมีความสงสัยในสิ่งที่ไม่เคยเห็น ชอบสำรวจ ชอบซักถาม

                5.อารมณ์สนุกสนาน เมื่อเด็กประสบความสำเร็จในสิ่งต่างๆที่ได้กระทำ เด็กจะเกิดความสนุกสนาน ซึ่งแสดงออกด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ

                6.อารมณ์รัก ครั้งแระเด็กจะรักตนเองก่อน ต่อมาจะรู้จักการรักคนอื่น อารมณ์นี้เป็นอารมณ์แห่งความสุข เด็กจะแสดงความรักโดยการกอดจูบลูบคลำ เด็กที่ไม่ได้รับความรักความอบอุ่นจากครอบครัวหรือคนที่ผูกพันเด็กมักจะเห็นแก่ตัว ทำให้เด็กไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพที่ดี เด็กมักแสดงความรักต่อพ่อแม่ หรือสัตว์เลี้ยงตลอดจนของเล่น

  ลักษณะพัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจของเด็กปฐมวัยมีดังนี้

                1.พัฒนาการทางอารมณ์เด็กวัย 1 ปี 

                ด้านอารมณ์จิตใจ เด็กในช่วงนี้เริ่มรู้จักทำอะไรตามใจตนเอง ขัดใจจะโกรธ อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย แสดงอารมณ์เปิดเผยตามความรู้สึก มีปฏิกิริยาต่อต้านเมื่อไม่พอใจต้องการความเป็นตัวของตัวเอง

                2.พัฒนาการทางอารมณ์เด็กวัย 2 ปี

                ด้านอารมณ์ จิตใจ เด็กวัยนี้จะแสดงอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆด้วยคำพูด อารมณ์มักจะขึ้นๆลงๆ มีความเป็นตัวของตัวเอง เด็กในวัยนี้ถ้าได้รับการยอมรับหรือชมเชยจะมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง

                3.พัฒนาการทางด้านอารมณ์เด็กวัย 3 ปี

                ด้านอารมณ์ จิตใจ ร่าเริง แจ่มใส แสดงอารมณ์ตามความรู้สึกไม่ทำร้ายผู้อื่นเมื่อไม่พอใจ เริ่มมีความมั่นใจในตนเอง รู้จักเลือกเล่นสิ่งที่ตนชอบ สนใจ เล่นบทบาทสมมุติได้ เด็กวัยนี้ชอบทำให้ผู้ใหญ่พอใจและได้รับคำชม

                4.พัฒนาการทางอารมณ์เด็กวัย 4 ปี

                ด้านอารมณ์ จิตใจ เป็นวัยที่ชอบท้าทายผู้ใหญ่ ต้องการให้มีคนฟัง คนสนใจ สามารถแสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับสถานการณ์ ไม่ทำร้ายผู้อื่นและไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไม่แย่งสิ่งของหรือหยิบของผู้อื่นมาเป็นของตน

5.    พัฒนาการทางอารมณ์เด็กวัยระหว่าง 5-6 ปี

ด้านอารมณ์ จิตใจ แสดงอารมณ์ได้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างเหมาะสม ชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางน้อยลง

การส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอารมณ์ของเด็กปฐมวัย พัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยยังไม่คงที่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย เป็นวัยเจ้าอารมณ์ บางครั้งจะมีอารมณ์รุนแรง โมโหร้าย โกรธง่าย เอาแต่ใจตัวเอง จะสังเกตได้จากการที่เด็กแสดงอารมณ์ในลักษณะต่างๆ เช่น มีอารมณ์หวาดกลัวอย่างรุนแรง มีอารมณ์อิจฉาริษยาน้องและโมโหฉุนเฉียวเป็นต้น เด็กแต่ละคนจะมีลักษณะพัฒนาการทางอารมณ์แตกต่างกันตามสภาพสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ที่แตกต่างกัน หากเด็กได้รับความไม่พอใจ เด็กก็จะสะสมอารมณ์ไม่พอใจเหล่านั้นไว้ทำให้เด็กขาดความสุข มีอารมณ์ตึงเครียดและอาจทำให้ชีวิตในวัยต่อไปมีปัญหาได้

ดังนั้นพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูจึงควรพยายามหลีกเลี่ยงการเลี้ยงดูเด็กที่ก่อให้เกิดอารมณ์อิจฉาริษยา อารมณ์โกรธ อารมณ์วิตกกังวล และความตึงเครียดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ นั่นคือควรพยายามส่งเสริมให้เด็กมีอารมณ์สนุกสนาน ร่าเริง อารมณ์สงบ เยือกเย็น อารมณ์รักและมองโลกในแง่ดี พ่อแม่ผู้เลี้ยงดูตลอดจนครูผู้ดูแลเด็กควรคำนึงถึงสิ่งต่างๆดังนี้

1.ให้ความรักและความอบอุ่น ความเอาใจใส่ต่อเด็ก และการเข้าใจเด็กยอมรับในตัวเด็กจะเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้เด็กปฐมวัยมีพื้นฐานทางอารมณ์ที่มั่นคง รู้สึกอบอุ่น มีอารมณ์ขัน มองโลกในแง่ดี

2.การเล่น การเล่นเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของเด็ก มีคุณค่าทางอารมณ์ ทำให้เด็กได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินมีอารมณ์เบิกบานแจ่มใส มีจิตใจที่มั่นคง มองโลกในแง่ดี และยังทำให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง ถ้าหากพ่อแม่ได้ปล่อยให้เด็กได้เล่นตามความต้องการด้วยแล้ว เด็กจะมีความสุข การเล่นช่วยให้เด็กผ่อนคลายความตึงเครียดในชีวิตประจำวัน ช่วยระบายอารมณ์ เมื่อเด็กเกิดความรู้สึกโกรธ วิตกกังวล หรือคับข้องใจเป็นการลดความก้าวร้าว และละความไม่พึงพอใจที่ได้รับจากผู้ที่อยู่รอบข้าง การเล่นจึงเป็นกิจกรรมที่สนองความต้องการที่จะผ่อนคลายความตึงเครียดทางอารมณ์ ฟรอยด์นักจิตวิทยาผู้มีชื่อเสียงด้านจิตวิเคราะห์กล่าวว่า การเล่นมีคุณค่ามากในแง่ของการบำบัดเพราะการเล่นช่วยให้เด็กสามารถลดความไม่พึงพอใจอันเกิดจากประสบการณ์ได้โดยค่อยๆลดความวิตกกังวล

3.การฟังนิทาน นิทานช่วยให้เด็กมีความเพลิดเพลิน เกิดความสุขมากเมื่อได้ฟังนิทาน เด็กปฐมวัยมีจินตนาการตามเนื้อเรื่องในนิทาน นิทานช่วยผ่อนคลายความเครียดลดความวิตกกังวลของเด็กๆ ธรรมชาติของเด็กปฐมวัยจะเป็นวัยที่ชอบฟังนิทานมาก และชอบการเลียนแบบ เด็กจึงมักเลียนแบบบุคลิกลักษณะนิสัยตัวละครในนิทาน ถ้าเด็กได้อ่านนิทานที่มีการผูกเรื่องดีๆตัวเอกในเรื่องเป็นคนดี จิตใจเยือกเย็น อารมณ์ดี ไม่โกรธใคร แม้ว่าถูกกลั่นแกล้ง หรือถูกล้อเลียนเมื่อเด็กได้ฟังนิทานเหล่านี้ ก็จะส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอารมณ์ของเด็ก ให้เด็กมีสุขภาพจิตดี มีอารมณ์แจ่มใส ไม่โกรธง่าย และยังมีลักษณะนิสัยชอบช่วยเหลือคนอื่นอีกด้วย

พัฒนาการทางด้านสติปัญญามีอะไรบ้าง

ด้านสติปัญญา เป็นวัยที่อยากรู้อยากเห็น สนใจค้นคว้าสำรวจสิ่งต่างๆรอบตัว เรียนรู้สิ่งต่างๆโดยการเลียนแบบผู้ที่อยู่ใกล้ชิดหรือเด็กอื่น มีช่วงความสนใจกับบางอย่างได้นาน3-5 นาที ชอบดูหนังสือภาพ ฟังบทกลอน นิทาน คำคล้องจอง รู้จักซักถามสิ่งที่สงสัยโดยใช้ประโยคคำถาม ว่า “อะไร

พัฒนาการทางด้านอารมณ์มีความสําคัญอย่างไร

พัฒนาการด้านอารมณ์ คือความสามารถในการรู้สึกและแสดงความรู้สึก เช่น พอใจ ไม่พอใจ รัก ชอบ โกรธ เกลียด กลัว และเป็นสุข ความสามารถในการแยกแยะความรู้สึก ความลึกซึ้งและการควบคุมการแสดงออกของอารมณ์อย่างเหมาะสมเมื่อเผชิญหน้ากับสถานการณ์ต่างๆ ตลอดจนการสร้างความรู้สึกที่ดีและนับถือตัวเอง ซึ่งเกี่ยวข้องกับพัฒนาการด้านสังคมด้วย บาง ...

พัฒนาการ 4 ด้าน มีอะไรบ้าง

พัฒนาการของเด็ก จะแบ่งออกเป็น 4 ด้านดังนี้ 1. พัฒนาการด้านร่างกาย 2. พัฒนาการด้านสติปัญญา 3. พัฒนาการด้านอารมณ์ 4. พัฒนาการด้านสังคม

พัฒนาการด้านสติปัญญาหมายถึงอะไร

2. พัฒนาการด้านสติปัญญา (Cognitive Development) เป็นความสามารถในการเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆ กับตนเอง เป็นกระบวนการทางจิตใจ (mental processes) ที่เราใช้คิด เรียนรู้ หาเหตุผล แก้ไขปัญหา และสื่อสาร ซึ่งประกอบด้วย พัฒนาการด้านภาษา (Language Development) และพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก (Fine Motor Development)