พระอัญญาโกณฑัญญะเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า

Tags :

Show

ลองมาศึกษาประวัติของท่านดูกันค่ะ

อดีตชาติ

ในอดีตกาลสมัยพระพุทธเจ้านาม “ปทุมุตตระ” พระอัญญาโกณฑัญญะได้เกิดเป็นบุตรชายเศรษฐี วันหนึ่งท่านได้เห็นพระพุทธเจ้าสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งว่า เป็นเลิศด้าน “บรรลุธรรมก่อนใคร ๆ ในพระศาสนา”

ท่านคิดว่า “ภิกษุนี้ยิ่งใหญ่มาก เพราะถ้าไม่นับพระพุทธเจ้าแล้ว ก็ไม่มีใครจะบรรลุธรรมก่อนภิกษุนี้เลย ถ้าตัวเราจะสามารถบรรลุธรรมก่อนใคร ๆ ในสมัยพระพุทธเจ้าพระองค์ใดในอนาคตก็จะเป็นการดีหนอ” 

เขาคิดได้แล้วจึงกราบทูลพระพุทธเจ้าขอถวายทาน ๗ วันติดต่อกัน และ เอ่ยวาจาตั้งความปรารถนาว่าจะเป็น ภิกษุผู้บรรลุธรรมก่อนใครๆในอนาคต

พระพุทธเจ้าปทุมุตตระได้สดับแล้ว ตรัสว่า ความปรารถนาของเขาจะเป็นจริงในอนาคตกาล ในสมัยพระพุทธเจ้าพระนามว่า “โคตมะ”

พระพุทธเจ้าปทุมุตตระได้สดับแล้ว ตรัสว่า ความปรารถนาของเขาจะเป็นจริงในอนาคตกาล ในสมัยพระพุทธเจ้าพระนามว่า “โคตมะ”

พราหมณ์ทำนายพระลักษณะของเจ้าชายสิทธัตถะ ซึ่งท่านเป็นเพียงผู้เดียวที่ทายว่าต่อไปเจ้าชายจะได้เป็นพระพุทธเจ้า

ชาติสุดท้าย

ท่านเกิดในตระกูลพราหมณ์ประจำศากยวงศ์ นามว่า “โกณฑัญญะ” ท่านได้รับเลือกเป็นพราหมณ์ทำนายพระลักษณะของเจ้าชายสิทธัตถะ ซึ่งท่านเป็นเพียงผู้เดียวที่ทายว่าต่อไปเจ้าชายจะได้เป็นพระพุทธเจ้า

จากนั้นท่านก็ได้ลาออกจากราชสำนักและไปบวชเป็นฤาษี ต่อมาเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะได้ออกบวช ท่านก็ได้ออกบวชตามพร้อมพวกอีก ๔ คน (เรียกว่า ปัญจวัคคีย์ – พวก๕) คอยติดตามปรนนิบัติพระโพธิสัตว์ 

แต่ภายหลังก็ได้ทิ้งไปเพราะคิดว่าพระองค์ละความเพียรแล้ว จนพระโพธิสัตว์ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า พระองค์ได้กลับมาเทศน์สอนปัญจวัคคีย์เป็นพวกแรก และ พระโกณฑัญญะนี้เองก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน เป็นบุคคลแรกที่มีดวงตาเห็นธรรม

ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า “อญฺญา สิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ – โกณฑัญญะรู้ทั่วแล้วหนอ” ซึ่งทำให้ท่านได้รับชื่อนำหน้าว่า “อัญญา (รู้)” ตั้งแต่นั้นมา ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะ และ มีที่นั่งพิเศษ 

ต่อมาขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่วัดเชตวัน ท่านได้ยกย่องพระอัญญาโกณฑัญญะว่า “เป็นเลิศ (เอตทัคคะ) ด้านผู้รู้ราตรีนาน (รัตตัญญู)” คือ เป็นเลิศกว่าผู้อื่นด้านบรรลุธรรมก่อนใคร ๆ

เนื่องจากท่านบวชเป็นคนแรกท่านจึงมีพรรษาสูงที่สุด ภิกษุทุกรูปจึงต้องทำความเคารพ ที่นั่งของท่านนั้นก็พิเศษว่าภิกษุอื่น คือได้นั่งใกล้พระพุทธเจ้า โดยที่เวลาพระพุทธประทับ พระอัครสาวกจะนั่งเบื้องซ้าย-ขวา และ ข้างหลังอัครสาวกจะเป็นที่นั่งพิเศษเฉพาะของท่าน

ทูลลาพระพุทธเจ้าไปอยู่ป่า

ท่านอัญญาโกณฑัญญะมีความเห็นว่า การที่ท่านมีพรรษาสูงสุดนั้นได้สร้างความลำบากให้กับหมู่คณะ คือ ทุก ๆ คนต้องทำความเคารพท่าน ไม่เว้นแม้แต่อัครสาวก 

อีกทั้งท่านมีความยินดีในความวิเวก ไม่ปรารถนาอยู่ใกล้บ้านผู้คน ท่านจึงได้กราบทูลลาพระพุทธเจ้าไปจำพรรษายัง “ริมสระมันทากินี”

ท่านได้อยู่ที่ริมสระมันทากินีนี้ถึง ๑๒ ปี ในป่านี้เป็นที่อยู่ของช้างตระกูล”ฉัททันต์” ๘,๐๐๐ เชือก ในกาลก่อนช้างฝูงนี้เคยปรนนิบัติพระปัจเจกพุทธเจ้า ทำให้ช้างนี้มีความสามารถในการดูแลพระสงฆ์

เมื่อช้างเห็นพระอัญญาโกณฑัญญะเดินทางมา ก็ดีใจที่จะได้ปรนนิบัติพระอีกครั้ง จึงพากันปัดกวาดเช็ดถูที่พัก ทำความสะอาดทางเดินจงกรม เสร็จแล้วพวกช้างก็ประชุมแบ่งเวรความรับผิดชอบ จัดลำดับว่าใครจะต้องเตรียมน้ำบ้วนปากและไม้สีฟัน เป็นต้น

สระนี้กว้าง ๕๐ โยชน์ น้ำใสเหมือนผลึกไม่มีสาหร่ายจอกแหน ในสระนั้นมีดอกบัวขาว ถัดจากบัวขาวเป็นดอกบัวแดง โกมุทแดง โกมุทขาว บัวเขียวเป็นต้น รอบๆสระมีดงข้าวสาลี มีไม้เถาเช่น ฟักทอง น้ำเต้า และ ฟัก นอกจากนั้นยังมีดงอ้อย ดงกล้วย ดงขนุน ป่าชมพู่ และ ดงมะขวิด

กล่าวโดยย่อคือ ผลไม้ที่ชื่อว่ากินไม่ได้นั้น ไม่มี

เวลาดอกไม้บาน ลมจะพัดเอาเกสรไปรวมกับหยาดน้ำบนใบบัว เมื่อตะวันขึ้น หยดน้ำก็จะถูกแสงอาทิตย์เผาจนกลายเป็นก้อนเหมือนน้ำตาลเคี่ยว และช้างก็นำก้อนน้ำตาลนี้มาถวายพระเถระ

แม้แต่รากบัว กับ เหงาบัวนั้น ช้างก็นำมาถวาย ส่วนเมล็ดบัวนั้น ช้างก็ได้ปรุงเมล็ดบัวเข้ากับน้ำตาลถวาย ช้างยังได้นำอ้อยวางบนแผ่นหินแล้วใช้เท้าเหยียบจนน้ำหวานไหลออกมาขังเต็มแอ่ง น้ำอ้อยนี้โดนตากแดดจนแห้งกลายเป็นดั่งนมก้อน ซึ่งนมก้อนนี้ช้างก็นำมาถวาย แม้แต่ผลไม้ต่าง ๆ ในป่าเช่น ขนุน กล้วย มะม่วง ช้างก็นำมาถวาย 

ท่านมีความยินดีในความวิเวก ไม่ปรารถนาอยู่ใกล้บ้านผู้คน ท่านจึงได้กราบทูลลาพระพุทธเจ้าไปจำพรรษายัง “ริมสระมันทากินี”

ทราบว่าสิ้นอายุขัย กลับไปทูลลาพระพุทธเจ้า

เช้าวันหนึ่งท่านได้ตรวจและทราบว่า อายุขัยท่านกำลังจะหมดลงแล้ว ท่านจึงคิดว่า “เราควรนิพพานที่ไหนหนอ … ก็ช้างนี้ได้ดูแลเราถึง ๑๒ ปี เราควรไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เพื่อขอนิพพานที่ใกล้ๆช้างนี้”

ว่าแล้วท่านก็เหาะไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าที่พระวิหารเวฬุวัน ด้วยความที่ท่านไม่ได้พบพระพุทธเจ้าเป็นเวลานาน ท่านจึงได้หมอบลงแทบพระบาทของพระพุทธเจ้า เอาศีรษะแนบกับพระบาท จูบพระบาททั้งสองด้วยปาก นวดเฟ้นด้วยมือทั้งสอง พร้อมทั้งประกาศนามว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ชื่อโกณฑัญญะ”

เหตุที่ท่านต้องประกาศนามนั้น เพราะท่านจากไปนาน คนทั้งหลายจำท่านไม่ได้ คนบางจำพวกที่ไม่รู้จัก อาจจะคิดไม่ดีว่าพระแก่นี้เป็นใครกัน ซึ่งจะเป็นบาปแก่คนเหล่านั้น ท่านจึงต้องประกาศนามให้ผู้คนเลื่อมใส จะเป็นเหมือนการปิดทางอบาย และ เปิดทางสุคติให้แก่คนทั้งหลายนั้นเอง

ว่าแล้วท่านก็ทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อายุสังขารของข้าพระองค์สิ้นแล้ว ข้าพระองค์จักนิพพาน”

ตรัสถามว่า “โกณฑัญญะ ท่านจะนิพพานที่ไหน”

กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ช้างทั้งหลายที่เป็นอุปฐากของข้าพระองค์นั้น ได้ทำกิจที่ทำได้ยาก ข้าพระองค์จะนิพพานใกล้ๆช้างเหล่านั้น”

พระศาสดาทรงอนุญาต (ด้วยการนิ่ง ไม่ตรัสอนุญาต หรือ ห้าม) และพระเถระก็ได้ทำประทักษิณและกราบทูลว่า …

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การเห้นครั้งนั้นเป็นการเห็นครั้งแรกของข้าพระองค์ การเห็นครั้งนี้ เป็นการเห็นครั้งสุดท้าย”

ฝูงชนพากันร่ำไห้คร่ำครวญ พระเถระถวายบังคมและได้จากไปยังริมสระน้ำมันทากินี โดยก่อนจาก ท่านได้ให้โอวาทว่า

“ท่านทั้งหลาย อย่าเศร้าโศกเลย อย่าคร่ำครวญเลย จะเป็นพระพุทธเจ้าหรือพุทธสาวก สังขารที่เกิดขึ้นแล้ว ที่จะไม่แตกทำลายนั้นไม่มี”

เช้าวันหนึ่งท่านได้ตรวจและทราบว่า อายุขัยท่านกำลังจะหมดลงแล้ว ท่านจึงคิดว่า “เราควรนิพพานที่ไหนหนอ …

• หมู่ช้างจัดพิธีศพให้อย่างยิ่งใหญ่ 

เมื่อถึงที่ริมสระ ท่านเข้าไปยังที่พัก นั่งเข้าผลสมาบัติตลอด ๓ ยาม ออกจากสมาบัติในเวลาใกล้สว่าง และ นิพพาน

ช้างที่เฝ้าเวรอยู่ด้านหน้าไม่รู้ว่าท่านได้นิพพานแล้ว แต่ก็ยังคงเตรียมน้ำบ้วนปาก ไม้สีฟัน และ ผลไม้ รออยู่ที่ท้ายทางจงกรม แต่ว่าไม่เห็นพระเถระออกมาจากที่พักจึงเดินเข้าไปดู ช้างเขย่าประตูและมองดูก็เห็นว่าท่านกำลังนั่งอยู่ ช้างลองเอางวงเหยียดออกไปลูบคลำดูก็พบว่าท่านไม่หายใจแล้ว

บัดนั้นเอง ช้างก็เอางวงสอดเข้าไปในปากส่งเสียงร้องเสียใจดังลั่นป่า ช้างอื่นๆทั้ง ๘,๐๐๐ เชือก ต่างก็ส่งเสียงร้องเสียใจพร้อมๆกัน

ช้างทั้งหลาย ได้ยกร่างพระเถระขึ้นไว้บนกระพองของหัวหน้าโขลง ต่างเอางวงถือกิ่งไม้ที่มีดอกไม้บานสะพรั่ง แห่ร่างของพระเถระไปทั่วทั้งป่าหิมวันต์ และ กลับมาวางยังที่เดิม

ครั้งนั้น ท้าวสักกเทวราช(พระอินทร์) ได้ปรึกษากับวิษณุกรรมเทพบุตร(เทพแห่งการช่าง)ว่า 

“พ่อ พี่ชายของเรานิพพานแล้ว เราจะกระทำสักการะ เธอจงเนรมิตเรือนยอด” 

วิษณุกรรมเทพบุตรจึงเนรมิตเรือนยอดอันสวยงาม จัดวางร่างพระเถระให้อยู่ในเรือนยอดนั้น 

จากนั้นบรรดาช้างก็พากันยกเรือนยอดเวียนรอบป่าอีกครั้ง เหล่าเทวดาก็รับเรือนยอดต่อจากช้าง และค่อย ๆ ส่งต่อไปตามสวรรค์ชั้นต่าง ๆ จนถึงพรหมโลก และค่อย ๆ ส่งเรือนยอดกลับลงมายังช้างอีกครั้ง

ร่างของพระอัญญาโกณฑัญญะได้รับการทำพิธี จนรุ่งอรุ่ณของวันต่อมาเมื่อไฟได้ดับลงแล้ว พระพุทธเจ้าได้ทรงเสด็จมา ท่านได้เนรมิตเจดีย์องค์ใหญ่ขึ้นมา และบรรจุพระธาตุของท่านอัญญาโกณฑัญญะไว้ในนั้น

Credit : ตรัง สุวรรณศิลป์ | Being Buddhist Blog

อ้างอิง : 

- ม.มู.มหาสัจจกสูตร ข้อ ๔๒๖, องฺ. อ.๑/๑/๒๔๑, เถร.อ.๓/๔๙๑ ๔๙๕-๖, สํ.อ.๑/๒/๓๓๙-๓๔๔

- อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค วังคีสสังยุต โกณฑัญญสูตรที่ ๙, อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๑. พุทธวรรค ๙. - -อัญญาโกณฑัญญเถราปทาน (๗)

- หนังสือ ๘๐ พระอรหันต์ ฉบับสมบูรณ์ โดย ธรรมสภา

#Life101Page #Dhamma

พระอัญญาโกณฑัญญะได้ฟังธรรมอะไร

๕. หลังจากได้ฟัง “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว พราหมณ์โกณฑัญญะบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันและต่อมาบรรลุเป็นพระอรหันต์เมื่อได้ฟัง “อนัตตลักขณสูตร” ๖. เมื่อท่านบรรลุธรรมแล้ว พระบรมศาสดาทรงอุทานว่า “อญฺญาสิ วต โภ โกณฑญฺโญ” แปลว่า โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ “อัญญาโกณฑัญญะ” จึงเป็นชื่อของท่านตั้งแต่นั้นมา

พระอัญญาโกณฑัญญะ นิพพานที่ใด

๑๐.ปรินิพพาน พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้ช่วยพระบรมศาสดาประกาศพระศาสนาอยู่ระยะหนึ่ง บั้นปลายชีวิต ได้ทูลลาเข้าไปอยู่ในป่าหิมวันต์ จำพรรษาอยู่ที่ฝั่งสระฉัททันต์ ๑๒ พรรษา เมื่อกาลจะปรินิพพานใกล้เข้ามา จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ขอให้ทรงอนุญาตการปรินิพพาน แล้วกลับไปยังที่นั้น ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

คําว่าดวงตาเห็นธรรมที่พระอัญญาโกณฑัญญะได้รับหมายถึงได้บรรลุธรรมระดับใด

เรื่องมันเป็นเช่นนี้แหละครับ ท่านสารวัตร ผมจึงสรุปว่าดวงตาเห็นธรรม” มีทั้งระดับพระโสดาบัน และระดับพระอนาคามี กล่าวถึงท่านโกณฑัญญะ เมื่อได้ดวงตาเห็นธรรมแล้ว พระพุทธองค์จึงตรัสเปล่งพระอุทานว่า อญฺญา สิ วต โภ โกณฺฑญฺโญๆ = โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอๆ

พระอัญญาโกณฑัญญะ ไปไหน

เหตุการณ์ การปรินิพพานของพระอัญญาโกณฑัญญะ พระอัญญาโกณฑัญญะทูลขอพระพุทธเจ้าไปอยู่ในชนบทเพื่อให้ภิกษุอื่นอยู่ใกล้พระพุทธเจ้าได้โดยความสำราญ เมื่อพระพุทธเจ้าอนุญาตแล้วจึงเดินทางไปยังสระมันทากินีโปกขรณีถิ่นช้างตระกูลฉัททันตะที่เคยชำนาญการปรนนิบัติพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย